03 ตุลาคม 2554

<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ AFTA >>>

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ AFTA


คำถามที่ 1. AFTA มีความเป็นมาอย่างไร

คำตอบ

ประเทศสมาชิกอาเซียนร่วมกันจัดตั้งเขตการค้าเสรี (AFTA) ตั้งแต่ปี 2535 ในสมัยฯพณฯนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อ ส่งเสริมการขยายตัวทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก กระชับความสัมพันธ์และขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างกัน โดยวัตถุประสงค์หลักของการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนก็เพื่อสร้างความ สามารถในการแข่งขันของสมาชิกอาเซียน รวมถึงการสร้างบรรยากาศต่อการลงทุน เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศให้อาเซียนเป็นฐานในการผลิต นอก จากนี้ยังเป็นการสร้างอำนาจต่อรองของอาเซียนด้วย แน่นอนที่สุดว่า อาเซียนที่มีสมาชิก 10 ประเทศ มีประชากรรวมกันประมาณ 580 ล้านคน ย่อมมีขนาดของเศรษฐกิจที่ไม่แพ้ สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น ดังนั้นการรวมตัวทางเศรษฐกิจจึงสร้างอำนาจต่อรองให้กับอาเซียนเป็นอย่างมาก

การ รวมกลุ่มเพื่อเป็นฐานการผลิตร่วมกันในระดับภูมิภาคจะต้องลดภาษีระหว่างกัน ให้ได้มากที่สุด ที่ผ่านมาอาเซียนได้เริ่มลดภาษีตั้งแต่ปี2536 แล้ว และทยอยลดเรื่อยมาจนปัจจุบัน โดยในวันที่ 1 มกราคม 2553 สมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ ภาษีสินค้าจะเป็น 0 %

คำถามที่ 2 การลดภาษีภายใต้ AFTA อาเซียน 10 ประเทศ มีการลดภาษีเหมือนกันหรือไม่ ปัจจุบันการลดภาษีเป็นอย่างไร

คำตอบ

เมื่อ อาเซียนมุ่งจะเป็นฐานการผลิตร่วมกันในระดับภูมิภาค จะต้องลดภาษีระหว่างกันให้ได้มากที่สุดก่อน ในการลดภาษีสินค้าระหว่างกันของอาเซียน ได้เริ่มตั้งแต่ปี 1993 (2536) และทยอยลดเรื่อยมาจนปัจจุบัน มีการดำเนินการดังนี้

อา เซียนเดิม 6 ประเทศ (ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และบรูไน) ซึ่งถือว่ามีระดับของการพัฒนาประเทศมากกว่าสมาชิกที่เหลือ จะเป็นผู้นำในการลดภาษีให้หมดไปก่อน โดยในเบื้องต้น ในปี 2003 (2546) อา เซียนเดิม 6 ประเทศ ได้ลดภาษี 60 % ของรายการสินค้าทั้งหมดให้เป็น 0% ไปแล้ว และเพิ่มเป็น 80 % ของรายการสินค้าทั้งหมด ในปี 2007 (2550) และ ในวันที่ 1 มกราคม 2010 (2553) อาเซียนเดิม 6 ประเทศ จะลดภาษีสินค้าทั้งหมดให้เหลือ 0% ซึ่งกระทรวงการคลังได้ออกประกาศเตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว (ยกเว้นสินค้าอ่อนไหว และสินค้าอ่อนไหวสูง)

อาเซียน 4 หรือ CLMV ได้ รับการอนุโลมให้ลดภาษีอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยในวันที่ 1 มกราคม 2010 (2553) นี้ อาเซียน 4 ประเทศ จะต้องลดภาษีรายการสินค้าทั้งหมดให้ไม่สูงกว่า 5% และจะต้องลดลงเหลือ 0% ในปี 2015 (2558 ) โดยอาจยังมีบางสินค้าที่จะได้รับการยืดหยุ่นให้ลดภาษีเหลือ 0% ในปี 2561 ได้ (ยกเว้นสินค้าอ่อนไหว และสินค้าอ่อนไหวสูง)

ทั้ง นี้อาเซียนจะมีสินค้าอ่อนไหวและสินค้าอ่อนไหวสูงที่ไม่จำเป็นต้องลดภาษี เหลือ 0% ซึ่งเป็นรายการที่แต่ละประเทศแจ้งไว้เมื่อ ปี 1999 (2542) โดยในรายการสินค้าดังกล่าวของอาเซียนทั้งหมด 8,300 รายการมีเพียง 93 รายการ เท่านั้นที่ไม่ต้องลดภาษีเหลือ 0% สำหรับไทยมีสินค้าอ่อนไหว 4 รายการที่จะลดภาษีเหลือ 5% (ไม้ตัดดอก มะพร้าวแห้ง มันฝรั่ง และกาแฟ)

คำถามที่ 3 ผู้บริโภคและผู้ประกอบการไทยจะได้รับสิทธิประโยชน์จาก AFTA อย่างไร

คำตอบ

ไทยถือเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตอุตสาหกรรมดีกว่าประเทศสมาชิกอื่นๆ โดยเปรียบเทียบ การที่ภาษีนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมของประเทศสมาชิกอาเซียนถูกลด/ยกเลิกไป เป็นการเพิ่มโอกาสในการผลิตและขยายตลาดส่งออกสำหรับสินค้าที่ไทยมีศักยภาพในการส่งออกสูง ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน ยางพาราแท่ง/ยางแผ่นรมควัน ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ข้าว (อินโดนีเซียผูกพันภาษีข้าวภายใต้ WTO 160 % แต่ผูกพันภายใต้อาเซียน 25%) อาหารสำเร็จรูป (อาหารกระป๋อง) น้ำตาลลทราย ที่อินโดนีเซียจะลดเหลือร้อยละ 5-10 และฟิลิปปินส์จะลดเหลือ 5% ในปี 2015 (2558)

นอกจากนี้ การลดภาษีจะทำให้ประเทศไทยได้ประโยชน์ ดังนี้

1. ผู้บริโภคมีทางเลือกการบริโภคที่หลากหลายมากขึ้น และสามารถซื้อสินค้าได้ในราคา ที่ต่ำลง ได้แก่ ปลาทะเล (สดแช่เย็น/แช่แข็ง) รถยนต์นั่ง 1500-2000 ซีซี โทรทัศน์สี เครื่องปรับอากาศแบบติดตั้งหน้าต่างหรือผนัง คอมเพรสเซอร์ พัดลม

2. สินค้าที่ผู้ประกอบการสามารถนำเข้ามาประกอบการผลิตภาษีที่ต่ำลง เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สิ่งปรุงแต่งที่ทำจากมอลต์ กระปุกเกียร์และคลัช มอเตอร์ไฟฟ้าและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า แผงสวิตช์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า โพลิอะซิทัลและโพลิเมอร์ในขั้นปฐม สไตรีน หม้อแปลงไฟฟ้าขนาดไม่เกิน 1 เควีเอ ถุงกระสอบ กล่องหีบเพื่อใช้ในการขนส่งสินค้า ตะปู สลัก เกลียวตะขอและของอื่นๆ ที่ทำจากเหล็กหรือเหล็กกล้าหรืออลูมิเนียม ลวดไฟฟ้าทำด้วยทองแดง สายไฟจุดระเบิดในรถยนต์

คำถามที่ 4 ในปี 2553 ภาษีภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ AFTA จะเป็น 0 % ในส่วนของไทยมีสินค้าใดเป็น 0% และสมาชิกอาเซียนอื่นลดภาษีเป็น 0% ให้ไทยในสินค้าใด

คำตอบ

ภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ AFTA สมาชิก อาเซียนต้องลดภาษีสินค้าเป็น 0% โดยในส่วนของไทยมีพันธกรณีต้องลดภาษีสินค้าทุกรายการทั้งเกษตรและอุตสาหกรรม เป็น 0% ในวันที่ 1 มกราคม 2553 (ยกเว้นสินค้าอ่อนไหว ได้แก่ ไม้ตัดดอก มันฝรั่ง กาแฟ และเนื้อมะพร้าวแห้ง ที่จะลดภาษีเหลือ 5%) โดยปัจจุบันกระทรวงการคลังดำเนินการออกประกาศแล้ว

ส่วนสมาชิกอาเซียน 6 ประเทศ (บรูไน ไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์) จะลดภาษีสินค้าเป็น 0% ในวันที่ 1 มกราคม 2553 ยกเว้น สินค้าอ่อนไหวของแต่ละประเทศ เช่น อินโดนีเซีย มีสินค้าข้าว ฟิลิปปินส์ มีเนื้อสุกร ไก่ ข้าวโพด ข้าว บรูไน มีกาแฟ ชา เวียดนาม มีเนื้อสัตว์ น้ำตาล เป็นต้น ซึ่งคล้ายกับไทยที่มีบัญชีอ่อนไหวเช่นกัน

ทั้งนี้ไทยได้ทยอยลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรมมาเป็นระยะตั้งแต่ปี 1993 (2536) จากนั้นลดภาษีเหลือ 5% ตั้งแต่ ปี 2003 (2546) และทยอยลดภาษีเหลือ 0% ในปี 2007 (2550) และ 2010 (2553) สำหรับสินค้าส่งออกของไทยไปยังอาเซียนที่สำคัญดังตารางข้างล่าง หากสมาชิกอาเซียนลดภาษีจะทำให้ไทยมีโอกาสในการส่งออกสินค้าดังกล่าวเพิ่ม ขึ้นด้วย สำหรับสินค้าส่งออกที่สำคัญได้แก่ สินค้าอุตสาหกรรม เช่น รถยนต์ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 1,500 ลบ.ซม. แต่ไม่เกิน 3,000 ลบ.ซม. (8703.23) ประมาณ 9.89 %มูลค่า 519 ล้านเหรียญฯ รองลงมา คือ ถังเชื้อเพลิงที่ยังไม่ได้ประกอบ (8708.99) ประมาณ 4.67% มูลค่า 246 ล้านเหรียญฯ

ตารางสินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยไปอาเซียน

รายการ

มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สัดส่วน %

2551

2552

(ม.ค-ก.ย.)

รวมทั้งสิ้น

100%

40,159.4

22,843.38

1. สินค้าเกษตรกรรม (กสิกรรม, ปศุสัตว์ ,ประมง)

6.9

3,177.7

1,570.44

2. สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร

8.1

2,714.5

1,842.84

3. สินค้าอุตสาหกรรม

72

28,304.9

16,407

4. สินค้าแร่และเชื้อเพลิง

13

5,962.2

3,022.27

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

คำถามที่ 5 ตามที่เห็นในหน้าหนังสือพิมพ์ว่า ไทย จะลดภาษีสินค้าข้าวเหลือ 0 %ในปี 2010 (2553) แต่ขณะเดียวกันประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นมิได้ลดเหลือ 0 %ให้เราด้วย เรื่องนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร

คำตอบ

เนื่อง จากไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ในอาเซียน ไทยจึงดำเนินการเจรจาเชิงรุกเพื่อให้สมาชิกอาเซียนอื่นเปิดตลาดสินค้าข้าว อย่างไรก็ตาม กรณีอัตราภาษีสินค้าข้าวของอินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นประเทศผู้นำเข้าข้าวเป็นหลัก จะไม่ลดภาษีเหลือ 0 % เนื่องจากได้จัดสินค้าข้าวไว้ในบัญชีสินค้าอ่อนไหวสูง โดยที่ มาเลเซีย จะลดภาษีเหลือ 20%ในปี 2010 อินโดนีเซีย จะลดภาษีเหลือ 25 %ในปี 2015 และฟิลิปปินส์ อยู่ระหว่างการเจรจา ทำให้ในปัจจุบัน ทั้ง 3 ประเทศยังไม่สามารถส่งข้าวมายังประเทศไทยภายใต้อัตราภาษีต่างตอบแทนที่ 0% ได้ เนื่องจากยังไม่ลดภาษีนำเข้าข้าวของตนลงให้เหลืออย่างน้อย 20 % ส่วนในปี 2553 ไทยจะยังคงใช้อัตราภาษีข้าวที่ 30 % กับอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ อยู่เนื่องจากทั้งสองประเทศยังไม่ได้ลดภาษีข้าวในอาฟตาลงเหลือ 20% ส่วน ประเทศ อื่นๆ ก็จะทยอยลดภาษีข้าวลง เช่น กัมพูชา จะนำมาลดภาษีเหลือ 0 %ในปี 2015 พม่า เวียดนาม และลาว จะนำข้าวมาลดภาษีเหลือะ 0-5% ในปี 2015 (2558)

คำถามที่ 6 หากมีประเทศสมาชิกอาเซียนใดประสบปัญหาอุปสรรคทางการค้า จะมีวิธีการ แก้ไขปัญหาอย่างไร

คำตอบ

อา เซียนมีเวทีในการแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าระหว่างกันในการประชุมคณะ กรรมการความร่วมมือด้านเศรษฐกิจภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการประสานงาน การดำเนินการภายใต้ความตกลง CEPT ซึ่ง มีการประชุมประมาณ 3 เดือนครั้ง ในเวทีดังกล่าวเปิดโอกาสในการหารือปัญหาที่สมาชิกอาเซียนประสบ ทั้งในด้านภาษีและอุปสรรคทางการค้าอื่นๆ เพื่อผลักดันให้มีการแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าดังกล่าว

ใน ส่วนของไทยได้ยกปัญหาในกรณีที่ประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นไม่ทำตามข้อตกลงในการ ลดภาษีและพยายามผลักดันให้ดำเนินตามที่ได้ตกลงไว้ ซึ่งนอกจากปัญหาทางด้านภาษีแล้ว ยังมีการผลักดันให้อาเซียนลดการสร้างกำแพงทางการค้าอื่น เช่น การห้ามการนำเข้าสินค้าบางรายการ หรือการขออนุญาตนำเข้าซึ่งมีขั้นตอนการขออนุญาตที่ยุ่งยากและซับซ้อน

นอกจากนี้ อาเซียนยังมีเวทีอื่นสำหรับแก้ไขปัญหาอุปสรรคการค้าและการลงทุน คือ ASEAN Consultation to Solve Trade and Investment : ACT) ซึ่ง สมาชิกอาเซียนสามารถแจ้งปัญหาที่ประสบกับประเทศสมาชิกด้วยกันผ่านทางศูนย์ ร้องเรียนกลางของสำนักเลขาธิการอาเซียน ซึ่งจะปรากฎอยู่ใน website ของ อาเซียน หลังจากนั้นประเทศผู้ถูกกล่าวหาจะต้องแจ้งผลการแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้สมาชิก ทราบ ซึ่งเป็นช่องทางที่สะดวกและมีการตรวจสอบโดยฝ่ายเลขาธิการอาเซียน อย่างไรก็ตามหากการหารือแก้ไขปัญหาระหว่างกันไม่ประสบผลสำเร็จ สมาชิกอาเซียนสามารถใช้ช่องทางการระงับข้อพิพาท (Dispute Settlement) ระหว่างกันได้

คำถามที่ 7 หน่วยงานภาครัฐของไทยมีการดำเนินการในการรองรับการเปิดเสรีภายใต้ AFTA อย่างไร

คำตอบ

ใน ส่วนของไทยขณะนี้กระทรวงการคลังได้ออกประกาศลดภาษีสำหรับปี 2553 แล้ว นอกจากนี้ไทยสามารถใช้การบริหารจัดการภายในในการนำเข้าสินค้าที่เข้มงวด เพื่อกำกับดูแลการนำเข้าสินค้าที่อาจมีผลกระทบจากการเปิดตลาดได้ อีกทั้งความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ASEAN Trade in Goods Agreement: ATIGA) อนุญาตให้ประเทศสมาชิกอาเซียนใช้มาตรการต่างๆ เช่น มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) มาตรการอุปสรรคทางเทคนิคทางการค้า (TBT) กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (ROO) การใช้มาตรการ Special safeguard เพื่อป้องกันการทะลักเข้ามาของสินค้า โดยมาตรการดังกล่าวต้องสมเหตุสมผล และสอดคล้องกับหลักเณฑ์ของความตกลง ATIGA

ใน ส่วนของสินค้าเกษตร กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรฯ อยู่ระหว่างการดำเนินการหารือกำหนดมาตรการรองรับ เพื่อให้คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องพิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยมีมาตรการหลักๆ ได้แก่

1. การบริหารการนำเข้า เช่น การกำหนดคุณสมบัติผู้นำเข้าและเอกสารประกอบการนำเข้า กำหนดช่องทางและช่วงเวลานำเข้า

2. จัดตั้งระบบการติดตาม ตรวจสอบการนำเข้า เช่น การรายงานการนำเข้า รายงานการนำไปใช้

3. กำหนดการใช้มาตรการด้านคุณภาพต่างๆ เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น ด้านสุขอนามัย ด้านมาตรฐาน ความเข้มงวดด้านการตรวจสอบแหล่งกำเนิดสินค้า

4. หากเกิดการทะลักสามารถใช้มาตรการปกป้อง (Safeguard measure) โดยการขึ้นภาษี หรือกำหนดปริมาณการนำเข้าได้

คำถามที่ 8 นอกจากการลดภาษีแล้ว ยังมีมาตรการอื่นๆ ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกทางการค้าในอาเซียนหรือไม่ อย่างไร

คำตอบ

ประเทศสมาชิกมีพันธกรณีที่จะต้องลด/เลิกมาตรการต่าง ๆ ที่มิใช่ภาษีที่เป็นอุปสรรคทางการค้า (NTBs) รวมถึงการลด / เลิก โควตาภาษีด้วย เมื่อ อาเซียนลดภาษีระหว่างกันแล้ว จึงมุ่งเป็นฐานการผลิตร่วมกันทั้งด้านสินค้า บริการและการลงทุน เพื่อไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งคล้ายๆ กับการรวมตัวของสหภาพยุโรป ในระยะเริ่มต้น อาเซียนจึงได้จัดทำความตกลงการค้าสินค้าฉบับใหม่ขึ้น เรียกว่า (ASEAN Trade In Goods Agreement: ATIGA) ซึ่งมีเนื้อหาที่ครอบคลุมกฎเกณฑ์ทางการค้าประเด็นอื่นๆ นอกเหนือจากการลดภาษี อาทิ มาตรการสุขอนามัยพืชและสุขอนามัยสัตว์ มาตรการด้านมาตรฐาน ความร่วมมือด้านศุลกากร มาตรการที่มิใช่ภาษีอื่นๆ และกระบวนการระงับข้อ พิพาท เป็นต้น ซึ่งจากการที่ประเทศสมาชิกอาเซียนมีพันธกรณีจะต้องปฏิบัติตามความตกลง ATIGA จะส่งผลให้การค้าภายในอาเซียนมีความโปร่งใส และสามารถคาดการณ์ได้มากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิต ผู้ส่งออก และผู้นำเข้าทั้งในอาเซียนและผู้ที่สนใจจะทำการค้าและลงทุนในภูมิภาคอาเซียนในอนาคต

นอกจากนี้อาเซียนได้มีการดำเนินการเพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างกันมากขึ้น ได้แก่

1. การแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า (Joint Committee on Trade Facilitation) คณะกรรมการดังกล่าวประกอบด้วยผู้แทนด้านการค้า ศุลกากร มาตรการที่มิใช่ภาษี โดยเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนร่วมเป็นผู้แทนด้วย ซึ่ง จะเป็นโอกาสดีที่ภาคเอกชนและภาครัฐของประเทศสมาชิกได้หารือกันอย่างใกล้ชิด และได้มีการจัดทำกรอบดำเนินการอำนวยความสะดวกทางการค้าขึ้น เพื่อให้การการเคลื่อนย้ายสินค้าระหว่างกันของอาเซียนมีอุปสรรคทางการค้า น้อยที่สุด

2. การรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง (Self Certification) ปัจจุบันการส่งออกโดยสิทธิพิเศษทางภาษีภายใต้ AFTA ไป ประเทศอาเซียนอื่น ผู้ส่งออกจะต้องขอใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าจากกระทรวงพาณิชย์เพื่อพิสูจน์ ว่าสินค้าดังกล่าวมีถิ่นกำเนิดในไทย ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนให้มีการ เคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรี สมาชิกอาเซียนจึงตกลงให้มีการรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง (Self Certification) โดย ผู้ ส่งออกสามารถส่งสินค้าไปยังประเทศอาเซียนอื่นโดยมิต้องขอใบรับรองอีกต่อไป ทั้งนี้จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2012 (2555) เป็นต้นไป

3. การจัดตั้งแหล่งข้อมูลทางการค้าของอาเซียน (ASEAN Trade Repository: ATR) ซึ่ง จะเป็นการนำข้อมูลมาตรการนำเข้าสินค้าของประเทศสมาชิกทั้งอัตราภาษีศุลกากร และมาตรการที่มิใช่ภาษีอื่นๆ ลงเผยแพร่ในเวปไซด์ เพื่อให้สะดวกต่อภาคเอกชนและบุคคลทั่วไปในการค้นหาข้อมูลมาตรการทางการค้า ของประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งไทยสนับสนุนให้หาข้อสรุปเรื่องรูปแบบของ ATR ให้แล้วเสร็จภายในปีหน้านี้ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจ

คำถามที่ 9 ใน วันที่ 1 มกราคม 2553 ผลของความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนมีผลบังคับใช้ คือ ภาษีสินค้าเป็น 0% และมาตรการที่มิใช่ภาษีหมดไป ภาครัฐมีคำแนะนำอย่างไร เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้ามาใช้ประโยชน์หรือเพื่อการเตรียมพร้อมอย่างไรบ้าง

คำตอบ

ผู้ ประกอบหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องมีการปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์ให้เป็น เชิงรุกมากกว่าเชิงรับ เนื่องจากการเปิดเสรีสินค้าและบริการ มีทั้งผลประโยชน์และผลกระทบ ซึ่งจะเป็นทั้งโอกาสและความท้าทาย ภาคเอกชนต้องเร่งแสวงหาโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงนี้ โดยมีแนวทางดังนี้

1. ควรเร่งปรับตัวโดยการพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับสินค้าและบริการที่นำเข้าภายใต้การค้าเสรี

2. ใช้ ประโยชน์จากแหล่งวัตถุดิบ และทรัพยากรของกลุ่มประเทศอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกลุ่มประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ซึ่งมีทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นต่อการผลิตอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น น้ำมัน ป่าไม้ เหมืองแร่ และแรงงาน

3. หา เครือข่ายการผลิต รวมทั้งพันธมิตรทางธุรกิจในภูมิภาค เพื่อหาตลาดใหม่ รวมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผู้ประกอบการที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในการผลิต

4. ต้องมองลู่ทางการลงทุนไปยังประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ซึ่งจะเริ่มเปิดตลาดและสาขาการลงทุนต่างๆมากขึ้น

5. พัฒนา ศักยภาพของบุคลากรเพื่อให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และปรับเปลี่ยนทัศนคติของบุคลากร เพื่อให้มองกระแสการเปิดเสรีจากวิกฤตเป็นโอกาสและสามารถปรับตัวได้ทันตาม เทคโนโลยีสมัยใหม่

ที่สำคัญต้องติดตามข่าวสารการเปลี่ยนแปลงต่างๆอย่างใกล้ชิด ซึ่งภาครัฐยินดีและพร้อมให้ข้อมูลสนับสนุน สำหรับภาคธุรกิจที่ยังไม่พร้อม ควรต้องเร่งปรับตัวและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันโดยเร็ว

ทั้ง นี้ในเชิงรุก กระทรวงพาณิชย์มีแผนงานส่งเสริมการค้า ซึ่งดำเนินการโดยกรมส่งเสริมการส่งออก นอกจากนี้หน่วยงานอื่นๆ ภายในกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ ไม่ ว่าจะเป็นกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศและกรมการค้าต่างประเทศก็มีแผนงานการ จัดประชุมสัมมนาให้กับผู้ส่งออกและผู้ที่สนใจในหลายๆ พื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อ เป็นการประชาสัมพันธ์ให้ภาคประชาสังคมรับทราบถึงผลประโยชน์ที่ไทยจะได้รับ จากการเปิดตลาดตามพันธกรณี รวมทั้งเป็นการเปิดโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อคิดเห็น เพื่อที่จะได้นำกลับมาประมวล และนำไปปรับใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศต่อไป ทั้งนี้ในส่วนของ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ นอกจากการจัดสัมมนาแก่ผู้ประกอบการ เกษตรกร หน่วยงาน ภาครัฐและเอกชนแล้ว ยังได้จัดทำโครงการเพื่อเข้าถึงกลุ่มนิสิต นักศึกษา ด้วย ภายใต้โครงการค่ายเยาวชน FTA และ ค่ายเยาวชน AEC

ส่วนในเชิงรับ ภาครัฐได้เตรียมความพร้อมรองรับผลกระทบเพื่อการปรับตัวหลายด้าน อาทิ กองทุนช่วยเหลือการปรับโครงสร้างด้านการเกษตร โดย เฉพาะเกษตรพื้นฐาน ภายใต้กระทรวงเกษตรฯ จนถึงปัจจุบันได้ให้ความช่วยเหลือไปแล้วประมาณ 260 ล้านบาท คณะกรรมการบริหารเงินช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและบริการที่ได้ รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า ภายใต้กระทรวงพาณิชย์ โดยสนับสนุนเรื่องการวิจัยและพัฒนา จัดหาที่ปรึกษา และปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการธุรกิจ

คำถามที่ 10 ปี ในอีก 6 ข้างหน้าคือปี 2558 เมื่ออาเซียนรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ซึ่ง จะมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน มีความเสรีในการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการและการลงทุน จะส่งผลดีต่อการค้าการลงทุนและความเป็นอยู่ของประชาชนในกลุ่มอาเซียนอย่างไร

คำตอบ

* ตลาด ของเราจะใหญ่มากขึ้น ไม่จำกัดอยู่แค่ 60 ล้านคน แต่จะเป็นตลาดที่มีขนาดถึง 580 ล้านคนและอาจจะสามารถขยายไปได้มากกว่านั้น ภายใต้ความตกลง FTA ที่อาเซียนได้ทำกับประเทศ คู่ค้าสำคัญ 6 ประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์

* ผู้บริโภคไทยได้เข้าถึงสินค้าที่มีคุณภาพและราคาถูกลง

* สามารถใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของแต่ละประเทศมาสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

- กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม มีจุดเด่นในด้านทรัพยากรธรรมชาติ วัตถุดิบ และแรงงาน

- สิงคโปร์ มาเลเซีย มีจุดเด่นในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม

- อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เป็นฐานการผลิต เป็นต้น

* ช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนภายในประเทศ ซึ่งจากผลการศึกษาการรวมกลุ่มของอาเซียนไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จะช่วยให้ GDP ของประเทศสมาชิกอาเซียน ขยายตัวขึ้นถึงร้อยละ 8-10 ต่อปี

คำถามที่ 11 ส่วนไหนที่ยังไม่พร้อม และเราแก้ไขเฉพาะหน้าอย่างไร

คำตอบ

- ถ้าจะมองในภาพรวม คิดว่าส่วนใหญ่เรามีความพร้อม แต่อาจมีสาขาอ่อนไหวบางสาขา เช่น สินค้าเกษตรบางรายการที่ต้องอาศัยระยะเวลาในการปรับตัวค่อนข้างสูง มากกว่าสินค้าอุตสาหกรรม

- ภายใต้ AFTA ถึง แม้จะมีการทะยอยรลดภาษีมาแล้วเป็นเวลาถึง 17 ปี โดยในการลดภาษีดังกล่าว ได้พิจารณาเก็บรายการสินค้าที่คิดว่ามีความอ่อนไหว นำมาลดภาษีช้าที่สุด กล่าวคือมาลดใน phase สุด ท้ายคือ ในวันที่ 1 ม.ค.นี้ ที่อัตราภาษีจะลดเป็น 0 เช่น สินค้าข้าว น้ำมันปาล์ม ถั่วเหลือง เพื่อให้มีเวลาปรับตัว และรองรับการเปิดตลาด แต่เมื่อถึงเวลาก็ยังมีความกังวลกันอยู่ว่าอาจจะเกิดผลกระทบต่อสินค้าเหล่า นี้

- นอกจากการลดภาษีระหว่างกันแล้ว มาตรการอื่นๆ ที่เป็นอุปสรรคทางการค้า อาทิ มาตรการโควตาภาษี (TRQ) และมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีอื่นๆ (NTBs) ที่ขัดต่อความตกลง AFTA ก็จะต้องยกเลิกไปด้วย

- รัฐบาล โดยกระทรวงพาณิชย์ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้มีการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (สศก. และ คต.) เพื่อกำหนดแนวทาง/มาตรการรองรับผลกระทบในหลายด้าน โดยได้ร่วมกันกำหนดแนวทางเพื่อรองรับผลกระทบจากการยกเลิกมาตรการโควตาภาษี (TRQ) สำหรับสินค้าเกษตรหลายรายการ โดยมีแนวทาง ดังนี้

- การจัดระบบบริหารการนำเข้า โดย การกำหนดให้สินค้า 9 รายการ (ยกเว้นข้าว) เป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตนำเข้าตามเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งแตกต่างไปตามความ อ่อนไหวของสินค้า โดยในส่วนของกรมการค้าต่างประเทศในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลสินค้าที่ต้องขอ อนุญาตตาม พรบ. การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 อยู่ระหว่างจัดเตรียมการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องได้แก่การออก ประกาศ/ระเบียบให้สอดคล้องกับแนวทางที่วางไว้ โดยแนวทางมาตรการรองรับดังกล่าว ซึ่งโดยสรุปมีดังนี้

1) กำหนดให้เป็นสินค้าที่ขออนุญาตนำเข้า กำหนดคุณสมบัติและวัตถุประสงค์ของผู้นำเข้า

2) ใบรับรองกำหนดปริมาณสารพิษตกค้าง

3) ใช้มาตรการ SPS ที่เข้มงวด

4) ใบรับรองปลอด GMO

5) ตรวจเข้มใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า เพื่อป้องกันการเลี่ยงแหล่งกำเนิดสินค้าจากประเทศที่สาม

6) กำหนดด่านนำเข้า (ให้นำเข้าได้เฉพาะด่านอาหารและยา และด่านตจรวจพืช)

7) กำหนดช่วงเวลานำเข้า

8) กำหนดให้ต้องรายงานการนำเข้า การใช้ การจำหน่ายและสต็อกคงเหลือภายใน 1 เดือนและมีบทลงโทษหากไม่ดำเนินการ

ใน ส่วนของสินค้าข้าวที่มีความอ่อนไหวสูง กรมการค้าต่างประเทศได้มีการดำเนินการในแนวทางคล้ายคลึงกันแต่เข้มข้นกว่า เป็นการเฉพาะ ได้แก่ การกำหนดให้ต้องมีใบรับรองมาตรฐานการนำเข้า การระบุชนิดข้าวและปริมาณที่นำเข้า ติดตามการใช้ข้าวนำเข้า และการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการตรวจสอบสินค้าข้าวนำเข้าเพื่อเป็นเงินกองทุนพัฒนาชาวนา

นอกจากนี้ กรมการ ค้าต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างหารือที่จะใช้แนวทางดัง กล่าวข้างต้นกับสินค้าที่ไทยเปิดตลาดไปแล้วและเกษตรกรในประเทศได้รับผลกระทบ อย่างมากจากการนำเข้า เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น

- จัดทำระบบติดตามการนำเข้า

กระทรวงพาณิชย์ (กรมการค้าต่างประเทศ) อยู่ระหว่างจัดทำระบบฐานข้อมูลติดตามและตรวจสอบการนำเข้าสินค้าเกษตรภายใต้ความตกลง WTO ทั้ง 22 รายการ (ทั้งที่ยกเลิก TRQ ภายใต้ AFTA ไปแล้ว และที่กำลังจะยกเลิก) เพื่อวิเคราะห์เฝ้าระวังการนำเข้า สำหรับใบยาสูบ อยู่ภายใต้ กำกับดูแลของกระทรวงการคลัง

- ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล

สำรวจพื้นที่เป้าหมาย เพื่อ ติดตามศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ความเคลื่อนไหว ทั้งปริมาณและราคาอย่างใกล้ชิดและรวดเร็วเพื่อประสานหารือแนวทางแก้ไขปัญหา และวางมาตรการรองรับ

ท้าย ที่สุด หากการเปิดเสรีดังกล่าว ก่อให้เกิดการนำเข้าสินค้ารายการหนึ่งรายการใด มากจนอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ผลิต/ผู้ประกอบการภายในประเทศ ก็สามารถใช้ พรบ. มาตรการปกป้องการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น (Safeguard Measure) ซึ่งสภาได้ผ่านกฎหมายฉบับนี้ออกมาแล้ว ในการปกป้องผู้ผลิต/ผู้ประกอบการในประเทศได้

คำถามที่ 12 หลังปี 2558 อาเซียนจะเป็นอย่างไร ประเทศไทยจะอยู่ตรงไหน

คำตอบ

· หลังปี 2558 ที่อาเซียนบรรลุการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ความเปลี่ยนแปลงที่น่าจะเห็นได้ชัดเจน คือ การที่อาเซียนจะสามารถรวมกันเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน

o สินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ รวมถึงปัจจัยการผลิตต่างๆ สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี ภายใต้กรอบกฎเกณฑ์ กติกาที่ตกลงกัน

o จะช่วยขยายการค้าสินค้าในอาเซียนอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออก /นำเข้าระหว่างกัน

(1)อัตราภาษี 0

(2)อำนวยความสะดวก ลดขั้นตอน

(3)Self Certification (การรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง) AFTA Council รับรองแผนการดำเนินการให้เริ่มใช้ วันที่ 1 มกราคม 2012

(4)ASEAN Trade Repository (แหล่งเก็บรักษาข้อมูลการค้าอาเซียน) เช่น อัตราภาษี NTBs กฎแหล่งกำเนิด กฎระเบียบทางการค้า

o ต้นทุนทางการเงินที่ลดลง เนื่องจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีขึ้น และระบบการเงินที่ปรับปรุงดีขึ้น

o ประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือที่เสรีขึ้น ทำให้อาเซียนเป็นที่สนใจของนักลงทุนต่างชาติมากขึ้น นื่องจากช่วยให้การบริหารจัดการรงงานมีความ ยืดหยุ่นมากขึ้น

· บรรยากาศทางการค้าและการลงทุนจะเป็นไปอย่างเสรีมากขึ้น ด้วยการลดข้อจำกัด กฎระเบียบ กฎเกณฑ์ที่เป็นอุปสรรคทางการค้า การลงทุน

o การดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างระเทศ (FDI) ซึ่งน่าจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก

(1)การรวมตัวเป็นตลาดขนาดใหญ่ มีประชากร 580 ล้านคน GDP มากกว่า 1.5 ล้านล้าน USD ลงทุนผลิตในประเทศหนึ่ง สามารถส่งขายได้ทั่วภูมิภาค

(2)ดำเนินมาตรการตามกรอบความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน (ACIA) ซึ่ง เป็นความตกลงฉบับใหม่ของอาเซียน ที่จะครอบคลุมขอบเขตของการลงทุนในด้านต่างๆ (การเปิดเสรี การคุ้มครองการลงทุน และการส่งเสริม/อำนวยความสะดวกด้านการลงทุน)

(3)สามารถเลือกใช้จุดแข็งของแต่ละประเทศให้เกิดประโยชน์ เนื่องจากความหลากหลายและศักยภาพของแต่ละประเทศ

3.1 กลุ่มที่มีทรัพยากร (วัตถุดิบ แรงงาน) - สมาชิกใหม่ 4 ประเทศ (CLMV)

3.2 กลุ่มที่เป็นฐานการผลิต- อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย

3.3 กลุ่มที่มีความชำนาญด้านเทคโนโลยี – สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย

· มีเส้นทางคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงกันหมดในภูมิภาค

o ช่วยลดต้นทุนทาง Logistic ภายในภูมิภาคนำไปสู่ความสามารถในการแข่งขันที่ดีขึ้น

· มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิกที่เสมอภาคยิ่งขึ้น

o ลดช่องว่างระหว่างกัน ทำให้กำลังซื้อของประเทศเพื่อนบ้านดีขึ้น เป็นโอกาสให้ไทยขยายการส่งออกและขยายการลงทุน

· การเชื่อมโยงกับประเทศภายนอก โดยเฉพาะประเทศคู่เจรจาต่างๆ ของอาเซียน (+6)

o อาเซียนจะเป็นภูมิภาคเปิด โดยการขยายการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจออกไปภายนอก

โดยเฉพาะ การทำ FTA กับประเทศภายนอกภูมิภาค จะเป็นการเพิ่มโอกาสทางการค้าและการลงทุน

o ที่สำคัญจะได้ประโยชน์จาก “ASEAN One Voice” ที่จะสร้างอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจ

ให้กับอาเซียน

· ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น สามารถเข้าถึงสินค้าและบริการราคาถูกลงและหลากหลายมากขึ้น และมีการคุ้มครองผู้บริโภคที่กว้างขวางมากขึ้น

คำถามที่ 13 อนาคตอาเซียนภายหลังจากปี 2558 จะเป็นอย่างไร

คำตอบ

· การรวมกลุ่มภายในของอาเซียนอาจเรียกว่าเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของอาเซียนที่จะพัฒนาไปสู่การรวมกลุ่มที่ชัดเจนและลึกซึ้งมากขึ้นในอนาคต

· จากการประชุม AEM ครั้งที่ 41 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ เมื่อวันที่ 13-16 สิงหาคม 2552 ที่ประชุมได้เห็นชอบให้มีการศึกษาทิศทาง/ทางเลือกในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน ภายหลังจากบรรลุการเป็น AEC ใน ปี 2558 (ค.ศ. 2015) ว่าควรมีทิศทางเป็นเช่นไร ซึ่งจะเป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ที่สำคัญของอาเซียนต่อจากนี้ไป รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน/ผู้ประกอบการในการวางแผน/นโยบาย ด้านการค้า/การลงทุนในภูมิภาค

· นอกจากนี้ ปัจจุบันอาเซียนจัดทำ FTA กับประเทศคู่เจรจาในกรอบอาเซียน + 1 (ประเทศคู่เจรจา) ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์ ซึ่งได้เจรจาแล้วเสร็จ

· ในอนาคต ซึ่งคงไม่ไกลจากนี้ มีความเป็นไปได้ที่ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกจะหันมาจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างกัน ไม่ว่าจะในกรอบอาเซียน+3 (จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น) [East Asia Free Trade Area: EAFTA] หรือในกรอบอาเซียน +6 (จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย) [Comprehensive Economic Partnership in East Asia: CEPEA]

· ประเด็นท้าทายต่อจากนี้ คือ อาเซียนจะสามารถวางตัวเป็นศูนย์กลางในการรวมกลุ่มในภูมิภาคเอเชียตะวันออกนี้ได้อย่างไร

· ประเด็น สำคัญ คือ อาเซียนจำเป็นต้องสร้างการรวมกลุ่มที่ชัดเจน เข้มแข็ง และมีการรวมกลุ่มในเชิงลึกมากขึ้น รวมถึงมีการกำหนดนโยบายร่วมกันในระดับภูมิภาค กล่าวคือ อาเซียนจะต้องสามารถพูดเป็นเสียงเดียวกันได้ ไม่ใช่เป็น 10 เสียงเหมือนอย่างในปัจจุบัน

หมายเหตุ

ถ้าสามารถก้าวไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก

Ø ในกรอบอาเซียน +3 (EAFTA)

Þ จะเป็นตลาดที่มีประชากรมากกว่า 2,068 ล้านคน (31% ของประชากรโลก)

Þ มี GDP มากกว่า 9,901 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (18% ของ GDP โลก)

Ø ในกรอบอาเซียน +6 (CEPEA)

Þ จะเป็นตลาดที่มีประชากรมากกว่า 3,284 ล้านคน (50% ของประชากรโลก)

Þ มี GDP มากกว่า 12,250 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (22% ของ GDP โลก)

คำถามที่ 14 การก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในอีก 6 ปีข้างหน้าต้องทำอย่างไร

คำตอบ

พัฒนาการ ด้านเศรษฐกิจที่สำคัญต่อจากนี้ คือ การวางรากฐานเพื่อไปสู่การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่ลึกซึ้งและกว้างขวางขึ้น หรือการก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015)

เพื่อดำเนินการไปสู่เป้าหมายดังกล่าว อาเซียนได้จัดทำพิมพ์เขียวเพื่อเร่งรัดการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) ซึ่งเป็นแผนงานบูรณาการเศรษฐกิจในภาพรวม

คำถามที่ 15 เป้าหมายสำคัญของการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( AEC) มีอะไรบ้าง

คำตอบ เป้าหมายสำคัญของการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( AEC) มี 4 ด้าน คือ

(1) เป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน (Single Market and Production Base)

Þ เพื่อเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ ลงทุน แรงงานฝีมือ เงินทุน อย่างเสรี

Þ ส่วนนี้ จริงๆเป็นการดำเนินตามพันธกรณีที่ได้ตกลงและดำเนินการมากันอยู่แล้ว

- AFTA (ASEAN Free Trade Area) เริ่มปี 2535(1992)

- AFAS (ASEAN Framework Agreement on Services) กรอบความตกลงว่าด้วยการค้าบริการ ลงนามปี 2538(1995) ได้เจรจาเปิดเสรีเป็นรอบๆ เจรจาไปแล้ว 5 รอบ

- AIA (ASEAN Investment Area) กรอบความตกลงว่าด้วยการค้าบริการ ลงนามและมีผลตั้งแต่ 2541(1998)

(2) สร้างขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ (High Competitive Economic Region)

Þ ให้ความสำคัญกับประเด็นด้านนโยบาย ที่ช่วยการรวมกลุ่ม เช่น

- นโยบายการแข่งขัน นโยบายภาษี

- ทรัพย์สินทางปัญญา

- พัฒนาโครงสร้างพี้นฐาน

Þ ร่วมกันดำเนินการโดยแลกเปลี่ยนข้อมูล ฝึกอบรมบุคคลากรร่วมกัน

(3) สร้างความเท่าเทียมในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Equitable Economic Development)

Þ สนับสนุนการพัฒนา SMEs

Þ สร้างขีดความสามารถผ่านโครงการที่มีอยู่แล้ว

(4) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก (Fully Integrated into Global Economy)

Þ เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจอาเซียนกับนอกภูมิภาค เช่น ทำ FTA

คำถามที่ 16 ประโยชน์ของการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( AEC) เป็นอย่างไร

คำตอบ ประโยชน์ของการเป็น AEC

o ขยายการส่งออกและโอกาสทางการค้า จากการยกเลิกอุปสรรคภาษีและที่มิใช่ภาษี จะเปิดโอกาสให้สินค้าเคลื่อนย้ายเสรี

o คาดว่า การส่งออกไทยไปอาเซียนจะสามารถขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่า 18-20% ต่อปี

o เปิดโอกาสการค้าบริการ ในสาขาที่ไทยมีความเข้มแข็ง เช่น ท่องเที่ยว โรงแรมและร้านอาหาร สุขภาพ ทำให้ไทยมีรายได้จากการค้าบริการไปต่างประเทศเพิ่มขึ้น

o สร้างเสริมโอกาสการลงทุน เมื่อมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนได้เสรียิ่งขึ้น อุปสรรคการลงทุนระหว่างอาเซียนจะลดลง อาเซียนจะเป็นเขตการลงทุนที่น่าสนใจทัดเทียมจีนและอินเดีย

o เพิ่มพูนขีดความสามารถของรไทย เมื่อมีการใช้ทรัพยากรการผลิตร่วมกัน / เป็นพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกับอาเซียนอื่น ทำให้เกิดความได้เปรียบเชิงแข่งขัน (Comparative Advantage) และลดต้นทุนการผลิต

o เพิ่มอำนาจการต่อรองของไทยในเวทีการค้าโลก สร้างความเชื่อมั่นให้ประชาคมโลก

o ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศ ผลการศึกษา[1] แสดงว่า AEC จะทำให้รายได้ที่แท้จริงของอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 หรือคิดเป็นมูลค่า 69 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

คำถามที่ 17 การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( AEC) จะทำให้ไทยได้รับผลกระทบหรือไม่ และมีแนวทางรองรับอย่างไร

คำตอบ

ผลกระทบจาก AEC

o การเปิดตลาดเสรีการค้าและบริการย่อมจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมและผู้ประกอบการในประเทศที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันต่ำ

o อุตสาหกรรมและผู้ประกอบการในประเทศต้องเร่งปรับตัว

แนวทางรองรับผลกระทบ

อย่าง ไรก็ดี ภาครัฐเองไม่ได้นิ่งนอนใจต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะกิจการ/อุตสาหกรรม ที่ไม่มีความพร้อมในการแข่งขัน โดยแผนงานรองรับผลกระทบที่ได้มีการดำเนินงานมาแล้ว ได้แก่

o การจัดตั้งกองทุนเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและบริการที่ ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า (ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2550) เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ผลิตและผู้ประกอบการในสินค้าเกษตร แปรรูป สินค้าอุตสาหกรรม และบริการ ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีการค้าให้สามารถปรับตัวหรือปรับเปลี่ยนให้ สามารถแข่งขันได้ โดยในเบื้องต้นให้จัดสรรเงินงบประมาณประจำปี 2550-2551 ให้

o กระทรวงพาณิชย์เพี่อดำเนินการให้ความช่วยเหลือแล้ว (ปี 2550 มีเงินงบประมาณ 40 ล้านบาท ส่วนปี 2551 จำนวน 100 ล้านบาท) สำหรับปี 2552 กระทรวงพาณิชย์จะนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติจัดตั้งเป็นกองทุน[2] และขอจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อใช้ในการดำเนินงานของกองทุนในการให้ความช่วยเหลือภาคการผลิตและบริการที่ได้รับผลกระทบต่อไป[3]

o มาตรการป้องกันผลกระทบ ก่อนหน้านี้ กระทรวงพาณิชย์ได้เสนอจัดทำกฎหมายซึ่งได้ผ่านสภานิติบัญญัติออกมาเป็น พรบ. มาตรการปกป้องการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น (Safeguard Measure) ซึ่งหากการดำเนินการตาม AEC Blueprint ก่อให้เกิดผลกระทบ ก็สามารถนำกฎหมายนี้มาใช้ได้

o การจัดตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินการตามแผนงานไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ตามคำสั่ง กนศ. ที่ 1/2550 ลงวันที่ 14 มิถุนายน 2550) เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนงานและเตรียมการรองรับผลกระทบที่จะเกิด ขึ้นในการดำเนินงานไปสู่การเป็น AEC โดยมีปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน

คำถามที่ 18 นับถอยหลังการเตรียมตัวเข้าสู่ AEC ความตกลงการค้าเสรีอาเซียนกับประเทศต่างๆ มีความพร้อมอย่างไร

· คำ ตอบเหลืออีกเพียงสัปดาห์เดียว ก็จะถึงวันที่ 1 มกราคม 2553 ที่เราจะบรรลุการเปิดเสรีทางการค้าทั้งในกรอบอาเซียน ภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน และอาเซียนกับคู่เจรจา ทั้งกับจีน และสาธารณรัฐเกาหลี

· คิดว่าภาคส่วนต่างๆ ของไทยน่าจะมีความพร้อม เพราะเราได้มีการประชาสัมพันธ์มาอย่างต่อเนื่องใน หลายช่องทางและหลายรูปแบบ ทั้งการเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ การอบรมสัมมนา ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี (กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง)

· การเปิดเสรีทั้งภายใต้กรอบอาฟตา กรอบอาเซียน-จีน และกรอบอาเซียน-เกาหลี ไม่ใช่เป็นสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้น หรือเพิ่งเริ่มดำเนินการมาเมื่อไม่นานนี้

· ใน ความเป็นจริง การเปิดเสรีทางการค้าในกรอบต่างๆ เหล่านี้ ได้มีการดำเนินการมาเป็นระยะเวลานานพอสมควรแล้ว จนกระทั่งในวันที่ 1 ม.ค. 53 นี้ ที่ผลของการเปิดเสรีทางการค้า หรือการยกเลิกภาษีอากรระหว่างกัน จะครบถ้วนสมบูรณ์ทุกรายการสินค้าที่อยู่ในบัญชีลดภาษีระหว่างกัน

กรอบ

ปีที่เริ่มลดภาษีระหว่างกัน

รวมระยะเวลา

อาเซียน (AFTA)

2536

17 ปี

อาเซียน-จีน

2548

5 ปี

อาเซียน-เกาหลี

1) 2550 (อาเซียน 9 ประเทศ ยกเว้นไทย)2) ต.ค. 2552 (ไทย : เนื่องจากเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงในภายหลัง)

2 ปี

ตารางสรุปจำนวนรายการสินค้าที่มีอัตราภาษี เป็น 0 ในแต่ละกรอบ

กรอบ

จำนวนสินค้าที่จะลดภาษีเป็น 0% วันที่ 1 ม.ค. 53

สินค้าอ่อนไหว

อาเซียน (AFTA)

7,657 รายการ (ลดเหลือศูนย์ก่อน 1 ม.ค. 53) ก่อนการใช้พิกัด AHTN 2007

1,600 รายการ (ลดเหลือศูนย์ตั้งแต่ 1 ม.ค. 53)

รวม 8,287 รายการ

สินค้าอ่อนไหว (SL) มี 4 ประเภทสินค้า (กาแฟ มะพร้าวแห้ง ไม้ตัดดอก มันฝรั่ง) รวม 13 พิกัดย่อย จะคงภาษีที่ 5% ในวันที่ 1 ม.ค.53

อาเซียน-จีน

2,518 รายการ (ลดเหลือศูนย์ก่อน 1 ม.ค. 53)

2,486 รายการ (ลดเหลือศูนย์ตั้งแต่ 1 ม.ค. 53)

รวม 5,004 รายการ

SL จะลดอัตราภาษีเหลือร้อยละ 0-5 ปี 2561 เช่น เนื้อหมูปรุงแต่ง รองเท้าแตะ เหล็กและผลิตภัณฑ์

HSL จะลดอัตราภาษีเหลือร้อยละ 50 ปี 2558 เช่น ยานยนต์ขนส่งบุคคล รถจักรยานยนต์

อาเซียน-เกาหลีใต้

3,017 รายการ (ลดเหลือศูนย์ก่อน 1 ม.ค. 53)

1,893 รายการ (ลดเหลือศูนย์ตั้งแต่ 1 ม.ค. 53)

รวม 4,910 รายการ

NT2 จะลดภาษีเหลือศูนย์ปี 2560 เช่น แผ่นเหล็กรีดร้อนและผลิตภัณฑ์, หนังดิบ หนังฟอก และเครื่องหนัง, ไดเออร์ปรุงแต่งและสีอื่น ๆ

SL จะลดภาษีเหลือร้อยละ 5 ปี 2559 เช่น ส่วนประกอบสำหรับวิทยุหรือโทรทัศน์, ของทำด้วยเหล็ก, ผลิตภัณฑ์เหล็ก

HSL จะ ลดภาษีลงเหลือในอัตราต่าง ๆ หรือจัดสรรโควตาภาษี หรือยกออกจากการเจรจา เช่น สินค้าเกษตร 22 รายการ (โควตาภาษี), ปลาป่น , โทรทัศน์สี, รถยนต์ที่มีความจุกระบอกสูบน้อยกว่า 3,000 ซีซี (ยกออกจากการเจรจา)

หมายเหตุ : ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน และความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลีใต้ คำนวณโดยพิกัดศุลกากรรอบปี HS2002 ซึ่งมีจำนวนพิกัดรวมทั้งสิ้น 5,505 รายการ

คำถามที่ 19 อยากให้เชิญชวนประชาชนชาวไทยเข้ามาศึกษาใช้ประโยชน์และหาโอกาสจากการรวมตัวของอาเซียนในอีก 6 ปีข้างหน้า

คำตอบ

อาเซียนนับเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทย ใน อีก 6 ปีข้างหน้าอาเซียนจะเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน มีความเสรีทั้งทางด้านการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน และการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ ประชาชนชาวอาเซียนจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีโอกาสที่กว้างขึ้น ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับประชาชนชาวไทย ที่ควรเร่งศึกษาข้อมูลและการใช้ประโยชน์จากอาเซียน

คำถามที่ 20 หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความคืบหน้าการเจรจาการค้าระหว่างประเทศสามารถติอต่อได้ทางใดบ้าง

แนวคำตอบ

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเจรจาการค้าระหว่างประเทศในกรอบต่างๆ สามารถดูรายละเอียดได้ที่ www.dtn.go.th หรือ www.thaifta.com

* สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 02-507-7555

ขอรับบริการข้อมูลได้ที่ FTA one stop service ณ กรมส่งเสริมการส่งออก

ถ.รัชดาภิเษก โทร.02-512-0123 ต่อ 823 หรือ 02-512-0909 ต่อ 823

* สอบถามการใช้สิทธิประโยชน์จากความตกลงได้ที่ กรมการค้าต่างประเทศ สายด่วน 1385

------------------------------------



[2] โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ วิธีการงบประมาณ

[3] กอง ทุนของกระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงพาณิชย์ ไม่ได้ทำงานซ้ำซ้อนกัน แต่จะเสริมและเชื่อมโยง/ส่งต่อระหว่างกัน เพื่อให้การให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบของภาครัฐเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพและกว้างขวางยิ่งขึ้น


Written By: admin
Date Posted: 28/12/2552

http://www.thaifta.com/thaifta/Home/tabid/36/ctl/Details/mid/436/ItemID/5689/Default.aspx

----------------------------------------------
FfF