เหตุการณ์จลาจลที่เมืองกวางจู (ฮันกึล: 광주 민주화운동, ฮันจา: 光州民主化運動, อังกฤษ: Gwangju Democratization Movement) เกิดขึ้นที่เมืองกวางจู เมืองใหญ่อันดับที่ 5 ของเกาหลีใต้ ระหว่างวันที่ 18 พฤษภาคม ถึง 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) ขณะนั้นเกาหลีใต้อยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง ภายหลังการเสียชีวิตของประธานาธิบดี นายพลปาร์ก จุงฮี เนื่องจากถูกยิงโดยคิม แจเกียว หัวหน้าสำนักข่าวกรองของเกาหลี
นายพลชุน ดูฮวาน หัวหน้าหน่วยสืบราชการลับของกองทัพบก ได้ร่วมมือกับนายพลโรห์ แตวู แม่ทัพที่คุมกองกำลังด้านชายแดนเกาหลีเหนือ ยึดอำนาจเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) ทำให้ประชาชนทั่วประเทศก่อความเคลื่อนไหวคัดค้าน นายพลชุน ดูฮวาน และนายพลโรห์ แตวู ต้องสั่งการให้กองทัพใช้กำลังปราบปรามประชาชนอย่างเด็ดขาด ยกเว้นอยู่ที่เดียว คือที่เมืองกวางจู ที่นักศึกษาและประชาชนร่วมมือกันต้านทานกองทัพได้อย่างเข้มแข็ง
ชุน ดูฮวาน ประกาศใช้กฎอัยการศึกเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 และส่งกำลังทหารกว่า 100,000 นาย เข้าปิดล้อมกวางจู แต่ชาวเมืองรวมทั้งตำรวจ ร่วมกันต่อต้าน ทั้งสองฝ่ายเริ่มยิงต่อสู้กันเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม จนฝ่ายทหารเข้ายึดกวางจูได้เมื่อเวลา 4.00 น. ของวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 [1]
จากรายงานของรัฐบาล ระบุว่ามีผู้เสียชีวิตเป็นประชาชน 144 คน ทหาร 22 คน และตำรวจ 4 คน มีผู้บาดเจ็บเป็นประชาชน 127 คน ทหาร 109 คน ตำรวจ 144 คน [2] แต่จากรายงานของกลุ่มญาติผู้เสียชีวิต ระบุว่าประชาชนอย่างน้อย 165 คนเสียชีวิตระหว่างวันที่ 18 ถึง 27 พฤษภาคม มีผู้สูญหาย 65 คน สันนิษฐานว่าเสียชีวิตแล้ว [3]
ชุน ดูฮวาน ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี 2 สมัย ระหว่างปี พ.ศ. 2523 ถึง พ.ศ. 2531 ตามด้วยโรห์ แตวู ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอีก 2 สมัย ระหว่างปี พ.ศ. 2531 ถึง พ.ศ. 2536 จนกระทั่งถึงสมัยของประธานาธิบดีพลเรือน นายคิม ยังซัม ได้ประกาศนโยบายปฏิรูปการเมือง และปราบปรามการคอรัปชัน และนำคดียึดอำนาจการปกครอง และคดีสังหารประชาชนที่กวางจู ขึ้นสู่ศาลในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2539
ศาลอาญาประจำกรุงโซล มีคำตัดสินเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2539 ลงโทษประหารชีวิตนายพลชุน ดูฮวาน จำเลยที่หนึ่ง และจำคุกนายพลโรห์ แตวู จำเลยที่สอง 22 ปี 6 เดือน และจำคุกนายพลอื่นๆ อีก 13 คน [1]
[แก้] อ้างอิง
- ^ 1.0 1.1 ทวีป วรดิลก.คดีแห่งศตวรรษ (ตีพิมพ์เป็นตอนใน มติชนสุดสัปดาห์). กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2540. 216 หน้า. ISBN 974-7112-66-3
- ^ The Kwangju Popular Uprising and the May Movement
- ^ 1980: The Kwangju uprising | libcom.org
------------------------------------------------------------------------
อ่านประวัติ คิม แด จุง
เขียนโดย webmaster
วันจันทร์ที่ 09 พฤศจิกายน 2009 เวลา 10:21 น.
บนเส้นทางประชาธิปไตยแบบสันติวิธี
อ่านประวัติ คิม แด จุง อดีต ปธน.เกาหลีใต้ เจ้าของรางวัลโนเบลสันติภาพ ผู้ล่วงลับ
Wed, 2009-08-19 03:31
คิม แด จุง อดีตผู้นำเกาหลีใต้ซึ่งต่อสู้เพื่อสันติภาพระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้
สื่อท้องถิ่น ของเกาหลีรายงาน คำแถลงของนายลี ซังมัน โฆษกของโรงพยาบาลเยนเซ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ว่า อดีตประธานาธิบดีคิม แดจุง ถูกส่งตัวเข้ารักษาที่โรงพยาบาลด้วยอาการปอดบวมและโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตั้งแต่เมื่อปลายเดือนที่แล้ว และเสียชีวิตเมื่อเวลา 13.43 น. ของวันที่ 18 สิงหาคม 2552 ตามเวลาท้องถิ่น ถือเป็นอดีตผู้นำซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและ สิทธิมนุษยชน คนที่ 2 ที่เสียชีวิตลงในปีนี้ คนแรกคือ โนห์มูฮยอน ซึ่งเสียชีวิตด้วยการกระโดดจากหน้าผาปลิดชีวิตตนเองเนื่องจากความกดดันจาก การถูกดำเนินคดีข้อหาทุจริต
คิม แด จุง ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีระหว่างปี 2541-2546 เกิดเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2467 ที่เมืองซีนัน จังหวัดโจลลาใต้ เขาเกิดมาในครอบครัวที่ยากจน จบการศึกษาระดับมัธยมปลายด้านพานิชย์ จากจังหวัดโจลลาใต้ จากนั้นเริ่มกิจการขนส่งสินค้าทางเรือ และเป็นผู้บริหารหนังสือพิมพ์ ม็อกโปเดลี่ สมรส 2 ครั้ง มีบุตรชาย 3 คน
คิม แด จุง เริ่มทำงานการเมืองและต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย ตั้งแต่ปี 2506 (ค.ศ. 1963) โดยเขาได้รับการเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 6 สมัยตลอดช่วงเวลาที่เขาเป็นนักการเมืองอยู่ 46 ปี
ในระหว่างการ ทำงานการเมืองนั้น คิม แดจุง ต้องเผชิญกับการคุกคามอย่างร้ายแรงจากรัฐบาลเผด็จการทหารทั้งในสมัยของปัก จุง ฮี และทายาททางการเมืองของปัก จุง ฮี คือ ชูน ดู ฮวาน ซึ่งเขาถูกคุกคามที่หมายเอาชีวิตหลายครั้ง ทั้งการลักพาตัว ลอบสังหาร และต้องโทษประหารชีวิต
ในเดือน สิงหาคม2517 เขาถูกลักพาตัวจากโรงแรมในโตเกียวโดยการลักพาตัวครั้งนั้นมุ่งหมายเอาชีวิต แต่ก็รอดมาได้ด้วยการเข้าแทรกแซงจากสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น
ปี 2523 เขาถูกจับกุมด้วยกฎอัยการศึก ภายใต้คำสั่งของนายพลชุน ดู ฮวาน ซึ่งมุ่งเอาผิดเขาโทษฐานที่มีบทบาทในการเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยใน จังหวัดกวางจู ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม เหตุการณ์ 518 หรือ 18 พฤษภาคม 2523 ผลจากความผิดในฐานเรียกร้องประชาธิปไตย เขาถูกตัดสินประหารชีวิต แต่เนื่องจากการกดดันจากนานาชาติ โทษประหารชีวิตจึงเหลือเพียงจำคุกตลอดชีวิต และลดเหลือจำคุก 20 ปี ทว่าในปี 2525 โทษจำคุกก็ถูกระงับไว้เนื่องจากเขาได้ออกเดินทางไปยังสหรัฐและเริ่มต้น ดำเนินการเรียกร้องประชาธิปไตยอีกครั้ง
เขาลงชิง ตำแหน่งประธานาธิบดี 4 ครั้ง ครั้งแรกในปี 2514 พ่ายแพ้ต่อผู้นำเผด็จการปัก จุง ฮี และก็พ่ายแพ้ในการชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกในสองครั้งต่อมา คือปี 2530 และ 2535 ตามลำดับ
กระทั่งในปี 2540 เขาก็เอาชนะคู่แข่ง ได้สำเร็จ และกลายเป็นสิ่งที่ต้องบันทึกไว้ว่านับเป็นครั้งแรกที่พรรคซึ่งกุมบังเหียน รัฐบาลต้องกลายไปเป็นฝ่ายค้าน
ระหว่างที่ ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี คิม แด จุงได้ใช้ความเป็นผู้นำของเขานำพาประเทศให้ฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจ และยังทำงานอย่างหนักในการสร้างความสมานฉันท์ระหว่างประเทศเกาหลีเหนือ-ใต้
คิม แด จุง จับมือกับ คิม จอง อิล ผู้นำเกาหลีเหนือ ในการประชุมเกาหลีซัมมิทเมื่อปี 2543 ภาพจากwww.koreatimes.com
คิม แด จุง เป็นประธานาธิบดีที่ชาวเกาหลีถือว่าเป็นผู้นำการเมืองเกาหลีสู่ยุคสมัยใหม่ และมีบทบาทอย่างสำคัญยิ่งในการพัฒนาประชาธิปไตยและส่งเสริมการ สมานฉันท์และสิทธิมนุษยชน คิม แด จุง เป็นผู้นำเกาหลีใต้คนแรกที่จัดการประชุมร่วมกับ คิม จอง อิลผู้นำเกาหลีเหนือ และได้อุทิศตนให้กับการสมานฉันท์ระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ภายใต้นโยบายอาทิตย์ฉายแสง โดยมุ่งให้เกาหลีเป็นหนึ่งเดียว
หลังการ ประชุมเกาหลีซัมมิท ปี 2543 เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพด้วยผลงานการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและการ มุ่งหวังสร้างความสมานฉันท์ระหว่างประเทศเกาหลีเหนือและใต้ซึ่งเป็นผลงานที่ เขาได้กระทำมาตลอดชีวิต
http://www.prachatai.com/journal/2009/08/25508
เรื่อง ที่เกี่ยวข้อง:
อ่านฉบับเต็มจาก Ex-President Kim Dae-jung Passes Away08-18-2009 18:43
http://www.koreatimes.co.kr/www/news/nation/2009/08/116_50319.html
-------------------------------------------------------------
เมกกะของประชาธิปไตย
ความภาคภูมิใจของชาวเกาหลีใต้อย่างหนึ่งซึ่งกลายมาเป็นเอกลักษณ์ของชาติ ก็คือการต่อสู้เพื่ออิสรภาพและความยุติธรรม
ประวัติศาสตร์ร่วมของคนเกาหลีนั้นคือการต่อสู้เพื่อหลุดพ้นจากความยากลำบาก ทั้งในเรื่องเศรษฐกิจชีวิตความเป็นอยู่ ไปจนกระทั่งเรื่องทางการเมือง ผมจำได้ว่าในคราวที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจเอเชียในปี 2540 เกาหลีใต้เป็นหนึ่งในหลายประเทศที่ติดเชื้อโรค “ต้มยำกุ้ง” จากประเทศไทย จนอาการร่อแร่ด้วยโรค “กิมจิ” และต้องเปลี่ยนสถานะจากประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศไทย กลายเป็นผู้ขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ ต่อคิวสยามเมืองยิ้มของเราไปติดๆ
แต่จะเป็นเพราะเรามัวแต่ยิ้มหรืออย่างไรก็ไม่แน่ชัด เมื่อเทียบกับการตัดสินใจแก้ปัญหาของเกาหลีใต้ ซึ่งออกมาตรการสารพัดทั้งเร็วและแรง ทำให้ในที่สุดเกาหลีใต้กลับผ่านพ้นปัญหาหนักอกไปได้ก่อนไทย ทั้งๆ ที่ขนาดของปัญหานั้นใหญ่โตกว่าเรามาก เฉพาะเงินที่ขอรับความช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟก็มากกว่าเราหลายเท่า แต่ประเทศเขาก็ใช้คืนได้หมดก่อนกำหนดโดยผู้นำไม่ต้องคุยโตโอ้อวดในทางการ เมืองเหมือนประเทศด้อยพัฒนา (ทางการเมือง) บางประเทศ
ส่วนหนึ่งที่นักการเมืองเกาหลีไม่สามารถอ้าปากแอบอ้างบุญคุณว่าเป็นฝีมือของ ตนได้ น่าจะเป็นเพราะการฝ่าฟันปัญหาเศรษฐกิจจนผ่านพ้นไปได้มาจากความร่วมมือร่วม แรงร่วมใจของประชาชนชาวเกาหลีทุกภาคส่วน หรือกล่าวได้ว่าภาคประชาสังคมของเกาหลีใต้นั้นมีความเข้มแข็งเอามากๆ
ชาวเกาหลีไม่จำเป็นต้องรอให้มีพระสงฆ์องค์เจ้ามาเดินสายทอดผ้าป่าทองคำและ เงินดอลลาร์ แต่บ้านเกือบทุกหลังสมาชิกเกือบทุกครอบครัวต่างงัดเอาทองคำสมบัติส่วนตัวออก มาบริจาคให้รัฐบาลโดยไม่จำเป็นต้องให้รัฐร้องขอ
ในทางกลับกันรัฐบาลก็ใช้นโยบายไล่บี้เอาผิดกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นคนของรัฐหรือภาคธุรกิจเอกชน ตลอดจนทบทวนแนวทางเศรษฐกิจที่ปล่อยให้ธุรกิจผูกขาดเติบโตอย่างไร้ทิศทาง และนำมาสู่ความหละหลวมในการตรวจสอบและการทุจริตคอรัปชั่นระหว่างนักธุรกิจ กับข้าราชการที่ฝังรากลึกมานาน เกิดการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศขนานใหญ่ ในที่สุดเกาหลีใต้ก็กลับมายืนผงาดอยู่แนวหน้าอีกครั้งในฐานะประเทศที่มี พื้นฐานเศรษฐกิจแข็งแกร่งแห่งหนึ่งของโลก
ความเอาจริงเอาจัง ขยัน อดทน และความรู้สึกมีส่วนร่วมต่อชะตากรรมของบ้านเมือง เป็นทุนทางสังคมประเภทหนึ่งซึ่งมีค่าไม่ด้อยไปกว่าทุนในรูปตัวเงิน สังคมใดมีทุนประเภทนี้สะสมอยู่มาก ประชาชนก็ไม่จำเป็นต้องแบมือขอรอความเอื้ออาทรจากรัฐสักเท่าไร
ในแง่การต่อสู้ทางการเมือง คนหนุ่มสาวชาวเกาหลีมีบทบาทต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่นมาตั้งแต่ต้น คริสต์ศตวรรษที่ 20 ถึงจะถูกปราบปรามอย่างโหดร้ายเพียงใด แต่สิ่งที่หลงเหลืออยู่ในใจก็คือจิตสำนึกอันแรงกล้าในเรื่องเสรีภาพและความ ยุติธรรม กรณีเหตุการณ์ที่กวางจูปี 1980 ซึ่งผมเขียนถึงในครั้งที่แล้วก็เป็นรูปธรรมที่ชี้ให้เห็นคุณลักษณะข้อนี้ของ ชาวเกาหลีได้เป็นอย่างดี
ช่วงไม่กี่วันที่ผมมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการประชุม ผมได้ยินคนหนุ่มสาวไปจนถึงคนสูงอายุชาวเกาหลีพูดถึงเมืองกวางจูของเขาด้วย ความภาคภูมิใจว่า ที่นี่เปรียบเสมือน “เมกกะ” แห่งประชาธิปไตย
นั่นสิ ! คงจะจริงอย่างที่เขาว่า ถ้าเราเชื่อว่าประชาธิปไตยได้มาด้วยการต่อสู้ ไม่ใช่ได้มาด้วยการร้องขอ ชาวกวางจูได้สร้างประวัติศาสตร์อันสะเทือนใจและเป็นแรงบันดาลใจอย่างใหญ่ หลวงต่อคนเกาหลีทั้งมวลให้ลุกขึ้นสู้และท้าทายต่ออำนาจรัฐเผด็จการทหารตลอด ทศวรรษ 1980 โดยเฉพาะการต่อสู้ในเมืองใหญ่อย่างกรุงโซลและปูซานระหว่างปี 1980-1987 ทำให้ฐานความเข้มแข็งของเผด็จการทหารเกาหลีค่อยๆ ถูกกัดกร่อนบ่อนเซาะ และพังทลายล้มครืนลงไปในที่สุดในปลายทศวรรษ 1980
ในปี ค.ศ.1995 มีการนำตัวนายพลชุน ดูฮวาน และนายพลโร แตวู อดีตประธานาธิบดีที่ขึ้นครองอำนาจในยุคเผด็จการเบ็ดเสร็จและมีส่วนร่วม ก่อการสังหารหมู่ชาวเมืองกวางจู ขึ้นศาลในข้อหาคอรัปชั่นและก่ออาชญากรรมทางการเมืองกับประชาชน พร้อมกับนายทหารอีก 12 คน นับเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของพลังปฏิรูปประชาธิปไตยในเกาหลี อย่างไรก็ตาม หลังจากศาลพิจารณาลงโทษแล้ว ต่อมาไม่นานทุกคนก็ได้รับการลดหย่อนผ่อนโทษและอภัยโทษปล่อยตัวออกจากการคุม ขังโดยประธานาธิบดีคิม แดจุง ด้วยเหตุผลหลักคือต้องการสร้างความปรองดองภายในชาติ
ผู้ร่วมสัมมนาคนหนึ่งถามญาติวีรชนที่มาบอกเล่าถึงเหตุการณ์กวางจูเกี่ยวกับ การอภัยโทษบรรดานายพลเหล่านี้ ก็ได้รับคำตอบกลับมาด้วยอารมณ์ฉุนเฉียวว่า (อดีต)ประธานาธิบดีคิม แดจุง ไม่มีสิทธิปล่อยตัวฆาตกรเหล่านี้ ญาติๆ ผู้สูญเสียคนที่รักไปอย่างพวกเขาต่างหากที่มีสิทธิทำเช่นนั้นได้ และถ้าหากคิดจะปล่อยก็ควรจะต้องมาถามไถ่หรือขออนุญาตพวกเขาก่อน
แต่ความยุติธรรมในโลกเรามันก็เอียงๆ เหมือนลูกโลกกลมๆ ใบนี้นี่แหละ อย่างไรก็ดีเท่าที่ผมทราบจากปากของอาสาสมัครนักศึกษาที่นั่น พวกเขาบอกว่าบรรดานายพลเผด็จการที่ได้รับการปล่อยตัวไปนั้นต่างก็ไม่เคยออก มาให้สาธารณะพบปะเห็นหน้าค่าตา ไม่เคยเป็นข่าวเป็นคราวทางสื่อต่างๆ
พูดง่ายๆ ก็คือแม้จะพ้นจากการลงโทษทางกฎหมายไปแล้ว แต่บุคคลเหล่านี้ได้ถูกลงทัณฑ์ทางสังคมไปจวบจนตลอดชีวิต
ขณะที่สังคมการเมืองไทยกลับไม่เป็นเช่นนั้น เรายังคงเห็นข่าวการเลี้ยงรุ่นหรืออวยพรฉลองวันเกิดของนายพลทหารที่มีส่วนใน การสั่งปราบปรามสังหารประชาชนคนในชาติ ซึ่งยังอยู่ดีมีสุขเหมือนไม่ได้ทุกข์ร้อนใดๆ เผลอๆ บางทียังมีคอมเมนท์ทางการเมืองให้หนังสือพิมพ์บางฉบับไปลงข่าวเสียอีก ส่วนที่แก่เฒ่าจนละสังขารไปแล้วก็ยังได้รับความอาลัยอาดูรถึงกับอโหสิกรรม ให้เสียด้วยซ้ำ
ดังที่กล่าวไปแล้วว่าเหตุการณ์กวางจูได้รับการประเมินฐานะทางประวัติศาสตร์ ใหม่จากความพ่ายแพ้มาเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการที่นำไปสู่ชัยชนะของพลัง ฝ่ายประชาธิปไตยในเกาหลี เมืองกวางจูจึงได้รับการยกย่องให้เป็นเมืองแห่งประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยของ ชาติ เป็นเสมือนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นการที่ปัญญาชนและชาวเมืองกวางจูจะเรียกเมืองของเขาว่าเป็น “เมกกะของประชาธิปไตย” ก็สมเหตุสมผลในมุมมองของเขา และดูไม่ได้เกินเลยไปนักเมื่อเปรียบเทียบกับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยใน ประเทศอื่นในเอเชียที่การเรียนรู้และความตื่นตัวทางการเมืองของผู้คนยังอยู่ ในระดับต่ำกว่าเกาหลีใต้เอามากๆ
แต่เรา-ในฐานะคนประเทศอื่นที่มิใช่ชาวเกาหลี-จะเรียนรู้และใช้ประโยชน์จากเม กกะแห่งประชาธิปไตยนี้ได้อย่างไรในการส่งเสริมสร้างสรรค์ประชาธิปไตยใน ประเทศของตน เพื่อมิให้วลีนี้เป็นเพียงคำขวัญที่ลอยเท้งเต้งฟังดูเอาเท่เข้าว่า?
เป็นคำถามที่ผมโยนใส่ในที่ประชุม รวมถึงผู้ร่วมสัมมนาชาวเกาหลีทุกคน ซึ่งเจ้าภาพเองก็ไม่มีคำตอบ ได้แต่พยักหน้าหงึกๆ ยอมรับว่าจะต้องขบคิดกันอีกมาก
แต่อย่างน้อยที่สุด ความพยายามถ่ายทอดประสบการณ์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยด้วยการจัดสัมมนา ระดับนานาชาติอย่างเช่นที่พวกเขาทำอยู่เป็นประจำปี ก็เป็นหนทางหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงการลงมือทำเพื่อที่จะไปให้ไกลมากกว่าคำ ขวัญลอยๆ และต้องไม่ลืมว่าคนเกาหลีนั้นหากเขาจะลงมือทำเรื่องอะไรแล้ว เขาเอาจริงเอาจังกับมันมาก ผมจึงเชื่อว่าอีกไม่นานคำถามของผมจะมีคำตอบ
กว่าหนึ่งสัปดาห์ เรานั่งพูดคุยอยู่แต่ในห้องประชุม เสนอรายงาน ซักถาม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันภายในอาคารที่เรียกว่าอนุสรณ์สถาน 18 พฤษภา พื้นที่ส่วนหนึ่งของที่นี่ใช้เป็นสำนักงานของมูลนิธิอนุสรณ์สถาน 18 พฤษภา และอีกส่วนใช้เป็นสำนักงานของศาลาว่าการเมืองกวางจู เนื่องจากเป็นผู้ลงทุนออกเงินก่อสร้าง การใช้ประโยชน์ของอาคารจะเน้นหนักที่งานด้านวิชาการและศิลปวัฒนธรรม ชั้นล่างของอาคารเป็นห้องจัดแสดงนิทรศการหมุนเวียน ขนาดย่อมกว่าหอศิลป์จามจุรีเล็กน้อย ขณะที่พื้นที่รอบอาคารโอบล้อมไว้ด้วยต้นไม้ใหญ่น้อยเป็นเหมือนสวนป่ากลาง เมือง ช่วงที่ว่างจากการสัมมนา ผมมักใช้เวลาเดินเล่นรอบๆ เพราะสำหรับคนกรุงเทพฯ แล้ว นี่เป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ที่หลายคนฝันอยากจะมีอยู่ใกล้ๆ บ้าน คะเนว่าน่าจะสักครึ่งหนึ่งของสวนลุมพินีในบ้านเรา
ในบริเวณสวนสาธารณะนี้เอง มีอนุสาวรีย์รูปชายสามคนขนาดมหึมา แต่หน้าตาไม่ยักกะคล้ายคนเกาหลี ท่าทางกำลังประคองตัวกันกึ่งวิ่งกึ่งลากกันไป ตั้งอยู่บนเนินบันไดยกสูงจากระดับพื้นปกติ ภายในด้านล่างของตัวอนุสาวรีย์ทำเป็นห้องจัดแสดงนิทรรศการถาวร เมื่อเดินลงบันไดไปในห้อง ก็จะพบรูปปั้นผู้หญิงอุ้มเด็ก (คล้ายๆ หน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติของเรา) ตั้งตระหง่านอยู่ตรงกลาง ซึ่งคงจะสื่อความหมายถึงครอบครัวผู้สูญเสียเมื่อปี 1980 ผนังด้านหนึ่งเป็นลายปูนปั้นบอกเล่าเหตุการณ์กวางจู ส่วนผนังอีกด้านถูกแบ่งเป็นช่องๆ สลักชื่อผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ดูละลานตา
ผู้เข้าร่วมสัมมนาจาก 14 ประเทศวนเวียนอยู่กับสถานที่นี้จนชินและนึกเบื่อ กระทั่งถึงวันที่ 17 พฤษภาคม พวกเราทั้งหมดถึงมีโอกาสไปเยี่ยมชมสุสานของวีรชน 18 พฤษภา ซึ่งตั้งอยู่ชานเมืองไกลออกไป สุสานนี้มีขนาดกว้างใหญ่จนน่าตกใจ จุดเด่นแรกที่ปะทะสายตาพวกเราคืออนุสาวรีย์ขนาดยักษ์เป็นรูปมือที่ตัดทอน รายละเอียดแล้วกำลังโอบประคองวัตถุทรงกลมรีคล้ายไข่ ถามคนเกาหลีที่อยู่ใกล้ๆ เขาบอกว่าไข่เป็นสัญลักษณ์ของการให้กำเนิด ซึ่งในที่นี้หมายถึงกำเนิดประชาธิปไตยและเสรีภาพซึ่งเป็นสิ่งบอบบาง จำเป็นต้องได้รับการทะนุถนอมดูแล
สุสานแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นใหม่เมื่อ 7 ปีที่แล้ว ใกล้กับพื้นที่สุสานเดิมซึ่งฝังศพผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์เรียกร้อง ประชาธิปไตยมาตั้งแต่ปี 1980 แต่ไม่เคยได้รับการเหลียวแลหรือกระทั่งลืมเลือนไปนานกว่า 17 ปี
วีรชนผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์กวางจูจำนวน 325 ราย ถูกย้ายนำมาฝังรวมกัน ณ ที่แห่งนี้ แผ่นหินเหนือหลุมศพระบุชื่อและอายุของเหยื่อแต่ละคนอย่างเป็นระเบียบ เรียงรายเป็นทิวแถว วันที่เราไปถึงนั้นไม่มีฝน แต่ก็ไม่มีแดด ลมพัดแรงจนอากาศเย็นยะเยือก บรรยากาศดูเศร้าสร้อย เนื่องจากเป็นวันสุกดิบก่อนมีรัฐพิธีในวันรุ่งขึ้น บรรดาญาติผู้เสียชีวิตจึงมาทำพิธีของตนเองก่อน บ้างก็มาดูแลหาดอกไม้มาวางนำอาหารและผลไม้มาไหว้ก่อนวันงาน เสียงร้องไห้คร่ำครวญได้ยินอยู่ทั่วไป
สุสานวีรชน 18 พฤษภา เป็นสถานที่สำหรับจัดพิธีการอย่างน้อยก็ปีละครั้ง เพื่อรำลึกถึงผู้เสียสละชีวิตเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย เป็นงานใหญ่ระดับชาติที่สื่อมวลชนทุกแขนงให้ความสนใจ แม้แต่ประธานาธิบดีก็ต้องเดินทางมากล่าวสดุดีรำลึกที่นี่ในเช้าของวันที่ 18 พฤษภาคมของทุกปี
ครั้งหน้าผมจะเล่าถึงงานพิธีการและงานฉลองรำลึกเหตุการณ์กวางจู เพื่อให้สอดคล้องเข้ากับบรรยากาศในเมืองไทยที่กำลังจะมีพิธีการรำลึก เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 แล้วมาดูกันซิว่าสงครามความทรงจำทางการเมืองในบ้านเรากับบ้านเขามีความ เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
หมายเหตุ: ข้อเขียนชุด “10 วันในกวางจู” ตีพิมพ์เป็นตอนๆ ในคอลัมน์ Open Out ตั้งแต่โอเพ่นฉบับที่ 43 เนื่องในโอกาสที่ผู้เขียนได้เข้าร่วมการประชุมสัมมนา Gwangju International Peace Camp ระหว่างวันที่ 9-18 พฤษภาคม 2547 และมีประเด็นที่น่าเขียนถึงหลายเรื่อง โดยเฉพาะที่พอจะเทียบเคียงได้กับสิ่งที่เกิดขึ้นในเมืองไทย หวังว่าแฟนๆ โอเพ่นที่ชอบอ่านเรื่องราวในโลกกว้างและสนใจความคิดอ่านความเป็นไปของเพื่อน ร่วมโลกใบเดียวกันนี้ จะได้ประโยชน์จากสิ่งที่เก็บมาเล่าแบบหนักๆ บ้างตามสมควรนะครับ
http://www.onopen.com/node/3806
----------------------------------------------------------------
FfF