บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


19 พฤษภาคม 2552

<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ที่ดินเขายายเที่ยง >>>

เรื่องนี้คดีเงียบหายไปแล้ว
ทั้ง คตส. ทั้ง ปปช. ต่างไม่รับพิจารณาคดีนี้
ช่างผิดกับคดีที่ดินรัชดาอย่างกะฟ้ากับเหว
เรื่องนี้มีความเคลือบแคลงสงสัยหลายเรื่อง
ทั้งเรื่องบุกรุกป่าสงวนหรือไม่
ทั้งเรื่องการได้มาของที่ดิน
และเรื่องปลีกย่อยประเด็นต่างๆ
ผมได้รวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาให้อ่านกันอีกครั้ง

จากเอกสารของผู้ใหญ่บ้านที่ระบุว่า
ภรรยาสุรยุทธ์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินผืนนี้
เนื่องจากเจ้าของที่ดินเดิมยกให้ ตามข้อความนี้

" วันที่ 11 พฤศจิกายน 2545 มีเอกสารบันทึกของนายอุทัย สังข์จันทึก ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 6 เขายายเที่ยงเหนือ ในฐานะเจ้าพนักงานสำรวจตามพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 ฉบับที่ 2) พ.ศ.2509 ได้ดำเนินการสำรวจที่ดิน ภ.บ.ท.5 ที่ดินตั้งอยู่หน่วยที่ 6 เลขสำรวจ 177 หมู่ที่ 6 ต.คลองไผ่ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นที่ดินของ พ.อ.หญิงคุณหญิงจิตรวดี จุลานนท์ โดยแจ้งการสำรวจใหม่เนื่องจากเปลี่ยนแปลงรายชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เนื่องจากเจ้าของที่ดินเดิมยกให้"

จาก ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
เรื่อง หลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด
โดยธรรมจรรยาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2543

ข้อ 5 เจ้าหน้าที่ของรัฐจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาได้ ดังต่อไปนี้
(2) รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากบุคคลอื่นซึ่งมิใช่ญาติมีราคาหรือมูลค่า ในการรับจากแต่ละบุคคล แต่ละโอกาสไม่เกินสามพันบาท
...
ข้อ 8 หลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามประกาศ ฉบับนี้ให้ใช้บังคับแก่ผู้ซึ่งพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐมาแล้วไม่ถึง สองปีด้วย

ก็แสดงให้เห็นว่า ภรรยาสุรยุทธ์มีความผิดหลักเกณฑ์นี้
แต่รอดพ้นเพราะข้อกฏหมายนี้ ตามที่ ปปช. ชี้แจงดังนี้

"เนื่องจาก พล.อ.สุรยุทธ์ ได้พ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ไปตั้งแต่ปี 2546 ส่วน พ.อ.หญิงท่านผู้หญิงจิตรวดี จุลานนท์ ภริยา ได้พ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐไปตั้งแต่ปี 2545 แต่นายสุดชาย เพิ่งยื่นคำกล่าวหาต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2550 จึงเป็นคำกล่าวหาที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 84 ประกอบมาตรา 85 ที่ระบุว่าการกล่าวหาเจ้าหน้าที่รัฐกระทำความผิดฐาน ทุจริตต่อหน้าที่ ผู้กล่าวหาจะต้องยื่นคำกล่าวหาต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในขณะที่ผู้ถูกกล่าวหาเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่เกินสองปี"

ก็ดูเอาแล้วกัน
จริยธรรมอะไรเขามีไว้กรณีนายกชื่อทักษิณ อย่างเดียว
นายกชื่ออื่นเฉยๆ รับกันได้
กรณีนี้พูดได้เต็มปากว่าผิดแน่นอนหลักฐานมัด
ยังไม่รวมเรื่องเป้นที่ป่าสงวนหรือไม่
ในเมื่อที่ชาวบ้านที่อยู่ตีนเขาโดนฟ้องว่ารุกที่ป่า
แต่บนเขาทำไมรอด
แต่พ้นผิดเพราะคดีหมดอายุความ
เนื่องจากออกจากราชการเกิน 2 ปีแล้ว
แบบนี้ข้าราชการคนไหนที่โกง
ก็รีบลาออกมาเงียบๆ ก่อนมีคนไปขุดเจอ
พอพ้น 2 ปีก็พ้นผิดกันหมดใช่ไหม
ก็น่าสนุกดีน่ะประเทศไทย

ปล. รูปหน้าบ้านที่เขายายเที่ยง ที่เป็นปัญหา
มีนักเล่นเน็ตคนหนึ่งไปแอบถ่ายมา






























โดย มาหาอะไร

--------------------------------------------------------------


ป.ป.ช.ไม่รับพิจารณาที่ดินเขายายเที่ยง

มติ ป.ป.ช. ไม่รับพิจารณาคำร้องของอดีตแกนนำกลุ่มคนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ กล่าวหา พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เข้าไปถือครองที่ดินบนเขายายเที่ยงเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 2 เพราะ ได้พ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ไปตั้งแต่ปี 2546

สำนักงาน ป.ป.ช. - 21 มิ.ย. -- เมื่อเวลา 15.00 น.นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ ป.ป.ช.ในฐานะโฆษก แถลงผลการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติไม่รับพิจารณาคำร้องของนายสุดชาย บุญไชย อดีตแกนนำกลุ่มคนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ ที่กล่าวหา พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 2 กับพวก เข้าไปถือครองที่ดินบนเขายายเที่ยง ต.คลองไผ่ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา โดยมิชอบ เนื่องจาก พล.อ.สุรยุทธ์ ได้พ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ไปตั้งแต่ปี 2546 ส่วน พ.อ.หญิงท่าน ผู้หญิงจิตรวดี จุลานนท์ ภริยา ได้พ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐไปตั้งแต่ปี 2545 แต่นายสุดชาย เพิ่งยื่นคำกล่าวหาต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2550 จึงเป็นคำกล่าวหาที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 84 ประกอบมาตรา 85 ที่ระบุว่าการกล่าวหาเจ้าหน้าที่รัฐกระทำความผิดฐาน ทุจริตต่อหน้าที่ ผู้กล่าวหาจะต้องยื่นคำกล่าวหาต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.ในขณะที่ผู้ถูกกล่าวหาเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือพ้นจากการเป็น เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่เกินสองปี

นายกล้านรงค์ กล่าวว่า คำกล่าวหาของนายสุดชายนั้นระบุว่า พล.อ.สุรยุทธ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 2 พ.อ.หญิงท่านผู้หญิง จิตรวดี จุลานนท์ ภริยา และพล.อ.สุรฤทธิ์ จันทราทิพย์ อดีตผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก ได้ถือครองที่ดินบนเขายายเที่ยง โดยได้ที่ดินดังกล่าวมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย คือ เจ้าของที่ดินเดิมได้ขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้กับผู้จัดสรรที่ดินคนหนึ่งใน ราคา 700,000 บาท ต่อมาผู้จัดสรรที่ดินคนดังกล่าวได้ขายที่ดินให้กับ พล.อ.สุรฤทธิ์ ในราคาเพียง 50,000 บาท และภายหลัง พล.อ.สุรฤทธิ์ ได้ยกที่ดินบนเขายายเที่ยงให้กับ พ.อ.หญิงท่านผู้หญิงจิตรวดี โดยเสน่หา ซึ่งน่าสงสัยว่าการขายที่ดินในราคาถูกดังกล่าว สืบเนื่องมาจากที่ผู้จัดสรรที่ดินคนดังกล่าวได้เคยจัดสรรที่ดินขายให้กับข้า ราชการชั้นผู้น้อยในกองทัพภาคที่ 2 แต่เกิดปัญหาไม่สามารถออกโฉนดและโอนที่ดินให้ผู้ซื้อได้ จึงได้ขายที่ดินให้ราคาถูกเป็นค่าวิ่งเต้น

นายก ล้านรงค์ กล่าวว่า สำหรับกรณีของพล.อ.สุรฤทธิ์ นั้น คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติที่จะดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงตามคำร้องของนายสุดชาย เนื่องจาก พล.อ.สุรฤทธิ์เพิ่งพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐในปี 2549 จึงยังอยู่ในอำนาจของ ป.ป.ช.ที่ จะดำเนินการได้ โดยจะมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง ตามประกาศ คปค.ฉบับที่ 31 ข้อ 5

ด้านนายสุดชาย กล่าวว่า คิดไว้แต่แรกแล้วว่ากรณีการกล่าวหา พล.อ.สุรยุทธ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 2 นั้น จะไม่สามารถดำเนินการเอาผิดได้ เพราะไม่เข้าข่าย พ.ร.บ. ป.ป.ช. มาตรา 84 ประกอบ มาตรา 85 ส่วนที่ ป.ป.ช.มีมติให้ไต่สวน พล.อ.สุรฤทธิ์ ที่นำที่ดินไปมอบให้กับพ.อ.หญิงท่านผู้หญิงจิตรวดี โดยเสน่หานั้น ก็ถือว่าคดีนี้มีมูลความผิดแล้ว เพราะมีเหตุน่าสงสัยว่าเหตุใดพ่อค้าที่ดินจึงนำที่ดินที่มีมูลค่า 700,000 บาท มาขายต่อให้ พล.อ.สุรฤทธิ์ เพียง 50,000 บาท และต่อมา พล.อ.สุรฤทธิ์ ก็นำที่ดินไปมอบให้ พ.อ.หญิงท่านผู้หญิงจิตรวดี โดยเสน่หา ซึ่งถือว่าน่าสงสัยว่า พล.อ.สุรยุทธ์ ได้ที่ดินมาโดยมิชอบจริง แต่ที่รอดตัวมาได้ เพราะพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่รัฐมาเกิน 2 ปี ดังนั้น พล.อ.สุรยุทธ์ จึงควรพิจารณาตัวเองว่าสมควรอยู่ในตำแหน่งต่อไปหรือไม่ ในฐานะที่เคยประกาศว่าเป็นผู้ยึดมั่นในหลักนิติธรรม และความโปร่งใสในการทำงานมาโดยตลอด

ข้อมูลจาก คม ชัด ลึก

----------------------------------------------------------------------

หลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2543

ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
เรื่อง หลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด
โดยธรรมจรรยาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2543
-----------------------------------

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 103 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จึงกำหนดหลักเกณฑ์และจำนวนทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ จะรับจากบุคคลได้โดยธรรมจรรยา ไว้ดังนี้

ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด โดยธรรมจรรยาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2543”

ข้อ 2 ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 3 ในประกาศนี้ “การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยา” หมายความว่า การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากญาติหรือจากบุคคลที่ให้กันในโอกาส ต่างๆ โดยปกติตามขนบธรรมเนียม ประเพณี หรือวัฒนธรรม หรือให้กันตามมารยาทที่ปฏิบัติกันในสังคม

“ญาติ” หมายความว่า ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน พี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน ลุง ป้า น้า อา คู่สมรส ผู้บุพการีหรือผู้สืบสันดานของคู่สมรส บุตรบุญธรรมหรือผู้รับบุตร บุญธรรม

“ประโยชนอื่นใด” หมายความว่า สิ่งที่มีมูลค่า ได้แก่ การลดราคา การรับความบันเทิง การรับบริการ การรับการฝึกอบรม หรือสิ่งอื่นใดในลักษณะเดียวกัน

ข้อ 4 ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากบุคคล นอกเหนือจากทรัพย์สินหรือประโยชน์อันควรได้ตามกฎหมาย หรือ กฎ ข้อบังคับ ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เว้นแต่การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด โดยธรรมจรรยาตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้

ข้อ 5 เจ้าหน้าที่ของรัฐจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาได้ ดังต่อไปนี้
(1) รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากญาติซึ่งให้โดยเสน่หาตามจำนวนที่เหมาะสม ตามฐานานุรูป
(2) รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากบุคคลอื่นซึ่งมิใช่ญาติมีราคาหรือมูลค่า ในการรับจากแต่ละบุคคล แต่ละโอกาสไม่เกินสามพันบาท
(3) รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่การให้นั้นเป็นการให้ในลักษณะให้กับบุคคลทั่วไป

ข้อ 6 การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากต่างประเทศซึ่งผู้ให้มิได้ระบุให้เป็น ของ ส่วนตัวหรือมีราคาหรือมูลค่าเกินกว่าสามพันบาท ไม่ว่าจะระบุเป็นของส่วนตัวหรือไม่ แต่มีเหตุผลความ จำเป็นที่จะต้องรับไว้เพื่อรักษาไมตรี มิตรภาพ หรือความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นรายงานรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับ ทรัพย์สินหรือประโยชน์ดังกล่าวให้ผู้บังคับบัญชาทราบโดยเร็ว หากผู้บังคับบัญชาเห็นว่าไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นยึดถือ ทรัพย์สินหรือประโยชน์ดังกล่าวนั้นไว้เป็นประโยชน์ส่วนบุคคล ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นส่งมอบทรัพย์สินให้หน่วยงานของรัฐที่เจ้า หน้าที่ของรัฐ ผู้นั้นสังกัดโดยทันที

ข้อ 7 การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ หรือมีราคาหรือมีมูลค่ามากกว่าที่กำหนดไว้ในข้อ 5 ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับมาแล้วโดยมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรับไว้ เพื่อรักษาไมตรี มิตรภาพ หรือความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นต้องแจ้งรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับ ทรัพย์สินหรือประโยชน์นั้นต่อผู้บังคับบัญชา ซึ่งหัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ หรือผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน สถาบันหรือองค์กรที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นสังกัด โดยทันทีที่สามารถกระทำได้ เพื่อให้วินิจฉัยว่ามีเหตุผล ความจำเป็น ความเหมาะสม และสมควรที่จะให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นรับทรัพย์สินหรือประโยชน์นั้นไว้เป็น สิทธิของตนหรือไม่
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ หน่วยงาน หรือสถาบันหรือ องค์กรที่เจ้าหน้าที่ผู้นั้นสังกัดมีคำสั่งว่าไม่สมควรรับทรัพย์สินหรือ ประโยชน์ดังกล่าว ก็ให้คืนทรัพย์สินหรือประโยชน์นั้นแก่ผู้ให้โดยทันที ในกรณีที่ไม่สามารถคืนให้ได้ ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นส่งมอบทรัพย์สินหรือประโยชน์ดังกล่าวให้เป็น สิทธิของหน่วยงานที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นสังกัดโดยเร็ว
เมื่อได้ดำเนินการตามความในวรรคสองแล้ว ให้ถือว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นไม่เคยได้รับทรัพย์สินหรือประโยชน์ดัง กล่าวเลย ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ได้รับทรัพย์สินไว้ตามวรรคหนึ่งเป็นผู้ดำรง ตำแหน่งผู้บังคับบัญชา ซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือเทียบเท่า หรือเป็นกรรมการหรือผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ หรือเป็นกรรมการ หรือผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานของรัฐ ให้แจ้งรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์นั้นต่อ ผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอน ส่วนผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและกรรมการในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ หรือผู้ดำรงตำแหน่งที่ไม่มีผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจถอดถอนให้แจ้งต่อคณะ กรรมการ ป.ป.ช. ทั้งนี้ เพื่อดำเนินการตามความในวรรคหนึ่งและวรรคสอง
ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ได้รับทรัพย์สินไว้ตามวรรคหนึ่ง เป็นผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น ให้แจ้งรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์นั้น ต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภาหรือประธานสภาท้องถิ่น ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นเป็นสมาชิก แล้วแต่กรณี เพื่อดำเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง

ข้อ 8 หลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามประกาศ ฉบับนี้ให้ใช้บังคับแก่ผู้ซึ่งพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐมาแล้วไม่ถึง สองปีด้วย


ประกาศ ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
โอภาส อรุณินท์
(นายโอภาส อรุณินท์)
ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 117 ตอนที่ 118 ก วันที่ 19 ธันวาคม 2543

http://www.ipthailand.org/ipthailand/index.php?option=com_content&task=view&id=396&Itemid=635&lang=th

--------------------------------------------------


ประชาชาติธุรกิจ
วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3940
ข้อมูลใหม่ "ที่ดินเขายายเที่ยง" คำถามที่ควรตอบให้ได้?

รายงานพิเศษ


การครอบครองที่ดินเขายายเที่ยง ของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี
เป็นประเด็นที่ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.)
วิสามัญศึกษาและส่งเสริมการสร้าง คุณธรรม และจริยธรรมนักการเมือง
ข้าราชการ และประชาชน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
หยิบมาเป็นประเด็นอภิปรายนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 ตุลาคมที่ผ่านมา

"ประชาชาติธุรกิจ" สรุปข้อมูลของ น.ต.ประสงค์ ดังนี้

1. น.ต.ประสงค์อ้างว่าแผนที่รูปถ่ายจาก กรมแผนที่ทหารระบุว่า
ที่ดินแปลงดังกล่าว (จำนวน 20 ไร่) อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ตาม
พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ซึ่งปี 2508
มีการออกฎกระทรวงเฉพาะบางพื้นที่ให้ชัดเจนขึ้น กำหนดให้ป่าเขาเตียน
และป่าเขาเขื่อนลั่นในท้องที่ ต.จันทึก อ.ปากช่อง และ ต.ลาดบังขาว
อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา และปี 2525 สมัยนายชวน หลีกภัย
เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ออกกฎกระทรวงฉบับที่ 974
ปีประกาศให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นป่าสงวนแห่งชาติ

2.พื้นที่ดังกล่าวไม่สามารถบุกรุกได้ แม้จะ เสียภาษีบำรุงท้องที่ก็ตาม

3.ที่ดินแปลงนี้นายเบ้าขายให้แก่นายนพดล พิทักษ์วานิช ในราคา 7 แสนบาท
เมื่อวันที่ 4 ส.ค.2538 แต่เป็นเอกสารภาษีบำรุงท้องที่
ขณะนั้นนายกฯเป็นแม่ทัพภาคที่ 2
และในวันที่ 31 มี.ค.2540 นายนพดลทำเป็นสัญญาซื้อขายให้ พ.อ.สุรฤทธิ์ จันทราทิพย์ ในราคาเพียง 5 หมื่นบาท
และในวันที่ 12 พ.ย.2545 พ.อ.สุรฤทธิ์ ขายให้กับ พ.อ.หญิงคุณหญิงจิตรวดี จุลานนท์ ภริยานายกรัฐมนตรี

โดยไม่ระบุราคาซื้อขาย...

คำชี้แจงของนายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ผู้ได้รับ มอบหมายให้ชี้แจงแทนนายกรัฐมนตรีสรุปสาระ ดังนี้

1.นายกฯไม่มีเจตนาบุกรุกที่ดินป่าสงวน แห่งชาติ
และไม่ทราบว่าที่ดินผืนดังกล่าวมีปัญหาคาบเกี่ยว
เพราะที่ดินมีลักษณะเป็นชุมชน มีวัด และมีมัสยิด รวมทั้งไม่มีป้าย
หรือมีเครื่องหมายใดๆ ระบุว่าเป็นเขตพื้นที่ป่าสงวนฯ โดยที่ดิน
แปลงดังกล่าวชาวบ้านเข้ามาทำกินก่อนวันที่ 30 มิ.ย.2541
ก่อนที่ทางการจะประกาศเป็นเขตป่าสงวนฯ

2.การครอบครองที่ดินแปลงดัง
กล่าวได้มา เป็นทอดๆ
โดยชาวบ้านเข้ามาทำกินก่อนที่ทางการจะประกาศเป็นเขตป่าสงวนฯ
ภริยาของนายกฯได้มาจาก พ.อ.สุรฤทธิ์ (ยศขณะนั้น) ซึ่งซื้อต่อมาจากนายนพดล
และนายนพดลซื้อต่อมาจากนายเบ้าอีกทอดหนึ่ง
ดังนั้นหากพิสูจน์แล้วว่าอยู่ในป่าสงวนฯจริงก็พร้อมคืนให้ทางการ

3.นายกฯไม่มีเจตนาปกปิดเพราะได้แจ้ง ป.ป.ช.และพาคณะสื่อมวลชนไปดูพื้นที่มาก่อนหน้านี้

คำอภิปรายของ พล.อ.สุรินทร์ พิกุลทอง สนช.สายทหาร (เพื่อนร่วมรุ่น พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน)

1.กรมป่าไม้ประกาศเป็นเขตป่าสงวนฯ เมื่อปี 2508 และปี 2520
กรมป่าไม้ประกาศให้ประชาชนเข้าไปอยู่อาศัยและทำกิน เสียภาษี บำรุงท้องที่

2.แม้ประกาศเป็นเขตปฏิรูป คนก็เข้าไปอยู่อาศัยได้โดยจ่ายค่าธรรมเนียมตามปกติ

เมื่อประมวลข้อมูลตามเอกสารที่ พล.อ.สุรยุทธ์แจ้งบัญชีแสดงรายการทรัพย์สิน ต่อ
ป.ป.ช.ตอนเข้ารับตำแหน่งนายกฯ ที่ดิน มีความเป็นมา ดังนี้

ที่ดินแปลงนี้เอกสารใบเสียภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท.5) เดิมเป็นของนายเบ้า สินนอก
มีการเสียภาษีบำรุงท้องที่ตั้งแต่ปี 2533-2538 วันที่ 4 สิงหาคม 2538
นายเบ้าได้ขายให้ นายนพดล พิทักษ์วานิชย์ ในราคา 700,000 บาท
(โดยแนบใบเสร็จรับเงินการเสียภาษีบำรุงท้องที่ตั้งแต่ปี 2533-2538เป็นหลักฐาน)

วันที่ 31 มีนาคม 2540 นายนพดลทำสัญญาขายให้
พ.อ.สุรฤทธิ์ จันทราทิพย์ ในราคา 50,000 บาท มาตกถึงมือ
พ.อ.คุณหญิงจิตรวดี เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2545 (พ.อ.สุรฤทธิ์
อ้างว่าได้ขายให้ พ.อ.คุณหญิงจิตรวดี แต่ในเอกสารบันทึกของนายอุทัย
สังข์จันทึก ผู้ใหญ่บ้านเขายายเที่ยงระบุว่า ยกให้)

จากข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่า

ประการแรก ที่ดินแปลงดังกล่าวมีการเข้าไปทำประโยชน์มาตั้งแต่ปี 2533 (นามหลักฐาน ใบเสร็จรับเงินของนายเบ้า)
ในขณะที่มีการประกาศเป็นเขตป่าสงวน แห่งชาติมาตั้งแต่ ปี 2507 โดยมีการออกกฎกระทรวงในปี 2525
เท่ากับนายเบ้าได้เข้าทำประโยชน์หลังทางการประกาศเป็นเขตป่าสงวนฯ

ประการที่ 2 กรณีความสัมพันธ์ระหว่าง พ.อ.สุรฤทธิ์กับ พล.อ.สุรยุทธ์ และภริยา

ที่ดินแปลงนี้ตกถึงมือ พ.อ.คุณหญิงจิตรวดี เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2545

จากการตรวจสอบพบว่ามีการขอ "เลขที่บ้าน" (เลขที่ 10 หมู่ 6) เมื่อวันที่ 6
กรกฎาคม 2543 โดย พ.อ.สุรฤทธิ์ จันทราทิพย์ (ขณะยศ พล.ต.)
เป็นผู้ขอเลขที่บ้านและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ก่อนที่
พ.อ.สุรฤทธิ์จะโอนย้ายออกไปอยู่บ้าน เลขที่ 50/1 ซอยศุลกากร 1 ถ.พหลโยธิน
แขวงสามเสน เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2549 โดยนายจุล จุลานนท์ บุตรชาย
พล.อ.สุรยุทธ์ ย้ายชื่อเข้าไปอยู่แทนเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2549

พ.อ.สุรฤทธิ์ขายที่ดินให้ พ.อ.คุณหญิงจิตรวดี โดยไม่ได้ระบุราคา

แต่ในเอกสารบันทึกของนายอุทัย สังข์จันทึก ผู้ใหญ่บ้านเขายายเที่ยงระบุว่า
"ยกให้" แสดงให้เห็นว่า พ.อ.สุรฤทธิ์ มีความใกล้ชิด กับพล.อ.สุรยุทธ์
และภริยามา โดยตลอดใช่ หรือไม่ ?

อีกทั้งที่ดินแปลงนี้นายนพดลซื้อมาในราคา 700,000 บาท

แต่กลับขายให้ พ.อ.สุรฤทธิ์ในราคาเพียง 50,000 บาท

ทั้งๆ ที่ พ.อ.สุรฤทธิ์ มิได้เป็นแม่ทัพภาคที่ 2

ขณะที่ในการแถลงข่าวครั้งแรกวันที่ 25 ธันวาคม 2549

พล.อ.สุรยุทธ์บอกว่า ที่ดินดังกล่าวมีการ เสียภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท.5)
ติดต่อกันมา ตั้งแต่ตนเป็นแม่ทัพภาคที่ 2 โดยให้ค่าที่ดินแก่
ผู้ที่ถือว่าเป็นผู้มีสิทธิซึ่งปัจจุบันบวช เป็นพระชื่อ "เบ้า"

น่าสังเกตว่า การเข้าไปครอบครองที่ดิน ของ พ.อ.สุรฤทธิ์กระทำแทนใครหรือไม่ ?

หากครอบครองแทน พล.อ.สุรยุทธ์ หรือภริยา ในช่วงที่ พล.อ.สุรยุทธ์เป็น
ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) และผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.ส.ส.)
โดยเกษียณอายุราชการวันที่ 1 ต.ค.2546 มีการแจ้งบัญชีแสดง
รายการทรัพย์สินและหนี้ต่อ ป.ป.ช.ครบถ้วน หรือไม่ ?

ประเด็นนี้ต่างหากที่ไม่มีใครถามนายกฯว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ?


หน้า 44

---------------------------------------------------------

ประชาชาติธุรกิจ
วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3942

เปิดหลักฐาน นายกฯสุรยุทธ์ ตั้ง "ไพโรจน์ รัตตกุล" เป็นที่ปรึกษา ภริยา "ถือหุ้น บ.หาดทิพย์"


รายงานพิเศษ

ปัญหาว่าด้วยเรื่องจริยธรรมของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี
กรณีครอบครองที่ดินบน เขายายเที่ยง อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา กำลัง
เป็นเผือกร้อนมากขึ้น
ทั้งนี้เพราะมิใช่แค่ปัญหาเรื่องการครอบครองที่ดินเท่านั้น หากแต่โยงใย
ไปถึงเรื่องการถือครองทรัพย์สินอย่างอื่นของครอบครัว
และการแต่งตั้งคนใกล้ชิดเข้ามา ทำงานการเมืองด้วย

ล่าสุด "ประชาชาติธุรกิจ" พบข้อมูลที่น่าสนใจ

เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2549 พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
ได้แต่งตั้งให้ร้อยตรีไพโรจน์ รัตตกุล เจ้าของบริษัท หาดทิพย์ จำกัด
ผู้ผลิตน้ำอัดลม ชื่อดัง เป็นที่ปรึกษานายกฯ พร้อมด้วย พล.อ.วัธนชัย
ฉายเหมือนวงศ์ นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ นายอมร จันทรสมบูรณ์
และแต่งตั้งนายสุรพงษ์ ชัยนาม นายวีระชัย วีระเมธีกุล
เป็นรองเลขาธิการนายกฯฝ่ายการเมือง (มติ ครม.วันที่ 24 ตุลาคม 2549)

ทว่าเมื่อตรวจสอบบัญชีแสดงรายการ ทรัพย์สินและหนี้สินของนายกฯ
ตอนเข้ารับตำแหน่งนายกฯเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2550 พบว่า
พ.อ.หญิงคุณหญิงจิตรวดี จุลานนท์ ภริยานายกฯ ถือหุ้นบริษัท หาดทิพย์ จำกัด
(มหาชน) จำนวน 23,430 หุ้น (ใบหุ้นออกวันที่ 9 สิงหาคม 2545)

ทั้งนี้ บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตน้ำอัดลมชื่อดัง มีร้อยตรีไพโรจน์ รัตตกุล ถือหุ้นใหญ่

ขณะเดียวกันยังพบว่า ร้อยตรีไพโรจน์ รัตตกุล มีบ้านอยู่ติดกับบ้านพักเขายายเที่ยงของภริยานายกฯ

ก่อนหน้านี้วันที่ 5 มกราคม 2550 พล.อ.สุรยุทธ์ได้ทำหนังสือถึงนายปานเทพ
กล้านรงค์ราญ ประธาน ป.ป.ช. ชี้แจงการ ครอบครองที่ดินบริเวณเขายายเที่ยง
และแปลงอื่นทั้งหมด 9 แปลง มูลค่า 17.8 ล้านบาท ส่วนของ
พ.อ.หญิงคุณหญิงจิตรวดี มีทั้งหมด 3 แปลง มูลค่ารวม 7 ล้านบาท
โดยแนบภาพถ่ายบ้าน และที่ดินบริเวณเขายายเที่ยงมาให้ ป.ป.ช.ระบุว่า
ที่ดินและบ้านอยู่ติดกับที่ดินของร้อยตรีไพโรจน์ รัตตกุล

นอกจากนี้พบว่า นายวีระชัย วีระเมธีกุล รองเลขาธิการนายกฯฝ่ายการเมือง
ซึ่งได้รับ แต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษานายกฯ เครือญาติเป็นเจ้าของบริษัท
สยามบางนาแลนด์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ผู้ขายบ้านและที่ดิน
ให้แก่นายกฯกับภริยาในปัจจุบัน

พล.อ.สุรยุทธ์ได้แจ้งบัญชีแสดงรายการ
ทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช.ว่า มีบ้านอยู่ในกิ่งอำเภอบางเสาธง ในชื่อของภริยา
มูลค่า 6 ล้านบาท ตั้งอยู่บนโฉนดเลขที่ 69325 ต.ศีรษะจรเข้น้อย กิ่ง
อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ เนื้อที่ 1-1-85 ไร่ (โฉนดเลขที่ 69324)
และของภริยา 1-1-69 ไร่ (โฉนดเลขที่ 69325) โดยซื้อเมื่อ วันที่ 23
สิงหาคม 2543

จากการตรวจสอบพบว่า บริษัท สยามบางนาแลนด์ จำกัด
จดทะเบียนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2530 ทุน 620 ล้านบาท ให้บริการสนามกอล์ฟ
อสังหาริมทรัพย์ ที่ตั้งเลขที่ 69 หมู่ที่ 7 ตำบลศีรษะจรเข้น้อย
อำเภอกิ่งอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ กรรมการผู้มีอำนาจ คือ
นายฉัตรชัย วีระเมธีกุล (พี่ชายของนายวีระชัย) โดยมีนายสุชัย วีระเมธีกุล
นายพงส์ สารสิน พลตำรวจเอกพรศักดิ์ ดุรงควิบูลย์ นายบุญนำ บุญนำทรัพย์
นายฉัตรชัย วีระเมธีกุล นายนครินทร์ วีระเมธีกุล นางสาวเพชรรัตน์
บุญนำทรัพย์ นายหวง เจา หยัง นายสุชาติ จันทรานาคราช นายเหมา เจ๋อ เฉียว
นายสุนทร โฆษิตจินดา และนายอมร เนติพิพัฒน์ เป็นกรรมการ

และยังพบอีกว่า นายสุชาติ จันทรานาคราช และนายฉัตรชัย วีระเมธีกุล เคยเป็นบอร์ด
การเคหะแห่งชาติ (กคช.) ระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 2546-19 เมษายน 2548 สมัย
นางชวนพิศ ฉายเหมือนวงศ์ เป็นผู้ว่าการ

ขณะที่นางชวนพิศเป็นหนึ่งในผู้ถูกคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิด
ความเสียหายแก่รัฐ- คสต.กล่าวหาว่ามีความผิดฐานทุจริตคดีโครงการบ้านเอื้ออาทรบางพลี- ร่มเกล้า
และได้รับแต่งตั้งเป็น สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)

กล่าวสำหรับที่ดินเขายายเที่ยง ก่อนหน้านี้ประเด็นการเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ของบ้านภริยา
ของนายกฯ เลขที่ 10 หมู่ที่ 6 ต.เขายายเที่ยง จาก พ.อ.สุรฤทธิ์
(ยศขณะนั้น) จันทราทิพย์ (พ.อ.สุรฤทธิ์เป็นผู้ขอเลขที่บ้านเมื่อวันที่ 6
กรกฎาคม 2543) มาเป็นชื่อของนายจุล จุลานนท์ บุตรชาย พล.อ.สุรยุทธ์
เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2549 (อ่านรายละเอียดในประชาชาติธุรกิจ
ฉบับวันที่ 15-17 ตุลาคม 2550 หน้า 44)
ได้ถูกคณะอนุกรรมาธิการตำรวจและสิทธิ มนุษยชน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
(สนช.) หยิบมาตั้งคำถามไปถึงนายกฯว่า มีการแจ้ง ต่อ ป.ป.ช.หรือไม่
พร้อมกับเรียกร้องให้มีการตรวจสอบ

ทางด้านนายกฯก็บอกว่า ไม่มีเจตนาปกปิด และพร้อมให้มีการตรวจสอบในทุกเรื่อง

ขณะที่นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. ออกมาชี้แจงระบุว่า
พล.อ.สุรยุทธ์ไม่จำเป็น ไม่ต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินต่อ
ป.ป.ช. จนกว่าจะมีการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินครั้งใหม่ต่อ
ป.ป.ช.ตอนรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ขณะนี้ถือว่าไม่มีความผิด

อย่างไรก็ตาม วันที่ 18 ตุลาคม นายชุมพล สังข์ทอง อนุกรรมาธิการ (กมธ.)
การตำรวจ และสิทธิมนุษยชน ในคณะกมธ.การยุติธรรมการตำรวจและสิทธิมนุษยชน
สนช. ออกมาแถลงข่าวว่ากรณีการถือครองที่ดินของร้อยตรีไพโรจน์

บนเขายายเที่ยงว่ามีเงื่อนงำหรือไม่?

เพราะฉะนั้นเรื่องนี้คาดว่าจะเป็นหนังชีวิต


หน้า 40

รายการทรัพย์สินและหนี้ต่อ ป.ป.ช.ครบถ้วน หรือไม่ ?

ประเด็นนี้ต่างหากที่ไม่มีใครถามนายกฯว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ?


หน้า 44

------------------------------------------------------------------------------

เจาะลึก..วิบากกรรมบ้านพักเขายายเที่ยง เงินที่ถูกโกงของทหารชั้นผู้น้อย
โดย ซูม
วันที่ 26 ธันวาคม 2549
ที่มา เวป 19 กันยาฯ ต้านรัฐประหาร

“ซื้อที่ดินแล้วแถมเงิน”
เรื่องจริงที่เกิดขึ้นในประเทศนี้ ขณะที่พล.ท.สุรยุทธ์ จุลานนท์เป็นแม่ทัพภาค 2

เล่าขานมาจนถึงวันนี้ไม่รู้จบ เมื่อทหารชั้นผู้น้อยต้องเสียเงินฟรีๆ แล้วไม่ได้ที่ดินมากกว่า100ราย 10กว่าปีมาแล้วที่ต้องทนส่งเงินให้กับสวัสดิการฯ เป็นการใช้หนี้ที่กู้เงินมาเพื่อซื้อที่ดินแปลงเล็กๆ แต่สุดท้ายที่ดินเหล่านั้นก็ไม่มีกรรมสิทธิ์ที่จะครอบครองได้
ประมาณปี 2539 มลฑลทหารบกที่ 21 ได้จัดสรรแบ่งที่ดินเป็นแปลงๆ ให้กับข้าราชการชั้นผู้น้อยซื้อผ่อนด้วยราคาถูก ตั้งแต่ราคาแปดหมื่นบาทจนถึงสองแสนห้าหมื่นบาท ซึ่งแล้วแต่ผู้กู้จะสามารถกู้เงินได้มากน้อยแค่ไหน เป็นสิทธิของเจ้าตัว และเป็นไปตามกติกาอย่างถูกต้อง แต่เบื้องหลังมันมีอยู่ว่า ใครซื้อที่ดินจะได้เงินแถม เช่น ถ้าซื้อที่ดิน 50 ตร.ว.จะได้เงินเข้ากระเป๋าสองหมื่นบาทแต่ต้องทำเรื่องกู้แปดหมื่นบาท ถ้าซื้อที่ดิน 200ตร.ว.จะได้เงินเข้ากระเป๋าแปดหมื่นบาทแต่ต้องทำเรื่องกู้สองแสนบาท อย่างนี้เป็นต้น
ที่ดินแปลงนี้ขายหมดไปในพริบตา ประมาณว่า 500 กว่าราย เรื่องนี้คงไม่เกิดขึ้นแน่ถ้าทุกอย่างถูกต้อง และเมื่อถึงเวลาทหารชั้นผู้น้อยเหล่านั้นส่งเงินหมดแล้วได้โฉนดมาครอบครองเหมือนทั่วไป แต่เหตุการณ์ไม่ได้เป็นเช่นนั้น หลายคนอยากจะสร้างบ้านเมื่อผ่อนไปได้ระยะเวลาหนึ่ง ก็ได้หาเงินไปไถ่ถอนออกจากสวัสดิการทหาร แล้วทำเรื่องกู้เงินธนาคารเพื่อสร้างบ้านโดยเอาโฉนดที่ดินแปลงนั้นเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน ปรากฏว่าโฉนดเหล่านั้นเป็นโฉนดทับซ้อนและไม่สามารถจดจำนองได้
การถากถางบุกรุกที่ดินมีอยู่ทุกหนแห่งในประเทศนี้ ปลูกพืชผลทางการเกษตรบ้าง ปลูกที่พักอาศัยบ้าง บางทีก็เป็นที่น่าสงสารสำหรับคนจนๆ ที่ไม่มีที่ทำกินเหล่านี้ ที่อุดส่าต์หลบหนีสังคมไปหากินตามป่าตามเขา ถึงแม้จะผิดกฎหมายก็ตามที เพราะความจนพวกเขาเหล่านั้นจึงได้กระทำ วันนี้..เส้นทางบนยอดเขายายเที่ยง ซ้ายและขวาเต็มไปด้วยสวนผลไม้ บ้านพักตากอากาศหลังโตๆ ที่ดินเหล่านั้นกลายเป็นของนายทุน พ่อค้า ข้าราชการที่เลวๆ ไปหมดแล้ว หักคอมาจากชาวบ้านตาดำๆ ด้วยค่าตอบแทนอันน้อยนิด ไร่ละห้าร้อยถึงหนึ่งพันบาท กรรมสิทธิ์ที่ดินไม่มีไปเสียภาษีดอกหญ้ากันเอาเอง
วันหนึ่งมีเรื่องร้องเรียนมาที่แม่ทัพภาคที่ 2 ว่าทหารชั้นผู้น้อยหลายรายถูกโกง จากการซื้อที่ดินของสวัสดิการกองทัพบก เมื่อผ่อนหมดแล้วไม่มีโฉนด เป็นที่ฮือฮากันมากเพราะเป็นเรื่องใหญ่ อีกทั้งมีผู้เกี่ยวข้องอีกมากมาย ทั้งเจ้าหน้าที่ที่ดิน เจ้าหน้าที่สวัสดิการฯ ผู้บัญชาการมลฑลทหารบกที่ 21 เจ้าหน้าที่การเงินของมลฑลทหารบก 21 พ่อค้าที่ดิน เจ้าของบริษัทที่นำที่ดินแปลงนี้เข้าสวัสดิการฯ ทั้งหมดถูกตั้งกรรมการสอบสวนเพื่อหาคนผิดมางลงโทษและคืนความเสียหายให้กับข้าราชการเหล่านั้นที่ถูกโกง

แต่..เวลาไม่เป็นใจ ช่วงจังหวะการเปลี่ยนย้ายท่านแม่ทัพภาคที่ 2 พอดี ท่านต้องถูกย้ายเข้ากรุ เรื่องนี้จึงต้องเป็นเรื่องเงียบกันต่อไปจวบจนถึงปัจจุบันนี้ แต่ก็มีอยู่บ้างที่มีการฟ้องร้องกันหลายราย และยังขึ้นศาลกันไม่เลิก หนึ่งปีผ่านไป จนกระทั่งพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ขยับขึ้นเป็นผบ.ทบ. กองพลทหารพัฒนาทัพภาคที่ 2 นำเครื่องจักรขนาดใหญ่ขึ้นไปบนภูเขายายเที่ยง ทำการถากถางพื้นที่
ขุดสระน้ำปูผ้าพลาสติก เป็นที่เอิกเกริก กองพันสวัสดิการ มทบ.21เอาทหารขึ้นไปสร้างรั้ว ปลูกต้นไป ศาลาที่พัก ห้องน้ำ รักษาการผอ.ช่อง5นำนายทหารแผนที่ เจ้าหน้าที่ที่ดินขึ้นไปรางวัด ใช้เวลาก่อสร้างเบ็ดเสร็จจนกระทั่งพล.อ.สุรยุทธ์ปลดเกษียณ เป็นเวลามากกว่าสามปีในตำแหน่งผบ.ทบ.จนถึง ผบ.สูงสุด

คำถามที่คาใจทหารชั้นผู้น้อยที่ไปก่อสร้างบนยอดเขายายเที่ยง
- ที่ตรงนี้เดิมที่เป็นของใคร เห็นได้ชัดว่าถูกตัดแบ่งมาจากที่แปลงใหญ่ ที่มีเนื้อที่กว่า100ไร่ โดยเจ้าของที่ติดกันเป็นคนๆ เดียวกันกับผู้ที่นำที่ดินสวัสดิการฯ มาขายให้กับพวกเขา
- ทำไมท่านไม่สะสางปัญหาให้กับลูกน้องที่ถูกโกงเรื่องที่ดินให้จบ ทั้งๆ ที่ท่านก็มีหน้าที่ใหญ่โตขึ้น
- เงินหลวงหรือเงินส่วนตัวกันแน่ที่นำมาปลูกสร้างบ้านพักแห่งนี้

หวังได้ไหมกับประชาชนที่เรามีนายกฯ ที่ดีที่สุดในประเทศ ใครก็ได้โดยเฉพาะผู้จัดทำเวปนี้ช่วยทำเรื่องสอบถามไปถึงท่านนายกฯให้หน่อยครับ ถึงความสงสัยของเหล่าทหารชั้นผู้น้อยพวกนี้เดี๋ยวจะมีคนกล่าวหาว่าแต่งนิยายมาใส่ร้าย ตรวจสอบเลยครับว่าที่กล่าวมานี้เป็นเรื่องจริงหรือไม่ ทุกคนที่ถูกกล่าวถึงยังมีชีวิตอยู่ครบทั้งสิ้น ผบ.มทบ.21คนนั้น เป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 1 รุ่นเดียวกับท่านนายกฯ มีชื่อเล่นว่า "ใหญ่" หน่วยบัญชาการทหารพัฒนาขณะนั้น ท่านผอ.เป็นเตรียมทหารรุ่น 5 มีชื่ออักษรนำหน้าว่า "ร.ร." และมีรองฯ นามสกุลชินวัตรรุ่น 5 เหมือนกัน รักษาการผอ.ช่อง5ในขณะนั้นมีชื่อเล่นว่า “ตุ๋ย” เป็นเพื่อนสนิทกับคนที่นามสกุล ชินวัตร และเจ้าของบริษัทที่จัดสรรที่ดินแปลงนั้นมีชื่อนำหน้าว่า "น" ทุกวันนี้ยังมีนายทหารยศพันเอกพิเศษลูกรักของป๋าชื่อเล่นว่า "แจ้" คอยติดตามรับใช้อยู่

--------------------------------------------------------------------------
















เปิดสัญญาที่ดิน "เขายายเที่ยง" ภริยานายกฯซื้อจาก สุรฤทธิ์ จันทราทิพย์

ปลายปี 2549 พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ตกเป็นข่าวครึกโครมกรณีครอบครองบ้านพักบริเวณเขายายเที่ยง ในช่วงแรกที่ตกเป็นข่าวพล.อ.สุรยุทธ์แถลงข่าวที่สโมสรทหารบกเมื่อวันที่ 25 ธันวคม 2549 ปฏิเสธว่าบ้านพักในพื้นที่ ต.เขายายเที่ยงมิได้มีโบกี้รถไฟตามที่ปรากฏเป็นข่าว และบอกอีกว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม ซึ่งยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงการถือครองกรรมสิทธิ์ได้ เนื่องจากยังไม่มีเอกสารสิทธิ แต่เป็นพื้นที่ที่มีการเสียภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท.5) ซึ่งเสียภาษีติดต่อกันมาตั้งแต่ตนเป็นแม่ทัพภาคที่ 2 โดยให้ค่าที่ดินแก่ผู้ที่ถือว่าเป็นผู้มีสิทธิ ซึ่งปัจจุบันบวชเป็นพระชื่อ "เบ้า" โดยมีอยู่เพียง 20 ไร่

ต่อมา พล.อ.สุรยุทธ์ออกมาให้สัมภาษณ์อีกครั้งที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ว่า ที่ดินแปลงดังกล่าวได้เสียภาษีบำรุงพื้นที่อย่างถูกต้อง โดยภรรยาเป็นผู้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2545 พร้อมให้มีการตรวจสอบ เพราะเป็นบุคคลสาธารณะ ถ้าผิดก็พร้อมจะคืนให้รัฐ และถ้าเสียหายต่อการบริการราชการแผ่นดิน หากจะต้องให้รับผิดชอบก็พร้อมรับผิดชอบทางการเมือง

"ยินดีที่จะให้ตรวจสอบ ถ้ามีปัญหา เราก็พร้อมที่จะคืน เพราะไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรมากมาย ถ้าผิด ผมก็ยินดีที่จะไม่ใช้พื้นที่ ถ้าจะให้ผิดถึงกับว่าเป็นความผิดทางด้านการเมือง ผมก็ยินดี เพราะผมไม่ได้มีอะไรยึดติดอยู่แล้ว ถ้าเห็นว่าผมสมควรที่จะออกผมก็พร้อมไม่มีอะไรขัดข้องเลย" นายกฯกล่าว

และบอกอีกว่า ช่วงแรกที่เข้าไปซื้อรู้ดีว่าเป็นพื้นที่ก้ำกึ่ง แต่ได้ดำเนินการอย่างถูกต้องตามขั้นตอน ได้จ่ายเงินให้แก่ชาวบ้านเพื่อขอใช้พื้นที่ เพราะไม่ได้เป็นเจ้าของสิทธิ์ ผู้ถือสิทธิ์ที่ดินยังมีอยู่ และตนได้เข้าไปทำประโยชน์อย่างต่อเนื่อง ปลูกต้นไม้ ทำเกษตรกรรม

ตอนรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์เแสดงหลักฐานที่มาของที่ดินดังกล่าวว่าต่อ ป.ป.ช.ด้วย

ทั้งนี้ ในสัญญาการซื้อขายระบุว่าที่ดินแปลงนี้เดิมเป็นของนายเบ้า สินนอก วันที่ 4 สิงหาคม 2538 นายเบ้าได้ขายให้นายนพดล พิทักษ์วานิชย์ ในราคา 700,000 บาท

ในสัญญาการซื้อขายข้อที่ 1 ระบุว่า "ผู้ขายได้ขายที่ดินซึ่งตั้งอยู่หน่วยที่ 3 ภ.บ.ท.5 หมู่ 6 ต.คลองไผ่ เป็นจำนวนเนื้อที่ดิน 21 ไร่เศษ มีอาณาเขตดังนี้ ทิศเหนือจดนายสวัสดิ ท้าวธงไชย ทิศใต้จดนายพจวัติ ผลพูล ทิศตะวันออกจดถนน ทิศตะวันตกจดริมหน้าผา โดยมีเอกสารคือ ภ.บ.ท.5 และใบเสร็จรับเงินปี 2533 ถึงปี 2538 ผู้ขายได้รับชำระ
ราคาดังกล่าวแล้วจากผู้ซื้อตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2538

ข้อความตามสัญญาข้อที่ 3 ระบุว่า "ข้าพเจ้ารับรองว่าที่แปลงนี้เป็นของข้าพเจ้าจริง และจะดำเนินการเปลี่ยน ภ.บ.ท.5 ให้เป็นชื่อของผู้ซื้อภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันทำสัญญานี้"

ต่อมาวันที่ 31 มีนาคม 2540 นายนพดล พิทักษ์วานิชย์ ได้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินแปลงนี้ให้แก่ พ.อ.สุรฤทธิ์ จันทราทิพย์ เป็นจำนวนเงิน 50,000 บาท

วันที่ 12 พฤศจิกายน 2545 พ.อ.สุรฤทธิ์ ได้ยื่นแบบแสดงรายการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินหรืออัตราภาษีสำหรับที่ดินเปลี่ยนแปลง ที่ อบต.คลองไผ่ ในเอกสารได้ระบุว่า
"บัดนี้ข้าพเจ้าได้ขายที่ดินดังกล่าวให้พันเอกหญิงคุณหญิง จิตรวดี จุลานนท์ เลขที่ 80 หมู่ 7 ต.ศีรษะจรเข้น้อย กิ่ง อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2545 จึงขอได้โปรดเปลี่ยนแปลงซื้อเจ้าของที่ดินดังกล่าวด้วย"

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2545 มีเอกสารบันทึกของนายอุทัย สังข์จันทึก ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 6 เขายายเที่ยงเหนือ ในฐานะเจ้าพนักงานสำรวจตามพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 ฉบับที่ 2) พ.ศ.2509 ได้ดำเนินการสำรวจที่ดิน ภ.บ.ท.5 ที่ดินตั้งอยู่หน่วยที่ 6 เลขสำรวจ 177 หมู่ที่ 6 ต.คลองไผ่ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นที่ดินของ พ.อ.หญิงคุณหญิงจิตรวดี จุลานนท์ โดยแจ้งการสำรวจใหม่เนื่องจากเปลี่ยนแปลงรายชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เนื่องจากเจ้าของที่ดินเดิมยกให้

โดยระบุว่า ทิศเหนือจดนางปทุมวรรณ พงศ์สร้อยเพชร ทิศใต้จดนายปรุง สินนอก ทิศตะวันออกจดทางสาธารณะ ทิศตะวันตกจดหน้าผา

วันเดียวกัน (11 พฤศจิกายน 2545) พ.อ.หญิงคุณหญิงจิตรวดี จุลานนท์

ได้ทำบันทึกเรื่องคำรับรองการเปลี่ยนแปลงจำนวนเนื้อที่ดิน ถึงเจ้าพนักงานประเมิน องค์การบริหารส่วนตำบลคลองไผ่ ระบุว่าที่ดินแปลงดังกล่าว

เป็นของ "ผู้ให้คำรับรอง" (พ.อ.หญิงคุณหญิงจิตรวดี) จริง

ในข้อ 2.1 ระบุว่า ผู้ให้คำรับรองขอรับรองว่า ที่ดินแปลงดังกล่าว "ผู้ให้คำรับรอง" มิได้บุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ
2.2 ระบุว่า มิได้บุกรุกที่ดินที่ทางการสงวนไว้
2.3 ระบุว่า มิได้บุกรุกที่ดินสาธารณประโยชน์ที่ราษฎรทำกิน

ตอนท้ายของบันทึกระบุว่า ถ้อยคำที่ได้ให้ไว้ข้างต้นเป็นความจริงทุกประการ

------------------------------------------------------------------------

"พระเบ้า"เปิดตัว-ขายที่เขายายเที่ยง 600,000.00 "

นสพ.ข่าวสด









เมื่อวันที่ 12 ม.ค. ผู้สื่อข่าวเดินทางไปยังวัดหลวงราชบำรุง ต.วังน้ำเขียว อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา เพื่อพบหลวงพ่อเบ้า อัคคจิตโต อายุ 73 ปี เลขานุการเจ้าคณะตำบลระเริง อ.วังน้ำเขียว เพื่อสอบถามข้อเท็จจริงหลังจากพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ระบุเป็นผู้ขายที่ดินเขายายเที่ยง ให้ใช้สร้างบ้านพักเมื่อสิบกว่าปีที่ผ่านมา พระเบ้าเปิดเผยว่า เดิมเข้าไปอาศัยอยู่ที่ดินดังกล่าวเมื่อปี 2517 พร้อมกับชาวบ้านเขายายเที่ยงอีกนับร้อยครอบครัวทำกินกับครอบครัวด้วยการปลูกมันสำปะหลังและข้าวโพด เดิมสภาพที่ดินเป็นที่โล่งเตียน มีป่าหญ้าคาขึ้นเต็ม และมีร่องรอยการตัดไม้ มีตอไม้โผล่อยู่จำนวนมาก ต่อมานายศักดาชัย ทองนาค เจ้าหน้าที่ป่าไม้และทางอำเภอสีคิ้ว เข้ามาจัดสรรที่ดินดังกล่าวให้ชาวบ้านใช้เป็นที่ทำกินอย่างถูกต้องตามกฎหมายคนละ 14 ไร่ และจัดสรรที่ดินอีก 2 งาน ให้ใช้เป็นที่ปลูกบ้านพักอาศัย โดยออกใบภบท.5 หรือใบเสียภาษีบำรุงท้องที่ให้ทุกครอบครัว โดยได้เสียภาษีไร่ละ 3.50 บาทต่อปี

พระเบ้ากล่าวว่า ปีพ.ศ.2536 มีหลายคนมาติดต่อซื้อที่ดินผืนดังกล่าว บางคนก็ให้ราคา 4 แสนบาท บางคนก็ให้ราคา 5 แสนบาท แต่มีรายหนึ่งชื่อนายนพดล ไม่ทราบนามสกุล เปิดบริษัทรับเหมาชื่อราชสีมา อยู่ใกล้กับวัดสามัคคี เขตเทศบาลนครนครราชสีมา มากับทหาร 2 คน มาขอซื้อที่ดินจำนวน 22 ไร่ เป็นเงิน 6 แสนบาทถ้วน เห็นว่าได้ราคาดีจึงยอมตอบตกลง จากนั้นกลุ่มนายนพดลก็พาเดินทางไปยังป่าไม้เขตนครราชสีมา โดยให้นั่งรออยู่ชั้นล่าง และวันต่อมาก็เซ็นเปลี่ยนชื่อในใบอะไรก็ไม่ทราบหลักฐานก็ไม่มี และไม่ได้เก็บไว้แต่อย่างใด ต่อมาจึงมีการนัดหมายจ่ายเงินกันทั้งหมด 6 แสนบาทที่ธนาคารกรุงเทพ สาขา อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา

พระเบ้ายอมรับว่า ตนทราบดีว่าทางราชการไม่ให้ซื้อขายที่ดินดังกล่าว ให้ใช้เพียงทำกิน แต่ขณะนั้นเดือดร้อนและครอบครัวต้องการใช้เงิน ก่อนหน้าจะขายที่ดินแปลงนั้น ได้ปลูกมะม่วงไว้ 500-600 ต้น ที่ดินแปลงที่ครอบครองมีใบภบท.5 หรือใบเสียภาษีบำรุงท้องที่ ซึ่งเสียภาษีไร่ละ 3.50 บาท/ปี อย่างถูกต้องตามกฎหมาย หลังจากขายก็ย้ายบ้านเรือนมาอยู่ที่บ้านสีดา ต.สีดา อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา หรือกิ่ง อ.สีดา ทุกวันนี้ ในปี 2543 ตนจึงได้บวชเป็นพระจนถึงปัจจุบัน ส่วนที่ดินผืนดังกล่าวใครจะนำไปทำอะไรตนไม่ทราบ และพึ่งมาทราบเรื่องที่พล.อ.สุรยุทธ์มาสร้างบ้านไว้บนที่ดินดังกล่าวก็เมื่อมีสื่อมวลชนและผู้คนพูดถึง ซึ่งก็ไม่ได้ปิดบังอะไร ใครอยากทราบก็เล่าให้ฟังได้หมด ซึ่งล้วนแต่เป็นเรื่องจริง

-----------------------------------------------------------------
















การถือครองป่าเขายายเที่ยง ของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
โดย ปรีชา สุวรรณทัต

1.ข้อเท็จจริงมีว่า ประมาณปี พ.ศ.2536-2537 นายเบ้า สินนอก ได้ขายที่ดินให้แก่ นายนพดล พิทักษ์วานิชย์ จำนวน 2 แปลง โดยแปลงแรกมีเนื้อที่ 14 ไร่ และแปลงที่ 2 เนื้อที่ 7 ไร่ 2 งาน เป็นพื้นที่ติดต่อกันโดยขายให้ในราคา 600,000 บาท ปี 2540 เปลี่ยนผู้ถือครองที่ดินเป็น พล.ต.สุรฤทธิ์ จันทราทิพย์ ต่อมาปี พ.ศ.2545 เปลี่ยนผู้ถือครองเป็น พ.อ.หญิงจิตราวดี จุลานนท์ และได้ยื่นเสียภาษีบำรุงท้องที่ ภทบ.5 ตลอดมา

ที่ดินดังกล่าวอยู่ในท้องที่หมู่ 6 ต.คลองไผ่ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา กรมป่าไม้ประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ ตามพระราชกฤษฎีกาเมื่อ พ.ศ.2507 ในปีที่ประกาศใช้ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 โดยครอบคลุมพื้นที่ป่าเขาเตียง เขาเขื่อนลั่น และเขายายเที่ยง และต่อมาในปี พ.ศ.2535 กรมป่าไม้ได้ทำการจำแนกประเภทของป่า เพื่อจัดที่ดินทำกินให้แก่ราษฎร กรมป่าไม้ได้จำแนกพื้นที่บริเวณดังกล่าวให้เป็นพื้นที่ป่าโซน C (โซนอนุรักษ์) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่สงวนใช้เป็นพื้นที่ป่าไม้ ไม่อนุญาตให้นำพื้นที่ป่าไม้ดังกล่าวไปจัดเป็นพื้นที่ทำกินแก่ราษฎร

2.เมื่อมีการกล่าวหาว่ามีการกระทำความผิดอาญาเกิดขึ้น ผู้เขียนจะต้องคิดถึงทฤษฎีของการแยกประเภทความผิดอาญาเพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยและเข้าใจปัญหาตามสภาพและพฤติการณ์ของการกระทำและผู้กระทำความผิดเสียก่อน ในกรณีนี้ได้แก่การแบ่งแยกประเภทความผิด ความแตกต่างในแง่ของกฎหมายตามภาษาละติน ออกเป็น 2 อย่าง คือ mala in se. delits naturels คือ "ความผิดในตัวเอง" และ mala prohibita, delits artificiels ou de temp et de lieu คือความผิดที่มีกฎหมายห้ามตามพฤติการณ์ และกาลเทศะ

mala คือความผิด ส่วน in se ก็ตรงกับคำว่า อินทรีย อินทรีย์ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2542 ได้ให้คำอธิบายว่า ร่างกายและจิตใจ เช่น สำรวมอินทรีย์ สติปัญญา ความรู้สึก อินทรียสังวร สำรวมอินทรีย์ 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้าย ในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรสถูกต้อง โผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ ความผิดที่เป็น mala in se จึงเป็นความผิดที่กระทำโดยเจตนา หรือมีเจตนาทุจริต ได้แก่กระทำโดยรู้สำนึก ในการที่กระทำมีอายตนะคือมีเครื่องรู้ และสิ่งที่รู้ว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด หรือมีเถยจิตเป็นโจร

ส่วนความผิดที่เป็น mala prohibita หมายถึง ความผิดนั้น ไม่ใช่ความผิดอาญาในตัวเอง แต่เป็นความผิดเพราะกฎหมายห้าม ซึ่งบางคนอาจไม่ทราบว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด เช่น คนต่างด้าวที่เพิ่งเข้ามาในราชอาณาจักร หรือคนที่อยู่ห่างไกล ไม่ทราบถึงกฎหมายที่ประกาศใช้ใหม่ เมื่อมีสภาพและพฤติการณ์ ทั้ง 2 ประการ แสดงว่าผู้กระทำความผิดอาจไม่รู้กฎหมายจริงๆ เพราะเป็นกฎหมายพิเศษ ที่บัญญัติความผิดขึ้นเฉพาะท้องถิ่น เฉพาะชั่วคราว จึงไม่ใช่ความผิด ในตัวเอง ดังเช่น ความผิดที่เป็น mala in se ที่ได้อธิบายมาแล้วข้างต้น

แต่ทั้งความผิดที่เป็น mala prohibita และ mala in se ก็ล้วนเป็นการกระทำที่เป็นความผิดเหมือนกัน เพียงแต่ต่างกันตรงที่ถ้าเป็น mala in se ก็ล้วนเป็นการกระทำที่เป็นความผิดเหมือนกัน เพียงแต่ต่างกันตรงที่ถ้าเป็น mala prohibita แล้ว ศาลอาจยอมให้พิสูจน์ว่าผู้กระทำความผิดอาจไม่รู้ว่ามีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด และศาลอาจลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายระบุไว้ในกฎหมายเท่าใดก็ได้ จะไม่ลดโทษให้ก็ได้ แต่ข้อสำคัญจะไม่ลงโทษเลยไม่ได้เพราะยังเป็นความผิดอาญาอยู่ เพียงแต่ไม่มี "เถยจิตเป็นโจร" เหมือน mala in se

กรณีของท่าน พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ในขณะนี้ ก็ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงและประกอบตามคำให้สัมภาษณ์ของท่านที่มีอยู่ 2 ตอนที่สำคัญดังนี้

"เรื่องนี้ผมยินดีที่จะให้ตรวจสอบ และอย่างที่เคยพูดไว้แล้วว่า ถ้ามีปัญหาก็ไม่มีอะไรมากมาย เราก็พร้อมที่จะคืน เพราะไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรมากมาย ถ้าผิดผมก็ยินดีที่จะไม่ใช้พื้นที่ ผมเรียนตรงๆ ไม่มีอะไรแอบแฝง ถ้าจะให้ผิดถึงกับว่าเป็นความผิดทางด้านการเมืองผมก็ยินดี เพราะผมไม่ได้มีอะไรยึดติดอยู่แล้ว ถ้าเห็นว่า ผมสมควรที่จะออก ผมก็พร้อม ไม่มีอะไรขัดข้องเลย" และอีกตอนหนึ่งที่สำคัญว่า "มันก็เป็นพื้นที่อย่างนี้อยู่แล้ว เราก็ทราบดีว่าเป็นพื้นที่ที่ "ก้ำกึ่ง" แต่ก็ได้ดำเนินการอย่างถูกต้องตามขั้นตอน คือได้จ่ายเงินให้กับชาวบ้านเพื่อไปขอใช้พื้นที่ เพราะเราไม่ได้เป็นเจ้าของสิทธิ ผู้ถือสิทธิที่ดินดังกล่าวก็ยังมีอยู่ และผมก็เข้าไปทำประโยชน์อย่างต่อเนื่อง คือเข้าไปปลูกต้นไม้ ปรับปรุงพื้นที่ ซึ่งแต่เดิมไม่ได้ทำอะไร เป็นเพียงทุ่งหญ้าคา ก็ได้เข้าไปทำเกษตรกรรมจนมีสภาพอย่างที่สื่อมวลชนได้เห็นในปัจจุบันว่า มีทั้งต้นไม้ และผลไม้ต่างๆ"

3.การไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติเป็นความผิด จึงต่างกับการไม่รู้ข้อเท็จจริง ถ้าไม่รู้ข้อเท็จจริงแล้ว สามารถแก้ตัวได้ เพราะเป็นการสำคัญผิดในข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด กฎหมายถือว่าไม่มีเจตนา จึงไม่เป็นความผิดอาญา ไม่ว่าจะเป็น mala prohibita หรือ mala in se การไม่รู้ข้อเท็จจริง อันเป็นองค์ประกอบของความผิด (ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรค 3) ที่ถือว่าผู้กระทำไม่มีเจตนาจึงไม่เป็นความผิดอาญาดังคำพิพากษาศาลฎีกาที่เป็นบรรทัดฐานดังนี้

ฎีกาที่ 1266/2515 ไม่รู้ว่าที่ดินที่ใดเป็นป่าสงวนไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507

ฎีกาที่ 2907 ถึง 2928/2517 เข้าใจว่าที่ดินที่จำเลย ไถ ทำนาเป็นที่ดินที่จำเลยมีสิทธิครอบครอง ไม่รู้ว่าเป็นพื้นที่สาธารณะ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 360

ฎีกาที่ 320/2515 ประกาศ กฎกระทรวง คำสั่ง ระเบียบ หรือข้อบังคับต่างๆ ที่ออกโดยฝ่ายบริหาร ไม่ถือว่าเป็นกฎหมาย การไม่รู้บทบัญญัติเหล่านี้ ต้องถือว่าเป็นการไม่รู้ข้อเท็จจริง เท่ากับไม่มีเจตนา (ฎีกาที่ 660/2492 และที่ 1347/2505) แต่ความเข้าใจผิด ที่อ้างว่าไม่รู้ข้อเท็จจริงนี้ จะต้องมีเหตุผลอันสมควรด้วย (resonable)

แต่คำรับของท่านพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่ว่า เราก็ทราบดีว่าเป็นพื้นที่ที่ "ก้ำกึ่ง" คำพูดนี้จึงเป็นการปิดปากไม่ให้ท่านเถียงและแก้ตัวว่าไม่รู้ข้อเท็จจริงว่าเป็นป่าสงวนตามพระราชกฤษฎีกา เมื่อ พ.ศ.2507

เพิ่มเติม: มาตรา 14 ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือ ครอบครองทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดิน ก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า ทำไม้ เก็บหาของป่าหรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพ ป่าสงวนแห่งชาติ เว้นแต่

(1) ทำไม้หรือเก็บหาของป่าตาม มาตรา 15 เข้าทำประโยชน์ หรืออยู่อาศัยตาม มาตรา 16 มาตรา 16ทวิ หรือ มาตรา 16ตรี กระทำการ ตาม มาตรา 17 ใช้ประโยชน์ตาม มาตรา 18 หรือกระทำการตาม มาตรา 19 หรือ มาตรา 20

(2) ทำไม้หวงห้ามหรือเก็บหาของป่าหวงห้ามตามกฎหมาย ว่าด้วยป่าไม้ มาตรา 14 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2528]


มาตรา 31 ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 14 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ หกเดือนถึงห้าปีและปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงห้าหมื่นบาท

ในกรณีความผิดตาม มาตรา นี้ ถ้าได้กระทำเป็นเนื้อที่เกินยี่สิบห้าไร่ หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่

(1) ไม้สัก ไม้ยาง ไม้สนเขา หรือไม้หวงห้ามประเภท ข. ตาม กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ หรือ

(2) ไม้อื่นเป็นต้นหรือเป็นท่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่าง รวมกันเกินยี่สิบต้น หรือท่อน หรือรวมปริมาตรไม้เกินสี่ลูกบาศก์เมตร หรือ

(3) ต้นน้ำลำธาร ผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปี และ ปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท

ในกรณีที่มีคำพิพากษาชี้ขาดว่าบุคคลใดกระทำความผิดตาม มาตรา นี้ ถ้าปรากฏว่าบุคคลนั้นได้ยึดถือครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ศาลมี อำนาจสั่งให้ผู้กระทำผิด คนงาน ผู้รับจ้าง ผู้แทน และบริวารของผู้กระทำผิด ออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติได้ด้วย

http://www.kodmhai.com/m4/m4-10/H28/H-28.html
---------------------------------------------------

โดดอุ้มนายกฯครอบครองที่ดินไม่ผิด

นาย อภิสิทธิ์กล่าวว่า ในสมัยรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ได้เสนอเรื่องการเจรจากลุ่มปัญหาต่างๆ เข้าใจว่าเป็นสมัชชาคนจนกับทางป่าไม้ มีเรื่องพื้นที่เขายายเที่ยงอยู่ด้วย โดยมีมติ ครม. เมื่อวันที่ 29 เม.ย.2540 แต่พอเปลี่ยนรัฐบาลเป็นรัฐบาลชวน หลีกภัย มีนายปองพล อดิเรกสาร เป็น รมว.เกษตรฯ ได้มีมติ ครม. วันที่ 10 มิ.ย. 2541 ยกเลิกมติของรัฐบาล พล.อ.ชวลิต พร้อมจำแนกว่าพื้นที่ป่าประเภทไหนจะต้องทำอย่างไร เพื่อสกัดกั้น ไม่ให้เกิดการบุกรุกป่าเพิ่มเติม และพื้นที่ที่มีราษฎรเข้าไปครอบครองอยู่ก่อนให้ครอบครองทำกินต่อไปได้ กรณีที่ดินเขายายเที่ยง ผู้ที่เข้ามาแจ้งว่าได้ครอบครองอยู่ก่อนคือนายเบ้า ปัจจุบันคือหลวงตาเบ้า ดังนั้น กรณีนี้น่าจะเข้าอยู่ในลักษณะของมติ ครม.นี้ ที่บอกชัดว่าที่ประเภทนี้ไม่ใช่เรื่องของการมีกรรมสิทธิ์ ดังนั้น ต้องไปดูว่าการดำเนินการในส่วนของการโอน การเปลี่ยนมือกันเป็นอย่างไร ต้องปฏิบัติให้เสมอภาคกัน ส่วนนายกฯจะมีความผิดหรือไม่ ต้องไปดูตามข้อเท็จจริง และดูเจตนาด้วยที่ดูแล้วคงไม่มีเจตนาบุกรุก เพราะมีการเปิดเผยตรงไปตรงมา สอดคล้องกับตัวตนที่สังคมรู้จัก พล.อ.สุรยุทธ์

------------------------------------------------------------------------------------

เดลินิวส์
วันที่ : 7 มกราคม 2550
เวลา : 16:37

คตส. โบ๊ยปัดสอบ ที่เขายายเที่ยง หวั่นเป็นเครื่องมือทางการเมือง

นาย สัก กอแสงเรือง โฆษกคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) กล่าวถึงกรณีที่พรรคไทยรักไทยเรียกร้องให้ คตส.เข้าไปตรวจสอบที่ดินเขายายเที่ยงของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ว่า คตส.มีวาระการทำงานเพียง 1 ปี ซึ่งเรื่องที่รับไว้พิจารณาในขณะนี้มีจำนวนมาก และเป็นโครงการที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ เป็นเงินหลายพันล้านบาท และไม่ได้ดำเนินการเฉพาะบุคคล ทั้งนี้ ประเด็นเรื่องที่ดินเขายายเที่ยง หากมีการเสนอมาก็ต้องดูที่เงื่อนไขและโอกาส และต้องดูว่าจะทำให้โครงการที่ คตส.รับมาตรวจสอบอยู่เดิมสะดุดหรือไม่ เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นจะยิ่งกลายเป็นผลเสีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่เป็นประเด็นทางการเมือง คตส.จะต้องยิ่งระวัง ไม่ตกเป็นเครื่องมือทางการเมืองของใคร ดังนั้น ควรจะให้หน่วยงานอื่น เช่นตำรวจ หรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ไปดำเนินการ.


------------------------------------------------------

ประวัติ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 24
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 1 ตุลาคม 2549 12:06 น.

เกิด - 28 สิงหาคม 2486 ที่จังหวัดเพชรบุรี เป็นบุตรของ พ.ท.พโยม จุลานนท์ กับนางอัมโภช จุลานนท์
สถานภาพ - สมรสกับ พ.อ.หญิง คุณหญิง จิตรวดี จุลานนท์ (สกุลเดิม "สันทัดเวช")
การศึกษา
ก่อนรับราชการ
- ร.ร.เซนต์ฟรังซิสซาเวียร์คอนแวนต์
- ร.ร.เซนต์คาเบียล
- ร.ร.สวนกุหลาบ
- ร.ร.เตรียมทหาร
- ร.ร.นายร้อย จปร. รุ่น 12 ปี 2508
เมื่อเข้ารับราชการแล้ว
- หลักสูตรชั้นนายร้อย เหล่าทหารราบ พ.ศ. 2509
- หลักสูตรส่งกำลังทางอากาศจู่โจม พ.ศ. 2509
- หลักสูตรชั้นนายพัน เหล่าทหารราบ สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2511
- หลักสูตรเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 52 พ.ศ. 2516
- หลักสูตรเสนาธิการทหารบก สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2517
- หลักสูตรการบริหารทรัพยากร กระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2517
- หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ. 2536
ประวัติการทำงาน
- ประจำศูนย์การทหารราบ พ.ศ. 2508
- ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองพันทหารราบที่ 1 กรมผสมที่ 31 พ.ศ. 2509
- ผู้บังคับชุดปฏิบัติการ กองร้อยรพิเศษ กองรบพิเศษ (พลร่ม)ที่2 พ.ศ. 2513
- ครูโรงเรียนสงครามพิเศษ ศูนย์สงครามพิเศษ พ.ศ. 2515
- ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 4 กรมผสมที่ 23 พ.ศ.2521
- ผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่ 1 กองพลรบพิเศษที่ 1 พ.ศ.2526
- ผู้บัญชาการกองรบพิเศษที่ 1 พ.ศ.2532
- ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ พ.ศ.2535
- แม่ทัพภาคที่ 2 พ.ศ.2537
- ที่ปรึกษาพิเศษ กองทัพบก พ.ศ. 2540
- ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก พ.ศ.2540
- ผู้บัญชาการทหารบก พ.ศ. 2541 - 2545
- ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พ.ศ.2545 -2546
ตำแหน่งพิเศษ
- ราชองค์รักษ์เวร พ.ศ. 2526
- นายทหารคนสนิท นายกรัฐมนตรี (พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์) พ.ศ. 2521-2531
- นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ พ.ศ. 2531
- สมาชิกวุฒิสภา ครั้งที่ 1 และ 2 พ.ศ. 2535 และ 2539
- ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2546
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกล้าหาญ
- เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 พ.ศ. 2517
- เหรียญกล้าหาญ รามาธิบดี (รามมาลา) พ.ศ. 2533
- มหาวชิรมงกุฏ พ.ศ. 2535
- มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก พ.ศ. 2538
- ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ พ.ศ. 2539
เกร็ดชีวิต
พ.ท.พโยม จุลานนท์ บิดาของพล.อ.สุรยุทธ์ เคยดำรงตำแหน่งระดับแกนนำของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
และเป็นที่รู้จักกันในนาม "สหายคำตัน" โดยได้หนีเข้าป่า ตั้งแต่ปี พ.ศ.2492
ขณะที่พล.อ.สุรยุทธ์ เพิ่งอายุได้แค่ 6 ขวบ และเรียนอยู่ชั้น ป.2 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
หลังจากพล.อ.สุรยุทธ์ รับราชการในยศร้อยตรี ในปี พ.ศ. 2508
ได้ไปศึกษาต่อหลักสูตรเสนาธิการทหารบกที่สหรัฐอเมริกา และทำงานในหน่วยรบต่อสู้กับคอมมิวนิสต์
ในขณะที่บิดาก็ยังเป็นแกนนำของพรรคคอมมิวนิสต์ในขณะนั้น
พลเอกสุรยุทธ์ เป็นผู้นิยมการเดินป่าชมธรรมชาติ เป็นประธานมูลนิธิพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
และเป็นที่ปรึกษาของเยาวชนกลุ่ม"รักษ์เขาใหญ่" ตั้งแต่ พ.ศ. 2535 ในชื่อ
"ลุงแอ๊ด" หลังจากเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2546 ได้อุปสมบท และออกธุดงค์ในภาคอีสาน

-----------------------------------------------------

จิตรวดี จุลานนท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์และท่านผู้หญิงจิตรวดี จุลานนท์

พันเอกหญิง ท่านผู้หญิงจิตรวดี (สันทัดเวช) จุลานนท์ (22 กุมภาพันธ์ 2492 - ) เป็นธิดาของ พล.ต.อุดม สันทัดเวช และนางสำอางค์โฉม สันทัดเวช

สมรสกับ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 24 ของประเทศไทย อดีตผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และองคมนตรี มีบุตรชาย 3 คน คือ ร้อยเอกนนท์ จุลานนท์, นายสันต์ จุลานนท์(ข้าว) และ นายจุล จุลานนท์(น้ำ)

พันเอกหญิง ท่านผู้หญิงจิตรวดี จุลานนท์ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ในพระราชพิธีวันฉัตรมงคล 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ให้ใช้คำนำหน้านามว่า "ท่านผู้หญิง"

[แก้] ประวัติการศึกษา

จบการศึกษาจากโรงเรียนเขมะสิริอนุสรรณ์ (ม.ศ. 3) และโรงเรียนอัมพรไพศาล (ม.ศ. 5) จากนั้นศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาจนสำเร็จการศึกษาหลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาอังกฤษ) จากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พ. อ.หญิง ท่านผู้หญิงจิตรวดี ได้ชื่อว่ามีความเชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี โดยระหว่างรับราชการ ยังได้เข้าร่วมรับการฝึกอบรม ในหลักสูตรภาษาอังกฤษหลายหลักสูตร อาทิ หลักสูตรครูสอนภาษาอังกฤษ หลักสูตรครูสอนภาษาอังกฤษ (ฟื้นฟู) หลักสูตรครูสอนภาษาอังกฤษ (ชั้นสูง) ประเทศสหรัฐอเมริกา หลักสูตร ASLPR ประเทศออสเตรเลีย หลักสูตรชั้นนายร้อย เหล่าสารบรรณ รุ่นที่ 4 และหลักสูตรชั้นนายพัน เหล่าสารบรรณ รุ่นที่ 10 no

[แก้] ประวัติการทำงาน

เริ่มต้นชีวิตการทำงานที่กองภาษา กรมยุทธศึกษาทหารบก โดยเป็นอาจารย์ผู้ช่วยในปี พ.ศ. 2516 ก่อนที่จะดำรงตำแหน่งอาจารย์ในปี พ.ศ. 2525 สอนภาษาอังกฤษให้กับทหารที่ได้รับทุนไปเรียนต่างประเทศ ตามระเบียบของกองทัพบก และเป็นหัวหน้าแผนก เข้ารับการติดยศพันเอกหญิง ในปี พ.ศ. 2534

ปี พ.ศ. 2541 - 2544 ดำรงตำแหน่ง นายกสมาคมแม่บ้านทหารบก เนื่องจาก พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ ผู้เป็นสามีได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารบก

และในปี พ.ศ. 2545 - 2546 รับตำแหน่ง นายกสมาคมแม่บ้านกองบัญชาการทหารสูงสุด เนื่องจาก พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ขึ้นดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารสูงสุด

นอก จากนี้ยังปฏิบัติภารกิจพิเศษ ช่วยราชการ กอ. รมน. ภาค 2 โดยถวายงานในการรับเสด็จ และตามเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ระหว่างทรงแปรพระราชฐานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อีกทั้งยังเป็นกรรมการและกำกับดูแล การประกวดผ้าไหมและกิจกรรมอื่นๆ ของโครงการศิลปาชีพ และโครงการพระราชดำริในพื้นที่ภาคอีสานอีกด้วย

http://th.wikipedia.org/wiki/จิตรวดี_จุลานนท์

------------------------------------------------------------