บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


30 พฤศจิกายน 2553

<<< ผู้จัดการสันดานเสมียน >>>

สำนวนที่ว่า "ผู้จัดการสันดานเสมียน"
แต่ก่อนผมยังงงๆ ว่ามันเป็นยังไง
แต่เห็นมาร์คบริหารประเทศแล้ว
เข้าใจแจ่มแจ้งเลย

แทนที่จะทำงานให้เหมาะสม
กับตำแหน่งผู้บริหารของตนเอง
เที่ยวไปแย่งงานผู้ปฏิบัติงานทำ
เพื่อสร้างภาพ
เช่น การไปกวาดพื้น
ดูเหมือนขยัน
แต่มองยังไงก็เป็นการสร้างภาพ
แถมยังสร้างภาพไม่ถูกอีก
เพราะจับไม้กวาดยังไม่ถูกเลย
เหมือนเกิดมาไม่เคยจับไม้กวาดเลย

การทำงานไม่สมกับตำแหน่งผู้บริหาร
องค์กรก็จะก้าวหน้าไม่เต็มที่ ไม่ได้ประโยชน์เต็มที่
อย่างที่คาดหวังจะได้จากการทำงานของผู้บริหาร



ลักษณะผู้บริหารที่ดี จะต้องคิดพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาให้องค์กรได้ดี
จะใช้ความคิดมากๆ ยิ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงเท่าไหร่
ก็จะต้องยิ่งคิดมากๆ ขึ้นเท่านั้น และลงมือทำน้อยลง
ในขณะที่ลักษณะผู้ปฏิบัติงานที่ดี จะเน้นลงมือทำมากกว่า
ถึงมีการแยกตำแหน่งออกเป็นผู้บริหารกับผู้ปฏิบัติงาน

เปรียบกับกีฬาฟุตบอล
ผู้บริหารก็คือโค้ช ผู้ปฏิบัติงานก็คือนักฟุตบอล
โค้ชไม่ต้องลงไปร่วมเล่นในสนาม
เพราะถ้าเป็นโค้ชด้วย ลงไปวิ่งไล่เตะฟุตบอลไปด้วย
แถมต้องสั่งคนนั้นคนนี้ทำนั่นทำนี่ไปด้วย มันจะมั่วกันใหญ่
และถ้าโค้ชลงไปร่วมเล่นฟุตบอลด้วย
โอกาสที่จะใช้ความคิดแก้ปัญหาก็น้อยลง
โอกาสที่จะเห็นภาพกว้างๆ ทั้งสนามก็น้อยลง
โอกาสที่จะเห็นจุดอ่อนจุดแข็งฝ่ายเขาฝ่ายเราก็น้อยลง
ก็จะทำให้การแก้เกม ไม่ต่างอะไรกับความคิดของนักเตะคนหนึ่ง
คือมองเห็นเฉพาะจุดที่ตนเองอยู่
ไม่ได้มองภาพรวมทั้งสนามหรือทั้งเกม

ดังนั้น ผู้บริหารที่ดี แค่มีความคิดมีเหตุมีผลแก้ไขปัญหาได้ดี
แล้วสั่งหรือบริหารให้ลูกน้องทำตามนโยบาย ที่คิดไว้
เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมก็พอแล้ว
เพราะตำแหน่งผู้บริหารคือการวางแผนสั่งการและควบคุม
ไม่จำเป็นต้องลงมือทำเองให้เสียเวลา เสียโอกาสขององค์กร
เพราะถ้าลงมือไปทำงานนั้นงานนี้เองที่หน่วยงานหนึ่ง
แล้วถ้าอีกหน่วยงานหนึ่งมีปัญหา ก็ต้องวิ่งรอกไปแก้ปัญหาเอง
ลองนึกสภาพว่าผู้บริหารจะมีอารมณ์
ไปคิดแก้ปัญหาหรือไปคิดสร้างสรรอะไรใหม่ๆ
การลงไปช่วยทำก็มีดีแค่เพิ่มอีกแรง
แต่สูญเสียสมองคิดสั่งการ
แก้ไขปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ไปเกือบหมด
แต่ถ้าผู้บริหารนั่งบัญชาการ อยู่กับที่
แล้ววิเคราะห์จากข่าวสารที่มาจากหน่วยงานต่างๆ
ตรงไหนร้องขอความช่วยเหลือมาก็ส่งทีมไปช่วย
หรือคิดแก้ปัญหาอะไรไป หรือส่งทีมไปเสริมตรงนั้นตรงนี้
หรือเร่งตรงนั้นตรงนี้ หน่วยงานไหนคนไม่พอก็หาคนมาเพิ่ม
แบบนี้น่าจะเรียกว่าการบริหารมากกว่า

ถ้าเปรียบกับการทำศึก
สมัยโบราณ อาจเห็น ผู้บริหารหรือแม่ทัพ
อยู่แนวหน้าพาทหารไปลุยสู้ด้วยกัน
แต่เมื่ออาวุธถูกพัฒนาให้ทันสมัยขึ้น
เช่นระเบิด ปืน ปืนใหญ่ จรวด รถถัง เครื่องบิน
ยิ่งอาวุธถูกพัฒนาดีขึ้นเท่าไหร่
ยิ่งตามหาตัวแม่ทัพยากขึ้นเท่านั้น
เพราะถ้าเห็นตัวง่ายๆ ก็จะจัดการง่ายๆ
ถ้าแม่ทัพตายก็ระส่ำทั้งกองทัพแล้ว
ดังนั้นในการทำศึกยุคใหม่
ภาพแม่ทัพอยู่แนวหน้าจะไม่มีให้เห็น
จะเป็นลักษณะแม่ทัพหลบอยู่ในสถานที่ปลอดภัยที่สุด
คอยบัญชาการเกมรบ และมีการพัฒนา
ระบบการติดต่อสื่อสารให้รวดเร็วแม่นยำยิ่งขึ้นตามไปด้วย

และก่อนออกรบหรือไปแข่งขันเกมใดๆ
ผู้บริหารจะต้องฝึกฝน แนะนำรูปแบบการรบ การทำเกม
เพื่อให้กำลังพลหรือนักแข่งทุกคนเข้าใจรูปแบบยุทธวิธีคร่าวๆ
เมื่อถึงวันแข่งขันหรือวันทำศึก แค่ส่งซิกไปให้ก็เข้าใจกันทันที

จะเห็นได้ว่า ผู้บริหารเปรียบเหมือนกับสมองของมนุษย์
และผู้ปฏิบัติการเป็นแขนขาของมนุษย์
สมองมีหน้าที่สั่งการให้แขนขาทำนั่นทำนี่
โดยที่สมองไม่ต้องไปลงมือทำเหมือนแขนขา
การเคลื่อนไหวดำเนินงานต่างๆ
จึงเป็นไปด้วยดีมีประสิทธิภาพสูงสุด
แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของแขนขา
และไอคิวของสมองด้วยว่าดีมากน้อยเพียงใด
ถ้าดีหมดก็มั่นใจได้ว่า การทำงานใดๆ
ก็มีโอกาสทำได้ดีมีประสิทธิภาพแน่ๆ
แต่ถ้ามีส่วนหนึ่งส่วนใดแย่
อาจส่งผลต่อการทำงานโดยรวมได้เหมือนกัน

โดย มาหาอะไร
FfF