บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


07 เมษายน 2552

<<< ต้องดับไฟ และนำคนที่ติดอยู่ออกมา >>>

เปรียบวิกฤติเศรษฐกิจเหมือนไฟไหม้ตึก

ค่ำ วันเดียวกัน (ตามเวลาในไทย) สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีของไทย ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษว่า อย่าเพิ่งคาดหวังผลของที่ประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มจี 20 สูงจนเกินไป เพราะเป็นแค่การหารือกันเพียงวันเดียว และชาติอาเซียนสนับสนุนแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยการอัดฉีดเงินเข้าระบบ และช่วยเหลือบริษัทต่างๆป้องกันการล้มละลาย ตามที่สหรัฐฯและอังกฤษเรียกร้องอย่างเต็มที่ แต่จำเป็นต้องกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน รวมทั้งขนาดของแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะอาเซียนเคยผ่านวิกฤติต้มยำกุ้งมาแล้วเมื่อปี 2540 อีกทั้งอาเซียนยังสนับสนุนการปฏิรูปสถาบันระดับโลก อย่างเช่น ธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) อย่างเต็มที่ด้วยเช่นกัน ในจังหวะที่ผู้นำโลกหลายคนออกโรงต่อต้านนโยบายปกป้องสินค้าภายในกันอย่าง เปิดเผย แต่ความเป็นจริงก็คือ มีการนำมาตรการปกป้อง สินค้าภายใน ออกมาปรับใช้ดำเนินการแล้ว 40 มาตรการหรือมากกว่านี้ด้วยซ้ำ นับแต่มีการประชุมผู้นำจี 20 ครั้งก่อนในกรุงวอชิงตันเมื่อ พ.ย.ที่ผ่านมา

นอก จากนี้ นายอภิสิทธิ์ยังเปรียบเทียบว่า วิกฤติเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันเหมือนกับอาคารที่ถูกไฟลุกไหม้ และยังมีผู้ติดอยู่ภายใน สิ่งที่ต้องทำอันดับแรกคือต้องดับไฟ และนำคนที่ติดอยู่ออกมา นั่นคือการลำดับความสำคัญก่อนหลัง

http://www.thairath.co.th/offline.php?section=hotnews&content=130884

---------------------------------------------

เห็นพูดเรื่องไฟไหม้หลายหน
งวดนี้ก็อีกแหละ
พูดเหมือนดูดีถ้าปฏิบัติจริงๆ
ตอนนี้ธุรกิจที่เสี่ยงต่อการเจ๊งและทำให้คนตกงานมากๆ
ไม่รู้ไปดูแลเขายัง
ไปช่วยดับไฟช่วยคนออกมายัง
หรือว่ากำลังมัวเอาเงินไปแจกคนมามุงดู
ที่ไม่ได้ติดในอาคารนั้น
เหมือนที่ทำๆ มา
ที่จริงพูดก็ดูดี
แต่ขาดอย่างเดียว
คือทำตามที่พูด

อีกอย่างพวกไหน
ที่ชอบวางเพลิงแล้วมาอาสาดับเพลิง
ตั้งแต่ออกมาป่วน
หนุนการทำรัฐประหาร
จนมาถึงป่วนปิดสนามบิน
ประเทศชาติล่มจมไปเท่าไหร่
ถ้าไม่มีรัฐประหารวันนั้น
ไม่มีกลุ่มรับจ้างป่วน
ปานนี้ยังไปได้ดีกว่าวันนี้
นี่มองไม่เห็นอนาคต
นับวันมีแต่ถดถอยจนตกคลอง
ทั้งระบบเศรษฐกิจ
และระบอบการเมืิอง

งวดก่อนพูดทำนองว่า
"ไฟกำลังไหม้เข้ามา เสียดายน้ำไม่ได้"
ซึ่งก็เอาน้ำไปรดทุกบ้านที่ไฟยังไม่ไหม้
ส่วนบ้านที่ไฟกำลังไหม้
ยังไม่ได้ดับให้สนิท
แล้วมาบอกว่าอย่าเสียดายน้ำ
เฮ้อ

ปล. ข้างล่างนี้เป็นข่าวเกี๋ยวกับกลุ่มธุรกิจที่กำลังมีปัญหา
และควรได้รับการช่วยเหลือก่อน

----------------------------------------

ถึงเวลาเผชิญหน้าความจริง ลดคน-ลดกำลังการผลิต

ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 4092

ถึง วันนี้ต้องยอมรับว่าวิกฤตเศรษฐกิจจากซับไพรมไปสู่วิกฤตสถาบันการเงินในสหรัฐ อเมริกาจะลุกลามไปสู่ภาคเศรษฐกิจจริงทั่วโลก ได้ส่งผลกระทบถึงประเทศไทยแล้ว สะท้อนให้เห็นจากตัวเลขการส่งออกในช่วง 2 เดือนแรก (ม.ค.-ก.พ.) ของปี 2552 มีมูลค่าเพียง 22,232 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือมีอัตราขยายตัว -19.2% โดยที่ผ่านมาไทยเป็นประเทศที่พึ่งพาการส่งออก มีรายได้หลักจากการส่งออกคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 60% ของจีดีพีเมื่อภาคการส่งออกได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ แน่นอนว่าผลกระทบจะตามมาเป็นลูกโซ่ถึงกำลังการผลิตที่ลดลง ตามมาด้วยกำลังซื้อภายในประเทศ จนน่าเป็นห่วงว่าเศรษฐกิจไทยกำลังเดินหน้าไปสู่ "ภาวะเงินฝืด" หรือไม่

ธนาคาร แห่งประเทศไทย (ธปท.) วิเคราะห์ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญพบว่า ตัวเลขกำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมที่สำรวจจาก 69 กลุ่มสินค้าในเดือนมกราคม 2552 ลดลงเหลือ 57.1% จากปี 2551 ซึ่งตัวเลขกำลังการผลิตอยู่ที่ 67.6% โดยกลุ่มสินค้าที่กำลังการผลิตลดลงต่ำกว่า 50% ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์, ยานยนต์, เครื่องใช้ไฟฟ้า, เครื่องหนัง, เหล็ก (ตามตาราง) สาเหตุสำคัญที่ลดลงเนื่องจากการส่งออกที่ปรับตัวลดลงอย่างมาก

เมื่อ รวมกับคำสั่งซื้อที่ยังมีแนวโน้มปรับลดลง ทำให้คาดว่าตัวเลขคนว่างงานในปี 2552 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 1.481 ล้านคน จากในปี 2551 ที่ตัวเลขคนว่างงานไม่ถึง 600,000 คน

ขณะเดียวกันตัวเลขความต้องการบริโภคในเดือนมกราคม 2552 ลดลงเหลือ -4.5% ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้งใน

ปี 2540 แน่นอนว่าเมื่อความต้องการบริโภคลดลง ส่งผลทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปหรือเงินเฟ้อในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2552

จะ ลดลงต่ำสุดในอัตรา -4 ถึง -5% ซึ่งถือว่าต่ำมาก และค่อยปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง แต่หลายฝ่ายเป็นกังวลว่าอาจจะเป็นสัญญาณของ "เงินฝืด" หรือไม่

สัญญาณ เงินเฟ้อติดลบเป็นเรื่องที่นักเศรษฐศาสตร์เป็นห่วงมากกว่าเงินเฟ้อสูงๆ เพราะนั่นหมายความว่าผู้ผลิตขายสินค้าได้ราคาลดลงเรื่อยๆ จนท้ายที่สุดก็ไม่สามารถอยู่ได้ ต้องปิดกิจการ ปลดพนักงาน และเข้าสู่ภาวะเงินฝืดอย่างแท้จริงนั่นเอง

"ศิริพล" มั่นใจเงินเฟ้อไม่ติดลบ

นาย ศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ให้ความเห็นว่า ตัวเลขเงินเฟ้อในปี 2552 ไม่น่าจะติดลบ กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์เป้าหมายเงินเฟ้อปี 2552 ไว้ที่ 0-0.5% ภายใต้สมมติฐานระดับราคาน้ำมันดิบตลาดดูไบ 50-60 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยน 35-36 บาท/เหรียญสหรัฐ ซึ่งขณะนี้ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยปัจจุบันอยู่ที่ 44 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 36.02 บาท/เหรียญสหรัฐ โดยจะมีการปรับตัวเลขอีกครั้งหลังสิ้นสุดไตรมาส 2/2552

ทั้งนี้ ทางกระทรวงพาณิชย์ยังคงประเมินว่า การที่อัตราเงินเฟ้อจะติดลบต่อเนื่อง 2 เดือน ไม่ใช่สัญญาณของ "เงินฝืด" เพราะอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ก.พ.ปี 2552 ยังสูงขึ้น 1.8% เทียบกับเดือน ก.พ.ปีก่อน และสูงขึ้น 0.4% เทียบกับ ม.ค.ปีเดียวกัน ซึ่งแสดงว่ากำลังซื้อของผู้บริโภคไม่ได้ลดลง

แต่เหตุ ที่อัตราเงินเฟ้อลดลงเป็นผลมาจากราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงมากเมื่อเทียบกับ ปีก่อน เพราะไทยปรับระบบราคาน้ำมันแบบลอยตัว และเมื่อดูราคาสินค้าที่กระทรวงใช้คำนวณอัตราเงินเฟ้อ 411 รายการ พบว่าลดลงไม่ถึงครึ่ง หรือประมาณ 90 รายการ โดยมีสินค้าที่ราคาคงที่ 201 รายการ และสินค้าที่ราคาเพิ่มขึ้น 126 รายการ

อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจความเชื่อมั่น 39 กลุ่มอุตสาหกรรมของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์พบว่ามี 23 อุตสาหกรรมที่คาดว่าปริมาณการผลิตจะลดลงอย่างต่อเนื่อง มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นต่ำกว่า 100 และมีแนวโน้มจะต่ำลงเรื่อยๆ ได้แก่ สิ่งทอ, เครื่องนุ่งห่ม, รองเท้า, เครื่องประดับ, เหล็ก, แก้วและกระจก, เซรามิก, โรงเลื่อยและโรงอบไม้, เฟอร์นิเจอร์, ยานยนต์, ชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์, เครื่องจักรและโลหะการ, ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, ก๊าซ, ผู้ผลิตไฟฟ้า, พลังงานทดแทน, ปิโตรเคมี, เคมี, เยื่อและกระดาษ, การพิมพ์และบรรจุภัณฑ์กระดาษ, การจัดการของเสียและวัสดุเหลือใช้ ซอฟต์แวร์

สิ่งทอเริ่มเลย์ออฟ-ลดโอที

นาย สมบูรณ์ เจือเสถียรรัตน์ อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย เปิดเผยว่า การส่งออกเครื่องนุ่งห่มในช่วง 2 เดือนแรก ปรับลดลงโดยเฉพาะในตลาดหลักสหรัฐ ซึ่งมีสัดส่วนเกือบ 50% ของการส่งออกลดลง 20.5% มีมูลค่า 99.49 ล้านเหรียญสหรัฐ ถือว่าลดต่ำที่สุดอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยสินค้าที่ได้มียอดคำสั่งซื้อลดลงคือสินค้ากลุ่ม

แบรนด์เนมระดับบน ซึ่งมีสัดส่วน 10-15% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด

โดยปกติแล้วช่วงต้นปีระหว่างเดือน ม.ค.-เม.ย. จะเป็นช่วง

ที่มีการสั่งซื้อลดลง เพราะจะใช้คำสั่งซื้อจากช่วงปลายปี

แล้วจะ ค่อยๆ เพิ่มขึ้นสูงสุดในเดือนก.ค.-ก.ย. และจะปรับลดลงในช่วงปลายปีอีกครั้ง ทำให้การส่งออกในช่วงไตรมาส 3 พลิกกลับมาบ้าง แต่ก็ยังมองว่าการส่งออกเครื่องนุ่งห่มภาพรวมไม่ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ว่าจะ ขยายตัว 5% แต่อาจจะติดลบ

"หากเปรียบเทียบปีนี้กับปีก่อนแล้ว พบว่าออร์เดอร์ปีนี้ลดลงมากผิดปกติ โดยเฉพาะสหรัฐน่าเป็นห่วงมาก ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็คือ โรงงานการผลิตต่างปรับลดกำลังการผลิตเพื่อให้สอดคล้องกับออร์เดอร์ที่ลดลง โดยนับจากเกิดวิกฤตการโรงงานขนาดใหญ่มีการปิดตัวไปแล้ว 3-4 แห่ง ส่วนโรงงานขนาดใหญ่

ที่เหลืออยู่ก็ลดการทำสัญญากับโรงงานขนาดเล็กและ ขนาดกลางในกลุ่ม (subcontract) แทบจะเป็น 0% โดยหันมาผลิตเองบ้าง หรือยกเลิกไปเลยบ้าง ส่วนการยกเลิกโอทีมีให้เห็นประมาณ 50% ส่วนที่เหลืออีก 50% ก็ยังมีการทำโอที แต่ไม่เต็มเวลา" นายสมบูรณ์กล่าว

อิเล็กทรอนิกส์หาตลาดใหม่

เหล็กต่อรองราคาสินแร่

ด้าน นายสุรพร สิมะกุลธร ประธานกิตติมศักดิ์กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ภาวะวิกฤตในเวลานี้หนักกว่าช่วงปี 2540 ที่วิกฤตเกิดขึ้นจากประเทศไทยอย่างเดียว แต่ต่างประเทศทั่วโลกยังดีอยู่ มีความต้องการการผลิตเพื่อส่งออกยังมีการเติบโตได้ แต่วิกฤตครั้งนี้เกิดขึ้นทั่วโลก

ความต้องการลดลง การส่งออกก็ลดลงตาม ทำให้ปริมาณการผลิตลดลงไปด้วย โดยช่วงเดือนมกราคมกำลังการผลิตของเครื่องใช้ไฟฟ้าลดลง 30% อิเล็กทรอนิกส์ลดลง 40% กำลังการผลิตในช่วงเดือนมกราคมลดลง 40%

แต่ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากผู้ประกอบการเริ่มปรับตัว พยายามหาลูกค้า และตลาดใหม่มากขึ้น จึงทำให้ยอดกำลังการผลิตในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ดีขึ้น กำลังการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าลดลง 25-26% อิเล็กทรอนิกส์ลดลง 30% ซึ่งโดยผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเห็นว่าหากสามารถประคับประคองการผลิตของ อุตสาหกรรมให้ลดลง 20% ก็ถือว่าดีที่สุดแล้ว แต่ถ้าลดมากกว่านั้นอุตสาหกรรมก็จะแย่ ผลก็คือมีการเลิกจ้าง คนว่างงานเป็นจำนวนมาก

Mr.Ng Chor Kuan ผู้จัดการโรงงาน บริษัท เอ็มเอ็มพี พลีซิชั่น แอสเซมบลิ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ป้อนให้กับบริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัดกล่าวว่า ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมาบริษัทประสบปัญหาการถูกลดออร์เดอร์สินค้าลงอย่าง เห็นได้ชัด ซึ่งสถานการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าวบริษัทได้พยายามลดต้นทุนการผลิต ทั้งการประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ รวมทั้งการลดเวลาการทำงานล่วงเวลาหรือโอที เป็นต้น แม้ออร์เดอร์จะลดลง

แต่ต้องทำให้องค์กรอยู่ได้ จึงพยายามลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น แต่ไม่มีมาตรการลดแรงงาน การลดพนักงานจะเป็นเรื่องสุดท้ายที่จะปฏิบัติ แต่แรงงานบางส่วนอาจจะต้องหยุดพักงาน

เพื่อรอออร์เดอร์ใหม่ที่จะมาถึง

ขณะ ที่ นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก ส.อ.ท.กล่าวว่า ปัจจุบันกำลังการผลิตโดยรวมของกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กเหลืออยู่ประมาณ 50% กว่าเท่านั้น เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำลง อุตสาหกรรมเหล็กเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานของหลายธุรกิจ เมื่อธุรกิจต่างๆ

แย่ ลง ปริมาณการใช้เหล็กก็ลดลงตามไปด้วย โดยผู้ประกอบการก็มีความหวังว่าช่วงครึ่งปีหลังจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ของประเทศต่างๆ รวมถึงประเทศไทย จะทำให้ภาวะเศรษฐกิจน่าจะกลับมาดีขึ้น ความต้องการเพิ่มขึ้น ประกอบกับขณะนี้จีนในฐานะผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่เตรียมที่จะไปต่อรองกับผู้ผลิต สินแร่ให้ลดราคาลง ซึ่งหากสำเร็จต้นทุนการผลิตเหล็กของจีนลดลง ราคาเหล็กก็จะลดลงตาม และเนื่องจากจีนเป็น

ผู้ผลิตรายใหญ่ ราคาที่ลดลงก็จะมีผลกดดันให้ราคาเหล็กในตลาดโลกลดลงด้วย ผู้ประกอบการไทยก็จะได้รับอานิสงส์จากราคาเหล็กที่ลดลงนี้ด้วย แต่ทั้งนี้ต้องมีผลว่าจีนจะสามารถ

ต่อรองได้สำเร็จหรือไม่

ค่ายรถเร่งลดกำลังผลิต

นาย สุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ยอดการผลิตรถยนต์ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 133,523 คัน ลดลง 42.37% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยแบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 35,064 คัน ลดลง 44.06% และรถปิกอัพ 96,132 คัน ลดลง 41.94%

ในจำนวนนี้เป็นการผลิตเพื่อส่งออก 94,279 คัน ลดลง 28.94% และผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 39,244 คัน ลดลงถึง 60.36%

นาย วัลลภ เตียศิริ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงสถานการณ์ในภาคการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในปัจจุบันว่า ขณะนี้บริษัทผู้ผลิต

และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างก็พยายามอย่างเต็ม ที่ในการควบคุมกำลังการผลิตรถยนต์ เพื่อให้สอดรับกับความต้องการของตลาดที่ลดลง เห็นได้จากในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา

อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยได้มีการลดกำลังการผลิตโดยรวมลงไปแล้ว 40-50%

แหล่ง ข่าวระดับสูงจากบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาฮอนด้ามีการทบทวนเรื่องกำลังการผลิต ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากยอดการจำหน่ายรถยนต์โดยรวมที่มีอัตราเติบโตลดลง แต่ฮอนด้าถือว่าโชคดีกว่าค่ายอื่นๆ เล็กน้อย เนื่องจากสินค้าหลักจะเป็นรถยนต์นั่งซึ่งได้รับผลกระทบน้อยว่าค่ายอื่นๆ ที่เน้นทำตลาดในส่วนของรถเพื่อการพาณิชย์

เช่นเดียวกับ นายศุภศักดิ์ ดุละลัมพะ ผู้อำนวยการฝ่ายกิจกรรมการตลาดและโฆษณา บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ที่ยอมรับว่า มิตซูบิชิได้รับผลกระทบจากตัวเลขยอดจำหน่ายที่ลดลง 30-35% สำหรับตลาดในประเทศ ส่วนตลาดส่งออกก็ลดลงไปค่อนข้างมาก โดยเฉพาะคำสั่งซื้อที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งมิตซูบิชิได้เลือกใช้วิธีการลดกำลังการผลิตรวมทั้งเลือกใช้วิธีการลด สต๊อก และผลิตตามความต้องการของตลาดเป็นหลัก

หน้า 2
















โดย มาหาอะไร