บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


10 ธันวาคม 2553

<<< ข้อคิดจากการบอยคอตพม่า >>>

พม่าถูกนานาชาติบอยคอตมานานนับสิบกว่าปีเห็นจะได้
หลังจากล้มกระดานยึดอำนาจไม่ยอมรับผลเลือกตั้ง
ที่ ออง ซาน ซูจี ชนะ นานาชาติเริ่มคว่ำบาตรไม่ค้าขายกับพม่า
ปรากฏว่าสิบกว่าปีมานี้
ผู้มีอำนาจยังอยู่อย่างสุขสบาย มีกินมีใช้ไม่เดือดร้อนอะไร

แถมยังปกครองประเทศแบบสืบทอดอำนาจ กันมาได้เรื่อยๆ
แต่ประชาชนส่วนใหญ่ของพม่า ต่างหากที่มีความเป็นอยู่แร้นแค้น
จนต้องหนีมาขายแรงงานนอกประเทศ
โดยเฉพาะมาอยู่ประเทศไทยจำนวนมาก
คาดว่าน่าจะระดับหลายแสนคนและหลายคนมีการศึกษาสูง
ครั้งหนึ่งผมเคยไปเที่ยวระนอง ไปเยี่ยมพี่สาว
ที่เคยไปทำงานโรงงานปลาป่นอะไรแถวนั้น
ผมถึงได้รับรู้ว่า แรงงานพม่าบางคนเรียนจบหมอ
กำลังหาเงินไปยังประเทศที่ 3 คาดว่าน่าจะไปอเมริกา
ตอนแรกก็งงว่าทำไมเรียนจบหมอ
ยังดิ้นรนมาเป็นจับกัง ได้เงินเดือนไม่กี่บาท
ตอนหลังทราบว่าเงินเดือนหมอที่พม่าก็ไม่กี่บาทเหมือนกัน
เผลอๆ จะน้อยกว่าอาชีพจับกังในไทยอีก
ก็คล้ายๆ คนไทยไปอเมริกา
แล้วไปรับจ้างล้างจานในอมริกายุคเฟื่องฟูนั่นแหล่ะ
บางคนได้เงินจากค่าล้างจานเรียนจนจบ
ไม่ต้องพึ่งเงินอันน้อยนิดที่พ่อแม่ส่งไปให้ก็มี

และจากประสบการณ์ที่เคยไปเที่ยวพม่าเมื่อไม่นานมานี้
<<< แบกเป้ฉายเดี่ยวเที่ยวพม่า ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด >>>
http://chaowaritc.multiply.com/journal/item/9

ผมพบว่าคนรวยในพม่าก็มีแต่คนจนน่าจะเยอะกว่า
แต่คนทั่วไปก็ไม่ถึงกับอดตาย ก็อยู่กันได้ปกติ
คล้ายเราเหมือนฝรั่งที่ไม่รู้จักประเทศไทย
แล้วเข้าใจว่าประเทศไทยจนไม่มีจะกินทั้งประเทศนั่นแหล่ะ
คือคำว่าอยู่ได้ ก็คือพอไม่อดตาย
แต่จะมีบ้านดีๆ มีรถขับมีเครื่องใช้มากมาย คิดว่ามีเปอร์เซ็นต์น้อย
แต่พวกที่ชอบติดต่อค้าขายกับต่างชาติก็จะมีโอกาสที่ดีกว่า
และพบว่ามีตลาดมืดจำนวนมากค่อยรับแลกเลี่ยนเงินตรา
คนพม่าที่หวังไปต่างประเทศไม่ค่อยอยากถือเงินจ๊าต
แต่อยากถือเงินดอลล่าห์ถ้าเป็นไปได้
ไกด์เถื่อนที่พาเราเที่ยวเวลาเราให้เงินจ๊าต
เขาทำท่าผิดหวัง แล้วทำท่าจะฉีกแบงค์ทิ้ง
ทำนองเหมือนแบงค์ขยะไม่มีค่า เขาอยากได้เงินดอลล่าห์มากกว่า
สรุปว่าสภาพเศรษฐกิจทั่วไป ก็พออยู่ได้
แต่คนส่วนใหญ่ก็คงยากจนอยู่ ถนนก็ดีเฉพาะในเมือง
พอออกนอกเมืองก็แย่แล้ว
เรียกว่าคุณภาพชีวิตคนพม่ายังแย่กว่าคนไทยเยอะเลย

ผมมานั่งคิดว่า วิธีการบอยคอตพม่าของชาติตะวันตกมันได้ผลไหม
มันไม่ได้ทำให้พม่ามีโอกาสได้ประชาธิปไตยจริงๆ แน่ๆ
ล่าสุดที่ให้มีการเลือกตั้งก็ประชาธิปไตยแบบพม่าๆ คล้ายๆ แบบไทยๆ
แต่คนที่รับกรรมคือคนพม่าทั้งประเทศ ซึ่งเขาไม่มีความผิดอะไร
ที่มีนายทหารมายึดอำนาจแต่เขาต้องมารับกรรมได้รับผลกระทบ
จนคุณภาพชีวิตตกต่ำกว่าประเทศ เพื่อนบ้านแบบไทย
ทั้งๆ ที่ผู้มีอำนาจในไทยทำก็ไม่ต่างกันเลย
ในไทยมีรัฐประหารหลายครั้ง เผลอๆ มากกว่าพม่า
พม่าทำเมื่อสิบกว่าปีก่อนโดนนานาชาติบอยคอต
ไทยหลายสิบปีก่อนก็มี รสช. ไม่กี่ปีก่อนก็คมช.
กับไม่โดนอะไรเหมือนที่พม่าโดน
นี่ก็สองมาตรฐานระดับโลก

กรณี อองซาน ซูจี ก็ไม่ต่างอะไรกับทักษิณ
คดีที่ติดตัวก็หลังการยึดอำนาจ ทำตามธงเหมือนกันเด๊ะเลย
ถามว่าทำไมไทยไม่โดนบอยคอตแบบพม่า
ถ้าไม่ใช่เรื่องผลประโยชน์
เพราะ เรื่องปล้นประชาธิปไตยอะไรเหมือนกันเด๊ะ
แล้วยังงี้ก็ไม่ต่างอะไรกับไปกลั่นแกล้งประเทศพม่าอ่ะซิ
คนพม่ามีสิทธิ์ที่จะคิดแบบนี้ และต่อต้านชาติตะวันตก
แทนที่จะไปต่อต้านรัฐบาลทหาร
อันที่จริงการบอยคอตของชาติตะวันตก
ก็คงหวังให้คนพม่าลุกฮือมาล้มรัฐบาลทหาร
ซึ่งคนพม่าก็ลุกฮือเหมือนกันน่ะ
ก่อนมีเลือกตั้งที่พรรคของ ซูจีชนะ 80 กว่า% ไม่กี่ปี
มีการเรียกร้องประชาธิปไตย แล้วมีคนถูกยิงตายราว 3 พันคน
ส่วนครั้งหลังสุดรู้สึกจะมีพระสงฆ์โดนยิงตายด้วย
ชาติตะวันตกคงคิดว่ามือเปล่า สู้กับปืนสูสีหรือยังไงไม่รู้
แกล้งบอยคอตเพื่อให้ลุกฮือ พอเขาลุกฮือก็ไม่ให้อาวุธเขาไปสู้
จะอ้างว่าถ้าให้อาวุธไปสู้จะเป็นการแทรกแซงประเทศนั้น
แล้วการบอยคอตนี่ไม่แทรกแซงหรือยังไง
คือเลือกเส้นทางนี้แต่ช่วยไม่สุดทางก็เคว้งคว้างนับสิบปี

เมื่อเทียบกับอีกเส้นทางคือประเทศไทย
มีการทำรัฐประหารปล้นประชาธิปไตยเหมือนกัน
แต่ชาติตะวันตกพร้อมที่จะแกล้งโง่หลับตาทำเป็นมองไม่เห็น
ไม่ขึงขังคิดบอยคอตเหมือนที่ทำกับพม่า ก็เหมือนสองมาตรฐาน
แนวทางปล่อยให้มีประชาธิปไตยแบบไทยๆ
นึกจะรัฐประหารก็แค่กดดันให้มีการเลือกตั้ง แล้วก็หยวนๆ กันไป
ถึงประเทศไทยแม้จะเจริญช้ากว่าหลายประเทศในเอเชีย
แต่เมื่อเทียบกับพม่าไทยยังดีกว่ามาก
แล้วทำไมไม่ทำแบบนี้กับพม่า
เมื่อชาวบ้านมีความรู้มาก อยู่ในภาวะทุนนิยมมากๆ หรือมีทุนมากๆ
เดี๋ยวก็จะรับไม่ได้กับการรูปแบบการปกครองแบบเผด็จการ
เหมือนคนไม่ค่อยมีเงินก็จะห่วงเรื่องปากท้องของตนเองก่อน
แต่พอคนเริ่มมีเงินจะห่วงเรื่องสิทธิของตนเองมากกว่าแค่เรื่องปากท้อง

จะเห็นได้ว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว จะหารัฐบาลเผด็จการยากกว่าประเทศด้อยพัฒนา
ดังนั้นการบอยคอตทางเศรษฐกิจรังแต่ทำให้คนรากหญ้าประเทศนั้นๆ เดือดร้อน
มากกว่าพวกผู้มีอำนาจที่ยังไงก็ไม่เดือดร้อน ไม่ว่าจะฝนแล้งน้ำท่วมเศรษฐกิจไม่ดี
ผู้มีอำนาจในประเทศเผด็จการมักไม่เดือดร้อนอะไร แถมยังอยู่กันอย่างสุขสบายเหมือนเดิม
จึงเป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงจุด แถมยังผลักไสคนส่วนใหญ่
ที่ได้ผลกระทบจากการบอยคอตทางเศรษฐกิจ
ให้รังเกียจประเทศตะวันตกอีกด้วย จากผลเลือกตั้งพม่าล่าสุด
แม้มีข่าวโกงก็จริงแต่ชนะกันระดับ 80-90% มันเป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า
คนพม่าส่วนใหญ่ปรับตัวรับสภาพกับการบอยคอตทางเศรษฐกิจได้แล้ว
และยังเลือกพรรคพวกที่ไม่ใช่พรรคพวกที่ชาติตะวันตกสนับสนุน

จะเห็นผลของการทำอะไรแบบไม่คิด
ทำให้ผลักมวลชนออกห่างและประชาธิปไตยที่แท้จริงก็คงอีกยาวไกล
ตราบใดที่ผู้คนยังไม่มีจะกิน
คงไม่มีอารมณ์อยากลุกขึ้นมาเรียกร้องประชาธิปไตยอะไรมากนัก

จึงสรุปได้ว่า การบอยคอตทางเศรษฐกิจเสียมากกว่าได้
และไม่ใช่วิธีแก้ไขเพื่อให้ประเทศที่ยังด้อยพัฒนาด้านการเมือง
พัฒนาจนเป็นประเทศประชาธิปไตยไปได้

พูดถึงการบอยคอตสินค้าในไทย กรณีที่เคยทำสำเร็จคือบอยคอตสินค้าญี่ปุ่น
ซึ่งก็คือการบอยคอตสินค้าต่างชาติ ก็อาจกดดันให้เขาทำตามสิ่งที่อยากให้ทำได้
แต่การบอยคอตสินค้าคนไทยด้วยกันเอง เพียงแต่มีแนวคิดทางการเมืองต่างกัน
ที่ไปหนุนหลังพวกผู้มีอำนาจปล้นประชาธิปไตย
อันที่จริงบริษัทใหญ่ที่หนุนการเมืองจะมี 2 ประเภทคือ
หนุนเพื่อผลประโยชน์ของบริษัท
พวกนี้พรรคไหนได้เป็นรัฐบาลก็จะวิ่งเข้าหาหมด
หรือไม่ก็ยัดเงินทุนช่วยเลือกตั้งแทบทุกพรรค
แบบแทงกั๊กใครมาบริษัทเขาก็ไม่เสียอะไร
กับอีกพวกจำใจหนุนเพราะท่านขอมา
ซึ่งท่านนี่ก็มีหลายระดับ ไม่ให้ก็มีปัญหาในการทำธุรกิจ
พวกนี้ยอมจ่ายหรือยอมโดนไถด้วยความจำใจ
พวกแรกจะหนุนล้มทุกรัฐบาลที่ขัดผลประโยชน์ ทุกวิถีทางเหมือนกัน
หนุนรัฐประหาร หนุนซื้อตัว ซื้อเสียง ส.ส. ให้ย้ายข้าง
หรือทุกวิถีทางเพื่อล้มรัฐบาลที่ขัดผลประโยชน์ให้ได้
เดี๋ยวก็หนุนพรรคนั้นเดี๋ยวก็หนุนพรรคนี้เป็นครั้งๆ ไป
แต่แบบที่สองอาจจำใจหนุนเพื่อความมั่นคงทางธุรกิจ
เมื่อผู้มีอำนาจอยากได้ทุน ก็หนุนให้เต็มที่
แลกกลับผลประโยชน์ในภายหลัง
แต่ทั้งสองกรณีก็ไม่ต่างกัน
คือไม่ได้มีอุดมกงอุดมการณ์ทางการเมืองอะไรทั้งนั้น

ถ้าสนับสนุนการบอยคอตสินค้า
ยิ่งมากบริษัทก็ยิ่งจะมีผลกระทบกับรากหญ้าที่เป็นลูกจ้างมากขึ้นเท่านั้น
และจะเป็นการผลักมิตรที่น่าจะอยู่ข้างเราไปเป็นศัตรูเพิ่มมากขึ้น
คล้ายๆ กรณีพม่านั่นแหล่ะ

กรณีมีการรณรงค์บอยคอต มาม่า
แล้วรู้ได้ยังไงว่า ไวไว ยำยำ พวกนี้ไม่ได้หัวเหลือง
หรือสนับสนุนผู้มีอำนาจอยู่
แถมถ้าเจาะจง เฉพาะมาม่าหรือเครือสหพัฒน์
นายทุนหนุนพวกพันธมิตร ก็เหมือนกับไปร่วมมือกับ ปชป.
สกัดพวกพันธมิตรที่กำลังโจมตี ปชป.อยู่ตอนนี้
ทั้งๆ ที่ควรจะร่วมกันโจมตี ปชป. พร้อมกับพันธมิตร
จะถูกต้องตามหลักกลยุทธ์มากกว่า
ลองดูสามก๊กตอน โจโฉ แตกทัพหลายๆ รอบ
ทำไมขงเบ้ง ต้องมาจับมือกับก๊กที่มีจิ๋วยี่เป็นแม่ทัพ
เพื่อยันโจโฉ เพราะทัพโจโฉ ตอนนั้นแข็งแกร่งกว่า ทัพจิ๋วยี่

ไม่ต้องไปรวมกับเสื้อเหลือง ต่างคนต่างตี ไม่ตีกันเอง
ให้เสื้อฟ้าหัวร่อก็พอแล้ว ถ้าเสื้อแดงไปตีเสื้อเลือง
ปชป. จะเป็นผู้นั่งบนภู แล้วจะเป็นพระเอก
ในเมื่อทั้งแดงและเหลืองวุ่นวาย
คนส่วนใหญ่ที่เบื่อความวุ่นวาย จะไปหนุน ปชป.

ส่วนกรณีบอยคอตแบงค์
ไม่ใช่แค่แบงค์กรุงเทพที่มีภาพหนุนพวกผู้มีอำนาจ
4 แบงค์ใหญ่ไทยตอนนี้ล้วนมีภาพทั้งนั้นไม่มากก็น้อย
ไทยพาณิชย์ยังงี้ กสิกรไทยยังงี้
แม้แต่กรุงไทยก็เคยโฆษณาสื่อพันธมิตร
ไม่ต้องบอยคอตหมดหรือ
พนักงานอีกเป็นแสนๆ รวมกับบริษัทอื่นๆ ที่โดนบอยคอต
ทำไมคิดสร้างศัตรูเยอะขนาดนั้น

มันเหมือนเรือถ้าเราไปเจาะเรือที่พวกเขาอาศัยกันอยู่
ไม่ใช่แค่กัปตันแต่ลูกเรือจะจมน้ำหมด
ยังไงเขาก็เกลียดเสื้อแดงแน่ๆ สู้ไม่ให้เขาเกลียด
ยังพอมีคนที่รักความเป็นธรรมอีกมาก
ในพนักงานเหล่านั้นมาช่วยหนุนหรือเป็นกำลังใจให้
ก็ยังดีกว่าเกลียดแล้วเป็นศัตรู
แล้วไปหนุนฝ่ายตรงข้ามพวกเสื้อแดง

แถมถ้ารวมโฆษณาปัจจุบันไปด้วยนี่
ค่ายรถหลายค่ายเลยน่ะที่โฆษณาตามสื่อพวกนั้น
แนวทางบอยคอตสินค้า ก็จะยิ่งทำให้ตลาดเมืองไทยเล็กลงไปอีก
แบบแบ่งฝ่ายใครฝ่ายมัน ต้นทุนต่างๆ และผลประกอบการจะยิ่งแย่ลงไป
แล้วมันก็วนไปที่เรื่องการจัดเก็บภาษีได้น้อยลง
ต้องมารีดนั่นนี่เพิ่มสุดท้ายก็เดือดร้อนพวกที่ไปต่อต้านนั่นเอง

สรุปไม่ใช่แนวทางที่ดี นอกจากสะใจ
แถมยังไม่กล้าที่จะบอยคอตสินค้าข องพวกผู้มีอำนาจจริงๆ
แต่เล่นงานเฉพาะพวกที่กำลังหมดอำนาจ
โดยผู้มีอำนาจอาจยืมมือให้มาเล่นงานพวกนั้นก็ได้ทั้งนั้น
ผมสรุปให้คร่าวๆ เลยว่า ถ้าคิดจะบอยคอตสินค้าพวกผู้มีอำนาจ
ผมเชื่อว่าถ้าให้พวกสินค้าเหล่านั้นเลือกข้าง
เขาก็เลือกฝ่ายผู้มีอำนาจอยู่ดี
เพราะ ตอนนี้ยังกุมอำนาจได้อยู่
และสินค้าจำนวนมากก็เกี่ยวพันเป็นดอง
หรือเครือข่ายกับแก๊งส์ ผุ้มีอำนาจแทบทั้งนั้น
ถ้าจะแกะรอยกันจริงๆ
ผมว่าแทบจะทุกกลุ่มอุตสาหกรรมในประเทศนี้ก็ว่าได้
บริษัทใหญ่ๆ ทั้งหมด ล้วนโยงเข้าหาผู้มีอำนาจทั้งนั้น
เพราะเขาใหญ่ใครก็ต้องวิ่งเข้าหา เพื่อความสะดวกในการค้าขาย
ผมเคยเห็นโครงข่ายกลุ่มบริษัทที่ทุนผู้มีอำนาจไปถือไขว้ไปไขว้มา
บอกได้เลยว่าบอยคอตหมดก็คงต้องซื้อของต่างประเทศกันเป็นหลักแหล่ะ
เพราะโครงข่ายยั้วเยี้ยไปหมด

แนวทางที่น่าจะเป็นยามนี้ ควรยึดเพิ่มมวลชนเป็นหลัก
ทำอะไรก็แล้วแต่ หาผลดีผลเสียเกี่ยวกับมวลชนด้วย
ว่าทำแล้วดีไหมได้มวลชนเพิ่มไหม
ถ้าทำแล้วไม่เพิ่มแถมยังลดลงอีก
ผมว่าอยู่เฉยๆแล้วมวลชนไม่ลดลงน่าจะดีกว่าน่ะ

แนวทางชนะศึกนี้เล่นเหมือนหมากล้อม
เพิ่มมวลชนมากขึ้นมากขึ้นไม่จำเป็นต้องรีบร้อน
ไม่คิดบุกมุทะลุ ค่อยๆ ล้อมด้วยมวลชนไปเรื่อยๆ
การต่อต้านสามารถทำได้
แต่อย่าไปยุ่งกับความเป็นอยู่ปากท้องชาวบ้านเด็ดขาด
แค่ไม่สนใจใยดี ไม่ร่วมมือ แค่นี้ก็กระอักแล้วหล่ะ
แนวทางบนดินประกาศชัดๆ ไปเลยแบบเนี้ยะ
โอกาสชนะมีหลายแบบ ส่วนจะแบบไหนไม่ต้องไปสนใจ
ตบมือข้างเดียวไม่ดังขึ้นอยู่กับการโต้ตอบของฝ่ายตรงข้ามเป็นหลัก
ขอแค่มวลชนเยอะๆ และเยอะๆ เท่านั้น
อย่าใจร้อนนำมวลชนไปทำจนเสียมวลชนหรือแนวมร่วมก็พอ
ชนะแน่นอน

โดย มาหาอะไร
FfF