14 กันยายน 2554

<<< ช่วงตั้ง ครม. แย่งกันเป็น รมต. น่าดู แต่พอจะให้ลุยช่วยชาวบ้านเห็นมีไม่กี่คน วันนี้ยิ่งลักษณ์เลยจัดให้ >>>

<<< ช่วงตั้ง ครม. แย่งกันเป็น รมต. พอจะให้ลุยช่วยชาวบ้านเห็นมีไม่กี่คน วันนี้ยิ่งลักษณ์เลยจัดให้ทั้ง ครม. แบ่งจังหวัดช่วยน้ำท่วมเสียเลย อิอิ >>>
· · 18 ชั่วโมงที่แล้ว
  • Redwa Spatan, มะแว้ง แกงส้มและขุน วางถูกใจสิ่งนี้
    • Maha Arai ‎'นายกฯปู' จัด ครม.ลงพื้นที่แก้น้ำท่วมรายจังหวัด

      มอบ "ธวัช" เป็นผู้ประสานงานติดตามฯ ส่งสุรพงษ์ลงแม่ฮ่องสอน, กฤษณาลงอุตรดิตถ์, ปลอดประสพลงนครสวรรค์-นนทบุรี ยังมีการแบ่งงานให้ ครม.ช่วยกันดูแลรับผิดชอบพื้นที่ที่น้ำลดแล้ว อยู่ระหว่างการฟื้นฟู 24 จังหวัด...

      เมื่อวันที่ 13 ก.ย. ที่การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) จะรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 157/2554 เรื่อง มอบหมายรัฐมนตรีรับผิดชอบเรื่องลับ กำกับ ติดตาม การกู้วิกฤติจากภัยธรรมชาติ เพื่อช่วยเหลือประชาชนโดยเร่งด่วน โดยคำสั่งดังกล่าวจะเป็นการมอบหมายให้รัฐมนตรีดูแลพื้นที่เป็นรายจังหวัด มีอำนาจหน้าที่เร่งรัด กำกับ ติดตาม สนับสนุน ประสานงานการให้ความช่วยเหลือประชาชนโดยเร่งด่วนในเขตจังหวัดพื้นที่ที่ได้รับมอบหมาย รวมทั้งประสานงานกับภาคเอกชนและผู้แทนประชาชนในพื้นที่ เพื่อเสริมการทำงานของคณะกรรมการอำนวยการและบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศอส.) และผู้ว่าราชการจังหวัด โดยให้ผู้รับผิดชอบรายงานนายกรัฐมนตรีให้ทราบโดยตรง และให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้มีอำนาจเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของรัฐมนตรีได้ตามความเหมาะสมของสถานการณ์ภัยพิบัติจากธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไป และมอบหมายให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และกระทรวงต่างๆที่เกี่ยวข้อง ให้การสนับสนุนการทำงานรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย
      18 ชั่วโมงที่แล้ว ·
    • Maha Arai ทั้งนี้ มอบหมายให้ พล.ต.ต.ธวัช บุญเฟื่อง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง เป็นผู้ประสานงาน ติดตามการรายงานต่อนายกรัฐมนตรี สำหรับพื้นที่จังหวัดอุทกภัยขณะนี้มี 21 จังหวัด เช่น นายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล ดูแลพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน พลอากาศเอกสุกำพล สุวรรณทัต ดูแลพื้นที่จังหวัดสุโขทัย นางสาวกฤษณา สีหลักษณ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ นายสันติ พร้อมพัฒน์ ดูแลจังหวัดพิษณุโลกและเพชรบูรณ์ นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ ดูแลจังหวัดพิจิตร นายปลอดประสพ สุรัสวดี ดูแลจังหวัดนครสวรรค์และนนทบุรี นายชุมพล ศิลปอาชา ดูแลจังหวัดสุพรรณบุรีและอุทัย ธานี นายธีระ วงศ์สมุทร ดูแลจังหวัดชัยนาท นายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล ดูแลจังหวัดสิงห์บุรี นายวิทยา บุรณศิริ ดูแลจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและอ่างทอง นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ ดูแลจังหวัดนครปฐม นายชูชาติ หาญสวัสดิ์ ดูแลจังหวัดสระบุรีและนครนายก นายฐานิสร์ เทียนทอง ดูแลจังหวัดปราจีนบุรีและฉะเชิงเทรา นายพิชัย นริพทะพันธุ์ ดูแลจังหวัดจันทบุรี นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ ดูแลจังหวัดอุบลราชธานี

      สำหรับพื้นที่ที่น้ำลดแล้วและ อยู่ระหว่างการฟื้นฟู 24 จังหวัด นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญากุล ดูแลจังหวัดเชียงราย แพร่ และพะเยา นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ ดูแลจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ ดูแลจังหวัดตากและกำแพงเพชร พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา ดูแลจังหวัดน่าน นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข ดูแลจังหวัดเลย พลตำรวจเอกประชา พรหมนอก ดูแลจังหวัดหนองคายและบึงกาฬ นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น ดูแลจังหวัดอุดรธานีและสกลนคร นายภูมิ สารผล ดูแลจังหวัดนครพนมและมุกดาหาร นางบุญรื่น ศรีเรศ ดูแลจังหวัดกาฬสินธุ์ นายกิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ ดูแลจังหวัดร้อยเอ็ด นางสุกุมล คุณปลื้ม ดูแลจังหวัดชลบุรี นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล ดูแลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ ดูแลจังหวัดพังงาและสุราษฎร์ธานี พลตำรวจโทชัจจ์ กุลดิลก ดูแลจังหวัดระนองและชุมพร นายชุมพล ศิลปอาชา ดูแลจังหวัดภูเก็ต นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ ดูแลจังหวัดยโสธร นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ ดูแลจังหวัดชัยภูมิ นายฐานิสร์ เทียนทอง ดูแลจังหวัดสระแก้ว

      ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากนี้ยังมีการแบ่งงานให้ ครม.ช่วยกันดูแลรับผิดชอบพื้นที่ที่น้ำลดแล้ว อยู่ระหว่างการฟื้นฟู 24 จังหวัด เพื่อให้การดูแลเป็นไปอย่างทั่วถึง โดยคำสั่งดังกล่าวได้เสนอให้ครม.รับทราบในการประชุมครม.วันเดียวกันนี้ด้วย.

      ไทยรัฐออนไลน์
      โดย ทีมข่าวการเมือง
      13 กันยายน 2554, 09:40 น.

      http://www.thairath.co.th/content/pol/201379
      www.thairath.co.th
      มอบ "ธวัช" เป็นผู้ประสานงานติดตามฯ ส่งสุรพงษ์ลงแม่ฮ่องสอน, กฤษณาลงอุตรดิตถ์, ปลอ...ดูเพิ่มเติม
      18 ชั่วโมงที่แล้ว · ·
    • Maha Arai แม้จะไม่ถูกหลักการบริหารสักเท่าไหร่แต่ก็โอเค ในช่วงตั้งไข่แถมยังไม่ค่อยมีงานทำมากเพราะว่างบ 2555 ยังพึ่งแก้ใหม่ยำใหม่อีกหลายเดือนกว่าจะมีเงินไปทำโครงการนั้นนี้ ช่วงนี้ก็คงเน้นแต่โครงการที่ไม่ต้องใช้เงินมากกับน้ำท่วมไปพลางๆ ก่อน
      18 ชั่วโมงที่แล้ว ·
    • Maha Arai ที่ว่าผิดหลักการบริหารก็คือ เฉพาะกระทรวงมหาดไทยถ้าทำดีๆ ให้อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้านเป็นแม่ข่าย โดยเฉพาะในพื้นที่ประสบภัย บวกกับให้ประชาชนมีส่วนร่วมมันก็แข็งขันทำได้อยู่แล้ว โดยเฉพาะพวกอบต. งบเพียบเอาไปทำเรื่องไม่เป็นเรื่องเยอะแยะ ให้เอาเงินมาช่วยกันคนละเล็กคนละน้อยในพื้นที่ของตนเองก็น่าจะช่วยซื้อนั่นนี่บรรเทาไปได้บ้าง
      18 ชั่วโมงที่แล้ว ·
    • Maha Arai รู้สึกปลัด อบต. นี่ก็ ป.ตรี รัฐศาสตร์ สมาชิกกำนันนั่นนี่แพทย์ตำบลพวกนี้มีความรู้ที่จะอบรมหรือไม่ต้องอบรมขอความร่วมมือให้ส่งข่างแจ้งข่าวรายงานสถานการณ์ในพื้นที่ ขาดเหลืออะไรอยากให้ช่วยอะไร ถ้ามีช่องทางให้เขาเช่น เว็บบอร์ดให้เขามาโพสแล้วไปโปรโมทให้แต่ละอบต.รับทราบ ผมว่าจะจัดการอะไรได้ดีกว่าพวกเหล่า รมต. แต่ละกระทรวงน่ะ
      18 ชั่วโมงที่แล้ว ·
    • Maha Arai เพราะว่าพวกนี้ก็ต้องทำงานประจำของตัวเองเหมือนกัน แต่ว่าได้ภาพลงไปช่วยก็โอเค แต่อย่าเผลอลืมกระทรวงตัวเองหล่ะ โดยเฉพาะกระทรวงหลักๆ เช่นพาณิชย์คลัง แต่ผมดูจากรายชื่อแล้ว ส่วนใหญ่ถ้าไม่ใช่พวกอยู่กระทรวงมหาดไทยแล้วก็ไม่ค่อยได้เป็นข่าวช่วงหลังๆ น่าพอมีเวลาว่างมาช่วยทำงานให้สักเดือนน่ะ
      18 ชั่วโมงที่แล้ว ·
    • Maha Arai วิธีนี้รู้สึกว่าทักษิณเคยนำมาใช้ตอนช่วยสึนามิโดยแบ่ง รมต. แต่ละคนลงไปดูแลผู้ประสบภัยสั่งการแข่งกัน ผลออกมาก็แข่งขันได้หน้ากันทั้งรัฐบาล งวดนี้คงต้องมาจับตาดูว่า รมต. คนไหนหลังยาว กว่าเพื่อน ฮา จะได้ส่งชื่อเข้าประกวดช่วงปรับครม.
      18 ชั่วโมงที่แล้ว ·
    • Maha Arai นี่ถ้าแข็งขันได้แค่ครึ่งตอนช่วงวิ่งเต้นอยากได้ตำแหน่งกันน่ะ รับประกันผลงานประทับใจ อิอิ
      18 ชั่วโมงที่แล้ว ·
    • ขุน วาง อบต นั้นมีงบไม่เท่าไหร่นะครับท่านมหา แต่มันมีงบกลางอยู่ที่ผู้ว่า เอารมต (ซึ่งดูจากชื่อรมต.แต่ละท่านก็เป็นคนพื้นที่อยู่แล้ว ถึงไม่มีคำสั่ง ก็คงออกไปช่วยชาวบ้านอยู่แล้ว แต่การมีคำสั่ง ก็มีอำนาจไปกำกับข้าราชการได้สะดวกขึ้น)
      18 ชั่วโมงที่แล้ว ·
    • Maha Arai อบต. ปีละ 3 ล้านถ้าผมจำไม่ผิด แถมเก็บได้เองในพื้นที่ พื้นที่ไหนรวยมีโรงงานมีโรงแรมเยอะระดับร้อยล้านก็มีเช่นที่ภูเก็ต แต่พื้นที่น้ำท่วมอาจได้ไม่เยอะเพราะไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมยกเว้นแถวปทุม นครปฐม ไม่รู้มีอบต. อยู่หรือเปล่าพวกนีระดับหลายสิบล้าน
      18 ชั่วโมงที่แล้ว ·
    • Maha Arai ขนาดมีข่าวช่วง สอบเป็น อบต. ชุดแรกๆ มีนายอำเภอมาสอบด้วยน่ะ แบบว่าเป็นนายอำเภอเห็นแต่เงินผ่านตาไปแจกจ่ายที่นั่นที่นี่ไม่ได้จับเงินเท่าไหร่ แต่อบต. เนื้อๆ เน้นๆ จัดเก็บภาษีท้องถิ่นรวมไปถึงภาษีเทศบาลที่อยู่ในราคาน้ำมันทุกลิตรนี่ก็ใช่น่ะ เยอะน่ะเพียงแต่เอาไปทำอีรุ่ยฉุยแฉกหมดก็ได้
      18 ชั่วโมงที่แล้ว ·
    • Maha Arai เพื่อนที่เป็น อบต. เคยเล่าว่าช่วงไปเป็นวันแรกๆ ไม่ต้องทำอะไร กำนันผู้ใหญ่บ้านพาไปรู้จักคนนั้นคนนี้ ทั้งผู้รับเหมาทั้งพ่อค้าขายของได้นามบัตรมาเต็มกระเป๋า ขนาดอบต. โครตกันดาร ห่างไกลความเจริญน่ะเนี้ยะ
      18 ชั่วโมงที่แล้ว ·
    • ขุน วาง ครับ ตอนแรกๆเพื่อนไปสอบปลัด นึกว่าจะได้เป็นปลัดอำเภอ กลับได่เป็นปลัดอบต มันแทบร้องให้อยากสละสิทธิ์ แต่ก็ไม่รู้จะทำอะไรเลยไปบรรจุ รอโอน แต่ตอนนี้นะหรือ เอาช้างมาฉุดมันก็ไม่ไป
      18 ชั่วโมงที่แล้ว ·
    • Maha Arai น้ำท่วมภัยแล้งพวกนี้เงียบไม่โผล่ให้ได้ยินสักแอะว่าช่วยอะไรบ้างอาจช่วยไม่เป็นข่าวก็ได้ ลองจัดที่ให้ประชาสัมพันธ์ดูซิให้รายงานมาว่าแต่ละแห่งไปช่วยอะไรบ้างเป็นรัฐบาลมีหน้าที่สั่งการข้าราชการให้รายงานมา อย่างที่เล่าเมื่อเช้าเรื่องนำไอทีมาใช้นั่นแหล่ะ ถ้าไม่ใช้ก็เหมือนตาบอดคลำช้าง บริหารแบบปิดตาตีหม้อมั่วไปหมด ถ้าเห็นตัวเลขเห็นพื้นที่น้ำท่วมถ้ามีภาพผ่านดาวเทียมเทียบดูได้เลยว่าเกิดปัญหาแถวไหนบ้าง มีความเสียหายอะไรบ้าง เบื้องต้นตรงไหนอยากได้อะไรยังไงนั่งๆ คลิกสั่งการตีลังกาออกกำลังกายไปด้วยยังได้เลย
      18 ชั่วโมงที่แล้ว ·
    • ขุน วาง ปลัดอบต มันไม่เท่เท่าปลัดอำเภอ แต่จริงๆอำนาจเยอะกว่ามาก เพราะนายกอบต ส่วนใหญ่ ไม่ค่อยรู้รายละเอียดอะไรมา
      18 ชั่วโมงที่แล้ว ·
    • ขุน วาง ปลัดอบต มันไม่เท่เท่าปลัดอำเภอ แต่จริงๆอำนาจเยอะกว่ามาก เพราะนายกอบต ส่วนใหญ่ ไม่ค่อยรู้รายละเอียดอะไรมา
      18 ชั่วโมงที่แล้ว ·
    • Maha Arai มีรถขับ มีมือถือ ใช้งบ อบต.ซื้อได้ ฮา แถมขยันสร้างที่ทำการอบต.ใหญ่โต ภาษีที่ดินพวกนี้ก็เก็บที่ไหนมีรีสอร์ตได้อีกไม่มีมีบ้านคนก็ได้อีก น่าจะมีตัวเลขทั่วประเทศที่ไหนได้ปีละเท่าไหร่รายรับรายจ่ายให้รายงานผ่านเว็บก็ดีน่ะจะได้ตรวจสอบได้ เพราะงบประมาณปะเทศลงไปแต่ละตำบลทุกปี มากมาย
      18 ชั่วโมงที่แล้ว ·
    • Maha Arai ความรู้เกี่ยวกับ อบต.
      วิธีการงบประมาณ > การตั้งงบประมาณ
      บทนำ
      วิธีการ / ขั้นตอนการปฎิบัติ
      วิธีการงบประมาณเป็นการแสดงแผนการปฏิบัติงานตาม ภารกิจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ที่ได้วางแผนไว้ ประกอบกับนโยบายของรัฐบาล กระทรวงมหาดไทย จังหวัด เพื่อจัดทำนโยบาย ของคณะผู้บริหาร ให้ปรากฏเป็นรูปธรรม ในรูปของตัวเลข จำนวนเงินว่าจะทำอะไร เป็นเงินค่าอะไรบ้าง รายการละเท่าใด วิธีการใด

      การตั้งงบประมาณจึงเป็นเครื่องมือของผู้บริหารใช้ในการ กำกับควบคุมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ให้ปฏิบัติงานตามที่ได้วาง แผนไว้ เป็นเครื่องมือของสภาท้องถิ่นที่จะควบคุมดูแลนโยบาย และการปฏิบัติงานของคณะผู้บริหาร และเป็นเครื่องมือของ ประชาชนในการควบคุมดูแล ผู้ที่ประชาชนได้เลือกเข้ามาบริหาร ท้องถิ่นอีกครั้งหนึ่ง

      เมื่อสิ้นปีงบประมาณ หากได้มีการวิเคราะห์ประเมินผล การใช้จ่ายเงินแล้ว ผู้บริหารสามารถใช้เป็น ข้อมูลเพื่อแก้ไข ปัญหาของประชาชนในปีต่อไปได้ นับว่างบประมาณรายจ่าย มีความสำคัญต่อบุคคล ทุกระดับในท้องถิ่นควรให้ความสนใจ

      วิธีการจัดทำ งบประมาณ รายจ่ายประจำปี

      วิธีการ / ขั้นตอนการปฎิบัติ
      เจ้าหน้าที่งบประมาณมีหนังสือแจ้งให้หน่วยงานต่างๆ ( กอง / ฝ่ายต่างๆ ) เสนอข้อมูลที่จะต้องใช้ในการจัดทำงบประมาณ ส่งให้เจ้าหน้าที่งบประมาณ
      ** ระเบียบ มท. ว่าด้วย วิธีการงบประมาณ ข้อ 8 , 22 , และ 23

      เมื่อแต่ละหน่วยงาน ( กองหรือฝ่าย ) ได้รับหนังสือจาก เจ้าหน้าที่งบประมาณให้พิจารณา แผนพัฒนาองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นได้วางไว้ในส่วนที่หน่วยงานของตนรับผิดชอบ ประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งที่เป็นรายจ่ายประจำ รายจ่ายเพื่อ การลงทุนเสนอให้เจ้าหน้าที่งบประมาณ กรณีหน่วยงานที่มี รายได้ประมาณการรายรับให้ดว้ย และให้หัวหน้าหน่วยงาน คลังรวบรวมรายงาน การเงินและสถิติต่างๆ ได้แก่ รับจริง จ่ายจริง ย้อนหลัง 3 ปี งบแสดงฐานะการคลังของ ทุกหน่วยงานให้เจ้าหน้าที่งบประมาณด้วย

      เจ้าหน้าที่งบประมาณรวบรวมรายละเอียดที่ได้รับจาก กองหรือฝ่ายต่างๆ เสนอขอตั้งงบประมาณราจ่าย จัดทำเป็น ข้อมูลเบื้องต้นเสนอต่อคณะผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อพิจารณา

      เมื่อคณะผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณาอนุมัติให้ตั้ง งบประมาณยอดใดแล้วเจ้าหน้าที่ งบประมาณนำยอดเงินและ รายการที่ได้รับอนุมัติชั้นต้นจากผู้บริหารท้องถิ่นนั้น จัดทำเป็น ร่างงบประมาณตามรูปเล่มงบประมาณรายจ่ายตามแบบที่ กรมการปกครองกำหนดเสนอ ต่อคณะผู้บริหารท้องถิ่น
      ** แบบที่กำหนดตาม หนังสือกรมการปกครอง ด่วนมาก ที่ มท 0313.4 / ว 2787 ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2542 (ภาคผนวก 1 )

      คณะผู้บริหารท้องถิ่น เสนอร่างงบประมาณรายจ่าย ต่อสภาท้องถิ่นภายในวันที่ 15 สิงหาคม และเข้าสู่กระบวนการ การตรากฎหมายท้องถิ่น ( ข้อบัญญัติ / เทศบัญญัติ / ข้อบังคับ แล้วแต่กรณี ) ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายท้องถิ่นแต่ละรูปแบบ
      18 ชั่วโมงที่แล้ว ·
    • Maha Arai การตั้ง งบประมาณ รายจ่ายใน หมวดต่างๆ

      วิธีการ / ขั้นตอนการปฎิบัติ
      หลักการพิจารณาตั้งงบประมาณรายจ่ายหมวดต่างๆ ของแต่ละหน่วยงาน ( กองหรือฝ่าย ) ให้พิจารณาตั้งตามลำดับ ดังต่อไปนี้

      รายจ่ายงบกลาง ประกอบด้วย
      1. ค่าชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ย
      2. รายจ่ายตามข้อผูกพัน
      3. เงินสำรองจ่าย
      4. เงินงบประมาณรายจ่ายทั่วไปตั้งช่วยเหลืองบประมาณเฉพาะการ
      5. เงินค่าทำศพ ค่าชำระเงินกู้และดอกเบี้ย ให้หน่วยงานคลังตรวจสอบ สัญญาเงินกู้ตั้งงบประมาณส่งใช้เงินกู้ให้ตรงตามสัญญา

      รายจ่ายตามข้อผูกพัน เป็นรายจ่ายที่องค์ปกครอง ส่วนท้องถิ่นผูกพันตาม กฎหมายที่ต้องตั้งงบประมาณให้ หน่วยงานอื่น ได้แก่

      ค่าใช้จ่ายในการจัดจราจรตั้งจ่ายโดยพิจารณา จ่ายจากเงินค่าปรับตาม กฎหมายจราจรทางบกเพื่อสนับสนุน การดำเนินงานของตำรวจจราจรที่ได้วางแผนไว้และขอให้ ท้องถิ่นสนับสนุนเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาความสงบเรียบร้อย เกี่ยวกับการจราจรและเป็นสิ่งที่ประชาชนได้รับประโยชน์โดยตรง เช่น สัญญาณไฟ ทาสี ตีเส้น เป็นต้น สำหรับค่าใช้จ่ายที่ ประชาชนไม่ได้รับประโยชน์โดยตรง เช่น รถจักยานยนต์ เสื้อสะท้อนแสง เป็นต้น ต้องได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัด ก่อนจึงตั้งงบประมาณได้ ตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0313.4 / ว 3203 ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2539

      เงินสมทบกองทุนบำเหน็จบำนาญข้า ราชการส่วน ท้องถิ่น ( ก. บ. ท. ) โดยตั้งจ่ายในอัตรา ร้อยละสองของรายได้ ประจำปีตามงบประมาณทั่วไป ( ไม่รวมรายได้จาก พันธบัตร เงินกู้ เงินที่มีผู้อุทิศให้ และเงินอุดหนุน )

      เงินช่วยค่าครองชีพผู้บำเหน็จบำนาญราชการส่วน ท้องถิ่นที่มิใช่ตำแหน่งครู

      เงินสมทบกองทุนประกันสังคมให้คำนวณตาม พระราชบัญญัติประกันสังคม

      ค่าบำรุงสันตินิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย โดย พิจารณาจากรายรับจริงประจำปีที่ผ่านมา ยกเว้นเงินกู้ เงินจ่าย ขาดเงินสะสมและเงินอุดหนุนทุกประเภท จะต้องไม่น้อยกว่า ร้อยละเศษหนึ่งสว่นหกของรายรับดังกล่าว แต่ทั้งนี้ไม่เกิน 750,000 บาท

      เงินสำรองจ่าย เป็นรายจ่ายที่องค์กรปกครองสว่นท้องถิ่น ตั้งไว้ในกรณีที่จำเป็นตาม ความเหมาะสมซึ่งการอนุมัติให้ใช้จ่าย เป็นอำนาจของคณะผู้บริหารท้องถิ่นโดยให้หน่วยงาน (กองหรือฝ่าย) ที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินชี้แจงเหตุผลของความจำเป็น xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
      18 ชั่วโมงที่แล้ว ·
    • Maha Arai ความเสียหายแก่สว่นราชการอย่างไร หรือประชาชนได้รับ ความเดือดร้อนหากไม่รีบดำเนินการแก้ไขปัญหาไว้ใน คำขออนุมัติผู้บริหารสว่นท้องถิ่นด้วย

      เงินที่งบประมาณรายจ่ายทั่วไปตั้งช่วยเหลืองบประมาณ เฉพาะการ จะมีได้ในกรณีที่งบ เฉพาะการไม่เพียงพอ ที่จะบริหารงานด้วยตัวเองได้ จึงต้องให้งบทั่วไปตั้งช่วยเหลือ และงบเฉพาะ การมีความจำเป็นต้องใช้ ยกเว้นกรณี งบประมาณเฉพาะการสถานธนานุบาลจะช่วยได้เฉพาะเงินกู้เงิน เพื่อก่อสร้างอาคารสถานธนานุบาลครั้งแรกเท่านั้น

      เงินค่าทำศพ ตั้งไว้เพื่อจ่ายเป็นค่าทำศพของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีสิทธิได้รับตามกฎหมายทุกกอง ทุกฝ่าย โดยตั้งเป็นยอดรวมไว้ที่งบกลางนี้แห่งเดียว

      หมวดเงินและค่าจ้างประจำ

      เงินเดือน หมายความว่า เงินที่จ่ายให้แก่ผู้บริหาร พนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกประเภท โดยมี อัตรากำหนดไว้แน่นอนในบัญชีกำหนดจำนวนตำแหน่งและ อัตราเงินเดือนประจำปีที่ได้ตรวจสอบยืนยันว่าถูกต้องแล้ว และรวมเงินตลอดถึงเงินที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดให้จ่ายในลักษณะเงินเพิ่มอื่นๆ ที่จ่ายควบกับค่าจ้าง

      ค่าจ้างประจำ หมายความว่า เงินที่จ่ายเป็นค่าจ้างให้แก่ ลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ปฏิบัติงานที่มี ลักษณะประจำ โดยมีกรอบอัตรากำลังและจำนวนตามที่กระทรวง มหาดไทยกำหนด รวมตลอดถึงที่จ่ายควบกับค่าจ้าง

      ให้หน่วยงานต่างๆ ประมาณการจ่ายเงินเดือนและ ค่าจ้างประจำตามจำนวนพนักงาน และลูกจ้างประจำที่ปฏิบัติ

      หมวดค่าจ้างชั่วคราว หมายความว่า เงินที่จ่ายเป็นค่าแรง สำหับการทำงานปกติแก่ลูกจ้างชั่วคราวขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นซึ่งมีระยะเวลาการจ้างไม่เกิน 1 ปี โดยมีกรอบอัตรา กำลังและจำนวนตามที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด

      ให้หน่วยงานต่างๆประมาณการตั้งจ่าย ค่าจ้างชั่วคราว ตามจำนวนลูกจ้างชั่วคราวที่ปฏิบัติงานอย่างประหยัดและ เหมาะสมกับภารกิจหน้าที่

      หมวดค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ

      ค่าตอบแทน หมายความว่า เงินที่จ่ายตอบแทนให้แก่ ผู้ปฏิบัติงานให้องค์กรปกครองสว่นท้องถิ่น ค่าใช้สอย หมายความว่า รายจ่ายเพื่อให้ได้ซึ่งมาบริการ ใดๆ ( นอกจากบริการสาธารณูปโภค ) รายจ่ายเกี่ยวกับการรับรอง และพิธีการ และรายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้า ลักษณะรายจ่ายหมวดอื่นๆ

      หมายเหตุ การบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมทรัพย์สิน ถ้าเป็นการจ้างเหมาซึ่งมีทั้งค่าสิ่งของ และค่าจ้างแดงงานให้เบิกจ่าย ในลักษณะค่าใช้สอย

      ในกรณีที่หน่วยงานขององค์กรปกครองสว่นท้องถิ่นเป็น ผู้ดำเนินการบำรุงรักษาหรือ ซ่อมแซมทรัพย์สินต่างๆ เองให้ ปฏิบัติดังนี้

      ( 1 ) ค่าจ้างเหมาแรงงานของบุคคลภายนอกให้เบิกจ่ายเป็นค่าเหมาบริการในค่าใช้สอย

      ( 2 ) ค่าสิ่งของที่องค์กรปกครองสว่นท้องถิ่นซื้อมาใช้ในการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมทรัพย์สิน ให้เบิกจ่ายในค่าวัสดุ

      ( 3 ) ค่าจ้างแรงงานบุคลที่องค์กรปกครองสว่นท้องถิ่นจ้างเป็นการชั่วคราว เพื่อกรณีในลักษณะมิใช่จ้าง ให้เบิกจ่ายในค่าจ้างชั่วคราว

      http://www.tambol.com/tambol/budget1.asp
      www.tambol.com
      การตั้งงบประมาณจึงเป็นเครื่องมือของผู้บริหารใช้ในการ กำกับควบคุมเจ้าหน้าที่ผู...ดูเพิ่มเติม
      18 ชั่วโมงที่แล้ว · ·
    • Maha Arai จัดเก็บภาษีได้เอง ตั้งงบกันได้เอง เสนอโครงการกันได้เอง สุดยอดแล้วหล่ะที่ไหนสามัคคีกันน่ะ หม่ำกันแหลกลานเลยแหล่ะพ่อแม่พี่น้อง ที่สำคัญมีเก็บสถิติด้วยน่ะ แต่เอาไปซุกที่ไหนเดี๋ยวลองไปค้นดูก่อน
      18 ชั่วโมงที่แล้ว ·
    • Maha Arai มาดูที่มาของรายรับ
      รายรับของ ท้องถิ่น

      วิธีการ / ขั้นตอนการปฎิบัติ

      จากรายจ่ายต่างๆ ที่ได้ยกมาในข้างต้น ท้องถิ่นจำต้องมีรายได้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเหล่านั้น การตั้งงบประมาณรายจ่ายจึงต้องมีรายรับประกอบ เพราะท้องถิ่นจะต้องมี รายรับเป็นเครื่องกำหนดรายจ่าย รายได้หรือรายรับของท้องถิ่นประกอบด้วย
      ** รายละเอียดปรากฏ ตามบัญชีการจำแนกที่ ภาคผนวก 2

      ก.รายได้ภาษีอากร


      - หมวดภาษีอากร เป็นรายรับที่ท้องถิ่นได้มา
      จากการจัดเก็บเองโดยการบริหารการจัดเก็บ ของท้องถิ่นตามอำนาจตามกฎหมาย เช่น ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือน หรือเป็นรายรับที่รัฐบาลหรือหน่วยงาน ของรัฐหน่วยงานอื่นจัดเก็บแล้วโอนทั้งหมดให้หรือปันให้เป็นบางส่วน

      ข. รายได้ที่มิใช่ภาษีอากร

      - หมวดค่าธรรมเนียม ค่าปรับและใบอนุญาต เป็นรายได้ที่ท้องถิ่นได้จากการจัดเก็บค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาตต่างๆที่ท้องถิ่นสามารถเรียกเก็บได้เองตามกฎหมาย หรืออาจมีหน่วยงานของรัฐหน่วยงาน อื่นจัดเก็บให้

      - หมวดรายได้จากทรัพย์สิน เป็นรายได้ที่เกิดจากผลประโยชน์ต่างๆของท้องถิ่นไท่ว่าจะ เป็นดอกเบี้ย เงินปันผล จากการใช้เช่าทรัพย์สินของท้องถิ่น หรืออยู่ในความดูแลของท้องถิ่น

      - หมวดรายได้จากสาธารณูปโภคและการพาณิชย์เป็นรายได้ที่เกิด จากการสาธารณูปโภคหรือ การพาณิชย์ของท้องถิ่น เช่นการประปา สถานธนานุบาล เป็นต้น

      - หมวดรายได้เบ็ดเตล็ดเป็นรายได้ที่ไม่เข้าลักษณะรายได้หมวดใดหมวดหนึ่ง เช่น เงินที่มีผู้อุทิศให้ ค่ารับรองสำเนาเอกสาร เป็นต้น

      ค. รายได้จากทุน

      หมวดรายได้จากทุน เป็นรายได้ที่เกิดจากการขายทรัพย์สินของท้องถิ่นซึ่ง สามารถจำหน่ายได้ตามกฎหมาย เช่น ค่าขายทอดตลาดทรัพย์สินเป็นต้น

      ง. เงินชว่ยเหลือ

      หมวดเงินอุดหนุน เป็นรายได้ที่เกิดจากการชว่ยเหลือของรัฐบาล หรือหน่วยงานอื่นใดทั้งภาครัฐ และเอกชนตลอดจนกองทุนต่างๆ ที่ไม่เฉพาะเจาะจงให้ท้องถิ่นดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง

      อนึ่ง การตั้งประมาณการรายรับ ให้ปฏิบัติตามบัญชีการจำแนกประเภทรายรับ ที่กรมการปกครองกำหนดไว้เท่านั้น การเพิ่มประเภทรายรับใหม่เป็นอำนาจของ กรมการปกครองเท่านั้น
      18 ชั่วโมงที่แล้ว ·
    • Maha Arai ลองดูตัวอย่างรายได้แต่ละปีของ อบต. เล็กๆ เมื่อหลายปีก่อนด้วยซ้ำถ้าปัจจุบันจะขนาดไหน
      ตำบลตาสิทธิ์ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง

      ปีงบประมาณ 2545
      รายได้ที่ท้องถิ่นจัดหาเอง 1,228,201.95 บาท
      รายได้จากภาษีที่ท้องถิ่นที่รัฐบาลจัดเก็บให้ 2,954,032.33 บาท
      รายได้จากภาษีที่รัฐบาลแบ่งให้ -
      รายได้จากเงินอุดหนุน 1,667,921.85 บาท

      ปีงบประมาณ 2546
      รายได้ที่ท้องถิ่นจัดหาเอง 1,965,389.36 บาท
      รายได้จากภาษีที่ท้องถิ่นที่รัฐบาลจัดเก็บให้ 5,214,618.47 บาท
      รายได้จากภาษีที่รัฐบาลแบ่งให้ -
      รายได้จากเงินอุดหนุน 2,168,724.02 บาท

      ปีงบประมาณ 2547
      รายได้ที่ท้องถิ่นจัดหาเอง 2,928,809.51 บาท
      รายได้จากภาษีที่ท้องถิ่นที่รัฐบาลจัดเก็บให้ 5,057,989.07 บาท
      รายได้จากภาษีที่รัฐบาลแบ่งให้ 3,161,470.85 บาท
      รายได้จากเงินอุดหนุน 2,852,840.00 บาท

      http://tasit-local.tripod.com/index.htm
      17 ชั่วโมงที่แล้ว ·
    • Maha Arai เฉพาะตำบลนี้ตำบลเดียวรายได้ล่าสุดปี 2547 เกือบ 8 ปีที่แล้ว 14,001,109.43 บาทต่อปี เมื่อ 8 ปี ที่แล้วน่ะเนี้ยะ
      17 ชั่วโมงที่แล้ว ·
    • Maha Arai นี่ทั้งประเทศ ปี 46 เอาไปเป็นฐานดูได้ เดี๋ยวสืบต่อปีที่แล้วเท่าไหร่กันแล้วเกิน 3 ล้านแทบทั้งนั้นระดับหลายสิบล้านเพียบ http://www.local.moi.go.th/incomeabt.pdf
      17 ชั่วโมงที่แล้ว ·
    • Maha Arai เฉพาะ ปี 48 ภาษี vat ภาษีสุราสรรพสามิต ที่ส่งให้อบต. 25,000 ล้านบาทไปแบ่งกัน ส่วนเมืองพัทยาปาเข้าไป 500 ล้านบาท กทม. 8 พันล้านบาท ไม่ใช่น้อยๆ เลยน่ะ http://www.thailocaladmin.go.th/work/DLA_DOC/download/estimates2.pdf
      17 ชั่วโมงที่แล้ว ·
    • Maha Arai สรุปหายากจริงๆ ไว้งมต่อ เจอเมื่อไหร่จะเอามาให้ชมของล่าสุด มีหลายอย่างดีแล้วหลายๆ เว็บ แต่หยุดการอัพเดตไปเยอะแยะเลยน่าเสียดายจริงๆ ทำงานกันแบบรัฐบาลไหนมาสนใจก็ทำให้ไม่สนใจก็เลิกทำ สนุกดีจริงๆ ไทยแลนด์ อิอิ
      17 ชั่วโมงที่แล้ว ·


http://www.facebook.com/maha.arai

----------------------------------------------------
FfF