29 สิงหาคม 2554

<<< เรื่องภาษีที่น่ารู้ >>>

วิเคราะห์ผลได้ & ผลเสียจากคลังเตรียมปรับโครงสร้างระบบโครงสร้างภาษี

(ปรับขึ้น VAT แต่ลด CIT/PIT หรือ คง VAT ลด CIT/PIT ลด BOI หรือ ยกเลิก BOI แต่คง VAT)

ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา แนวคิดการปฏิรูประบบโครงสร้างภาษีของกระทรวงการคลังได้ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็น ประเด็นหารือและพิจารณาการวางแนวทางดำเนินการที่เหมาะสมอยู่เป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง โดยเจตนารมย์ที่สำคัญของการดำเนินการ คงจะเป็นความพยายามของทางการในการจัดระบบโครงสร้างภาษีให้เกิดประสิทธิภาพ สูงสุดและสอดคล้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรทางเศรษฐกิจของประเทศ ตลอดจนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและสร้างความโปร่งใส-เป็นธรรมให้กับทุก ภาคส่วน
ในขณะเดียวกัน ระบบโครงสร้างภาษีที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ก็น่าจะเป็นผลดีต่อการจัดเก็บรายได้ภาษีของรัฐบาล โดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์ที่รายได้ภาษีบางรายการ อาทิ ภาษีศุลกากร มีแนวโน้มลดบทบาทลง อันเป็นผลสืบเนื่องจากข้อตกลงในการลดพิกัดอัตราภาษีการค้าระหว่างประเทศ ตามการเปิดเสรีการค้า-การลงทุนกับประเทศต่างๆ และแผนการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) ในปี 2558 ตลอดจนภายใต้ภาวะที่รัฐบาลมีค่าใช้จ่ายผูกพันหรืองบประจำที่มีแนวโน้มเพิ่ม ขึ้นทุกปีๆ เพื่อเสริมสร้างสวัสดิการทางสังคม รวมทั้งยังมีแผนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เงินลงทุน มูลค่าสูงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศอีกด้วย
การปรับระบบโครงสร้างภาษี เพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ
รายรับที่มีแนวโน้มลดลง ภาษีศุลกากร ตามแผนการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558
ภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อสนับสนุนความสามารถทางการแข่งขันของภาคธุรกิจ
รายรับที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ภาษีฐานรายได้ อาทิ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีมรดก
ภาษีสรรพสามิต อาทิ ภาษีที่ทำลายสุขภาพ (ภาษีบาป) ภาษีสิ่งแวดล้อม
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
โครงการไทยเข้มแข็ง เพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ
นโยบายประชาวิวัฒน์ เสริมสร้างสวัสดิการด้านสังคมให้ผู้มีรายได้น้อยหรือผู้ด้อยโอกาส
กองทุนการออมแห่งชาติ แผนรับมือการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ
จากเหตุผลข้างต้น จึงเป็นที่มาของแนวคิดในการริเริ่มแผนปฏิรูประบบโครงสร้างภาษีของกระทรวงการ คลัง ซึ่งในเบื้องต้น ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าแนวทางการดำเนินการจะเป็นเช่นไร เนื่องจากอยู่ระหว่างการวางแผนและประเมินผลกระทบในด้านต่างๆ ของ 3 กรมภาษีหลัก คือ กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร ก่อนที่จะมีการนำเสนอให้กระทรวงการคลังและคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
แม้จะยังขาดข้อสรุปที่ชัดเจน แต่จากเอกสารรายงานการประชุมผู้บริหารของกระทรวงการคลัง ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2553 คงสรุปแนวทางโดยสังเขปในประเด็นที่เกี่ยวกับระบบภาษีหลักๆ ว่าทางการมีแผนจะดำเนินการ ดังนี้
  • การปรับโครงสร้างและอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อยกระดับรายได้ สร้างโอกาสและการเข้าถึงโอกาส และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
  • การเพิ่มภาษีในสินค้าที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ ภาษีสุรา และภาษียาสูบ รวมทั้งการหาแหล่งรายได้ใหม่จากการจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม (ยางรถยนต์ น้ำมันหล่อลื่น ยาฆ่าแมลง และโทรศัพท์มือถือ) ภาษีโทรคมนาคม และภาษีสลากกินแบ่งรัฐบาล ขณะเดียวกันก็ยกเลิกภาษีในสินค้าที่ไม่มีความคุ้มค่าต่อการจัดเก็บ อาทิ ภาษีเครื่องปรับอากาศในรถยนต์ ภาษีพรม และภาษีแก้วเลดคริสตัล
  • การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี ซึ่งรวมถึงการเชื่อมโยงระบบเทคโนโลยี (IT) ของทั้ง 3 กรมภาษี
  • อย่างไรก็ดี ประเด็นที่หลายฝ่ายให้ความสนใจ ก็คือ การปรับโครงสร้างและอัตราภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากน่าจะมีผลกระทบต่อภาคธุรกิจและครัวเรือนในวงกว้าง จึงขอสรุปลักษณะและการวิเคราะห์ผลของการปรับเปลี่ยนภาษีดังกล่าว ดังนี้ ลักษณะของแต่ละประเภทภาษี

    ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax: PIT) เป็นภาษีฐานรายได้ที่จัดเก็บอัตราภาษีแบบก้าวหน้า หรืออัตราภาษีเพิ่มขึ้นตามรายได้ที่สูงขึ้น อย่างไรก็ดี เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ บรรเทาภาระภาษี และพัฒนาตลาดทุน ทางการได้มีการออกกฎหมายกำหนดให้สามารถหักค่าลดหย่อนได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การยกเว้นภาษีสำหรับผู้มีเงินได้ 150,000 บาทแรก การลดหย่อนส่วนตัว-คู่สมรส-บุตร ค่าลดหย่อนเงินบริจาค-ท่องเที่ยว ค่าลดหย่อนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกันสังคม และดอกเบี้ยกู้บ้าน ตลอดจนค่าลดหย่อนสำหรับการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ประกันชีวิต และเงินซื้อบ้านใหม่ โดยเมื่อได้ยอดเงินได้สุทธิแล้ว นำไปคำนวณภาษีตามอัตราภาษี ดังนี้

    เงินได้สุทธิ ช่วงเงินได้สุทธิ
    แต่ละขั้น
    อัตราภาษี
    ร้อยละ
    ภาษีแต่ละขั้น
    เงินได้สุทธิ
    ภาษีสะสม
    สูงสุดของขั้น
    1 – 150,000 150,000 ยกเว้น - -
    150,001 – 500,000 350,000 10 35,000 35,000
    500,001 – 1,000,000 500,000 20 100,000 135,000
    1,000,001 – 4,000,000 3,000,000 30 900,000 1,035,000
    4,000,001 บาทขึ้นไป
    37

    หมายเหตุ: การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินได้สุทธิเฉพาะส่วนไม่เกิน 150,000 บาท มีผลใช้บังคับสำหรับเงินได้สุทธิที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป (พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 470) พ.ศ. 2551) โดยเงินได้สุทธิ คำนวณจากเงินได้พึงประเมินหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
    ที่มา: กรมสรรพากร
    ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax: CIT) เป็นภาษีฐานรายได้ที่โดยทั่วไปจัดเก็บจากกำไรสุทธิของผู้ประกอบการในอัตรา ภาษีร้อยละ 30 แต่ก็มีการลดหย่อนอัตราภาษีเป็นร้อยละ 20-25 สำหรับบริษัทที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (SET) และตลาด MAI รวมทั้งมีการยกเว้นภาษีบางส่วนให้บริษัทที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เป็นระยะเวลาตั้งแต่ 3-8 ปี ตามเงื่อนไขและพื้นที่โครงการลงทุนของบริษัทเหล่านั้นเป็นหลัก

    ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value-added Tax: VAT) เป็นภาษีฐานการใช้จ่ายที่จัดเก็บในอัตราเดียว โดยเริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ. 2535 และมีเพดานอัตราภาษีตามกฎหมายกำหนดไว้ที่ร้อยละ 10 แต่เนื่องจากประเทศไทยประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ ทางการจึงมีการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเหลือร้อยละ 7 เรื่อยมาตั้งแต่ 1 เมษายน 2542 จนถึงปัจจุบันที่การลดอัตราภาษีจะมีกำหนดสิ้นสุดในวันที่ 30 กันยายน 2555

    เปรียบเทียบอัตราภาษี PIT CIT และ VAT ของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน

    ประเทศ PIT CIT VAT
    ไทย 0-37% 30% 7%
    สิงคโปร์ 3.5-20% 17% 7%
    เวียดนาม 5-35% 25% 10%
    อินโดนีเซีย 5-30% 28% 10%
    ฟิลิปปินส์ 5-32% 30% 12%
    จีน 5-45% 25% 17%

    ที่มา: http://www.worldwide-tax.com

    ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านส่วนใหญ่แล้ว พบว่า ณ ปัจจุบัน ประเทศไทยจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราที่ สูงกว่า แต่อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มของไทย ถือว่าต่ำกว่าพอสมควร วิเคราะห์การปรับภาษี ระหว่าง 3 ทางเลือก
    1) ปรับขึ้น VAT แต่ลด CIT/PIT
    2) คง VAT ลด CIT/PIT และลดการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี BOI
    3) ยกเลิกการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี BOI แต่ไม่ขึ้น VAT
    จากสถิติรายได้รัฐบาลล่าสุดในปี 2553 พบว่า ในบรรดาภาษี 3 รายการ คือ VAT CIT และ PIT การจัดเก็บรายได้ของ CIT ครองสัดส่วนสูงสุดที่ประมาณร้อยละ 36 จากรายได้ทั้งหมดของกรมสรรพากร ตามมาด้วย VAT (สุทธิหลังการคืนภาษี) มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 26 และ PIT มีสัดส่วนราวร้อยละ 17 ในขณะที่ จากผลการศึกษาของทางการ การปรับขึ้นอัตราภาษี VAT ร้อยละ 1 อาจจะทำให้รายได้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้นประมาณ 40,000 ล้านบาท1 ซึ่งเป็นนัยว่า ผู้บริโภคจะมีค่าใช้จ่ายจากการปรับเพิ่มอัตราภาษีดังกล่าวเพิ่มขึ้นในจำนวน เดียวกัน ส่วนข้อเสนอการปรับลด CIT/PIT น่าจะเป็นผลดีในการช่วยลดค่าใช้จ่ายภาษีให้กับผู้ประกอบการและผู้บริโภค สำหรับสิทธิประโยชน์ทางภาษี BOI นั้น ในเบื้องต้น การลดหรือการยกเลิกสิทธิประโยชน์ คงจะมีผลให้ผู้ประกอบการในหมวดอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริม มีค่าใช้จ่ายด้านภาษีเพิ่มขึ้น แต่ขนาดผลกระทบคงจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและรายละเอียดสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ ในแต่ละรายธุรกิจเป็นสำคัญ
    ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ทางเลือกที่น่าจะเป็นไปได้ ก็คือ การคง VAT ไว้ที่อัตราร้อยละ 7 ต่อไปจนถึงเดือนกันยายน 2555 เป็นอย่างน้อย และหลังจากนั้น การพิจารณาปรับเพิ่มอัตราภาษี คงจะขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในด้านการใช้จ่ายของผู้บริโภค ว่ามีความแข็งแกร่งเพียงพอที่จะรับมือกับการปรับเพิ่มอัตราภาษีมากน้อยเพียง ใด แต่คงต้องยอมรับว่าประเด็นนี้ค่อนข้างมีความอ่อนไหวต่อคะแนนนิยมของทุก รัฐบาลพอสมควร จึงทำให้การผลักดันให้เกิดขึ้นจริง อาจทำได้ไม่ง่ายนัก
    สำหรับภาษี PIT นั้น คาดว่า ในระยะแรกๆ ของการปฏิรูป แนวทางน่าจะออกมาในลักษณะของการเน้นขยายฐานภาษี รวมถึงการปรับเปลี่ยนเกณฑ์เกี่ยวกับค่าลดหย่อนในบางรายการ โดยอาจพิจารณาจำกัดการให้ค่าลดหย่อนในรายการที่สร้างความเหลื่อมล้ำทางสังคม มากขึ้น และเน้นเพิ่มการให้ค่าลดหย่อนในรายการที่เกี่ยวพันกับค่าครองชีพพื้นฐานหรือ เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาโครงการประชากรในอนาคต ขณะที่การปรับลดอัตราภาษีลง น่าจะเป็นแนวทางอันดับท้ายสุดที่จะเกิดขึ้น
    ขณะที่ มองว่าการปรับลดอัตราภาษี CIT มีโอกาสเกิดขึ้น แม้จะไม่เร็วและน่าจะเป็นไปในลักษณะที่ทยอยลดอัตรา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจเอกชน ควบคู่กับการขยายฐานภาษี ซึ่งเน้นการปรับเปลี่ยนระบบการบันทึกบัญชีของผู้ประกอบการให้มีความเป็น มาตรฐานและตรวจสอบได้มากขึ้น สำหรับการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี BOI นั้น แนวทางน่าจะเกิดขึ้นในลักษณะของการปรับเกณฑ์เงื่อนไขให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย หรือสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศเป็นหลัก และคงจะไม่ถึงกับยกเลิกการให้สิทธิประโยชน์ไปทั้งหมด เพราะต้องยอมรับว่าการให้สิทธิประโยชน์ ก็มีความสำคัญในแง่ของการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในประเด็นการดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ (นอกเหนือไปจากโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ และโอกาสสร้างผลตอบแทน) ให้เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมที่ทางการต้องการจะส่งเสริม
    โดยสรุป หากแผนการดำเนินงานของทางการเป็นไปตามแนวทางข้างต้น ท้ายที่สุดแล้ว ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะเอสเอ็มอี ที่ชำระภาษี PIT อาจจะไม่ได้รับประโยชน์มากนักจนกว่าจะมีการปรับลดอัตราภาษีลง ในขณะที่ ผู้ประกอบการที่ชำระภาษี CIT น่าที่จะมีแนวโน้มเสียค่าใช้จ่ายภาษีด้วยอัตราที่ลดลง แม้อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นเร็วนักก็ตาม

    1อ้าง อิง จากบทความจากงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2553 ของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง ความท้าทายของนโยบายการคลัง: สู่ความยั่งยืนและการขยายตัวทางเศรษฐกิจระยะยาว

    แหล่งที่มาข้อมูล
    - สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
    - กรมสรรพากร
    - บทความจากงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2553 ของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง ความท้าทายของนโยบายการคลัง: สู่ความยั่งยืนและการขยายตัวทางเศรษฐกิจระยะยาว โดย สุรจิต ลักษณะสุต พิสิทธิ์ พัวพันธ์ จารุพรรณ วานิชธนันกูล คธาฤทธิ์ สิทธิกูล อุทุมพร จิตสุทธิภากร และจงกล คำไล้
    - http://www.worldwide-tax.com

    http://ttmemedia.wordpress.com/2011/01/31/วิเคราะห์ผลได้-ผลเสียจ/


    ------------------------------------------

    Tax Rates Around the World

    (Note: Only the
    underlined countries are currently ready)

    Country Income Tax VAT
    Corporate Individual
    Argentina 35% 9-35% 21%
    Australia 30% 17-45% 10%GST
    Austria 25% 21%-50% 20%
    Barbados 25% 20/35% 17.5%
    Belarus 26.28% 12% 20%
    Belgium 33.99% 25-50% 21%
    Brazil 34% 7.5-27.5% 17-25%
    Bulgaria 10% 10% 20%
    BVI - - -
    Canada 16.5%(federal) 15-29%(Federal) 5%(gst)
    China 25% 5-45% 17%
    Croatia 20% 15-45% 23%
    Cyprus 10% 20-30% 15%
    Czech Rep. 19% 15% 20%
    Denmark 25% 38-59% 25%
    Egypt 20% 10-20% 10%gst
    Estonia 21% 20% 20%
    Finland 26% 6.5-30% 23%
    France 33.33% 5.5-40% 19.6%
    Germany 30-33%(effective) 14-45% 19%
    Gibraltar 10% 0-40% -
    Greece 24% 0-45% 23%
    Hong kong 16.5% 2-17% -
    Hungary 10/19% 17% and 32% 25%
    India 30-40% 10-30% 12.5%
    Indonesia 28% 5-30% 10%
    Ireland 12.5% 20-41% 21%
    Israel 24% 10-45% 16%
    Italy 31.4% 23%-43% 20%
    Japan 30% 5-50% 5%(consump)
    Latvia 15% 23% 22%
    Libya 20% 15% -
    Lithuania 15% 15%/20% 21%
    Luxemburg 21% 0-38% 15%
    Malta 35% 15-35% 18%
    Mexico 30% 0-28% 16%
    Monaco 33.33% 0% 19.6%
    Morocco 35% 0-41.5% 20%
    Montenegro 9% 9% 17%
    Netherlands 20-25% 0-52% 19%
    New Zealand 30% 0-39% 15%gst
    Norway 28% 28-49% 25%
    Pakistan 35% 0-25% 15%
    Panama 27.5% 15-25% 7%
    Philippines 30% 5-32% 12%
    Poland 19% 18%/32% 23%
    Portugal 12.5/25% 0-42% 23%
    Romania 16% 16% 24%
    Russia 20% 13% 18%
    Saudi Arabia 20% 20% --
    Serbia 10% 10-20% 18%
    Singapore 17% 3.5%-20% 7% (gst)
    Slovakia 19% 19% 20%
    Slovenia 20% 16%-41% 20%
    South Africa 28% 0-40% 14%
    Spain 30% 24-45% 18%
    Sweden 26.3% 0-57% 25%
    Switzerland 12.5-24% 0-11.5% (federal) 8%
    Thailand 30% 5-37% 7%
    Tunisia 30% 15-35% 18%
    Turkey 20% 15-35% 18%
    U.K. 28% 0-50% 20%
    Ukraine 23% 15/17% 20%
    U.S.A. 15-35% 15-35% -
    Vietnam 25% 5-35% 10%
    Zambia 35% 0-35% 16%
    (Last partial update, August 23, 2011 )

    1. In countries in which VAT is charged at a number of different rates, the rate in the Table is the highest rate.
    2. The rates in the Table do not include Local tax, if it exists.


    http://www.worldwide-tax.com/#partthree

    ------------------------------------------

    ภาษีมูลค่าเพิ่ม

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    ภาษีมูลค่าเพิ่ม (อังกฤษ: Value Added Tax หรือ VAT) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า แวต เป็นภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่งที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการ โดยจัดเก็บเฉพาะจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการผลิต การจำหน่ายหรือการให้บริการ ตัวอย่างเช่น สมมติว่าอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นร้อยละ 10 ซื้อวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์มา 100 บาท และมีภาษีซื้อ 10 บาท เมื่อผลิตเป็นสินค้าขายในราคา 150 บาท ตอนขายไปจะต้องคิดภาษีขาย 15 บาท ดังนี้ ก็จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะผลต่างจำนวน 15-10 = 5 บาท เท่านั้น ถ้าการซื้อ และขายเกิดขึ้นภายในรอบการจ่ายภาษีเดียวกัน.

    เนื้อหา

    [ซ่อน]

    [แก้] ประวัติ

    ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 ประเทศไทยได้เริ่มมีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นครั้งแรก

    การนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้เป็นผลมาจากเหตุผลในทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ จากการที่เศรษฐกิจของประเทศไทยขยายตัวอย่างรวดเร็ว ฐานะทางเศรษฐกิจการเงินการคลังของประเทศมั่นคงขึ้นมาก ในขณะที่มีการกล่าวถึงความไม่เหมาะสมของโครงสร้างภาษีการค้าต่อเศรษฐกิจของ ประเทศ อันได้แก่ความซ้ำซ้อนของระบบภาษีการค้าที่เป็นอยู่ และความหลากหลายของโครงสร้างอัตราภาษีนอกจากความบกพร่องของระบบภาษีการค้า ซึ่งไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคตแล้ว ความต้องการเปลี่ยนแปลงระบบภาษีของทางการ ยังสืบเนื่องมาจากเหตุผลทางด้านภาษีอากรอีกด้วย กล่าวคือ ความสามารถในการหารายได้ของรัฐผ่านเครื่องมือทางภาษีการค้าและภาษีศุลกากร ได้ลดน้อยลงเป็นลำดับ

    ด้วยเหตุผลดังกล่าว กระทรวงการคลัง จึงได้เสนอพิจารณายกเลิกภาษีการค้า และนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้แทน โดยภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวจะมีอัตราเดียวที่ใช้กับสินค้าและบริการทุกชนิด สำหรับสินค้าใดที่มีเหตุผลทางเศรษฐกิจที่จะเก็บสูงกว่าอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เก็บภาษีสรรพสามิตเพิ่มเติมจากภาษีมูลค่าเพิ่ม

    การนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้นี้ นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญต่อระบบภาษีอากรของประเทศไทยเป็นการปฏิรูป ภาษีการค้าครั้งใหญ่ ทำให้ระบบภาษีอากรของประเทศมีความสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และเอื้ออำนวยต่อการลงทุนการส่งออก และการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจ เนื่องจากภาษีมูลค่าเพิ่มไม่มีความซ้ำซ้อนของภาระภาษีดังเช่นภาษีการค้า นอกจากนี้ภาษีมูลค่าเพิ่มทำให้เกิดความเป็นธรรมและความสะดวกต่อการปฏิบัติ ตามของผู้เสียภาษีอีกด้วย

    [แก้] อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศต่างๆ

    [แก้] ประเทศนอกสหภาพยุโรป

    ประเทศ อัตรา
    มาตรฐาน Reduced
    ธงของประเทศอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา 21% 10.5% หรือ 0%
    ธงของประเทศออสเตรเลีย ออสเตรเลีย 10%
    ธงของประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา 17%
    ธงของประเทศบัลแกเรีย บัลแกเรีย[1] 20% 9%
    ธงของประเทศแคนาดา แคนาดา 7% หรือ 15% 4.5%
    ธงของประเทศชิลี ชิลี 19%
    Flag of the People's Republic of China จีน 17% 6% หรือ 3%
    ธงของประเทศโครเอเชีย โครเอเชีย 22% 0%
    ธงของสาธารณรัฐโดมินิกัน สาธารณรัฐโดมินิกัน 6% 12% หรือ 0%
    ธงของประเทศเอกวาดอร์ เอกวาดอร์ 11%
    ธงของประเทศไอซ์แลนด์ ไอซ์แลนด์ 24.5% 14%
    ธงของสาธารณรัฐอินเดีย อินเดีย 12.5% 4%, 1%, หรือ 0%
    ธงของประเทศอิสราเอล อิสราเอล 16.5%
    ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 5%
    ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย 5%
    ธงของประเทศเม็กซิโก เม็กซิโก 15% 0%
    ธงของประเทศนิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์ 12.5%
    ธงของประเทศนอร์เวย์ นอร์เวย์ 25% 14% หรือ 8%[1]
    ธงของประเทศฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ 10%
    ธงของประเทศโรมาเนีย โรมาเนีย[1] 24% 9%
    ธงของสหพันธรัฐรัสเซีย รัสเซีย 18% 10% หรือ 0%
    ธงของประเทศเซอร์เบีย เซอร์เบีย 18% 8% หรือ 0%
    ธงของประเทศสิงคโปร์ สิงคโปร์ 5%
    ธงของประเทศแอฟริกาใต้ แอฟริกาใต้ 14% 7% หรือ 4%
    ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ 10%
    ธงของสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา ศรีลังกา 15%
    ธงของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์[1] 8% 3.8% หรือ 2.5%
    ธงชาติของไทย ไทย 10% 7%
    ธงของประเทศตุรกี ตุรกี 18% 8% หรือ 1%
    ธงของประเทศยูเครน ยูเครน 20% 0%
    ธงของประเทศเวเนซุเอลา เวเนซุเอลา 16% 8%

    [แก้] ประเทศในสหภาพยุโรป

    ประเทศ อัตรา
    มาตรฐาน Reduced
    ธงของประเทศออสเตรีย ออสเตรีย 20% 12% หรือ 10%
    ธงของประเทศเบลเยียม เบลเยียม 21% 12% หรือ 6%
    ธงของประเทศไซปรัส ไซปรัส 15% 5%
    ธงของสาธารณรัฐเช็ก สาธารณรัฐเช็ก[1] 20% 10%
    ธงของประเทศเดนมาร์ก เดนมาร์ก 25%
    ธงของประเทศเอสโตเนีย เอสโตเนีย[1] 20% 9%
    ธงของประเทศฟินแลนด์ ฟินแลนด์[1] 23% 13% หรือ 9%
    ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 19.6% 5.5% หรือ 2.1%
    ธงของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เยอรมนี 19% 7%
    ธงของประเทศกรีซ กรีซ[1] 23% 13% หรือ 6.5%
    ธงของประเทศฮังการี ฮังการี[1] 20% 18% หรือ 5%
    ธงของสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ 21% 13.5% หรือ 4.8%
    ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี 20% 10%, 6%, หรือ 4%
    ธงของประเทศลัตเวีย ลัตเวีย[1] 22% 12% หรือ 0%
    ธงของประเทศลิทัวเนีย ลิทัวเนีย[1] 21% 9% หรือ 5%
    ธงของราชรัฐลักเซมเบิร์ก ลักเซมเบิร์ก 15% 12%, 9%, 6%, หรือ 3%
    ธงของสาธารณรัฐมอลตา มอลตา 18% 5%
    ธงของประเทศเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ 19% 6%
    ธงของสาธารณรัฐโปรตุเกส โปรตุเกส[1] 23% 13% หรือ 6%
    ธงของประเทศโปแลนด์ โปแลนด์[1] 23% 8% หรือ 5%
    ธงของประเทศสโลวาเกีย สโลวาเกีย[1] 20% 10%
    ธงของประเทศสโลวีเนีย สโลวีเนีย 20% 8.5%
    ธงของประเทศสเปน สเปน[1] 18% 8% หรือ 4%
    ธงของประเทศสวีเดน สวีเดน 25% 12% หรือ 6%
    Flag of the United Kingdom สหราชอาณาจักร[1] 20% 5%

    [แก้] อ้างอิง


    http://th.wikipedia.org/wiki/ภาษีมูลค่าเพิ่ม

    ---------------------------------------
    FfF