จากโจทย์สอบเข้ามหาวิทยาลัยล่าสุด
ที่มีลักษณะกำกวม ยากแก่การหาคำตอบ
จนสร้างความงุนงงให้กับเด็กนักเรียนที่เข้าสอบจำนวนมาก
ดังตัวอย่างโจทย์ต่อไปนี้
" ขวดน้ำ 1 ลิตร ใส่เมล็ดถั่วเขียวได้ประมาณกี่เมล็ด
1.) 222000
2.) 444000
3.) 555000
4.) 888000 "
จะเห็นได้ว่าจากโจทย์ไม่ให้ขนาดถั่วเขียวมา
ก็ยากที่จะหาคำตอบที่ถูกต้องจริงๆ ได้
เพราะถั่วเขียวแต่ละพันธุ์ขนาดไม่เท่ากัน
แต่อาจลองพยายามหาคำตอบ
ที่ใกล้เคียงกับคำตอบที่ให้มาได้
จากสูตร
1 ลิตร = 1,000 ลูกบาศก์เซ็นติเมตร
1 ลูกบาศก์เซ็นติเมตร = 1 cm x 1 cm x 1 cm
ลองไปหยิบไม้บรรทัดมาวัดความยาว 1 cm (เซ็นติเมตร) ดู
แล้วจินตนาการว่าถั่วเขียวขนาดปกติ
ที่เคยเห็นในท้องตลาด
ยัดเรียงเข้าไปด้านละ 1 เซ็นติเมตรได้กี่เม็ด
มากที่สุดผมว่าไม่มีทางเกิน 4 เม็ด
หรือขนาดใหญ่หน่อยก็ไม่เกิน 3 เม็ด
เผลอๆ แค่ 2 เม็ดกว่าๆ
ลองนำมาคำนวณหาคำตอบที่ใกล้เคียง
กรณี 1 cm ยัดถั่วเขียวได้ 4 เม็ด
ก็จะได้ 4 x 4 x 4 = 64 เม็ด คูณ 1,000 เพื่อให้เป็นลิตร
ก็ได้แค่ 64,000 เม็ด เต็มที่แบบเว่อร์ๆ
กรณี 1 cm ยัดถั่วเขียวได้ 3 เม็ด
ก็จะได้ 3 x 3 x 3 = 27 เม็ด คูณ 1,000 เพื่อให้เป็นลิตร
ก็ได้แค่ 27,000 เม็ด เต็มที่แบบเผื่อให้
กรณี 1 cm ยัดถั่วเขียวได้ 2.5 เม็ด
ก็จะได้ 2.5 x 2.5 x 2.5 = 15.625 เม็ด คูณ 1,000 เพื่อให้เป็นลิตร
ก็ได้แค่ 15,625 เม็ด เต็มที่แบบน่าจะเป็นไปได้มากที่สุด
ซึ่งทั้ง 3 กรณี ก็ยังมีจำนวนที่น้อยกว่าคำตอบที่ให้มา
ดังนั้นสรุปได้ว่าโจทย์ข้อนี้ไม่มีคำตอบที่ถูกต้อง
ไม่ต้องกาเลือกข้อใดๆ เลย
อาจออกข้อนี้มาเพื่อหลอกให้เด็กเสียเวลาคิดข้ออื่น
หรืออาจเช็คว่าเด็กมีความรู้และความมั่นใจ
มากน้อยเพียงใดได้เหมือนกัน
เพราะถ้าไม่มีคำตอบที่ถูกต้อง
แต่ดันไปกาเลือกข้อใดข้อหนึ่งด้วยความเคยชิน
ด้วยความว่ายังไงก้ต้องกาให้ได้ มั่วก็เอา
ทั้งๆ ที่ไม่มีข้อไหนถูก
หรือบางคนอาจไม่รู้คิดไม่ออกมั่วอย่างเดียว
ก็จะรู้กันได้ในข้อนี้เหมือนกัน
จะว่าไปแล้วผมเคยเจอโจทย์เด็ก ป.3
ลักษณะคล้ายๆ กับโจทย์แนวๆ นี้
คือเขาจะให้เด็กทำแบบฝึกหัด 10 ข้อในแต่ละเรื่องที่เรียนจบ
มีอยู่เรื่องหนึ่งไม่มีคำตอบที่ถูกต้อง
แต่น้องสาวผมซึ่งช่วยทำการบ้านให้น้องชายตัวเล็ก
ก็มั่วเลือกข้อใดข้อหนึ่งแล้วช่วงนั้นพอดีผมกลับไปเยี่ยมบ้าน
น้องสาวลองเอามาให้ผมดูว่าข้อนี้ทำถูกไหม
ผมคิดเท่าไหร่ก็หาคำตอบที่ถูกไม่เจอจริงๆ
ถ้าเป็นสมัยเด็กๆ ตอนเรียนอยู่
ผมก็คงมั่วกาข้อใดข้อหนึ่งไปแล้ว
พอดีมาเอ๊ะใจเห็นข้อความเล็กๆ ใต้หน้าแบบฝึกหัดชุดนั้น
ประมาณว่าต้องทำให้ได้ 70% หรือ 80% ถึงจะผ่านการทดสอบ
พอดีจำจำนวนเปอร์เซ็นต์ไม่ได้ชัวร์ๆ สมมุติเป็น 80% ก็แล้วกัน
มี 10 ข้อผมลองเช็คข้ออื่นๆ พบว่าทำถูกต้องแน่ๆ 9 ข้อหรือ 90%
มันผ่านอยู่แล้วนี่หว่า เลยบอกไปว่าข้อนี้เว้นไว้ไม่ต้องทำ
เพราะมันไม่มีคำตอบที่ถูกต้อง และดูแล้วมันผ่านเกณฑ์ที่เขาตั้งไว้แล้ว
ไม่จำเป็นต้องดิ้นรนไปมั่วให้ครบ
เผลอๆ ไปเจอประเภททำผิดให้คะแนนติดลบจะยุ่งอีก
แต่พอมาเจอโจทย์วันนี้อีก
ผมมานั่งคิดดูอีกที ผมว่าเขาต้องการทดสอบความมั่นใจ
และความรู้เด็กจริงๆ เหมือนกันว่า
รู้จริงแค่ไหน และมีความมั่นใจในตนเองแค่ไหน
เพราะถ้าคิดว่าหาคำตอบที่ถูกไม่ได้แล้วเว้นไว้ไม่ตอบ
แสดงว่ามีความมั่นใจ กล้าที่จะสวนกระแส
ไม่หลับหูหลับตากาเพื่อให้ได้ทำครบทุกข้อด้วยความเคยชิน
แต่เรื่องความมั่นใจผมว่าคงวัดไม่ได้มาก
เพราะบางคนอาจงงจนไม่กา ประเภทนี้น่าจะมีเยอะกว่าเพื่อน
คราวนี้จะลองโยงมาเรื่องการเมืองเพราะกำลังบ้าการเมือง อิอิ
ถ้าจะเปรียบเรื่องนี้กับการเมืองก็น่าจะเปรียบได้กับ
สนับสนุนให้มีการเลือกตั้งเพราะคิดว่าเป็นประชาธิปไตย
เพราะบางทีการเลือกตั้งครั้งนั้นๆ อาจอยู่ภายใต้กติกาโจร
ที่ไม่มีความเป็นธรรม กรรมการเลือกตั้งก็เอียงกะเท่เร่แบบเห็นๆ
จนมีการโกงเลือกตั้งกันอย่างโจ่งแจ้งแบบมีตัวอย่างมาแล้ว
แบบนี้ถ้าจะสนับสนุนให้เลือกตั้งก็ไม่ต่างอะไรกับ
เห็นว่ามันผิดอยู่แล้วยังไปร่วมสังฆกรรมในการทำผิดกับเขาไปด้วย
แทนที่จะร่วมกันเรียกร้องกติกาที่ดี มีกรรมการที่ยุติธรรมเสียก่อน
หรือแม้แต่เรื่องการปรองดองอะไร
ก็รู้ๆ อยู่แล้วทั้งพฤติกรรมที่ไล่ยิง ไล่ปิด ไล่ขัง
แล้วปากก็พ่นคำว่าปรองดองแบบไม่อายฟ้าอายดิน
แบบนี้จะให้ไปเลือกสิ่งที่ผิด คือการไปปรองดอง
กับพวกที่ใช้แผนการปรองดองมาล่อเพื่อให้เข้าทางเขาทำไม
<<< แผนปรองดอง ก็คือแผน ปล้นชีวิต ปล้นสิทธิ ปล้นอิสรภาพ >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2010/09/blog-post_13.html
แถมเรื่องนี้ยังพิสูจน์อุดมการณ์เรื่องประชาธิปไตยได้อีกด้วย
มันไม่ใช่เรื่องการเสียสละ แต่มันหมายถึงการยอมก้มหัวให้ฝ่ายเขา
ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้ประชาธิปไตยที่แท้จริง จริงๆ เลย
ประชาธิปไตยที่แท้จริงไม่ใช่แค่ให้ได้เลือกตั้งอย่างเดียว
ไม่ใช่แค่มีเสียงมากกว่า โหวตชนะก็เรียกว่าประชาธิปไตย
โดยไม่มีเรื่องเหตุผลมาเกี่ยวข้องด้วย
ไม่เช่นนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับพวกมากลากไป
และคนที่แพ้เขาก็ไม่ยอมจำนนเพราะไม่ได้แพ้เพราะเหตุผล
เหมือนคุณเที่ยวเสนอโหวตเรื่องนั้นเรื่องนี้
โดยพวกคุณมีทีมงานมากกว่าพวกอื่น
โหวตให้ผลออกมายังไงก็ได้ทั้งนั้น
แล้วคุณก็เน้นแต่จะให้ตัดสินกันด้วยการโหวตอย่างเดียว
พวกที่มีเสียงน้อยกว่าเขาไม่ยอมรับหรอก
เพราะเขาอาจคิดว่าเหตุผลเขาดีกว่า
แต่ถ้าคุณเปิดโอกาสให้ใส่กันได้อย่างเต็มที่
จะโต้แย้งจะทำอะไรยังไง เช่น หลอกล่ออะไรยังไง
แล้วนั่งดูเหตุผลว่าใครจะยอมจำนนก่อนกัน
มันดูไม่ยากหรอกครับ การยอมจำนนอาจดูว่าเรื่องนั้นๆ
ยังมีคนกล้ามาแย้งหรือไม่ แต่ก็ต้องยกเป็นเรื่องๆ ไปเพราะบางเรื่อง
เขาก็อาจขี้เกียจตอบก็ได้ แต่ถ้าเป็นเรื่องที่ระบุว่า
จะใช้โต้แย้งหาเหตุผลกันจริงจังว่าใครจะแพ้ชนะ
แบบนี้จะไม่มีข้ออ้างว่าขี้เกียจตอบอีก
ไม่ตอบก็คือแย้งต่อไม่ได้จบ
แต่บางคนอาจเถียงว่า บางคนประเภทหลับหูหลับตาแย้งก็มี
หรือพาออกนอกเรื่องก็มี หรืออาจมีการช่วยสร้างกระแสให้กัน
เพื่อโน้มน้าวให้คนอ่านตัดสินใจตามจำนวนคนที่เข้ามาเชียร์ก็มี
เหล่านี้ล้วนเป็นแท็คติคห้ามกันไม่ได้ ไม่ผิดกติกา
แต่เชื่อผมเหอะว่า การสู้ด้วยเหตุผล
1 คน สามารถสู้คนเป็นล้านๆ ได้อย่างสบายมากๆ
เผลอๆ คนเป็นล้านอาจต้องทำตาปริบๆ
ไม่รู้จะหาเหตุผลอะไรมาแย้งก็ได้
ถ้าคุณมีเหตุผลที่หยุดฝ่ายตรงข้ามได้จริงๆ
ยกเว้นเหตุผลอ่อน เถียงกันข้างๆ คูๆ
เน้นด่าดิสเครดิตกันไปมา มากกว่าเอาข้อเท็จจริงมาแย้งกัน
ถ้าเป็นลักษณะนี้ เถียงกันตายไปข้างหนึ่งก็ไม่จบ
ดังนั้นถ้าเจอลักษณะนี้ ต้องพยายามคิดว่า
เหตุผลของเรายังไม่รัดกุมพอที่จะหยุดฝ่ายตรงข้ามหรือไม่
เราก็ต้องพยายามหาเหตุผลที่รัดกุมกว่าแย้งกลับไป
อาจทำให้ฝ่ายตรงข้ามแย้งไม่ได้ พาลออกทะเลให้เห็นก็ได้
เรื่องเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องมาชี้ให้คนดูเห็น
เหมือนการทำฟาวล์ไม่ฟาวล์ในวงการกีฬา
นักกีฬาไม่จำเป็นต้องออกอาการฟ้องผู้ชมมาก
เพราะชาวบ้านที่ดู เขาดูก็ว่าฝ่ายนั้นฝ่ายนี้ทำผิดจริงๆ หรือไม่
แต่การตัดสินโดยใช้เหตุผลได้ดี
ชาวบ้านจะต้องเป็นคนมีเหตุผลมากๆ ถึงจะได้ผล
ไม่เช่นนั้นก็จบลงด้วยพวกมากลากไปเหมือนเดิม
และก็เกิดปัญหาไม่รู้จบเหมือนเดิม
จะเห็นได้ว่าการสู้ด้วยเหตุผลลงทุนน้อย เสี่ยงน้อย
แต่สู้กับคนได้จำนวนมหาศาลได้อย่างไม่รู้สึกเสียเปรียบ
ผิดกับการสู้โดยใช้กำลัง 1 คนสู้ได้เต็มที่
ถ้าไม่ใช่การ์ตูนหรือหนังผมให้ไม่เกิน 100 คนแบบเว่อร์ๆ
ไม่มีทางจะสู้คนเป็นแสนเป็นล้านได้เลย
แถมเสี่ยงมาก และยังต้องขึ้นอยู่กับเครื่องทุนแรงอีก
ถ้ามีเครื่องทุ่นแรงน้อยกว่าฝ่ายตรงข้าม
คนเดียวก็อาจสู้เขาไม่ได้ เช่น กรณีเขามีปืน เราไม่มี
แต่สู้ด้วยเหตุผล 1 คนยังสามารถสู้คนได้หลายร้อยหลายพันล้านคน
ถ้าคุณมีเหตุผลที่ดีกว่าคนเหล่านั้นจริงๆ
"ประสบการณ์และเหตุผล สามารถค้นวิธีแก้ปัญหาต่างๆ ได้ดี"
โดย มาหาอะไร
FfF
บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.