บทความพิเศษ : ไทย-สหรัฐ กับ อู่ตะเภา โดย กษิต ภิรมย์
วันพฤหัสบดี ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555, 02.00 น.
ข่าวการมาเยือนประเทศไทยของ พลเอก มาร์ติน อี. เดมพ์ซี่ย์ ในฐานะเสนาธิการทหารสหรัฐ เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ของเดือนมิถุนายน ได้สร้างความฮือฮา และปฏิกิริยาให้กับวงการต่างๆ ของไทย โดยเฉพาะเมื่อไปผนวกกับข่าวที่ออกมาว่า สหรัฐอเมริกาจะมาขอใช้สนามบินอู่ตะเภาของของกองทัพเรือเพื่อภารกิจในการกู้ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และการช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม รวมไปถึงภารกิจทางด้านการสำรวจชั้นบรรยากาศ ทำให้เป็นที่น่าสนใจมากขึ้นอีก
ความสงสัย และความสับสนของสังคมคงจะไม่เกิดขึ้น ถ้าฝ่ายรัฐบาลไทย (โดยเฉพาะกระทรวง กลาโหม และกระทรวงการต่างประเทศ) มีการออกถ้อยแถลงล่วงหน้าแต่แรก แจ้งแก่สังคมไทย ก่อนที่เสนาธิการทหารสหรัฐ และคณะจะเดินทางมาถึงประเทศไทย ว่า พวกเขามาเยือนทำไม จะทำอะไร และที่สำคัญกว่านั้น เมื่อการเยือนแล้วเสร็จ ก็ยิ่งจะต้องมีถ้อยแถลงของโฆษกของทั้ง 2 กระทรวง เกี่ยวกับผลการหารือให้เป็นกิจจะลักษณะ แทนที่จะปล่อยให้รัฐมนตรี และแม่ทัพนายกอง มาตอบคำถามของผู้สื่อข่าวแบบตั้งรับ แล้วก็ปล่อยให้สังคมคาดเดา ตีความ และวิพากษ์วิจารณ์ กันไปต่างๆ นาๆ
อันที่จริงแล้วการเยือนไปมาหาสู่ระหว่างผู้นำระดับต่างๆ ของฝ่ายความมั่นคงไทย-สหรัฐ ถือได้ว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดา เพราะเราเป็นพันธมิตรกันมายาวนาน ในกรณีของอู่ตะเภาในช่วงโลกแห่งสงครามเย็น ไทย-สหรัฐ ร่วมมือกันสนับสนุนเวียดนามใต้ในการต่อสู้กับคอมมิวนิสต์เวียดนามเหนือและเวียตกง (ฝ่ายคอมมิวนิสต์เวียดนามใต้) โดยไทยเปิดโอกาสให้สหรัฐใช้สนามบินอู่ตะเภา เป็นฐานโจมตีเวียดนามเหนือ และเส้นทางลำเลียงของเวียดนามเหนือสู่เวียดนามใต้ ผ่านลาว และกัมพูชาด้วย ซึ่งยังส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยกับเพื่อนบ้านในภูมิภาคจนถึงบัดนี้
จนกระทั่งเมื่อสงครามเย็นสิ้นสุด เวียดนามเหนือมีชัยชนะ รวมประเทศได้ สหรัฐอเมริกาถอนตัวจากการสู้รบบนพื้นแผ่นดินเอเชีย หลังจากนั้น สหรัฐอเมริกาก็ปรับความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน และรับรองรัฐบาลจีนแผ่นดินใหญ่รัฐบาลเดียว โดยยุติการรับรองรัฐบาลไต้หวันว่าเป็นรัฐบาลจีน หรือในฐานะตัวแถมของจีนแผ่นดินใหญ่ ส่วนเวียดนามก็ก้าวเข้าเป็นมาสมาชิกสมาคมอาเซียน และนำเอาระบบเศรษฐกิจการตลาด หรือทุนนิยมมาใช้ และจึงเริ่มปรับความสัมพันธ์ทางการทูตกับสหรัฐ
หลังสงครามเวียดนาม สนามบินอู่ตะเภาก็เป็นที่ตั้งของกองบินของกองทัพเรือ เป็นที่บริการกิจการการบินพาณิชย์พลเรือนแบบเช่าเหมาลำ (Charter) และใช้สำรองดอนเมืองและสุวรรณภูมิ และเป็นจุดแวะผ่าน (Transit) ให้กับฝ่ายสหรัฐ ในการขนส่ง ทำนุ บำรุง ระหว่างฐานต่างๆ ในแปซิฟิค กับแนวรบในอีรัค และอัฟกานิสถาน เป็นต้น
ในกรณีภัยพิบัติสึนามิ เมื่อปี 2548 (2005) ทางสหประชาชาติก็ได้ร่วมใช้อู่ตะเภาเพื่อการกู้ภัยพิบัติและการร่วมช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมแก่ประเทศต่างๆ ที่ประสพภัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยความเหมาะสมทางภูมิศาสตร์ จนมาถึงช่วงรัฐบาลอภิสิทธิ์ ฝ่ายไทยได้ประกาศเสนอต่อ สหประชาชาติ ประชาคมอาเซียน และต่อมิตรประเทศในการที่จะเปิดให้ฐานทัพเรืออู่ตะเภาโดยเฉพาะสนามบิน เป็นศูนย์กู้ภัยพิบัติ และช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมระหว่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นจุดรวมตัวปฏิบัติการกู้ภัย และช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมอย่างทันทีทันควัน (Rapid deployment) เป็นศูนย์เพื่อการฝึก (Training) และเป็นศูนย์คลังเก็บอาหาร ยา สิ่งของ อุปกรณ์ (depot) โดยมีเหตุผลในการเสนอเรื่องนี้ต่อประชาคมโลก ก็คือ
- สนามบินอู่ตะเภานั้นมีความพร้อม และยังไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มกำลัง จึงสามารถนำมารองรับภารกิจด้านการกู้ภัยและมนุษยธรรมที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
- ประเทศต่างๆ รวมทั้งสหประชาชาติมีประสบการณ์ โดยเฉพาะจากกรณีสึนามิเมื่อปี 2548 (2005) และกรณีไซโคลนทากิสที่พม่า เมื่อปี 2550 (2007) ที่จะมาร่วมมือกันต่อไป
- ประเทศต่างๆ มีประสบการณ์จากการร่วมมือระหว่างฝ่ายทหารกับพลเรือน หรือ ฝ่ายทหารสนับสนุนฝ่ายพลเรือน เพราะฝ่ายทหารมีตัวเรือรบ เครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์ ยานพาหนะ เครื่องไม้เครื่องมือ ยุทโธปกรณ์ พร้อมมูล และจัดว่าเป็นกิจการพลเรือนของฝ่ายทหารได้อย่างมีประสิทธิภาพได้อยู่แล้ว (Civic Action)
- ในที่ประชุมผู้นำอาเซียน และในระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ และกลาโหม เห็นพ้องต้องกัน ให้ฝ่ายทหารสนับสนุนฝ่ายพลเรือนในเรื่องการกู้ภัย และการช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม ซึ่งเป็นนโยบายหลักอันหนึ่ง ของอาเซียน และได้ขยายไปถึงประเทศคู่เจรจาของอาเซียนอีก 10 ประเทศอีกด้วย
- เป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ และบทบาทของไทยในเวทีโลกในช่วงที่โลกประสพกับภัยพิบัติถี่ขึ้น และต้องการความร่วมมือระหว่างประเทศกันมากขึ้น
ในทางปฏิบัติโดยที่ไทย-สหรัฐ เป็นพันธมิตร และมีประสพการณ์ร่วมกันมา ฝ่ายไทยจึงได้ประกาศแก่สาธารณชนว่า จะเริ่มร่วมมือกับสหรัฐเป็นอันดับแรก คือเป็นแกนกลางก่อนแล้วจะค่อยๆ ขยายการร่วมมือกับประเทศอื่นๆ และสหประชาชาติ และองค์กรเฉพาะกิจ เช่น ศูนย์มนุษยธรรมของอาเซียนที่กรุงจาการ์ต้า ซึ่งฝ่ายสหรัฐเห็นพ้องด้วย และต่อมาจึงได้มีการเริ่มสำรวจตัวสนามบินอู่ตะเภาเพื่อการนี้ โดยฝ่ายเทคนิตไทย-สหรัฐ และก็มีการประชุมหารือเตรียมการกันมาเป็นระยะๆ ล่าสุดข่าวว่าได้มีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมไทย-สหรัฐ ในเรื่องนี้แล้ว
การที่เสนาธิการสหรัฐได้ให้ข่าวเกี่ยวกับการใช้สนามบินอู่ตะเภาเพื่อการกู้ภัย และสหรัฐช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม จึงมีที่ไปที่มา มิได้มาบังเกิดขึ้นเมื่อเขามาเยือนไทย และเขาไม่ได้มาขอใช้ หากแต่ฝ่ายไทยเราได้เป็นผู้เสนอต่อประชาคมโลก ดังนั้นสถานะของเรื่องกู้ภัยพิบัติ และปฏิบัติการด้านมนุษยธรรม ณ วันนี้ก็เป็นภาระหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม ในฐานะเจ้าของฐานทัพ และกระทรวงการต่างประเทศผู้ประสาน และมาแจกแจงให้สาธารณชนทราบถึงความคืบหน้าล่าสุดเกี่ยวกับรูปแบบและเนื้อหาความร่วมมือ แต่ส่วนจะมีข้อตกลงใดๆ ในที่สุดและเกี่ยวข้องกับ ม.190 ของกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่ ฝ่ายบริหารก็ควรจะแจ้งให้สาธารณชนได้รับทราบ ตามสิทธิในการเข้าถึงซึ่งข้อมูล และสิทธิเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ และควรหารือรัฐสภา
ตัดมาที่เรื่ององค์การนาซ่าจะมาขอใช้สนามบินอู่ตะเภาเป็นการชั่วคราวนั้น เริ่มจากสถานทูตสหรัฐได้มีหนังสือแจ้งมาที่กรมอเมริกา กระทรวงการต่างประเทศเมื่อช่วงเดือนมีนาคม 2554 และได้ส่งนักวิทยาศาสตร์นาซ่ามาพบปะเบื้องต้นกับฝ่ายไทย กระทรวงการต่างประเทศจึงได้จัดประชุมในส่วนหน่วยงานของไทยในระดับเทคนิคไปแล้ว 4 – 5 ครั้ง โดยครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2554 และมีข่าวว่าได้มีการประชุมกันที่สหรัฐครั้งหนึ่งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ศกนี้ด้วย นอกจากนั้นทางสำนักงานเลขาธิการสภาความมั่นคงก็ได้จัดประชุมหารือในแง่ผลกระทบทางความมั่นคง 1 ครั้ง แต่เป็นที่น่าเสียใจและแปลกใจพอสมควรที่การประชุมในระดับข้าราชการประจำทั้งหลายเหล่านี้กลับไม่ได้รับการแจ้งต่อสาธารณะชนเลย
สถานะของเรื่องตามข่าว คือ ฝ่ายนาซ่าจะมาขอใช้สนามบินอู่ตะเภาปีละ 2 – 3 เดือน ติดต่อกัน 4 – 5 ปี โดยจะส่งบุคคลากรเข้ามาประมาณ 100 กว่าคน พร้อมเครื่องบิน 4 ลำ (แบบ Gulf Stream แบบ DC-8 และแบบ P3) และจะมาเริ่มปฏิบัติการช่วงปลายฤดูมรสุม คือประมาณเดือนสิงหาคม – กันยายน ศกนี้ และได้เริ่มทยอยส่งอุปกรณ์ต่างๆ มาแล้ว โดยจะทำการบินผ่านสิงคโปร์ และกัมพูชา และสหรัฐได้แจ้งให้ทั้ง 2 ประเทศทราบแล้ว (สหรัฐ เคยดำเนินการก่อนนี้ กับฮ่องกง และคอสตาริก้า) ล่าสุดในส่วนของฝ่ายไทย กระทรวงการต่างประเทศได้ประมวลเรื่องทั้งหมดเสนอต่อคณะรัฐมนตรีผ่านสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ศกนี้ และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้เวียนเรื่องให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แจ้งด้วยว่า การตอบรับคำขอของนาซ่านี้ในรูปแบบหนังสือแลกเปลี่ยน (Exchange of Notes) ต้องการแค่มติคณะรัฐมนตรีตาม ม.190 เท่านั้น และไม่ต้องนำเสนอต่อรัฐสภาตาม ม. 190 (2)
ตามสามัญสำนึกแล้ว เรื่องการสำรวจทางอวกาศ หรือชั้นบรรยากาศ กล่าวได้ว่าเป็น ทวิภารกิจ หรือภารกิจควบ คือสำรวจทีเดียวได้ทั้งเรื่องพลเรือน และเรื่องความมั่นคง และการที่นาซ่าซึ่งเป็นองค์กรอันดับหนึ่งของโลกจะเข้ามาใช้งานพื้นที่ในประเทศไทย ท่ามกลางบรรยากาศของ การเพิ่มแสนยานุภาพของจีน ผสมกับการปรับกำลังของสหรัฐ จากแอตแลนติค มาสู่แปซิฟิค และยิ่งรวมไปถึงการกระชับความร่วมมือทางด้านทหารของสหรัฐ กับพันธมิตรตามขอบแปซิฟิคตะวันตก ย่อมจะสร้างความวิตกกังวลให้กับทุกๆ ฝ่าย และมีคำถามมากมาย เช่น
องค์การนาซ่าจะมาใช้สนามบินอู่ตะเภาเพื่อเรื่องชั้นบรรยากาศอย่างเดียวจริงหรือ?
ประชาชนชาวไทยจะมีความมั่นใจได้อย่างไร ว่าประเทศไทยจะไม่สุ่มเสี่ยงที่จะเข้าไปอยู่ตรงกลางระหว่างการประลองกำลังของมหาอำนาจ?
กระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งให้สมาชิกประชาคมอาเซียนด้วยกันแล้วหรือยัง? กระทรวงต่างประเทศได้มีการบรรยายสรุปให้มิตรประเทศอื่นๆ เพื่อสร้างความสบายใจ และความมั่นใจต่อกันและกันแล้วหรือไม่?
ข้อมูลผลการสำรวจที่จะได้มา จะแบ่งให้ประชาคมโลกหรือไม่ อย่างไร? จะนำผลไปเสนอต่อองค์การอุตุนิยมระหว่างประเทศหรือไม่?
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงไอซีที กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และบรรดามหาวิทยาลัยต่างๆ และประชาชนชาวไทย จะได้ประโยชน์ในแง่ไหน อย่างไร?
การชี้แจงและให้ข้อมูลโดยหน่วยงานรัฐต่อสาธาณชนนั้นถือเป็นเรื่องที่จำเป็น เป็นภาระหน้าที่ที่ภาครัฐจะต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับรู้ และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ โดยเฉพาะในประเด็นที่อาจอ่อนไหวต่อความมั่นคงของประเทศชาติ และภูมิภาค
การชี้แจงอย่างไม่ปะติปะต่อ ไม่มีรายละเอียดเนื้อหา ก็เสมือนเป็นการข้ามหัวประชาชน และผู้แทนของประชาชน ซึ่งดูแล้ว ไม่น่าจะเอาอยู่!!!
รัฐบาลน่าจะมีความมั่นใจว่าการใช้สนามบินอู่ตะเภาเพื่อการกู้ภัยพิบัติและช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และการใช้สนามบินอู่ตะเภาเพื่อการสำรวจชั้นบรรยากาศนั้นเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ และทุกสิ่งทุกอย่างประชาชนสามารถรับรู้ และตรวจสอบได้ ก็เท่ากับว่าประชาชนได้มีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตยและรัฐบาลก็เป็นประชาธิปไตย
กษิต ภิรมย์
http://www.naewna.com/politic/11097
----------------------------------------------------------------------
"นาซา"ขู่ถอนสำรวจเมฆ "ปึ้ง"ดันอู่ตะเภาเข้าครม.
วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555 เวลา 09:30:20 น.
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แถลงที่กระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน กรณีองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (นาซา) ขอใช้สนามบินอู่ตะเภาในโครงการตรวจสอบการก่อตัวของเมฆในชั้นบรรยากาศว่า สถาบันพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (จิสด้า) ได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมกับนาซา ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2553 หรือในรัฐบาลที่แล้ว ต่อมาในวันที่ 8 มิถุนายน 2554 สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐได้ทำหนังสือมาที่กระทรวงการต่างประเทศ เสนอให้จัดประชุมร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย จึงได้มีการจัดประชุมหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 18 หน่วยงาน รวม 5 ครั้งจึงได้ข้อสรุป
นายสุรพงษ์กล่าวว่า ต่อมากรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กระทรวงการต่างประเทศ มีหนังสือลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555 แจ้งให้ฝ่ายสหรัฐสอบถามประเทศเพื่อนบ้าน และวันที่ 17 เมษายน 2555 สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐได้มีหนังสือแจ้งยืนยันว่า งานที่นาซาจะดำเนินการทั้งหมดเป็นงานด้านวิทยาศาสตร์ ขณะที่ประเทศสิงคโปร์และกัมพูชาได้ให้ความเห็นชอบในการบินผ่านน่านฟ้าและน่านน้ำแล้ว
นาซาขู่ถอนตัว-เข้าครม.26มิ.ย.
นายสุรพงษ์กล่าวว่า วันที่ 4 มิถุนายนที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศได้สรุปเรื่องนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เนื่องจากสถานทูตสหรัฐมีหนังสือลงวันที่ 25 พฤษภาคม แจ้งเวลาและวัตถุประสงค์ เพื่อที่จะได้จัดทำหนังสือแลกเปลี่ยนระหว่างกัน จึงต้องแจ้งครม. เพื่อขออนุมัติ ซึ่งหน่วยงานต่างๆ ต้องเสนอความคิดเห็น นายกรัฐมนตรีจึงประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระหว่างประชุม ครม.สัญจรที่ จ.ชลบุรี ผู้บัญชาการเหล่าทัพเห็นพ้องกันว่าไม่กระทบความมั่นคงของประเทศ แต่เหตุที่เลขาธิการ ครม.ไม่นำเรื่องเข้าที่ประชุมเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะยังไม่ได้รับหนังสือฉบับล่าสุดจากสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เนื่องจากต้องการให้เกิดความชัดเจน
"ล่าสุด สถานทูตสหรัฐสำเนาหนังสือที่นาซาแจ้งสถานทูตสหรัฐในไทยว่า หากรัฐบาลไทยไม่สามารถหาข้อยุติในโครงการดังกล่าวได้ภายใน วันที่ 26 มิถุนายนนี้ได้ทัน เพราะปัญหาในประเทศเขาก็เข้าใจ และนาซาขอถอนตัวเพราะไม่สามารถขนอุปกรณ์มาเตรียมพร้อมได้ทัน" นายสุรพงษ์กล่าว และว่า จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุม ครม.ในสัปดาห์หน้า (26 มิถุนายน) แน่นอน จะเอาหรือไม่เอา เรื่องจะได้จบ
สถานทูตมะกันย้ำเรื่องอากาศ
ด้านสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย ได้จัดทำคำชี้แจง เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการความร่วมมือระหว่างไทยกับองค์การนาซาในการขอใช้สนามบินอู่ตะเภา มีเนื้อหาโดยสรุปว่า นาซาได้เสนอขอใช้สนามบินอู่ตะเภา เป็นเวลา 6-8 สัปดาห์ เพื่อดำเนินงานค้นคว้าเกี่ยวกับรูปแบบสภาพอากาศมรสุมในเอเชียและผลกระทบของการปล่อยก๊าซต่อสิ่งแวดล้อม สำหรับโครงการศึกษาการก่อตัวของเมฆที่มีผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
"โครงการดังกล่าวขององค์การนาซาเป็นการดำเนินการทางวิทยาศาสตร์เพียงประการเดียว และมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์สุขของมนุษยชาติ ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ได้จากการศึกษาทั้งหมดทางอินเตอร์เน็ต และผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์จะนำไปตีพิมพ์ในวารสารด้านวิทยาศาสตร์" เอกสารชี้แจงระบุ
นักวิทย์ไทยยันไม่มีล้วงตับ
ด้านนายธวัช วิรัตติพงศ์ นักวิทยาศาสตร์ชาวไทย ในฐานะผู้จัดการฝ่ายออกแบบและ ติดตั้งระบบการสื่อสารบนยานอวกาศไร้คนของนาซา ให้สัมภาษณ์ "มติชน" ทางโทรศัพท์จากประเทศสหรัฐว่า ที่หลายฝ่ายกังวลว่า กองทัพสหรัฐจะใช้นาซาเข้ามาล้วงความลับที่เป็นความมั่นคงนั้น ไม่มีทางเป็นไปได้ กองทัพสหรัฐมีเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำนำสมัยกว่าที่หลายคนคิดและ รู้เห็นมาก
"ที่สำคัญคือ นาซากับกองทัพ ไม่ค่อยจะยุ่งกัน ยิ่งเรื่องการไปก้าวล่วงอาณานิคมของประเทศอื่นแล้วเอานาซาเป็นข้ออ้างนั้น เป็นไปไม่ได้เลย เราจะไม่มีวันที่จะทำจารกรรมประเทศอื่น โดยใช้การสำรวจทางวิทยาศาสตร์มาบังหน้าเด็ดขาด หากกระทรวงกลาโหมหรือกองทัพสหรัฐจะกระทำจารกรรมประเทศไทย หรือประเทศเพื่อนบ้าน โดยอาศัยภาพถ่ายทางอากาศ หรือการดักฟังข้อมูล ข่าวสารต่างๆ เขาจะมีวิธีการอื่นที่ดีและแยบคายกว่านี้แน่นอน เราไม่มีวันที่จะรู้ได้เลย ดังนั้น สิ่งที่นาซาได้ร้องขอมายังประเทศไทยในโครงการนี้ เป็นการขอความร่วมมือ เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนในโลก ไปตีความให้ยุ่งเหยิงและคิดมากไปเอง" นายธวัชกล่าว
ซัดตั้งประเด็นทำให้ยุ่งยาก
นายธวัชกล่าวว่า เมื่อประมาณ 10 ปีก่อน นาซาเคยขอทำโครงการสำรวจปริมาณน้ำฝนกับประเทศไทยมาแล้ว โดยติดต่อมาหลายครั้ง แต่ไม่เป็นข่าวครึกโครมแบบเวลานี้ และตอนนั้นไม่มีใครให้ความสนใจเรื่องนี้เลย ไม่มีการตอบรับใดๆ ด้วย นาซาจึงไปขอใช้พื้นที่ในประเทศออสเตรเลียแทน ซึ่งโครงการดังกล่าวได้ดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน
"ถามว่า ถ้าประเทศไทยให้ความร่วมมือกับนาซาครั้งนี้จะได้ประโยชน์อะไรหรือไม่ ตอบว่า ประโยชน์ที่จะเห็น หรือได้รับแบบทันทีทันใดหรือเฉพาะกลุ่มเฉพาะคน คงจะมองไม่เห็นเท่าใด แต่เราจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างประโยชน์ให้โลก ต่อไปในอนาคตจะได้เข้าถึงข้อมูลการพยากรณ์ อากาศจากนาซาได้ง่ายขึ้นและมากขึ้น ข้อมูล ข่าวสารที่เกิดขึ้นในโลกที่ออกมาจากนาซา เราจะเป็นประเทศแรกๆ ที่ได้รับรู้ รวมทั้งได้รับความร่วมมือในเรื่องอื่นๆ มากขึ้น เพราะเราเป็นพันธมิตรกัน การปฏิเสธไม่ให้ใช้พื้นที่ก็ไม่ได้เสียผลประโยชน์อะไร แต่นาซาอาจจะรู้สึกไม่ดีกับเรา ที่เขากำลังจะทำประโยชน์ให้โลก แต่กลับไปตีความตั้งประเด็นให้เกิดความยุ่งยาก" นายธวัชกล่าว
"บิ๊กโอ๋"ขอให้รักประเทศบ้าง
พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า เรื่องที่นาซาขอใช้สนามบินอู่ตะเภา ยืนยันว่าเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับการวิจัย ไม่ใช่เรื่องทางทหาร ผู้บัญชาการเหล่าทัพก็ไม่ว่าอะไร เมื่อคุยกันแล้วทุกคนเคลียร์ โดยเฉพาะกองทัพเรือและกองทัพอากาศที่เกี่ยวข้องที่สุด เพราะกองทัพอากาศเกี่ยวข้องเรื่องอุปกรณ์ ส่วนกองทัพเรือเกี่ยวข้องเรื่องสถานที่
พล.อ.อ.สุกำพลกล่าวว่า เรื่องที่กังวลว่าจะกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศจะดูแล ส่วนสาธารณรัฐประชาชนจีนก็ไม่ได้สอบถามหรือขอคำชี้แจงอะไร รวมทั้งไม่ได้แสดงความห่วงอะไรเลย มีแต่คนไทยเท่านั้นที่ห่วงแทน
"วันนี้ เราบอกหมดเปลือกแล้ว ผู้สื่อข่าวก็รู้เท่ากับผม แต่ต้องถามว่าพอใจหรือไม่ ยังห่วงอะไรอีกก็บอกมา จะรีบไปดูให้ อย่าไปนึกว่าและคาดเองว่า ควรรักประเทศชาติบ้าง หากทำแบบที่เป็นอยู่ ผมคิดว่ามันไม่ได้เป็นการรักประเทศชาติ ควรแยกให้ออกว่า เรื่องวิจัยก็เป็นเรื่องของการวิจัย นำไปพันโน่นพันนี่ มันไม่ถูก" พล.อ.อ.สุกำพลกล่าว
ผบ.จีนพบ"บิ๊กตู่"แค่เยี่ยมเยียน
พ.อ.วินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบกแถลงที่กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) กรณี พล.อ.จิ้ง จื้อ หยวน (สมาชิกกรรมาธิการทหารกลาง สาธารณรัฐประชาชนจีน) ผู้บัญชาการทหารปืนใหญ่ที่ 2 ของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนและคณะเดินทางเข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ในวันที่ 22 มิถุนายนนี้ ว่า กองทัพบกขอชี้แจงว่า วัตถุประสงค์ในการเยี่ยมเยียนครั้งนี้ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนกับกองทัพบกไทย เป็นไปตามแผนการต้อนรับผู้นำทางทหารของมิตรประเทศและเป็นไปตามแผนแม่บท ในการปฏิบัติงานด้านการต่างประเทศของกองทัพบก หรืองานเชื่อมไมตรีความสัมพันธ์ทางทหาร และให้เกิดความแน่นแฟ้นอันก่อให้เกิดผลดีในการแสวงหาความร่วมมือทางทหารต่อไปในอนาคต
พ.อ.วินธัยกล่าวว่า แผนการเยือนครั้งนี้ได้ถูกกำหนดล่วงหน้ามาหลายเดือนแล้ว ยืนยันว่า การเข้าพบครั้งนี้ไม่เกี่ยวข้องกับกรณีที่นาซาขอใช้สนามบินอู่ตะเภา และในขณะนี้กองทัพบกยังไม่ได้รับข้อมูล หรือข้อกังวลใดๆ ที่เกี่ยวกับการที่นาซาขอให้สนามบินอู่ตะเภา และที่ผ่านมาไทยกับจีนเคยมีความร่วมมือทางด้านการฝึกทางทหารเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา
วิปรบ.ให้รัฐบาลรีบตัดสินใจ
นายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะประธานคณะ กรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) กล่าวถึงกรณีนาซาขอใช้สนามบินอู่ตะเภาจะต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 หรือไม่ ว่า ขณะนี้รัฐบาล กำลังให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ดูในส่วนของข้อกฎหมายตามมาตรา 190 อยู่ ซึ่งการขอใช้พื้นที่สนานบินอู่ตะเภาของนาซานั้น น่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการป้องกันสาธารณภัย มากว่า คงไม่น่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง ของประเทศ
"ขณะนี้มีเรื่องเงื่อนเวลาอยู่ว่าสหรัฐจะรอได้หรือไม่ หากจะต้องมีการขอความเห็นชอบ จากรัฐสภาก่อน และกรณีของนาซา ทางรัฐบาลจะต้องเป็นผู้ตัดสินใจก่อน หากฝ่ายกฎหมายของรัฐบาลเห็นว่าจำเป็นต้องพิจารณาตามมาตรา 190 จะต้องเสนอเรื่องมายังรัฐสภา ซึ่งจะต้องมีการพิจารณาในสมัยประชุมสามัญทั่วไปในช่วงเดือนสิงหาคมนี้ เพราะขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างปิดสมัยประชุมรัฐสภา แต่หากรัฐบาลเห็นว่ามีความจำเป็นต้องรีบพิจารณาตามมาตรา 190 สามารถ เปิดประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญเพื่อขอความเห็น ชอบก่อนได้" นายอุดมเดชกล่าว
ปชป.แจงข้อกล่าวหา"ปลอด"
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) แถลงตอบโต้นายปลอด ประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ระบุว่าสมัยรัฐบาล ปชป.มีการลงนามระหว่างสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศกับนาซา เพื่อขอความร่วมมือเป็นศูนย์ปฏิบัติการทางอากาศและศูนย์การช่วยเหลือด้านภัยพิบัติ แต่ไม่ได้นำ เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 (2 ) ว่า การลงนามครั้งนั้น เป็นการ ลงนามระหว่างหน่วยงานต่อหน่วยงาน จึงไม่เข้า ข่ายรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 วรรค 2 แต่ครั้งนี้ เป็นการขอใช้สนามบินอู่ตะเภา ที่เป็นสนามบิน ทหาร กระทบความมั่นคงของประเทศ จึงเข้าข่าย รัฐธรรมนูญ มาตรา 190 วรรค 2
"ขอถามว่าวันที่ 22 มิถุนายน เวลา 14.30 น. พล.อ.จิ้ง จื้อ หยวน ผู้บัญชาการกองกำลังปลดปล่อยประชาชนจีน จะเข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ทำไม ทั้งนี้ ฝ่ายค้านไม่ได้จ้องจะตีรวน แต่รัฐบาลต้องดำเนิน การอย่างถูกต้อง เพราะมีแนวโน้มที่เกี่ยวข้อง กับการทำสัญญาระหว่างประเทศ" นายชวนนท์ กล่าว
"พระปกเกล้า"ชี้อย่าไว้ใจมะกัน
พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวถึงกรณีนาซาขอใช้สนามบินอู่ตะเภาว่า เรื่องความมั่นคงเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งในประเทศไทยได้ แต่ไทยไม่ระวังและไม่เคยจำ หลายปีที่ผ่านมาครั้งที่เกิดเหตุการณ์สึนามิครั้งใหญ่ สหรัฐได้นำเครื่องบินขึ้นอ้างว่าจะนำไปรับผู้ประสบภัย แต่กลับนำไปสำรวจและถ่ายภาพฐานทัพของฝ่ายตรงข้าม สร้างความไม่พอใจให้ประเทศคู่ขัดแย้งกับมหาอำนาจสหรัฐ
พล.อ.เอกชัยกล่าวว่า ขณะนี้มีการต่อสู้เชิงยุทธศาสตร์ระหว่างตะวันตกกับตะวันออก ประเทศตะวันตกมองประเทศตะวันออกและจีนว่าเป็นภัยคุกคามและเป็นคอมมิวนิสต์ แต่วันนี้ชัดเจนว่าจีนไม่เคยเคลื่อนกำลังทหารไปอยู่ต่างประเทศ การเมืองของไทยแค่โจมตีกันไปมาแต่ไม่เคยมองผลถึงประโยชน์ของประเทศ กรณีนี้จึงอยากฝากให้พิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะอาจนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรง ยืนยันว่าที่ผ่านมาสหรัฐมีความพยายามจะเข้ามาขอใช้พื้นที่ในไทยเป็นที่ตั้ง เช่น เคยขอเช่าเกาะภูเก็ต แต่กองทัพเรือไม่อนุญาต
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1340331256&grpid=&catid=01&subcatid=0100
--------------------------------------------------------------
<<< เรื่องอู่ตะเภา ควรเอาเข้าสภา ไม่งั้นจะโดน ม.190 ระวังด้วย >>>
- Maha Arai “มาตรา ๑๙๐ พระมหากษัตริย์ ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจในการทําหน
ังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก และสัญญาอื่น กับนานาประเทศหรือกับองค์กา รระหว่างประเทศ
หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทย
มีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอํานาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขว าง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสําคัญ ต้องได้รับความเห็นชอบของรั ฐสภา ในการนี้ รัฐสภาจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ไ ด้รับเรื่องดังกล่าว - Maha Arai ก่อนการดําเนินการเพื่อทําหนังสือสัญญากั
บนานาประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศตามวรรคสอง คณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูลแล ะจัดให้มีการรับฟังความคิดเ ห็นของประชาชน และต้องชี้แจงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับหนังสือสัญญ านั้น ในการนี้ ให้คณะรัฐมนตรีเสนอกรอบการเ จรจาต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบด้วย
เมื่อลงนามในหนังสือสัญญาตามวรรคสองแล้ว ก่อนที่จะแสดงเจตนาให้มีผลผูกพัน คณะรัฐมนตรี
ต้องให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญานั้น และในกรณีที่การปฏิบัติตามหนังสือสัญญาดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนหรือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม - Maha Arai สามารถมั่วตีความเข้าข้อใดข
้อหนึ่งในนี้หรือเพิ่มคำว่า อาจจะเข้าไปอีกหน่อยก็หาเรื ่องได้แล้ว
"หรือมีเขตอํานาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างป ระเทศ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติ เพื่อให้การเป็นไปตามหนังสื อสัญญา หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคง ทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างข วาง" - Maha Arai แถมเปิดช่องให้ตีคามชี้ขาดไ
ด้ด้วยศาลรัฐธรรมนูญมาตราฐา น ISO "ในกรณีที่มีปัญหาตามวรรคสอ ง ให้เป็นอํานาจของศาลรัฐธรรม นูญที่จะวินิจฉัยชี้ขาดโดยให้นําบ ทบัญญัติตามมาตรา ๑๕๔ (๑) มาใช้บังคับกับการเสนอเรื่อ งต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยอนุโลม " - Maha Arai ดังนั้นช่วงนี้ต้องรอบคอบเร
ื่องกฏหมายโดยตีความหาเรื่อ งด้วยจะได้รอบคอบ ถ้าตีความแบบนักวิชาการยังไ ม่รอบคอบเพราะนักวิชาการตีค วามตามตำราไม่ได้ตีความแบบจ ้องหาเรื่อง ซึ่งจะเห็นว่าเขาจ้องตีความ หาเรื่องถ้าเปิดช่องโหว่ให้ ก็โดนสอยได้ง่ายๆ อันที่จริงเข้ารัฐสภา ก็เป็นการโยนภาระไปให้รัฐสภ าแทน และเป็นการตรวจสอบกันอีกรอบ จะได้รอบคอบไม่ใช่เรื่องจำเป็นเร่งด่วนสำหรับ เรื่องอู่ตะเภา ใครเร่งมาเพ่งเล็งได้เลย มาเร่งบ้าอะไรตอนนี้ - Maha Arai และจากม.190 นี้จะเห็นไดชัดว่า รัฐบาลไม่สามารถไปลงสัตยาบร
รณ อะไรอย่างที่หวังได้ง่ายๆ เหมือนที่หลายๆ คนเร่งให้ไปลงสัยาบรรรกรุงโ รมอะไร มันไม่ง่าย อ่านดูก็จะรู้เอง - Maha Arai ประโยคนี้ "พระมหากษัตริย์ทรงไว้ ซึ่งพระราชอํานาจ" เจอที่ไหน ต่อให้รัฐบาลใช้เสียงข้างมา
กผลักดันผ่านสภาได้แต่ก็ขึ้ นอยู่กับพระราชวินิจฉัยอีกท ีว่าจะลงนามให้หรือไม่ แล้วรัฐบาลวีโต้ไม่ได้ด้วย - Maha Arai โดยกรณีนี้อาจมองภาพไม่ออกว
่ากระทบกับเศรษฐกิจหรือสังค มยังไง ผมจะลองยกให้เห็นภาพแบบตีคว ามหาเรื่องก็คือ ถ้าลงนามให้อเมริกาใช้อุ่ตะ เภา จีนอาจไม่พอใจซึ่งก็จะกระทบ กับเศรษฐกิจได้เป้นต้น เห็นไหมว่าถ้าคิดอยากหาเรื่ องก็ได้เรื่อง ดังนั้นส่งให้รัฐสภาปล่อยภั ยกว่าที่สำคัญมันไม่ใช่เรื่ องจำเป็นเร่งด่วนอะไรในตอนน ี้ แม้ใจเราจะเชียร์หนุนอเมริก าแต่ก็อยากให้ทำตามขั้นตอนไ ม่งั้นตกม้าตายเอาง่ายๆ
http://www.facebook.com/maha.arai
--------------------------------------------------------------
--------------------------------------------------------------
เนื่องจากโครงการนี้เป็นการเริ่มต้นโดยรัฐบาลอภิสิทธิ์
ซึ่งมีพรรค ปชป. เป็นแกนนำรัฐบาล
แถมนายกษิต รมว.ต่างประเทศ จากพรรค ปชป.
ก็ได้เขียนไว้ชัดว่าดังนี้
"การที่เสนาธิการสหรัฐได้ให้ข่าวเกี่ยวกับการใช้สนามบินอู่ตะเภาเพื่อการกู้ ภัย และสหรัฐช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม จึงมีที่ไปที่มา มิได้มาบังเกิดขึ้นเมื่อเขามาเยือนไทย และเขาไม่ได้มาขอใช้ หากแต่ฝ่ายไทยเราได้เป็นผู้เสนอต่อประชาคมโลก"
แต่กลับมีการคัดค้านจากพรรคพวก ปชป.
แถมนายกษิต รมว.ต่างประเทศ จากพรรค ปชป.
ก็ได้เขียนไว้ชัดว่าดังนี้
"การที่เสนาธิการสหรัฐได้ให้ข่าวเกี่ยวกับการใช้สนามบินอู่ตะเภาเพื่อการกู้ ภัย และสหรัฐช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม จึงมีที่ไปที่มา มิได้มาบังเกิดขึ้นเมื่อเขามาเยือนไทย และเขาไม่ได้มาขอใช้ หากแต่ฝ่ายไทยเราได้เป็นผู้เสนอต่อประชาคมโลก"
แต่กลับมีการคัดค้านจากพรรคพวก ปชป.
แถมอเมริกาก็เร่งเกินเหตุ ที่จะให้รีบตัดสินใจในวันที่ 26 มิ.ย.
ทั้งๆ ที่รอมาได้ตั้งนาน จะรออีกปีหนึ่ง
ก็ไม่น่าจะทำให้การวิจัยอะไรเสียหาย
และเรื่องนี้ยังหมิ่นเหม่ต่อการถูกเล่นงาน
ใน ม.190 ตามการตีความเอาเรื่องของฝ่ายตรงข้ามได้อีก
จึงไม่สมควรจะเร่งรีบไปตามเกมของใคร
ถ้าต้องการทำเพื่อการวิจัยจริงๆ
น่าจะรอเรื่องผ่านสภาเพื่อความปลอดภัย
ทั้งๆ ที่รอมาได้ตั้งนาน จะรออีกปีหนึ่ง
ก็ไม่น่าจะทำให้การวิจัยอะไรเสียหาย
และเรื่องนี้ยังหมิ่นเหม่ต่อการถูกเล่นงาน
ใน ม.190 ตามการตีความเอาเรื่องของฝ่ายตรงข้ามได้อีก
จึงไม่สมควรจะเร่งรีบไปตามเกมของใคร
ถ้าต้องการทำเพื่อการวิจัยจริงๆ
น่าจะรอเรื่องผ่านสภาเพื่อความปลอดภัย
ไม่ถูกนำมาเล่นเพื่อคว่ำรัฐบาลได้
เพราะมีประวัติในการตีความหนังสือบันทึกความเข้าใจไทยกัมพูชา
ยังหาเรื่องตีความให้ผิดมาแล้วเลย
แถมเพิ่มคำว่าอาจจะ พยากรณ์เหตุการณ์ล่วงหน้า
อยู่ในการคำตัดสินได้อีกต่างหาก
เพราะมีประวัติในการตีความหนังสือบันทึกความเข้าใจไทยกัมพูชา
ยังหาเรื่องตีความให้ผิดมาแล้วเลย
แถมเพิ่มคำว่าอาจจะ พยากรณ์เหตุการณ์ล่วงหน้า
อยู่ในการคำตัดสินได้อีกต่างหาก
โดย มาหาอะไร
FfF