แพ็คเกจเลือกตั้ง(ชุดที่ 5) เขตเล็ก-แข่งสูง-ปาร์ตี้ลิสต์จุดตายพรรคเล็ก
ทีมข่าว NNA NEWS
โดย : อรรถยุทธ บุตรศรีภูมิ
ในการเลือกตั้งครั้งนี้มีการเปลี่ยนระบบเลือกตั้งอย่างมาก ทั้งจาก "เขตใหญ่ 3 เบอร์" หรือ "พวงใหญ่" เป็น "เขตเดียวเบอร์เดียว" และจาก "ส.ส.ระบบสัดส่วน" เป็น "ระบบบัญชีรายชื่อ" หรือ "ปาร์ตี้ลิสต์"
ซึ่งทั้งระบบ "เขตเล็ก" ที่เรียกกันว่า "เขตเดียวเบอร์เดียว" และ "ระบบบัญชีรายชื่อ" ที่เรียกกันว่า "ปาร์ตี้ลิสต์" ต่างส่งผลต่อตัวผู้สมัครและพรรคการเมืองทั้งสิ้น
** "เขตเล็ก-เบอร์เดียว"ทำทุกทางเพื่อชัยชนะ**
การ เลือกตั้งที่จะถึงนี้ มีการเปลี่ยนระบบการเลือกตั้ง จากเขตใหญ่ 3 เบอร์ ตามแบบรัฐธรรมนูญปี 2550 เป็นระบบเขตเดียวเบอร์เดียว ซึ่งขณะนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าระบบแบบใดจะเหมาะสมกับสภาพสังคมบ้านเรา และป้องกันการทุจริตได้มากกว่ากัน
แต่เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกำหนดให้ต้องใช้การเลือกตั้งแบบ "เขตเล็ก" หรือ "เขตเดียวเบอร์เดียว" ซึ่งถูกมองว่า เป็นการทำให้การแข่งขันรุนแรงขึ้น เพราะในหนึ่งเขตจะมีผู้ชนะเพียงแค่หนึ่งเดียวเท่านั้น ทำให้ผู้สมัครต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้รับการเลือกตั้ง...ไม่ยกเว้นวิธี ใต้ดิน
นอกจากนี้ มีการมองว่าเขตเล็กนั้นสะดวกต่อการ "หว่านเงิน" ลงไปในการทุจริต เพราะเขตเลือกตั้งไม่กว้าง มีพื้นที่จำกัดและมีประชากรในพื้นที่น้อย
และหากต้องการที่จะซื้อเสียงก็จะใช้เงินจำนวนไม่มากเช่นกัน เพราะการซื้อเสียงสามารถ "ล็อกเป้า" จำกัดพื้นที่ได้ง่ายและชัดเจนขึ้น
เมื่อย้อนกลับไปดูสถิติจำนวนคะแนนของผู้ชนะในการเลือกตั้ง ที่ใช้ระบบ "เขตเดียวเบอร์เดียว" เมื่อปี 2544 และปี 2548 ผู้ชนะก็มักจะได้ประมาณ 5-6 หมื่นคะแนนเท่านั้น
จึง หมายความว่า จำนวนคะแนนเสียงที่ต้องล็อกให้ได้นั้นก็มีอยู่ไม่มาก เมื่อนำมาประกอบกับคะแนนเสียงความนิยมของพรรค ก็จะทำให้ได้รับการเลือกตั้งไม่ยากเย็นนัก
ยิ่งเมื่อย้อนกลับมาดู ระบบการนับคะแนนเสียงที่ใช้วิธีนับที่หน่วยเลือกตั้ง ยิ่งทำให้หัวคะแนนในพื้นที่ สามารถเช็คได้ง่ายว่าปัจจัยที่ยิงลงไปนั้นเข้าเป้าหรือไม่
แต่ข้อดี ของระบบนี้คือ เมื่อมีอัตราการแข่งขันมาก ต่างฝ่ายก็ต่างต้องจับตาดูกันเองให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งการจับผิดกันเองของผู้สมัครนั้นได้ผลมากกว่าการจับตาของ เจ้าหน้าที่รัฐมากมาย
นอกจากนี้ข้อดีอีกอย่างของระบบนี้คือด้วย พื้นที่อันไม่กว้างมากนัก ทำให้ผู้สมัครสามารถลงพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง และผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะรู้จักผู้สมัครรวมถึงใกล้ชิดกับผู้แทนในเขตของตน ได้มากกว่าการเลือกตั้งแบบเขตใหญ่
ดังนั้น ส.ส. ที่เอาแต่จ่ายเงิน อาศัยแต่กระแสพรรค ไม่เคยลงพื้นที่ ก็ยากที่จะก้าวเข้ามาสู่เก้าอี้ผู้แทนในระบบนี้
เมื่อ ดูจากข้อมูลทั้งหมดแล้ว จะเห็นว่าระบบนี้เอื้อต่อการชิงชัยชนิดไม่มีโอกาสให้สำหรับผู้แพ้ และยังสามารถเห็นได้ด้วยอีกว่าระบบนี้เอื้อต่อคนที่มีความใกล้ชิดต่อพื้นที่ สูง
ซึ่งพิจารณาแล้วจะเห็นว่า คนที่มีโอกาสชนะต้องมีพลังพอที่จะลงสมัคร ไม่ว่าพลังคอนเนคชั่นกับพรรคการเมืองหรือพลังทุน และต้องเป็นคนที่อยู่ใกล้ชิดติดพื้นที่ ทำงานในพื้นที่ตลอดเวลา ซึ่งคนที่มีทั้งสองอย่างในตัวนี้ ก็ยากที่จะเป็นอื่นนอกจากนักการเมืองท้องถิ่น
ดังนั้น การเลือกตั้งครั้งนี้เราจะเห็นนักการเมืองท้องถิ่นก้าวลงมาเล่นในเวที ส.ส.กันอย่างคึกคัก และเราก็จะเห็นกลยุทธ์แบบบ้านๆหลายอย่างในการเตะ-ขัด- สกัด -ถ่วง
และนอกจากนักการเมืองท้องถิ่นแล้ว ผู้ที่สามารถก้าวเข้ามาเป็นผู้แข่งขันได้คือ บรรดาผู้มีอิทธิพลที่มีแขนขาอยู่เต็มพื้นที่ และสามารถ "ล็อกเป้า-ล็อกคน" ให้ผลออกตามที่ต้องการได้
แม้ แต่ ส.ส. เก่าในพื้นที่เองก็รู้ดีถึงความเสี่ยงนี้และพยายามผันตัวไปลงในระบบบัญชีราย ชื่อ และส่งลูกหลานหรือลูกน้อง ลงลุ้นในระบบแบ่งเขตแทน เพื่อชิมลาง สร้างความคุ้นเคยกับพื้นที่ ซึ่งหากแพ้ก็อาจจะไม่เครียดมากนัก
โดย ครั้งแรกที่มีการทดลองใช้ระบบนี้เมื่อครั้งการเลือกตั้งปี 2544 ปรากฏว่า มี ส.ส. เก่าในพื้นที่สอบตกกันระนาว และมี ส.ส. หน้าใหม่หลุดเข้ามาในสภาจำนวนมาก
และครั้งนั้นเองที่ "พรรคไทยรักไทย" ได้เล่นกับเกมนี้ จนทำให้มี ส.ส. มาเป็นอันดับหนึ่ง แม้ก่อนหน้านี้จะมีแต่คนปรามาสว่า ส่งผู้สมัครหน้าใหม่รังแต่จะเสียไปเปล่าๆ
งานนี้จึงมีความเป็นไปได้สูงว่า หาก ส.ส. พื้นที่ ที่ไม่สามารถปรับ- ขยับขึ้นเป็น "บัญชีรายชื่อ" ได้ก็มีความจำเป็นที่ต้องเล่นเกมหนัก เพื่อรักษาพื้นที่ทางการเมืองของตัวเองเอาไว้ และนี่คือความรุนแรงที่หลายฝ่ายกลัวว่าจะเกิดขึ้น
โดยขณะนี้ ข่าวการสังหารและลอบสังหารนักการเมืองท้องถิ่นและหัวคะแนนก็เริ่มมีเข้ามาเป็นระยะๆ
และ นี่เป็นที่มาของการเพิ่มงบประมานในการสืบสวนสอบสวนของ กกต. เกือบ 500 ล้าน ทั้งนี้เพื่อเป็นทั้งการป้องปรามและปราบปราม รวมทั้งได้ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองเพื่อร่วม รักษาความปลอดภัยแล้ว
ยิ่งเขตใดที่การแข่งขันสูสี เขตนั้นต้องจับตาดูอย่างไม่กระพริบตาในทุกมิติ เพราะเมื่อเกิดสภาวะเขม็งเกลียวในพื้นที่ เหตุการณ์อะไรจะเกิดขึ้นก็ไม่ใช่เรื่องแปลก และหากเวลาผ่านไปเราก็คงจะได้ รู้กันว่าระบบนี้เหมาะสมจริงหรือไม่หรือต้องเปลี่ยนระบบกันไปเรื่อยๆ
**ปาร์ตี้ลิสต์"- ชะตากรรม "พรรคเล็ก"- "เกิดใหม่"**
การเลือกตั้งครั้งนี้ หันมาใช้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อหรือปาร์ตี้ลิสต์เหมือนรัฐธรรมนูญปี 2540
เป็น ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ จำนวน125 คน เหมือนกับรัฐธรรมนูญปี 2540 โดยใช้คะแนนรวมทั้งประเทศ ไม่ได้เป็นคะแนนตามกลุ่มจังหวัดเหมือนกับรัฐธรรมนูญปี50 แต่ครั้งนี้ไม่ได้กำหนดว่าต้องได้คะแนนขั้นต่ำ 5 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป จึงจะได้ที่นั่ง ส.ส. บัญชีรายชื่อเท่านั้น
และจากการแก้ไขรัฐ ธรรมนูญหันมาใช้ระบบ ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อหรือปาร์ตี้ลิสต์ 125 คน นี่เอง ทำให้พรรคการเมืองใหญ่อย่างพรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทย ได้ประโยชน์ไปเต็มๆ ขณะที่พรรคการเมืองพรรคเล็กและพรรคเกิดใหม่ มีแต่เสียประโยชน์
และหากใช้ฐานข้อมูลจากการเลือกตั้งเมื่อ 23 ธันวาคม 2550 ก็จะเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น
โดย พรรคเพื่อไทย ซึ่งปี 50 คือพรรคพลังประชาชน เดิมได้ ส.ส. สัดส่วน 34 คน หากการเลือกตั้งครั้งนี้ยังได้คะแนนเท่าเดิม ในส่วน ส.ส.บัญชีรายชื่อจะเพิ่มเป็น 51 คน
ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ เดิมเคยได้ 33 คน หากได้คะแนนเท่าเดิม ในส่วน ส.ส.บัญชีรายชื่อ จะเพิ่มเป็น 51 คน
ขณะ ที่พรรคขนาดกลางอย่างพรรคชาติไทยพัฒนา(คือพรรคชาติไทยเมื่อปี 50) หากได้คะแนนเท่าเดิม ในส่วน ส.ส.บัญชีรายชื่อ จะเพิ่มแค่ 1 ที่นั่ง จาก 4 คน เป็น 5 คน
ส่วนพรรคขนาดเล็ก - พรรครวมชาติพัฒนา (คือพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา เมื่อปี 50) หากได้คะแนนเท่าเดิมในส่วน ส.ส.บัญชีรายชื่อจะเพิ่ม 2 ที่นั่ง จาก 1 คน เป็น 3 คน, พรรคประชาราช หากได้คะแนนเท่าเดิม ในส่วน ส.ส.บัญชีรายชื่อจะเพิ่ม 1 ที่นั่ง จาก 1 คน เป็น 2 คน และพรรคเพื่อแผ่นดิน หากได้คะแนนเท่าเดิม ในส่วน ส.ส.บัญชีรายชื่อ จะได้ ส.ส.เท่าเดิม คือ 7 คน
เห็นได้จากตารางข้างล่างนี้
ตารางคะแนน ส.ส.สัดส่วน เลือกตั้งปี 2550
(นำมาลองคำนวณเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ 125 ที่นั่ง)
พรรค คะแนน ส.ส.สัดส่วน 80 คน ถ้าเป็นส.ส.บัญชีรายชื่อ 125 คน คิดเป็น %
พลังประชาชน 12,338,903 = 51 ที่นั่ง 41.08
ประชาธิปัตย์ 12,148,504 = 51 ที่นั่ง 40.45
เพื่อแผ่นดิน 1,596,500 = 7 ที่นั่ง 5.32
ชาติไทย 1,213,532 = 5 ที่นั่ง 4.04
รวมใจไทยชาติพัฒนา 740,461 = 3 ที่นั่ง 2.47
ประชาราช 408,581 = 2 ที่นั่ง 1.36
ดัง นั้นเมื่อมีการเพิ่มจำนวน ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งจากเดิมรัฐธรรมนูญปี 2550 ส.ส.สัดส่วน มีแค่ 80 คน เพิ่มเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ 125 คน นั่นจะยิ่งทำให้พรรคการเมืองใหญ่ได้ประโยชน์จากการเพิ่มจำนวน ส.ส.ในส่วนนี้
โดย เฉพาะพรรคประชาธิปัตย์ จะได้ประโยชน์จากการเพิ่มจำนวน ส.ส.ในประเภทนี้มากที่สุด เพราะในฐานะเป็นพรรครัฐบาล ซึ่งตลอดเวลาที่บริหารประเทศได้คลอดนโยบายประชานิยม ลด- แลก- แจก- แถม ออกมาเรื่อยๆ ซึ่งจะทำให้คะแนนนิยมต่อพรรคที่เคยมีแต่เดิมซึ่งตามหลังพรรคเพื่อไทย (พรรคพลังประชาชน ปี 50 )อยู่ 190,399 คะแนนในการเลือกตั้งปี 50 ขยายเพิ่มขึ้น และอาจแซงหน้าพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งครั้งนี้
แล้ว "พรรคเกิดใหม่"อย่าง "พรรคการเมืองใหม่" ภายใต้การนำของ "สมศักดิ์ โกศัยสุข"และ "สุริยะใส กตะศิลา" แกนนำพันธมิตรฯ จะรอดหรือ จะหวังได้สักกี่ที่นั่งใน ส.ส.ประเภทนี้
เพราะ ว่า การเลือกตั้งครั้งนี้หากจะได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ1 ที่นั่งขึ้นไป ต้องได้คะแนนเสียงอย่างน้อยราวๆ 250,000 คะแนนขึ้นไป (ผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งนี้ประมาณ 45 ล้านคน จากสถิติการเลือกตั้งระยะหลังๆมีผู้ออกมาใช้สิทธิประมาณ 74 -75 เปอร์เซ็นต์ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งหรือประมาณ 32-33 ล้านคน ดังนั้นคะแนนรวมทั้งประเทศจึงตกราวๆ 32 ล้านคะแนน จากนั้นนำ 32 ล้านคะแนนมาเป็นตัวตั้ง แล้วหารด้วยจำนวนที่นั่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ 125 คน ก็จะได้คะแนนประมาณ 250,000 คะแนนต่อ ส.ส.บัญชีรายชื่อ1 ที่นั่ง)
ซึ่ง 250,000 คะแนน ไม่ใช่หาได้ง่ายๆ และเป็น "การบ้านข้อใหญ่" ของพรรคเกิดใหม่ และเมื่อดู "ฐานคะแนน" ของพรรคการเมืองใหม่แล้ว...ต้องบอกว่ายากจริงๆ
อย่างการเลือกตั้ง ส.ก. เมื่อปี 2553 ที่ผ่านมา ทั้งที่ "คนกรุง" - "คนชั้นกลาง"เป็นฐานเสียงสำคัญของพรรคการเมืองใหม่ แต่พรรคการเมืองใหม่ก็ยังไปไม่รอด ไม่ได้แม้สัก 1ที่นั่ง
เพราะ ว่าจากผลการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2553 ปรากฏว่าผู้สมัคร สก.ของพรรคการเมืองใหม่ ได้คะแนนดังนี้
1.เขตคลองเตย 3,226 คะแนน
2.เขตคลองสาน 7,706 คะแนน
3.เขตคันนายาว 706 คะแนน
4.เขตดินแดง 3,071 คะแนน
5.เขตดุสิต 1,290 คะแนน
6 ขตตลิ่งชัน 3,338 คะแนน
7.เขตทวีวัฒนา ไม่ส่งผู้สมัคร
8.เขตทุ่งครุ 6,010 คะแนน
9.เขตธนบุรี 8,716 คะแนน
10.เขตบางกอกน้อย 2,897 คะแนน
11.เขตบางกอกใหญ่ ไม่ส่งผู้สมัคร
12. เขตบางคอแหลม 4,541 คะแนน
13. เขตบางซื่อ ไม่ส่งผู้สมัคร
14. เขตบางนา 2,724 คะแนน
15. เขตบางบอน 6,761 คะแนน
16. เขตบางพลัด 2,695 คะแนน
17. เขตบางรัก 2,278 คะแนน
18. เขตบึงกุ่ม 4,685 คะแนน
19. เขตปทุมวัน 1,569 คะแนน
20. เขตป้อมปราบฯ 2,661 คะแนน
21. เขตพญาไท 2,161 คะแนน
22. เขตพระโขนง ไม่ส่งผู้สมัคร
23. เขตพระนคร 3,183 คะแนน
24. เขตภาษีเจริญ 2,331 คะแนน
25. เขตมีนบุรี 895 คะแนน
26. เขตยานนาวา ไม่ส่งผู้สมัคร
27. เขตราชเทวี 2,675 คะแนน
28.เขตราษฎร์บูรณะ 2,494 คะแนน
29.เขตลาดพร้าว 2,587 คะแนน
30.เขตวังทองหลาง 2,319 คะแนน
31.เขตวัฒนา 2,216 คะแนน
32.เขตสวนหลวง ไม่ส่งผู้สมัคร
33.สะพานสูง 1,526 คะแนน
34.เขตสัมพันธวงศ์ 1,459 คะแนน
35.เขตสาทร 3,922 คะแนน
36.เขตหนองแขม 4,976 คะแนน
37.เขตหนอกจอก 735 คะแนน
38.เขตหลักสี่ 1,464 คะแนน
39.เขตห้วยขวาง ไม่ส่งผู้สมัคร
40. เขตจตุจักร เขต 1 ได้ 1,385 คะแนน , เขต 2 ได้ 2,369 คะแนน
41. จอมทอง เขตที่ 1 ไม่ส่งผู้สมัคร ,เขต 2 ไม่ส่งผู้สมัคร
42. สายไหม ไม่ส่งผู้สมัครทั้ง 2 เขต
43. บางเขน ไม่ส่งผู้สมัครทั้ง 2 เขต
44. บางแค เขต 1 1,389 คะแนน ,เขต 2 ได้ 1,780 คะแนน
45. บางกะปิ เขต 1 ไม่ส่งผู้สมัคร ,เขต 2 ได้ 1,493 คะแนน
46. บางขุนเทียน ไม่ส่งผู้สมัครทั้ง 2เขต
47. ประเวศ ไม่ส่งผู้สมัครทั้ง 2เขต
48. คลองสามวา ไม่ส่งผู้สมัครทั้ง 2เขต
49. ดอนเมือง เขต 1 ได้ 980 คะแนน ,เขต 2 ได้ 1,194 คะแนน
50. ลาดกระบัง เขต 1 ไม่ส่งผู้สมัคร , เขต 2 ได้ 1,817 คะแนน
ทั้ง นี้ผลการเลือกตั้ง สก.ทั้ง 61 เขตเลือกตั้ง ปรากฏว่าพรรคการเมืองใหม่ได้คะแนนเข้าที่ 2 เพียงไม่กี่เขต ส่วนใหญ่จะเข้าที่ 3 และบางเขตเข้าที่ 4
เมื่อรวมคะแนนทั้งหมดในการเลือกตั้ง สก. พรรคการเมืองใหม่ได้แค่ 112, 224 คะแนน
และเมื่อนำมาเทียบกับ 250,000 คะแนน ที่เป็นคะแนนขั้นต่ำสำหรับที่จะได้ที่นั่ง ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ 1 ที่นั่ง ยังไม่ถึงครึ่งด้วยซ้ำไป
และยิ่งตอนนี้สภาพของแกนนำพันธมิตรฯ แตกคอกันไปคนละทาง ก็ยิ่งทำให้เสียงของสมาชิกพันธมิตรฯ แตกและร่อยหรอลงไปอีก
ส่วน "พรรครักษ์สันติ" ของ ร.ต.อ. ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ และ "พรรคประชาสันติ" ที่หวังแจ้งเกิดทางการเมืองในครั้งนี้ ก็อาจต้องประสบชะตากรรมเหมือน" พรรคมัชฌิมาธิปไตย" ของ "ประชัย เลี่ยวไพรัตน์" ที่ไม่ได้สักที่นั่งเดียวในการเลือกตั้งปี 50 ก็เป็นได้
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=701244
------------------------------------------
FfF