การแก้ปัญหาเศรษฐกิจในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์
เน้นกู้เงินจำนวนมากๆ มาทำเมกกะโปรเจ็ค
มาสร้างถนนมากมาย มาแจกก็มี ให้ฟรีก็หลายเรื่อง
ดันตัวเลขเศรษฐกิจสมัยที่แล้วติดอันดับโลกก็ตาม
แต่กับไม่สนใจแก้ปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้นมาก
เกิดภาวะข้าวยากหมากแพง ผลสุดท้ายก็อย่างที่เห็น
จากผลการเลือกตั้ง ส่วนหนึ่งที่ พท. ชนะ
ก็มาจากผลงานของรัฐบาลอภิสิทธิ์เองด้วย
ลองสังเกตุผลโพลล์ล่าสุดที่พึ่งออกมาไม่กี่วัน
ประชาชนสนใจปัญหาปากท้องตนเองอันดับแรก
แต่สนใจคนจะมาเป็น รมต.พาณิชย์ อยู่ท้ายๆ ตาราง
แปลกใจไหม ที่จริงไม่แปลกหรอกเพราะว่า
ต่อให้คุณแก้ปัญหาต่างประเทศได้
ทุ่มงบประมาณมากมายยังไง
หรือ สร้างเมกกะโปรเจ็คสำเร็จสักกี่อย่าง
แต่ปัญหาปากท้องเรื่องค่าครองชีพแก้ไม่ได้
หรือไม่ได้แก้ ก็คงไม่ได้ความชื่นชมเพิ่มแถมมีแต่จะลดลง
ปัญหาปากท้องนั้นล้มผู้มีอำนาจมาทุกยุคทุกสมัย
มีอำนาจมากขนาดเป็นกษัตริย์ก็ยังโดนล้มได้เหมือนกัน
จากสาเหตุเริ่มต้นมาจากเรื่องปากท้องทั้งนั้น
ไม่ว่าจะปฏิวัติรัสเซีย ปฏิวัติฝรั่งเศส ล่าสุดปฏิวัติดอกมะลิ
แถวๆ ตะวันออกกลางก็เริ่มต้นมาจากเรื่องปากท้องแทบทั้งสิ้น
ถึงได้บอกไงว่า รมต.พาณิชย์ ถือเป็นกระทรวงเกรดเอ สำคัญที่สุด
แม้ประชาชนไม่สนใจแต่คนเป็นนายกต้องสนใจ
เพราะว่าเวลาเกิดอะไรขึ้นมันถึงนายกโดยตรง
ไม่เกี่ยวกับ รมต. พาณิชย์ เท่าไหร่ เช่น
เวลาเขาโจมตีรัฐบาลไหนข้าวของแพง
ก็จะนำไข่มาวัดแล้วก็บอกว่าไข่อภิสิทธิ์แพง
ถ้าเป็นรัฐบาลนี้ก็คงเป็นไข่ยิ่งลักษณ์แพง
เขาไม่ได้เอยชื่อ รมต. เลยเห็นไหม
แถมนโยบายที่ทำแล้วล้มเหลวนายกก็โดนด่า
ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องของกระทรวงพาณิชย์
เช่น ไข่ช่างกิโล มีสักกี่คนด่า รมต.พาณิชย์
เห็นด่าแต่คนเป็นนายก อะไรเหล่านี้คือตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่า
คนเป็นนายกจะสนใจหรือไม่สนใจกระทรวงนี้
จะให้พรรคร่วมมาเป็น จะตั้งนายทุนมาเป็น ก็ตาม
แต่คนเป็นนายกจะหลีกหนีความรับผิดชอบเต็มๆ ไม่ได้เลย
เพราะเขาด่าถึงนายกไม่เหมือนกระทรวงอื่น
มันเหมือนนายกนั่งควบกระทรวงนี้โดยอัตโนมัติ
กรณีตัวอย่างรัฐบาลอภิสิทธิ์
จะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะทุ่มเงินมหาศาลไปสร้างเมกกะโปรเจ็คยังไง
ก็ไม่ได้ทำให้มีความนิยมเพิ่มเท่ากับทำให้เขาอยู่ดีกินดี
จะใช้งบเท่าไหร่ทุ่มลงมาทำให้ค่าครองชีพไม่แพง
เขาก็อยู่ได้ไม่ลำบากแล้ว แทบไม่ต้องพูดเรื่องขึ้นค่าแรงด้วยซ้ำ
แต่ถ้าขึ้นค่าแรงแล้วของแพง ไม่ได้ความนิยมเพิ่ม
มีแต่โดนคนที่ไม่ได้รับเงินเพิ่มด่าเพิ่ม
หรือได้เงินเพิ่มแต่ไม่พอกับค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นด่า
ดังนั้นกระทรวงนี้สำคัญถือเป็นหน้าตาของคนเป็นนายก
แต่ที่ผ่านมาไม่มีนายกคนไหนสนใจเท่าไหร่
ตั้งนายทุนมาเป็นก็ได้ โยนให้พรรคร่วมก็ได้
ไม่มีปัญหาทำอะไรไม่ดีก็ยอมโดนด่า
หรือเสียภาพลักษณ์เองแปลกไหมเนี้ยะ
อีกอย่างถ้าการมีตำแหน่งอะไรแล้วทำอะไรไม่ได้
ต้องยอมเสียชื่อเสียงไปทั้งชีวิต
แถมตายไปแล้วยังมีคนพูดถึงในทางที่ไม่ดี
เพราะการได้มาเป็นแต่ไม่มีอำนาจ
ทำอะไรต้องยอมหงอให้นายทุน
พวกบุญคุณต้องทดแทน
และแกนนำกลุ่มต่างๆ
เพื่อหวังให้ได้นั่งเก้าอี้นายกสักครั้งหนึ่งในชีวิต
แม้ผลสุดท้ายเสียชื่อเสียงเสียคนยังไงก็ตาม
ผมว่าไม่เป็นซะยังจะดีกว่าแบบนั้น
คราวนีวกมาพูดเรื่องการแก้ปัญหาให้ตรงจุด
ก็คือภาวะเศรษฐกิจตอนนี้บรรดากูรูทางเศรษฐกิจบอกว่า
เกิดภาวะเงินเฟ้อเพราะของแพง
ถ้าเชื่อแบบนั้นวิธีการแก้ปัญหาก็จะทำให้ฝืดขึ้น
อย่างล่าสุดส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีนี้
ทำให้สินเชื่อ SMEs กำลังลดลง
แล้วเศรษฐกิจมันจะดีขึ้นได้ยังไง
ในเมื่อปัจจุบันคนส่วนใหญ่
เขาไม่ได้เชื่อตัวเลขทางการ
จะออกมาดีติดอันดับโลกยังไง
แต่เขาดูว่าเขาเดือดร้อนจากค่าครองชีพแพงขึ้นไหม
พวกตำรานิยมอาจบอกว่า
ก็ค่าครองชีพแพงก็เกิดเงินเฟ้อไง
ก็ทำให้ฝืดซิก็จะหายเฟ้อ
ก็ตั้งโจทย์ผิดวิธีการแก้ปัญหามันก็ผิด
แก้ให้ตายก็ผิด ปัจจุบันมันไม่ใช่ปัญหาเงินเฟ้อ
แต่เป็นปัญหาราคาเฟ้อ ต่างกัน
เงินเฟ้อคือ อุปสงค์มากขึ้น ต้นทุนสินค้าสูงขึ้น
นี่เป็นนิยามหลักๆ เรื่องเงินเฟ้อที่แท้จริง
อุปสงค์ก็คือความต้องการซื้อเหมือนไปรุมซื้อสินค้าอย่างหนึ่ง
แล้วราคามันก็เลยเพิ่มขึ้นถ้าเพิ่มแบบโก่งราคา
เขาก็เรียกเงินเฟ้อเหมือนกัน
แต่ผมเรียกมันว่าเงินเฟ้อเทียม
ถ้าเพิ่มเพราะต้นทุนเพิ่ม
ถึงจะเรียกว่า เงินเฟ้อแท้
แต่รวมๆ เรียกว่าเงินเฟ้อที่เขาเรียกๆ กัน
ราคาเฟ้อ คือ ต้นทุนสินค้าสูงขึ้น
โดยไม่เกี่ยวกับอุปสงค์ว่าจะเพิ่มหรือลด
ก็คือภาวะในปัจจุบัน คือ
สินค้าราคาสูงขึ้นเพราะน้ำมันแพงขึ้น
สินค้าก็เลยปรับตัวแพงตามกัน
โดยไม่เกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล
ว่าจะทุ่มเงินมหาศาลเข้าระบบเศรษฐกิจเท่าไหร่
หรือทุ่มจนทำให้คนมีเงินมากขึ้น
แย่งกันไปซื้อสินค้าแบบเดียวกัน
จนมันราคาสูงขึ้น มันใช่ที่ไหน
ถ้าปัญหาเกิดจากราคาเฟ้อ
ก็ไปหาทางลดต้นทุน
และไปฟันพวกโก่งราคา ฮั้วราคา
เดี๋ยวมันก็หายราคาเฟ้อ หรือทุเลาลง
แต่ถ้ามันเกิดเงินเฟ้อ
ถึงจะลองใช้ตามตำราเข้าแก้ เช่น
ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
เพื่อจะได้หยุดความร้อนแรงการผลิตให้ลดลง
หรือฉุดการบริโภคลง
แต่ถ้าเกิดราคาเฟ้อ แล้วแก้ด้วยวิธีแก้เงินเฟ้อ
แก้ให้ตายก็ไม่สำเร็จแถมจะเกิดปัญหาตามมาคือ
เกิดราคาเฟ้อแล้วเงินฝืด
เงินฝืดนี่คนไม่มีเงินว่างงานเยอะ
น่ากลัวสำหรับทุกรัฐบาล
หรือผู้มีอำนาจในทุกประเทศบนโลกนี้
ที่สำคัญการแก้ปัญาเศรษฐกิจ
ควรมีนโยบายไปในแนวทางเดียวกัน
สอดคล้องกันทุกนโยบาย เช่น
ถ้าต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ทุกนโยบายก็ควรไปในแนวนั้น
หรือต้องการจะชะลอเศรษฐกิจ
ทุกนโยบายก็ต้องแนวชะลอทั้งหมด
ไม่ใช่เดี๋ยวกระตุ้นเดี๋ยวชะลอเหมือนสมัยอภิสิทธิ์
เพราะไม่มีประโยชน์อะไรส่งสัญญาณมั่ว
สู้นั่งเฉยๆ ยังจะดีกว่า
ตัวอย่างเดี๋ยวกระตุ้นเดี๋ยวชะลอ เช่น
ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ด้วยการทำงบประมาณขาดดุลสูง
จนต้องกู้มาเป็นล้านล้านบาท
นำมาแจกเงินบ้าง นำไปลงทุนเพิ่มบ้าง
แต่กลับมาไล่รีดภาษีเพิ่ม
หรือปล่อยให้ค่าการตลาดน้ำมันเพิ่ม
หรือเพิ่มเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน
ทำให้น้ำมันราคาแพง อะไรแบบนี้
มันสวนทางกัน เหมือนคนกำลังวิ่ง
แล้วมาเจอการเตะสกัดขาอะไรแบบนั้น
ถ้าจะกระตุ้นเศรษฐกิจ แทนที่จะกู้เงินมากๆ
เอาแค่น้อยไม่ต้องเน้นเม็กโปรเจ็ค
ทำให้เงินหมุนในระบบไม่ออกนอกประเทศเร็ว
เหมือนไปแจกเงินให้พนักงาน
ซึ่งก็เอาไปช้อปปิ้งสินค้านอก
หรือสินค้าไอที ตามห้างเสียส่วนใหญ่
เงินก็ไม่ได้หมุนเวียนมากมายในประเทศ
แป็บเดียวออกนอกเกือบหมด
ควรเน้นกระตุ้นในประเทศ
ให้เงินหมุนไม่หลุดออกนอกประเทศมาก
ด้วยเงินน้อยๆ ถ้าทำให้หมุนเวียนมากๆ
เศรษฐกิจมันก็ดีเอง โดยหาทางลดค่าครองชีพให้ได้
โดยเฉพาะราคาน้ำมัน ลดการเก็บเงินเข้ากองทุน
ยกเลิกการปล้นเงินจากผู้ใช้น้ำมันชนิดหนึ่ง
มาอุดหนุนให้ฟันกันทุกระดับที่น้ำมันอีกชนิดหนึ่ง
แบบที่ทำๆ กัน เศรษฐกิจมันก็จะไหลลื่นกว่าที่เป็นอยู่
จะเห็นได้ว่ากู้เงินมาเป็นล้านล้านบาท
แก้ปัญหาค่าครองชีพไม่ได้มีแต่สูงขึ้น
อันที่จริงไม่ได้สูงเพราะกู้เงินมาเพิ่ม
แต่ราคาน้ำมันไม่ลดแถมปล่อยให้สูงผิดปกติ
กว่ารัฐบาลอื่นข้าวของก็เลยแพงตาม
แล้วก็มาบ่นว่าทุ่มงบประมาณให้ขนาดนี้ทำไมไม่เลือก
ชาวบ้านส่วนใหญ่เขาเลือกตั้ง
เพราะหวังเรื่องปากท้องเขาเป้นสำคัญ
ทุ่มงบประมาณไปทำอะไรที่ไม่เกี่ยวกับปากท้องเขา
แถมยังทำให้ปากท้องเขาจะไม่มีจะกิน
เขาก็คงปลื้มเลือกพรรคคุณหรอก
ตอนนี้เงินกู้เก่าสมัยอภิสิทธิ์เป็นล้านล้านบาท
ยังไม่ได้ใช้คืนยังต้องรีดภาษีเพิ่มเพื่อไปจ่าย
แล้วได้ข่าวว่าจะมากู้อีกเฉียดล้านล้านบาท
ผมว่าอีกไม่กี่ปีข้างหน้าโดนรีดภาษีกันบานตะไท
แต่นี่บอกว่าจะลดภาษีให้อีกแล้ว
จะเอาเงินที่ไหนไปใช้หนี้
อีกอย่างเมกกะโปรเจ็คทั้งหลาย
ถ้ามันยังไม่ถึงเวลาจะทำ ไปทำก็เสี่ยงขาดทุนเช่น
กรณีแอร์พอร์ตลิงค์เปิดได้ไม่เท่าไหร่ได้ข่าวว่า
จะเจ๊งอีกแล้ว แอร์พอร์ตลิงค์คือตัวอย่าง
ของการลงทุนทำอะไรล่วงหน้าเผื่ออนาคตไปมาก
โดยที่ยังไม่ถึงจุดที่จะต้องทำ ที่สำคัญไม่เหมาะกับนิสัยคนไทย
ที่ชอบความสะดวกสบายระหว่างไปต่างประเทศ
นั่งแท็กซี่ไป กับให้ญาติขับรถไปส่ง
กับนั่งแท็กซี่ฝ่ารถติดเข้าเมืองเพื่อไปขึ้นแอร์พอร์ตลิงค์
วิ่งเข้าสู่สนามบินแบบไหนมันจะเร็วกว่ากันสะดวกกว่ากัน
คิดในแง่ต้องแบกสัมภาระอะไรต่อมิอะไรมากมาย
แถมไม่ผ่านจุดคนที่จะใช้ในชีวิตประจำวันมาก
ไม่เจ๊งก็แปลกน่ะผมว่า
อีกสิบปียังไม่รู้ว่าจะมีคนใช้เยอะหรือเปล่า
ยกเว้นว่าจะมีบ้านเรือนเพิ่มมากมายตามแนวแอร์พอร์ตลิงค์
แล้วใช้มาทำงานมากกว่าไปเมืองนอก
เพราะมันไม่สะดวกนั่งแท็กซี่สะดวกกว่าอย่างที่บอก
สรุปก็คือ ถ้าตั้งโจทย์ปัญหาไม่ถูกต้อง
วิธีการแก้ไขปัญหาย่อมไม่ถูกกับสถานะการณ์
ที่สำคัญ รมต.พาณิชย์ ก็คือเงานายก
ทำไม่ดีนายกรับเต็มๆ จะยอมให้คนอื่นยืมภาพลักษณ์ตัวเอง
ไปทำไม่ดีก็คงไม่มีใครว่าอะไรเพราะตัดสินใจเลือกเอง
และเงินเฟ้อ ต่างจากราคาเฟ้อ วิธีการแก้ปัญหาย่อมต่างกัน
สุดท้ายผมไม่เชื่อว่า พ่อค้าที่ขายสินค้าเกี่ยวข้องกับค่าครองชีพ
จะมาเป็น รมต. เพื่อปกป้องผลประโยชน์ให้ผู้บริโภคแน่ๆ
โครงการใหญ่ๆ ถ้ายังไม่ถึงเวลาทำ ทำล่วงหน้าได้สำเร็จก็จริง
แต่อาจเจ๊ง จนต้องเปลืองนำเงินภาษีไปพยุงเพิ่มภาระในอนาคตอีก
โดย มาหาอะไร
FfF