30 มิถุนายน 2554

<<< ติมอร์โมเดล >>>

เอกสารประกอบการสอน รายวิชา ส.311
เรื่อง : ประวัติศาสตร์ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ติมอร์-เลสเต)
--------------------------------------------------------------------------
ประวัติศาสตร์ประเทศติมอร์ตะวันออก (Timor - Leste)

ยุคตกเป็นเมืองขึ้นของโปรตุเกส
ย้อนกาลเวลาไป 400 ปี ดินแดนที่เรียกว่าเกาะติมอร์นี้เคยเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ด้วยเครื่องเทศซึ่งพ่อค้าชาวโปรตุเกสเพียรพยายามเดินเรือมาค้าขายด้วยเป็นรายแรก ต่อจากนั้นก็ตามมาด้วยพ่อค้าจากเนเธอร์แลนด์ หรือดัตช์ หรือ ฮอลแลนด์ หรือ ฮอลันดา จวบจนปี พ.ศ.2402 (ค.ศ. 1859) จึงได้เกิด “สนธิสัญญาลิสบอน” ทำให้ 2 ชาติแบ่งกันเข้าครอบครองติมอร์ โดยชาวโปรตุเกสครอบครองซีกตะวันออกและให้ดัตช์เข้าครอบครองส่วนที่เป็นซีกตะวันตก
- ติมอร์ตะวันออก ตกเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส มานานกว่า 400 ปี ภายใต้ความตกลงระหว่างโปรตุเกส กับเนเธอร์แลนด์ (ฮอลันดา) เมื่อ ปี พ.ศ.2446 (ค.ศ. 1903) ได้แบ่งอาณาเขตของเกาะติมอร์ ออกเป็นสองส่วนโดย เกาะติมอร์ด้านตะวันออกเป็นของโปรตุเกส และเกาะติมอร์ด้านตะวันตกเป็นของเนเธอร์แลนด์ - ในปี พ.ศ.2055 (ค.ศ. 1512) ชาวโปรตุเกสเดินเรือมาพบเกาะติมอร์แห่งนี้จึงเข้ายึดครองเป็นอาณานิคม(เมืองขึ้น)ของโปรตุเกส
- ติมอร์ตะวันออกเป็นอาณานิคมของโปรตุเกสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2063 (ค.ศ. 1520)
-พ.ศ.2446 (ค.ศ. 1903) เนเธอร์แลนด์ (ฮอลันดา) เข้ายึดครองอินโดนีเซียและเกิดการสู้รบกับโปรตุเกสจนกระทั่งได้ทำข้อตกลงเพื่อยุติการสู้รบ โดยเนเธอร์แลนด์ได้ครอบครอง เกาะติมอร์ด้านตะวันตก ส่วนโปรตุเกสครอบครองเกาะติมอร์ด้านตะวันออก และ ส่วนแยกโอกุสซี
- ในปี 2521 (ค.ศ. 1978) โปรตุเกส ประกาศเลิกการยึดครองติมอร์ ทำให้เกิดพรรคการเมืองชื่อ “เฟรติลิน(FRETILIN)” ขึ้นในติมอร์ตะวันออก
- ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939-1945 ) ออสเตรเลีย ซึ่งเป็นประเทศใกล้เคียงกับติมอร์ได้ยกกองทัพเข้ายึดครอง “ติมอร์ตะวันออก” เพื่อเป็นฐานทัพดักสกัดญี่ปุ่นที่กำลังบุกยึดอาณาเขตในย่านนี้ไม่ให้ล่วงล้ำเข้าไปสู่ออสเตรเลีย
- ในปี พ.ศ.2493 (ค.ศ. 1950) เนเธอร์แลนด์ ได้ปลดปล่อยอินโดนีเซีย จากการเป็นอาณานิคม(ได้ให้เอกราช) และมอบติมอร์ตะวันตกให้อยู่ภายใต้การปกครองของ อินโดนีเซีย ขณะที่โปรตุเกสยังครอบครองติมอร์ตะวันออกต่อไป (ติมอร์ตะวันออกยังคงเป็นของโปรตุเกส จนถึงปี พ.ศ.2521)
- ในปี พ.ศ.2510 ประชาชนติมอร์ตะวันออกเริ่มมีการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชจากโปรตุเกส
- ในปี พ.ศ.2517 (ค.ศ. 1974) มีการก่อรัฐประหารขึ้นในประเทศโปรตุเกสเพื่อโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโปรตุเกสตกลงใจที่จะปลดปล่อยอาณานิคมของตนซึ่งรวมถึงติมอร์ตะวันออกด้วย
- ในปี พ.ศ.2518 (ค.ศ. 1975) โปรตุเกส ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นในติมอร์ตะวันออก (เพื่อเตรียมการปกครองตนเอง ) ซึ่งมีนโยบายที่จะค่อย ๆ เริ่มปกครองตนเองแต่ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของโปรตุเกส พรรคเฟรติลิน(FRETILIN) มีนโยบายที่เป็นไปในแนวทางสังคมนิยมและต้องการแยกตัวเป็นเอกราช ส่วน พรรค APODETI มีนโยบายที่จะรวมชาติกับอินโดนีเซีย
การเข้ายึดครองของอินโดนีเซีย
- อินโดนีเซียส่งกองทัพบุกเข้ายึดติมอร์ตะวันออกและแปรสภาพติมอร์ตะวันออกเป็นส่วนหนึ่งของอินโดนีเซีย
- ในปี พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) อินโดนีเซียประกาศให้ ติมอร์ตะวันออกเป็นจังหวัดที่ 27 ของอินโดนีเซีย แต่ พรรคเฟรติลิน(FRETILIN)ก็ได้ต่อต้านการยึดครองของ
- การต่อสู้ระหว่างกำลังทหารของ อินโดนีเซีย กลุ่มพรรคเฟรติลิน(FRETILIN) เป็นไปอย่างยืดเยื้อยาวนาน ตั้งแต่ปี 2519-2541 (20 ปี)
- ในปี พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) สหภาพยุโรป ได้ประกาศสนับสนุนข้อเรียกร้องของโปรตุเกส ที่เสนอให้มีการจัดการลงประชามติเพื่อตัดสินอนาคตของติมอร์ตะวันออก
- ใน 2542 (ค.ศ. 1999) กลุ่มผู้สนับสนุนอินโดนีเซียก่อเหตุสังหารกลุ่มผู้สนับสนุนการเรียกร้องการเป็นเอกราชจนทำให้เกิดการจลาจลขึ้น อินโดนีเซีย ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้จึงขอให้ UN เข้าดำเนินการเพื่อยุติความรุนแรงใน ติมอร์ตะวันออก
- การปราบปรามกลุ่มที่ต่อต้านการยึดครองด้วยวิธีการที่โหดร้ายทารุณ การกระทำของอินโดนีเซียที่กระต่อติมอร์ตะวันออก ทำให้นานาชาติเริ่มให้ความสนใจ และประนามการกระทำที่ไร้มนุษยธรรมของ อินโดนีเซีย เนื่องจากเป็นดินแดนที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และทำให้ UN เริ่มให้ความสนใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในติมอร์ตะวันออก
- อินโดนีเซียถูกกดดันจากนานาประเทศทั่วโลก นานชาติจึงได้ร่วมกันเรียกร้องให้มีการลงประชามติ และกดดันให้ อินโดนีเซีย ปลดปล่อย ติมอร์ตะวันออก เป็นเอกราชปลดปล่อยติมอร์ตะวันออก
ยุคเป็นเอกราชจากอินโดนีเซีย
- ปี 2542 (ค.ศ. 1999) กองกำลังนานาชาติของสหประชาชาติ (INTERFET) ถูกส่งเข้าไปในติมอร์ตะวันออก เพื่อฟื้นฟูสันติภาพ และรักษาความปลอดภัยในติมอร์ตะวันออกจนเหตุการณ์เริ่มสงบลง
- ในปี 2542 (ค.ศ. 1999) สหประชาชาติ(UN) ได้ดำเนินการให้มีการลงประชามติในการกำหนดอนาคตของติมอร์ตะวันออกว่า ต้องการจะเป็นเอกราช (จะแยกตัวเป็นอิสระ)หรือต้องการเป็นส่วนหนึ่งของอินโดนีเซียต่อไป โดย คณะมนตรีความมั่นคงแห่งองค์การสหประชาชาติ(UN)ได้มีมติเมื่อเดือน มิ.ย. 1999 จัดตั้งหน่วยงาน UNAMET (UNITED NATIONS ASSISTANCE MISSION IN EAST TIMOR) เพื่อเตรียมให้มีการลงประชามติ และในวันที่ 30 ส.ค. 1999
- ในปี 2542 (ค.ศ. 1999) ผลการลงประชามติ ปรากฏว่าส่วนใหญ่(ร้อยละ 80) ต้องการเป็นเอกราช (การแยกตัวออกจากการปกครองของอินโดนีเซีย) ทำให้กลุ่มที่ต้องการรวมกับอินโดนีเซียไม่พอใจ ก่อเหตุรุนแรงขึ้นอีก ด้วยการเผาทำลายอาคารบ้านเรือนและเข่นฆ่าประชาชนที่สนับสนุนการเป็นเอกราช
- ปี 2542 (ค.ศ. 1999) มีการลงนามหยุดยิงระหว่างกลุ่มที่สนับสนุนการเป็นเอกราช และกลุ่มที่ต้องการรวมกับอินโดนีเซีย ณ เมืองดิลี(Dili)
- การออกเสียงแสดงประชามติของชาวติมอร์ ในปี 2544(ค.ศ. 2001) และครั้งที่ 2 ในปี 2545 (ค.ศ. 2002) ปรากฏว่า นาย ซานานา กุสเมา ( XANANA GUSMAO ) อดีตผู้นำพรรคเฟรติลิน(FRETILIN) ได้ชัยชนะ ได้เป็นประธานาธิบดีคนแรกของติมอร์ตะวันออก

สรุป
โปรตุเกสถอนตัวออกไปเมื่อปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) อินโดนีเซียได้ส่งทหารเข้ายึดครองติมอร์โดยผนวกเข้าเป็นจังหวัดที่ 27 เมื่อรัฐบาลอินโดนีเซียยินยอมให้ชาวติมอร์ตะวันออกลงประชามติเพื่อแยกตัวเป็นเอกราชจากอินโดนีเซีย ในปี 2542 (ค.ศ. 1999) ประชาชนชาวติมอร์ตะวันออกสนับสนุนการแยกตัวเป็นเอกราช จึงก่อให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงในติมอร์ตะวันออกอีกจากกลุ่มที่สนับสนุนให้รวมกับอินโดนีเซีย สหประชาชาติได้ตัดสินใจจัดตั้งกองกำลังนานาชาติ International Force in East Timor – INTERFET) เพื่อส่งเข้าไปรักษาสันติภาพในติมอร์ตะวันออก ก่อนที่จะประกาศเอกราชในวันที่ 20 พฤษภาคม 2545 (ค.ศ. 2002) เมื่อประเทศติมอร์ตะวันออกเข้าร่วมองค์การสหประชาชาติในปีเดียวกัน ก็ได้ตกลงว่าจะเรียกประเทศอย่างเป็นทางการว่า ติมอร์-เลสเต (Timor-Leste) ซึ่งเป็นชื่อในภาษาโปรตุเกส

-------------------------------------------------------
FRETILIN - Frente Revolucionaria do Timor Leste Independente East Timor
APODETI - Associacao Popular Democratica de Timor

้http://www.bbcpoint.ob.tc/2551m1/Timor-LesteHistory.doc

+++++++++++++++++++++++++++++++

วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 17 ฉบับที่ 6269 ข่าวสดรายวัน

ติมอร์ตะวันออก(1): ซานานา กุสเมา

รู้ไปโม้ด
nachart@yahoo.com


อยากทราบว่าประมุขหรือประธานาธิบดีของติมอร์ตะวันออกมีกี่ท่าน และอยากทราบประวัติและภาพประกอบ

เจนกับจูน

ตอบ เจนกับจูน

นับแต่ติมอร์ตะวันออกประกาศเอกราช เป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต ภายหลังได้รับเอกราชเต็มตัวเมื่อ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2545 ติมอร์-เลสเตมีประธานาธิบดีถึงปัจจุบันรวม 2 คน คนแรกคือ ซานานา กุสเมา และคนที่ 2 คือ โจเซ รามอส-ฮอร์ตา

ซานานา กุสเมา-Xanana Gusmao เกิดที่เมืองมานาตูโต ชานกรุงดิลี วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2486 เรียนหนังสือจากโรงเรียนสอนศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก จบการศึกษาระดับมัธยมแล้วเดินทางเข้าเมืองดิลี เป็นครูสอนภาษาโปรตุเกสที่โรงเรียนจีน พ.ศ.2517 เขาสมัครเป็นนักข่าว และเข้าร่วมขบวนการกู้ชาติของติมอร์ตะวันออก-FRETILIN

7 ธันวาคม 2518 ทหารอินโดนีเซียบุกเข้ายึดติมอร์ตะวันออก ผนวกเป็นจังหวัดหนึ่งของอินโดนีเซีย ซานานาพร้อมกองกำลังของกลุ่มเฟรติลิน-FRETILIN ขึ้นภูเขาจับอาวุธสู้ จนปี 2524 เขาได้รับเลือกเป็นผู้บัญชาการกองกำลังปลดปล่อยติมอร์ตะวันออก เดินทางไปทั่วเพื่อสร้างแนวร่วม และจัดตั้งกองกำลังอิสระกระจายทั้งประเทศ ผลงานจรยุทธ์ทำให้ตกเป็นบุคคลที่ทางการอินโดนีเซียต้องการตัวมากที่สุด

12 พฤศจิกายน 2534 ทหารอินโดนีเซียสังหารหมู่ชาวเมืองดิลี ในสุสานซานตาครูซ ขณะที่คนเหล่านั้นเดินขบวนเรียกร้องเอกราช มีผู้เสียชีวิตกว่า 200 คน นักข่าวต่างประเทศบันทึกภาพเหตุการณ์นั้นไว้ได้ นำออกเผยแพร่เป็นที่สะเทือนใจคนทั่วโลก ทำให้การเรียกร้องเอกราชของติมอร์ตะวันออกเป็นที่สนใจขึ้นอีกครั้ง

ปีต่อมาซานานาลักลอบเข้าเมืองดิลีเพื่อติดต่อกับแนวร่วม แต่ถูกเพื่อนทรยศ 20 พฤศจิกายน 2535 เขาถูกจับกุมส่งไปเรือนจำกรุงจาการ์ตา ศาลพิพากษาจำคุกตลอดชีวิต ท่ามกลางเสียงคัดค้านของนานาชาติ เป็นนักโทษการเมืองที่โดดเด่นคนหนึ่งของโลกเวลานั้น ซานานาใช้เวลาในคุกวางแผนยุทธศาสตร์ เรียนภาษาอังกฤษ ภาษาอินโดนีเซีย กฎหมาย แต่งบทกวีและวาดภาพ เขาเป็นสัญลักษณ์ของการเรียกร้องเอกราชของชาวติมอร์ตะวันออก

เมษายน 2541 มีการจัดตั้งสภาเพื่อการต่อต้านแห่งชาติติมอร์ตะวันออก ซานานาได้รับเลือกเป็นผู้นำสูงสุด เดือนถัดมาเมื่อประธานาธิบดีซูฮาร์โตลาออก เสียงเรียกร้องเอกราชของติมอร์ตะวันออกกระหึ่มอีกครั้ง ผู้นำทั่วโลกกดดันให้รัฐบาลใหม่ของอินโดนีเซียยอมให้ชาวติมอร์ตะวันออกตัดสินว่าจะเป็นเอกราช หรือเป็นส่วนหนึ่งของอินโดนีเซีย

30 สิงหาคม 2542 อินโดนีเซียยอมให้มีการลงประชามติ โดยมีเจ้าหน้าที่จากสหประชาชาติเป็นผู้ควบคุมการลงประชามติ ผลปรากฏว่าร้อยละ 78.5 ของชาวติมอร์ตะวันออกต้องการเป็นเอกราช แต่หลังจากนั้นฝ่าย militias ที่ได้รับการติดอาวุธจากทหารอินโดนีเซีย ออกมาเข่นฆ่าชาวติมอร์ตะวันออกล้มตายจำนวนมาก เผาบ้านเรือนหมดสิ้น ส่งผลให้มีผู้ลี้ภัยไปอยู่ติมอร์ตะวันตกถึงกว่า 200,000 คน ช่วงเวลานั้นซานานาได้รับการปล่อยตัว เขาลี้ภัยการเมืองไปออสเตรเลีย

15 กันยายน 2542 กองทหารสหประชาชาติเข้ารักษาความสงบในติมอร์ตะวันออก กวาดล้างพวก militias พร้อมกับที่ซานานาได้กลับติมอร์ ร่วมสร้างชาติที่ยับเยินขึ้นใหม่ และในการเลือกตั้งทั่วไป 14 เมษายน 2545 เขาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคนแรก สาบานตนเข้ารับตำแหน่งวันที่ 20 พฤษภาคม ปีเดียวกัน และเมื่อนายกรัฐมนตรี โจเซ รามอส-ออร์ตา ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี เมื่อ 9 พฤษภาคม 2550 ซานานา กุสเมา ก็สลับลงไปเป็นนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน

พรุ่งนี้ 29 มกราคม พบกับประธานาธิบดีแห่งติมอร์-เลสเต

หน้า 22

http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURONWIzVXdOREk0TURFMU1RPT0=§ionid=Y25Wd1lXbHRiMlJs&day=TWpBd09DMHdNUzB5T0E9PQ==

+++++++++++++++++++++++++++++++

วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 17 ฉบับที่ 6270 ข่าวสดรายวัน

ติมอร์ตะวันออก(จบ): โจเซ่ รามอส-ฮอร์ตา

คอลัมน์ รู้ไปโม้ด
น้าชาติ ประชาชื่น nachart@yahoo.com


อยากทราบว่าประมุขหรือประธานาธิบดีของติมอร์ตะวันออกมีกี่ท่าน และอยากทราบประวัติและภาพประกอบ

เจนกับจูน

ตอบ เจนกับจูน

วานนี้ 28 มกราคม เล่าประวัติประธานาธิบดีวีรบุรุษติมอร์ตะวันออก หรือสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต ซานานา กุสเมาแล้ว วันนี้ถึงคิวประธานาธิบดีคนที่ 2 และคนปัจจุบัน

โจเซ รามอส-ฮอร์ตา-Jose Ramos-Horta เกิดวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2492 ที่กรุงดิลี มารดาเป็นชาวติมอร์ตะวันออก ส่วนบิดามีเชื้อสายโปรตุเกส ซึ่งถูกส่งตัวมายังติมอร์ตะวันออกที่ขณะนั้นเป็นเมืองขึ้นโปรตุเกส เนื่องจากเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ประท้วงผู้นำโปรตุเกส

ฮอร์ตาจบปริญญาตรีด้านกฎหมาย จาก Hague Academy of International Law เนเธอร์แลนด์ และจบปริญญาโทสาขาการศึกษาสันติภาพ จาก Antioch University รัฐโอไฮโอ กลับติมอร์ตะวันออกมาเข้าร่วมเคลื่อนไหวเพื่อการเป็นเอกราชจากโปรตุเกส จึงต้องโทษคล้ายกับที่บิดาเคยโดนมาแล้ว คือถูกโปรตุเกสเนรเทศตัวไปยังประเทศโมซัมบิกในปี 2513 กระทั่งปี 2515 กลับเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มเรียกร้องเอกราชเฟรติลินในสงครามกลางเมืองของติมอร์ตะวันออก

พ.ศ.2518 เมื่อเฟรติลินเป็นพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากในรัฐบาล และได้ประกาศการเป็นประเทศเอกราชของติมอร์ตะวันออกจากโปรตุเกส ฮอร์ตาได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แต่ในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน อินโดนีเซียเข้ายึดติมอร์ตะวันออก ผนวกเข้าเป็นจังหวัดหนึ่งของตนโดยไม่ชอบธรรม ฮอร์ตาถูกส่งตัวออกนอกประเทศอีกครั้ง

เขาใช้ชีวิตอยู่ที่ซิดนีย์ ออสเตรเลีย โดยยึดอาชีพนักหนังสือพิมพ์ และความสามารถที่พูดได้คล่องถึง 5 ภาษา จึงสื่อสารกับโลกได้ดี ไม่เพียงกับหนังสือพิมพ์ทั่วโลก แต่กับนักการทูตและแกนนำระดับชาติจำนวนมาก เขาต้องลี้ภัยอยู่ต่างแดนนานถึง 24 ปี โดยเคลื่อนไหวต่อต้านอินโดนีเซียอย่างต่อเนื่อง ในฐานะทูตพิเศษของติมอร์ตะวันออกในองค์การสหประชาชาติ เป็นแกนนำกล่าวประณามการรุกรานของอินโดนีเซียในเวทีระดับโลกหลายครั้ง ถึงปี 2539 โจเซ รามอส-ฮอร์ตา ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพร่วมกับบาทหลวงคาร์ลอส เบโล

เมื่อองค์การสหประชาชาติเข้าดำเนินการจัดตั้งการถ่ายเปลี่ยนการปกครองของติมอร์ตะวันออกจากอินโดนีเซียในปี 2542 ฮอร์ตาจึงเดินทางกลับในปีถัดมา ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ กระทั่งติมอร์ตะวันออกได้รับเอกราชโดยสมบูรณ์ในปี 2545

พ.ศ.2549 เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นายกรัฐมนตรี มารี อัลกาตีรี ลาออกจากตำแหน่ง ด้วยข้อกล่าวหามีส่วนเกี่ยวข้องในการไล่ข้าราชการทหารออกจากกองทัพกว่าร้อยละ 40 ฮอร์ตาจึงขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อกรกฎาคม 2549 และการเลือกตั้งประธานาธิบดีวันที่ 9 พฤษภาคม 2550 เขาได้รับคะแนนเสียงสูงถึงร่วมร้อยละ 70 ของผู้มาลงคะแนนทั้งหมด และเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2550 โดยที่การเลือกตั้งครั้งนี้ ผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งนานาชาติยกย่องว่าการเลือกตั้งที่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญเพื่อนำไปสู่ความแข็งแกร่งของระบอบประชาธิปไตยของติมอร์ตะวันออก

โจเซ่ รามอส ฮอร์ต้า กล่าวสุนทรพจน์ครั้งรับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ พ.ศ.2539 ว่า "บุคคลที่ควรจะได้รับรางวัลนี้ ควรจะเป็นผู้ชายคนหนึ่งที่มีความกล้าหาญอย่างยิ่ง อดทน และเป็นรัฐบุรุษของพวกเรา ขณะที่ผมพูดอยู่นี้ เขากำลังติดคุกเพราะความปรารถนาที่จะเห็นอิสรภาพ และเสรีภาพของพวกเรา ซานาน่า กุสเมา ผู้เป็นวีรบุรุษในดวงใจของชาวติมอร์ตะวันออกทุกคน"

หน้า 22

http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURONWIzVXdNakk1TURFMU1RPT0=§ionid=Y25Wd1lXbHRiMlJs&day=TWpBd09DMHdNUzB5T1E9PQ==

+++++++++++++++++++++++++++++++

db พระสังฆราชคาร์ลอส เบโล.. 11.2008


3. พระสังฆราชคาร์ลอส เฟลีเป ฮีเมเนส เบโล (เจ้าของรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ)

คาร์ลอส ฟิลิเป ฮีเมเนส เบโล เกิดเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 1948 ในวัยเด็กท่านเรียนในโรงเรียนคาทอลิกที่เบาเกาและออสซู ต่อมาได้สมัครเข้าบ้านเณรที่ Dare minor seminary ที่นอกเมืองดีลี ที่ซึ่งท่านได้เรียนจบชั้นมัธยมฯ ในปี 1968 และจากปี 1969-1981 ท่านได้กลับมายังติมอร์ตะวันออกอีกครั้ง ท่านเคยอยู่ในประเทศโปรตุเกสและกรุงโรม ที่ซึ่งท่านเข้าเป็นสมาชิกในคณะซาเลเซียน ท่านเรียนปรัชญาศาสตร์และเทวศาสตร์จนได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ในปี 1980 คุณพ่อเบโลได้เดินทางกลับมายังประเทศติมอร์ตะวันออกในปี 1981 และได้รับหน้าที่เป็นอาจารย์อยู่นาน 20 เดือน และต่อมาได้เป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยซาเลเซียน ที่ฟาตูมากา

เมื่อมาร์ตินโอ ดา คอสตา โลเปซ ได้ลาเกษียณลงในปี 1983 คาร์ลอส ฟิลิเป ฮีเมเนส เบโล ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนของสันตะสำนัก ให้รับผิดชอบงานอภิบาลในแขวงดีลี ท่านจึงได้กลายเป็นผู้นำของพระศาสนจักรแห่งติมอร์ตะวันออก มีหน้าที่รับผิดชอบงานอภิบาลโดยขึ้นตรงต่อสันตะสำนัก และในปี 1988 ท่านก็ได้รับการอภิเษกเป็นพระสังฆราช (แห่งโลริอุม อิตาลี)

เพียงแค่ 5 เดือนหลังจากเข้ารับตำแหน่ง พระสังฆราชคาร์ลอส เบโลก็ได้แสดงท่าทีต่อต้านอย่างรุนแรงต่อการสังหารหมู่ “กราราส” อันโหดร้ายทารุณ (1983) และท่านยังได้ประณามการจับกุมกักขังชาวอินโดนีเซียจำนวนมาก ณ เวลานั้นพระศาสนจักรเป็นเพียงกระบอกเสียงเดียวของการสื่อสารกับโลกภายนอกที่ยังหลงเหลืออยู่ และด้วยความคิดนี้ในจิตใจ พระสังฆราชคาร์ลอส เบโล นายชุมพาองค์ใหม่ได้เริ่มเขียนจดหมายติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอก โดยไม่ยอมถูกปล่อยให้โดดเดี่ยว ซึ่งเกิดขึ้นมาจากการคัดค้านต่อต้านของชาวอินโดนีเซีย และความไม่แยแสของประชาคมโลก

ในเดือนกุมภาพันธ์ 1989 พระสังฆราชคาร์ลอส เบโลได้เขียนจดหมายถึงประธานาธิบดีแห่งประเทศโปรตุเกส, พระสันตะปาปา และเลขาธิการขององค์การสหประชาชาติ (UN) เพื่อเรียกร้องขอประชามติจากยูเอ็นสำหรับอนาคตของติมอร์ตะวันออก และขอความช่วยเหลือจากนานาชาติสำหรับประชาชนชาวติมอร์ตะวันออก ผู้ซึ่งเปรียบเหมือนกับ “ประชาชนและประเทศที่กำลังตายลงอย่างช้าๆ” และเมื่อจดหมายของท่านถึงยูเอ็นได้รับการตีพิมพ์ในเดือนเมษายน พระสังฆราชเบโลก็ตกเป็นเป้าสายตาของประชาชนชาวอินโดนีเซียมากขึ้น และสัญญาณอันตรายก็ได้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น เมื่อท่านได้ใช้สำนักสังฆราชของท่านเป็นที่หลบภัยและซ่อนตัวของบรรดาเยาวชนให้รอดพ้นจากการสังหารหมู่ “ซันตา ครูซ” (1991) จากการพยายามเปิดโปงจำนวนเหยื่อที่ถูกสังหารครั้งนั้น

ภารกิจหน้าที่และการพูดในที่สาธารณะของพระสังฆราชคาร์ลอส เบโล ในนามของประชาชนชาวติมอร์ตะวันออกได้นำท่านไปสู่ความเสี่ยงและอันตรายรอบด้าน ท่านได้ตกเป็นเป้าสายตาของการเฝ้าติดตามของรัฐบาลอย่างเข้มงวด โทรศัพท์ของท่านถูกดักฟังตลอด และการขอวีซ่าเดินทางของท่านมักจะถูกปฏิเสธอยู่บ่อยๆ ท่านได้กล่าวใน New Statesman & Society ว่า..ท่านไม่ได้มีความเกรงกลัวต่อการพยายามลอบสังหารถึง 2 ครั้ง (1989 และ 1991)

ความกล้าหาญและการต่อสู้อย่างไม่ยอมแพ้ของพระสังฆราชคาร์ลอส เบโล ในนามของประชาชนชาวติมอร์ตะวันออก รวมทั้งพันธกิจการงานที่ท่านได้กระทำเกี่ยวกับสันติภาพ ได้นำท่านเข้าสู่เวทีนานาชาติ จนเป็นที่รับรู้ของนานาประเทศ สิ่งนี้เองที่ส่งผลให้ท่านได้รับรางวัล “โนเบล สาขาสันติภาพ” ในเดือนธันวาคม 1996 และพระสังฆราชคาร์ลอส เบโลได้ใช้โอกาสนี้ เพื่อพบปะกับประธานาธิบดีบิล คลินตันแห่งสหรัฐอเมริกา และประธานาธิบดีเนลสัน มานเดลาแห่งอัฟริกาใต้ และข้อความตอนหนึ่งในสุนทรพจน์ของงานฯ ได้กล่าวชื่นชมพระสังฆราชคาร์ลอส เบโลไว้ว่า “ในท่ามกลางความเสี่ยงต่อชีวิต ท่านได้พยายามปกป้องประชาชนจากการละเมิดสิทธิของผู้มีอำนาจ และได้พยายามสร้างรากฐานของความยุติธรรมบนสิทธิพื้นฐานของประชาชนชาวติมอร์ตะวันออก ท่านได้เป็นกระบอกเสียงของประชาชนสำหรับการเจรจาเพื่อสันติกับรัฐบาลอินโดนีเซีย..” และนอกจากนี้ ท่านยังได้รับรางวัล “John Humphrey Freedom Award” อีกด้วย

หลังจากที่ทางการอินโดนีเซียได้ประณามรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพนี้ ก็ได้มีนักศึกษาจำนวนนับเป็นพันๆ คนเดินขบวนประท้วงไปตามถนนต่างๆ เพื่อให้การสนับสนุนพระสังฆราชคาร์ลอส เบโล และการประท้วงได้รุนแรงขึ้นสู่ระดับนานาชาติ โดยขอให้มีการยอมรับประเทศติมอร์ตะวันออก ซึ่งทางรัฐบาลอินโดนีเซียได้ตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนขึ้น เพื่อตรวจสอบการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานในติมอร์ตะวันออก โดยได้มีนายทหารสองคนถูกนำตัวมาขึ้นศาล และศาลได้ตัดสินลงโทษเพียงสถานเบาเท่านั้น และรัฐบาลอินโดนีเซียได้เห็นด้วยกับข้อเสนอของยูเอ็นที่จะการเจรจาต่อรองอย่างประนีประนอมกับโปรตุเกส แต่รัฐบาลอินได้ยกเลิกการลงประชามติต่อการประกาศอิสรภาพของประชาชน ซึ่งพระสังฆราชคาร์ลอส เบโลได้ปฏิญาณที่จะต่อสู้เพื่ออิสรภาพต่อไป โดยท่านได้ให้สัมภาษณ์ในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งว่า “แล้วสิ่งที่พวกเขา (รัฐบาลอินโดนีเซีย) ต้องการคืออะไรหรือ? ประชาชนชาวติมอร์ตะวันออกกว่า 700,000 คนต้องก้มหัวให้พวกเขากระนั้นหรือ? ขออย่าได้เหมาเอาว่า..ประชาชนชาวติมอร์ตะวันออกทุกคนจะยอมรับการรวมประเทศ แล้วก็คิดเอาเองว่า..ทุกสิ่งจะราบรื่น มันไม่ได้เป็นเช่นนั้น (ไม่ราบรื่น) มากว่า 20 ปีแล้ว และมันจะไม่เป็นเช่นนั้นต่อไปอีกยาวนานมากกว่า 20 ปี..”

หลังจากวันประกาศอิสรภาพของประเทศติมอร์ตะวันออกเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2002 ภาวะกดดันจากเหตุการณ์ และความตึงเครียดต่างๆ ที่ตามมาได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสุขภาพของพระสังฆราชคาร์ลอส เบโล ดังนั้น พระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 จึงได้ตอบรับต่อการลาเกษียณของท่าน ในฐานะผู้แทนของสันตะสำนักแห่งดีลีในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2002

หลังจากลาเกษียณ พระสังฆราชคาร์ลอส เบโลได้เดินทางไปรักษาสุขภาพของท่านที่ประเทศโปรตุเกส และในปี 2004 ท่านได้รับเรียกให้หวนคืนสู่ประเทศติมอร์ตะวันออกอีก และได้รับเชิญให้เป็นที่ปรึกษาคนหนึ่งของทำเนียบรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ในเดือนพฤษภาคม 2004 พระสังฆราชคาร์ลอส เบโลได้ให้สัมภาษณ์ผ่านทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ RTP ของโปรตุเกสว่า “พ่อได้ตัดสินใจวางมือจากการเมือง โดยยกให้เป็นหน้าที่ของนักการเมืองไปหมดแล้ว” หลังจากนั้นหนึ่งเดือน คือในวันที่ 7 มิถุนายน 2004 คุณพ่อปัสกวัล ชาเวซ วิลลานูเอวา อัคราธิการซาเลเซียน ได้ประกาศจากกรุงโรมว่า..พระสังฆราชคาร์ลอส เบโลจะได้รับหน้าที่ใหม่ โดยความเห็นชอบจากสันตะสำนัก ให้ไปเป็นธรรมทูต ณ ประเทศโมซัมบิค และเป็นสมาชิกซาเลเซียนคนหนึ่งในประเทศนั้น

ในการให้สัมภาษณ์ ณ วันที่ 8 มิถุนายน พระสังฆราชคาร์ลอส เบโลได้กล่าวว่า “จากการประชุมในปี 2003 และ 2004 ของสมณกระทรวงว่าด้วยการประกาศพระวรสารสู่ปวงชน พ่อได้มอบอุทิศตนเป็นธรรมทูตเพื่อพระอาณาจักรของพระเจ้าในประเทศโมซัมบิค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแขวงแห่งมาปูโต การเป็นธรรมทูตนั้นถือเป็นความฝันของพ่อ..ตั้งแต่สมัยยังเป็นเด็ก และตลอดระยะเวลา 19 ปีแห่งการทำงานอภิบาลในดีลี (1983-2002) หนึ่งในหัวข้อสำคัญของการพูดในที่ต่างๆ ของพ่อก็คือ งานธรรมทูตและความปรารถนาที่จะเป็นธรรมทูต และสิ่งเหล่านั้นที่พ่อเคยพูดกับประชาชนชาวติมอร์ตะวันออก ก็ได้กลับกลายเป็นความจริงในวันนี้เอง..”

กรกฎาคม 2004 พระสังฆราชคาร์ลอส เบโลได้เป็นธรรมทูตในมาปูโต ประเทศโมซัมบิค.

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=351273

+++++++++++++++++++++++++++++++

ประเทศติมอร์ตะวันออก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต
Repúblika Demokrátika Timór-Leste (เตตุม)
República Democrática de Timor-Leste (โปรตุเกส)

ตราแผ่นดิน
คำขวัญ: Unidade, Acção, Progresso
(โปรตุเกส: เอกภาพ การกระทำ ความก้าวหน้า)
เพลงชาติ: Pátria
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
ดิลี
8°34′S 125°34′E / 8.567°S 125.567°E
ภาษาทางการ ภาษาเตตุมและภาษาโปรตุเกส1
การปกครอง สาธารณรัฐ
- ประธานาธิบดี ชูเซ รามูส ฮอร์ตา
- นายกรัฐมนตรี เคย์ เรล่า ซานานา กุสเมา
เอกราช จาก โปรตุเกส2
- ประกาศ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518
- เป็นที่ยอมรับ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2545
พื้นที่
- รวม 15,007 ตร.กม. (159)
5,640 ตร.ไมล์
- แหล่งน้ำ (%) น้อยมาก
ประชากร
- ก.ค. 2552 (ประมาณ) 1,134,000 (155)
- ความหนาแน่น 76 คน/ตร.กม. (118)
179.7 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2548 (ประมาณ)
- รวม 370 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ (210)
- ต่อหัว 400 ดอลลาร์สหรัฐ (192)
ดพม. (2552) 0.489 (ต่ำ) (162)
สกุลเงิน ดอลลาร์สหรัฐ3 (USD)
เขตเวลา (UTC+9)
ระบบจราจร ซ้ายมือ
โดเมนบนสุด .tl
รหัสโทรศัพท์ 670
1 รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้ภาษาอังกฤษและภาษาอินโดนีเซีย เป็น "ภาษาปฏิบัติการ"

2 อินโดนีเซีย ยึดครองติมอร์ตะวันออกในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2518 และถอนไปในปี พ.ศ. 2542

3 นอกจากนี้ยังใช้เหรียญเซนตาโว

ประเทศติมอร์ตะวันออก (อังกฤษ: East Timor) หรือ ติมอร์-เลสเต หรือมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต (อังกฤษ: Democratic Republic of Timor-Leste) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่บนเกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วย เกาะติมอร์ด้านตะวันออก เกาะอาเตาโร (Atauro) และเกาะจาโก (Jaco) ที่อยู่ใกล้เคียง และ โอเอกุสซี-อัมเบโน (Oecussi-Ambeno) ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของเกาะติมอร์ ติมอร์ตะวันออกถูกล้อมรอบโดยพื้นที่ของประเทศอินโดนีเซีย

แต่เดิมประเทศติมอร์ตะวันออกถูกปกครองโดยประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งได้ยึดครองติมอร์ตะวันออกเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) และในปี พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) ติมอร์ตะวันออกได้แยกตัวเป็นอิสระ และได้รับเอกราชอย่างเต็มตัวเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) เมื่อประเทศติมอร์ตะวันออกเข้าร่วมองค์การสหประชาชาติในปีเดียวกัน ก็ได้ตกลงว่าจะเรียกประเทศอย่างเป็นทางการว่า ติมอร์-เลสเต (Timor-Leste) ซึ่งเป็นชื่อในภาษาโปรตุเกส

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] ประวัติศาสตร์

ดินแดนติมอร์ตะวันออกเป็นอาณานิคมของประเทศโปรตุเกสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2063 (ค.ศ. 1520) ภายหลังโปรตุเกสถอนตัวออกไปเมื่อปี พ.ศ. 2518 โดยมิได้จัดการปกครองให้แก่ติมอร์แต่อย่างใด เป็นเหตุให้ประเทศอินโดนีเซียได้ส่งทหารเข้ายึดครองติมอร์โดยผนวกเข้าเป็น จังหวัดที่ 27 ของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งต่อมาได้ถูกคัดค้านจากประชาชนชาวติมอร์เป็นเหตุให้เกิดความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่การชุมนุมทางศาสนาในพิธีมิสซาที่โบสถ์โมทาเอล (Motael) เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1991 ริมทะเลกรุงดิลี โดยผู้ชุมนุมได้เดินขบวนไปยังสุสานซานตาครูซจำนวนผู้ร่วมชุมนุมจึงมีมากขึ้น และการชุมนุมก็เปลี่ยนเป็นการเรียกร้องเอกราช โดยมีนายซานานา กุสเมา เป็นผู้นำที่มีบทบาทอย่างมากต่อการเรียกร้องเอกราชจากอินโดนีเซีย

อย่างไรก็ดีเมื่อรัฐบาลอินโดนีเซียยินยอมให้ชาวติมอร์ตะวันออกลงประชามติเพื่อแยกตัวเป็นเอกราชจากอินโดนีเซีย ในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2542 ประชาชนชาวติมอร์ตะวันออกกว่าร้อยละ 80 ออกเสียงสนับสนุนการแยกตัวเป็นเอกราช จึงก่อให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงในติมอร์ตะวันออกโดยกลุ่มกองกำลังมิลิเทีย (militia) ที่นิยมอินโดนีเซีย สหประชาชาติจึงได้ตัดสินใจจัดตั้งกองกำลังนานาชาติ (International Force in East Timor – INTERFET) เมื่อ 15 กันยายน 2542 เพื่อส่งเข้าไปรักษาสันติภาพในติมอร์ตะวันออก ก่อนที่จะประกาศเอกราชในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 ในขณะนี้ สหประชาชาติดำเนินการสนับสนุนติมอร์ตะวันออกภายใต้ United Nations Mission of Support in East Timor (UNMISET) ตั้งแต่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2545

[แก้] วิกฤตการเมืองพ.ศ. 2549

ความวุ่นวายได้เริ่มขึ้นในติมอร์ตะวันออกเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2549 หลังจากที่การชุมนุมเพื่อสนับสนุนทหารติมอร์ตะวันออก 600 นาย ซึ่งถูกปลดออกจากราชการเนื่องจากหนีทัพกลายเป็นการจลาจลที่มีผู้เสียชีวิต 5 คน และมีมากกว่า 20,000 คนที่หนีจากบ้านของตัวเอง

การต่อสู้อันรุนแรงระหว่างทหารที่สนับสนุนรัฐบาลและทหารฟาลินติลที่ไม่พอใจได้เกิดขึ้นเมื่อ พฤษภาคม 2549 [1] แม้ว่าจะยังไม่มีความชัดเจน แรงจูงใจเบื้องหลังการต่อสู้ คาดว่าจะเป็นการกระจายของกองทุนน้ำมัน และการจัดการไม่ดีของกองทัพและตำรวจติมอร์ ซึ่งรวมถึงตำรวจอินโดนีเซียเดิม และกบฎติมอร์เดิม นายกรัฐมนตรี มารี อัลกาติรี ได้เรียกความรุนแรงนี้ว่าเป็นการรัฐประหาร และได้ยอมรับความช่วยเหลือจากกองทัพจากต่างประเทศหลายชาติ[2][3] ณ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ประเทศออสเตรเลีย โปรตุเกส นิวซีแลนด์ และมาเลเซียได้ส่งทหารไปยังติมอร์ เพื่อปราบปรามความไม่สงบ [4][5]

เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ประธานาธิบดีซานานา กุสเมา ได้ขอร้องอย่างเป็นทางการให้นายกรัฐมนตรีมารี อัลคาทีรี ลาออก ซึ่งสมาชิกพรรคเฟรติลินส่วนใหญ่ได้ข้อรองให้นายกรัฐมนตรีลาออก โดยกล่าวหาว่า ได้พูดเท็จเกี่ยวกับการกระจายอาวุธให้พลเรือน [6] เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2549 นายกรัฐมนตรีมารี อัลกาติรี ได้ลาออกโดยกล่าวว่า เป็นไปเพื่อหลีกเลี่ยงการลาออกของประธานาธิบดี[7] โฆเซ รามอส ฮอร์ตา ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่เมื่อ วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 [8]

[แก้] การปกครอง

ปัจจุบันประเทศติมอร์ตะวันออกมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่ด้วยความที่เป็นประเทศใหม่ ซึ่งต้องเผชิญกับเหตุการณ์สงครามกลางเมือง และการรุกรานจากประเทศอื่น เพื่อให้การดำเนินการในติมอร์ตะวันออกเป็นไปโดยสงบ องค์การสหประชาชาติโดย สำนักงานโครงการเพื่อสนับสนุนภารกิจของในติมอร์ตะวันออก (United Nation Mission of Support in East Timor : UNMISET) เป็นหน่วยงานที่คอยให้การสนับสนุนการดำเนินการต่างๆในติมอ์ตะวันออกให้เป็น ไปอย่างเรียบร้อย ประเทศติมอร์ตะวันออกเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติเมื่อวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 2002

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

แผนที่แสดงเขตต่าง ๆ ของประเทศติมอร์ตะวันออก

ติมอร์ตะวันออกแบ่งเขตการปกครองเป็น 13 เขต (administrative districts) ดังนี้

  1. เขตเลาเตง
  2. เขตเบาเกา
  3. เขตวีเกเก
  4. เขตมานาตูโต
  5. เขตดิลี
  6. เขตไอเลอู
  7. เขตมานูฟาอี
  8. เขตลีกีซา
  9. เขตเอร์เมรา
  10. เขตไอนาโร
  11. เขตโบโบนาโร
  12. เขตโกวา-ลีมา
  13. เขตโอเอกุสซี-อัมเบโน

[แก้] ภูมิประเทศ

ประเทศติมอร์ตะวันออกเป็นประเทศหมู่เกาะ จัดเป็นเกาะในกลุ่มเกาะอินโดนีเชีย เรียกว่า เกาะติมอร์ ด้วยเงื่อนไขทางภูมิศาสตร์ที่เป็นเกาะขนาดเล็ก เกาะติมอร์ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย และอยู่ห่างจากกรุงจาการ์ตาของประเทศอินโดนีเซียไปทางตะวันออกประมาณ 2,100 กิโลเมตร ประเทศติมอร์ตะวันออกประกอบไปด้วยดินแดนส่วนปลายด้านตะวันออกของเกาะติมอร์ และมีดินแดนส่วนแยกเขตโอกุสซีที่ตั้งอยู่บนชายฝั่งทางตอนเหนือของติมอร์ตะวันตกซึ่งอยู่ในการปกครองของประเทศอินโดนีเซีย

[แก้] ภูมิอากาศ

ประเทศติมอร์ตะวันออกมีเพียงสองฤดู เช่นเดียวกับทางภาคใต้ของประเทศไทย คือมีฤดูฝน และฤดูแล้งเหมือนประเทศไทย ภูมิอากาศบางแห่งมีภูมิอากาศแบบสะวันนา ด้วยเหตุที่ได้รับลมแล้งจากทะเลทรายทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย ทรัพยากรทางธรรมชาติของติมอร์ตะวันออกคือ น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ซึ่งอาจมีมากไม่แพ้ประเทศบรูไนที่อยู่ในทะเลลึกที่เรียกว่า Timor Gap ซึ่งอยู่ครึ่งทางระหว่างติมอร์ตะวันออกกับประเทศออสเตรเลีย ส่วนพืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ กาแฟ มะพร้าว โกโก้ ข้าวโพด และปศุสัตว์ที่สำคัญได้แก่ โค กระบือ แกะ ม้า และทรัพยากรสัตว์น้ำที่มีอยู่มากมาย

[แก้] เศรษฐกิจ

ลู่ทางการค้าการลงทุนในติมอร์ตะวันออกที่มีศักยภาพ คือ ไร่กาแฟ การประมง ธุรกิจการท่องเที่ยว รวมถึงแหล่งทรัพยากรประเภทน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติใน เขต Timor Gap ซึ่งอยู่ระหว่างติมอร์ตะวันออกกับออสเตรเลีย อย่างไรก็ดี ธุรกิจเหล่านี้ยังจำเป็นต้องได้รับการพัฒนา และการสนับสนุนด้านการเงินจากนักลงทุนภายนอกอยู่มาก เนื่องจากติมอร์ตะวันออกยังขาดเงินทุน และชาวติมอร์ตะวันออกยังขาดทักษะในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ กอปรกับในปัจจุบันมีอัตราผู้ว่างงานสูงประมาณร้อยละ 80 ซึ่งในส่วนของนักธุรกิจไทยจำเป็นต้องศึกษาความเป็นไปได้ของระเบียบรวมถึง อุปสรรคดังกล่าวต่าง ๆ ข้างต้น เพื่อประกอบการพิจารณาถึงความเสี่ยงในการลงทุนในติมอร์เลสเต และขณะนี้สินค้าส่วนใหญ่ในติมอร์ตะวันออกนำเข้าจากออสเตรเลีย เพื่อรองรับการบริโภคของคณะเจ้าหน้าที่จากสหประชาชาติและคณะทูตที่ปฏิบัติ งานในติมอร์ตะวันออก

[แก้] การคมนาคม

ใจกลางกรุงท่าอากาศยานนานาชาติดิลี (Presidente Nicolau Lobato International Airport) เป็นสนามบินนานาชาติเพียงแห่งเดียวในติมอร์ตะวันออก และท่าเรือติมอร์ และ ท่าเรือดิลี ท่าเรือสำคัญของประเทศ

[แก้] ประชากร

งานแต่งงานของชาวติมอร์เชื้อสายจีนแคะ ปี ค.ศ. 2006

ประเทศติมอร์ตะวันออกมีประชากรประมาณ 1,040,880 คน โดยประชากรมีความหลากหลายทางด้านชาติพันธุ์ และภาษาที่มีถึง 30 กลุ่ม โดยต่างคนต่างอยู่ นอกจากนี้ยังมีชุมชนชาวติมอร์เชื้อสายจีน และคนไทยในกรุงดิลี ส่วนภาษาทางการนั้นไม่เป็นที่ตกลงแน่นอนว่าจะใช้ภาษาใดเป็นภาษาทางการ แต่ภาษาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในติมอร์ตะวันออก คือ ภาษาเตตุม ภาษาโปรตุเกส ภาษาอินโดนีเซีย และภาษาอังกฤษ โดยสองภาษาหลังนี้ทางการถือเป็นภาษาปฏิบัติการ นอกจากนี้ยังมีภาษาของชนเผ่าพื้นเมืองต่างๆที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ

[แก้] วัฒนธรรม

ประชาชนชาวติมอร์ตะวันออกส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามชนบท โดยส่วนมากยังทำการเกษตรแบบดั้งเดิม และพึ่งพาตนเอง มีการศึกษาต่ำ มีการจับปลาและเลี้ยงสัตว์ ผู้คนส่วนใหญ่ค้าขายไม่เป็น ไม่มีความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรม เครื่องจักรกล แต่ชาวติมอร์ตะวันออกนั้นมีความเคารพในระบบอาวุโส มีระบบเครือญาติที่แข็งแกร่ง รักพวกพ้อง รักขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม โดยสตรีชาวติมอร์นั้นจะทำงานหนักในขณะที่บุรุษมักไม่ค่อยช่วยงานบ้าน

[แก้] ศาสนา

รูปปั้นพระแม่มารีของศาสนาคริสต์ในเมืองดิลี
ศาสนา จำนวนศาสนิก[9] ร้อยละ
นิกายโรมันคาทอลิก 715,285 คน 96.5 %
นิกายโปรเตสแตนต์ 16,616 คน 2.2 %
นับถือผี/ไสยศาสตร์ 5,883 คน 0.8 %
ศาสนาอิสลาม 2,455 คน 0.3 %
ศาสนาพุทธ 484 คน 0.06 %
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู 191 คน 0.02 %
อื่นๆ 616 คน 0.08 %
รวม 741,530 คน 100.00 %

ประชากรส่วนใหญ่ในประเทศติมอร์ตะวันออกนับถือศาสนาคริสต์ โดยแยกเป็นสองนิกายหลัก คือ นิกายโรมันคาทอลิก มีศาสนิกกว่าร้อยละ 96 ส่วนนิกายโปรเตสแตนต์นั้นมีร้อยละ 2.2 มีส่วนน้อยนับถือศาสนาอิสลามซึ่งส่วนใหญ่เป็นแบบซุนนีย์ นอกนั้นนับถือศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และอื่นๆ[9]

[แก้] อ้างอิง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น


http://th.wikipedia.org/wiki/ประเทศติมอร์ตะวันออก

+++++++++++++++++++++++++++++++

FfF