20 พฤษภาคม 2554

<<< ระบบการเมืองการปกครองของอเมริกา >>>

















ภาพนี้แสดงให้เห็นถึงโครงสร้างการปกครองอย่างเห็นได้ชัดและง่ายต่อความเข้าใจที่สุดโดยแยกฝ่ายบริหารออกจากกันอย่างสิ้นเชิง ส่วนระดับมลรัฐก็ให้คนท้องถิ่นเป็นคนดูแลจัดการบริหารกันเองเพราะแต่ละพื้นที่จะว่าไปขนบธรรมเนียมประเพณีก็ต่างกันอยู่แต่ไม่มาก แต่ละรัฐถึงมีกฎหมายไม่เหมือนกันซึ่งง่ายแก่การตรวจสอบคานอำนาจกัน

รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา
แบ่งออกเป็นส่วนสาคัญ ๆ ได้ 7 ส่วน หรือ7 มาตราด้วยกันคือ (Burns et al.. 1993)

มาตรา 1
ข้อที่ 1
ของรัฐธรรมนูญกำหนดเรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของสภาคองเกรส โดยให้หน้าที่ทางนิติบัญญัติอยู่กับรัฐสภาซึ่งประกอบด้วยสภาสูง (Senate) และสภาผู้แทนราษฎร (House of Representatives)

ข้อที่ 2 - 7 เป็นการกำหนดจำนวนผู้แทนในแต่ละสภา คุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นผู้แทน การเลือกสมาชิกสภาคองเกรสกระบวนการที่ใช้ในการตรารัฐบัญญัติ วิธีการพิจารณาถอดถอนเจ้าหน้าที่ของรัฐให้พ้นจากตำแหน่ง (Impeachment)

ข้อที่ 8 เป็นการกำหนดอำนาจหน้าที่ของสภาคองเกรสในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการภายในและภายนอกประเทศ

ข้อที่ 9 - 10 เป็นบทจำกัดอานาจบางอย่างของสภาคองเกรสของมลรัฐต่าง ๆ

มาตรา 2

ข้อที่ 1 – 4 เป็นการจัดตั้งองค์กรฝ่ายบริหาร กำหนดอำนาจฝ่ายบริหารโดยให้เป็นอำนาจของประธานาธิบดี รวมทั้งคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นประธานาธิบดี และรองประธานาธิบดี วิธีการเลือกตั้ง การสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง วิธีการและข้อหาอันเป็นมูลฐานที่จะทาให้ประธานาธิบดีพ้นจากตำแหน่ง
มาตรา 3
ข้อที่ 1 เป็นการกำหนดอำนาจตุลาการให้อยู่กับศาลสูงแห่งสหรัฐอเมริกาและศาลชั้นรองอื่น ๆ ตามที่สภาคองเกรสเห็นสมควรจัดตั้งขึ้น

ข้อที่ 2 การกำหนดอำนาจของฝ่ายตุลาการและขอบเขตอานาจของศาลชั้นต้น และขอบเขตอำนาจของศาลอุทธรณ์และการฏีกาของศาลสูง

ข้อที่ 3 เป็นการให้นิยามของความผิดฐานกบฏ การพิสูจน์ และการลงโทษผู้กระทำความผิดฐานกบฏ

มาตรา 4 กำหนดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมลรัฐต่าง ๆ ที่พึงมีต่อกันและความสัมพันธ์ ระหว่างมลรัฐทั้งหลายกับรัฐบาลกลาง
ข้อที่ 1 การยอมรับและศรัทธาต่อสิทธิที่บุคคลได้มาโดยกฎหมายระหว่างมลรัฐ (Full Faith and Credit)

ข้อที่ 2 การให้เอกสิทธิ์ (Privileges) และความคุ้มครองพลเมืองของมลรัฐอื่น ๆ และการส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างมลรัฐต่าง ๆ

ข้อที่ 3 บทบัญญัติว่าด้วยการรับมลรัฐใหม่เข้ามารวมอยู่ในสหพันธรัฐด้วยอำนาจของสภาคองเกรสในการจัดการเกี่ยวกับดินแดนและทรัพย์สินอื่น ๆ

ข้อที่ 4 การที่รัฐบาลกลางจะต้องเป็นผู้ดูแลว่าทุกมลรัฐ ต้องมีการปกครองแบบสาธารณรัฐ การคุ้มครองมลรัฐต่าง ๆ ให้ปลอดภัยจากการรุกรานภายนอก และการที่รัฐบาลกลางจะช่วยเหลือมลรัฐต่าง ๆ ในการระงับความไม่สงบเรียบร้อยภายในแต่ละมลรัฐ

มาตรา 5
ว่าด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ รวมทั้งวิธีการดาเนินการในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

มาตรา 6
เป็นผลของการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเช่น เรื่องหนี้สินสัญญา และอื่นๆ ศักดิ์สูงสุดของกฎหมายซึ่งกำหนดให้รัฐธรรมนูญ กฎหมายและสนธิสัญญาของสหรัฐอเมริกาเป็นกฎหมายสูงสุดในแผ่นดิน และผู้พิพากษาทั้งหลายในมลรัฐต่าง ๆ จะต้องปฏิบัติตามโดยไม่ต้องคำนึงว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นภายในแต่ละมลรัฐจะกำหนดไว้ในทางตรงกันข้ามหรือไม่ก็ตาม ในมาตรา 6 นี้กำหนดต่อไปว่าฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และเจ้าหน้าที่ฝ่ายตุลาการของสหรัฐอเมริกาหรือของมลรัฐต่าง ๆ ต้องสาบานตน (Oath) ในการเข้ารับตาแหน่งและจะต้องสนับสนุนรัฐธรรมนูญนี้

มาตรา 7
เป็นมาตราสุดท้าย มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เพราะเกี่ยวกับการให้สัตยาบันรัฐธรรมนูญ

โครงสร้างบทบัญญัติที่แก้ไขเพิ่มเติมในรัฐธรรมนูญ
การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นการปรับปรุงรัฐธรรมนูญให้เหมาะสมกับสภาพการณ์และทันสมัยอยู่เสมอ ในเวลาสองร้อยกว่าปีที่ผ่านมานี้สหรัฐอเมริกามีการแกไขรัฐธรรมนูญรวม 27 ครั้ง (Burns et al.., 1993) ซึ่งมีสาระสาคัญโดยสรุปดังนี้

ครั้งที่ 1-10 เป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับสิทธิต่าง ๆ หรือที่เรียกกันว่า “Bill of Rights” และได้รับสัตยาบันเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ.1791 ประกอบด้วยสาระสาคัญดังนี้

การแก้ไขครั้งที่ 1 เป็นบทบัญญัติในการให้เสรีภาพเกี่ยวกับศาสนาการพูด การพิมพ์การโฆษณา และการชุมนุมร่วมกันโดยสงบของประชาชน

การแก้ไขครั้งที่ 2 สิทธิของประชาชนที่จะมีและถือศาสตราวุธจะถูกขัดขวางมิได้

การแก้ไขครั้งที่ 3 ที่พักของทหาร ทหารจะเข้าไปอาศัยในบ้านใดโดยเจ้าของบ้านไม่ยินยอมไม่ได้

การแก้ไขครั้งที่ 4 สิทธิของประชาชนที่จะมีความปลอดภัยในร่างกาย เคหะสถานและทรัพย์สินของตน บรรดาสิทธิดังกล่าวจะถูกตรวจค้นหรือยึดโดยไม่มีเหตุอันควรมิได้

การแก้ไขครั้งที่ 5 ระเบียบเกี่ยวกับการฟ้องศาล การสอบสวน และการลงโทษ (สิทธิทางกฎหมาย) เพื่อให้ความคุ้มครองแก่ประชาชน

การแก้ไขครั้งที่ 6 สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดี ในการดาเนินคดีอาญา จำเลยมีสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างรวดเร็วและเปิดเผย

การแก้ไขครั้งที่ 7 สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาโดยคณะลูกขุนคือคดีที่ฟ้องร้องตามกฎหมาย “Common law “ ที่มีมูลค่าเกิน 20 ดอลลาร์ข้อเท็จจริงใดที่พิจารณาแล้วศาลแพ่งสหรัฐจะพิจารณาใหม่เป็นอย่างอื่นมิได้

การแก้ไขครั้งที่ 8 สิทธิในเรื่องค่าประกันหรือค่าปรับ ห้ามการกำหนดสูงเกินควร และห้ามการลงโทษและผิดปกติวิสัย

การแก้ไขครั้งที่ 9 สิทธิที่จำแนกไว้ในรัฐธรรมนูญนี้จะตีความให้เป็น
การปฏิเสธหรือลิดรอนสิทธิผู้อื่นไม่ได้

การแก้ไขครั้งที่ 10 อำนาจที่มิได้ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญหรืออำนาจที่มิได้ห้ามผลรัฐกระทำนั้นถือว่าอำนาจนั้นเป็นของมลรัฐหรือของประชาชน

สำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญตั้งแต่ครั้งที่ 11- 27 ประกอบด้วยสาระสาคัญโดยสรุปดังนี้

การแก้ไขครั้งที่ 11 ได้ให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1795 เป็นการแก้ไขเกี่ยวกับการตีความขยายอำนาจตุลาการของสหรัฐอเมริกาเหนือคดี ตามข้อกฎหมายหรือหลักแห่งความยุติธรรมที่พลเมือง หรือคนในบังคับแห่งรัฐต่างประเทศฟ้องร้องมลรัฐหนึ่งมิได้

การแก้ไขครั้งที่ 12 ได้ให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1840 เป็นการแก้ไขกลไกของการเลือกตั้งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี

การแก้ไขครั้งที่ 13 ได้ให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1865 เป็นการแก้ไขการมีทาสโดยไม่สมัครใจจะเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกามิได้

การแก้ไขครั้งที่ 14 ได้ให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1868 เป็นการแก้ไขเกี่ยวกับการปกครองสิทธิพลเมือง การแบ่งอำนาจของผู้แทนราษฎรในสภาคองเกรสและอำนาจของสภาคองเกรส

การแก้ไขครั้งที่ 15 ได้ให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1870 เป็นการแก้ไขเรื่องมลรัฐจะตัดสิทธิการออกเสียงเลือกตั้งของพลเมืองสหรัฐอเมริกาเนื่องจากเชื้อชาติ ผิว หรือความที่เป็นทาสมาก่อนมิได้

การแก้ไขครั้งที่ 16 ได้ให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1913 เป็นการแก้ไขอำนาจหน้าที่ของสภาคองเกรสในการเก็บภาษีเงินได้ไม่ว่าจะมาจากแหล่งใด

การแก้ไขครั้งที่ 17 ได้ให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 1913 เป็นการแก้ไขการเลือกสมาชิกสภาสูงโดยการออกเสียงเลือกตั้งโดยตรง และการเลือกตั้งเมื่อมีตำแหน่งว่างลง

การแก้ไขครั้งที่ 18 ได้ให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 1919 เป็นการแก้ไขเกี่ยวกับการห้ามผลิต การขาย และขนส่งเครื่องดื่มของมึนเมาภายในสหรัฐอเมริกา

การแก้ไขครั้งที่ 19 ได้ให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม ค.ศ. 1920 เป็นการแก้ไขเกี่ยวกับการห้ามไม่ให้กีดกันทางเพศซึ่งเป็นบทบัญญัติในการให้สิทธิเลือกตั้งแก่สตรีอเมริกันโดยเสมอภาค (women Suffrang)

การแก้ไขครั้งที่ 20 ได้ให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 1993 เป็นการแก้ไขเกี่ยวกับการเข้ารับตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ใหม่ของประธานาธิบดี รองประธานาธิบดี และสมาชิกสภาคองเกรส

การแก้ไขครั้งที่ 21 ได้ให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1933 เป็นการแก้ไขเพื่อยกเลิกบทบัญญัติที่แก้ไขในรัฐธรรมนูญครั้งที่ 18 (18th Amendment) เรื่องการผลิต การขายและการขนส่งสินค้ามึนเมาในสหรัฐอเมริกา

การแก้ไขครั้งที่ 22 ได้ให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1951 เป็นการแก้ไขเรื่องกำหนดเวลาอยู่ในตำแหน่งและวันเลือกตั้งของประธานาธิบดี ให้เหลือ 2 สมัยเท่านั้น

การแก้ไขครั้งที่ 23 ได้ให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 1961 เป็นการแก้ไขเกี่ยวกับการให้สิทธิเลือกตั้งประธานาธิบดีแก่ District of Columbia

การแก้ไขครั้งที่ 24 ได้ให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 1964 เป็นการแก้ไขเกี่ยวกับการยกเลิกกฎหมายที่กำหนดให้ผู้ไม่เสียภาษีไม่มีสิทธิเลือกตั้ง(Poll Tax)

การแก้ไขครั้งที่ 25 ได้ให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1967 เป็นการแก้ไขเกี่ยวกับประเด็นสาคัญ 2 ประเด็นคือ

(1) การปฏิบัติหน้าที่ของประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีถ้าประธานาธิบดีไม่อยู่ รองประธานาธิบดีรักษาการแทนได้

(2) ถ้าประธานาธิบดีไม่สามารถปฏิบัติหน้าได้ หรือไร้ความสามารถไม่ว่ากรณีใดๆ ให้รองประธานาธิบดีปฏิบัติหน้าที่แทน โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีและต้องแจ้งให้สภาคองเกรสทราบ

การแก้ไขครั้งที่ 26 ได้ให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1971 เป็นการแก้ไขเกี่ยวกับการให้สิทธิเลือกตั้งแก่ชาวอเมริกันอายุ 18 ปีขึ้นไป

การแก้ไขครั้งที่ 27 ได้ให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1992 เป็นการแก้ไขเกี่ยวกับเงินเดือนสำหรับการปฏิบัติงานของสมาชิกสภาสูง (Senators) และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(Representative)ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้จนกว่าจะมีการเลือกตั้งครั้งใหม่

+++++++++++++++++++++++++++++++++++






















หลักการว่าด้วยการถ่วงดุลอำนาจ ( Checks and Balances )


จากการที่รัฐธรรมนูญมีการกำหนดให้มีการแบ่งแยกอำนาจทั้ง 3 ฝ่ายเป็นอิสระต่อกัน คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ แต่รัฐธรรมนูญก็ได้บัญญัติให้อำนาจทั้ง 3 มีความสัมพันธ์ต่อกันด้วย เป็นการแสดงให้เห็นถึงระบบของการตรวจสอบและการถ่วงดุลอำนาจของทั้ง 3 ฝ่าย โดยแต่ละฝ่ายสามารถถือสิทธิและปกป้องสิทธิของตนเองโดยการยับยังและสนับสนุนในกิจกรรมสำคัญๆ ของอีกฝ่ายหนึ่งได้ ซึ่งในทางปฏิบัติผู้ร่างรัฐธรรมนูญมิได้ให้รัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกามีการแบ่งแยกอำนาจออกจากกันโดยเด็ดขาด แต่เป็นการแบ่งแยกหน้าที่โดยใช้อำนาจร่วมกันจึงกล่าวได้ว่าหลักการถ่วงดุลอำนาจนี้มีผลช่วยให้การปฏิบัติหน้าที่ตามอำนาจที่ได้รับมอบหมายจากรัฐธรรมนูญของหน่วยงานทั้งสามเป็นไปได้โดยสะดวก และป้องกันการเป็นเผด็จการในการใช้อำนาจของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ( Watson, 1985 : 50 )

ตัวอย่างในการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจของทั้ง 3 ฝ่าย อาจพิจารณาได้ดังนี้

1. ฝ่ายนิติบัญญัติถ่วงดุลฝ่ายบริหาร ( Congressional Checks on the Executive Branch )
ฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจในการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายบริหารซึ่งการใช้อำนาจนี้สามารถแสดงออกมาในลักษณะต่างๆ กัน คือ

(1)อำนาจในการฟ้องร้องไต่สวนตลอดจนพิจารณาพิพากษาคดีว่าประธานาธิบดีและข้าราชการฝ่ายบริหารกระทำความผิดทางอาญาจริงหรือไม่ถ้ามีความผิดจริงโทษอย่างน้อยก็คือการถอดถอนออกจากตำแหน่ง

(2)อำนาจในการให้คำแนะนำและความยินยอมต่อการแต่งตั้งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของประธานาธิบดี อำนาจนี้ถือว่าเป็นอำนาจของสภาสูงเท่านั้น นอกจากนี้สภาสูงยังเป็นผู้ให้สัตยาบันต่อสนธิสัญญาที่ประธานาธิบดีได้กระทำขึ้นกับรัฐบาลต่างประเทศด้วย

(3) อำนาจในการจัดสรรและควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณขององค์การ และหน่วยงานต่างๆ ของฝ่ายบริหาร อำนาจนี้อาจกล่าวได้ว่าเป็นอำนาจที่สำคัญที่สุดของสภาคองเกรสเพราะมีผลต่อการบริหารงานของประธานาธิบดี ยิ่งกว่านั้นฝ่ายนิติบัญญัติยังมีอำนาจในการอนุมัติการจัดเก็บภาษีและการใช้จ่ายขององค์การและหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาลด้วย ดังนั้น การให้คำยินยอมของสภาคองเกรสต่อการดำเนินงาน และนโยบายของรัฐบาลนั้นจึงมีผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานของรัฐบาลโดยตรง

2. ฝ่ายนิติบัญญัติถ่วงดุลฝ่ายตุลาการ (Congressional checks on the Judicial Branch)ฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจในการถ่วงดุลฝ่ายตุลาการในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ คือ

(1) อำนาจในการจัดตั้งศาลสหรัฐระดับต่าง ๆ ยกเว้นศาลสูง

(2) อำนาจให้ความเห็นชอบในการกำหนดจำนวนผู้พิพากษาศาลสูง

(3) สภาสูงเป็นผู้ให้คำแนะนำ และยินยอมต่อการแต่งตั้งผู้พิพากษาที่ประธานาธิบดีเป็นผู้เสนอ ในขณะเดียวกันสภาสูงก็เป็นผู้พิพากษาคดีที่ผู้พิพากษากระทำความผิดทางอาญา โดย ใช้ขบวนการฟ้องร้องเพื่อถอดถอนออกจากตาแหน่ง (Impeachment)

3. ฝ่ายบริหารถ่วงดุลฝ่ายนิติบัญญัติ (Presidential Checks an Congress)
ฝ่ายบริหารสามารถใช้อำนาจในการถ่วงดุลฝ่ายนิติบัญญัติในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้คือ

(1) ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญบัญญัติว่า ประธานาธิบดีจะต้องส่งสารไปแถลงนโยบายและสภาพความเป็นไปของประเทศ ตลอดจนเสนอมาตรการในการแก้ไขต่อสภาคองเกรสเพื่อพิจารณาเพื่อพิจารณาบัญญัติเป็นกฎหมายออกมาบังคับใช้ ซึ่งการกระทำดังนี้จะเห็นได้ว่า ฝ่ายบริหารไม่เพียงแต่เอื้อประโยชน์ต่อฝ่ายนิติบัญญัติเท่านั้น แต่หากการกระทำของฝ่ายบริหารนี้มีผลทำให้ฝ่ายนิติบัญญัติต้องสนใจนโยบายของฝ่ายบริหาร จึงถือได้ว่าเป็นการรั้งและถ่วงดุลแห่งอำนาจของฝ่ายบริหาร

(2) ประธานาธิบดีมีอำนาจในการเรียกประชุมสภาสมัยวิสามัญ โดยจะเป็นการประชุมเพียงสภาหนึ่งหรือสองสภาก็ได้ นอกจากนั้นยังมีอำนาจในการเลื่อนวันปิดสมัยประชุมในกรณีที่สภาทั้งสองไม่อาจจะตกลงกันได้

(3) อำนาจที่สำคัญที่สุดของประธานาธิบดีในฐานะผู้นำของฝ่ายบริหารก็คืออำนาจในการยับยั้งร่างกฎหมาย (Veto Power over Bills) ซึ่งสภาคองเกรสจะเอาชนะการยับยั้งของประธานาธิบดีได้ก็จะต้องใช้เสียง 2 ใน 3 ของทั้งสองสภา

(4) ประธานาธิบดีอาจจะเพิกเฉยต่อกฎหมายของสภาคองเกรส (An Act of Congress) โดยบอกว่า กฎหมายที่สภาคองเกรสผ่านออกมานั้นในทัศนะของประธานาธิบดีไม่มีผลในการบังคับ เนื่องจากขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งสภาคองเกรสไม่มีมาตรการใด ๆ จะใช้บังคับประธานาธิบดีให้ประกาศบังคับใช้กฎหมายตามที่ตนต้องการได้เสมอไป หากประธานาธิบดีใช้ข้ออ้างดังกล่าว สภาคองเกรสสามารถลงโทษประธานาธิบดีได้เพียงประการเดียว คือ การถอดถอนประธานาธิบดีออกจากตำแหน่งเพราะกระทำความผิดทางอาญาและประพฤติตนไม่เหมาะสม แต่เป็นการยากที่จะถอดถอนประธานาธิบดีออกจากตำแหน่งเพราะจะต้องได้รับเสียงสนับสนุนจากสภาสูงถึงสองในสาม ซึ่งประวัติศาสตร์การเมืองอเมริกันยังไม่เคยปรากฏ

4. ฝ่ายบริหารถ่วงดุลฝ่ายตุลาการ (Presidential Checks on the Judiciary)
ประธานาธิบดีมีอำนาจที่สำคัญ ในการถ่วงดุลฝ่ายตุลาการดังนี้ คือ

(1) อำนาจในการให้อภัยโทษต่อบุคคลที่กระทำความผิด หรือถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด

(2) อำนาจในการให้อภัยโทษทั่วไป ซึ่งจะให้แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลซึ่งกระทำความผิด

(3) คำสั่งและคำพิพากษาของศาลจะมีผลใช้บังคับอย่างมีประสิทธิภาพได้นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือและการสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร

(4) ประธานาธิบดีเป็นผู้เสนอแต่งตั้งผู้พิพากษา โดยคำแนะนาและยินยอมจากสภาสูง

5. ฝ่ายตุลาการถ่วงดุลฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร (Judicial Checks on Congress and the President)ฝ่ายตุลาการเป็นองค์กรที่มีอำนาจค่อนข้างจำกัดในบรรดาองค์กรทั้งสาม อำนาจของฝ่ายตุลากรในการถ่วงดุลฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารมีลักษณะที่สำคัญดังนี้ คือ

(1) อำนาจในการตีความว่าการกระทำของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารนั้นถูกต้องตามกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่

(2) ศาลสูงเป็นสถาบันเดียวที่ทำการตีความกฎหมายรัฐธรรมนูญ

(3) ฝ่ายตุลาการไม่สามารถบังคับให้ฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายนิติบัญญัติปฏิบัติตามคำสั่งและกฎข้อบังคับได้ แต่ในทางปฏิบัตินั้นถือเป็นประเพณีว่าฝ่ายนิติบัญญัติแลฝ่ายบริหารจะต้องปฏิบัติและฝ่ายบริหารจะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาของฝ่ายตุลาการ
การแบ่งแยกอำนาจและการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างอานาจทั้ง 3 ฝ่ายทำให้แต่ละฝ่ายประสบความสำเร็จในการใช้อานาจทางการเมือง เพราะการแบ่งแยกอำนาจทาให้ไม่มีฝ่ายใดล่วงล้ำกิจกรรมที่เป็นความรับผิดชอบของอีกฝ่ายหนึ่งได้ การตรวจสอบถ่วงดุลจะเป็นการกระทำให้ทั้ง 3 ฝ่ายตามอำนาจซึ่งกันและกัน ผลที่ได้คือการกระจายอานาจทางการเมือง แต่ที่สำคัญคือการทำให้หลักของมองเตสกิเออดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิผล โดยการแบ่งแยกบุคลากรของรัฐบาลให้เป็นอิสระต่อกันอย่างสมบูรณ์ ผู้ที่ดำรงตาแหน่งทางการเมืองทั้ง 3 ฝ่าย ถ้าดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งจะไม่สามารถดำรงตำแหน่งอื่น ๆ พร้อมกันในอีก 2 ฝ่ายได้

+++++++++++++++++++++++++++++++++++


















การจัดสรรอำนาจของแต่ละฝ่าย ( Allocation of Powers )

ไม่ให้ก้าวก่ายขอบเขตของอำนาจอื่นและป้องกันการรวมอำนาจทั้งสามซึ่งได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการมิให้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของอำนาจใดอำนาจหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียวความประสงค์ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญนั้นต้องการให้อำนาจทั้งสามนี้มีบทบาทในการบริหารงานร่วมกันในบางส่วนและขณะเดียวกันอำนาจแต่ละฝ่ายก็เป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกันและกัน

ในทางทฤษฎี ได้จำกัดขอบเขตการใช้อำนาจร่วมกันของอำนาจแต่ละฝ่าย แต่ในทางปฏิบัตินั้นมีการใช้อำนาจร่วมกันอย่างกว้างขวาง จนอาจจะกล่าวได้ว่าหลักการแบ่งอำนาจนั้น ถ้าจะพูดกันตามสภาพความเป็นจริงแล้ว เป็นการใช้อำนาจร่วมกันของสถาบันหลายๆ สถาบัน( Sharing Powers by Separated Institutions ) แต่ละฝ่ายมีอำนาจสาคัญดังนี้

1. ฝ่ายนิติบัญญัติ
อำนาจนิติบัญญัติในรัฐธรรมนูญเป็น อำนาจของสภาคองเกรส ( Congress ) ซึ่งประกอบด้วยสภาสูง ( Senate ) และสภาผู้แทนราษฎร ( House of Representatives ) มีอำนาจในการบัญญัติกฎหมายสำหรับบริหารประเทศ แต่ความเป็นจริงแล้วฝ่ายบริหารก็มีอำนาจในการบัญญัติกฎหมายด้วยเช่นกัน ได้แก่กฎระเบียบต่างๆ ในการบริหาร แต่กฎหมายที่บัญญัติโดยสภานิติบัญญัติจะมีอำนาจมากกว่ากฎหมายอื่นๆ ทั้งหมด สมาชิกของสภาคองเกรสทั้ง 2 สภา จะได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ซึ่งแต่ก่อนการเลือกตั้งสมาชิกสภาสูง ( Senate ) จะกระทำโดยสภานิติบัญญัติของแต่ละมลรัฐจนกระทั่งปี ค.ศ.1913 ได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 17 กำหนดให้ประชาชนเป็นผู้เลือกตั้งสมาชิกสภาสูงโดยตรง สำหรับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะดำรงตำแหน่งได้คราวละ 4 ปี โดยเลือกตั้งครึ่งหนึ่งทุก 2 ปี ส่วนสมาชิกสภาสูงจะดำรงตำแหน่งคราวละ 6 ปี โดยทำการเลือกตั้งใหม่ 1 ใน 3 ของสมาชิกทุก 2 ปี และไม่มีการจำกัดจำนวนครั้งของการเข้าดำรงตาแหน่งคือสามารถจะดำรงตำแหน่งได้ตลอดไปตราบเท่าที่ยังคงได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน

2. ฝ่ายบริหาร

ตามรัฐธรรมนูญในมาตรา 2 ปี ค.ศ.1787 กล่าวถึง อำนาจบริหารของประธานาธิบดีไว้ว่าประธานาธิบดี ( Electoral College ) ซึ่งมีจำนวนเท่ากับสมาชิกสภาคองเกรส คือ 538 คน เช่นเดียวกันกับการเลือกรองประธานาธิบดี ประธานาธิบดีและรองธานาธิบดีมีระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง 4 ปี ในระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งอยู่นี้ ประธานาธิบดีอาจถูกถอดออกจากตำแหน่งได้ ( Impeachment ) โดยที่สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ไต่สวน ส่วนการพิจารณาคดีการถอดถอนออกจากตำแหน่งได้กล่าวจะกระทำได้ในกรณีที่ประธานาธิบดีได้กระทำความผิดทางอาญาที่รุนแรงตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ การพิพากษาตัดสินในการถอดถอนจะต้องใช้เสียง 2 ใน 3 ของสมาชิกสภาสูงจึงจะมีอำนาจลงโทษและถอดถอนประธานาธิบดีออกจากตำแหน่งได้ การฟ้องร้องประธานาธิบดีไม่สามารถนำมาใช้ในกระบวนการของความไม่พอใจในนโยบายหรือการตัดสินใจของประธานาธิบดีได้สภาสูงไม่มีอำนาจในการพิพากษาถอดถอนประธานาธิบดีในกรณีอื่นๆ ได้ ยกเว้นความผิดใน 3 กรณีคือ การทรยศต่อชาติ การกระทำความผิดทางอาญา และการรับสินบน

3. ฝ่ายตุลาการ

ตามมาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญ บัญญัติให้อำนาจตุลาการแห่งสหรัฐอเมริกาเป็นของศาลสูงศาลหนึ่งกับศาลชั้นรองลงมาที่สภาคองเกรสสถาปนาไว้เป็นคราวๆ และให้ผู้พิพากษาทั้งศาลสูงและศาลรองลงมาอยู่ในตำแหน่งตราบเท่าที่ยังมีความประพฤติดี แสดงว่าผู้พิพากษาของศาลนั้นสามารถดำรงตาแหน่งอยู่ได้ตลอดไป ซึ่งเป็นการป้องกันการใช้อิทธิพลของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติแม้ว่าฝ่ายบริหารนำโดยประธานาธิบดีจะเป็นผู้เสนอแต่งตั้งผู้พิพากษาจากความยินยอมของสภาสูง แต่ผู้พิพากษาก็มีฐานะเสมือนข้าราชการ คือ อาจจะถูกฟ้องร้องจากการกระทำความผิดได้

วิธีการฟ้องร้องเพื่อถอดถอนออกจากตำแหน่ง ( Impeachment ) นี้เป็นเพียงวิธีเดียวที่จะบังคับให้ผู้พิพากษาออกจากตำแหน่งได้จากหลักประกันในการที่ผู้พิพากษาศาลสูงมีสิทธิที่จะดำรงตำแหน่งได้ตลอดชีวิตนี้เองมีผลทำให้ผู้พิพากษาศาลสูงสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยอิสระไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ

ลักษณะของสถาบันทั้ง 3 แสดงให้เห็นถึงความเป็นอิสระต่อกันโดยพิจารณาจากวิธีการเข้าดำรงตำแหน่งและวาระในการดำรงตำแหน่ง นอกจากนี้ข้อบังคับของรัฐธรรมนูญยังห้ามมิให้ข้าราชการสหรัฐอเมริกาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกสภาสูง และในขณะเดียวกันก็ห้ามมิให้สมาชิกของทั้ง 2 สภาดำรงตาแหน่งในฝ่ายบริการ เพื่อเป็นการแยกองค์กรอำนาจทั้ง 3 ให้เป็นอิสระต่อกันอย่างแท้จริง

http://www.facebook.com/maha.arai#!/photo.php?fbid=2048624418212&set=at.1488465854598.65171.1322517784.757427421&type=1&theater

-----------------------------------------------------------

FfF