บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


07 เมษายน 2552

<<< ให้ทาย คุณว่าใครเป็นคนพูด >>>

"ข้อแตกต่างทางความคิดของทุกคนย่อมมีได้ แต่การแก้ไขจะต้องเป็นโดยทางสันติ อันเป็นลักษณะของชาติไทย ขอแต่คนไทยมีความเข้าใจในปัญหา และร่วมกันด้วยชีวิตจิตใจอย่างแท้จริง เราจะแก้ปัญหาและอุปสรรคทั้งปวงของชาติได้ ---- ผมปฏิวัติไม่ได้ และไม่ต้องการปฏิวัติด้วย ขอให้เลิกคิดเลิกทำเสีย หรือไม่งั้นก็ยิงผมให้ตายแล้วก็ปฏิวัติกันไป"

"พ่อถามว่าทำไมถึงเลือกเป็นทหาร ก็บอกว่าฐานะทางครอบครัวเราไม่ค่อยดี ถ้าผมเป็นนักเรียนนายร้อยสักคนพี่น้องก็จะมีโอกาสได้เรียนต่อ เพราะตอนนั้นคุณพ่อคุณแม่แยกกันแล้ว พ่อไปมีครอบครัวใหม่ ก็เลยเป็นปัญหา ก็เล่าให้ฟังว่าที่ตัดสินใจเข้าไปเป็นนักเรียนเตรียม ทหารก็เนื่องจากถ้าได้ก็เป็นโอกาสดี และเราก็ยังไม่เห็นว่ามันข้อจำกัดอะไร ก็คงเป็นคล้ายๆ พ่อ อะไรอย่างนั้น"

"เป็นอะไรก็ได้ แต่ไม่อยากเป็นทหาร เพราะคุณพ่อไม่มีเวลา แถมยังจนอีก"

- บางครั้งคนที่พูดอาจลืมเลือนไปแล้ว
เลยอาจไม่ทำตามที่เคยพูดไว้
ก็เลยเอามาทบทวนความทรงจำกัน
และบางคำพูดก็เป็นหลักฐานแสดงฐานะได้ดีในช่วงเวลานั้นๆ
เผื่อมาลองตรวจดูว่า
ปัจจุบันยังเป็นแบบเดิมอยู่รึเปล่า
เฉลยดังนี้

---------------------------------------------------------------------

"ข้อแตกต่างทางความคิดของทุกคนย่อมมีได้ แต่การแก้ไขจะต้องเป็นโดยทางสันติ อันเป็นลักษณะของชาติไทย ขอแต่คนไทยมีความเข้าใจในปัญหา และร่วมกันด้วยชีวิตจิตใจอย่างแท้จริง เราจะแก้ปัญหาและอุปสรรคทั้งปวงของชาติได้ ---- ผมปฏิวัติไม่ได้ และไม่ต้องการปฏิวัติด้วย ขอให้เลิกคิดเลิกทำเสีย หรือไม่งั้นก็ยิงผมให้ตายแล้วก็ปฏิวัติกันไป"

ฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์

จากหนังสือ "รัฐบุรุษชื่อเปรม"
มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
พ.ศ.2538

































----------------------------------------------------


บทสัมภาษณ์ของพลเอกสุรยุทธ์
"พ่อถามว่าทำไมถึงเลือกเป็นทหาร ก็บอกว่าฐานะทางครอบครัวเราไม่ค่อยดี ถ้าผมเป็นนักเรียนนายร้อยสักคนพี่น้องก็จะมีโอกาสได้เรียนต่อ เพราะตอนนั้นคุณพ่อคุณแม่แยกกันแล้ว พ่อไปมีครอบครัวใหม่ ก็เลยเป็นปัญหา ก็เล่าให้ฟังว่าที่ตัดสินใจเข้าไปเป็นนักเรียนเตรียม ทหารก็เนื่องจากถ้าได้ก็เป็นโอกาสดี และเราก็ยังไม่เห็นว่ามันข้อจำกัดอะไร ก็คงเป็นคล้ายๆ พ่อ อะไรอย่างนั้น" (ไทยโพสต์ , 23 พย.46)


บทสัมภาษณ์ของคุณหญิงจิตรวดี จุลานนท์
เรื่องครอบครัวและลูกๆบิ๊กแอ้ดแทบจะไม่มีเวลา ทุกอย่างตกอยู่กับคุณหญิงทั้งหมด จนกระทั่งลูกๆน้อยใจ ขณะที่คุณหญิงก็ต้องทำงานประจำสอนภาษาอังกฤษ ไม่มีเวลาไปรับส่งต้องให้ทหารขับรถไปรับไปส่งแทน จนเพื่อนๆคิดว่าทหารคนขับรถคือพ่อที่แท้จริง แม้ลูกจะอธิบายแต่เพื่อนก็ไม่มีใครเชื่อ
คุณหญิงเล่าว่า ผบ.ทบ.เคยถามลูกชายคนเล็กว่า โตขึ้นอยากเป็นอะไร ปรากฏว่าคำตอบของลูกทำให้พ่อแม่สะอึกทีเดียว "เป็นอะไรก็ได้ แต่ไม่อยากเป็นทหาร เพราะคุณพ่อไม่มีเวลา แถมยังจนอีก" (สยามรัฐ , 31 กค.42)


ประวัติการทำงาน พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกฯ คนที่ 24

- ประจำศูนย์การทหารราบ พ.ศ. 2508
- ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองพันทหารราบที่ 1 กรมผสมที่ 31 พ.ศ. 2509
- ผู้บังคับชุดปฏิบัติการ กองร้อยรพิเศษ กองรบพิเศษ (พลร่ม)ที่2 พ.ศ. 2513
- ครูโรงเรียนสงครามพิเศษ ศูนย์สงครามพิเศษ พ.ศ. 2515
- ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 4 กรมผสมที่ 23 พ.ศ.2521
- ผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่ 1 กองพลรบพิเศษที่ 1 พ.ศ.2526
- ผู้บัญชาการกองรบพิเศษที่ 1 พ.ศ.2532
- ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ พ.ศ.2535
- แม่ทัพภาคที่ 2 พ.ศ.2537
- ที่ปรึกษาพิเศษ กองทัพบก พ.ศ. 2540
- ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก พ.ศ.2540
- ผู้บัญชาการทหารบก พ.ศ. 2541 - 2545
- ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พ.ศ.2545 -2546

ตำแหน่งพิเศษ
- ราชองค์รักษ์เวร พ.ศ. 2526
- นายทหารคนสนิท นายกรัฐมนตรี (พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์) พ.ศ. 2521-2531
- นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ พ.ศ. 2531
- สมาชิกวุฒิสภา ครั้งที่ 1 และ 2 พ.ศ. 2535 และ 2539
- ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2546




































-------------------------------------------




















-------------------------------------------




















-------------------------------------------




















-------------------------------------------




















โดย มาหาอะไร