ตอนนี้กำลังเข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้ายสำหรับการเลือกตั้งปี 54
จากการประเมินและผลโผลล์ต่างๆ ระบุว่า พท. จะชนะเลือกตั้ง
แต่จะได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งหรือไม่ ยังไม่แน่ชัด ยังไม่ชัวร์
และโพลล์ที่บอกว่านำมาก็ยังกั๊กว่ามีคนยังไม่ตัดสินใจ 40%-50%
เท่ากับว่าที่บอกว่านำมาก็ยังไม่ชัวร์อีกนั่นแหล่ะ
แต่ถ้าเชื่อมั่นตามโพลล์ กะเต้นฟุตเวิร์กแย็บไปเรื่อยๆ จนระฆังหมดยก
และได้รับการชูมือว่าชนะก็ได้ถ้าต้องการผลชนะอย่างเดียว
ไม่สนใจที่จะชนะแบบถล่มทลายจริงๆ หรือได้เสียงเกินครึ่งมากๆ
วันนี้ผมจะจำลองสถานการณ์แปลงร่างเป็นยิ่งลักษณ์
แล้วพยายามคิดหากลยุทธ์เพื่อต้องการชัยชนะที่ถล่มทลาย
ซึ่งก็คิดออกมาจนได้กลยุทธ์หาเสียง 3 พื้นที่
ซึ่งจะได้ผลหรือไม่ ก็ต้องมีโอกาสได้ลองทำดูถึงจะรู้
ถ้าไม่ลองก็ได้แต่คาดคะเนกันไปคนละทิศคนละทางต่างๆ นาๆ
กลยุทธ์หาเสียง 3 พื้นที่ ก็คล้ายๆ กับรูปแบบ 3 ก๊ก คือ
ก๊กพวกเรา ก๊กพวกเขา ก๊กไม่ใช่พวกเขาพวกเรา
โดยนำมาประยุกต์เพื่อกำหนดรูปแบบการหาเสียง
ให้เหมาะสมในแต่ละก๊กหรือแต่ละพื้นที่
กรณีการหาเสียงพื้นที่ก๊กพวกเรา
พื้นที่ก๊กพวกเราในที่นี้ หมายถึง
พื้นที่ที่ชนะแน่ๆ หรือเคยชนะขาดมาแล้ว
ในพื้นที่นี้ต้องเน้นขบวนแห่หาเสียงในย่านตัวเมืองแบบเคาะประตูบ้าน
เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วไม่ว่าพื้นที่ฝ่ายเราหรือฝ่ายเขา
เสียงคนในเมืองจะค้านมากกว่าหนุนกลับกันกับนอกตัวเมือง
และต้องจัดการปราศรัยเน้นถึงการต้องมาช่วยกันลงคะแนนเสียงมากๆ
แม้จะหาเสียงเลือกทั้งคนทั้งพรรค กรณีเลือกคนไม่มีปัญหา
ชนะมากชนะน้อยก็ได้แค่ 1 เสียงในเขตนั้นๆ
แต่ที่ต้องเน้นคือคะแนนปาร์ตี้ลิสต์ แม้จะชนะในเขตนั้นแน่ๆ อยู่แล้วก็ตาม
แต่ต้องปลุกให้คนออกมาช่วยกาคะแนนปาร์ตี้ลิสต์มากๆ
เพื่อช่วยฉุดคะแนนปาร์ตี้ลิสต์ให้เพิ่มขึ้นหรือไปถั่วกับเขตพื้นที่พวกเขา
ไม่ใช่แค่จะได้ ส.ส. ในระบบปาร์ตี้ลิสต์เพิ่มขึ้นเท่านั้น
แต่มันยังส่งผลต่อไปในอนาคตได้อีกไว้หลังจบเลือกตั้งจะมาว่ากันอีกที
พื้นที่นี้ผมจะให้ณัฐวุฒิเป็นหัวหน้าทีมลุยหาเสียงปราศรัย
เน้นเพิ่มยอดคนมาลงคะแนนปาร์ตี้ลิสต์เพิ่มมากกว่าปี 50
ในแต่ละเขตที่รับผิดชอบไม่ต่ำกว่า 20% อันนี้เป็นเป้าหมาย
เพื่อเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จ ไม่ถึงกับซีเรียสมาก
แต่ทำงานมันก็ต้องมีเป้าหมายเพื่อประเมินผลงาน
กรณีการหาเสียงพื้นที่ก๊กพวกเขา
พื้นที่ก๊กพวกเขาในที่นี้ หมายถึง
พื้นที่ที่แพ้แน่ๆ หรือพื้นที่ถิ่น ปชป. กับ ภท.
ยกตัวอย่างพื้นที่ทางภาคใต้และอีสานใต้บางเขต
ที่จัดพวกเขาแค่ 2 พรรค ก็เพราะว่า
พื้นที่ 2 พรรคนี้มีผลต่อคะแนนเสียง พท. อย่างสูง
คือถ้าชนะในพื้นที่พวกเขาได้จะเหมือนได้ 2 เสียง
เช่นเดิม ส.ส. เก่า พท. มี 90 คน ภท. มี 10 คน ห่างกัน 80 คน
ถ้า พท. ชนะเพิ่ม 1 ที่ เป็น 91 คน ภท. จะลดเหลือ 9 คน
ทำให้เสียงห่างกันเพิ่มขึ้น 2 คนจากเดิมเป็น 82 คน
ส่วนกรณีทางใต้ เสียงค่อนข้างทิ้งห่าง บางพื้นที่
พวกเขามีเสียง 80% - 90% ก็มีจากสถิติเก่าๆ
ดังนั้นการแย่งเสียงระบบเขตลำบาก ทำได้แต่แย่งเสียงระบบปาร์ตี้ลิสต์
งวดนี้ได้คะแนนจากปาร์ตี้ลิสต์เยอะๆ จะดีมากๆ
และการแย่งเสียงปาร์ตี้ลิสต์มาจาก ปชป. ได้
ก็เหมือนได้เพิ่มเป็นเท่าตัว ถ้างวดนี้ได้เพิ่มจากปี 50
100,000 คะแนน ก็เหมือนได้เพิ่มมา 200,000 คะแนน
เพราะเราได้ เพิ่ม 1 คน ปชป. ก็จะลดไป 1 คน
เหมือนตัวอย่างกรณีตัวอย่าง ภท. ด้านบนนั่นแหล่ะ
ดังนั้นงวดนี้ตั้งเป้าหมายเพื่อให้ท้าทาย
เพิ่มยอดพื้นที่ทางใต้อีก 500,000 คะแนน
ซึ่งเหมือนได้มา 1 ล้านคะแนน
เพราะยิ่งได้เพิ่มยิ่งลดคะแนนฝั่ง ปชป. เพิ่ม
และได้ ส.ส. ระบบเขตในพื้นที่บางเขตของ 3 จังหวัดชายแดนใต้
พื้นที่นี้ผมในฐานะที่แปลงร่างเป็น ยิ่งลักษณ์ ในการสมมุติครั้งนี้
ผมต้องลงไปเอง โดยไม่จำเป็นต้องเร่งรีบ
ไปเรื่อยๆ 2 สัปดาห์จังหวัดละวันไม่เน้นปราศรัย
เพราะปราศรัยไปก็มีคนมาฟังน้อยเพราะไม่ใช่พื้นที่เรา
เน้นเคาะประตูบ้านในเขตตัวเมืองแจกนโยบายใหม่และเก่า
เพื่อย้ำความมั่นใจว่าทำมากกว่าที่หาเสียงไว้ทุกครั้ง
และถ้ามีทีมงานคอยสอบถามเก็บข้อมูลความต้องการคนในพื้นที่
ซึ่งต้องดูข้อกฏหมายเรื่องสัญญาว่าจะให้ด้วย
แต่ไม่ได้เน้นเรื่องสัญญาแต่ต้องการสำรวจความต้องการ
เพื่อไปปรับนโยบายหาเสียงอันนี้ต้องปรึกษาฝ่ายกฏหมายอีกที
จะดีกว่าการหาเสียงแบบเดินผ่านไปอย่างเดียว
เรียกว่าต้องเทคแคร์มากกว่าปกติ พื้นที่อื่นก็ควรทำแบบนี้
และควรทำเป็นตาบอดสี เห็นเป็นสีที่เราชอบอย่างเดียว
เจอป่วนไม่ต่อล้อต่อเถียงด้วย มองเหมาเป็นคนมาเชียร์
แจกยิ้มหาเสียงไปเรื่อยๆ จนถึง 3 จังหวัดชายแดนใต้
ท่ามกลางการติดตามข่าวจากสื่อทั้งในและต่างประเทศ
ครองกระแสยาว 2 สัปดาห์ แม้มีข่มขู่ หรือข่มขวัญ
ไม่ว่ายังไง ก็จะวิ่งเข้าหาเส้นชัยแม้จะขาเจ็บ ขาพลิกก็จะวิ่งให้ถึงเส้นชัย
งานนี้ต้องฝึกการมองคนที่มาป่วนรวมถึงป้ายด่าต่างๆ เหมือนคนมาเชียร์
พื้นที่นี้จะเป็นพื้นที่สร้างภาวะผู้นำอย่างแท้จริง
ซึ่งการที่ต้องลงมาเสี่ยงในพื้นที่พวกเขาก็เป็นจุดหนึ่ง
ที่สามารถนำไปใช้ในการปลุกคนพื้นที่พวกเรา
ให้ออกมาช่วยโหวตปาร์ตี้ลิสต์มากๆ ด้วย
และหลังจากจบทางใต้ก็ไปอีสานใต้ทำเหมือนกัน
แต่เน้นเจาะระดับนอกเมืองเพิ่มขึ้นด้วย
เพราะนอกเมืองจะเป็นกองเชียร์ฝ่ายเขาเสียส่วนใหญ่
เนื่องจากกระแสนายกหญิงและนายกคนใหม่นโยบายใหม่ๆ มากมาย
ไม่ว่าจะไปหาเสียงที่ไหน ยิ่งที่เป็นข่าวไปได้ทั่วประเทศได้แล้ว
ไม่จำเป็นต้องไปลงพื้นที่เองทุกจุดจนเสี่ยงในการเดินทางอย่างเร่งรีบ
เพราะกระแสมันจะไปถึงเอง และการแบ่งคนไปทำงาน
จะช่วยทำให้การหาเสียงเจาะลึกมากกว่านั่งรถผ่านเดินผ่าน
หรือปราศรัยบนเวทีจบแล้วแล้วกัน จึงไม่ได้ให้ณัฐวุฒิตามมา
เพราะเขาสามารถดึงดูดพวกเราได้ดีอยู่แล้ว
ส่วนพวกเขาอาจมีพวกที่ไม่ชอบเสื้อแดงอย่างแรง
อาจจะเกิดอารมณ์หรือเกิดอาการต่อต้านหนักขึ้นก็ได้
ที่สำคัญ ผู้สมัครทุกคนที่ช่วยหาเสียงอย่างแข่งขัน แม้จะสอบตก
ถ้าได้เป็นรัฐบาลก็จะมีตำแหน่งรองรับให้มาช่วยทำงาน
เพื่อสร้างขวัญกำลังใจเพราะเขาหาเสียงให้พรรคมากกว่าตนเอง
เพราะถึงยังไงก็สอบตกอยู่แล้ว ไม่หาเสียงหรือหาเสียงผลเหมือนกัน
ดังนั้นนี่จึงเป็นการกระตุ้นเพิ่มแรงจูงใจอีกทางหนึ่ง
กรณีการหาเสียงพื้นที่ก๊กไม่ใช่พวกเขาไม่ใช่พวกเรา
พื้นที่ก๊กไม่ใช่พวกเขาไม่ใช่พวกเราที่นี้ หมายถึง
พื้นที่ที่มีเสียงก้ำกึ่ง สูสี รวมไปถึงพื้นที่พรรคอื่นนอกจากพวกเขา
ถ้าเป็นพื้นที่พรรคอื่นนอกจากพวกเขาและคะแนนไม่สูสี
อย่างสุพรรณแบบนี้ ก็เน้นเหมือนทางใต้
แบบเคาะประตู แจกเอกสารเกี่ยวกับนโยบาย
และหาข้อมูลความต้องการชาวบ้านเพิ่มเติม
ไม่เน้นรีบร้อน เร่งรีบ เน้นเจาะลึกทุกอำเภอ
ส่วนพื้นที่ก้ำกึ่ง สูสีทำเหมือนกัน แต่เน้นไม่รีบร้อน
หาข้อมูลสอบถามความต้องการชาวบ้าน เสนอนโยบาย
เข้าไปตามหมู่บ้านเยอะๆ โดยเฉพาะในกรุง
พื้นที่นี้แบ่งหัวหน้าทีมเศรษฐกิจลงไปหาเสียง
เช่นมิ่งขวัญ, โอฬาร, สุชาติ เป็นต้น
โดยให้โอฬารเน้นหนักในกรุงเทพ
สุชาติเน้นต่างจังหวัดเพราะน่าจะมีคนรู้จักมากกว่า
ส่วนมิ่งขวัญให้เป็นกองหนุนเน้นพื้นที่ก้ำกึ่งแพ้ชนะระดับพัน
ช่วยหาเสียงในเขตที่มีลุ้นที่ 2 คนแรกดูแลอยู่
หรือจะแบ่งเขตที่มีลุ้นให้มิ่งขวัญรับผิดชอบ
เพื่อหวังได้คะแนนเพิ่มระดับหลายพันจนชนะ
เพราะมีคนรู้จักมากกว่าเพื่อน
เป้าหมายพื้นที่นี้ จำนวน ส.ส. เพิ่มมากกว่าปี 50
และปาร์ตี้ลิ้สต์เพิ่มสัก 10%
พื้นที่นี้ไม่เน้นปราศรัยใหญ่เน้นเคาะประตูบ้าน
จับเข่าคุยเป็นกลุ่มๆ ตามหมู่บ้านหรือตำบล
เนื่องจากแบ่งเขตรับผิดชอบให้น้อยลงแล้ว
และแต่ละคนก็จะมีทีมงานช่วยหาเสียง
3 สัปดาห์น่าจะหาเสียงได้มากขึ้น
ควรเน้นหาเสียงในถิ่นพวกเขาเยอะๆ
ที่เขตนี้ให้มือเศรษฐกิจเข้าไปหาเสียง
เพื่อไม่ให้เกิดการต่อต้านมากจากพวกกองเชียร์กีฬาสีต่างๆ
และหวังใช้นโยบายจูงใจให้คนมาเลือกเพิ่ม
ในระดับหลายพันจนถึงหมื่นคนในแต่ละเขต
ซึ่งต้องมีเวลาเจาะลึกทั่วเขต
โดยการร่วมมือทั้ง ส.ส. พื้นที่ ทีมงาน ทีมดาราและทีมเศรษฐกิจ
นี่เป็นกลยุทธ์การหาเสียงตามความเห็นของผม
โดยความคาดหวังว่า จะได้เสียงมากมายถล่มทลาย
โดยหวังยอดปาร์ตี้ลิสต์ เพราะมันจะส่งผลระยะยาวได้ด้วย
ครั้งหนึ่งผมเคยสอบเอ็นท์ แล้วเกือบเอ็นท์ไม่ติด
ติดอันดับที่ 5-6 อันดับสุดท้ายที่เขาให้เลือกได้
เพราะคิดว่าชอบเลข ก็กะจะได้คะแนนจากเลข 80-90 คะแนน
นอกนั้นก็ไปมั่วๆ เอา ทั้งภาษาไทย สังคม อังกฤษ ชีวะ เคมี
ปรากฏว่าพรรคพวกที่ดูเหมือนไม่โดดเด่นในวิชาใด
แต่เขาสนใจหมดทุกวิชาและทำทุกวิชาระดับพอผ่าน
เมื่อรวมคะแนนทั้งหมด เขาก็ได้คะแนนมากกว่าจนติดที่ดีกว่าได้
นี่เป็นอุทาหรณ์สอนใจ จึงนำมาเสนอแผนการหาเสียงครั้งนี้
ที่จะหวังเน้นแค่ที่อีสานหรือเหนืออย่างเดียวไม่ได้
เพราะฝ่ายตรงข้ามเขาทั้งลดแลกแจกแถมสารพัดไม่รวมที่จ้องโกงอีก
เพื่อหวังสกัด คะแนนที่หวังว่าจะได้เป็นกอบเป็นกำก็ชักไม่แน่
ต่อให้ยิ่งลักษณ์ลงช่วยหาเสียงกี่เที่ยว
ก็ไม่น่าจะช่วยเพิ่มเสียงได้จากที่เพิ่มมาแล้ว
สู้ไปลุยเพิ่มในเขตที่ยังพอมีโอกาสที่ผู้คนไม่ได้รับความช่วยเหลือ
และได้รับผลกระทบเรื่องค่าครองชีพอาจจะได้เสียงที่ไม่ใช่แฟนพันธุ์แท้
พลิกกลับมาช่วยได้บ้างไม่มากก็น้อย ดีกว่าไปลุ้นช่วยเขต
ที่ไม่สามารถเพิ่มคะแนนได้อีกเพราะถึงจุดอิ่มตัวแล้ว
หรือไม่ต้องวิ่งรอกกันทั้งทีมงานเสี่ยงต่อการเดินทาง
และเป็นการหาเสียงแบบฉาบฉวยเหมือนวิ่งผ่านสายน้ำ
สู้หาเสียงเน้นๆ ไม่เร่งรีบ ไปหาเสียงที่ไหน
กระแสมันก็กระจายครอบคลุมได้อยู่แล้ว
ไม่จำเป็นต้องลุยเองทุกพื้นที่แถมไม่สามารถเจาะลึกได้มาก
ถึงขนาดทั้งอำเภอทั้งจังหวัด แค่ทั้งตลาดกับย่านที่รถวิ่งผ่านเท่านั้น
ถ้าเจาะลึกนี่จะลงถึงตลาด ตลาดนัด หน้าโรงเรียน
ที่ที่มีคนอยู่เยอะๆ หรือตามบ้านเรือนในตัวเมืองอะไรแบบนี้
การแบ่งเขตรับผิดชอบเพื่อแข่งขันสร้างผลงาน
และไม่เร่งรีบจนหมดไปกับการเดินทางมากนักด้วย
โดย มาหาอะไร
FfF