นอกจากบล็อคยิ่งลักษณ์และเสื้อแดงทั้งหมดไม่ให้เป็น ส.ส. เมื่อวานนี้
คงต้องลุ้นอีกหลายยก ถ้ากดดันฝ่ายนั้นไม่ได้มีโอกาสปิ๋วสูง
ล่าสุดเริ่มมีการปล่อยข่าวมาเป็นลำดับแล้วเรื่องการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
เริ่มมีการปลุกระดมอีกแล้วนี่เป็นอีกหนึ่งที่หนึ่ง กระทู้นี้
--------------------------------------------------------
สมบัติชาติจะเหลือบ้างไหม?!! เมื่อ เพื่อไทย กับ แผนแปรรูปรัฐวิสาหกิจ กลับฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง
http://www.oknation.net/blog/kondernpa/2011/07/12/entry-1
--------------------------------------------------------
ถามว่าในรัฐบาลอภิสิทธิ์คลังไปอยู่ที่ไหน
ถึงได้ขยันมาปลุกแปรรูปรัฐวิสาหกิจในรัฐบาลนี้
ในขณะที่ยังไม่รู้ว่า จะได้เป็นหรือไม่
งานนี้ก็คือการสอดไส้หวังปลุกระดมชาวรัฐวิสาหกิจ
ซึ่งเป็นกำลังสำคัญของม็อบพันธมิตร
ให้ออกมาก่อหวอดอีก
อันที่จริงหลายรัฐวิสาหกิจกำลังมีความจำเป็น
ต้องแปรรูปเพื่อการอยู่รอดอยู่แล้วตามนี้
--------------------------------------------------------
'ดีดี'ยันจำปีต้องแปรรูป
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ
วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน 2011 เวลา 08:37 น.
"ปิยสวัสดิ์" เปิดมุมมองแปรรูปการบินไทย ชี้ระยะยาวปลดล็อกพ้นกฎเกณฑ์รัฐวิสาหกิจถือเป็นหัวใจสำคัญ คล่องตัวในการบริหาร สร้างเกาะป้องกันการเมืองแทรกแซง ยันต้องแข่งขันกับ 150 สายการบินชั้นนำของโลกระบุขณะนี้สายการบินแห่งชาติล้วนถูกเทกถ้วนหน้า แจงที่ผ่านมาแผนปรับปรุง-จัดซื้อเครื่องบิน -ตั้งไทยไทเกอร์ สะดุดล่าช้ามาก ต้องผ่านขั้นตอนยุ่งยากทำเสียโอกาสทางธุรกิจ ด้าน"ดร.กบ"ยันต้องรอรัฐบาลใหม่ตัดสิน
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)หรือดีดีการบินไทย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ต่อมุมมองแนวคิดในการแปรรูปของการบินไทยก่อนที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)กระทรวงการคลัง มีแผนจะเสนอรัฐบาลชุดใหม่อนุมัติแนวทางการลดสัดส่วนการถือหุ้นของกระทรวงการคลังในการบินไทยลงจากที่ถืออยู่ 51% ว่า เพราะการบินไทยเป็นสายการบินแห่งชาติ ที่ต้องแข่งขันกับสายการบินต่าง ๆ ที่มีกว่า 150 สายการบินทั่วโลก ยังไม่รวมสายการบินต้นทุนต่ำอีกจำนวนมาก หากเทียบกับ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ที่เป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในไทย ก็ไม่ได้ไปแข่งขันกับสหรัฐฯหรือยุโรปที่ต้องแข่งกับเชลล์หรือเอ็กซอน
"แต่ทุกวันนี้โลกของธุรกิจการบินมีการเปิดเสรีการบินกันหมดแล้ว สิทธิการบินแทบจะไม่มีความหมาย ใครจะบินไปไหนทำได้หมด คู่แข่งคือสายการบินชั้นนำของโลก แต่การบินไทยยังเป็นรัฐวิสาหกิจ และยังเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำให้ต้องยึดกฎเกณฑ์ทั้ง 2 ด้าน โดยเฉพาะโครงสร้างการบริหารที่ต้องดำเนินกฎเกณฑ์ความเป็นรัฐวิสาหกิจ ก็ทำให้ไม่มีความคล่องตัว"
ดีดีการบินไทยยังระบุอีกว่า ด้วยกฎเกณฑ์ทั้งสองด้านทำให้การจะทำอะไรเต็มไปด้วยเงื่อนไข ผ่านการพิจารณาหลายขั้นตอนจากทั้งกระทรวงคมนาคม หรือแม้แต่การจะจัดหาเครื่องบินใหม่ ปรับปรุงบริการต่าง ๆ ก็ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรี การลงทุนหรือร่วมทุนกับใคร อย่างการจัดตั้งสายการบินไทยไทเกอร์ ก็ไม่สามารถดำเนินการเองได้ ต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐ และยังเป็นองค์กรที่เต็มไปด้วยการวิ่งเต้นมากมาย การแทรกแซงจากข้างนอกและการเมือง และวัฒนธรรมองค์กรก็เข้ามามีส่วนร่วม ถึงวันนี้รัฐควรตระหนักว่าการบินไทย ต้องชกกับสายการบินใหญ่ อย่างแควนตัส, สิงคโปร์ แอร์ไลน์ส ดังนั้นเราจะแข่งกับคนอื่นๆ ได้ก็อย่ามามัดมือมัดเท้า
นายปิยสวัสดิ์ ยังกล่าวอีกว่า ส่วนการจะแปรรูปได้หรือไม่ เป็นเรื่องของรัฐ ที่ต้องกลับไปถามตัวเองว่าต้องการให้การบินไทยเป็นองค์กรที่เติบโตยิ่ง ๆขึ้นไปในอนาคตหรือเปล่า หรือถ้าไม่ต้องการแปรรูป ก็ต้องปรับวิธีการต่าง ๆ โดยอย่าแทรกแซงปล่อยให้บริษัทเกิดความคล่องตัวในการบริหารงาน ไม่เช่นนั้นในระยะยาวการบินไทยจะประสบปัญหา
"ที่ผ่านมาการปรับปรุงหรือจัดหาเครื่องบิน เต็มไปด้วยความล่าช้า เสียโอกาสทางธุรกิจ เช่นการจัดหาเครื่องบินสายการบินอื่นจะได้เครื่องบินรุ่นใหม่ ๆ ไปบริการ แต่การบินไทยกว่าจะดำเนินการได้ กลายเป็นการซื้อเครื่องบินที่เก่าไปแล้ว เพราะมีเจเนอเรชันมาใหม่อีก เนื่องจากตลาดเครื่องบินพลิกผันเร็วมากจากตลาดของผู้ซื้อกลายเป็นตลาดของผู้ขาย เมื่อดีมานด์มีเพิ่มขึ้น
การสั่งซื้อเครื่องบินรุ่นใหม่ต้องจองกันล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า 6 เดือนเพื่อรอคิวการผลิต แต่กว่าจะได้รับมอบก็ต้องรอเวลา เพราะมีสายการบินอื่นจองไปก่อน อย่างโบอิ้ง 787 กว่าจะผลิตลำแรกออกมาใช้บริการได้ก็ส่งมอบในปี 2561 เพราะการจะทำอะไรต้องขออนุมัติรัฐบาล เป็นเรื่อง ๆ ทำให้การดำเนินงานเกิดความล่าช้าและไม่ทันต่อการแข่งขันที่เกิดขึ้น "
เขายังระบุอีกว่า ท่ามกลางการแข่งขันของโลกการบินที่เกิดขึ้น สายการบินแห่งชาติของหลายประเทศมีทั้งหายไปและเหลือน้อยลง ไม่ว่าจะเป็นสวิสแอร์ ก็ถูกลุฟท์ฮันซ่า ซื้อไป แอร์ฟรานซ์มีการไปรวมกับเคแอลเอ็ม ส่วนในเอเชีย อย่าง สิงคโปร์ แอร์ไลน์ส มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการ และเป็นเรื่องสำคัญที่จะนำพาองค์กรให้สามารถแข่งขันกับโลกที่นับวันจะรุนแรงขึ้น ยังต้องฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ภาวะเศรษฐกิจของโลกที่ส่งผลต่อการเดินทางท่องเที่ยว เป็นต้น
การบินไทยหลุดพ้นสภาพความเป็นรัฐวิสาหกิจได้หรือไม่ สิ่งแรกรัฐบาลต้องตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นก่อนว่าการบินไทยต้องแข่งขันกับโลก และอยู่รอดในระยะยาวเป็นสายการบินที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และปัจจุบันรัฐบาลไม่ต้องค้ำประกันเงินกู้ให้กับการบินไทยเหมือนในอดีตแล้ว เพราะได้แก้ไขเงื่อนไขเงินกู้เก่า ๆ ไปหมดแล้ว ไม่ได้พึ่งพาภาครัฐในการหาเงินกู้แต่อย่างใด แต่หากยังจะให้การบินไทยเป็นรัฐวิสาหกิจอยู่ รัฐก็ควรมีการแก้กฎกติกาต่างๆ เพื่อให้บริษัทมีการบริหารจัดการที่คล่องตัวเพิ่มขึ้น นายปิยสวัสดิ์กล่าวในที่สุด
ด้านนายอำพน กิตติอำพน ประธานกรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การแปรรูปไม่ใช่นโยบายของบอร์ด แต่ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล ถ้ามองว่าเพื่อความคล่องตัว ต้องเปลี่ยนโครงสร้างของบริษัท ซึ่งเป็นอำนาจของผู้ถือหุ้น โดยเป้าหมายของการบินไทยคือต้องการเป็นองค์กรเหมือนปตท. ที่ยังคงความเป็นรัฐวิสาหกิจ แต่มีการทำงานที่ยืดหยุ่น เช่น เวลากู้เงินรัฐไม่ต้องค้ำประกัน โดยได้เสนอคลัง เพื่อเสนอครม.ให้ลดสัดส่วนการค้ำเหลือ 25% จากเดิม 51% เพราะในอีก 6 ปีข้างหน้า การบินไทยจะมีสัดส่วนทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน แต่หากจะมีการลดสัดส่วนการถือหุ้นของกระทรวงการคลังก็เป็นเรื่องของนโยบายรัฐบาล
ส่วนการประชุมบอร์ด(วันที่ 10 มิ.ย.2554) ได้อนุมัติการซื้อเครื่องบินโบอิ้ง737-300 จำนวน 3 ลำ ในราคา 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ อีกทั้งบอร์ดยังมีการหารือกันถึงการจัดหาเครื่องบินใหม่ 37 ลำ แต่ยังไม่ได้มีการลงมติ ต้องฟังแผนงานของการจัดตั้งสายการบินไทยวิงก่อน ซึ่งจะมีการหารืออีกครั้งในวันที่ 11 มิ.ย.นี้ก่อนที่จะแถลงอย่างเป็นทางการในวันที่ 14 มิ.ย. 2554
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ที่ผ่านมายังไม่เตรียมปรับลดสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทการบินไทยฯ เพียงแต่ได้มีการหารือร่วมกันถึงข้อเสนอเกี่ยวกับการที่จะให้การบินไทยดำรงสถานะเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจต่อไปหรือไม่ เนื่องจากสถานการณ์ต่างๆ ปัจจุบันทำให้การบินไทยต้องแข่งขันกับสายการบินอื่นๆทั่วโลก ความคล่องตัวเรื่องการบริหารจัดการถือเป็นสิ่งสำคัญ การเป็นรัฐวิสาหกิจมีกฎหมายที่บังคับและคำนึงถึงหลายเรื่อง เช่น กฎหมายเกี่ยวกับการลงทุนต่าง ๆ ทำให้การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทำได้ช้าลง ซึ่งผู้บริหารการบินไทยจึงเสนอแนวคิดต่อกระทรวงการคลังว่าไม่อยากจะเป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งก็เป็นเรื่องของรัฐบาลใหม่ที่จะพิจารณาว่าจะดำเนินการตามความต้องการของการบินไทยหรือไม่
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,643 12-15 มิถุนายน พ.ศ. 2554
http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=70948:2011-06-13-01-39-55&catid=85:2009-02-08-11-22-45&Itemid=417
--------------------------------------------------------
ดังนั้นรัฐบาลไม่จำเป็นต้องออกหน้าก่อน
เพื่อไปเป็นเงื่อนไขในการปลุกระดมม็อบรัฐวิสาหกิจออกมาต่อต้านอีกครั้ง
เพราะในสมัยรัฐบาลทักษิณ ที่ว่าแข็งๆ ยังเอาตัวไม่รอด
ใครมาเสนอให้ดันเรื่องนี้ก็ไม่ต่างกับเสนอให้วิ่งลุยกองไฟดีๆ นี่เอง
อย่างที่เราเคยเสนอไปคือประกาศไปเลยว่าจะไม่แปรรูปรัฐวิสาหกิจใด
ถ้ารัฐวิสาหกิจนั้นไม่เต็มใจและไม่มาอ้อนวอนให้ช่วยแปรรูปให้
หมายความว่ารัฐไม่มีนโยบายอยากจะแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
เพื่อไม่ให้พวกผู้บริหารรัฐวิสาหกิจเอาไปอ้าง
ว่าเป็นนโยบายรัฐเวลาพลาดตัวเองก็ไม่เดือดร้อน
แทนที่ผู้บริหารจะเร่งทำความเข้าใจ
เพื่อให้พนักงานทั้งหมดเห็นชอบด้วยก่อน
แล้วถึงนำเสนอให้รัฐบาลดำเนินการด้านกฏหมายต่อไป
หรือพวกฝ่ายตรงข้ามจะมายุยงนำไปจุดกระแสม็อบต่อต้านได้
ถ้ารัฐวิสาหกิจไหนอยากแปรรูป
ก็ไปทำความตกลงคนในองค์กรให้เรียบร้อยก่อน
ทั้งความจำเป็นที่จะต้องแปรรูป ไม่ใช่แปรรูปเพราะรัฐบาลสั่ง
หรือรัฐบาลกระสันต์อยากจะแปรรูปเพื่อกอบโกย
ตามที่เคยนำมาปลุกระดมม็อบต่อต้านลักษณะนี้
แบบนี้จะได้รับการยอมรับที่เต็มใจอยากจะแปรรูป
ส่วนถ้ารัฐวิสาหกิจไหนไม่อยากแปรรูป
ก็เสนอเปิดเสรีให้เอกชนทำธุรกิจแข่งขันได้
แล้วถ้าพวกเขาอยู่ได้ก็อยู่ไปแต่ถ้าอยู่ไม่ได้
เดี๋ยวก็มาอ้อนวอนงอนง้อให้รัฐบาลช่วยดันแปรรูปให้สำเร็จ
แบบนี้จะเวิร์กกว่าวิธีอื่น
ส่วนการที่เขาดึงเรื่องไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะตำแหน่งนายก
จนทำให้สถานการณ์ตอนนี้ยังไม่แน่ว่ายิ่งลักษณ์จะได้เป็นนายกชัวร์ๆ
ถ้าไม่ได้เป็น ส.ส. หรือคนในพรรคโดนสอยจนเสียงไม่ถึงครึ่ง
มีโอกาสโดนปล้นตำแหน่งสูงมากเหมือนสมัยสมชาย
โดยเฉพาะเมื่อวานส่งสัญญาณจะไม่ให้เป็น ส.ส. ด้วยแบบนี้
การออกมาให้สัมภาษณ์อะไรช่วงนี้ ต้องดูด้วยว่า
ไปเพิ่มกระแสเกลียดชัง หรือว่าทำให้คนเห็นด้วยว่า
ยิ่งลักษณ์ไม่ควรเป็นนายกหรือไม่
การสัมภาษณ์ที่ผ่านมาทั้งเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน
ซึ่งคนจะเป็นนายกหรือเป็นแล้วรวมไปถึงคนใน ครม.
ไม่ควรจะออกมาพูดทั้งเรื่องค่าเงินและเกี่ยวกับหุ้น
เพราะมันสามารถทำให้ตลาดปั่นป่วน ปั่นให้ขึ้นหรือลงได้
ก็พลาดทีหนึ่งแล้วแต่ไม่เสียหายอะไรเพราะถือว่ามือใหม่
ถ้าพลาดอีกทีเสร็จแน่
เรื่องการจะแก้ ม.112 ก็เหมือนกัน
สัมภาษณ์แบบนั้นก็ไปกระตุกหนวดเสือแม้จะพูดอ้อมๆ
ให้ประชาชนเดินหน้าแล้วรัฐบาลถึงจะทำอะไรก็ตาม
อย่างที่วิเคราะห์ให้เห็นหลายวันก่อนว่า
แตะเรื่องนี้ไม่ว่าจะคิดแก้ไขให้ดีขึ้นหรือยกเลิกไปเลยก็ตาม
จะต้องมั่นใจว่าพร้อมทำสงครามกลางเมืองแล้วเท่านั้น
ไม่เช่นนั้น ก็ควรเลี่ยงไม่จำเป็นต้องพูดถึง
การสัมภาษณ์ฝรั่งก็ระวังไว้ด้วยเพราะสื่อฝรั่งบางค่าย
ก็้ทำงานให้ผู้มีอำนาจ การตั้งคำถามในเรื่องที่ไม่ควรถาม
ก็ต้องเลี่ยงด้วยไม่ใช่ถามอะไรมาตอบหมด
สังเกตุผู้นำจีนเขาจะเก็บตัวเงียบมาก
ไม่ค่อยให้สัมภาษณ์ใครด้วยซ้ำ พูดมากๆ โอกาสพลาดก็มีสูง
ดังนั้นช่วงนี้ต้องระวังให้มากเพราะถ้าพลาดอีก
เขาจะนำมาขยายผลเพื่อปล้นตำแหน่งแบบชอบธรรม
และอีกไม่กี่วันจะมีเรื่องเขาพระวิหารที่ศาลโลกจะตัดสินให้ทหารถอนตัว
จากพื้นที่ทับซ้อนหรือไม่ เลี่ยงได้เลี่ยงเลยเพราะยังไม่ได้เป็นรัฐบาล
ให้อภิสิทธิ์รัฐบาลรักษาการรับหน้าไปแทน
เพราะจะได้เป็นหรือเปล่าก็ยังไม่รู้
แถมไม่ได้ยุ่งยังจะต้องมาโดนเล่นเองอีก
การที่ผมเคยเสนอให้ทหารถอนกำลังออก
นั่นต้องเป็นรัฐบาลแล้วถ้ายังไม่เป็น
ช่วงนี้ไม่ต้องไปเสนอไปทำอะไรเลย
ควรเร่ง กกต. ให้รีบทำให้เปิดสภาได้เร็วๆ
จะได้มี ครม. มาแก้ไขปัญหาต่างๆ ในประเทศได้
จะเข้าท่ากว่าคือเล่นกลับบ้าง
พยายามชี้เป้าให้สังคมรับรู้บ้างว่า
กำลังโดนปล้นไม่ใช่ยอมรับสภาพ
งวดนี้จะโดนปล้นหรือจะเกิดอะไรขึ้น
ขอให้คนตาสว่างได้มากมายทั้งแผ่นดินคุ้ม
ยังไงมันก็ปล้นก็แกล้งอยู่แล้ว
ลากลงมาคลุกโคลนให้หมดก็คุ้มแหล่ะงานนี้
อีกวิธีผมว่าเก็บตัวเงียบๆ เพื่อให้สังคมเริ่มเอะใจ
กับสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศก็น่าจะดี เขาจะได้รับรู้ว่า
กำลังมีการปล้นตำแหน่งกันอีกแล้ว
การพูดอะไรหรือดำเนินการอะไร
ไม่จำเป็นต้องให้เป็นข่าวก็ได้ในช่วงนี้
เช่นจะเตรียมเรื่องนโยบายอะไร
เพราะว่าเป็นข่าวสังคมยังคิดว่ายังได้เป็น
แล้ววันไหนไม่ได้เป็นจะทำหน้ายังไงต่อหล่ะ
สู้เงียบๆ รอความชัดเจนให้สังคมรับรู้ถึงความไม่ปกติ
ปล่อยให้เขาแก้ผ้าให้ล่อนจ้อนให้มากที่สุดจะดีกว่า
ส่วนม็อบผมว่าหลังจากโดนปล้นแล้วจริงๆ
ค่อยเคลื่อนไหวยังทัน ออกมาตอนนี้
อาจจะมาช่วยสร้างความชอบธรรมให้กับพวกนั้นได้
ยังไงก็มีคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งและความคาดหวังว่า
จะมีนายกหญิงคนแรกของประเทศไว้ปลุกม็อบอยู่แล้ว
การเป็นนารีขี่ม้าขาวนี่ ถ้าใครเชื่อแนวนี้
อาจไม่ใช่คนมาบริหารประเทศฏก็ได้
อาจเป็นคนนำม็อบเปลี่ยนแปลงประเทศ
หรือมีคนนำชื่อเสียงบารมี ไปปลุกม็อบก็ได้ดังนั้น
ถ้าคนจะใช่ โดนแกล้งยังไงสถานการณ์ก็ทำให้ใช่อยู่ดี
งวดนี้ถ้าเขาจะสกัดยิ่งลักษณ์จำเป็นอย่างยิ่ง
ที่จะต้องแก้ผ้าโชว์ในที่สาธารณะให้มากที่สุดเหมือนกัน
คนที่ยังตาไม่สว่าง ตาสว่างวันไหนและมีเยอะๆ
รับประกันความเสื่อมและการมาปล้นแบบนี้
ไม่ทำให้พวกปล้นเจริญไปได้
ไม่จำเป็นต้องลนลานก้มหัวเอานั่นนี่ไปประเคน
หรือยอมยกตำแหน่งหรือยอมอยู่ใต้อุ้มตีนใคร
ไม่ต้องสนใจได้เป็นก็ได้เป็นไม่ได้เป็นก็ดีไม่เหนื่อย
ไม่ต้องวิ่งฝุ่นตลบกลัวไม่ได้เป็นจะเข้าทางพวกเขา
ยังไงมันก็ยื้อต่อรองไม่ได้นาน
ถ้าขนาดกล้าหาญปล้นตำแหน่งด้วยแสดงว่า
พร้อมปิดประเทศเป็นพม่า2 ก็มันเท่านั้นเอง
อยากจะฝากเอาไว้อาจไม่ใช่ยิ่งลักษณ์
คนอื่นที่จะมาเป็นนายกในอนาคตด้วยว่า
ระวังพวกข้าราชการให้ดี พวกเขาทั้งนั้นแหล่ะ
ข้อเสนออะไรนักการเมืองต้องชั่งน้ำหนักแล้วว่า
จะทำให้เกิดเรื่องหรือกระเทือนถึงฐานเสียงหรือไม่ไว้ก่อน
เรียกว่าพยายามคิดแง่ร้ายไว้มากๆ
เพราะมันทำให้ตกเก้าอี้ได้ ส่วนแง่ดีมันไม่มีอะไร
และควรศึกษาเล่ห์กลโกงต่างๆ ไว้ด้วย
แม้จะบอกว่าตนเองเป็นคนดีซื่อสัตย์อะไร
แต่ถ้าไม่รู้เรื่องว่าสิ่งที่ข้าราชการหรือลูกน้องเช่นพวก รมต.
เสนอนโยบายอะไรมาให้เห็นชอบ ซึ่งซ่อนเล่ห์กลโกงไว้
การที่เราไปเซ็นต์ก็ไปรับรองว่า ได้ร่วมโกงกับเขา
แม้จะไม่ได้ตั้งใจก็เสีย ไม่มีใครเชื่อว่า
เป็นคนดีจริง หรือซื่อสัตย์จริง
ดังนั้นใครคิดจะเล่นการเมือง
ถ้าเล่นไม่เป็นก็อาจจะโดนการเมืองเล่นได้
อะไรไม่ชัวร์โยนให้ประชาชนช่วยตรวจสอบ
อย่าคิดว่าพวกเป็น รมต. ด้วยกันจะช่วยตรวจสอบกันเองได้
เพราะมันจะเกิดเกาเหลาใน ครม.
ประเภททีเอ็งทีข้าสกัดขากันไม่เลิก ทำงานไม่ได้
นิสัยคนไทยยังไม่มีสปิริตพอ
โดย มาหาอะไร
FfF
บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.