24 พฤษภาคม 2554

<<< โครงสร้างราคาน้ำมันที่ไม่เป็นธรรม นำมาซึ่งปัญหามากมาย >>>

โครงสร้างราคาน้ำมันที่ไม่เป็นธรรมในปัจจุบัน
มีการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ( OIL FUND )
แบบเลือกที่รักมักที่ชังไม่มีความเป็นธรรม
มีการปล่อยให้ผู้ค้าปลีกมีกำไรในน้ำมันแต่ละชนิด
หรือค่าการตลาด (MARKETING MARGIN)
แบบเลือกที่รักมักที่ชังไม่มีความเป็นธรรม
ตามข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 24 พ.ค. 2554 ดังต่อไปนี้

อัตราการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
( OIL FUND )
เบนซิน95 = 7.5 บาท/ลิตร
เบนซิน91 = 6.7 บาท/ลิตร
แก๊สโซฮอล95 E10 = 2.4 บาท/ลิตร
แก๊สโซฮอล95 E20 = -1.3 บาท/ลิตร (ไม่ต้องจ่ายแถมได้รับการชดเชย)
แก๊สโซฮอล95 E85 = -13.5 บาท/ลิตร (ไม่ต้องจ่ายแถมได้รับการชดเชย)
ดีเซล = 1.8 บาท/ลิตร ก๊าซ LPG = 1.2516 บาท/กิโลกรัม

อัตรากำไรของผู้ค้าปลีกหรือค่าการตลาด (MARKETING MARGIN)
เบนซิน95 = 6.3171 บาท/ลิตร
เบนซิน91 = 2.4995 บาท/ลิตร
แก๊สโซฮอล95 E10 = 2.2585 บาท/ลิตร
แก๊สโซฮอล95 E20 = 3.3330 บาท/ลิตร
แก๊สโซฮอล95 E85 = 8.8159 บาท/ลิตร
ดีเซล = 1.5661 บาท/ลิตร ก๊าซ LPG = 3.2566 บาท/กิโลกรัม

จากข้อมูลอัตราการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน
และอัตราค่าการตลาดด้านบนจะพบว่า
ผู้ใช้น้ำมันเบนซิน95 จะถูกเก็บทั้งกองทุนน้ำมัน 7.5 บาท/ลิตร
แถมโดนโขกกำไรจากผู้ค่าปลีกอีก 6.3171 บาท/ลิตร
ในขณะที่แก๊สโซฮอล 95 E85
ไม่ถูกเก็บเงินเข้ากองทุนเชื้อเพลิง
แถมยังได้ชดเชยอีก 13.5 บาท/ลิตร
หมายความว่าผู้ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E85
เติมน้ำมัน 1 ลิตร จะได้ส่วนลด 13.5 บาท
จากเงินที่ไปปล้นมาจากผู้ใช้น้ำมันประเภทอื่น
แต่ที่ไม่ถูกลงจนเหลือลิตรละ 10 กว่าบาท
ก็เพราะรัฐบาลนี้ปล่อยให้ผู้ค่าปลีกโขกกำไรมากมาย
ถึง 8.8159 บาท/ลิตร
เรียกว่ายิ่งใช้น้ำมันประเภทนี้มาก
ยิ่งไปขูดรีดหรือปล้นเงิน
จากกระเป๋าผู้ใช้น้ำมันประเภทอื่นมากขึ้น
แถมยังเอาเงินไปแจกเป็นกำไรผู้ค้าปลีกมากขึ้น
ทั้งๆ ที่คนที่จะใช้รถประเภทนี้
ต้องมีเงินไปซื้อรถใหม่ที่ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 ได้
ซึ่งยังมีราคาค่อนข้างแพงในตอนนี้
แต่คนที่ซื้อรถมานานแล้วและไม่ใช่รถรุ่นใหม่
จะใช้น้ำมันประเภทนี้ไม่ได้
จึงสรุปได้ว่าโครงสร้างราคาน้ำมันแบบนี้
เป็นการปล้นคนจนไปช่วยคนรวยก็ไม่ผิด
เพราะถ้าคนรวยจริงเดี๋ยวเขาก็มีปัญญาออกรถใหม่
ที่ใช้น้ำมันยี่ห้อนี้ได้อยู่แล้ว

นอกจากนี้การส่งเสริมให้น้ำมันแก๊สโซฮอลราคาถูก
จากการใช้วิธีปล้นน้ำมันแบบปกติ
เป็นวิธีสร้างปัญหาสินค้าราคาแพงตามมาด้วย
เพราะ เอทานอล ( Etanol ) ราคา 24.24 บาท/ลิตร
แพงกว่าราคาน้ำมันหน้าโรงงานทุกประเภท
ซึ่งเป็นเรื่องผิดปกติอีกเหมือนกัน
เพราะถ้ามันแพงกว่าราคาน้ำมันปกติ
จะดิ้นรนทำน้ำมันแก๊สโซฮอลออกมากทำไมกัน
นี่ก็ปล่อยให้โกร่งราคาเกินจริง
จนเกิดปัญหาสินค้าบางอย่างราคาแพงตามมา
เช่น ราคาน้ำตาล เป็นต้น
เพราะอ้อย เป็นวัตถุดิบหลักตัวหนึ่ง
ที่นิยมใช้ในการผลิตเอทานอล
นอกนั้นก็มีมันสำปะหลัง กากน้ำตาล
คลิกที่นี่เพื่ออ่านรายละเอียดเรื่อง อุตสาหกรรมเอทานอล เพิ่มเติม

การที่น้ำมันราคาแพง
นำมาซึ่งปัญหามากมาย
ทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น
ค่าแรงไม่พอใช้จ่าย
ปริมาณการค้าขายลดลง
การส่งออกสินค้าเกษตรมีปัญหา
ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมหดตัว
แถมช่องว่างระหว่างคนจนคนรวยก็ขยายตัวมากขึ้น
จากการใช้นโยบาย 2 สูงเพื่อแก้ปัญหา
โดยปล่อยให้สินค้าราคาแพงต่อไป
แล้วใช้วิธีขึ้นค่าแรงชดเชย
แต่คนที่ตกงานไม่ได้ประโยชน์จากค่าแรงแพง
แถมยังโดนค่าครองชีพที่สูงขึ้น
จากราคาข้าวของแพงแบบเต็มๆ
เมื่อค่าครองชีพสูงขึ้น
ยังไงก็มีปัญหาเรื่องการส่งออก
โดยเฉพาะสินค้าเกษตร
เพราะมันต้องแพงขึ้นโดยธรรมชาติ
เพราะราคาสินค้าในประเทศแพงขึ้น
ราคาส่งออกยังไงก็ต้องแพงตามอยู่ดี
ทำให้เกิดปัญหาเรื่องรายได้เข้าประเทศมากขึ้น
โดยเฉพาะสินค้าเกษตร
เมื่อส่งออกไม่ได้หรือได้น้อยลง
ผลที่ตามมาก็จะมากระทบกับเกษตรกรอยู่ดี

แทนที่จะเน้นแก้ปัญหาให้ตรงจุด
ด้วยการลดราคาน้ำมันลงมา
โดยยกเลิกการนำเงินเข้ากองทุน
ลดการเก็บภาษีน้ำมัน
และกดค่าการตลาดให้ไม่เกิน 2 บาท ต่อ ลิตร
ราคาน้ำมันทุกชนิดจะลดลงมา
เหลือแค่ ยี่สิบกว่าบาท
ซึ่งจะลดค่าครองชีพลงได้
ทำให้ข้าวของราคาไม่แพงตามมา
ทำให้คนหันไปใช้ก๊าซ LPG น้อยลง
ทำให้ ก๊าซชนิดนี้ไม่แพงขึ้นไปอีก
ซึ่งจะไปมีผลกระทบกับทุกครัวเรือน
เพราะใช้ก๊าซ LPG ในการทำอาหาร
ซึ่งจะแทบทุกครัวเรือนแล้วในสมัยนี้
ทำให้ไม่ต้องเน้นเพิ่มค่าแรงมากขึ้น
และถึงมีวิธีเพิ่มค่าแรงมากขึ้น
ทั้งรูปแบบเงินเดือนหรือรายวัน
ถ้าราคาน้ำมันราคาถูกลง
เงินก็จะไม่จมไปกับค่าน้ำมันทั้งทางตรงทางอ้อม
จากการที่สินค้าราคาแพง
ก็จะมีเงินเหลือไปซื้ออุปโภคบริโภคสินค้าอื่นมากขึ้น
รวมไปถึงการท่องเที่ยวทั้งภาคกลางคืน
และตามแหล่งที่ท่องเที่ยวต่างๆ ด้วย
การแก้ปัญหาด้วยการเพิ่มเงินเดือนแต่น้ำมันราคาแพง
ก็เหมือนไม่ได้เพิ่มอะไรแถมลดกำลังใจที่อยากจะใช้จ่ายลง
เหมือนรัฐโยนเงินมาให้แล้วรีบเก็บเงินนั้นเข้ารัฐแทบจะทันที
ยังไม่ได้นำไปหมุนซื้อขายหลายๆ ต่อเลย
เป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ได้ประโยชน์อะไร
ต่อเศรษฐกิจโดยรวม ได้แค่หาเสียงกันไปวันๆ มากกว่า

อีกอย่างอีก 5 ปีหลังจากนี้
โลกกำลังจะเปลี่ยนไปใช้รถพลังงานน้ำ
หรือพลังงานไฮโดเจนกันหมดแล้ว
ซึ่งระบบนี้ก็คือการใช้กระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่
ไปแยกสารไฮโดรเจน (H) ออกจากสารออกซิเจน (O)
เพราะน้ำมีส่วนประกอบทางเคมีคือ H2O
สารไฮโดรเจนที่ได้จะถูกส่งไปทางเดียวกับน้ำมัน
เพื่อไปจุดระเบิด เพราะสารไฮโดรเจนจุดระเบิดได้
จะเห็นได้ว่าอนาคตไม่ต้องใช้น้ำมันแล้ว
จะใช้น้ำแทน และการเปลี่ยนน้ำทะเลมาเป็นน้ำจืดและได้เกลือ
จะเป็นอุตสาหกรรมที่จะรุ่งในอีกหลายสิบปีนับจากนี้
เมื่อแนวโน้มในอนาคตกำลังไปใช้เทคโนโลยี่ไฮโดรเจนกันหมด
ซึ่งปัจจุบันมีชุดคิทอุปกรณ์แยกสารไฮโดรเจนขายแล้วด้วย
ต่อไปก็คงคิดใช้พลังงานไฮโดรเจนกันมากขึ้น
ดังนั้นการยังมีวิสัยทัศน์ เพื่อสนับสนุนการใช้แก๊สโซฮอลอยู่
ถึงขนาดอุดหนุนกันทุกอย่างจะสร้างปัญหาในอนาคต
เพราะเมื่อโลกเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยี่ไฮโดรเจนมากขึ้น
รถใช้น้ำมันก็กำลังถอยหลังเข้าพิพิธภัณฑ์กันหมด
อุตสาหกรรมน้ำมันกำลังจะถึงจุดจบในไม่ช้าไม่เกิน 20 ปี แน่นอน
นั่นหมายความว่าเกษตรกรที่หลงไปผลิตพืชเพื่อป้อนโรงงานเอทานอล
จะมีปัญหา ยิ่งรัฐหนุนใช้ E85 มากเท่าใด ถ้ามีคนหันมาใช้เยอะๆ
จะต้องเพิ่มพื่นที่การผลิตอ้อยและมันสำปะหลังอีก 5 เท่าเป็นอย่างต่ำในปัจจุบัน
จะหาที่ดินที่ไหนมาปลูกเพิ่ม นอกจากลดการปลูกข้าวบ้างนั่นนี่บ้าง
เพื่อแห่มาปลูกอ้อยและมันสำปะหลัง และถ้าอีก 5 ปีหลังจากนี้
อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อพืชเหล่านี้ล้นตลาด เพราะโลกหันหลังให้น้ำมันมากขึ้น
10 ปีจากนี้จะเริ่มเห็นรถพลังไฮโดรเจนวิ่งกันทั่วบ้านทั่วเมือง
ความพยายามรั้งเพื่อให้อุูตสาหกรรมรถยนต์ที่ใช้น้ำมันยังอยู่ได้ทุกรูปแบบ
ไม่ต่างอะไรกับความพยายามกู้เรือที่กำลังจะจม
แทนที่จะเน้นส่งเสริมพลังไฮโดรเจนตั้งแต่วันนี้
ชิงหน้าเปิดตัวอุตสาหกรรมรถยนต์
ทั้งซื้อสิทธิบัตรมีหลายที่ที่จะขายให้และส่งเสริมให้การผลิตให้ได้ก่อน
จะทำให้ไทยเป็นผู้นำด้านนี้แทนที่จะเป็นผู้ตามใช้ในอนาคตเช่นเคย
เหมือนที่เกาหลีใต้ประสบความสำเร็จเป็นผู้นำด้านอินเตอร์เน็ตไปแล้ว
โครงข่ายโทรคมนาคมของเกาหลีนำหน้าประเทศเจริญแทบทั้งหมดแล้ว
ดังนั้นประเทศนี้มีโอกาสเป็นผู้นำด้านนี้สูงมากตอนนี้นำไปแล้วด้านโครงข่าย
เหลือซอฟท์แวร์และธุรกรรมบนเน็ตซึ่งเกมออนไลน์ก็ขึ้นนำไปแล้ว
แค่วิสัยทัศน์ มองโลกให้ออก มองอนาคตให้เห็น
แล้วทุ่มเรียมตัวให้พร้อมก่อนจะถึงวันที่บูมที่จะมาถึง
ก็สามารถทำให้ประเทศก้าวหน้าได้แบบอยู่แถวหน้าด้านนั้น
ไม่ใช่ตามหลังเขาไปวันๆ รอผลิตอุตสาหกรรมตกรุ่น
ที่ประเทศที่เจริญแล้วส่งมาผลิตบ้านเราแทน
เพราะมันถูกลงจนเขาไม่คุ้มที่จะผลิตและกำลังจะตกยุค
สังเกตุทีวีดูก็ได้ ตอนนี้ใครยังขายทีวีที่จอไม่แบบ
เชยแหลกและราคาถูกมากๆ 20 นิ้วเหลือไม่กี่พันบาท
อีกหน่อยก็เข้าพิพิธภัณฑ์เหมือนทีวีขาวดำในอดีตนั่นแหล่ะ
และรถที่ใช้น้ำมันก็กำลังจะตามทีวีขาวดำในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
ดังนั้นไม่ต้องกลัวน้ำมันจะหมดโลกไปก่อน
การเร่งให้คนใช้น้ำมันถูกเพราะลดภาษีนั่นนี่สารพัดอย่างที่บอกไว้
ก็คือการสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศ
ไม่ต้องอยู่ในภาวะข้าวยากหมากแพง
และถ้าน้ำมันมันแพงขึ้นอีก ยังไง
การเร่งเปิดตัวรถที่ใช้พลังงานไฮโดรเจนก็ยิ่งเร็วตาม
เป็นไปตามกลไกตลาด ค่ายไหนเปิดตัวได้ก่อนก็รวยก่อน
เลิกหวังพึ่งรายได้ จาก ปตท. ตั้งแต่วันนี้
เพราะอนาคตอีกไม่ไกล จะหวังพึ่งรายได้แบบที่เป็นอยู่ไม่ไ่ด้
ไม่ว่าจะรูปภาษีหรือเงินได้อื่นๆ ที่เกี่ยวกับธุรกิจน้ำมันทางอ้อมก็ตาม
และควรเร่งยุติการทำให้เกิดภาวะฟองสบู่ในอุตสาหกรรมเอทานอลในอนาคตด้วย

โดย มาหาอะไร

----------------------------------------------




--------------------------------------------------------------

กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

1. กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

พระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 ได้ให้อำนาจนายกรัฐมนตรี ในการออกคำสั่งนายกรัฐมนตรี ในการแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ปัจจุบันคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ใช้ในจัดการกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ได้แก่ คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 2/2546 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2546

1.1 พระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516

(1) ในช่วงวิกฤตการณ์น้ำมันของโลก ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2516-2517) ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และหาซื้อได้ยากก่อให้เกิดภาวะขาดแคลนน้ำมันขึ้นในประเทศไทย รัฐบาลจึงได้พยายามแทรกแซงกลไกตลาดน้ำมัน โดยได้ออกพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 เพื่อใช้เป็นกลไกในการกำหนดมาตรการในการแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยวัตถุประสงค์ของพระราชกำหนดประกาศไว้ว่า

“โดยที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกได้ทวีสูงขึ้นเป็นลำดับ และน้ำมันดิบที่จะซื้อได้มีปริมาณลดน้อยลง ซึ่งจะก่อให้เกิดภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้นในประเทศไทย ฉะนั้น เพื่อรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงของประเทศ และความผาสุกของประชาชน จำเป็นต้องดำเนินการแก้ไขและป้องกันภาวะการณ์ดังกล่าวให้ทันต่อเหตุการณ์ ในการนี้นายกรัฐมนตรีจำเป็นต้องมีอำนาจในการกำหนดมาตรการต่างๆ ได้ โดยฉับพลัน ไม่จำเป็นต้องให้กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ แยกปฏิบัติการตามกฎหมายที่มีอยู่”

(2) พระราชกำหนดนี้ มีอายุ 1 ปี แต่ต่อมาก็ได้มีการออกพระราชกำหนดต่ออายุ จนกระทั่งปี 2520 จึงได้ตราเป็นพระราชกำหนดให้มีผลบังคับใช้ต่อไปไม่มีกำหนด

(3) พระราชกำหนดนี้ กำหนดอำนาจแก่นายกรัฐมนตรีในการออกมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันและแก้ไขภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง

1.2 คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 2/2546

นายกรัฐมนตรี โดยอาศัยอำนาจตามข้อ 3 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 ได้ออกคำสั่งนายกรัฐมนตรี กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่มีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน คือ คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 2/2546 โดยได้กำหนดกลไกที่สำคัญในการแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ได้แก่ การจัดตั้งคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน และจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
2. ความเป็นมาของการจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

2.1 ในปี 2520 โอเปคขึ้นราคาน้ำมันดิบ แต่รัฐบาลได้ขึ้นราคาขายปลีกในสัดส่วนที่น้อยกว่าราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น รัฐบาลสมัยนายกรัฐมนตรีธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้ใช้มาตรการลดอัตราภาษีผลิตภัณฑ์น้ำมันลงตามส่วนของต้นทุนน้ำมันดิบ แต่ในกรณีน้ำมันเตาการลดอัตราภาษีไม่พอเพียงกับต้นทุนราคาน้ำมันดิบ รัฐบาลจึงได้ใช้วิธีลดภาษีที่เก็บจากน้ำมันเบนซินมากกว่าต้นทุนที่เพิ่ม และกันเงินส่วนนี้ไว้ในกองทุน โดยได้อาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 ออกคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 178/2520 ลงวันที่ 19 กันยายน 2520 เรื่อง การกำหนดให้ผู้ค้าน้ำมันส่งเงินเข้ากองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและการจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้ค้าน้ำมัน เพื่อจัดตั้งกองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โดยให้โรงกลั่นน้ำมัน และผู้นำเข้าส่งเงินเข้ากองทุน และเงินกองทุนนี้นำไปชดเชยให้ผู้ค้าน้ำมันเตา

2.2 ในปี 2521 รัฐบาลสมัยนายกรัฐมนตรีพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ได้ประกาศเพิ่มค่าเงินบาท ร้อยละ 1 ทำให้ผู้นำเข้าได้กำไรเนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าว รัฐบาลเห็นว่ากำไรส่วนนี้มิได้เกิดจากการดำเนินการ จึงได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 206/2521 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2521 จัดตั้งกองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (เงินตราต่างประเทศ) และกำหนดให้ผู้นำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงส่งกำไรที่เกิดจากการเพิ่มค่าเงินบาทเข้ากองทุนดังกล่าว เพื่อเก็บไว้ใช้ทดแทนเมื่อราคาน้ำมันดิบสูงขึ้น

2.3 ในปี 2522 ประเทศผู้ส่งออกปิโตรเลียมได้ประกาศขึ้นราคาน้ำมันดิบถึง 4 ครั้ง รัฐบาลสมัยนั้นซึ่งมีพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี จึงเห็นควรให้หาวิธีการที่จะตรึงราคาขายปลีกของน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศ โดยไม่ต้องปรับตามราคาน้ำมันดิบที่เปลี่ยนไปทุกครั้ง และอีกประการหนึ่งต้องการจะรวมกองทุนต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นเข้าเป็นกองทุนเดียวกัน จึงได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 3 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 ออกคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สร. 0201/9 ลงวันที่ 27 มีนาคม 2522 จัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งได้รวมกองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งตั้งตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 178/2520 ลงวันที่ 19 กันยายน 2520 กับกองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (เงินตราต่างประเทศ) ซึ่งจัดตั้งตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 206/2521 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2521 เข้าด้วยกัน กำหนดกฎเกณฑ์การกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนฯ และชดเชยจากกองทุนฯ รวมทั้งการปฏิบัติในการส่งเงินเข้ากองทุนฯ และขอรับเงินชดเชยจากกองทุนฯ และกำหนดหน่วยงานที่รับผิดชอบในส่วนต่างๆ
3. วัตถุประสงค์ของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ตามเจตนารมย์ของพระราชกำหนดฯ คือ ใช้เป็นกลไกของรัฐในการป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง และใช้ในการรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศ จากกรณีที่ราคาในตลาดโลกสูงขึ้น เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความเดือดร้อนของประชาชนให้น้อยที่สุด

ในปี 2534 รัฐบาลได้ยกเลิกการควบคุมราคาน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันเบนซิน ก๊าด ดีเซลและเตา โดยเหลือเพียงก๊าซปิโตรเลียมเหลว (ก๊าซหุงต้ม หรือ LPG ) ที่ยังคงมีการควบคุมราคาอยู่ ปัจจุบันกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จึงใช้ในการรักษาระดับราคาของก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นหลัก
4. การบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

4.1 ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 2/2546 ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ทำหน้าที่ในการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งมีหน้าที่ ดังนี้

กำหนดหลักเกณฑ์สำหรับการคำนวณราคา และกำหนดราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ทำในราชอาณาจักร ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
กำหนดค่าการตลาดสำหรับการซื้อขายน้ำมันเชื้อเพลิง
กำหนดค่าขนส่งไปยังคลังก๊าซและค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาก๊าซ ณ คลังก๊าซ ตลอดจนกำหนดราคาขายก๊าซ ณ คลังก๊าซเป็นราคาเดียวกันทุกแห่งทั่วราชอาณาจักร
กำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนหรืออัตราเงินชดเชยสำหรับก๊าซที่ซื้อหรือได้มาจากผู้รับสัมปทานตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม ซึ่งเป็นผู้ผลิตได้จากการแยกก๊าซธรรมชาติในราชอาณาจักร น้ำมันเชื้อเพลิงที่ทำในราชอาณาจักร น้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักรน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ส่งออก น้ำมันเชื้อเพลิงที่จำหน่ายให้แก่เรือเพื่อใช้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร และก๊าซหุงต้มที่จำหน่ายให้แก่ประชาชน
กำหนดชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ไม่ต้องส่งเงินเข้ากองทุน หรือไม่ให้ได้รับเงินชดเชย
กำหนดราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นและคำนวณราคาขายปลีก
พิจารณากำหนดอัตราภาษีให้อยู่ในระดับไม่ต่ำกว่าอัตราภาษีต่ำสุดและไม่สูงกว่าอัตราภาษีสูงสุด
กำหนดให้โรงกลั่นแจ้งราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นต่อคณะกรรมการ
ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามคำสั่งนี้
ปฏิบัติหน้าที่ตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย

4.2 ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นผู้จัดการกองทุนฯ มีอำนาจหน้าที่จ่ายเงินกองทุนตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 2/2546 โดยได้มีการออกระเบียบกระทรวงพลังงาน ว่าด้วยการฝากและการเบิกจ่ายเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2546
5. หน่วยงานที่รับผิดชอบเงินกองทุนฯ

5.1 การออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน กำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนอัตราเงินชดเชย ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว ค่าเก็บรักษาก๊าซและค่าขนส่งก๊าซไปยังคลังก๊าซส่วนภูมิภาค เป็นหน้าที่ของสำนักงานนโยบายพลังงานและแผนพลังงาน ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการฯ

5.2 การส่งเงินเข้ากองทุนฯ จะอยู่ในความรับผิดชอบของกรมสรรพสามิต กรมศุลกากร และสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) โดยกรมสรรพสามิตรับผิดชอบในกรณีน้ำมันเชื้อเพลิงที่ทำในราชอาณาจักร กรมศุลกากรรับผิดชอบในกรณีน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร การส่งเงินเข้ากองทุนจะกระทำพร้อมกับการชำระภาษีอากร โดยชำระตามอัตราที่คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ประกาศกำหนดแล้วหน่วยงานทั้งสองจะส่งเงินเข้าบัญชีเลย โดยสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) จะตรวจสอบเอกสารความถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง

5.3 การขอรับเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ผู้มีสิทธิ์รับเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันจะยื่นเรื่องที่กรมสรรพสามิต หรือกรมศุลกากร หน่วยงานเหล่านี้จะทำการตรวจสอบและสั่งจ่ายเงินทดรองจ่ายของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งได้รับมาจากสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน)

5.4 สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) จะต้องทำรายงานการรับ / จ่ายและเงินคงเหลือ ของกองทุนน้ำมันเสนอต่อกระทรวงพลังงานทุกเดือน

ทั้งนี้ สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) อยู่ระหว่างการรับโอนงานจากกรมบัญชีกลาง โดยปัจจุบันกรมบัญชีกลางทำหน้าที่แทนสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน)
6. บัญชีเงินฝากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

ธนาคารกรุงไทย มี 2 บัญชี ชื่อ บัญชี “กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กระทรวงการคลัง)” เป็นเงินฝากกระแสรายวัน
- สาขาถนนศรีอยุธยา : ในส่วนของกรมสรรพสามิต
- สาขาคลองเตย : ในส่วนของกรมศุลกากร

ธนาคารออมสินและธนาคารกรุงไทย เป็นบัญชีออมทรัพย์ รวม 2 บัญชี จะโอนเงินจากกระแสรายวันเข้ามาเพื่อรับดอกผลจากดอกเบี้ย
7. รายรับ/รายจ่ายของกองทุนน้ำมันฯ

7.1 รายรับ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะมีรายรับจากอัตราเงินส่งเข้ากองทุนของน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดต่างๆ ตามประกาศคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน ดังนี้

อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
หน่วย : บาท/ลิตร
น้ำมันเชื้อเพลิง
ที่ผลิตในประเทศ น้ำมันเชื้อเพลิง
นำเข้า
เบนซินออกเทน 95 0.50 0.50
เบนซินออกเทน 91 0.30 0.30
แก๊สโซฮอล์ 0.27 0.27
ก๊าด 0.10 0.10
ดีเซลหมุนเร็ว 0.50 0.50
ดีเซลหมุนช้า 0.50 0.50
เตา 0.06 0.06

7.2 รายจ่าย กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง อาจมีรายจ่ายตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 2/2546 ดังต่อไปนี้

เป็นเงินจ่ายชดเชยตามอัตราที่คณะกรรมการฯ กำหนด
ค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ตามหมวดรายจ่ายภายในวงเงินงบประมาณการจ่ายประจำปีที่คณะกรรมการอนุมัติ ดังนี้
ค่าจ้างชั่วคราว
ค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ
ค่าครุภัณฑ์
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการใดๆ เพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการใดๆ เพื่อให้การเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง หรือการจ่ายเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นไปอย่างครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ

รายงานโดยส่วนปิโตรเลียม
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
2 มีนาคม 2547

http://www.eppo.go.th/petro/oilfund.html

--------------------------------------------------------------


ประมาณการฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
(ณ วันที่ 3 พฤษภาคม 2554)




เงินสดในบัญชี
34,518
ล้านบาท
- เงินฝาก ธ.ออมสิน (สลากออมสิน (อายุ 5 ปี) ตามมติ กบง.)
5,000
ล้านบาท
- เงินฝาก ธ.ก.ส. (โครงการส่งเสริมการปลูกปาล์ม (อายุ 10 ปี))
500
ล้านบาท
- เงินคงเหลือในบัญชี
29,018
ล้านบาท
หนี้สินกองทุน
-33,548
ล้านบาท
- หนี้อยู่ระหว่างการเบิกจ่ายชดเชย
-33,340
ล้านบาท
+ หนี้เงินชดเชยก๊าซ LPG (ค่าขนส่งก๊าซในประเทศ)
-437
ล้านบาท
+ หนี้เงินชดเชยก๊าซ LPG กรณีนำเข้าจากต่างประเทศ ปี 2554 (ชดเชยช่วง ม.ค.- เม.ย.54)
-3,827
ล้านบาท
+ หนี้เงินชดเชยการตรึงราคาก๊าซ NGV (มติ กบง.2/53 ชดเชยช่วง มี.ค. - ส.ค. 53 ) *
-981
ล้านบาท
+ หนี้เงินชดเชยการตรึงราคาก๊าซ NGV (มติ กบง.4/53 ชดเชยช่วง ก.ย. 53 - ก.พ. 54) **
-2,069
ล้านบาท
+ หนี้เงินชดเชยการตรึงราคาก๊าซ NGV (มติ กบง.8/54 ชดเชยช่วง มี.ค. 54 - มิ.ย. 54) ***
-713
ล้านบาท
+ หนี้เงินชดเชยน้ำมันดีเซลและแก๊สโซฮอล์
-22,167
ล้านบาท
+ หนี้เงินชดเชยการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงมาตรฐานยูโร 4
-436
ล้านบาท
+ หนี้เงินชดเชยก๊าซ LPG จากโรงกลั่นน้ำมัน (มติ กบง.2/54 เริ่มชดเชย 14 ม.ค.54)
-2,470
ล้านบาท
+ หนี้เงินชดเชยส่วนลดราคาก๊าซธรรมชาติ โรงไฟฟ้าขนอม
-201
ล้านบาท
+ หนี้เงินชดเชยอื่นๆ
-39
ล้านบาท
- งบบริหารและโครงการซึ่งได้อนุมัติแล้ว
-207
ล้านบาท
ฐานะกองทุน
971
ล้านบาท




หมายเหตุ ยังไม่รวมหนี้เงินชดเชยค่าปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์รถแท๊กซี่ (มติ กพช. 4/52) ประมาณ 130 ล้านบาท

* ชดเชยไม่เกิน 300 ล้านบาทต่อเดือน


** ชดเชยตามปริมาณของกรมธุรกิจพลังงาน โดยชดเชยกิโลกรัมละ 2 บาท


*** ชดเชยตามปริมาณการประมาณการโดย สบพน.(มีนาคม - 3 พฤษภาคม 2554) โดยชดเชยกิโลกรัมละ 2 บาท

http://www.efai.or.th/theoil/theoil-money.htm

-----------------------------------------------

เทคโนโลยียุคทอง
การพัฒนาเชิงบวกในโลก

รถยนต์ไฮโดรเจน BMW
นำความหวังอันยิ่งใหญ่มาสู่พลังงานใหม่


โดยกลุ่มข่าวฟลอริด้า (ต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ)


ในวันที่ 14 มีนาคม 2549 BMW ได้ประกาศว่าจะผลิตรถยนต์ไฮโดรเจนภายใน 2 ปี การประกาศนี้สร้างความประหลาดใจที่สำคัญต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ เนื่องจากเร็ว ๆ นี้เอง บริษัทประกาศว่าจะเริ่มต้นผลิตในปี 2553 บริษัทรถยนต์หลายค่ายได้วางแผนที่จะปล่อยรถไฮโดรเจนออกมาหลังปี 2553 แต่การตัดสินใจของ BMW ดูเหมือนทำให้อุตสาหกรรมทั้งหมดก้าวไปข้างหน้า รถไฮโดรเจนของ BMW ซึ่งขณะนี้เป็นรุ่นที่ 7 นับได้ว่ามีการทำงานในระดับสูงสุด มันวิ่งด้วยน้ำมันหรือไฮโดรเจนและมีความเร็วถึง 134 ไมล์ต่อชั่วโมง (216 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) รถรุ่นหนึ่งซึ่งเป็นรถแข่งมีความเร็ว 187 ไมล์ต่อชั่วโมง (300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) CEO ของบริษัทได้กล่าวว่า “ข่าวสารที่เราต้องการส่งออกไปก็คือ คุณสามารถสนุกกับการขับได้และตระหนักได้ถึงสภาพแวดล้อม”
รถไฮโดรเจนเป็นส่วนหนึ่งของ “เศรษฐกิจไฮโดรเจน” ซึ่งได้ถูกทำนายว่าจะมาในช่วงราว ๆ ปี 2563 ประเทศไอร์แลนด์ ซึ่งส่วนใหญ่ถูกตัดขาดจากน้ำมันเริ่มต้นเศรษฐกิจเช่นนั้นแล้ว ไฮโดรเจนถูกผลิตขึ้นมาจากลมและพลังน้ำ และถูกแจกจ่ายไปยังสถานีเติมไฮโดรเจน และส่งต่อไปยังกลุ่มรถบัสในเมืองหลวงเรย์จาวิค
รถของ BMW เป็นสะพานเชื่อมระหว่างรถที่จุดระเบิดด้วยน้ำมันและรถที่ใช้หม้อกำเนิดไฟฟ้า ไฮโดรเจนซึ่งไม่ปล่อยอะไรออกมานอกเหนือจากไอระเหยของน้ำ เครื่องยนต์ของ BMW เผาไหม้ไฮโดรเจนในขณะที่หม้อกำเนิดไฟฟ้าสกัดพลังมาจากปฏิกิริยาเคมีเหมือน กับแบตเตอรี่
ในอนาคตรถยนต์อาจใช้เชื้อเพลิงหลากหลายชนิด ไฮโดรเจนเป็นเรื่องที่ยากมากๆ เนื่องจาก มันน้ำหนักเบามาก จนลอยทะลุอากาศไปสู่อวกาศ หม้อกำเนิดไฟฟ้าและแบตเตอรี่ชนิดอื่นกำลังได้รับการพัฒนาโดยใช้ผลิตภัณฑ์ปิ โตรเลี่ยมสังเคราะห์ซึ่งถูกผลิตมาจากกังหันลม แผงแสงอาทิตย์ หรือการแปลงพืชหรือสาหร่าย ไฮโดรเจนจะยังคงถูกใช้เป็นแหล่งพลังของโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์ทางอีเล็ก ทรอนิกส์อื่น ๆ มากมาย ท้ายที่สุด นักวิทยาศาสตร์ได้วางแผนที่จะใช้ระบบพลังงานทั้งหมดด้วยไฮโดรเจน เชื้อเพลิงของพระอาทิตย์จากเตาปฏิกรณ์ที่ใช้ปฏิกิริยาฟิวชั่นของไฮโดรเจน ซึ่งคล้ายกับในพระอาทิตย์ เตาปฏิกรณ์ฟิวชั่นมีศักยภาพที่จะให้พลังงานปริมาณมหาศาลในเตาปฏิกรณ์ นิวเคลียร์ แต่เป็นการใช้ไฮโดรเจนจากน้ำ แทนที่จะใช้แร่ยูเรเนียมที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้และเป็นแร่ที่หายาก
ข้อมูลอ้างอิง:

http://magazine.godsdirectcontact.net/thai/166/ga3.htm
----------------------------------------------
รถต้นแบบไฮโดรเจน 100%

ต้นแบบ"รถยนต์สองที่นั่ง"พลังไฮโดรเจน
[เอ.อาร์.ไอ.พี, www.arip.co.th] รายงานข่าวแจ้งว่า Riversimple บริษัทในประเทศอังกฤษได้เปิดเผยต้นแบบรถยนต์สองที่นั่งที่ใช้ไฮโดรเจนเป็น เชื้อเพลิงในการขับเคลื่อน โดยทางบริษัทอ้างว่า เจ้ารถยนต์พลังไฮโดรเจนคันนี้สามารถวิ่งได้ระยะทางเทียบเท่ากับการใช้น้ำมัน 360 ไมล์ต่อแกลลอน (ประมาณ 153 กิโลเมตรต่อลิตร)
บริษัทคาดว่า จะให้บริการเช่ามากกว่าที่จะขาย โดยคิดค่าบริการประมาณ 315 เหรียญฯ(ประมาณ 11,000 บาท)ต่อเดือน ซึ่งค่าบริการนี้จะรวมการเติมไฮโดรเจนด้วย Riversimple กล่าวว่า รถยนต์ไฮโดรเจนคันนี้จะส่งออกต่างประเทศในรูปแบบของ "โอเพ่นซอร์ส" ขั้นตอนการผลิต ลักษณะเดียวกับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ แต่ยังไม่เปิดเผยว่า จะเริ่มทำธุรกิจในลักษณะดังกล่าวเมื่อไร
รถยนต์ไฮโดรเจนจะใช้เซลเชื้อเพลิงขนาด 6kW ซึ่งผลิตโดยบริษัทในจีนชื่อว่า Horizon Fuel Cell Technologies ที่สามารถแปลงก๊าซไฮโดรเจนไปเป็นไฟฟ้า เพื่อจ่ายพลังงานให้กับมอเตอร์ของรถยนต์สี่ล้อ โดยมอเตอร์เหล่านี้จะมีฟังก์ชันหยุดรถในตัว และยังสามารถเก็บพลังงานไฟฟ้าที่เกิดขึ้นขณะเบรคเข้าไปในตัวเก็บประจุ ยิ่งยวด เพื่อเอาไว้ใช้ภายหลังได้อีกด้วย เรียกว่า ไม่ปล่อยให้มีการสูญเสียพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตออกมาได้แม้แต่นิดเดียว
ตัวถังรถยนต์จะใช้วัสดุที่แข็งแรง และมีน้ำหนักเบาเป็นพิเศษ Riverside กล่าวว่า เพื่อให้รถยนต์มีประสิทธิภาพการใช้งานพื้นที่ภายในสูงสุด จึงตัดสินใจตัดถังเก็บอ็อกซิเจนขนาดใหญ่ออกไปหนึ่งถัง ดังนั้น รถยนต์คันนี้จะสามารถเดินทางได้ 240 ไมล์ (ประมาณ 386 กิโลเมตร) ต่อถังไฮโดรเจนขนาดเล็ก 1 ถังที่มีน้ำหนักเพียง 2.2 ปอนด์ (1 กิโลกรัม)เท่านั้น โดยความเร็วสูงสุดทีทำได้จะอยู่ที่ 50 ไมล์ต่อชั่วโมง (ประมาณ 80.5 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) สำหรับต้นแบบที่เห็นนี้ทาง Riversimple ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด และมหาวิทยาลัยแครนฟิลด์ในเบดฟอร์ดไชร์ และบริษัทผู้ผลิตเซลเชื้อเพลิงไฮโดรเจน Horizon Fuel Cell Technologies

http://www.watercar.tht.in/aticle8Blank.html

----------------------------------------------

ญี่ปุ่นหนุน”ยานยนต์ไฮโดรเจน”

แฟ้มภาพต้นแบบรถยนต์เซลล์ล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนของโตโยต้า ซึ่งมีกำหนดวางจำหน่ายในปี 2015
3 ผู้ผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่แดนอาทิตย์อุทัยทั้งโตโยต้า ฮอนด้า และนิสสัน ประกาศตัวเป็นแกนนำร่วมกับนานาบริษัทด้านพลังงานในญี่ปุ่น เพื่อผลักดันให้เกิดการทำตลาด”รถยนต์เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน”ในเชิงพาณิชย์ อย่างจริงจัง ควบคู่กับการสร้างเครือข่ายสถานีเติมเชื้อเพลิงให้ครอบคลุมทั่วเมืองใหญ่ของ ญี่ปุ่นภายในปี 2015
ผู้ร่วมโครงการสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฮโดรเจนในครั้งนี้ประกอบด้วย โตโยต้า ฮอนด้า และนิสสัน รวมถึงกลุ่มผู้ประกอบกิจการพลังงานทั้งตัวแทนจำหน่ายและผู้สกัดก๊าซธรรมชาติ ในญี่ปุ่นมากกว่า 10 ราย โดยทั้งหมดตั้งเป้าว่าจะสามารถสร้างสถานีเติมเชื้อเพลิงได้มากกว่า 100 จุดในอีก 4 ปีข้างหน้า ในพื้นที่เมืองโตเกียว นาโกยา โอซากา และฟูกูโอกะ
ที่ผ่านมา ค่ายรถหลายเจ้าได้ประกาศนโยบายพัฒนายานยนต์เซลล์เชื้อเพลิงหรือ Fuel Cell Vehicles (FCVs) ยุคใหม่มาระยะหนึ่งแล้ว บนความหวังในการลดมลพิษทางอากาศเพราะการเปลี่ยนไฮโดรเจนมาเป็นพลังงานไฟฟ้า แต่การร่วมมือเพื่อสร้างเครือข่ายให้บริการเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่เกิด ขึ้นคือขั้นตอนสำคัญของการทำให้ยานยนต์ไฮโดรเจนสามารถแจ้งเกิดในตลาดได้จริง เพราะความร่วมมือจากกลุ่มผู้ผลิตพลังงานนั้นมีส่วนทำให้ต้นทุนการผลิตระบบ สนับสนุนของค่ายรถลดลงด้วย
ไม่มีข้อมูลว่าผู้ร่วมโครงการนี้วางแผนลงทุนในโครงการเป็นเงินกี่ร้อย ล้านเยน แต่ทั้งหมดเชื่อว่าความต้องการลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการขนส่งของ ญี่ปุ่น จะทำให้ค่ายรถและอุตสาหกรรมพลังงานร่วมมือกันเพื่อขยายจุดให้บริการไฮโดรเจน แก่รถยนต์พลังงานสะอาดอย่างต่อเนื่องในอนาคต
ยานยนต์ไฮโดรเจนเป็นหนึ่งในรถยนต์พลังงานสะอาดที่ได้รับความสนใจจากผู้ บริโภคในวงกว้าง แม้รถยนต์ไฟฟ้าอย่าง Nissan Leaf หรือรถยนต์ลูกผสมไฟฟ้าและน้ำมันอย่าง Toyota Prius จะกลายเป็นกระแสในตลาดมาแล้วระยะหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดเรื่องการผลิตที่มีต้นทุนแสนแพง รวมถึงการขาดแคลนเครือข่ายจุดให้บริการพลังงาน ทั้งหมดล้วนเป็นอุปสรรคที่ส่งให้ยานยนต์ไฮโดรเจนไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ ควร
โตโยต้าเคยประกาศว่าจะเปิดตัวรถยนต์เซลล์เชื้อเพลิงภายในปี 2015 โดยมีแผนพัฒนารถยนต์ลูกผสมระหว่างน้ำมันและเซลล์เชื้อเพลิงเช่นกัน
สำหรับฮอนด้านั้นเริ่มเปิดตัวรถยนต์รุ่น 200 FCX Clarity ซึ่งใช้พลังงานจากไฮโดรเจนมาแล้วตั้งแต่ปี 2008 โดยเปิดเช่าแก่ลูกค้าในสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และยุโรปบางประเทศ
ที่มาโดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
http://xn--c3cua5cna8gzevab3f4a.com/toyota-motor/fuel-cell-vehicles/

----------------------------------------------FfF