บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


04 กรกฎาคม 2552

<<< ขั้นตอนการพระราชทานอภัยโทษ >>>

การพระราชทานอภัยโทษ
ความหมาย การพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์แก่ผู้ต้องโทษที่คดีถึงที่สุดแล้ว ให้ได้รับการปล่อยตัวหรือลดโทษแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพระรบรมราชวินิจฉัยของพระมหากษัตริย์ตามพระราชอำนาจที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 21 และมาตรา 225 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 7 อภัยโทษ เปลี่ยนโทษหนักเป็นเบาและลดโทษ มาตรา 259 ถึง มาตรา 267
ประเภทของการพระราชทานอภัยโทษ
1. การพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไป
2. การพระราชทานอภัยโทษเฉพาะราย
การพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไป
คือ การพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องราชทัณฑ์หรือผู้ต้องโทษ โดยการตราพระราชกฤษฎีกาตามการถวายคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีต่อพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา 261 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในกรณีนี้ ทางราชการจะดำเนินการให้แก่ผู้ต้องราชทัณฑ์ในทุกขั้นตอน โดยที่ผู้ต้องราชทัณฑ์มิต้องดำเนินการใด ๆ
การพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไป มักจะมีขึ้นในวโรกาสมหามงคลต่าง ๆ เกี่ยวกับสถานบันพระมหากษัตริย์ เช่น เนื่องในโอกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก รัชมังคลาภิเษก เป็นต้น
การพระราชทานอภัยโทษเฉพาะราย
คือ การพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องราชทัณฑ์หรือผู้ต้องโทษเป็นรายบุคคล โดยการทูลเกล้า ฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ ตามการถวายคำแนะนำของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ส่วนจะได้รับพระราชทานอภัยโทษหรือไม่เพียงใดขึ้นอยู่กับพระบรมราชวินิจฉัยขององค์พระมหากษัตริย์
ผู้มีสิทธิยื่นเรื่องทูลเกล้า ฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษเฉพาะราย ได้แก่
- ผู้ต้องโทษที่คดีถึงที่สุด
- ผู้ที่มีประโยชน์เกี่ยวข้อง อาทิเช่น บิดามารดา บุตร คู่สมรส
- สถานทูต (ในกรณีที่เป็นนักโทษชาวต่างประเทศ)
หมายเหตุ ทนายความไม่ถือว่าเป็นผู้ที่มีประโยชน์เกี่ยวข้อง
ระยะเวลาการยื่นฎีกาทูลเกล้า ฯ ขอพระราชทานอภัยโทษเฉพาะราย
1. ผู้ต้องโทษกรณีทั่วไป ยื่นได้ทันทีที่คดีถึงที่สุด
2. ผู้ต้องโทษประหารชีวิต ต้องยื่นภายใน 60 วัน นับแต่คดีถึงที่สุด
ขั้นตอนการขอพระราชทานอภัยโทษเฉพาะราย
ผู้ต้องโทษ (โทษประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน) ที่คดีถึงที่สุดแล้ว และผู้ที่มีประโยชน์เกี่ยวข้องสามารถยื่นเรื่องราวทูลเกล้าถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษผ่านเรือนจำ/ทัณฑสถาน หรือกระทรวงมหาดไทย หรือสำนักราชเลขาธิการ หรือกระทรวงการต่างประเทศ หรือสถานทูต หลังจากรับเรื่องแล้ว กรมราชทัณฑ์จะส่งไปสอบสวนเรื่องราวยังเรือนจำ/ทัณฑสถานที่ควบคุมผู้ต้องโทษ จากนั้นจะเสนอความเห็นให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ลงนาม เพื่อนำความขึ้นกราบบังคมทูล ฯ ผ่านสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และสำนักราชเลขาธิการ เมื่อทรงมีพระรบรมราชวินิจฉัยเช่นไร ก็จะส่งผลฎีกาดังกล่าวให้กรมราชทัณฑ์ทราบและดำเนินการพร้อมทั้งแจ้งผลให้ผู้ยื่นเรื่องราวทูลเกล้า ฯ ทราบ ตามแผนผังขั้นตอนการขอพระราชทานอภัยโทษนี้
แผนผังขั้นตอนการขอพระราชทานอภัยโทษเฉพาะราย

http://www.correct.go.th/popchan/อภัยโทษ.htm

----------------------------------------------------

"ผู้มีสิทธิยื่นเรื่องทูลเกล้า ฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษเฉพาะราย ได้แก่

- ผู้ต้องโทษที่คดีถึงที่สุด
- ผู้ที่มีประโยชน์เกี่ยวข้อง อาทิเช่น บิดามารดา บุตร คู่สมรส
- สถานทูต (ในกรณีที่เป็นนักโทษชาวต่างประเทศ)
หมายเหตุ ทนายความไม่ถือว่าเป็นผู้ที่มีประโยชน์เกี่ยวข้อง

ระยะเวลาการยื่นฎีกาทูลเกล้า ฯ ขอพระราชทานอภัยโทษเฉพาะราย

1. ผู้ต้องโทษกรณีทั่วไป ยื่นได้ทันทีที่คดีถึงที่สุด
2. ผู้ต้องโทษประหารชีวิต ต้องยื่นภายใน 60 วัน นับแต่คดีถึงที่สุด"


การยื่นครั้งนี้คงอาศัยข้อนี้
"- ผู้ที่มีประโยชน์เกี่ยวข้อง อาทิเช่น บิดามารดา บุตร คู่สมรส"

โดยอาศัยว่า
ประชาชนมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับนายกทักษิณ
และอยากให้กลับมาบริหารประเทศ
และคดีนี้สิ้นสุดแล้ว
เพราะตัดสินโดยศาลเดียว
โดยไม่ใช้สามศาลแบบศาลปกติ
จึงเข้าข้อนี้
"1. ผู้ต้องโทษกรณีทั่วไป ยื่นได้ทันทีที่คดีถึงที่สุด"

ซึ่งขอได้เฉพาะคดีที่สิ้นสุดแล้ว
ก็มีคดีที่ดินรัชดาเท่านั้น
คดีอื่นยังไม่สิ้นสุดเลยไม่ได้ขอ
อันนี้น่าจะตอบข้อสงสัยที่ว่า
ทำไมยื่นขอแค่คดีเดียว

และไม่มีตรงไหน
บอกให้แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
เพื่อเป็นหลักฐานไปด้วย
อีกทั้งคนเดียวก็ขอได้
1 ล้านคนก็ขอได้ทั้งนั้น
ถ้าล่าชื่อมาแล้วล้านรายชื่อ
แล้วมีปัญหาอย่างที่ว่า
ต้องมีสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
หรือนั่นนี่อะไร
ค่อยยื่นคนเดียวอีกทีก็ได้
เพราะไม่มีข้อบังคับว่า
ต้องใช้กี่คนยื่น
โดย มาหาอะไร