21 สิงหาคม 2554

<<< ตัวอย่างโพลล์สั่งการและโพลล์โจมตีดิสเครดิต >>>

กรณีโพลล์สั่งการ
ถ้าสังเกตุช่วงตั้ง ครม. จะมีโพลล์ช่วยจัดตั้ง ครม. ให้เสร็จสรรพ
ที่น่าแปลกใจคือ รมต. หลายกระทรวงตามโพลล์
คนสนใจการเมืองยังเพิ่งได้ยินชื่อ ยังไม่รู้จักด้วยซ้ำ
แต่ชาวบ้านที่ตอบโพลล์ตามอ้าง กลับรู้จัก
หนุนให้มาดำรง รมต. กระทรวงนั้นกระทรวงนี้
ดูๆ ไปแล้ว เหมือนนั่งเทียนเมคตั้งเองตามธงมากกว่า
แล้วทำมาอ้างว่าเป็นโพลล์ความเห็นของประชาชน

กรณีโพลล์โจมตีดิสเครดิต
เช่นก่อนเลือกตั้งก็มีโพลล์ชูอภิสิทธิ์ดิสเครดิตยิ่งลักษณ์แบบนี้
เอแบคโพลล์ชี้ภาพลักษณ์ความเป็นผู้นำของ"อภิสิทธิ์"
เหนือกว่า"ยิ่งลักษณ์"แต่ด้อยกว่าเรื่องฐานะ
หรือโพลล์ดิสเครดิตเรื่องความซื่อสัตย์แบบนี้
เอแบคโพลล์เผยคะแนนครม.ด้านความซื่อสัตย์เกินครึ่งเล็กน้อย
อันหลังคือตัวอย่างที่เห็นได้ชัด
ครม. ยิ่งลักษณ์ยังไม่ทันได้เริ่มทำงานอย่างเป็นทางการเลยด้วยซ้ำ
เพราะยังไม่ได้แถลงนโยบายผ่านสภาเลย
ก็มีโพลล์ออกมาดิสเครดิตว่า
ภาพลักษณ์ความซื่อสัตย์ของ ครม.ยิ่งลักษณ์ เกินครึ่งเล็กน้อย
แล้วที ครม.อภิสิทธิ์ ที่มีข่าวโกงกินกันมากมายสารพัดโครงการ
ไม่เห็นทำโพลล์ด้านภาพลักษณ์ความซื่อสัตย์ ครม. อภิสิทธิ์บ้าง

<<< สรุปผลงาน 1 ปี ระบอบอภิสิทธิ์ >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2009/12/blog-post_15.html

สมัยอภิสิทธิ์นานๆ ทำโพลล์ที
แถมเห็นจะจะว่ามีข่าวโกงกินหลายโครงการกับไม่ทำโพลล์ภาพลักษณ์อะไร
แต่กรณียิ่งลักษณ์ เล่นถี่ยิบไม่พอ ยังมีโพลล์แปลกๆ ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน
เช่น โพลล์นักเศรษฐศาตร์อ้างเพื่อความขลังเพื่อดิสเครดิตรัฐบาลยิ่งลักษณ์แค่นั้นเอง
แถมนั่งเทียนทำโพลล์อ้างโพลล์นักเศรษฐศาสตร์
แต่ข้อมูลส่อไม่เข้าใจพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์แถมขัดแย้งกันเอง
เช่นกรณีนี้

"นักเศรษฐศาสตร์ กว่าครึ่งเช่นกัน (ร้อยละ 61.5) เห็นว่าผลกระทบรอบนี้จะรุนแรงน้อยกว่ารอบที่ผ่านมา เมื่อถามถึงระยะเวลาที่เศรษฐกิจของประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกาและ กลุ่มยูโรโซน จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ร้อยละ 43.6 เชื่อว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 4-5 ปี รองลงมาร้อยละ 30.8 เชื่อว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 5-10 ปี"

จะเห็นได้ว่า 70 กว่า% คิดว่าประเทศยักษ์ใหญ่
ที่กำลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจตอนนี้จะฟื้นไม่ต่ำกว่า 4-5 ปีนี้
แต่กับมีบางหัวข้อระบุลักษณะนี้

"นักเศรษฐศาสตร์ มากกว่าครึ่ง (ร้อยละ 57.7) เห็นว่า รัฐบาลชุดใหม่ควรกำหนดกรอบนโยบายงบประมาณให้กลับสู่งบสมดุลภายใน ปี 2555 ตามกรอบเดิม"

ไม่ทราบว่าใช้ตำราเศรษฐศาสตร์สำนักไหน
ที่บอกว่าเศรษฐกิจโลกไม่ดี เศรษฐกิจไทยกำลังแย่
แล้วให้ทำงบสมดุลทันทีแทนที่จะทำงบขาดดุลไปสักระยะ
เพียงแต่อย่าทำขาดดุลมากก่อหนี้เกินตัวยังพอรับได้
ประเภทเร่งให้ทำงบสมดุลมันจะกระตุ้นเศรษฐกิจยังไง
แถมมั่วนิ่มเหมือนคนไม่ได้ติดตามข่าวการเมืองจริงจัง
ถึงระบุมาว่า ให้ทำงบสมดุลภายในปี 2555 ตามกรอบเดิม
กรอบเดิมที่ว่าคืออะไรรู้หรือเปล่า

ส่อนั่งเทียนทำโพลล์แบบมั่วเอาตามธงที่ตั้งใจอยากจะทำ
ไม่ได้ไปถามนักเศรษฐศาสตร์ของจริง
หรือถามก็พวกที่ไม่ได้ตามการเมืองอย่างแท้จริง
จึงไม่ทราบแม้กระทั่งว่ากรอบเดิมที่ว่าตอนนี้
คือทำงบขาดดุลในปี 2555
ตามกรอบงบประมาณที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ทิ้งไว้ให้แบบนี้

"นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2555 จำนวน 2.25 ล้านล้านบาท ตั้งเป้าหมายรายได้ 1.9 ล้านล้านบาท ทำให้เป็นงบประมาณขาดดุลแบบขาดดุล 350,000 ล้านบาท"

โดย มาหาอะไร

--------------------------------------------

ครม.อนุมัติกรอบงบประมาณรายจ่ายปี 2555 ที่ 2.25 ล้านล้านบาท
วันจันทร์ ที่ 24 ม.ค. 2554

ทำเนียบฯ 24 ม.ค. - นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2555 จำนวน 2.25 ล้านล้านบาท ตั้งเป้าหมายรายได้ 1.9 ล้านล้านบาท ทำให้เป็นงบประมาณขาดดุลแบบขาดดุล 350,000 ล้านบาท นับว่าเป็นการจัดทำงบประมาณขาดดุลลดลงจากปี 2554 ถึง 70,000 ล้านบาท ทั้งนี้ เพื่อต้องการรักษาวินัยทางการคลังนำไปสู่การจัดทำงบประมาณแบบสมดุลในช่วง 5 ปีข้างหน้า


นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้ปรับงบกลางปี จากเดิมที่หารือไว้เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา 110,000 ล้านบาท เปลี่ยนเป็นใช้เงินไม่เกิน 100,000 ล้านบาท เพื่อชดเชยเงินคงคลัง 84,000 ล้านบาท โอนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) 6,000 ล้านบาท และยังใช้ฟื้นฟูพื้นที่ประสบอุทกภัย-วาตภัย 10,000 ล้านบาท นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำว่าโครงการดังกล่าวต้องมีการเบิกจ่ายให้เสร็จภายใน สิ้นปีงบประมาณ 2554 เพื่อเร่งฟื้นฟูพื้นที่ที่ประสบปัญหาโดยเร็ว. -สำนักข่าวไทย


http://www.mcot.net/cfcustom/cache_page/159949.html


--------------------------------------------

เอแบคโพลล์ชี้ภาพลักษณ์ความเป็นผู้นำของ"อภิสิทธิ์"เหนือกว่า"ยิ่งลักษณ์"แต่ด้อยกว่าเรื่องฐานะ
โดย ณัฐญา เนตรหิน
วันอาทิตย์ที่ 01 พฤษภาคม 2011 เวลา 09:49 น.

ดร. นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยว่าผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง สำรวจภาพลักษณ์ความเป็นผู้นำระหว่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และความรู้สึกของสาธารณชนคนไทยต่อสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศ

ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ชัยนาท สระบุรี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สมุทรปราการ พะเยา พิษณุโลก เชียงใหม่ อำนาจเจริญ มหาสารคาม สกลนคร ศรีสะเกษ อุดรธานี ขอนแก่น ชุมพร และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 1,764 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่าง วันที่ 23 – 30 เมษายน 2554 ที่ผ่านมา

ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจโพลล์การเมืองครั้งนี้สอบถามความคิดเห็นของประชาชนต่อภาพลักษณ์ความ เป็นผู้นำด้านต่างๆ ระหว่าง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้ที่ปรากฏในกระแสข่าวเป็นหนึ่งในแคนดิเดตตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อ ไทย โดยพบว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้รับเสียงโหวตจากประชาชนสูงกว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เกือบทุกด้านของภาพลักษณ์ความเป็นผู้นำ ยกเว้นความสำเร็จทางธุรกิจและมีฐานะร่ำรวย

ผลสำรวจออกมาเช่นนี้ อาจเป็นเพราะ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยังไม่ได้มีโอกาสมากเพียงพอในการแสดงความเป็นผู้นำให้ปรากฏต่อสาธารณชน ดังนั้น ถ้านางสาวยิ่งลักษณ์ สามารถรณรงค์แสดงศักยภาพให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นต่อความเป็นผู้นำในช่วง เวลานี้ ผลสำรวจครั้งต่อไปอาจเปลี่ยนแปลงได้ เพราะการสำรวจครั้งนี้เป็นการค้นหาจุดตั้งต้นของการเข้าสู่วาระของการแข่ง ขันทางการเมืองเพื่อการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย โดยประเด็นสำคัญที่ค้นพบคือ เรื่องความอดทนอดกลั้น รู้จักควบคุมอารมณ์ ร้อยละ 53.7 ระบุเป็นนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 9.7 ระบุเป็นนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ร้อยละ 14.4 ระบุพอๆ กัน และร้อยละ 22.2 ไม่มีความเห็น

เรื่องถัดมาคือ ความสุภาพอ่อนโยน ร้อยละ 50.1 ระบุนายอภิสิทธิ์ , ร้อยละ 13.0 ระบุนางสาวยิ่งลักษณ์ ,ร้อยละ 17.9 ระบุทั้งสอง และร้อยละ 19.0 ไม่มีความเห็น ส่วนเรื่องการเป็นที่ยอมรับภายในประเทศและต่างประเทศ ร้อยละ 49.6 ระบุเป็นนายอภิสิทธิ์ ร้อยละ 11.3 ระบุนางสาวยิ่งลักษณ์ ร้อยละ 14.9 ระบุพอๆ กัน และร้อยละ 24.2 ไม่มีความเห็น

นอกจากนี้ เรื่อง การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ร้อยละ 49.6 ระบุนายอภิสิทธิ์ ร้อยละ 9.8 ระบุนางสาวยิ่งลักษณ์ ร้อยละ 15.9 ระบุพอๆ กัน และร้อยละ 24.7 ไม่มีความเห็น ด้านความโอบอ้อมอารี ร้อยละ 48.2 ระบุนายอภิสิทธิ์ ร้อยละ 13.1 ระบุนางสาวยิ่งลักษณ์ และร้อยละ 15.1 พอๆ กัน และร้อยละ 23.6 ไม่มีความเห็น

เรื่องรองๆ ลงไปคือ ความเป็นผู้นำ ความรู้ความสามารถ จริยธรรมทางการเมือง วิสัยทัศน์ เสียสละ มีความซื่อสัตย์สุจริต เป็นคนรุ่นใหม่ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความยุติธรรม กล้าคิดกล้าตัดสินใจ แก้ปัญหาเชิงบริหาร ความขัดแย้งได้ดี รวดเร็วฉับไวในการแก้ปัญหา เป็นภาพลักษณ์ของความเป็นผู้นำที่นายอภิสิทธิ์ มีเสียงโหวตจากประชาชนสูงกว่า นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

แต่เมื่อถามถึงความสำเร็จทางธุรกิจ และมีฐานะร่ำรวย พบว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ได้ร้อยละ 38.5 นายอภิสิทธิ์ ได้ร้อยละ 19.7 ในขณะที่ร้อยละ 18.2 ระบุพอๆ กัน และร้อยละ 23.6 ไม่มีความเห็น โดยถ้านางสาวยิ่งลักษณ์ใช้จุดแข็งนี้ชี้ให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นว่าจะ แก้ปัญหาปากท้องของประชาชนคนไทยได้เพราะผลสำรวจทุกครั้งที่ผ่านมาพบว่า ประชาชนทั่วไปต้องการผู้นำประเทศที่แก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ดีในอันดับต้นๆ ก็น่าจะทำให้นางสาวยิ่งลักษณ์ได้รับเสียงสนับสนุนจากสาธารณชนเพิ่มขึ้นในการ สำรวจครั้งต่อไป

ในการสำรวจครั้งนี้ ยังได้ทำการสอบถามสาธารณชนคนไทยต่อสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งพบว่า ประชาชนคนไทยเกือบร้อยละร้อย คือร้อยละ 98.1 เป็นห่วงความปลอดภัยของประชาชนที่อยู่ใกล้ชายแดน โดยไม่คำนึงถึงการแบ่งขั้วแบ่งสีแต่อย่างไร เห็นได้ว่าประชาชนคนไทยเกือบทุกคนรวมกันเป็นหนึ่งเดียวได้ และยิ่งไปกว่านั้น ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ร้อยละ 97.7 ที่อยากให้กำลังใจทหารในการปฏิบัติหน้าที่ ร้อยละ 91.1 มีความหวังที่จะเห็นประเทศไทยกับกัมพูชา เจรจาแก้ปัญหาความขัดแย้งชายแดนร่วมกันด้วยสันติวิธี ร้อยละ 86.9 เป็นห่วงเรื่องการค้าชายแดนจะได้รับผลกระทบ ร้อยละ 57.2 เป็นกังวลว่าความขัดแย้งนี้จะทำให้กระทบต่อการสร้างประชาคมอาเซียน 2015 ร้อยละ 54.3 กังวลว่าไทยจะสูญเสียดินแดนที่เป็นกรณีพิพาท แต่ที่น่าสนใจคือ ร้อยละ 47.3 ไม่กังวลว่า ความขัดแย้งชายแดนไทยกัมพูชาจะทำให้การเลือกตั้งครั้งใหม่เลื่อนออกไป ในขณะที่ร้อยละ 44.8 กังวล และที่เหลือร้อยละ 7.9 ไม่มีความเห็น ตามลำดับ

http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=65600:qqqq&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524

--------------------------------------------

โพลจัดโผครม.ยิ่งลักษณ์ "ยุทธศักดิ์"กลาโหม-"เด็จพี่"คุมสื่อ
โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 31 กรกฎาคม 2554 17:21 น.

วานนี้ (31 ก.ค.) ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่องโผคณะรัฐมนตรี ในสายตาของสาธารณชน พบว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาจำนวนมาก หรือร้อยละ 44.0 คิดว่ากระแสการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ของว่าที่นายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แรงขึ้นในขณะที่ร้อยละ 42.9 คิดว่ากระแสแรงเท่าเดิม และร้อยละ 13.1 คิดว่าลดลง
สำหรับตัวเก็งคณะบุคคลที่เหมาะสมกับตำแหน่งรัฐมนตรี และงานสำคัญในรัฐบาลชุดใหม่ ภายใต้การนำของว่าที่นายกรัฐมนตรีหญิง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พบว่า ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 61.7 ระบุเป็น นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ เหมาะสมกับตำแหน่งรัฐมนตรีรับผิดชอบงานประชาสัมพันธ์ รองลงมาคือร้อยละ 56.6 ระบุ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก เป็นรัฐมนตรี ดูแลระบบงานตำรวจ ร้อยละ 54.8 ระบุ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา เป็นรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม
ร้อยละ 54.2 ระบุ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ดูแลด้านเศรษฐกิจ ร้อยละ 52.7 ระบุนายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ ดูแลกระทรวงพาณิชย์ ร้อยละ 51.5 ระบุ นายธีระ วงศ์สมุทร ดูแลงานเกษตรและสหกรณ์
ร้อยละ 50.3 ระบุ พล.ต.ท.ชัชจ์ กุลดิลก ดูแลด้านความมั่นคง ร้อยละ 49.6 ระบุนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ ดูแลกระทรวงมหาดไทย ร้อยละ 46.6 ระบุนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ดูแลกระทรวงพลังงาน ร้อยละ 44.3 ระบุ นายดอน ปรมัตวินัย ดูแลกระทรวงการต่างประเทศ ร้อยละ 41.4 ระบุ ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย ดูแลด้านเศรษฐกิจ และร้อยละ 36.9 ระบุ นายวิกรม คุ้มไพโรจน์ ดูแลงานการต่างประเทศ ตามลำดับ

** รัฐบาลต้องทำตามสัญญา

เมื่อถามถึงข้อเสนอแนะของประชาชนต่อว่าที่นายกรัฐมนตรีหญิง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.6 ระบุ ทำให้ได้อย่างที่เคยพูดทันที สัญญาอะไรและหาเสียงไว้กับประชาชนทำให้ได้ตามนั้น
ร้อยละ 78.0 ระบุเร่งแก้ปัญหาค่าครองชีพ ปัญหาปากท้อง เพิ่มรายได้ของประชาชน ร้อยละ 76.2 ระบุมุ่งทำให้คนในชาติเป็นหนึ่งเดียว เช่น เตรียมจัดงานยิ่งใหญ่แสดงความจงรักภักดี / ปฏิรูปงานยุติธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ / ยึดมั่นในกฎหมายมากกว่ากฎหมู่ ร้อยละ 53.3 ระบุให้ช่วยเหลือเกษตรกร เช่น ที่ทำกิน ราคาพืชผลทางการเกษตร และร้อยละ 52.1 ระบุขอให้แสดงความเป็นผู้นำ เด็ดขาด สามารถควบคุมความวุ่นวายต่างๆ ได้มากกว่านี้

** คนไทยขอเพลง"รักกันไว้เถิด"

ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อสอบถามประชาชนถึง “เพลงปลุกใจ" ที่ชื่นชอบ อยากฟังในช่วงเวลานี้โดยตอบได้มากกว่า 1 เพลง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.4 ระบุเป็นเพลง “รักกันไว้เถิด" รองลงมาคือ ร้อยละ 23.1 ระบุเพลง ตื่นเถิดชาวไทย ร้อยละ 22.4 ระบุเพลง เกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย ร้อยละ 22.2 ระบุเพลงขวานไทยใจหนึ่งเดียว
นอกจากนี้ อันดับรองๆ ลงไปที่ติด 1 ใน 10 อันดับแรกได้แก่ บทเพลง เราสู้ เลือดสุพรรณ ต้นตระกูลไทย แผ่นดินของเรา พลังสามัคคี และหนักแผ่นดิน ตามลำดับ

** "ยิ่งลักษณ์"เผชิญคลื่น 3 ลูก
ดร.นพดล กล่าวว่า ความสนใจของสาธารณชนต่อการจัดโผคณะรัฐมนตรี ยังคงมาแรงอย่างต่อเนื่อง จนทำให้เกิดอาการแกว่งตัวของฝ่ายการเมือง นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต้องแสดงความเป็นผู้นำที่เด็ดขาด สยบคลื่นลมต่างๆ ด้วยตนเอง เพราะตอนนี้กำลังเผชิญคลื่นลูกแรกที่ “แย่งชิงอำนาจทางการเมือง" เพื่อเป็นรัฐมนตรี
คลื่นลูกที่สองคือ การวิ่งเต้นเข้าหาขั้วอำนาจ ของบรรดาข้าราชการประจำด้วยความพร้อมที่จะเข้ากราบไหว้ เคารพยกย่องรัฐมนตรีเพื่อให้ได้ตำแหน่งบริหารประจำหน่วยงานราชการ
แต่คลื่นลูกที่สามและสี่จะใหญ่โตมากกว่าคือ การแสวงหาผลประโยชน์ทั้ง “อำนาจเงิน" และ “การสนองตอบกิเลส ตัณหา" ของบรรดารัฐมนตรีและผู้ติดตามที่เข้ามากันเป็นเครือข่าย ด้วยการสนับสนุนค้ำชูของบรรดาข้าราชการประจำที่ได้รับการแต่งตั้งโยกย้ายจน คนไทยจะเห็นภาพของ “ทีใครทีมัน" และความกร่าง เจ้ายศเจ้าอย่าง ยกตนข่มท่านของผู้มีอำนาจที่เกิดขึ้นในทุกรัฐบาลที่ผ่านมา

**ต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นในครม.

ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวต่อว่า ว่าที่นายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ น่าจะใช้โอกาสนี้จัดบ้านใหม่ ลบล้างภาพลักษณ์ในทางลบที่คนในสังคมเคลือบแคลงสงสัยตามที่กล่าวมา โดยแนะให้ดำเนินการ 3 เร่ง ได้แก่ เร่งทำวิจัยตลาดผลิตภัณฑ์รัฐมนตรีล็อตแรก หรือว่าที่ ครม.ปู 1 กับกลุ่มเป้าหมายทุกสาขาอาชีพ โดยเฉพาะกลุ่มสื่อมวลชน ข้าราชการแต่ละหน่วยงาน และประชาชนทั่วไป เพื่อดูว่าผู้บริโภคจะซื้อหรือไม่ กับโผรายชื่อตัวเก็งผู้จะมาเป็นรัฐมนตรี เพื่อเพิ่มยอดขายฐานสนับสนุนรัฐบาล ลดแรงเสียดทานหรือกระแสยี้ และลดความกังวลที่ผู้วิจัยค้นพบต่อภาพที่ไม่อยากให้เกิดคือ ภาพของว่าที่นายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ต้องคอยจับลูกปูใส่กระด้ง ดังนั้น สถานการณ์การเมืองขณะนี้ แม่ปูต้องควบคุมได้จริง
เร่งทำให้ทุกคนทั้งผู้ที่ “เลือก" และ “ไม่เลือก" รัฐบาลเกิดความวางใจ (TRUST) ว่าพวกเขาทุกคนจะได้รับสิ่งที่คนอื่นๆ ได้รับการปฏิบัติอย่างดีจากรัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐ โดยปลด “อคติแห่งนครา" จากแรงกดดันสารพัดรูปแบบในการออกนโยบายแห่งรัฐ ทำให้สาธารณชนเห็นว่าพวกเขากำลังจะได้ผู้นำประเทศตัวจริงไม่เป็นร่างทรงของ คนอื่นทั้งครอบครัวเครือญาติ พวกพ้องและกลุ่มนายทุน และ เร่งทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีศูนย์รวมจิตใจเป็นหนึ่งเดียวตามบทเพลง ปลุกใจ “รักกันไว้เถิด" ที่ค้นพบในผลสำรวจครั้งนี้

** ดุสิตโพลชี้ ปชช.รอดู 5 รมต.
จากที่ กกต.ได้ประกาศผลรับรอง ส.ส. ทั้งระบบบัญชีรายชื่อ และระบบเขต 496 คน ซึ่งถือว่าได้เกิน 95 % ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ทำให้การเปิดประชุมสภาผู้แทนฯ สามารถเปิดประชุมได้ตามระยะเวลาที่กำหนด คือวันที่ 1 สิงหาคมนี้ หลังจากนั้นในที่ประชุมสภาก็จะมีการเลือกบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งนายก รัฐมนตรีและการสรรหารัฐมนตรีประจำกระทรวงต่างๆ ที่จะเข้ามาช่วยกันบริหารบ้านเมืองต่อไป
โดยประชาชนส่วนใหญ่ต่างหวังว่าการสรรหารัฐมนตรีใน"รัฐบาลยิ่งลักษณ์" ครั้งนี้จะเป็นที่พอใจของทุกฝ่าย “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สอบถามความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 2,832 คน ระหว่างวันที่ 25-30 กรกฎาคม 2554 สรุปผล ดังนี้
1) “5 กระทรวง” ที่ประชาชนสนใจในการสรรหาผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่ง รมต. มากที่สุด
อันดับ 1 กระทรวงมหาดไทย 77.89 % เพราะเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทและมีอำนาจมากในการปกครองบ้านเมืองให้อยู่ใน ความสงบเรียบร้อย เป็นตำแหน่งสำคัญที่นักการเมืองต้องการ ฯลฯ
อันดับ 2 กระทรวงการคลัง 72.03 % เพราะ เป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเงินของประเทศและปากท้องประชาชน ผู้ที่จะเข้ามาจึงถูกจับตามองเป็นพิเศษ ฯลฯ
อันดับ 3 กระทรวงกลาโหม 70.00 % เพราะทำหน้าที่ดูแลความมั่นคงของประเทศ โดยเฉพาะการแก้ปัญหาเร่งด่วน เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการสร้างขวัญกำลังให้กับกองทัพหลังเหตุการณ์เครื่องบินตก ฯลฯ
อันดับ 4 กระทรวงศึกษาธิการ 67.93 % เพราะการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาประเทศ อยากเห็นการปฏิรูปการศึกษาสำเร็จเป็นรูปธรรม ฯลฯ
อันดับ 5 กระทรวงพาณิชย์ 56.46 % เพราะทำหน้าที่ดูแล ควบคุมราคาสินค้า ,อยากให้มีนโยบายปรับลดราคาสินค้าเพื่อลดภาระของประชาชน ฯลฯ

** ต้องซื่อสัตย์ ไมคอร์รัปชัน

2) “คุณสมบัติที่ดี” ของ “รัฐมนตรี” ที่ประชาชนต้องการ
อันดับ 1 เป็นคนดี มีคุณธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต ไม่โกงกินบ้านเมือง 42.55 %
อันดับ 2 มีความรู้ ความสามารถ มีความเป็นผู้นำ เป็นที่ยอมรับ น่าเชื่อถือ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล 23.62 %
อันดับ 3 มีความมุ่งมั่นตั้งใจจริงที่จะทำงานเพื่อประเทศชาติ 14.90 %
อันดับ 4 มีนโยบายการทำงานที่ชัดเจน ทำงานเพื่อส่วนรวม นึกถึงประชาชนเป็นสำคัญ 14.25 %
อันดับ 5 ต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์หรือทำงานในกระทรวงที่จะมาดำรงตำแหน่ง มีความเข้าใจในองค์กร 4.68 %
การสรรหารัฐมนตรี : 2
3) ทำไม ? การสรรหารัฐมนตรีที่ดี และมีความรู้ความสามารถจึงทำได้ยาก
อันดับ 1 มีเรื่องผลประโยชน์ทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ความเป็นอาวุโสภายในพรรค มีคุณประโยชน์กับพรรคมานาน 50.61 %
อันดับ 2 ผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม มีความรู้ความสามารถไม่ต้องการที่จะเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง 18.29 %
อันดับ 3 การจัดสรรตำแหน่งต้องดูจากโควตา ระบบสัดส่วน จำนวนที่นั่ง ส.ส. ของพรรคร่วมรัฐบาล แต่ละพรรคที่ได้ 16.46 %
อันดับ 4 กระทรวงสำคัญ ๆมักเป็นของพรรคแกนนำรัฐบาลที่ได้รับเสียงข้างมากเป็นผู้จัดสรรเอง 7.93 %
อันดับ 5 ผู้ที่เข้ามาดำรงตำแหน่งส่วนใหญ่ไม่มีความรู้หรือไม่มีประสบการณ์ในกระทรวงนั้น ๆ เป็นคนจากภายนอกเข้ามา 6.71 %
4) “ความคาดหวัง” ของประชาชน ต่อ รัฐมนตรีในรัฐบาลยิ่งลักษณ์
อันดับ 1 คงจะสมหวัง 52.91 % เพราะรัฐบาลมี ส.ส.เก่งและมีความรู้ความสามารถให้เลือกสรรอยู่มาก ,ส่วนใหญ่ล้วนเป็นผู้ที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จัก และมีประสบการณ์ทางการเมืองมานาน ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่น่าสมหวัง 21.97 % เพราะจากกระแสข่าวหรือจากคำบอกเล่าของ ส.ส.ภายในพรรคจะเห็นได้ว่ามีการวางตัว ว่าที่ รมต.ไว้แล้ว โดยการตัดสินใจไม่ได้มาจากความเห็นส่วนใหญ่จาก ส.ส.ในรัฐบาล ฯลฯ
อันดับ 3 สมหวังแน่นอน 13.01 % เพราะตำแหน่ง รมต.ในแต่ละกระทรวงมีความสำคัญและเป็นการเริ่มต้นในการบริหารประเทศของ รัฐบาล หากเลือก รมต. ที่ดีและเป็นที่ตรงใจของประชาชนก็จะช่วยลดกระแสการถูกคัดค้านลงได้ ฯลฯ
อันดับ 4 ไม่สมหวัง 12.11% เพราะสถานการณ์ทางการเมือง ณ วันนี้ เปลี่ยนไปมาก ไม่มีความแน่นอน ,ปัญหาเดิมในแต่ละกระทรวงที่ยังแก้ไม่ได้ ยังคงคั่งค้างอยู่มาก ไม่ว่าใครจะเข้ามาทำงานก็เป็นเรื่องที่ยาก ,ไม่มั่นใจในเสถียรภาพของรัฐบาลใหม่ ฯลฯ

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000094668

----------------------------------------------------

เอแบคโพลล์เผยคะแนนครม.ด้านความซื่อสัตย์เกินครึ่งเล็กน้อย
วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม 2011 เวลา 10:34 น.

เอแบคโพลล์ เปิดเผย ประชาชนส่วนใหญ่ให้การยอมรับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในฐานะนายกรัฐมนตรี ขณะที่ภาพลักษณ์ด้านความซื่อสัตย์สุจริตของคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ได้คะแนนเกินครึ่งเพียงเล็กน้อย

กรุงเทพฯ (14 ส.ค.) ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ในการยอมรับของสาธารณชน ว่า จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 2,412 ตัวอย่าง ใน 17 จังหวัดทั่วประเทศ พบว่า ภาพรวมในสายตาของประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 79.9 ให้การยอมรับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในฐานะนายกรัฐมนตรี รองลงมาร้อยละ 58.9 ให้การยอมรับนายชุมพล ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ใน

ขณะที่ร้อย ละ 58.4 ให้การยอมรับ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

อย่างไรก็ตาม เมื่อวิเคราะห์ค่าคะแนนเฉลี่ยภาพลักษณ์โดยรวมของคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่รับ ผิดชอบในด้านต่างๆ พบว่า เมื่อเปรียบเทียบจากคะแนนเต็ม 10 คณะรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจได้ 6.16 คะแนน คณะรัฐมนตรีด้านความมั่นคงได้ 5.83 คะแนน คณะรัฐมนตรีด้านการแก้ไขปัญหาสังคมได้ 5.73 คะแนน

ดร.นพดล กล่าวว่า ส่งผลให้ภาพลักษณ์โดยรวมด้านความซื่อสัตย์สุจริตของคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ได้มาเกินครึ่งเพียงเล็กน้อย คือ 5.44 คะแนน ขณะที่คะแนนของภาพลักษณ์โดยรวมทั้งหมดของคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ได้ 6.10 คะแนน

http://www.atnnonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=35288:2011-08-14-03-40-12&catid=34:politics-news&Itemid=82

-----------------------------------------------

"กรุงเทพโพลล์"เผยผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์48.7% ไม่เชื่อมั่นความรู้ความสามารถ"ทีมศก."ครม.ยิ่งลักษณ์

วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เวลา 12:05:46 น.







ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ(กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิ เคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ 30 แห่ง จำนวน 78 คน เรื่อง “ความเชื่อมั่นของนักเศรษฐศาสตร์ที่มีต่อทีมเศรษฐกิจ ครม. ยิ่งลักษณ์” โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 11-18 ส.ค. ที่ผ่านมา พบว่า


นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 48.7 ไม่ค่อยเชื่อมั่นในความรู้ความสามารถของทีมเศรษฐกิจ ครม. ยิ่งลักษณ์ รองลงมาร้อยละ 28.2 มีความเชื่อมั่นค่อนข้างมาก ส่วนความเชื่อมั่นต่อการบริหารเศรษฐกิจ หรือ GDP ให้ขยายตัวไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ต่อปี ตามที่หาเสียงไว้ ร้อยละ 44.9 เชื่อว่า “สามารถทำได้” ขณะที่ร้อยละ 24.4 เชื่อว่า “ไม่สามารถทำได้” ส่วน ความเชื่อมั่นต่อการ บริหารจัดการราคาสินค้า หรือ ภาวะเงินเฟ้อ ไม่ให้สูงกว่าร้อยละ 5 ต่อปีนั้น ร้อยละ 43.6 เชื่อว่า “ไม่สามารถบริหารจัดการได้” ขณะที่ร้อยละ 35.9 เชื่อว่า “สามารถบริหารจัดการได้”


สำหรับความเห็นต่อประเด็นการกำหนดกรอบนโยบายงบประมาณให้กลับสู่งบ สมดุลภายใน ปี 2555 ตามที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ได้หารือไว้กับสภาพัฒน์ฯ นั้น นักเศรษฐศาสตร์มากกว่าครึ่ง (ร้อยละ 57.7) เห็นว่า รัฐบาลชุดใหม่ควรกำหนดกรอบนโยบายงบประมาณให้กลับสู่งบสมดุลภายใน ปี 2555 ตามกรอบเดิม ด้านความเห็นต่อประเด็นที่ว่า ปัญหาหนี้สาธารณะที่กำลังบั่นทอนเศรษฐกิจของประเทศแถบตะวันตกในเวลานี้ จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเหมือนเมื่อครั้งเกิด Hamburger Crisis ในช่วงปลายปี 2551 อย่างไร นักเศรษฐศาสตร์กว่าครึ่งเช่นกัน (ร้อยละ 61.5) เห็นว่าผลกระทบรอบนี้จะรุนแรงน้อยกว่ารอบที่ผ่านมา เมื่อถามถึงระยะเวลาที่เศรษฐกิจของประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกาและ กลุ่มยูโรโซน จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ร้อยละ 43.6 เชื่อว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 4-5 ปี รองลงมาร้อยละ 30.8 เชื่อว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 5-10 ปี


ด้านข้อเสนอที่นักเศรษฐศาสตร์ต้องการบอกทีมเศรษฐกิจชุดใหม่ ในการบริหารเศรษฐกิจ การเงิน การคลังของประเทศ รวมถึงการแถลงนโยบายด้านเศรษฐกิจต่อรัฐสภา คือ (1) ให้บริหารเศรษฐกิจด้วยความรอบคอบ คำนึงถึงผลกระทบอย่างรอบด้าน ดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป มีกรอบการดำเนินงานที่ชัดเจน วิเคราะห์สถานการณ์ให้แจ่มชัด และไม่มีการคอร์รัปชันรวมถึงการหวังผลทางการเมือง (ร้อยละ 33.3) (2) ให้รักษาวินัยทางการเงินการคลังอย่างยิ่งยวด บริหารหนี้สาธารณะอย่างเคร่งครัด โดยดูบทเรียนจากสิ่งที่ประเทศตะวันตกกำลังประสบอยู่ (ร้อยละ 28.9) (3) ให้รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจระยะยาว ป้องกันไม่ให้เกิดเงินเฟ้อซึ่งจะสร้างความลำเค็ญให้กับประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ได้รับผลประโยชน์ใดๆ จากนโยบายของรัฐบาลเลย (ร้อยละ 22.2)

รายละเอียดของผลสำรวจ


1. ความเชื่อมั่นในความรู้ความสามารถของทีมเศรษฐกิจ ครม. ยิ่งลักษณ์
(นำ ทีมโดย คุณกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ(เศรษฐกิจ) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ คุณธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง)

เชื่อมั่นมากที่สุด

ร้อยละ 0.0

เชื่อมั่นค่อนข้างมาก

ร้อยละ 28.2

ไม่ค่อยเชื่อมั่น

ร้อยละ 48.7

ไม่เชื่อมั่นเลย

ร้อยละ 3.8

ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ

ร้อยละ 19.3

2. ความเชื่อมั่นที่มีต่อทีมเศรษฐกิจชุดใหม่ว่าจะสามารถบริหารเศรษฐกิจ หรือ GDP (ณ ราคาประจำปี) ให้ขยายตัวไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ต่อปี ตามที่หาเสียงไว้

เชื่อว่า “สามารถทำได้”

ร้อยละ 44.9

เชื่อว่า “ไม่สามารถทำได้”

ร้อยละ 24.4

ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ

ร้อยละ 30.7


3. ความเชื่อมั่นที่มีต่อทีมเศรษฐกิจชุดใหม่ว่าจะสามารถบริหารจัดการราคาสินค้า หรือ ภาวะเงินเฟ้อ (ทั่วไป) ไม่ให้สูงกว่าร้อยละ 5 ต่อปี (เงินเฟ้ออย่างอ่อนที่ระดับไม่เกินร้อยละ 5 ถือว่าไม่อยู่ในระดับที่อันตราย และยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการลงทุน)

เชื่อว่า “สามารถบริหารจัดการได้”

ร้อยละ 35.9

เชื่อว่า “ไม่สามารถบริหารจัดการได้”

ร้อยละ 43.6

ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ

ร้อยละ 20.5


4. ความเห็นที่มีต่อรัฐบาลชุดใหม่ว่าควรกำหนดกรอบนโยบายงบประมาณให้กลับสู่งบสมดุลภายใน ปี 2555 ตามที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ได้หารือไว้กับสภาพัฒน์ฯ หรือไม่

เห็นว่า รัฐบาลชุดใหม่มีความจำเป็นต้องกำหนดกรอบนโยบายงบประมาณให้กลับสู่งบสมดุลภายใน ปี 2555

ร้อยละ 11.5

เห็นว่า รัฐบาลชุดใหม่ควรกำหนดกรอบนโยบายงบประมาณให้กลับสู่งบสมดุลภายใน ปี 2555

ร้อยละ 57.7

เห็นว่า รัฐบาลชุดใหม่ไม่จำเป็นต้องกำหนดกรอบนโยบายงบประมาณสมดุลภายใน ปี 2555

ร้อยละ 25.6

ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ

ร้อยละ 5.2


5. ความเห็นต่อปัญหาหนี้สาธารณะที่กำลัง บั่นทอนเศรษฐกิจของประเทศแถบตะวันตกในเวลานี้ ว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเหมือนเมื่อครั้งเกิด Hamburger Crisis ในช่วงปลายปี 2551 อย่างไร

ผลกระทบรอบนี้จะรุนแรงกว่ารอบที่ผ่านมา

ร้อยละ 25.6

ผลกระทบรอบนี้จะรุนแรงน้อยกว่ารอบที่ผ่านมา

ร้อยละ 61.5

ผลกระทบรอบนี้ จะไม่กระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างมีนัยสำคัญ

ร้อยละ 7.7

ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ

ร้อยละ 5.2


6. ความเห็นต่อประเด็น ระยะเวลาที่เศรษฐกิจของประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกาและกลุ่มยูโรโซน จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

ภายใน 1-3 ปี

ร้อยละ 17.9

ภายใน 4-5 ปี

ร้อยละ 43.6

ภายใน 5-10 ปี

ร้อยละ 30.8

มากกว่า 10 ปี

ร้อยละ 2.6

ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ

ร้อยละ 5.1


7. สิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์ต้องการบอกทีมเศรษฐกิจชุดใหม่ ในการบริหารเศรษฐกิจ การเงิน การคลังของประเทศ รวมถึงการแถลงนโยบายด้านเศรษฐกิจต่อรัฐสภา (เป็นข้อคำถามปลายเปิดตอบได้อย่างอิสระ)

1. บริหารเศรษฐกิจด้วยความรอบคอบ คำนึงถึงผลกระทบอย่างรอบด้าน ดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป มีกรอบการดำเนินงานที่ชัดเจน วิเคราะห์สถานการณ์ให้แจ่มชัด และไม่มีการคอร์รัปชันรวมถึงการหวังผลทางการเมือง ที่สำคัญหากรู้ว่ามาผิดทางต้องกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง

ร้อยละ 33.3

2. รักษาวินัยทางการเงินการคลังอย่างยิ่งยวด บริหารหนี้สาธารณะอย่างเคร่งครัด โดยดูบทเรียนจากสิ่งที่ประเทศตะวันตกกำลังประสบอยู่

ร้อยละ 28.9

3. รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจระยะยาว ป้องกันไม่ให้เกิดเงินเฟ้อซึ่งจะสร้างความลำเค็ญให้กับประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ได้รับผลประโยชน์ใดๆ จากนโยบายของรัฐบาลเลย

ร้อยละ 22.2

4. ควรพัฒนาเศรษฐกิจโดยมีเป้าหมายการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม

ร้อยละ 6.7

5. อื่นๆ เช่น ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันไม่ได้มีความจำเป็นต้องกระตุ้นเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับสูง ควรต่อยอดโครงการดีๆ ของรัฐบาลชุดเก่าด้วย เป็นต้น

ร้อยละ 8.9

หมายเหตุ: มีนักเศรษฐศาสตร์ร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด็นนี้จำนวน 45 คน

กลุ่มตัวอย่าง:

นักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขา เศรษฐศาสตร์ (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ ต้องใช้ความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปี) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 30 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI) มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย บริษัททริสเรทติ้ง ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย บริษัทหลักทรัพย์ภัทร บริษัทหลักทรัพย์เคจีไอ บริษัทหลักทรัพย์เอเชียพลัส บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสิน บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคิน บริษัทหลักทรัพย์ไอร่า บริษัทหลักทรัพย์ฟินันเซียไซรัส คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ สำนักวิชาการจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์และนักวิจัยประจำศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

หมายเหตุ: รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้ เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายของ องค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด

ที่มา: กรุงเทพโพลล์



http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1313725744&grpid=no&catid=05

--------------------------------------------

FfF