บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


18 มิถุนายน 2552

<<< กลยุทธ์ที่ล้ำลึก ต้องไม่ให้ข้าศึกรู้ ถึงเอาไปสู้แล้วได้ผล >>>

เพราะถ้าข้าศึกรู้
ก็อาจจะตายหมู่ได้
ยกตัวอย่างสงครามในอดีต
ถ้าแม่ทัพส่งทหาร 200 นาย
ไปดักซุ่มโจมตีข้าศึกที่นั่นนี่
แล้วข้าศึกรู้แผนการณ์นี้
ท่านว่าข้าศึกจะยังโง่เดินมาติดกับหรือ
เผลอๆ จะตลบหลัง
ด้วยการดักซุ่มโจมตีก่อน
นอกจากว่าต้องการหลอกล่อข้าศึก
ถึงบอกให้รู้
เช่น บอกว่าจะไปซ้ายแต่ไปขวา
บอกว่าไปขวาแต่ไปซ้าย
หรือบอกไปทางไหนไปทางนั้น
หรือไม่ไปสักทางหลอกให้ปั่นป่วน เป็นต้น

ดังนั้นการเผยแพร่กลยุทธ์ล้ำลึกอะไร
ตามเว็บไซด์ต่างๆ หรือตามที่สาธารณะที่ต่างๆ
เข้าใจว่าเป็นการหลอกล่อปั่นหัวกันเป็นส่วนใหญ่
หลอกกันไปหลอกกันมา
กลายเป็นหลอกพวกเดียวกันก็ยังมี
เพราะถ้าเผยแพร่ต่อที่สาธารณะ
ข้าศึกทุกระดับชั้นมีโอกาสรับรู้
แล้วเขาก็ต้องหาทางแก้เกมอยู่แล้ว
แต่ถ้าไม่ใช่ระดับล้ำลึกมากๆ
สามารถนำบอกกล่าว
เพื่อให้รับรู้ทุกฝ่ายได้
ชนิดว่าหงายไพ่เล่นกันได้เลย
อันนี้ก็น่าจะทำกันได้เต็มที่

บางครั้งบางคราว
คนส่งสารกับคนรับสาร
ต้องมีเซ้นส์เดียวกัน
ถึงจะเข้าใจกัน
ไม่เช่นนั้นอาจเข้าใจผิดกันได้ง่ายๆ
เพราะคนส่งสารก็ต้องระมัดระวังตัว
ไม่อาจอธิบายความได้ชัดเจนนัก
เพราะโดนเจ้าหน้าที่รัฐจับตาดูอยู่
คนรับสารถ้าฟังไม่เข้าใจ
แล้วเอาไปกระพือโหมโรงโจมตี
ก็อาจเกิดการมองหน้ากันไม่ติด
จากมิตรหรือกึ่งมิตร
ก็อาจกลายเป็นศัตรูได้
บางที่ต้องหนักแน่น
ทั้งคนส่งสารและคนรับสาร
เรื่องการเข้าใจผิดมีได้ตลอดเวลา
ต้องหนักแน่นอย่างเดียว
นอกจากนี้
ถ้าเข้าใจผิดหรือเข้าใจถูกก็ตาม
ไปโจมตีจนคนส่งสารไม่กล้าจะส่งสารกัน
อาจกลายเป็นคนรับสารกันหมดก็ได้
ดังนั้นสำนวนที่ว่า
"ความเห็นแตกต่าง แต่ไม่แตกแยก"
น่าจะนำมาใช้ได้ดีในกรณีนี้

"เห็นต่างได้เพื่อให้ไตร่ตรอง
เห็นพ้องกันหมดก็อดไตร่ตรอง"

โดย มาหาอะไร