05 กันยายน 2554

<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ข้อมูลเงินคงคลังและเงินกู้สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ >>>

สรุปการใช้เงินคงคลังสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ ( 2 ปี 7 เดือน )
2552
ใช้เงินคงคลังสุทธิ = -109,404 ล้านบาท

2553
ใช้เงินคงคลังสุทธิ = -152,446 ล้านบาท

2554 (ม.ค.-ก.ค.) ใช้เงินคงคลังสุทธิ = 44,483 ล้านบาท
สรุป 2 ปี 7 เดือน
ใช้เงินคงคลังสุทธิ = -217,367 ล้านบาท

หมายเหตุ
ถ้าตัวเลขติดลบคือ คืนเงินคงคลัง

ที่มา
: รวบรวมมาจากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย

http://www2.bot.or.th/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=38&language=TH
-----------------------------------------------

สรุปการกู้ยืมเงินในประเทศสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ ( 2 ปี 7 เดือน )

2552
กู้ยืมเงินในประเทศสุทธิ = 522,589 ล้านบาท

2553
กู้ยืมเงินในประเทศสุทธิ = 420,802 ล้านบาท

2554 (ม.ค.-ก.ค.) กู้ยืมเงินในประเทศสุทธิ = 16,050 ล้านบาท
สรุป 2 ปี 7 เดือน
กู้ยืมเงินในประเทศสุทธิ = 959,441 ล้านบาท

หมายเหตุ
ถ้าตัวเลขติดลบคือ คืนเงินที่กู้

ที่มา
: รวบรวมมาจากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย

http://www2.bot.or.th/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=38&language=TH
-----------------------------------------------





































จากตารางข้อมูลในปี 2553 จะเห็นว่า
มีการกู้ยืมเงินจากแหล่งต่างๆ ในประเทศ 420,802 ล้านบาท

ข้อ 7 กู้ยืมในประเทศสุทธิ = 420,802 ล้านบาท


เพื่อนำไปชดเชยดุลเงินสดที่ขาดดุล 265,893 ล้านบาท

และใช้คืนหนี้ต่างประเทศ 2,463 ล้านบาท

ข้อ 6 การชดเชยดุลเงินสด 6/= 265,893 ล้านบาท

ข้อ12 กู้ยืมต่างประเทศสุทธิ = -2,463 ล้านบาท


ที่เหลือกลายเป็นเงินคงคลัง 152,446 ล้านบาท

ข้อ15 เงินคงคลังในปี 2553 = -152,446 ล้านบาท


สรุป 2 ปี 7 เดือนของรัฐบาลอภิสิทธิ์
กู้มา 959,441 ล้านบาท

เพื่อชดเชยดุลเงินสดที่ขาดดุล
และใช้คืนเงินกู้ต่างประเทศอีกนิดหน่อย

ที่เหลือก็กลายเป็นเงินคงคลังโดยอัตโนมัติ

ซึ่งเงินคงคลังเพิ่มขึ้นจากตอนที่เข้ามา 217,367 ล้านบาท

ไม่ได้เกิดจากการบริหารจนเศรษฐกิจดี
ทำให้มีรายได้มากกว่ารายจ่ายอะไร

แต่เงินคงคลังเหลือเยอะ
เพราะกู้มามากกว่าที่ต้องใช้ก็เลยเหลือ

เหมือนคนไปกู้เงินมา 1 ล้านบาท

แล้วใช้ไป 5 แสนบาทเหลือ 5 แสนบาท

แล้วมาคุยว่าทำงานเก่งมีเงินเหลือ 5 แสนบาท

แต่ไม่พูดถึงยอดหนี้ที่กู้มาทั้งหมด

และการหาเงินใช้หนี้คืนในอนาคต










































































































จากกราฟการคลังปี 2553 จะเห็นว่า
เงินคงคลังเคลื่อนไหวตลอดทั้งปี
ซึ่งทุกเดือน ทุกปีก็เป็นลักษณะแบบนี้
ดังนั้นที่มีการสร้างกระแสเงินคงคลังแตะต้องไม่ได้
นั่นนี่เหมือนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อธิบายคำศัพท์
ฟังแล้วงง เหมือนกลายเป็นของหวงห้าม
อันที่จริงก็คือบัญชีเงินฝากของรัฐบาล
มีทั้งบัญชีรับ บัญชีจ่าย
มี พรบ.เงินคงคลัง ที่ทำให้รัฐ
สามารถนำเงินมาใช้ได้
ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวถ้าจะนำมาใช้
เพียงแต่ต้องรู้จักใช้ เพราะมันเป็นเงินกู้มาเหลือใช้
ไม่ใช้เงินที่เก็บรายได้เยอะเกินรายจ่าย ถ้ารู้ที่มาก็จะเข้าใจ
ซึ่งกรณีรัฐบาลอภิสิทธิ์ทำให้มีเงินคงคลังเหลือเยอะ
ก็เพราะว่าไปกู้มาใช้ไม่หมดมันก็เหลือไม่มีอะไรในก่อไผ่
ซึ่งเรื่องนี้เป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจของอภิสิทธิ์และพรรคพวก
ที่ชอบนำมาอวดโชว์ผลงานอันที่จริงมันก็โชว์เหมือนกัน
เพราะเป็นหลักฐานอย่างดีว่า ดีแต่กู้จริงๆ อย่างที่เขาว่านั่นแหล่ะ

ถ้าดูกราฟการคลังรัฐบาลปี 2553
ช่วงประมาณ พ.ค. - ก.ค. รัฐจะมีรายได้สูงมาก
เกิดจากการเก็บภาษีนิติบุคคลและภาษีบุคคลธรรมดาประจำปี
ช่วงนี้ไม่ต้องกู้แถมยังมีเงินเหลือใช้มาก
และอีกช่วงหนึ่งที่มีรายได้เข้าคลังคือช่วง ก.ย.
เป็นช่วงสิ้นปีงบประมาณของรัฐ
ถ้าใช้เงินงบประมาณไม่หมดก็ต้องคืนกลับเข้าคลัง
นอกนั้นก็เริ่มจ่ายมากขึ้นโดยเฉพาะปลายปีถึงต้นปี
เพราะมีค่าใช้จ่ายประจำบางอย่างเพิ่มขึ้น
เช่น เงินเดือนใหม่ที่เพิ่มขึ้น, โครงการใหม่เริ่มทำ เป็นต้น
ทำให้เงินเริ่มไม่พอใช้ ดูเส้นสีเหลืองประกอบ
จะเห็นว่าต้องมีการชดเชยการขาดดุลเงินสด
ด้วยการไปกู้มา เป็นธรรมชาติของทุกรัฐบาลทุกๆ ปี
ก็เป็นลักษณะนี้ยกเว้นว่ารัฐจะรวยขึ้นจนไม่ต้องกู้
แต่รายได้รายจ่ายก็คงยังคล้ายๆ กับตัวอย่างปี 2553
ดังนั้นการที่สื่อหรือนักวิชาการหรือคนไม่รู้
ชอบหยิบเฉพาะบางช่วงมาพูดว่าเงินคงคลังเหลือน้อย
เช่นอภิสิทธิ์ชอบพูดว่า ตอนเข้ามาเป็นรัฐบาล
เงินคงคลังเหลือน้อย ก็น้อยสิมาเป็นช่วงปลายปี
ซึ่งมีรายจ่ายเพิ่มตามกราฟก็เห็นๆ อยู่
จนถึงกลางปีแล้วถึงจะมีรายได้เพิ่มเข้ามาจากการรีดภาษี
ส่วนรัฐบาลยิ่งลักษณ์เข้ามา
ช่วงหลังเก็บรายได้จากภาษีเสร็จพอดี
ก็เลยดูเหมือนมีเงินคงคลังเหลือเยอะ
ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องปกติตามธรรมชาติเงินคงคลังอย่างที่ว่ามา
แต่รวมๆ แล้วช่วงรัฐบาลอภิสิทธิ์
เป็นเงินกู้มากกว่าเก็บภาษีแล้วเหลือใช้
เพราะถ้าไม่กู้มาก็คงเจ๊งไปตั้งนานแล้ว
อย่าว่าแต่มีเงินคงคลังเหลือเลย
ข้าราชการ
ทั้งประเทศคงไม่ได้รับเงินเดือนทั้งปีซะมากกว่า

สังเกตุกราฟเส้นสีเหลืองกับเส้นสีแดง
จะเห็นได้ชัดว่ามันไปทางเดียวกันตลอด
ขึ้นก็ขึ้นเหมือนกัน ลงก็ลงเหมือนกัน
หมายถึงการใช้เงินคงคลัง
เพื่อไปชดเชยดุลเงินสดที่ขาดดุล
เพราะการกู้อาจกู้มาครั้งเดียว
หรือทยอยกู้เมื่อจำเป็นต้องใช้
เส้นเงินกู้เลยไม่เข้าพวกไหน
แต่เงินคงคลังถูกดึงออกไปใช้ก่อน
แทนที่จะรอเงินกู้อาจไม่ทันในแต่ละเดือน
อะไรประมาณนั้นแหล่ะ
แล้วถึงไปกู้มาโปะเรื่อยๆ ภายหลัง

ส่วนกรณีที่มีการยกมาแย้งเรื่องได้ยกเลิก พรบ. กู้เงิน 4 แสนล้านแล้ว
ยอดกู้เงินก็ควรจะอยู่ที่ 4 แสนล้านอะไรประมาณนั้นตามที่คนแย้งเข้าใจ
มาดูความเป็นมาของการออก พรก. และ พรบ. กู้เงินสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์กันก่อน
เมื่อรัฐบาลอภิสิทธิ์บริหารประเทศมาได้สักระยะประมาณกลางปี 52
มีความพยายามผลักดัน พรก.และพรบ. เพื่อให้สามารถกู้เงินได้รวม 8 แสนล้านบาท
ที่แยกเป็นสองส่วนเป็นเทคนิคและที่ต้องออก พรก. หรือ พรบ.
ก็เพราะจะกู้เกิน 20% ของงบประมาณทั้งปีในปี 52
และเผื่อปี 53 ในคราวเดียวกันเพื่อนำเงินไปกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป
จึงจำเป็นต้องออกกฏหมายถ้าไม่ถึง 20% ก็กู้มาได้เลยเหมือนทำงบขาดดุลปกติ
แต่เงินในคลังคงขาดมือในช่วงนั้น เลยจำเป็นต้องเร่งผลักดันเต็มที่
ต่อมา พท. ส่งศาล รธน. ตีความ ศาลตัดสินไม่ผิด
สุดท้าย สว. ผ่านให้เฉพาะ พรก.ในปี 52 ส่วน พรบ. มาได้ในปี 53
และสุดท้ายมาออกข่าวต้นปี มีการคุยว่าขอยกเลิก
พรบ.กู้เงิน 4 แสนล้านหลัง
เพราะเศรษฐกิจดีแล้ว เลยมาสรุปว่า
กู้เงินมาใช้แค่ 4 แสนล้านบาท คงไม่ใช่ข้อเท็จจริง
เพราะปี 53 สามารถทำงบขาดดุลได้เพิ่มแต่ไม่ถึง 20% ของงบประมาณปี 53
ก็ไม่จำเป็นต้องออก พรก. หรือ พรบ. เพื่อกู้เงิน ก็ไปกู้ได้เลยตามปกติ
ซึ่งสามารถกู้เงินได้ทุกรัฐบาลโดยไม่จำเป็นต้องยุ่งยากออกเป็นพรก.หรือ พรบ.
ถ้าทำแค่งบขาดดุลอยู่ใน 20% ของงบประมาณ
การที่ต้องออกกฏหมายขอกู้นี่แสดงว่าทำงบขาดดุลแล้ว
เงินยังไม่พอใช้อีก ถ้ากู้อีกเกิน 20% วงเงินงบประมาณแน่ๆ
จึงจำเป็นต้องออก พรก. และ พรบ. ผ่านสภาให้ยุ่งยาก
ดังนั้นการนำยอดเงินที่สามารถกู้ได้ที่ออกเป็น พรก. พรบ. กู้เงิน
มาแย้งว่ากู้เงินแค่นั้นแค่นี้ไม่ได้ เพราะอาจไม่กู้เลยก็ได้
เหมือนที่ยกเลิก พรบ. กู้เงิน 4 แสนล้านบาทในภายหลัง
หรือกู้ไม่ถึงยอดที่ขอก็เป็นไปได้ทั้งนั้น
แถมถ้ากู้ไม่เกิน 20% ของงบประมาณปีนั้น
ก็กู้ได้เลยโดยไม่ต้องออก พรก. หรือ พรบ. ให้ยุ่งยาก
จึงเป็นแค่เทคนิคหลอกคนไม่รู้เท่านั้นเอง


"

พระราชบัญญัติ
วิธีการงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๐๒
...
มาตรา ๙ ทวิ เมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือพระราชบัญญัติงบประมาณราย จ่ายเพิ่มเติมใช้บังคับแล้ว หรือเมื่อมีกรณีที่ต้องใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณที่ล่วงแล้วไปพลาง ก่อนตามมาตรา ๑๖ ถ้ารายจ่ายสูงกว่ารายได้ ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจกู้เงินได้ตามความจำเป็น แต่กรณีจะเป็นประการใดก็ตาม การกู้เงินตามมาตรานี้ในปีหนึ่งๆ ต้องไม่เกิน
(๑) ร้อยละยี่สิบของจำนวนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีและงบประมาณรายจ่ายเพิ่ม เติม หรือของจำนวนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณที่ล่วงแล้วมา แล้วแต่กรณีกับอีก
(๒) ร้อยละแปดสิบของงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้สำหรับชำระคืนต้นเงินกู้
...
"
ปล. เรื่องนี้จะไม่ถูกขุดขึ้นมาพูด
ถ้าอภิสิทธิ์และพรรคพ
วกรวมทั้งกองเชียร์
ไม่นำมาโ
ม้ว่าบริหารประเทศดี
จนมีเงินค
งคลังเหลือ 3 แสนล้านบาท
จึงจำเป็นต้องขุดค้นข้อเท็จจริงมาให้ดู
เพื่อจะได้รู้ที่มาที่ไปว่าข้อเท็จจริง จริงๆ เป็นอย่างไร

โดย มาหาอะไร

---------------------------------------------------

พระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491

พระราชบัญญัติ
เงินคงคลัง
พ.ศ. 2491
--------

ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
คณะอภิรัฐมนตรี ในหน้าที่คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
รังสิต กรมขุนชัยนาทนเรนทร
อลงกฏ
ธานีนิวัต
มานวราชเสวี
อดุลเดชจรัส
ให้ไว้ ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491
เป็นปีที่ 3 ในรัชกาลปัจจุบัน

โดยที่เป็นการสมควรจัดระบบการควบคุมเงินแผ่นดินว่าด้วย
เงินคงคลังให้รัดกุม

พระมหากษัตริย์โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา จึงมีพระบรม
ราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติเงินคงคลัง
พ.ศ. 2491"

มาตรา 2* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
*[รก.2491/9/1พ./12 กุมภาพันธ์ 2491]

มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้
"บัญชีเงินคงคลังบัญชีที่ 1" หมายความว่า บัญชีเงินฝาก
กระแสรายวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งกระทรวงการคลังมีไว้เพื่อ
ประโยชน์แห่งมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัตินี้
"บัญชีเงินคงคลังบัญชีที่ 2" หมายความว่า บัญชีเงินฝาก
กระแสรายวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งกระทรวงการคลังมีไว้เพื่อ
ประโยชน์แห่งมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัตินี้
"มติให้จ่ายเงินไปก่อน" หมายความว่า มติของสภาผู้แทนราษฎร
ซึ่งได้ตราขึ้นไว้เป็นพระราชบัญญัติอนุญาตให้รัฐบาลจ่ายเงินเพื่อกิจการที่ระบุ
ไว้ในพระราชบัญญัตินั้นไปพลางก่อนจนกว่าจะได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติ
งบประมาณหรือพระราชบัญญัติงบประมาณเพิ่มเติม [นิยาม "มติให้จ่ายเงิน
ไปก่อน" เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2495]
"เงินยืมทดรองราชการ" หมายความว่า เงินซึ่งกระทรวงการคลัง
อนุญาตให้ส่วนราชการมีไว้ตามจำนวนที่เห็นสมควร เพื่อทดรองจ่ายเป็นค่า
ใช้สอยปลีกย่อยประจำสำนักงานตามข้อบังคับและระเบียบของกระทรวงการคลัง
"เงินฝาก" หมายความว่า เงินที่กระทรวงการคลังรับฝากไว้
และจ่ายคืนตามคำขอของผู้ฝากตามข้อบังคับและระเบียบของกระทรวงการคลัง
"เงินขายบิล" หมายความว่า เงินที่กระทรวงการคลังรับไว้
ณ ที่แห่งหนึ่งเพื่อโอนไปจ่าย ณ ที่อีกแห่งหนึ่งตามข้อบังคับและระเบียบของ
กระทรวงการคลัง
"ทุนหมุนเวียน" หมายความว่า ทุนที่ตั้งขึ้นเพื่อกิจการซึ่งอนุญาต
ให้นำรายรับสมทบทุนไว้ใช้จ่ายได้
"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 4 ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 13 บรรดาเงินทั้งปวงที่พึงชำระ
ให้แก่รัฐบาลไม่ว่าเป็นภาษีอากร ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ เงินกู้ หรือเงินอื่นใด
หัวหน้าส่วนราชการที่ได้เก็บหรือรับเงินนั้นมีหน้าที่ควบคุมให้ส่งเข้าบัญชีเงินคงคลัง
บัญชีที่ 1 หรือส่งคลังจังหวัดหรือคลังอำเภอ ตามกำหนดเวลาและข้อบังคับที่รัฐมนตรี
กำหนด โดยไม่หักเงินไว้เพื่อการใด ๆ เลย
*รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดข้อบังคับอนุญาตให้หัวหน้าส่วนราชการ
ใด ๆ หักรายจ่ายจากเงินที่จะต้องส่งเข้าบัญชีเงินคงคลังบัญชีที่ 1 หรือส่ง
คลังจังหวัดหรือคลังอำเภอได้ ในกรณีดั่งนี้
(1) รายจ่ายที่หักนั้นเป็นรายจ่ายที่มีกฎหมายอนุญาตให้จ่ายได้
(2) รายจ่ายที่จำเป็นต้องจ่ายตามระเบียบที่ได้รับความตกลงจาก
กระทรวงการคลัง เพื่อเป็นค่าสินบนรางวัล หรือค่าใช้จ่ายในการจัดให้ได้มา
ซึ่งเงินอันพึงต้องชำระให้แก่รัฐบาล
(3) รายจ่ายที่ต้องจ่ายคืนให้แก่บุคคลใด ๆ เพราะเป็นเงินอัน
ไม่พึงต้องชำระให้แก่รัฐบาล
*[มาตรา 4 วรรคสอง แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2495]

มาตรา 5 การสั่งจ่ายเงินจากบัญชีเงินคงคลังบัญชีที่ 1 ให้
กระทำได้แต่เพื่อโอนเงินไปเข้าบัญชีเงินคงคลังบัญชีที่ 2 เท่านั้น

มาตรา 6 ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 7 มาตรา 8 และมาตรา 12
การสั่งจ่ายเงินจากบัญชีเงินคงคลังบัญชีที่ 2 หรือคลังจังหวัดหรือคลังอำเภอ ให้
กระทำได้แต่เฉพาะตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี พระราช
บัญญัติงบประมาณเพิ่มเติม พระราชบัญญัติโอนเงินในงบประมาณ มติให้จ่ายเงิน
ไปก่อน หรือพระราชกำหนดที่ออกตามความในบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
ในกรณีที่จ่ายเงินตามมติให้จ่ายเงินไปก่อนหรือตามพระราชกำหนด
ให้ตั้งเงินรายจ่ายเพื่อชดใช้ในพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี หรือพระราช
บัญญัติงบประมาณเพิ่มเติม

มาตรา 7* ในกรณีต่อไปนี้ ให้สั่งจ่ายเงินจากบัญชีเงินคงคลัง
บัญชีที่ 2 หรือคลังจังหวัดหรือคลังอำเภอได้ก่อนที่มีกฎหมายอนุญาตให้จ่าย คือ
(1) รายการจ่ายที่มีการอนุญาตให้จ่ายเงินได้แล้ว ตามกฎหมาย
ว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ แต่เงินที่ตั้งไว้มีจำนวนไม่พอจ่าย
และพฤติการณ์เกิดขึ้นให้มีความจำเป็นต้องจ่ายโดยเร็ว
(2) มีกฎหมายใด ๆ ที่กระทำให้ต้องจ่ายเงิน เพื่อปฏิบัติตาม
กฎหมายนั้น ๆ และมีความจำเป็นต้องจ่ายโดยเร็ว
(3) มีข้อผูกพันกับรัฐบาลต่างประเทศหรือสถาบันการเงินระหว่าง
ประเทศที่กระทำให้ต้องจ่ายเงิน และมีความจำเป็นต้องจ่ายโดยเร็ว
(4) เพื่อซื้อคืนหรือไถ่ถอนพันธบัตรของรัฐบาลหรือตราสารเงินกู้
ของกระทรวงการคลัง หรือชำระหนี้ตามสัญญากู้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้กู้
ทั้งนี้ ตามจำนวนที่รัฐมนตรีเห็นสมควร
(5) เพื่อซื้อเงินตราต่างประเทศ พันธบัตรของรัฐบาลต่างประเทศ
หรือหลักทรัพย์ที่มั่นคงในต่างประเทศที่ไม่ใช่หุ้น ในสกุลเงินตราที่จะต้องชำระหนี้
ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้กู้ และในวงเงินไม่เกินจำนวนหนี้ที่ถึงกำหนดชำระใน
ช่วงระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการชำระหนี้เมื่อถึงกำหนด
ทั้งนี้ ให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดข้อบังคับ
เกี่ยวกับการซื้อเงินตราต่างประเทศ พันธบัตรของรัฐบาลต่างประเทศ และ
หลักทรัพย์ที่มั่นคงในต่างประเทศที่ไม่ใช่หุ้นการนำเงินตราต่างประเทศฝาก
ธนาคาร รวมทั้งวิธีปฏิบัติอื่นใดที่เกี่ยวข้อง
การจ่ายเงินในห้ากรณีข้างต้นนี้ เมื่อได้จ่ายแล้วให้ตั้งเงินรายจ่าย
เพื่อชดใช้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ
หรือในกฎหมายว่าด้วยโอนงบประมาณรายจ่าย หรือในกฎหมายว่าด้วย
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณปีต่อไป
*[มาตรา 7 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2534]

มาตรา 8 เงินต่อไปนี้ ให้สั่งจ่ายจากบัญชีเงินคงคลังบัญชีที่ 2
หรือคลังจังหวัดหรือคลังอำเภอได้ คือ
(1) เงินยืมทดรองราชการ
(2) เงินฝาก
(3) เงินขายบิล
*(4) เงินที่จำเป็นต้องจ่ายคืนภายในปีงบประมาณที่นำส่งแล้ว
เพราะเป็นเงินอันไม่พึงต้องชำระให้แก่รัฐบาล
*[มาตรา 8(4) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2495]

มาตรา 9 การสั่งจ่ายเงินจากบัญชีเงินคงคลังบัญชีที่ 1 ให้เป็น
หน้าที่รัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีมอบหมายให้เป็นผู้สั่งจ่ายได้


มาตรา 10* การสั่งจ่ายเงินจากบัญชีเงินคงคลังบัญชีที่ 2
ให้เป็นหน้าที่ของอธิบดีกรมธนารักษ์ หรือผู้ที่อธิบดีกรมธนารักษ์มอบหมาย
และเจ้าพนักงานซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยเฉพาะเพื่อการนี้ เป็นผู้ลงลายมือ
ชื่อร่วมกันสั่งจ่าย
*[มาตรา 10 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2495]

มาตรา 11* การสั่งจ่ายเงินจากคลังจังหวัดหรือคลังอำเภอให้เป็น
หน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย และให้
ปฏิบัติตามระเบียบของกระทรวงการคลัง ถ้ามีเงินเหลือจ่ายให้ส่งเข้าบัญชีเงิน
คงคลังบัญชีที่ 1 ตามวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนด
*[มาตรา 11 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2495]

มาตรา 12 การจ่ายเงินเป็นทุนหรือเป็นทุนหมุนเวียนเพื่อการ
ใด ๆ ให้กระทำได้แต่โดยกฎหมาย

มาตรา 13 องค์การใด ๆ ของรัฐบาลที่ได้ตั้งขึ้นแล้วก่อนวัน
ใช้พระราชบัญญัตินี้หรือที่จะตั้งขึ้นใหม่ บรรดาที่ใช้ทุนหรือทุนหมุนเวียนนั้น ให้
รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดข้อบังคับว่าด้วยการจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และ
การนำทุนหรือผลกำไรเข้าบัญชีเงินคงคลังบัญชีที่ 1

มาตรา 14 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตาม
พระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ควง อภัยวงศ์
นายกรัฐมนตรี

----------------

พระราชบัญญัติเงินคงคลัง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2495
[รก.2495/75/1391/23 ธันวาคม 2495]

พระราชบัญญัติเงินคงคลัง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2509
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
1. เนื่องจากรัฐบาลมีข้อผูกพันที่จะต้องจ่ายเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน
คลังให้แก่ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและพัฒนาการ และกองทุน
การเงินระหว่างประเทศเมื่อเรียกร้องการจ่ายเงินนี้บางขณะอาจดำเนินการ
ตามวิธีการงบประมาณปกติไม่ทัน จึงสมควรให้รัฐบาลมีอำนาจจ่ายเงินคงคลัง
ไปพลางก่อนได้
2. ในบางเวลาเงินในบัญชีเงินคงคลังมีอยู่เป็นจำนวนมาก สมควร
นำมาใช้ประโยชน์โดยซื้อคืนหรือไถ่ถอนพันธบัตรเงินกู้ของรัฐบาลเพื่อปลดเปลื้อง
หนี้สินและบรรเทาภาระค่าดอกเบี้ย
ฉะนั้น จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง
เพื่อให้มีอำนาจกระทำการดังกล่าว
[รก.2509/62/1/20 กรกฎาคม 2509]

พระราชบัญญัติเงินคงคลัง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2534
หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่
เป็นการสมควรขยายขอบเขตการบริหารเงินคงคลังให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น
โดยให้สามารถนำเงินคงคลังไปซื้อคืนหรือไถ่ถอนตราสารเงินกู้ หรือชำระหนี้
ตามสัญญากู้ รวมทั้งการซื้อเงินตราต่างประเทศ หลักทรัพย์ที่มั่นคงในต่างประเทศ
หรือพันธบัตรของรัฐบาลต่างประเทศ ในสกุลเงินตราที่จะต้องชำระหนี้ที่กระทรวง
การคลังเป็นผู้กู้ และในวงเงินไม่เกินจำนวนหนี้ที่ถึงกำหนดชำระในช่วงระยะ
เวลาไม่เกิน 5 ปี ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการชำระหนี้ของรัฐบาล จึงจำเป็น
ต้องตราพระราชบัญญัตินี้

[รก.2534/170/1พ./27 กันยายน 2534]

http://www.google.co.th/url?sa=t&source=web&cd=3&ved=0CC4QFjAC&url=http%3A%2F%2Fwww.oic.go.th%2FCABOICFORM05%2FDRAWER05%2FGENERAL%2FDATA0000%2F00000262.DOC&rct=j&q=%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87&ei=nURiTu20JoLyrQeb37GuCg&usg=AFQjCNHmbwTFFGNT1a5EKq_4wkztVyKzmA&cad=rja
---------------------------------------------------


พระราชบัญญัติ
วิธีการงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๐๒
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๒
เป็นปีที่ ๑๔ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาร่างรัฐธรรมนูญในฐานะรัฐสภาดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๒”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๔๙๙
บรรดา บทกฎหมาย กฎและข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
“งบประมาณรายจ่าย” หมายความว่า จำนวนเงินอย่างสูงที่อนุญาตให้จ่ายหรือให้ก่อหนี้ผูกพันได้ ตามวัตถุประสงค์และภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
“งบประมาณรายจ่ายข้ามปี” หมายความว่า งบประมาณรายจ่ายที่ใช้ได้เกินปีงบประมาณ ตามวัตถุประสงค์และระยะเวลาที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
“ปีงบประมาณ” หมายความว่า ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคมของปีหนึ่งถึงวันที่ ๓๐ กันยายนของปีถัดไป และให้ใช้ปี พ.ศ. ที่ถัดไปนั้นเป็นชื่อสำหรับปีงบประมาณนั้น
“หนี้” หมายความว่า ข้อผูกพันที่จะต้องจ่ายหรืออาจจะต้องจ่ายเป็นเงิน สิ่งของหรือบริการ ไม่ว่าจะเป็นข้อผูกพันอันเกิดจากการกู้ยืม การค้ำประกัน การซื้อหรือการจ้างโดยใช้เครดิต หรือจากการอื่นใด
“เงินประจำงวด” หมายความว่า ส่วนหนึ่งของงบประมาณรายจ่ายที่แบ่งสรรให้จ่าย หรือให้ก่อหนี้ผูกพันในระยะเวลาหนึ่ง
“ส่วนราชการ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรือทบวงการเมืองที่มีฐานะเทียบเท่า สำนักงานหรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ แต่ไม่รวมตลอดถึงรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
“รัฐวิสาหกิจ” หมายความว่า
(ก) องค์การของรัฐบาลหรือหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ
(ข) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการมีทุนรวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละห้าสิบ
(ค) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการและ/หรือรัฐวิสาหกิจตาม (ก) และ/หรือ (ข) มีทุนรวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละห้าสิบ
(ง) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการและ/หรือรัฐวิสาหกิจตาม (ค) และ/หรือ (ก) และ/หรือ (ข) มีทุนรวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละห้าสิบ
(จ) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการและ/หรือรัฐวิสาหกิจตาม (ง) และ/หรือ (ก) และ/หรือ (ข) และ/หรือ (ค) มีทุนรวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละห้าสิบ
“คลัง” หมายความว่า คลังจังหวัดหรือคลังอำเภอ และให้หมายความรวมถึงบัญชีเงินฝากของกระทรวงการคลังที่ธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย
“เงินทดรองราชการ” หมายความว่า เงินที่กระทรวงการคลังจ่ายและอนุญาตให้ส่วนราชการมีไว้ตามจำนวนที่เห็นสมควร เพื่อทดรองเป็นค่าใช้จ่ายตามระเบียบหรือข้อบังคับของกระทรวงการคลัง
“ผู้อำนวยการ” หมายความว่า ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
มาตรา ๕ ให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ ทั้งนี้ตามอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวกับสำนักนายกรัฐมนตรี หรือกระทรวงการคลัง แล้วแต่กรณี
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
อำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการ
มาตรา ๖ ให้ผู้อำนวยการมีอำนาจหน้าที่จัดทำงบประมาณกับปฏิบัติการอย่างอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงบประมาณดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) เรียกให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเสนอประมาณการรายรับและรายจ่ายตามแบบและหลักเกณฑ์ พร้อมด้วยรายละเอียดตามที่ผู้อำนวยการกำหนด
(๒) วิเคราะห์งบประมาณและการจ่ายเงินของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
(๓) กำหนด เพิ่ม หรือลดเงินประจำงวดตามความจำเป็นของการปฏิบัติงานและตามกำลังเงินของแผ่นดิน
(๔) กำหนดระยะเวลาของเงินประจำงวด
มาตรา ๗ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้อำนวยการมีอำนาจเรียกให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเสนอข้อเท็จจริงตาม ที่เห็นสมควร และให้ผู้อำนวยการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ผู้อำนวยการมอบหมายมีอำนาจที่จะ เข้าตรวจสรรพสมุด บัญชี เอกสาร และหลักฐานต่างๆ ของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
เพื่อประโยชน์แห่งวรรคก่อน ให้ถือว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ผู้อำนวยการมอบหมาย เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาด้วย
หมวด ๒
ลักษณะของงบประมาณ
มาตรา ๘ งบประมาณประจำปีที่เสนอต่อรัฐสภานั้น โดยปกติให้ประกอบด้วย
(๑) คำแถลงประกอบงบประมาณแสดงฐานะและนโยบายการคลังและการเงิน สาระสำคัญของงบประมาณ และความสัมพันธ์ระหว่างรายรับและงบประมาณรายจ่ายที่ขอตั้ง
(๒) รายรับรายจ่ายเปรียบเทียบระหว่างปีที่ล่วงมาแล้ว ปีปัจจุบันและปีที่ขอตั้งงบประมาณรายจ่าย
(๓) คำอธิบายเกี่ยวกับประมาณการรายรับ
(๔) คำชี้แจงเกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ายที่ขอตั้ง
(๕) รายงานเกี่ยวกับการเงินของรัฐวิสาหกิจ
(๖) คำอธิบายเกี่ยวกับหนี้ของรัฐบาลทั้งที่มีอยู่แล้วในปัจจุบันและที่เสนอขอกู้เพิ่มเติม
(๗) รายงานการรับจ่ายเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้เพื่อช่วยราชการ
(๘) ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
มาตรา ๙ ในการเสนองบประมาณนั้น ถ้าประมาณการรายรับประเภทรายได้ตามอำนาจกฎหมายที่มีอยู่แล้วเป็นจำนวนต่ำ กว่างบประมาณรายจ่ายทั้งสิ้นที่ขอตั้ง ให้แถลงวิธีหาเงินส่วนที่ขาดดุลย์ต่อรัฐสภาด้วย แต่ถ้าเป็นจำนวนสูงกว่าก็ให้แถลงวิธีที่จะจัดการแก่ส่วนที่เกินดุลย์นั้นใน ทางที่จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
มาตรา ๙ ทวิ เมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือพระราชบัญญัติงบประมาณราย จ่ายเพิ่มเติมใช้บังคับแล้ว หรือเมื่อมีกรณีที่ต้องใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณที่ล่วงแล้วไปพลาง ก่อนตามมาตรา ๑๖ ถ้ารายจ่ายสูงกว่ารายได้ ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจกู้เงินได้ตามความจำเป็น แต่กรณีจะเป็นประการใดก็ตาม การกู้เงินตามมาตรานี้ในปีหนึ่งๆ ต้องไม่เกิน
(๑) ร้อยละยี่สิบของจำนวนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือของจำนวนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณที่ล่วงแล้วมา แล้วแต่กรณีกับอีก
(๒) ร้อยละแปดสิบของงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้สำหรับชำระคืนต้นเงินกู้
การกู้เงินตามวรรคหนึ่ง จะใช้วิธีออกตั๋วเงินคลัง พันธบัตร ตราสารอื่น หรือทำสัญญากู้ก็ได้
การออกตั๋วเงินคลังให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยตั๋วเงินคลัง แต่การออกพันธบัตรหรือตราสารอื่น หรือการทำสัญญากู้ ต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีก่อน
การออกพันธบัตรหรือตราสารอื่น ให้กระทรวงการคลังประกาศจำนวนเงินที่จะกู้ อัตราดอกเบี้ย ระยะเวลากู้ เงื่อนไข และวิธีการต่าง ๆ ในการออกพันธบัตรหรือตราสารนั้น ในกรณีทำสัญญากู้ ให้กระทรวงการคลังประกาศจำนวนเงินที่ได้กู้ ผู้ให้กู้ อัตราดอกเบี้ย ระยะเวลากู้และสาระสำคัญอื่นๆ ในสัญญากู้นั้น
ประกาศกระทรวงการคลังตามความในวรรคสี่ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๑๐ งบประมาณรายจ่ายประจำปีหรืองบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมที่ขอตั้งจะมีงบกลาง แยกต่างหากจากงบประมาณรายจ่ายของส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจก็ได้ และจะกำหนดให้มีรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ในงบกลางนั้นด้วยก็ได้
มาตรา ๑๑ งบประมาณรายจ่ายข้ามปีจะมีได้ในกรณีที่คาดว่าจะใช้งบประมาณรายจ่ายให้ เสร็จทันภายในปีงบประมาณไม่ได้ การตั้งงบประมาณรายจ่ายข้ามปีนี้ ต้องกำหนดเวลาสิ้นสุดไว้ด้วย
หมวด ๓
การจัดทำงบประมาณ
มาตรา ๑๒ ให้หัวหน้าส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ผู้หนึ่งเป็น เจ้าหน้าที่งบประมาณ มีหน้าที่เกี่ยวกับงบประมาณของส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจนั้น
มาตรา ๑๓ ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดของส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ หรือรัฐมนตรีซึ่งตามกฎหมายให้มีหน้าที่กำกับหรือควบคุมกิจการของรัฐวิสาหกิจ มีหน้าที่รับผิดชอบในการยื่นงบประมาณประจำปีของส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ นั้นต่อผู้อำนวยการ ภายในเวลาที่ผู้อำนวยการกำหนด
ในกรณีรัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดของส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเจ้าของทุน เป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบตามความในวรรคก่อน
งบประมาณประจำปีนั้น ถ้ามิได้ยื่นภายในกำหนดเวลาตามความในสองวรรคแรก ผู้อำนวยการอาจพิจารณาการตั้งงบประมาณประจำปีตามที่เห็นสมควร
มาตรา ๑๔ รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลังก็ดี หรือรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินทุนสำรองจ่ายตามมาตรา ๒๙ ทวิ ก็ดี ให้แยกตั้งไว้เป็นส่วนหนึ่งต่างหากในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย และให้ถือว่าเป็นรายจ่ายของปีงบประมาณที่ได้จ่ายเงินคงคลังหรือเงินทุนสำรอง จ่ายนั้นๆ ไป
มาตรา ๑๕ ให้ผู้อำนวยการเสนองบประมาณประจำปีต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อคณะรัฐมนตรีเสนอต่อรัฐสภาเป็นเวลาอย่างน้อยสองเดือนก่อนวันเริ่มปีงบประมาณนั้น
มาตรา ๑๖ ถ้าพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีออกใช้ไม่ทันปีงบประมาณใหม่ ให้ใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณที่ล่วงแล้วไปพลางก่อนได้ตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่ผู้อำนวยการกำหนดโดยอนุมัตินายกรัฐมนตรี
มาตรา ๑๗ ในกรณีจำเป็นจะต้องจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันเกินกว่าหรือนอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี คณะรัฐมนตรีอาจเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมต่อรัฐสภาได้ และให้แสดงถึงเงินที่พึงได้มาสำหรับจ่ายตามงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมที่ขอตั้งด้วย
การจัดทำงบประมาณเพิ่มเติม ให้เป็นไปตามวิธีการที่ผู้อำนวยการกำหนด
หมวด ๔
การโอนงบประมาณรายจ่าย
มาตรา ๑๘ รายจ่ายที่กำหนดไว้สำหรับส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจใด ตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีก็ดี พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมก็ดี จะโอนหรือนำไปใช้สำหรับส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจอื่นมิได้เว้นแต่
(๑) มีพระราชบัญญัติให้โอนหรือนำไปใช้ได้
(๒) ในกรณีที่มีพระราชกฤษฎีการวมหรือโอนส่วนราชการเข้าด้วยกันไม่ว่าจะมีผลเป็น การจัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่หรือไม่ก็ตาม ให้โอนงบประมาณรายจ่ายของส่วนราชการที่ถูกโอนหรือรวมเข้าด้วยกันนั้นไปเป็น ของส่วนราชการหรือหน่วยงานที่รับโอนหรือที่รวมเข้าด้วยกัน หรือส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นใหม่ แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
มาตรา ๑๙ รายจ่ายที่กำหนดไว้ในรายการใด สำหรับส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม พระราชบัญญัติโอนเงินงบประมาณรายจ่าย หรือพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา ๑๘ (๒) จะโอนหรือนำไปใช้ในรายการอื่นมิได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการ แต่ผู้อำนวยการจะอนุญาตมิได้ในกรณีที่เป็นผลให้เพิ่มรายจ่ายประเภทเงิน ราชการลับ หรือเป็นงาน หรือโครงการใหม่ เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
รายจ่ายรายการต่างๆ ที่กำหนดไว้ในงบกลาง ให้ผู้อำนวยการมีอำนาจจัดสรรให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายโดยตรง หรือเบิกจ่ายในรายการต่างๆ ของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจนั้นๆ ได้ตามความจำเป็น
ในกรณีจำเป็นผู้อำนวยการโดยอนุมัตินายกรัฐมนตรีจะโอนรายจ่ายงบกลางรายการใดรายการหนึ่งไปเพิ่มรายการอื่นๆ ในงบเดียวกันก็ได้
มาตรา ๒๐ การใช้รายจ่ายสำหรับส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่กำหนดไว้ในแต่ละรายการ ตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีก็ดี พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมก็ดี ให้เป็นไปตามระเบียบที่ผู้อำนวยการกำหนด
หมวด ๕
การควบคุมงบประมาณ
มาตรา ๒๑ ให้รัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบในการควบคุมงบประมาณ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ และให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) จัดให้มีการประมวลบัญชีการเงินแผ่นดิน
(๒) กำหนดระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง ด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
(๓) จัดให้มีการตรวจเอกสารการขอเบิกเงิน การจ่ายเงินและการก่อหนี้ผูกพัน ตลอดจนเอกสารต่างๆ เกี่ยวกับการรับเงิน การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง
(๔) กำหนดและควบคุมระบบบัญชี แบบรายงาน และเอกสารเกี่ยวกับการรับจ่ายเงินและหนี้
(๕) กำหนดระเบียบหรือข้อบังคับว่าด้วยเงินทดรองราชการ ด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีและให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๒๒ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจเรียกให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเสนอข้อเท็จจริงตาม ที่เห็นสมควร และให้มีอำนาจมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสรรพสมุด บัญชี เอกสาร และหลักฐานต่างๆ ของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
เพื่อประโยชน์แห่งวรรคก่อน ให้ถือว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ที่รัฐมนตรีมอบหมายเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาด้วย
มาตรา ๒๓ ยกเว้นกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๓ ตรี ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจจะจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันได้แต่เฉพาะตามที่ได้ กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือตามอำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมายอื่น และห้ามมิให้จ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม จนกว่าจะได้รับอนุมัติเงินประจำงวดแล้ว
รายจ่ายใดมีจำนวนและระยะเวลาการจ่ายเงินที่แน่นอน ผู้อำนวยการโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจะกำหนดให้ส่วนราชการจ่ายเงินโดย ไม่ต้องขออนุมัติเงินประจำงวดก็ได้
เมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมแล้วแต่กรณี ใช้บังคับแล้ว ให้สำนักงบประมาณรวบรวมรายการงบประมาณรายจ่ายซึ่งจะต้องก่อหนี้ผูกพันและวง เงินที่คาดว่าจะต้องก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อๆ ไป พร้อมทั้งจำนวนเงินเผื่อเหลือเผื่อขาด เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติการก่อหนี้ผูกพันภายในหกสิบวันนับแต่วัน ที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ และเมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติแล้ว ให้ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจดำเนินการตามระเบียบที่ผู้อำนวยการกำหนด ด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
ในกรณีที่มีความจำเป็นและเร่งด่วนและมิใช่กรณีตามวรรคสองหรือวรรคสาม คณะรัฐมนตรีมีอำนาจอนุมัติให้ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือพระราชบัญญัติงบประมาณราย จ่ายเพิ่มเติมก่อนได้รับเงินประจำงวด หรืออนุมัติให้ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจก่อหนี้ผูกพันเกินกว่าหรือนอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือพระราชบัญญัติงบ ประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมได้
มาตรา ๒๓ ทวิ ส่วนราชการใดๆ นอกจากกระทรวงการคลังจะทำการก่อหนี้ผูกพันที่เป็นการกู้ยืมเงินหรือการค้ำประกันมิได้ เว้นแต่ในกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๓ ตรี
มาตรา ๒๓ ตรี รัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่นิติบุคคล ถ้ามีความจำเป็นต้องกู้ยืมเงินเพื่อใช้ดำเนินกิจการ ให้กระทรวงเจ้าสังกัดมีอำนาจกู้ยืมให้ได้ตามเงื่อนไขดังนี้
(๑) ในกรณีกู้ยืมเงินเพื่อการลงทุน รัฐวิสาหกิจนั้นจะต้องเสนอแผนงานลงทุนให้คณะกรรมการบริหารสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติพิจารณาก่อน
(๒) ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีและผู้อำนวยการ และถ้าเป็นจำนวนเงินเกินกว่าห้าล้านบาท จะต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีอีกด้วย
เงินที่ได้รับจากการกู้ยืมตามมาตรานี้ ให้จ่ายแก่รัฐวิสาหกิจนั้น เพื่อนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ได้โดยไม่ต้องนำส่งคลัง
มาตรา ๒๔ บรรดาเงินที่ส่วนราชการได้รับเป็นกรรมสิทธิ์ไม่ว่าจะได้รับตามกฎหมายหรือ ระเบียบข้อบังคับ หรือได้รับชำระตามอำนาจหน้าที่หรือสัญญา หรือได้รับจากการให้ใช้ทรัพย์สิน หรือเก็บดอกผลจากทรัพย์สินของราชการ ให้ส่วนราชการที่ได้รับเงินนั้น นำส่งคลังตามระเบียบหรือข้อบังคับที่รัฐมนตรีกำหนด เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดเป็นอย่างอื่น
ส่วนราชการใดได้รับเงินที่มีผู้มอบให้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ส่วนราชการนั้น ใช้จ่ายในกิจการของส่วนราชการนั้นก็ดี หรือได้รับเงินที่เกิดจากทรัพย์สินซึ่งมีผู้มอบให้เพื่อหาดอกผลใช้จ่ายในกิจการของส่วนราชการนั้นก็ดี ให้ส่วนราชการนั้นจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันภายในวงเงินที่ได้รับนั้นได้ และไม่ต้องนำส่งคลัง
ในกรณีส่วนราชการได้รับเงินตามโครงการช่วยเหลือหรือร่วมมือกับรัฐบาลต่าง ประเทศ องค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษแห่งสหประชาชาติ องค์การระหว่างประเทศอื่นใด หรือบุคคลใดไม่ว่าจะเป็นเงินให้กู้หรือให้เปล่า รวมทั้งเงินที่ส่วนราชการได้รับสืบเนื่องจากโครงการช่วยเหลือหรือร่วมมือ เช่นว่านั้น รัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่นโดยไม่ต้องนำส่งคลังก็ได้
รัฐมนตรีจะอนุญาตให้ส่วนราชการที่ได้รับเงินในกรณีต่อไปนี้ นำเงินนั้นไปใช้จ่ายโดยไม่ต้องนำส่งคลังก็ได้ คือ
(๑) เงินที่ได้รับในลักษณะค่าชดใช้ความเสียหายหรือสิ้นเปลืองแห่งทรัพย์สินและจำเป็นต้องจ่ายเพื่อบูรณะทรัพย์สินหรือจัดให้ได้ทรัพย์สินคืนมา
(๒) เงินรายรับของส่วนราชการที่เป็นสถานพยาบาล สถานศึกษา หรือสถานอื่นใดที่อำนวยบริการอันเป็นสาธารณประโยชน์หรือประชาสงเคราะห์
(๓) เงินที่ได้รับในลักษณะผลพลอยได้จากการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่
(๔) เงินที่ได้รับจากการจำหน่ายหุ้นในนิติบุคคลเพื่อนำไปซื้อหุ้นในนิติบุคคลอื่น
การจ่ายเงินตาม (๒) และ (๓) ต้องเป็นไปตามระเบียบที่ได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีและผู้อำนวยการ ส่วนการจำหน่ายหุ้นและการซื้อหุ้นตาม (๔) ต้องเป็นไปตามระเบียบของกระทรวงการคลัง ที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
มาตรา ๒๕ (ยกเลิก)
มาตรา ๒๖ ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้ใดของส่วนราชการกระทำการก่อหนี้ผูกพันหรือจ่ายเงิน หรือโดยรู้อยู่แล้วยินยอมอนุญาตให้กระทำการดังกล่าวนั้นโดยฝ่าฝืนพระราช บัญญัตินี้ หรือระเบียบหรือข้อบังคับที่ได้ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ นอกจากความรับผิดทางอาญาซึ่งอาจได้รับตามกฎหมายอื่นแล้ว ผู้กระทำหรือผู้ยินยอมอนุญาตให้กระทำดังกล่าว จะต้องรับผิดชดใช้จำนวนเงินที่ส่วนราชการได้จ่ายไปหรือต้องผูกพันจะต้องจ่าย ตลอดจนค่าสินไหมทดแทนใดๆ ให้แก่ส่วนราชการนั้น
บุคคลภายนอกผู้ได้รับประโยชน์จากการกระทำที่เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้ หรือระเบียบหรือข้อบังคับที่ได้ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ดังกล่าวในวรรคก่อน จะต้องร่วมรับผิดกับผู้กระทำการฝ่าฝืนตามความในวรรคก่อนเช่นกันเว้นแต่จะ แสดงได้ว่า ตนได้กระทำไปโดยสุจริต ไม่รู้เท่าถึงการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติหรือระเบียบหรือข้อบังคับดังกล่าว
ความในวรรคแรกไม่ใช้บังคับแก่ข้าราชการหรือลูกจ้างซึ่งได้ทักท้วงคำสั่งของผู้ บังคับบัญชาเป็นหนังสือแล้วว่า การที่จะปฏิบัติตามคำสั่งนั้นอาจไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือระเบียบหรือข้อบังคับ
มาตรา ๒๗ การขอเบิกเงินจากคลังตามงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณใด ให้กระทำได้แต่เฉพาะภายในปีงบประมาณนั้น เว้นแต่
(๑) เป็นงบประมาณรายจ่ายข้ามปี หรือ
(๒) เป็นงบประมาณรายจ่ายที่ได้ก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนสิ้นปีงบประมาณ หรือที่ได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีให้เบิกเหลื่อมปี และได้มีการกันเงินไว้ตามระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินจาก คลัง
ในกรณี (๒) ให้ขยายเวลาขอเบิกเงินจากคลังต่อไปได้อีกไม่เกินหกเดือนปฏิทินของปีงบประมาณถัดไป เว้นแต่มีความจำเป็นต้องขอเบิกเงินจากคลังภายหลังเวลาดังกล่าว ก็ให้ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลังเป็นกรณีๆ ไป
มาตรา ๒๘ ในกรณีที่เป็นงบประมาณรายจ่ายข้ามปีการขอเบิกเงินจากคลังตามงบประมาณรายจ่ายข้ามปีนั้น ให้กระทำได้แต่เฉพาะภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณราย จ่าย เว้นแต่เป็นงบประมาณรายจ่ายข้ามปีที่ได้ก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนสิ้นกำหนดเวลา และได้มีการกันเงินไว้ตามระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินจาก คลังก็ให้ขยายเวลาขอเบิกเงินจากคลังต่อไปได้อีกไม่เกินสามเดือนปฏิทิน
มาตรา ๒๙ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งจ่ายเงินจากคลังเป็นเงินทดรองราชการได้
มาตรา ๒๙ ทวิ ให้มีเงินทุนจำนวนหนึ่งโดยให้รัฐมนตรีจ่ายจากคลัง เรียกว่า “เงินทุนสำรองจ่าย” เป็นจำนวนหนึ่งร้อยล้านบาท เงินทุนนี้ให้นำไปจ่ายได้ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการแผ่น ดิน โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี และเมื่อได้จ่ายไปแล้ว ให้ขอตั้งรายจ่ายชดใช้เพื่อสมทบเงินทุนนั้นไว้จ่ายต่อไป
มาตรา ๓๐ เมื่อสิ้นปีงบประมาณ ให้รัฐมนตรีประกาศรายงานการรับจ่ายเงินประจำปีงบประมาณที่สิ้นสุดนั้นในราชกิจจานุเบกษาโดยมิชักช้า
รายงานการรับจ่ายเงินประจำปีตามความในวรรคก่อน เมื่อคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้ว ให้ทำรายงานผลการตรวจสอบเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอรัฐสภา
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๓๑ การปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๒ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราช บัญญัตินี้ใช้บังคับ เว้นแต่ความในมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๓๒ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๓ ให้มีระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๓ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๓ และให้เสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อรัฐสภาก่อนสิ้นเดือน ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๒
ปี งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๔ ให้มีระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๔ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๔ และให้เสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อรัฐสภาก่อนสิ้นเดือน ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๓
มาตรา ๓๓ ส่วนราชการใดเบิกจ่ายเงินจากคลังตามระบบจ่ายก่อนตรวจอยู่แล้วก่อนวันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือปฏิบัติต่อไปได้อีกไม่เกินหกเดือนนับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ ใช้บังคับ
มาตรา ๓๔ (ยกเลิก)
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
จอมพล ส. ธนะรัชต์
นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเกี่ยวกับวิธีการงบประมาณและบัญชีการ เงินแผ่นดินยังไม่เหมาะสม ควรกำหนดให้มีแผนการเงินประจำปี อันสมบูรณ์สำหรับส่วนราชการทั้งมวล ให้มีการควบคุมงบประมาณอย่างรัดกุม ให้การจ่ายเงินงบประมาณเป็นไปตามกำลังเงินเป็นงวดๆ และให้มีการประมวลบัญชีและรายงานเกี่ยวกับรายรับรายจ่ายทั้งสิ้นของแผ่นดิน จึงสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณเสียใหม่
พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๐๓
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีบทบัญญัติบางมาตรายังไม่เหมาะสม ควรปรับปรุงให้การรับและการจ่ายเงินแผ่นดินเป็นไปโดยเรียบร้อยและสะดวกต่อ การปฏิบัติ ตามมาตรฐานการบริหารการคลังที่ดี จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๑
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๒ มีบทบัญญัติบางมาตราที่ไม่เหมาะสม จึงเห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๐๓ ลงวันที่ ๓๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕
พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๑๗
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติบางมาตราของพระราชบัญญัติวิธีการ งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๒ เกี่ยวกับวิธีการกู้เงิน วงเงินกู้เพื่อใช้จ่ายในกิจการของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่นิติบุคคล การนำเงินรายได้ส่งคลังและวิธีการเบิกเงินงบประมาณรายจ่ายข้ามปีให้เหมาะสม ยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น
พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงบทบัญญัติในพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๒ เพื่อให้การจ่ายเงินงบประมาณบางหมวดรายจ่ายสามารถกระทำได้โดยคล่องตัวและรวด เร็วยิ่งขึ้น และสมควรปรับปรุงบทบัญญัติว่าด้วยวิธีการขออนุมัติก่อหนี้ผูกพันงบประมาณราย จ่ายต่อคณะรัฐมนตรีสำหรับรายการที่ตั้งงบประมาณรายจ่ายไว้ตามพระราชบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ซึ่งจะต้องก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อๆ ไป เพื่อให้มีประสิทธิภาพ ลดขั้นตอนประหยัดเวลาและงบประมาณ นอกจากนั้น สมควรปรับปรุงบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการนำเงินไปใช้จ่ายโดยไม่ต้องส่งคลัง ให้รวมถึงการจำหน่ายหุ้นในนิติบุคคลที่ไม่มีความจำเป็นต้องถือไว้เพื่อนำไป ซื้อหุ้นในนิติบุคคลอื่นแทนได้ เพื่อให้การบริหารทรัพย์สินของรัฐเป็นไปอย่างมีประโยชน์กับรัฐสูงสุด จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๓
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การรวมหรือโอนกระทรวง ทบวง กรม ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๓๐ อาจกระทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา สมควรเพิ่มเติมข้อยกเว้นของการห้ามโอนงบประมาณรายจ่าย รวมทั้งควบคุมการโอน หรือนำงบประมาณรายจ่ายที่เป็นผลจากการรวมหรือโอนกระทรวง ทบวง กรม ไปใช้ในรายการอื่นให้สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

http://www.thailandlawyercenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538975429&Ntype=19


---------------------------------------------------
FfF