04 พฤษภาคม 2554

<<< หนังสือแสดงเจตจำนงค์กับ IMF ช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง >>>

Thailand Letter of Intent - IMF
Thailand Letter of Intent, August 14, 1997 - IMF
Thailand Letter of Intent, November 25, 1997 - IMF
Thailand Letter of Intent, February 24, 1998 - IMF
Thailand Letter of Intent, May 26, 1998 - IMF
Thailand Letter of Intent, August 25, 1998 - IMF
Thailand Letter of Intent, December 1, 1998 - IMF
Thailand Letter of Intent, March 23, 1999 - IMF
Thailand Letter of Intent, September 21, 1999 - IMF

-----------------------------------------------------------
...
เพื่อให้ภาพชัดเจนขึ้น "ผู้จัดการ"
ได้รวบรวมสาระสำคัญของหนังสือแสดงเจตจำนงจากฉบับที่ 1-8
ที่ไทยได้ตกลงไว้กับไอเอ็มเอฟ (LOI1-8)
ที่เกี่ยวเนื่องกับการออกกฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจสังคม
ซึ่งจะเห็นถึงพัฒนาการต่างๆที่รัฐบาลไทยจำนนต่อต่างชาติดังนี้

LOI ฉบับที่ 1 (14 สิงหาคม 2540)
(พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)
- พันธกรณีในการดำเนินนโยบาย
เน้นในการจัดการพื้นฐานทางเศรษฐกิจและวางระเบียบใหม่
ในการดูแลสถาบันการเงิน-การคลังของประเทศให้เข้มงวด
แต่ไม่มีพันธะที่จะต้องออกฎหมายมาใช้บังคับ
ใน LOI ฉบับที่ 1 มีการกำหนดไว้ชัดเจนข้อหนึ่งว่า
รัฐบาลไทยจะไม่ใช้เงินงบประมาณแผ่นดินมาชำระแทนเอกชน
ซึ่งทางไอเอ็มเอฟก็เห็นด้วยอยู่แล้ว
เนื่องจากเป็นการไม่ยุติธรรมแก่คนไทยทั้งประเทศ
ที่จะต้องไปรับผิดชอบหนี้สิน ของภาคเอกชน

LOI ฉบับที่ 2 (25 พฤศจิกายน2540)
เริ่มรัฐบาลชวน(20 พฤศจิกายน 2540)
- ได้มีการทบทวนมาตรการหลายอย่างที่ทำมาในช่วง LOI 1
โดยเฉพาะการปรับเพดานการกู้เงินต่างประเทศเพิ่มขึ้น
และยกเลิกตลาดเงินตราต่างประเทศ 2 ตลาด(Two-tier system)
- ขณะเดียวกันเริ่มใช้มาตรการบีบบังคับสถาบันการเงิน
ด้วยกฎเกณฑ์การจัดชั้นสินเชื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
- ปรับปรุงพ.ร.บ.ล้มละลาย
ให้เจ้าหนี้สามารถบังคับหลักประกันได้ในเวลาเร็วขึ้น
- ประกาศให้ต่างชาติเข้ามาถือหุ้นข้างมาก
ในสถาบันการเงินได้เป็นเวลา 10 ปี
- กำหนดเป้าหมายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
โดยเสนอให้รัฐสภาพิจารณากฎหมายที่จำเป็น

LOI ฉบับที่ 3 (24 กุมภาพันธ์ 2541)
- กำหนดกรอบในการแก้ไขพ.ร.บ.ล้มละลาย
โดยพิจารณาถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย
อาทิ การทำธุรกิจของคนต่างด้าว

LOI ฉบับที่ 4 (26 พฤษภาคม 2541)
- นำแนวทางในการประเมินมูลค่าหลักประกันมาใช้
โดยทบทวนกฎหมายธนาคารพาณิชย์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ดำเนินการเปิดเผยข้อมูลโดยเฉพาะ อย่างยิ่งการบันทึกบัญชี
ซึ่งเป็นจุดเริ่มแรกในการปรับปรุงมาตรฐานบัญชีใหม่ให้เป็นสากล
และการร่างกฎหมายการบัญชีใหม่
- เน้นการเปิดเสรีมากขึ้น เสนอให้แก้ไขกฎหมายปว.281
และกฎหมายต่างๆเกี่ยวกับการลงทุนทั้งหลักทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์

LOI ฉบับที่ 5 (25 สิงหาคม 2541)
- เพื่อสนองนโยบายเปิดประเทศ รัฐบาลได้เสนอแก้ปว.281
ให้เป็นพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
- แก้กฎหมายล้มละลาย ในประเด็นกระบวนการบังคับหลักประกัน
และข้อกฎหมายเกี่ยวกับการให้กู้ยืม
เพื่อเป็นเงื่อนไขจูงใจให้ทั้งเจ้าหนี้
- แก้ไขกฎหมายประมวลกฎหมายที่ดินและพระราชบัญญัติอาคารชุด
- อนุมัติร่างแก้ไขพ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย
ธนาคารพาณิชย์ว่าด้วยการประกอบธุรกิจ
บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และเครดิต ฟองซิเอร์
- เพิ่มความเข้มงวดระบบบัญชี
- ออกพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
- ปรุงกฎหมายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
โดยการออกพ.ร.บ.ทุน
ให้อำนาจในการแปลงทุนเป็นหุ้น
และแปลงรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทจำกัด
แก้ไข พ.ร.บ. การเดินอากาศ
ให้ขายหุ้นส่วนใหญ่ของการบินไทยให้ต่างชาติได้

LOI ฉบับที่ 6 (1 ธันวาคม 2541)
- ดำเนินการต่อเนื่องในรายละเอียดของกฎหมายล้มละลาย และปว.281
- ขณะที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลสถาบันการเงิน
มีการออกกฎหมายมา หลายฉบับ
คือ กฎหมายจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเครดิต (เครดิตบูโร)
พ.ร.ก.ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ให้ควบรวมการกันได้
- พ.ร.ก.จัดตั้งเอเอ็มซีแก้ไขพ.ร.บ.เงินตรา

LOI ฉบับที่ 7 ( 23 มีนาคม 2542)
- เน้นนโยบายการจัดการข้อพิพาทระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนไทย
โดยแก้ไข พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลาย
และวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฉบับใหม่ และผลักดันกฎหมาย
ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการบังคับหลักประกัน 2 ฉบับ
พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ร.บ. อาคารชุด และเร่งออกกฎหมาย
ฟื้นฟูเศรษฐกิจอีกส่วนหนึ่ง

LOI ฉบับที่ 8 ( 21 กันยายน 2542)
- ดำเนินการต่อเนื่อง เสนอให้แก้ไขกฎหมาย
ธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับใหม่
ซึ่งเชื่อว่าจะเพิ่มความแข็งแกร่งให้ธปท.
(รวมบัญชี ล้างขาดทุนกองทุนฟื้นฟู) กฎหมายเงินตรา
ซึ่งจะทำให้การบริหารเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ
มีความยืดหยุ่นสูง
- ร่างกฎหมายรับประกันเงินฝาก
...

ที่มา: ผู้จัดการรายวัน 14 พ.ย.43
ผู้จัดการรายสัปดาห์ 13-19 พ.ย.43

-----------------------------------------------------------
FfF