บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


19 สิงหาคม 2554

<<< กรณีที่ดินรัชดา ประวัติศาสตร์เกือบจะซ้ำรอยอีกแล้ว >>>

ประมูลใหม่ ที่ดินรัชดา “พจมาน” มิ.ย.นี้ คาดราคาพุ่งสูงกว่า 1 พัน ล.
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 พฤษภาคม 2554 22:55 น.

กองทุนฟื้นฟูประกาศเปิดประมูลที่ดินรัชดาฯ ที่ได้คืนจากคุณหญิงอ้อ อีกรอบต้นเดือน มิ.ย.นี้ คาดราคาพุ่งมากกว่า 1,000 ล้านบาท เพราะกฎหมายยอมให้สร้างตึกสูงได้แล้ว ยืนยันพร้อมเดินหน้าทำงานต่อช่วงรอรัฐบาลใหม่อนุมัติโอนสินทรัพย์ไปคลัง


นางทองอุไร ลิ้มปิติ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายจัดการกองทุน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ในฐานะผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (กองทุนฟื้นฟูฯ) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ในช่วงสิ้นเดือนนี้ จะมีการเสนอขออนุมัติให้เปิดประมูลขายที่ดินย่านรัชดาฯรอบใหม่อีกครั้ง หลังจากได้รับคืนมาจากคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร และกองทุนฟื้นฟูฯได้ว่าจ้างบริษัทประเมินราคากลาง เพื่อเตรียมการเปิดประมูลใหม่เรียบร้อยแล้ว


“ในขณะที่ยังไม่สามารถปิดกองทุนเพื่อการฟื้นฟูก่อนกำหนดเดิม เพื่อโอนสินทรัพย์ทั้งหมดไปให้กระทรวงการคลังบริหารได้ ตามที่ตกลงกันไว้ก่อนหน้านี้ เนื่องจากในช่วงนี้ไม่สามารถแก้ไขกฎหมายได้ เพราะต้องรอรัฐบาลใหม่ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ก็ต้องเดินหน้าดูแลและจัดการทรัพย์สินที่เหลือต่อไปก่อน เพื่อไม่ให้ขาดช่วง โดยในส่วนของที่ดินรัชดาฯ


ซึ่งได้คืนจากคุณหญิงพจมานเรียบร้อยแล้วนั้น หากคณะกรรมการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ อนุมัติ ก็สามารถประกาศให้สาธารณะทราบว่าจะมีการประมูลใหม่ ภายในต้นเดือนหน้านี้”


สำหรับข้อแตกต่างของการขายที่ดินรัชดาในครั้งนี้กับครั้งก่อนหน้า คือ เงื่อนไขการสร้างตึกสูง ซึ่งในปัจจุบันกทม.อนุญาตให้ที่ดินย่านนั้น สามารถปลูกตึกสูงได้ จากเดิมที่ไม่อนุญาตให้ก่อสร้างตึกสูง ทำให้ศักยภาพของที่ดินในขณะนี้มีมากขึ้น และยอมรับว่าราคาที่ดินก็เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งในขณะนี้มีราคาประเมิน และราคากลางที่จะประมูลแล้ว แต่ยังไม่สามารถบอกได้ โดยการประมูลขายนั้น ขายให้กับทุกคนไม่มียกเว้น ใครสนใจก็มาซื้อได้ถ้าไม่มีปัญหาในเรื่องกฎหมาย


ผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ กล่าวต่อว่า สินทรัพย์อีกส่วนหนึ่งที่จะเดินหน้าจัดการต่อไป น่าจะเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ (BAM) จำกัด ซึ่งอยู่ในกระบวนขอเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยในฐานะที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ก็เห็นว่า ยังสามารถเดินหน้าต่อไปได้ เพราะเป็นเรื่องทางธุรกิจ ไม่ต้องรอให้มีการโอนสินทรัพย์จากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ไปกระทรวงการคลังก่อน


ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า เท่าที่บริษัทประเมินราคาประเมินราคาขณะนี้ อยู่ที่สูงกว่า 1,000 ล้านบาท จากราคาเดิม ซึ่งขายให้กับคุณหญิงพจมาน ในช่วงปี 2546 ในราคา 772 ล้านบาท เนื่องจากราคาที่ดินในช่วง 8 ปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง มีการปรับกฎหมายให้สามารถสร้างตึกสูงได้


http://www.manager.co.th/stockmarket/viewnews.aspx?NewsID=9540000064077

--------------------------------------------------

ประชาชาติธุรกิจ online
วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554 เวลา 16:04:38 น.
เปิดโพยราคาประเมินที่ดินปี?55 ขึ้นเฉลี่ย15-30% แนวรถไฟฟ้าหวือหวาอัพ50% ทำเล"สีลม-เพลินจิต"แชมป์

เปิดโพยราคาประเมินที่ดินใหม่ทั่วประเทศ 30 ล้านแปลง เพิ่มเฉลี่ย 15% กทม.เพิ่มเท่าตัว 15-30% แนวรถไฟฟ้าหวือหวาสุด 50% ทำเล "สีลม-เพลินจิต-เยาวราช" ยืนแชมป์วาละ 7 แสนบาท เขตบางขุนเทียนรับอานิสงส์บีทีเอสฝั่งธนฯ ดัน "ถ.สมเด็จพระเจ้าตากสิน"แพงสุด 1.3 แสนบาท

แหล่งข่าวจากกรม ธนารักษ์เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า สำนักประเมินราคาทรัพย์สิน (สป.) จัดทำบัญชีราคาประเมินที่ดินทั่วประเทศ 30 ล้านแปลง ในรอบปี 2555-2558 ที่จะประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม 2555 ใกล้แล้วเสร็จ คืบหน้า 65% แนวโน้มราคาประเมินที่ดินทั่วประเทศจะปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 15%

รถไฟฟ้าปั่นราคาพุ่ง 50%

โดยพื้นที่กรุงเทพฯ ราคาที่ดินปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 15-30% เพิ่ม 1 เท่าตัว จากรอบปีที่แล้วเฉลี่ยอยู่ที่ 7% ล่าสุดประเมินเสร็จแล้ว 12 เขต คือเขตบางขุนเทียน จอมทอง บางบอน บางเขน สายไหม พระโขนง วัฒนา คลองเตย บางนา มีนบุรี คลองสามวา และหนองจอก ที่เหลือทยอยดำเนินการ

พบว่าโดยรวมพื้นที่ราคาเปลี่ยนแปลงสูงสุดอยู่ในแนวรถไฟฟ้า ทั้งรถไฟฟ้าบีทีเอสและส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟฟ้าสายสีชมพู สายสีม่วง และสายสีน้ำเงิน ราคาที่ดินปรับเพิ่มเฉลี่ย 50%

ทำเลราคาประเมินสูงสุด 3 ทำเล คือถนนสีลม เพลินจิต และเยาวราช ซึ่งยืนแชมป์ทุกรอบบัญชี เพิ่มเฉลี่ย 15% ราคาต่อตารางวา จาก 6.5 แสนบาท เป็น 7 แสนบาท

" เพลินจิตปรับขึ้นมาก เพราะมีซื้อขายเปลี่ยนมือ ถึงแม้เอกชนจะบอกว่าราคาซื้อขายสูงถึงวาละ 1.5 ล้านบาท ไม่ว่าจะเป็นเซ็นทรัลฯ และโนเบิลฯ แต่เมื่อไปทำนิติกรรมกับกรมที่ดิน ราคาแจ้งอยู่ที่ 7 แสนบาท เรายึดราคานี้เป็นหลัก ส่วนที่ดินย่านแยกราชประสงค์ไม่ตก อยู่ที่ 7 แสนบาท/ตร.ว. แม้จะมีชุมนุมบ่อยครั้งก็ตาม"

เขตรอบนอก เช่น รอยต่อสุขุมวิทช่วงปลายจากอ่อนนุชไปถึง จ.สมุทรปราการ ราคาขยับไม่มาก ส่วนแนวรถไฟฟ้าใต้ดิน ที่ดินริมถนนรัชดาฯ ราคาขยับหลายปีมาแล้ว ตอนนี้จึงขยับขึ้นไม่มาก อยู่ที่ 3-4 แสนบาท/ตร.ว. เนื่องจากที่ดินแปลงใหญ่ เอกชนซื้อตุนล่วงหน้า

ด้านรถไฟฟ้าสายสี น้ำเงินที่ยังไม่ได้ลงมือก่อสร้าง ราคายังไม่ปรับมากนัก โดยเฉพาะถนนจรัญสนิทวงศ์ คาดว่าเมื่อรถไฟฟ้าเริ่มก่อสร้าง ราคาน่าจะขยับขึ้นอย่างแน่นอน

"พื้นที่ทำเลทองในอนาคตอยู่ที่สถานี รถไฟฟ้าสยามสแควร์ เพราะเป็นพื้นที่ศูนย์การค้าใหญ่ที่สุด เช่น สยามพารากอน เซ็นทรัลเวิลด์ จามจุรีสแควร์ ราคาประเมินใหม่ วาละ 7 แสนบาท ถนนราชดำริ 5 แสนบาท ถนนพญาไท พระรามที่ 4 อยู่ที่ 4.5 แสนบาท"

BTS ฝั่งธนฯ แจ้งเกิดบางขุนเทียน

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า ในเขต บางขุนเทียน ทำเลราคาสูงสุด คือถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน เพราะใกล้รถไฟฟ้าบีทีเอส เพิ่ม 52.94% โดยราคาต่อตารางวา จาก 8.5 หมื่นบาท เป็น 1.3 แสนบาท พื้นที่อื่น ๆ อาทิ ถนนราชพฤกษ์ (ตัดใหม่) 6 หมื่นบาท ถนนกัลปพฤกษ์ (ตัดใหม่) 4 หมื่นบาท ถนนสุขสวัสดิ์ เพิ่ม 42.86% จาก 7.7 หมื่นบาท เป็น 1.1 แสนบาท

ถนนพระรามที่ 2 เพิ่ม 80% จาก 2.5-6.5 หมื่นบาท เป็น 4.5-9 หมื่นบาท ถนนเอกชัย เพิ่ม 30-41% จาก 2.5-6 หมื่นบาท เป็น 3.25-8.5 หมื่นบาท ถนนวุฒากาศ เพิ่ม 46% จาก 5 หมื่นบาท เป็น 7.3 หมื่นบาท ถนนพุทธบูชา เพิ่ม 120% จาก 2.5 หมื่นบาท เป็น 5.5 หมื่นบาท ถนนบางขุนเทียน เพิ่ม 19.05% จาก 4.2 หมื่นบาท เป็น 5 หมื่นบาท ถนนท่าข้าม เพิ่ม 139% จาก 1.9-2.2 หมื่นบาท เป็น 4.55 หมื่นบาท ถนนกาญจนาภิเษก เพิ่ม 32.35% จาก 3.5 หมื่นบาท เป็น 4.5 หมื่นบาท

ถนนแสมดำ เพิ่ม 66.67% ราคาต่ำสุด จาก 1.5 พันบาท เป็น 2.5 พันบาท ขณะที่ราคาสูงสุด ตารางวาละ 1.5 หมื่นบาทเท่าเดิม ถนนเลียบคลองพิทยาลงกรณ์ เพิ่ม 50% จาก 2 พันบาท เป็น 3 พันบาท ถนนสาทรพัฒนา เพิ่ม 66.67% จาก 3 พันบาท เป็น 5 พันบาท ถนนพรมแดน (เอกชัย 131) เพิ่ม 66.67% จาก 1.2 หมื่นบาท เป็น 2 หมื่นบาท ถนนบางบอน 3 เพิ่ม 33.33% จาก 1.5-17 หมื่นบาท เป็น 2 หมื่นบาท ถนนบางบอน 5 เพิ่ม 95% จาก 1-2 หมื่นบาท เป็น 1.95-2.2 หมื่นบาท ถนนพระยามนธาตุราชศรีพิจิตร์ เพิ่ม 57.4% จาก 2 หมื่นบาท เป็น 3.15 หมื่นบาท

ถนนบางขุนเทียน-ชายทะเล เพิ่ม 20% จาก 2.5 พันบาท-3.4 หมื่นบาท เป็น 3 พันบาท-3.9 หมื่นบาท ถนนบางบอน 1 เพิ่ม 11.76% จาก 3.4 หมื่นบาท เป็น 3.8 หมื่นบาท ถนนสะแกงาม เพิ่ม 105.88% จาก 1.7 หมื่นบาท เป็น 3.5 หมื่นบาท ถนนอนามัยเจริญ (พระราม 2 ซอย 47) เพิ่ม 300% จาก 2 พันบาท-2.8 หมื่นบาท เป็น 8 พันบาท-3.4 หมื่นบาท ถนนเทอดไท เพิ่ม 20% จาก 2.5 หมื่นบาท เป็น 3 หมื่นบาท

ถนน รางโพธิ์ (พระราม 2 ซอย 82) เพิ่ม 50% จาก 8 พัน-1.8 หมื่นบาท เป็น1.2-2 หมื่นบาท ถนนบางบอน 4 เพิ่ม 15.38% จาก 1.3-1.7 หมื่นบาท เป็น 1.5-.1.95 หมื่นบาท ถนนจอมทอง-ดาวคะนอง เพิ่ม 21.67% จาก 6 หมื่นบาท เป็น 7.3-7.75 หมื่นบาท ส่วนที่ไม่มีการปรับขึ้น คือถนนบางกระดี่ อยู่ที่ 1.8-2 หมื่นบาท เนื่องจากไม่มีการซื้อขายที่ดิน

ที่ดินโซนกรุงเทพฯ ตะวันออก เช่น หนองจอก มีนบุรี ปรับขึ้นไม่มาก เนื่องจากผังเมืองรวมกำหนดเป็นพื้นที่เกษตรกรรม หรือสีเขียวทแยงขาว โอกาสพัฒนาที่ดินค่อนข้างน้อย ส่วนที่ดินรอบสนามบินสุวรรณภูมิ เช่น ลาดกระบัง ยังมีการซื้อขายที่ดิน แต่ราคาไม่หวือหวา ปรับขึ้นไม่มาก ประมาณ 15%

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1308560779&grpid&catid=07&subcatid

--------------------------------------------------

ราคาที่ดินในเมืองขยับ25%ดัชนีราคาห้องชุดพุ่งสูงเทียบเงินเฟ้อ-รายได้


ใกล้เข้าสู่รอบใหม่ของการประกาศราคาประเมิน ที่ขณะนี้กรมธนารักษ์ได้เร่งให้เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ประเมินราคาที่ดินในทุก จังหวัดทั่วประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินการตามแผนงานทบทวนและปรับปรุงราคาประเมิน เพื่อการประกาศใช้ในรอบบัญชีปี 2555-2558 และจะเริ่มใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2555

นายวินัย วิทวัสการเวช อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยถึงแนวโน้มราคาที่ดินและอาคารชุดว่า แนวโน้มอาจจะมีการปรับราคาเพิ่มขึ้น 15-25% โดยที่ดินในทำเลแนวรถไฟฟ้า เช่น สุขุมวิท สาทร มีแนวโน้มปรับขึ้นสูงมากที่สุด ส่วนที่ดินในต่างจังหวัด ทำเลติดชายหาด เช่น พัทยา ก็จะมีการปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน ในขณะที่บางทำเลอาจจะมีราคาลดลง เช่น ทำเลที่ดินตาบอด และที่ดินที่ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ทั้งนี้ การที่ราคาที่ดินมีการปรับสูงขึ้น จะส่งผลกระทบให้ราคาขายที่ดินแถวสุขุมวิทตอนต้น ปรับขายจากราคา 6.5 แสนบาท/ตร.ว. เป็น 8 แสนบาท/ตร.ม.

จากผลการสำรวจและประเมินราคาอาคาร ชุดที่ขอจดทะเบียนใหม่ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เพิ่มขึ้นอีก 262 แห่ง ส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ ภูเก็ต ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรปราการ และนนทบุรี ซึ่งปัจจุบันมีอาคารชุดที่ขอจดทะเบียนแล้วทั้งประเทศประมาณ 4,600 แห่ง แบ่งเป็นเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 2,000 แห่ง ส่วนภูมิภาค 2,600 แห่ง และคาดว่าในปีนี้จะมีอาคารชุดที่ขอจดทะเบียนใหม่เพิ่มขึ้นอีกราว 100 แห่ง

สำหรับการประเมินราคาอาคารชุด ในปี 2553 ที่ผ่านมา อาคารชุดที่มีราคาสูงสุด ยังคงเป็น กรุงเทพฯ อยู่เขตวัฒนาอาคารชุดเลอรัฟฟิเน่ชมพูทวีป ตร.ม. 224,500 บาท เขตปทุมวันอาคารชุดคิวหลังสวน ตร.ม.ละ 190,900 บาท เขตคลองเตย อาคารชุดมิลเลนเนียม ตร.ม.ละ 133,500 บาท ตามลำดับ ส่วนจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวและติดชายทะเล อาทิ จ.ภูเก็ต ราคาสูงสุดอยู่ที่คอนโดเพิร์ล ออฟ ในทอน ตร.ม.ละ 9.1 หมื่นบาท และจ.ชลบุรี ราคาประเมินสูงสุดอยู่ที่เดอะโคฟ คอนโดมิเนียม ตร.ม.ละ 97,500 บาท

ดัชนีราคา "ห้องชุด" พุ่งเทียบเงินเฟ้อ-รายได้

ผลสำรวจดังกล่าวสอดคล้องกับศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ร่วมกับสมาคมอาคารชุดไทย จัดทำ “ดัชนีราคาห้องชุด” รายครึ่งปี มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นตัวชี้วัดความเคลื่อนไหวของราคาห้องชุดเฉพาะใน เขตกรุงเทพฯ โดยเริ่มจากงวดครึ่งปีแรกปี 2553 และใช้ราคาในครึ่งหลังปี 2552 เป็นปีฐาน ที่พบว่าราคา "ห้องชุด" ปรับขึ้น

นายสัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์เปิดเผยว่า ดัชนีราคาห้องชุดรวมทุกระดับราคา สำหรับครึ่งหลังของปี 2553 มีค่าดัชนีเท่ากับ 105.59 ปรับเพิ่มขึ้น 4.16 จุด เมื่อเทียบกับครึ่งแรก ปี 2553 และปรับตัวขึ้น 5.59 จุด เมื่อเทียบกับครึ่งหลัง ปี 2552 โดยเมื่อแยกพิจารณาในแต่ละช่วงระดับราคา พบว่าห้องชุดระดับราคาต่ำกว่า 5 หมื่นบาท/ตร.ม. มีการปรับราคาขึ้นสูงกว่าระดับราคาอื่นๆ (ดัชนีเพิ่มขึ้น 8.7 จุด ในรอบครึ่งปี และเพิ่มขึ้น 10.17 จุด ในรอบปี) ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าราคาได้ปรับตัวสูง เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราเงินเฟ้อ และการเพิ่มขึ้นของรายได้ผู้ซื้อ

ส่วนห้องชุดระดับราคา 50,000-79,999 บาท/ตร.ม. มีการปรับราคาขึ้นในอัตราที่ใกล้เคียงกับครึ่งปีแรก เนื่องจากตลาดราคาระดับกลางเป็นตลาดที่มีการซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริงมากกว่า การลงทุน จึงทำให้ราคามีการปรับขึ้นตามกลไกของตลาด

สำหรับห้องชุด ราคาสูงกว่า 8 หมื่นบาท/ตร.ม ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรก หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีค่าติดลบ เพราะห้องชุดราคาแพงในย่านใจกลางเมืองได้รับผลกระทบรุนแรงจากเหตุการณ์ความ ไม่สงบทางการเมือง เนื่องจากเป็นตลาดที่มีสัดส่วนผู้ซื้อเพื่อการลงทุนให้เช่าสูงกว่าการซื้อ เพื่ออยู่อาศัยจริง และตลาดได้เริ่มฟื้นตัวจากสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศที่คลี่คลายลง อีกทั้งความมั่นใจของผู้เช่าและนักลงทุนชาวต่างชาติที่เริ่มดีขึ้น โดยเฉพาะห้องชุดระดับหรู หรือระดับราคาสูงกว่า 1.2 แสนบาท/ตร.ม. มีการปรับตัวสูงขึ้นค่อนข้างมาก แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่เริ่มกลับมา

ซึ่งก็เป็นไป ในทิศทางเดียวกันกับดัชนีความคาดหวังในอีก 6 เดือนข้างหน้า (Expectations Index) ประจำไตรมาส 4/2553 มีค่าเท่ากับ 68.7 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วที่มีค่าเท่ากับ 65.6 ขณะที่ไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วมีค่าเท่ากับ 70.4

ดัชนีความคาด หวังใน 6 เดือนข้างหน้า (มองไปถึงเดือนมิถุนายน 2554 เทียบกับเดือนธันวาคมที่ตอบแบบสอบถาม) มีค่าเพิ่มขึ้นโดยผู้ประกอบการทั้ง Listed และ Non-Listed มองไปในอนาคตและประเมินว่าปัจจัยทุกอย่างดูดีขึ้นยกเว้นปัจจัยด้านต้นทุน ประกอบการ ทั้งนี้ผู้ประกอบการรายใหญ่ยังมีมุมมองเชิงบวกต่อการเปิดโครงการใหม่ในอนาคต แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ยังมีความเชื่อมั่นในสถานการณ์ตลาด อสังหาริมทรัพย์ แต่ผู้ประกอบการรายเล็กยังคงมีความระมัดระวังในการเปิดโครงการใหม่ในอนาคต เนื่องจากมีอำนาจการแข่งขันน้อยกว่า ประกอบกับมาตรการสกัดการเก็งกำไร ทำให้ผู้ประกอบการรายเล็กยิ่งเสียเปรียบ

ทั้งนี้ ในการสำรวจความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัย ไตรมาส 4 ปี 2553 มีผู้ประกอบการตอบแบบสอบถามจำนวน 165 บริษัท เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ 30 บริษัท และบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ 135 บริษัท ในการคำนวณดัชนีรวมจะให้น้ำหนักบริษัทจดทะเบียนและบริษัทไม่จดทะเบียน 50:50 เท่ากัน

ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัย มีค่ากลางของดัชนีเท่ากับ 50 ดังนั้น หากค่าดัชนีสูงกว่าค่ากลาง มีนัยว่าผู้ประกอบการเห็นว่าเป็นภาวะที่ดี และหากดัชนีมีค่าสูงกว่าเดิม มีนัยว่าผู้ประกอบการเห็นว่าเป็นภาวะที่ดีขึ้นจากเดิม ในทางตรงข้าม หากค่าดัชนีต่ำกว่าค่ากลาง มีนัยว่าผู้ประกอบการเห็นว่าเป็นภาวะที่ไม่ดี และหากดัชนีมีค่าต่ำกว่าเดิม มีนัยว่าผู้ประกอบการเห็นว่าเป็นภาวะที่แย่ลงจากเดิม

ปรียา เทศนอก

http://www.komchadluek.net/detail/20110118/86008/ราคาที่ดินในเมืองขยับ25ดัชนีราคาห้องชุดพุ่งสูงเทียบเงินเฟ้อรายได้.html

-------------------------------------------------

ธปท.ขายที่ดินรัชดาของคุณหญิง”อ้อ”1.8 พันล้านบาท

Wednesday, 17 August 2011 20:14
songkiet

ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติขายที่ดินรัชดา ซึ่งได้คืนมาจาก คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร อดีตภรรยาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แล้ว ในราคา 1,815 ล้านบาทให้แก้ บริษัท ศุภาลัย จำกัด(มหาชน) ในวันนี้(17 ส.ค.54)

นางทองอุไร ลิ้มปิติ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายจัดการกองทุน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ในฐานะผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน(กองทุน ฟื้นฟูฯ) เปิดเผยว่า ตามที่กองทุนฯ ได้มีการประกาศเรื่องการจำหน่ายทรัพย์สินโดยวิธียื่นซองประกวดราคาครั้งที่ 4/2554 เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2554 เพื่อจำหน่ายทรัพย์สินที่ดินที่ไม่ปลูกสร้าง ตำบลห้วยขวาง อำเภอห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร จำนวน 4 โฉนด เลขที่ 2298 ,2299 ,2300 และ2301 โดยมีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 33-0-81.8 ไร่ (ที่ดินรัชดา)

ทั้งนี้ หลังจากที่ ได้มีการยื่นซองประกวดราคา และได้มีการเปิดซองประกวดราคา โดยคณะกรรมการ จัดการกองทุนพิจารณาอนุมัติให้จำหน่ายที่ดินรัชดาฯดังกล่าวให้กับบริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ในราคาที่เสนอจำนวน 1,815,000,000 บาท

อนึ่ง ที่ดินแปลง ดังกล่าวในอดีตเป็นของคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร อดีตภรรยาของพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเคยชนะการประมูลเสนอราคาซื้อสูงสุด 772 ล้านบาท เมื่อปี 2546 แต่การทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินของกองทุนฟื้นฟูฯกับคุณหญิงพจมาน ถูกศาลตัดสินให้เป็นเป็นโมฆะ และสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมการดังกล่าว ส่งผลให้คุณหญิงพจมานต้องคืนที่ดินให้กองทุนฟื้นฟูฯ และให้กองทุนฟื้นฟูฯคืนเงิน 772 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปีให้กับคุณหญิงพจมาน จากเหตุการณ์นี้กองทุนฟื้นฟูฯก็ไม่เคยนำที่ดินแปลงนี้ออกมาประมูลอีกเลย กระทั้งปัจจุบันต้องนำออกประมูลอีกครั้ง เพราะต้องชำระบัญชีเคลียร์ทรัพย์สินเพื่อปิดกองทุนฟื้นฟูฯในปี 2556 นี้

http://www.biztempnews.com/index.php?option=com_content&view=article&id=1784:-18-&catid=307:2011-07-04-08-03-11&Itemid=410

--------------------------------------------------

AREA แถลง ฉบับที่ 71/2554: 18 สิงหาคม 2554
รัฐบาลขายที่ดินรัชดาภิเษกแก่ บมจ.ศุภาลัย ได้ราคาดี
จากการแถลงของธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2554 ที่ว่า กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินได้ประกาศผลการประกวดราคา ที่ดินรัชดาภิเษก และปรากฏว่า บมจ. ศุภาลัย เป็นผู้ชนะที่ระดับ 1.815 พันล้านบาทนั้น ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ในฐานะที่เป็นศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์แห่งแรกในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2537 และได้เก็บข้อมูลราคาที่ดินต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2537 พบว่า ที่ดินแปลงนี้ ได้รับการประมูลไปในราคาที่เหมาะสม เพราะเชื่อว่ารัฐได้กำไรจากราคาที่ดินแปลงดังกล่าว
เมื่อปี 2546 กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ได้ขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้คุณหญิงพจมาน (ชินวัตร) ณ ป้อมเพชร ในราคา 772 ล้านบาท แต่ต่อมาได้ซื้อคืนมา และขายได้ในราคา 1,802 ล้านบาท เท่ากับขายได้ถึง 2.35 เท่าของราคาเดิม หรือเท่ากับราคาที่ดินเพิ่มขึ้นถึง 11.3% ต่อปี ซึ่งนับว่าสูงมาก
จากข้อมูลการสำรวจภาคสนามอย่างต่อเนื่องของศูนย์ ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส พบว่า ราคาที่ดินขนาด 16 ไร่ ติดถนนรัชดาภิเษก ตรงบริเวณทศพลแลนด์ (แปลงสมมติ) หากมีการขายจะเป็นเงินปัจจุบันประมาณ 310,000 บาท แต่ ณ ปี 2546 เป็นเงินเพียง 150,000 บาท หรือเพิ่มขึ้นปีละเฉลี่ย 9.5% ดังนั้นอัตราการเพิ่มขึ้นของราคาที่ดินใกล้ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยแปลง นี้ ที่ 11.3% จึงสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วไปบนถนนรัชดาภิเษก
สำหรับอัตราการเพิ่มของราคาที่ดินติดถนนรัชดาภิเษก และที่ดินติดถนนพระรามที่ 9 เป็นดังนี้:
พ.ศ. ที่ดินถนนรัชดาภิเษก ที่ดินถนนพระรามที่ 9
ราคา/ตรว. อัตราเพิ่ม/ปี ราคา/ตรว. อัตราเพิ่ม/ปี
2546 150000 7.1% 90000 5.88%
2547 160000 6.7% 95000 5.56%
2548 170000 6.3% 100000 5.26%
2549 190000 11.8% 105000 5.00%
2550 205000 7.9% 110000 4.76%
2551 220000 7.3% 115000 4.55%
2552 250000 13.6% 120000 4.35%
2553 280000 12.0% 125000 4.17%
2554 310000 10.7% 132000 5.60%

ที่ดินแปลงแปลงนี้มีขนาด 33 ไร่ 81.8 ตารางวา เมื่อปี 2546 ประมูลไป ณ ราคา 772 ล้านบาท นี้ติดถนนรัชดาภิเษก หรือตารางวาละ 58,125 บาท แต่ ณ ปี 2554 เป็นเงินตารางวาละ 136,653 ซึ่งแม้จะต่ำกว่าที่ดินติดถนนรัชดาภิเษกที่มีรถไฟฟ้าใต้ดินแล่นผ่าน แต่ก็ถือว่าเป็นราคาที่เหมาะสม เพราะมีขนาดใหญ่กว่ามาก อยู่ห่างไกลจากรถไฟฟ้ากว่า และถือว่าเป็นราคาใกล้เคียงกับที่ดินที่อยู่ติดถนนพระรามที่ 9 ซึ่งห่างไกลจากรถไฟฟ้า โดยในปี 2546 ที่ดินติดถนนพระรามที่ 9 มีราคาประมาณ 60% ของที่ดินติดรัชดาภิเษก (90,000 บาท และ 150,000 บาทต่อตารางวา) แต่ ณ ปี 2554 ราคาที่ดินถนนพระรามที่ 9 มีราคาเพียง 43% ของราคาที่ดินติดถนนรัชดาภิเษก (132,000 บาท และ 310,000 บาทต่อตารางวา)
นอกจากนี้ที่ดินที่ บมจ. ศุภาลัย ซื้อแปลงนี้อยู่นอกเขตห้ามก่อสร้างตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้ อาคารบางชนิดหรือบางประเภท บริเวณโดยรอบศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ในท้องที่แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2532 จึงไม่ได้มีข้อจำกัดในการก่อสร้างตามที่กำหนดในข้อบัญญัติแต่อย่างใด
ผู้แถลง:
ดร.โสภณ พรโชคชัย (sopon@area.co.th) ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA (www.area.co.th) นอกจากนี้ยังเป็นกรรมการธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบ ของสภาหอการค้าไทย http://www.facebook.com/pornchokchai


http://www.area.co.th/thai/area_announce/area_anpg.php?strquey=area_announcement241.htm

--------------------------------------------------

ผู้ถือหุ้นใหญ่ของ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน)

+++

SPALI : บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน)
ผู้ถือหุ้นรายย่อย ณ วันที่ 29/03/2554
จำนวนผู้ถือหุ้นรายย่อย (Free float) 9,290
% การถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายย่อย (% Free float) 60.43

หมายเหตุ: ข้อมูลผู้ถือหุ้นปรับตามรอบของการปิดสมุดทะเบียน
ภาพรวมข้อมูลผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 10/05/2554 ประเภทการปิดสมุดทะเบียน : XD
จำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมด 8,904
% การถือหุ้นแบบไร้ใบหุ้น 81.46

ลำดับ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ จำนวนหุ้น (หุ้น) % หุ้น
1. นายประทีป ตั้งมติธรรม 393,816,044 22.94
2. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 244,604,961 14.25
3. นางอัจฉรา ตั้งมติธรรม 90,188,200 5.25
4. SOMERS (U.K.) LIMITED 89,571,000 5.22
5. NORBAX INC.,13 46,546,100 2.71
6. HSBC (SINGAPORE) NOMINEES PTE LTD 35,155,505 2.05
7. AMERICAN INTERNATIONAL ASSURANCE COMPANY, LIMITED-APEX 25,193,300 1.47
8. CHASE NOMINEES LIMITED 1 19,260,300 1.12
9. NORTRUST NOMINEES LTD. 18,758,560 1.09
10. THE BANK OF NEW YORK (NOMINEES) LIMITED 16,465,500 0.96
11. STATE STREET BANK EUROPE LIMITED 16,045,800 0.93
12. CACEUS BANK LUXEMBOURG 13,940,000 0.81
13. MR.KENNETH RUDY KAMON 13,912,400 0.81
14. RBC DEXIA INVESTOR SERVICES TRUST 10,300,300 0.60
15. บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) 10,000,000 0.58
16. NORTRUST NOMINEES LIMITED-NORTHERN TRUST GUERNSEY CLIENTS 9,826,000 0.57
17. CITIBANK NOMINEES SINGAPORE PTE LTD-UBS AG LONDON BRANCH-NRB 9,550,148 0.56
18. GERLACH & CO.-OMNIBUS NON TREATY 9,094,700 0.53
19. นางอรุณี อัศคร์วานิชชากร 8,957,180 0.52
20. HSBC BANK PLC-CLIENTS GENERAL A/C 8,700,000 0.51

http://www.set.or.th/set/companyholder.do?symbol=SPALI&language=th&country=TH

--------------------------------------------------

รัฐบาลอภิสิทธิ์พึ่งตั้ง นายประทีป ตั้งมติธรรม
ผู้ถือหุ้นใหญ่ของ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน)
ให้รับตำแหน่งในสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ลำดับที่ 38

+++

รายชื่อสมาชิกสภาที่ปรึกษา ชุดที่ 3 ประกาศแล้ว.
สป.เลือกกันเองได้แล้ว 99 รายชื่อสมาชิกสภาที่ปรึกษาชุด3

ตามที่สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ชุดที่ 2 ซึ่งได้ประกาศรายชื่อในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122
ตอนพิเศษ 72 ง เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2548 ดำรงตำแหน่งครบสามปีนับแต่วันประกาศรายชื่อสมาชิกในราชกิจจานุเบกษา ตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2543 แล้ว นั้น
บัดนี้ คณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ดำเนินการสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ชุดที่ 3 และได้ให้การรับรองรายชื่อบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกกันเองเพื่อเป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จำนวน 99 คน ตามมาตรา 6 มาตรา 7 และมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2543 แล้ว ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2553 เมื่อวันจันทร์ที่ 25 มกราคม 2553

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 (5) แห่งพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2543 จึงประกาศรายชื่อบุคคลดังต่อไปนี้เป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ชุดที่ 3

1. นางกัลยาณี ธรรมจารีย์
2. นายกำพล หาญทวีวงศา
3. นางเกศสุดา กำแพงทิพย์
4. นายขจิต เจริญศิลป์
5. นายจเด็จ อินสว่าง
6. นายจารุวัฒน์ กิตติวัฒนะโชค
7. นายจำเนียร จวงตระกูล
8. นางสาวจิราพร ลิ้มปานานนท์
9. นายชวลิต นิ่มละออ
10. นายชวลิต อาคมธน
11. นายชัชวาล ศรีวชิราวัฒน์
12. นายชัยพิทักษ์ อึ๋งสินค้าตระกูล
13. ร้อยเอกชาญ สุปินะ
14. นายชาญยุทธ์ เจนธัญญารักษ์
15. นายชิน ชินเศรษฐวงศ์
16. นายชินโชติ แสงสังข์
17. นางโชติกา สังแก้ว
18. นายณัฏฐ์คเณศ นัชชาธิติพัทธ์
19. นางดารณี วัธนเวคิน
20. นายต่อพงศ์ เสลานนท์
21. นางเตือนใจ บุรพรัตน์
22. นางสาวแตงอ่อน มั่นใจตน
23. นายทรงศักดิ์ ประจงจัด
24. นายทวี เตชะธีราวัฒน์
25. นายทวี ปิยะพัฒนา
26. นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ
27. นายธนัช ประกายบุษราคัม
28. นายธนา ไชยประสิทธิ์
29. นายธนิต โสรัตน์
30. นางสาวนาฏฤทัย นิยมไทย
31. นายนิมิตร สัมพันธารักษ์
32. นายนิวัตร ตันตยานุสรณ์
33. นายเนาวรุจน์ ปานเมทนี
34. นายบุญยงค์ เวชมณีศรี
35. นายบุญส่ง ไข่เกษ
36. นายบุณยสิทธิ์ กาญจนวงศ์ชัย
37. นายปณิธิ ตั้งผาติ
38. นายประทีป ตั้งมติธรรม
39. นางสาวปราศรัย ประวัติรุ่งเรือง
40. นางผ่องพรรณ จงยศยิ่ง
41. นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล
42. นายพณิชชา ภัทรทวีวนิช
43. นางสาวพนิตา สอนหลักทรัพย์
44. นายเพชร นางาม
45. นางเพ็ญพักตร์ ศรีทอง
46. นายไพโรจน์ สุวรรณจันทร์ดี
47. นางภรณี ลีนุตพงษ์
48. นายภราดร นุชิตศิริภัทรา
49. นางสาวภัทรภร สิงห์ครา
50. นายภาสุร ตรงจิตตเกษม
51. นายมังกร ธนสารศิลป์
52. นายมานิจ สุขสมจิตร
53. นางใยอนงค์ ทิมสุวรรณ
54. นายรุจิพงษ์ ทูปคันโธ
55. นายวนิตย์ อาจสาลี
56. นายวรเดช อมรวรพิพัฒน์
57. นายวรเทพ วงศาสุทธิกุล
58. นายวรพงษ์ ชอบชื่น
59. นายวรพล โสคติยานุรักษ์
60. นายวันชัย วัฒนธาดากุล
61. นายวิชัย ทิตตภักดี
62. นายวิถี สุพิทักษ์
63. นายวิทยา กุลสมบูรณ์
64. นายวิรัตน์ เอี่ยมเอื้อยุทธ
65. นายวิโรจน์ สิตประเสริฐนันท์
66. นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา
67. นายศุภชัย วัฒนสโรช
68. นายสกลวัธม์ ศิวัตราบุญยกานต์
69. นายสไกร พิมพ์บึง
70. นายสมควร รวิรัช
71. นายสมประสงค์ บุญยะชัย
72. นายสมพงศ์ นครศรี
73. นายสมพร เทพสิทธา
74. นายสมมาต ขุนเศษฐ
75. นายสมยศ ภิราญคำ
76. นายสมศักดิ์ ถนอมวรสิน
77. นายสมาน โอภาสวงศ์
78. นายสวาท สุทธิอาคาร
79. นายสันติ วิลาสศักดานนท์
80. นายสานิตย์ โชติธนธำรง
81. นายสำเภา วงศ์ทองเหลือ
82. นางสาวสิริภิญญ์ อินทรประเสริฐ
83. นายสุทธินันท์ จันทระ
84. นายสุธรรม เจริญพรวัฒนา
85. นายสุปรีดิ์ วงศ์ดีพร้อม
86. นายสุพจน์ พฤกษานานนท์
87. นายสุพจน์ พลบุตร
88. นางสาวสุวรรณา เจือจาน
89. นายแสงชัย วสุนธรา
90. นายอคิระ ตีระรัตน์
91. นายอนันต์ เมืองมูลไชย
92. นายอนุวัฒน์ ธุมชัย
93. นายอภิสิทธิ์ จั้นอรัญ
94. นางอรพิน จำปาเนตร
95. นายอรุณ นวลศรี
96. นางอัมพร จิตรานุเคราะห์
97. นายอาภรณ์ สังขวัฒนะ
98. นายอุทัย สอนหลักทรัพย์
99. นายโอกาส เตพละกุล

โดย ประกาศรายชื่อในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2553 ลงนามโดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี

http://www.waddeeja.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=1&Category=waddeejacom&thispage=16&No=1290259


--------------------------------------------------

มาตรา 100 ที่ทำให้ทักษิณโดนพิพากษาติดคุก 2 ปีไม่รอลงอาญา

+++

มาตรา 100 ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดดำเนินกิจการดังต่อไปนี้
(1) เป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ ของรัฐผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบหรือดำเนินคดี
(2) เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่เข้าเป็นคู่สัญญากับ หน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ ของรัฐผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจ กำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือดำเนินคดี
(3) รับสัมปทานหรือคงถือไว้ซึ่งสัมปทานจากรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการ ส่วนท้องถิ่น หรือเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐรัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอันมี ลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม หรือเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทที่รับสัมปทานหรือเข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว
(4) เข้าไปมีส่วนได้เสียในฐานะเป็นกรรมการ ที่ปรึกษา ตัวแทน พนักงานหรือลูกจ้างในธุรกิจของเอกชน ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับ ดูแล ควบคุม หรือตรวจสอบของหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นสังกัดอยู่หรือ ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งโดยสภาพของผลประโยชน์ของธุรกิจของเอกชนนั้นอาจขัดหรือแย้ง ต่อประโยชน์ส่วนรวม หรือประโยชน์ทางราชการ หรือกระทบต่อความมีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้น
เจ้าหน้าที่ของรัฐตำแหน่งใดที่ต้องห้ามมิให้ดำเนินกิจการตามวรรคหนึ่งให้เป็นไป ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ให้นำบทบัญญัติในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับกับคู่สมรสของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามวรรคสอง โดยให้ถือว่าการ ดำเนินกิจการของคู่สมรสดังกล่าว เป็นการดำเนินกิจการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

--------------------------------------------------

ดูอำนาจหน้าที่ส่วนหนึ่งของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ใช้ภาษีประชาชนเหมือนกัน มีอำนาจเชิญหน่วยงานต่างๆ เหมือนกัน
แถม ครม. จะออกแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
ยังต้องไปขอความเห็นก่อนใช้ประกาศอีกด้วย
เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนนั้นมีแน่
เพราะว่าทำธุรกิจด้วย แล้วมาให้ความเห็นให้คำปรึกษา
ในแผนพัฒนาประเทศย่อมรู้ข้อมูลก่อน
หรือให้คำปรึกษาที่เอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจของตนเองได้ทั้งนั้น
ถ้าจะพูดในแง่ผลประโยชน์ทับซ้อน

+++

มาตรา ๑๔ ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีจะดำเนินการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้คณะรัฐมนตรีเสนอร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้สภาที่ปรึกษา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้ความเห็นก่อนการประกาศใช้
เมื่อสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้จัดส่งความเห็นมาให้คณะ รัฐมนตรีแล้ว ให้คณะรัฐมนตรีนำความเห็นดังกล่าวประกอบการพิจารณาในการจัดทำแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเพื่อให้เหมาะสมกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของ ประเทศ
ให้นำความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมาใช้บังคับกับแผนอื่นมีกฎหมายกำหนด ให้เสนอแผนนั้นต่อสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนอื่นที่คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรขอความเห็นจากสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติด้วย

มาตรา ๑๕ ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีขอคำปรึกษาจากสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตาม มาตรา ๑๒ หรือเสนอแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือแผนอื่นให้สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้ความเห็น ตามมาตรา ๑๔ ให้สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาโดยเร็ว ในการนี้ คณะรัฐมนตรีอาจขอให้สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาให้ความ เห็นภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสามสิบวันก็ได้ และถ้าพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติยังมิได้ จัดส่งความเห็นกลับคืนมายังคณะรัฐมนตรี ให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการต่อไปตามที่เห็นสมควรได้
การดำเนินการตามวรรคหนึ่งไม่เป็นการกระทบกระเทือนถึงอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรี
...
มาตรา ๒๓ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและคณะทำงานที่สภาแต่ง ตั้งอาจเชิญข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดมาให้ข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็นหรือให้จัดส่งเอกสาร หรือข้อมูล เพื่อประกอบการพิจารณาได้ตามที่เห็นสมควร
ให้ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่น ให้ความร่วมมือแก่สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และคณะทำงานที่สภาแต่งตั้ง

มาตรา ๒๔ ให้สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้รับเบี้ยประชุมและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา

--------------------------------------------------

แต่อาจรอดเพราะการตีความของศาลรัฐธรรมนูญ
เรื่องเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐที่เราเคยว่าไว้นั่นเอง
ซึ่งมีผลผูกพันต่อทุกหน่วยงานและทุกศาล
ยกเว้นกรณีศาลที่ตัดสินว่าทักษิณผิด ฮา

+++

... กฎหมายว่าด้วยสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมิได้กำหนดสถานะของสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ไว้อย่างชัดเจน แต่ก็มิได้ห้ามประกอบอาชีพอื่น ยกเว้นการกำหนดให้สมาชิกต้องไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือดำรงตำแหน่งในพรรคการเมือง[1] และมิได้กำหนดให้ปฏิบัติหน้าที่เต็มเวลา เสมือนเป็นบุคลากรภาคเอกชนที่มีจิตอาสาเข้ามาช่วยงานราชการ จึงบัญญัติให้สมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ได้รับเบี้ยประชุมและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา มิได้กำหนดเป็นให้ได้เงินเดือน[2]
สถานะของสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

จากข้อกฎหมายดังกล่าว นับแต่ประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2543 จึงได้มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของสภาที่ปรึกษาฯ อย่างต่อเนื่อง

ต่อมาคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับสถานภาพทางกฎหมายของสภาที่ปรึกษาฯ และสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ว่า เมื่อพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาฯ มิได้ให้นิยามคำว่า “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” ไว้

ดังนั้น จึงต้องพิจารณาความหมายของคำว่า “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” ในลักษณะทั่วไป ซึ่งการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หมายถึง บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งหรือเลือกตั้งตามกฎหมาย โดยมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการหรือหน้าที่ปฏิบัติภารกิจของรัฐตามกฎหมายกำหนดหรือมีอำนาจบังคับการให้บุคคลปฏิบัติตามคำสั่งที่ได้สั่งตามอำนาจหน้าที่ได้ แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาฯ มิได้ให้อำนาจแก่สภาที่ปรึกษาฯ ไว้แต่อย่างใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการดำเนินการใด ๆ สมาชิกก็มิได้มีอำนาจหน้าที่อย่างใดเป็นการเฉพาะตน หากแต่เป็นการทำงานร่วมกันในฐานะสภา จึงมิอาจถือได้ว่าสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ[3]
...
http://www.kpi.ac.th/wiki/index.php/สถานะของสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

-------------------------
คำวินิจฉัยที่ ๕/๒๕๔๓ ของศาลรัฐธรรมนูญ
วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓
ชุดที่มีนายประเสริฐ นาสกุล เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ที่วินิจฉัยความหมายคำว่า เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ เอาไว้ว่า

"บุคคลซึ่งเป็นกรรมการหรืออนุกรรมการ รวม ๒๗ ตำแหน่งดังกล่าวข้างต้นนี้ ได้รับการแต่งตั้งหรือเลือกตั้งตามกฎหมาย ซึ่งหมายความรวมถึงกฎ ระเบียบ ที่ออกโดยอาศัยกฎหมาย มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการหรือหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมาย และปฏิบัติงานประจำ ซึ่งหมายความว่าต้องมีทั้งอำนาจหน้าที่หรือหน้าที่ตามที่กฎหมาย กฎ ระเบียบที่ออกโดยอาศัยกฎหมายกำหนดไว้ ทั้งนี้ จะต้องเป็นการมีอำนาจหน้าที่หรือหน้าที่ประจำดังกล่าว แต่การใช้อำนาจหน้าที่หรือการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ ที่ระบุข้างต้น เป็นการใช้อำนาจหน้าที่หรือการปฏิบัติหน้าที่โดยคณะบุคคลที่ประกอบกันขึ้น เป็นคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ กรรมการหรืออนุกรรมการ แต่ละคนไม่สามารถใช้อำนาจหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ซึ่งเป็นของคณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการ ได้ด้วยตนเองโดยลำพัง เพราะกฎหมายให้อำนาจหน้าที่แก่คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ แม้ว่าคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการนั้นจะอยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแล ของรัฐ และมีเงินเดือน ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนตามกฎหมายก็ตาม ดังนั้น ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยว่า บุคคลซึ่งดำรงตำแหน่งต่าง ๆ รวม ๒๗ ตำแหน่ง เป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๙ (๑๑) จึงเป็นการวินิจฉัยที่ไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ"
-------------------------

ทั้งที่จริง ความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งนายกกับกองทุนฟื้นฟู
ก็ไม่ไ่ด้สั่งการตรงๆ ถ้าจะมีก็ต้องออกเป็นมติครม
อย่างเช่นเรื่องนี้ในสมัยรัฐบาลชวน

"การขอยกเว้นให้สถาบันการเงินที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟู
และพัฒนาระบบสถาบันการเงินถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50
ไม่ต้องปฎิบัติตามคำสั่งมติคณะรัฐมนตรี"
นายกก็เป็นสมาชิกหนึ่งของ ครม. และการสั่งการก็ต้องผ่านมติครม.
เข้ากรณีเดียวกันเป๊ะกับกรณี แต่ทักษิณแพ้ 5 ต่อ 4 เสียง หวุดหวิด
ชนิดประธานในที่ประชุมต้องลงมาโหวตอีกเสียงเพื่อชี้ขาด
และทั้งประธานและศาลอีกบางคนที่ตัดสินคดีรัชดา
ก็ได้มีโอกาสไปตัดสินคดียึดทรัพย์ทักษิณด้วย ฮา

กรณีนี้อยากเห็นพวก นักคุณธรรม นักจริยธรรม
นักกฏหมาย ช่วยวิจารณ์กรณีนายประทีปให้ฟังหน่อยซิว่า
ทำไมกรณีทักษิณกระเหี้ยนกระหือรือนัก
ทำไมกรณีนี้เฉยๆ

<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ที่ดินรัชดา >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2009/05/blog-post_1673.html

โดย มาหาอะไร
FfF