12 ตุลาคม 2554

<<< แผนผังการระบายน้ำ ณ 11 ต.ค. 54 >>>

Maha Arai ได้เพิ่มรูปภาพใหม่ 4 รูปไปยังอัลบั้มแผนผังระบายน้ำ













































แผนผังระบายน้ำ

    • Maha Arai ไปเจอผังการระบายน้ำทั้งหมด 4 ภาพนำมาจากเว็บนี้
      http://hydrology.rid.go.th/wmsc/index.php


      hydrology.rid.go.th
      water - ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน

      12 ชั่วโมงที่แล้ว · · 2 คน ·

    • Maha Arai ถ้าศึกษาดีๆ จะเข้าใจทันทีว่าทำไมน้ำท่วมนาน สังเกตุน้ำท่วมเชียงใหม่ไม่กี่วันลดแต่ท่วมแรงเร็วแต่ก็ลดเร็วหายหมดในไม่กี่วัน แต่กรณีภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางจะท่วมนานกว่าเพราะเขื่อนและประตูระบายน้ำทั้งหลาย
      12 ชั่วโมงที่แล้ว · · 1 คน

    • Maha Arai ปริมาณน้ำมาจากนครสวรรค์มาถึง 4.6 พันกว่าแต่ผ่านเขื่อนเจ้าพระยาระดับ 3.6 พันกว่า นอกนั้นปัดออกคลองทางฝั่งตะวันตกและตะวันออก แล้วไปไหลออกทะเลผ่านคลองเล็กๆ เหล่านี้เป็นหลักจิ๊บจ๊อย
      12 ชั่วโมงที่แล้ว · · 1 คน

    • Maha Arai แล้วก็มีการสร้างภาพเอาเรือมาช่วยดันน้ำให้ไหลลงอ่าวไทยเร็วๆ อย่างฮาเลย แค่เลิกกั้นน้ำมากๆ มันก็ระบายไปเร็วโดยธรรมชาติของมันอยู่แล้ว นี่น้ำมากมายมหาศาลแต่เจ้าพระยาน้ำค่อนข้างนิ่งไม่ได้ไหลเชี่ยวกรากอะไรเลย
      12 ชั่วโมงที่แล้ว · · 1 คน

    • Maha Arai ดังนั้นพวกเรือดันน้ำทั้งหลายเป็นที่ขวางทางน้ำซะมากกว่าหรือช่วยเร่งน้ำระดับผิวๆ จิ๊บๆ ทำเพื่อทำให้รู้ว่าพยายามสุดชีวิตที่จะช่วยให้น้ำไหลผ่านกรุงเทพไวๆ ที่ไหนได้มันโดนปัดออกทางฝั่งตะวันตกและตะวันออกผ่านคลองเล็กๆ มากมายหน้าเขื่อนเจ้าพระยาแล้ว
      12 ชั่วโมงที่แล้ว ·

    • Au Thipavalai ใครบอกล่ะน้า วันก่อนลงเรือมาขึ้นท่าน้ำนนท์ ไปธุระ เห็นแม่น้ำเจ้าพระยาไหลเชี่ยวเลย บัดนี้ก็ยังไหลเชี่ยวอยู่
      12 ชั่วโมงที่แล้ว ·

    • Maha Arai ไหลเชี่ยวกรากนี่ มาแรงมากน่ะ จะบอกให้ไม่ใช่ไหลตามปกติ ไปดูภาพก็จะรู้ว่าน้ำมันไม่ได้มามากเลยมันโดนสกัดแถวหน้าเขื่อนเจ้าพระยาทำให้น้ำมามากมายระบายไม่ทันโดยเฉพาะนครสวรรค์ก็ท่วมอยู่แถวนั้น
      12 ชั่วโมงที่แล้ว ·

    • Au Thipavalai ที่เห็นเชี่ยวเพราะตอนนั้นน้ำยังไม่ขึ้นสูง จึงเห็นได้ชัด แต่ตอนนี้เห็นนิ่ง ๆ นี่เพราะน้ำมันล้นตลิ่ง แต่ข้างใต้น่ะมันไหลเชี่ยวลึกนะจะบอกให้
      12 ชั่วโมงที่แล้ว ·

    • Maha Arai ถ้าไหลเชี่ยวกรากจริงๆ คงไม่มีข่าวพยายามหาเรือมาดันน้ำเพื่อให้น้ำลงอ่าวไทยไวไวหรอก และมันก็ไหลลงอ่าวไทยได้น้อยเพราะอย่างที่บอกมันถูกผลักไปตามลำคลองใช้เวลานานมากกว่าไหลตรงๆ กว้างๆ อย่างเจ้าพระยาลงมา มีบางคนบอกว่าต่างจังหวัดไม่ได้ช่วยรับน้ำเพราะไม่มีเขื่อนแถวกรุงเทพถ้าเห็นแผนภาพน่าจะเข้าใจว่าเขื่อนเจ้าพระยานั่นแหล่ะที่ผลักน้ำเกือบครึ่งออกฝั่งซ้ายขวา
      12 ชั่วโมงที่แล้ว · · 1 คน

    • Maha Arai อย่าเถียงเลยเชี่ยวลึกๆ อะไรหลักฐานข่าวพยายามผลักน้ำออกเร็วๆ นั่นนะ่ของแท้ และอีกไม่กี่วันทราบว่าจะมาอีกเป็นร้อยลำช่วยกันผันน้ำแบบผิวๆ และเป็นน้ำที่ถูกสกัดมาค่อนข้างเยอะแล้ว แถมโดนลดความแรงมาตลอดทางจากประตูระบายน้ำบ้างจากเขื่อนบ้าง
      12 ชั่วโมงที่แล้ว ·

    • Maha Arai ดังนั้นถ้าอยากให้น้ำไหลเร็วเพื่อลงทะเลเร็วๆ จะได้ไม่ท่วมขังพื้นที่ต่างจังหวัดมากก็ต้องยอมปล่อยให้มันไหลลงมาทางเจ้าพระยาอย่าไปกั๊กมาก มันก็ไหลเร็วเองและลงทะเลหมดไวไวไปเองไม่งั้นท่วมอีกนาน ประหยัดได้ผลกว่าไปหาเรือดันน้ำเป็นไหนๆ ดังนั้นถ้าไม่ปล่อยน้ำเพิ่มกั๊กให้มีการระบายแถวเขื่อนเจ้าพระยาน้อยกว่าที่มันไหลมาจากนครสววรค์มากๆ ทั้งนครสวรรค์ พิษณุโลกและเหนือตอนล่างที่ท่วมๆ อยู่ก็โดนน้ำท่วมอีกนาน ข้างล่างก็ระบายออกช้าๆ แล้วไปทำพยายามหาเรือดันน้ำมาทำการเร่งน้ำให้ไหลเป็นการตบตาประชาชนมากกว่า
      12 ชั่วโมงที่แล้ว · · 1 คน

    • Au Thipavalai ปล่อยให้น้ำไหลเองตามธรรมชาติ กทม.ก็จมบาดาลซิน้า เอ้า! น้าชอบพายเรือก็ไม่บอก
      12 ชั่วโมงที่แล้ว ·

    • Maha Arai แล้วหลายจังหวัดที่จมบาดาลนี่ไม่ห่วงหรือไง อีกอย่างไม่ต้องมีน้ำเหนือมากรุงเทพฝนตกหนักๆ มันก็ท่วมประจำอยู่แล้ว และถ้าปล่อยแบบธรรมชาติมันจะท่วมไม่นานเหมือนเชียงใหม่และไม่ทั่วกรุงเทพหรอกแค่ห่างจากตลิ่งมาไม่เกิน 1-2 กิโลเมตรแค่นั้นแหล่ะเพราั้ะเจ้าพระยามันกว้าง มันก็จะไหลผ่านลงทะเลหมดในไม่กี่วันเอง และตอนนี้กรุงเทพก็โดนท่วมจากคลองต่างๆ ที่ผลักมาอยู่แล้วโดยเฉพาะแถวมีนบุรี ลาดกระบัง หนองจอกอะไรพวกนี้ ก็คือกรุงเทพเหมือนกันแต่ห่างเจ้าพระยาที่สุดกลับท่วมมากกว่าเขตที่ติดเจ้าพระยา ผมว่ามันก็แปลกดีน่ะ และไปฝั่งนั้นเยอะๆ มันไม่ไหลเร็วหรอก มันข้งอยู่ตามหนองตามบ่อเพราะมันไม่ใช่ทางน้ำไหลโดยธรรมชาติเหมือนเจ้าพระยา
      11 ชั่วโมงที่แล้ว · · 1 คน

    • Au Thipavalai อันนี้ถาม กรมชลประทานเอาเองก็แล้วกัน เพราะหนูก็งง เหมือนกัน
      11 ชั่วโมงที่แล้ว ·

    • Maha Arai ในเมื่อก็เป็นคนกรุงเทพเหมือนกัน ทำไมไม่เลือกให้คนที่เลือกอยู่ริมแม่น้ำำโดนท่วมแทนพวกที่เลือกอยู่ห่างๆ แม่น้ำ หรือเพราะพวกเขาเส้นเล็กกว่า ผมว่ามันไม่ใช่ธรรมชาตินักแบบนี้ ถ้าแบบธรรมชาติใครเลือกที่ต่ำก็ต้องโดนน้ำท่วมมากกว่าคนที่อยู่ที่สูง ใครเลือกทำเลติดริมแม่น้ำก็ต้องเสี่ยงมากกว่าคนที่อยู่ห่างแม่น้ำ ไม่ใช่ที่ริมแม่น้ำแพงมากเพราะวิวสวยพอถึงหน้าน้ำท่วมผลักไปให้คนอยู่ไกลแม่น้ำซะยังงั้น ผมว่ามันตลกดี ถ้าย่านธุรกิจเขาโดนน้ำท่วมบ่อยๆ คนที่มีหัวการค้าเดี๋ยวเขาก็หาทำเลอยู่ใหม่เองแหล่ะ แต่ถ้ายังมีคนอุ้มประจำ เขาก็อยู่แบบเดิม อะไรที่เป็นธรรมชาติมันก็จะมีการเปลี่ยนแปลงโดยธรรมชาติ มหานครที่ยิ่งใหญ่ของโลกนี้มากมายที่กลายเป็นเมืองร้างหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ตั้งนานกว่าจะขุดเจอ มีสาเหตุหนึ่งคือ ลมฟ้าอากาศเปลี่ยนไปอยู่ไม่ได้ก็อพยพไปที่อื่นหรือเส้นทางสายไหมเปลี่ยนไป ทำเลที่เคยดีกลายเป็นไม่มีคนมาค้าขายเมืองนั้นก็จะเปลี่ยนแปลงโดยธรรมชาติ แต่การทำให้ไม่ธรรมชาติแล้วให้พวกอื่นที่เขาดูทำเลแล้วธรรมชาติไม่มากวนเขาแต่กลับต้องมาเจอฝีมือมนุษย์รังควานแทน แต่พวกเลือกทำเลที่น่าจะโดนธรรมชาติกวนกลับได้รับการอุ้มอย่างดี อธิบายยังไงก็เข้าใจยาก
      11 ชั่วโมงที่แล้ว ·

    • Au Thipavalai น้านั่นแหล่ะเข้าใจยาก ก็ไม่รู้จะอธิบายยังงัยอีกเหมือนกัน ขนาดกั้นสุดฤทธิ์แบบนี้ พวกบ้านริมน้ำ สถานที่สำคัญ ๆ วัดพระแก้ว, ม.ธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ ก็จะมิดหลังคาอยู่แล้ว :))
      11 ชั่วโมงที่แล้ว ·

    • Maha Arai ก็จะได้หาทางแก้ไขด้วยการสร้างกำแพงที่ริมตลิ่งเจ้าพระยาทั้งสายสร้างให้สูงๆ มันก็จะมีน้ำล้นกำแพงออกมานิดหน่อย ไม่ต้องทำให้วกวนปล่อยน้ำลงมาให้เต็มที่ได้ไม่ต้องไปท่วมบ้านชาวบ้านที่ไม่ได้อยู่ริมน้ำหรือปล่อยให้มันไปท่วมตามคลองกินอานาบริเวณกว้าง ถ้าไม่โดนก็ไม่เห็นความสำคัญที่จะต้องสร้าง ถ้าโดนซะบ้างก็จะรีบสร้างคนค้านน้อยอนาคตอีกร้อยปีพันปีก็จะได้ไม่ท่วมอีก
      11 ชั่วโมงที่แล้ว ·

    • Maha Arai เห็นมีบางคนเสนอให้สร้างเจ้าพระยาอีกสายก็อีหรอบเดิมกับการสร้างเขื่อนเพราะถ้าสร้างมาแล้วบริหารไม่เป็นเก็บน้ำไว้มากๆ ก่อนเข้าหน้าฝน การมีสองแม่น้ำ ก็จะทำให้มิดได้ทั่วถึงมากขึ้นเท่านั้นเอง ไม่ใช่ว่าอีกสายแห้งสนิทหนิ ถึงช่วยได้ นานๆ ไปก็จะกลายเป็นแม่น้ำที่พร้อมท่วมทั้งสองสายสนุกกันใหญ่สู้สร้างกำแพงอย่างดีสูงสองเมตรกันน้ำตลอดเจ้าพระยา 2 ฝั่ง มีเงินก็ทำให้เลยขึ้นไปตามแม่น้ำแต่ละสายสร้างให้แข็งแรงไม่ใช่กินกันโดนน้ำหน่อยพังแล้วมันจะป้องกันได้อย่างดีแล้วแม่น้ำมันก็จะเป็นแม่น้ำจริงๆ คือมันจะไปไหลลงสู่ที่ต่ำอย่างเร็วตามธรรมชาติ อาจมีสกัดชะลอบ้างนิดหน่อยเรื่อยๆ ไม่ใช่เบรคทีหัวทิ่มจนท่วมแถวๆ ที่ไปเบรคมันก็ไม่ไหว
      11 ชั่วโมงที่แล้ว · · 1 คน

    • Maha Arai ในการแก้ปัญหาไม่ควรใช้แนวคิดผลักปัญหาไปเรื่อยเปื่อยผลักจากท่วมที่หนึ่งไปท่วมอีกที่หนึ่งแบบนี้ไม่เรียกว่าแก้ปัญหา แต่เรียกว่าเปลี่ยนที่แก้ปัญหา ปัญหายังอยู่แต่เปลี่ยนที่แก้เสียเวลาเสียความรู้สึกชาวบ้านที่จะต้องยกพวกตีกันในการให้เปิดไม่เปิดประตูระบายน้ำในการปล่อยน้ำไปตามคลองเล็กๆ มันจะท่วมบ้านเขา เขาก็ไม่ยอม แต่ให้มันไหลมาตามเส้นทางของมันเพียงแต่หาวิธีกั้นไม่ให้มันล้นตลิ่งมาท่วมบ้านเรือนผู้คนก็ง่ายๆ ลงทุนมากหน่อยเปิดเป็นถนนสองสายมุ่งสู่เหนือก็ได้ ด้านล่างเป็นกำแพงด้านบนเป็นถนนวิ่งขึ้นเหนือแก้ปัญหารถติดได้อีกมีสองสายวิ่งไปตามลำน้ำเจ้าพระยาทั้งสองฝั่งตลิ่ง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวได้อีกด้วยเพราะมันต้องมีอะไรติดอันดับโลกได้บ้างแหล่ะ
      11 ชั่วโมงที่แล้ว · · 1 คน

http://www.facebook.com/maha.arai

----------------------------------------------------

กรมชลใช้คลองฝั่งตะวันออก-ตกตอนล่าง ระบายน้ำลงทะเล

10 ตค. 2554 10:39 น.

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทาน ได้ใช้ระบบคลองระบายน้ำต่างๆ ในพื้นที่ตอนล่างของแม่น้ำเจ้าพระยา ระบายน้ำบางส่วนที่ท่วมขังอยู่ในพื้นที่ภาคกลางตอนล่างลงสู่ทะเลอ่าวไทยอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด(9 ต.ค. 54) ในพื้นที่ฝั่งตะวันออกตอนล่าง ได้ระบายน้ำผ่านคลองระบายต่างๆ อาทิ คลองระพีพัฒน์ คลองรังสิต คลองหกวาสายล่าง คลองบางขนาก คลองนครเนื่องเขต คลองประเวศบุรัมย์ ระบายสู่แม่น้ำนครนายกและแม่น้ำบางปะกง ก่อนระบายลงสู่อ่าวไทย , อีกส่วนหนึ่งจะระบายผ่านคลองสำโรง คลองพระองค์ไชยานุชิต และสถานีสูบน้ำสุวรรณภูมิ ก่อนสูบและระบายลงสู่ทะเลอ่าวไทย รวมปริมาณน้ำที่ระบายทั้งหมดประมาณวันละ 36 ล้านลูกบาศก์เมตร
ส่วนในพื้นที่ฝั่งตะวันตกตอนล่าง ได้เร่งระบายน้ำผ่านคลองรับน้ำต่างๆ ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีน รวมทั้งใช้สถานีสูบน้ำที่ตั้งอยู่ตามคลองชายทะเลต่างๆ สูบและระบายน้ำลงสู่ทะเลอ่าวไทย คิดเป็นปริมาณน้ำที่ระบายประมาณวันละ 14 ล้านลูกบาศก์เมตร
นอกจากนี้ กรมชลประทาน ยังใช้ประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในการเร่งระบายน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ในช่วงที่น้ำทะเลลงต่ำ ประมาณวันละ 51 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมทั้ง ยังได้ประสานกับสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร เพื่อให้แบ่งรับน้ำจากทางตอนบนผ่านคลองต่างๆ ก่อนที่จะใช้อุโมงค์ยักษ์พระรามเก้า-รามคำแหง และสถานีสูบน้ำต่างๆ ของกรุงเทพมหานคร สูบและระบายน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาและทะเลอ่าวไทยต่อไป

http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=533212&lang=T&cat=

---------------------------------------------------------------------

กรมชลฯ เตือนน้ำท่วมคลองรังสิต 1-6
กรมชลประทานเตือนประชาชนริมคลองรังสิต 1-6 อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ระวังน้ำท่วมสูง 1 เมตรภายใน 3 วัน


นายวีระ วงศ์แสงนาค ที่ปรึกษาอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงสถานการณ์อุทกภัยล่าสุดว่า มวลน้ำจากนิคมโรจนะก้อนใหญ่จะเดินทางมาถึงคลอง 26 อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ในวันนี้ และจะเดินทางต่อมาถึงคลองระพีพัฒน์ภายใน 3 วัน ก่อนจะไหลเข้าคลองรังสิต จึงขอเตือนให้ประชาชนที่อยู่บริเวณรังสิตคลอง 1 ถึงคลอง 6 ซึ่งเป็นเขตชุมชน เตรียมตัวป้องกันอุกภัยที่จะเกิดจากน้ำเอ่อล้น คาดว่าระดับน้ำจะสูงจากพื้นถนนในเขตชุมชนไม่เกิน 1 เมตร ส่วนพื้นที่ตั้งแต่คลอง 7 เป็นต้นไปเป็นทุ่งนาความเดือดร้อนจะไม่มาก

ทั้งนี้กรมชลประทานพยายามบริหารจัดการน้ำ โดยการระบายน้ำจากแม่น้ำป่าสักจาก 800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ให้เหลือ 350 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะทำให้มวลน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาหายไปจำนวนมาก นอกจากนี้ยังจะทำการปิดประตูน้ำคลองระพีพัฒน์ เพื่อให้น้ำลดระดับลง ลดความแรงของน้ำไม่ให้เข้าถึงเขตดอนเมือง สำหรับกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันตก เริ่มมีน้ำจากนครสวรรค์ เดินทางมาถึงจ.นครปฐมผ่านทางแม่น้ำท่าจีนแต่มวลน้ำไม่มาก จะค่อยๆเอ่อล้นฝั่งเข้าท่วมพื้นที่ริมแม่น้ำท่าจีน

เราไปตรวจสอบมวลน้ำล่าสุดของแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์วันนี้อยู่ที่ 4,650 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เท่ากับเมื่อวานนี้ ผ่านเขื่อนเจ้าพระยาจังหวัดชัยนาท 3,634 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีลดลงเล็กน้อยจากเมื่อวานนี้ และไหลผ่านที่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3,476 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพิ่มขึ้นจากเมื่อวานนี้ 188 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที มวลน้ำก้อนนี้ก็มีโอกาสเข้าสู่พื้นที่ในเขตปริมณฑล นนทบุรีและปทุมธานี

http://www.krobkruakao.com/ข่าว/45856/กรมชลฯ-เตือนน้ำท่วมคลองรังสิต-1-6.html

---------------------------------------------------------------------

FfF