26 กันยายน 2554

<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง สาเหตุ SET หลุด 1,000 จุด >>>

Maha Arai

<<< สาเหตุตลาดหุ้นหลุด 1,000 จุดวันนี้ >>>

· · · 22 กันยายนเวลา 17:01 น.


http://www.facebook.com/maha.arai

-----------------------------------------------

22 กันยายน 2011
ตลาดหุ้นยุโรปอ่อนตัวลงวันนี้ หลังเฟดเตือนศก.เสี่ยงขาลง-มูดีส์ลดเครดิต 3 แบงก์

ตลาดหุ้นยุโรปเปิดตลาดวันนี้อ่อนตัวลง หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐได้ส่งสัญญาณว่า เศรษฐกิจเสี่ยงที่จะเผชิญกับขาลง และมูดีส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ลดอันดับความน่าเชื่อถือธนาคาร 3 แห่งของสหรัฐ
ดัชนี Stoxx Europe 600 ร่วง 2.4% แตะ 219.89 จุด เมื่อเวลา 8.03 น.ตามเวลาท้องถิ่นในลอนดอน
หุ้นโลจิเทค อินเตอร์เนชั่นแนล ร่วง 11% หลังจากที่บริษัทได้ปรับลดคาดการณ์ผลการดำเนินงานเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 2 เดือน ส่วนหุ้นกลุ่มแบงก์ร่วงลงหลังจากที่สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของอินเทซ่า ซานเปาโล เอสพีเอ ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่อันดับ 2 ของอิตาลี และวาณิชธนกิจ เมดิโอบังกา เอสพีเอ ลง
คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด (เอฟโอเอ็มซี) มีมติด้วยคะแนนเสียง 7 ต่อ 3 ให้ใช้มาตรการ Operation Twist ซึ่งเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เฟดเชื่อมั่นว่ามีประสิทธิภาพ พร้อมกับยืนยันว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำเป็นพิเศษต่อไปอย่างน้อยจนถึงกลางปี 2556
แถลงการณ์ภายหลังการประชุมของเฟดระบุว่า "มาตรการ Operation Twist จะฉุดอัตราดอกเบี้ยระยะยาวให้ต่ำลง และจะช่วยให้สภาวะด้านการเงินมีความคล่องตัวมากขึ้น โดยคณะกรรมการเฟดจะดำเนินทบทวนทั้งในเรื่องของขนาดและองค์ประกอบของการถือครองพันธบัตรเป็นระยะๆ และพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม"
เฟดระบุว่า "จากข้อมูลที่รวบรวมได้นับตั้งแต่การประชุมครั้งก่อนในเดือนส.ค.พบว่า เศรษฐกิจสหรัฐยังคงขยายตัวอย่างเชื่องช้า แลมีความเสี่ยงหลายด้านที่จะทำให้แนวโน้มเศรษฐกิจเผชิญกับภาวะขาลง ซึ่งความเสี่ยงดังกล่าวนั้นรวมถึงภาวะตึงตัวในตลาดการเงินทั่วโลก ส่วนตลาดแรงงานยังคงอ่อนแอ และอัตราว่างงานอยู่ในระดับที่สูงมาก ทั้งนี้ แม้เศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวขึ้นบ้างในช่วงหลายไตรมาสข้างหน้า แต่คาดว่าอัตราว่างงานจะปรับตัวลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันหลังจากมูดีส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารพาณิชย์รายใหญ่ของสหรัฐ ซึ่งได้แก่ แบงก์ ออฟ อเมริกา, เวลส์ ฟาร์โก แอนด์โค และซิตี้กรุ๊ป อิงค์ เนื่องจากความกังวลที่ว่ารัฐบาลสหรัฐอาจจะไม่สนับสนุนธนาคารรายใหญ่ภายในประเทศ หากธนาคารเหล่านี้เผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบากในช่วงที่เกิดวิกฤตการเงินทั่วโลก

http://www.thunhoon.com/highlight/93293/93293.html

-----------------------------------------------

22 กันยายน 2011
ราคาน้ำมัน NYMEX ร่วง $1.77 หลังเฟดเตือนเศรษฐกิจสหรัฐเสี่ยงเผชิญขาลง

สัญญาน้ำมันดิบ NYMEX เดือนพ.ย.ซึ่งมีการซื้อขายทางระบบอิเล็กทรอนิกที่ตลาดสิงคโปร์ ร่วงลง 1.77 ดอลลาร์ แตะที่ 84.15 ดอลลาร์/บาร์เรลในช่วงเช้าวันนี้ (22 ก.ย.) จากระดับปิดที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ที่ 85.92 ดอลลาร์/บาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าความต้องการพลังงานจะซบเซาลง หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐมีความเสี่ยงอย่างมากที่จะเผชิญกับช่วงขาลง

สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) รายงานว่า สต็อกน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 16 ก.ย. ร่วงลง 7.3 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 339.0 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่า จะลดลงเพียง 1.3 ล้านบาร์เรล

ขณะที่สต็อกน้ำมันกลั่นลดลง 900,000 บาร์เรล สู่ระดับ 157.6 ล้านบาร์เรล ตรงข้ามกับที่นักวิเคราะห์คาดว่า จะเพิ่มขึ้น 1 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตาม สต็อกน้ำมันเบนซินพุ่งขึ้น 3.3 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 214.1 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 1.2 ล้านบาร์เรล ส่วนอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันเพิ่มขึ้น 1.3% สู่ระดับ 88.3% ตรงข้ามกับที่คาดว่าจะลดลง 0.9%

http://www.thunhoon.com/highlight/93280/93280.html

-----------------------------------------------

26 กันยายน 2011
“ตลาดทุนโลกมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับภาวะความผันผวนที่รุนแรง”

ตลาดทุนโลกมีแนวโน้มที่จะยังคงเผชิญกับภาวะความผันผวนที่รุนแรงไปอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากนักลงทุนยังคงขาดความเชื่อมั่นในมาตราการแก้ปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะในกลุ่มยูโรโซน ซึ่งที่ผ่านมาการแก้ไขปัญหามักจะอยู่ในรูปแบบของการซื้อเวลา หรือ การแก้ปัญหาแบบเฉพาะหน้ามากกว่าที่จะเป็นการออกมาตรการแบบเบ็ดเสร็จ ที่จะสามารถทำให้วิกฤตจบลงได้ การที่วิกฤตยังคงลุกลามไปยังสเปนและอิตาลี สองประเทศที่มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจแข็งแกร่งกว่า กรีซ โปรตุเกส และไอร์แลนด์ รวมไปถึงวิกฤตศรัทธา (Crisis of Confidence) ที่กำลังเกิดขึ้นในตลาดทุนโลก เป็นการตอกย้ำถึงความล้มเหลวของมาตราการในช่วงที่ผ่านมา

สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด คือโอกาสที่วิกฤตหนี้สาธารณะในกลุ่มยูโรโซนจะบานปลายจนกลายเป็นวิกฤตการเงินโลกรอบสองเริ่มมีสูงขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าองค์กรที่มีส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหาอย่างเช่น European Council, European Central Bank หรือ International Monetary Fund ยังคงเลือกที่จะดำเนินนโยบายการแก้ปัญหาในลักษณะเดิมๆ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ตลาดทุนโลกรวมถึงไทยก็คงหลีกหนีไม่พ้นที่จะต้องเผชิญกับแรงขายที่รุนแรงต่อไปอีก

วิธีเดียวที่จะสามารถเรียกความเชื่อมั่นจากตลาดทุนให้กลับคืน และป้องกันไม่ให้วิกฤตรอบนี้ขยายวงออกไป คือจะต้องมี การร่วมมือกันของนานาประเทศ (Coordinated Action) ไม่เพียงเฉพาะแต่ 3 องค์กรหลักของยุโรปหรือประเทศขนาดใหญ่ในยุโรปเช่น เยอรมัน หรือ ฝรั่งเศส แต่จะต้องรวมไปถึงสหรัฐฯ และประเทศที่สำคัญในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ ที่ยังมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ดี เช่น บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน คล้ายๆกับที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2008 ที่หลายๆประเทศได้ร่วมมืออัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ตลาดเงินพร้อมๆกัน รวมไปถึงการออกมาตรากระตุ้นเศรษฐกิจ และเพิ่มทุนให้กับธนาคารพาณิชย์ที่อ่อนแอ

ยังนับเป็นข่าวดีที่เริ่มมีข่าวออกมาว่าทางกลุ่มยูโรโซนจะมีการออกมาตราการแบบเบ็ดเสร็จในรอบนี้ โดยสิ่งแรกที่จะทำคือการแยกประเทศที่ประสบปัญหาสภาพคล่องเช่น สเปนและอิตาลี ออกจากประเทศที่อยู่ในสถานะล้มละลายเช่น กรีซ ให้ชัดเจน และประกาศให้การสนับสนุนด้านสภาพคล่องอย่างเต็มที่กับทุกประเทศในกลุ่มแรก เพื่อสร้าง Fire Wall ระหว่างประเทศที่มีโอกาส Default กับประเทศที่ไม่จำเป็นต้อง Default จากนั้นก็จะทำการ Stress Test แบบเต็มรูปกับธนาคารพาณิชย์ในยูโรโซนอีกรอบโดยใช้สมมติฐานว่าจะเกิด Sovereign Debt Default และหาทางเพิ่มทุนให้กับธนาคารที่อ่อนแอ และสุดท้ายก็จะยอมให้ประเทศที่อยู่ในสถานะล้มละลายทำการ Default หนี้และปรับโครงสร้างหนี้เพื่อให้เดินหน้าต่อไปได้

ทางสหรัฐฯเองก็ต้องเร่งผ่านมาตรการลดการว่างงานที่เสนอโดยประธานาธิบดีโอบามาให้เร็วที่สุด เพื่อให้เศรษฐกิจสหรัฐฯกลับเข้าสู่ขาขึ้นให้ได้ ส่วนประเทศในกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่อย่าง BRICs ก็ต้องหันกลับมาเน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจแทนการชะลอความร้อนแรง เพื่อช่วยประคับประคองเศรษฐกิจโลกไม่ให้ชะลอตัวลงมากจนเกินไป และสำหรับประเทศที่มีเงินกองทุนความมั่งคั่งของประเทศ (Sovereign Wealth Funds) ในปริมาณที่สูงก็ควรต้องสนับสนุนการเพิ่มทุนให้กับธนาคารในกลุ่มยูโรโซนที่มีระดับเงินกองทุนที่ต่ำ

ถ้าสถานการณ์พัฒนาไปในรูปแบบข้างต้นนี้ โอกาสที่จะได้เห็นตลาดทุนโลกกลับสู่ขาขึ้นอีกครั้งก็มีอยู่สูง โดยเฉพาะตลาดทุนไทยที่ยังมีความโดดเด่นทั้งในแง่ของ พื้นฐานทางเศรษฐกิจที่มั่นคง ระดับหนี้ภาครัฐและเอกชนที่ยังต่ำ แนวโน้มกำไรบริษัทจดทะเบียนที่ยังเติบโตได้ดี อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลที่สูง และระดับราคาหุ้นที่ยังคงต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานอยู่พอสมควร

แต่ไม่วิธีการแก้ไขปัญหาจะออกมาในรูปแบบไหน สิ่งที่ชัดเจนก็คือเศรษฐกิจโลกเริ่มมีสัญญาณการชะลอตัวลงอย่างรุนแรง โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯและในกลุ่มยูโรโซน ก็มีโอกาสสูงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยรอบสอง เนื่องจากประเทศเหล่านี้ไม่สามารถที่จะออกมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจได้เต็มที่เหมือนเมื่อปี 2008

ด้วยภาวะเศรษฐกิจโลกที่กำลังเผชิญกับความเสี่ยงขาลงครั้งใหญ่ และภาวะตลาดทุนโลกที่เต็มไปด้วยความผันผวนและแรงเทขาย สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (สภาฯ) มีความเป็นห่วงต่อผลกระทบที่มีต่อประเทศไทย จึงขอนำเสนอข้อเสนอ 7 ข้อต่อรัฐบาลไทย เพื่อช่วยเร่งสร้างภูมิคุ้มกัน และสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยและตลาดทุนไทย สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนและมีเสถียรภาพ ดังนี้

1. จากการที่ภาพรวมเศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงสูงขึ้นมากกว่าเมื่อช่วง 5-6 เดือนที่แล้วซึ่งเป็นช่วงของการหาเสียงเลือกตั้ง จึงมีความเป็นไปได้ว่านโยบายเศรษฐกิจที่ประกาศโดยพรรคการเมืองต่างๆ รวมทั้งพรรคเพื่อไทยในช่วงเวลานั้น บางนโยบายอาจไม่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันซึ่งกำลังเผชิญกับความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจรอบสอง สภาฯ จึงขอเสนอให้รัฐบาลมีการทบทวนนโยบายต่างๆ ที่ได้ประกาศไปในช่วงก่อนการเลือกตั้ง และให้มีการปรับปรุงหรือเรียงลำดับความสำคัญใหม่ เพื่อให้สามารถรองรับกับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่อาจกระทบมาถึงประเทศไทย โดยรัฐบาลอาจจำเป็นต้องเก็บงบประมาณบางส่วนเพื่อใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจหากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจรอบสอง และเมื่อมีการทบทวนการเรียงลำดับนโยบายใหม่ที่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงแล้ว เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่น และลดความสับสน รัฐบาลสามารถประกาศแผนการและนโยบายที่ชัดเจนต่อสาธารณะ

2. การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลกย่อมส่งผลต่อภาคการส่งออกไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นรัฐบาลอาจต้องทบทวนการดำเนินนโยบายที่จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต เช่น นโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งสภาฯ เห็นว่าการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงนี้ อาจทำให้ผู้ประกอบการอาจเลือกลดต้นทุนการผลิตด้วยการปลดคนงาน ดังนั้นสภาฯ จึงขอเสนอให้การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปซึ่งน่าจะเป็นแนวทางที่ส่งผลกระทบในแง่ลบต่อผู้ประกอบการ และผู้ใช้แรงงานน้อยที่สุด

3. ในระยะ 4-5 ปีที่ผ่านมา นโยบายเศรษฐกิจไทยมุ่งเน้นไปที่การกระตุ้นการบริโภคในประเทศ รวมทั้งความไม่แน่นอนทางการเมือง ทำให้การลงทุนของภาครัฐหดตัวต่อเนื่องกันหลายไตรมาส สภาฯ ขอเสนอให้รัฐบาลเร่งรัดการดำเนินนโยบายการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน รวมทั้งจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนจากเอกชนอีกด้วย

4. สภาฯ สนับสนุนนโยบายลดภาษีนิติบุคคลจาก 30% เป็น 20% ซึ่งเป็นอีกนโยบายหนึ่งที่จะช่วยลดภาระต้นทุนให้กับผู้ประกอบการและบริษัทต่างๆ ได้ รวมทั้งจะเป็นการเพิ่มความสามารถในการแข็งขันให้กับเศรษฐกิจไทยเพื่อรองรับ ASEAN Economic Community (AEC) สภาฯ ขอเสนอให้รัฐบาลประกาศยืนยันนโยบายนี้อีกครั้ง ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นต่อภาคธุรกิจ สภาฯ ยังเชื่อว่าจะสามารถลดแรงเทขายในตลาดหุ้นลงได้ระดับหนึ่งอีกด้วย

5. เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติมีการปรับพอร์ตการลงทุนโดยลดน้ำหนักการลงทุนในหุ้นในปริมาณที่สูง ทำให้เกิดแรงเทขายในตลาดหุ้นอย่างรุนแรง ซึ่งทำให้มูลค่าหุ้นส่วนใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ปรับลดลงต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานมาก สภาฯ ขอเสนอให้รัฐบาลจัดตั้งกองทุนลักษณะเดียวกันกับกองทุนวายุภักดิ์ เพื่อเข้าลงทุนในบริษัทที่มีพื้นฐานดี ส่วนเงินกองทุนส่วนหนึ่งให้มาจากการลดสัดส่วนการถือครองหุ้นของภาครัฐในรัฐวิสาหกิจที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งถ้าสามารถลดสัดส่วนการถือครองหุ้นเหล่านี้ของภาครัฐให้ต่ำกว่าครึ่งหนึ่ง จะช่วยทำให้ตลาดทุนไทยมีศักยภาพและธรรมมาภิบาลที่เข้มแข็งขึ้นอีกด้วย

6. เนื่องจากภาพเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนไปจากการฟื้นตัวเป็นขาลง ทำให้แรงกดดันจากเงินเฟ้อเริ่มมีน้อยลง สภาฯ จึงขอเสนอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทบทวนนโยบายการเงิน และถ้าสามารถชะลอการขึ้นดอกเบี้ยในช่วงนี้ออกไปก่อนจนกว่าสถานการณ์และทิศทางเศรษฐกิจโลกมีความชัดเจนมากขึ้น ก็น่าที่จะช่วยลดความผันผวนในตลาดทุนได้

7. ภาวะเศรษฐกิจซบเซาในยุโรป อันเนื่องมาจากปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะ น่าจะเป็นบทเรียนและข้อเตือนใจในการดำเนินนโยบายทางการคลังของรัฐบาลในประเทศต่างๆ ได้เป็นอย่างดี สภาฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารัฐบาลจะรักษาวินัยทางการคลังอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันไม่ให้การขาดดุลการคลังและหนี้สาธารณะเพิ่มมากหรือเร็วจนเกินไป ปัญหาทุจริตเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่อยู่กับสังคมไทยมานาน และส่งผลกระทบทางลบต่อความสามารถในการแข่งขันของไทย สภาฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารัฐบาลจะดำเนินนโยบายต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้

http://www.thunhoon.com/highlight/93439/93439.html

-----------------------------------------------
FfF