บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


22 สิงหาคม 2555

<<< คำสั่งลับและผลงาน ศอฉ. >>>

เปิดเผยล่าสุด "คำสั่งรักษาด่านฯ ศอฉ." สั่งการทหาร-ตำรวจหลายหน่วย

ขณะที่ ผบ.ทบ.บอกคำสั่งรักษาด่านฯ ศอฉ. ไม่ใช่เอกสารลับ ท้าสื่ออยากให้เป็นเรื่องก็เอาออกมาเยอะๆ ยันการเผยแพร่เอกสารไม่เป็นการกดดันอะไรทั้งสิ้น แต่อยู่ที่เรื่องอะไรควรไม่ควร ขณะที่ดีเอสไอเตรียมเรียกทหารที่เกี่ยวข้องกับเหตุสลายการชุมนุมเข้าให้ปาก คำ 22 ส.ค. นี้
ตามที่เมื่อวันที่ 18 ส.ค. ทีผ่านมา ประชาไท เผยแพร่เอกสาร “สยก.ศอฉ. ที่ กห.0407.45 (สยก.)/130” เรื่อง “ขออนุมัติแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธเพื่อ รปภ. ที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจและสายตรวจเคลื่อนที่” ลงวันที่ 17 เม.ย. 53 ลงนามโดย พล.ท.อักษรา เกิดผล หน.สยก.ศอฉ. เสนอ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ซึ่งมีทั้งหมด 5 แผ่น โดยในข้อ 2.5 ระบุว่า “ในกรณีพบความผิดซึ่งหน้าในลักษณะผู้ก่อเหตุใช้อาวุธยิงใส่เจ้าหน้าที่ หรือใช้อาวุธ/วัตถุระเบิดต่อที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญที่ ศอฉ. กำหนด ได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้อาวุธยิงผู้ก่อเหตุ เพื่อหยุดยั้งการปฏิบัติได้ แต่หากผู้ก่อเหตุอยู่ปะปนกับผู้ชุมนุมจนอาจทำให้การใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ เป็นอันตรายต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ ให้งดเว้นการปฏิบัติ ยกเว้นในกรณีที่หน่วยได้จัดเตรียมพลแม่นปืน (Marksmanship) ที่มีขีดความสามารถเพียงพอให้ทำการยิงเพื่อหยุดยั้งการก่อเหตุได้ นอกจากนี้หากหน่วยพบเป้าหมายแต่ไม่สามารถทำการยิงได้ เช่น เป้าหมายอยู่ในที่กำบัง ฯลฯ หน่วยสามารถร้องขอการสนับสนุนพลซุ่มยิง (Sniper) จาก ศอฉ. ได้” นั้น (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)
ต่อมาด้วยการให้สัมภาษณ์เมื่อ 19 ส.ค. 55 ของ พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพ (ทบ.) ที่ออกมายอมรับเอกสารดังกล่าวว่าเป็นเอกสารจริง แต่ไม่กังวล และที่ผ่านมาได้อธิบายให้สังคมเข้าใจมาโดยตลอดว่าการปฏิบัติงานของ ศอฉ. ยึดหลักสากลจากเบาไปหาหนัก (อ่านข่าวทีเกี่ยวข้อง)

ประยุทธ์บอกคำสั่งรักษาด่าน ศอฉ. ไม่ใช่เอกสารลับ
ท้าสื่ออยากให้เป็นเรื่องก็เอาออกมาเยอะๆ
ล่าสุด วันนี้ (20 ส.ค.) เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ เผยแพร่คำให้สัมภาษณ์ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการเปิดเผยเอกสาร “สยก.ศอฉ. ที่ กห.0407.45 (สยก.)/130” ของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ว่า เอกสาร ดังกล่าว ไม่ใช่เอกสารลับ แต่อยากให้สื่อระมัดระวังในการนำเสนอในสิ่งที่จะทำให้เป็นเรื่อง แต่ถ้าอยากให้เป็นเรื่องก็เอาออกมาเยอะๆ ไม่เป็นไร
ผู้สื่อข่าวถามว่า การออกมาเผยแพร่เอกสารเป็นการสร้างความกดดันให้ ผบ.ทบ.หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่ได้มากดดันอะไรตนทั้งสิ้น แต่อยู่ที่อะไรควรไม่ควร ไม่อยากจะพูดแล้ว เบื่อ
โดยการท่าทีของ พล.อ.ประยุทธ์ ในวันนี้ถือเป็นการออกมายอมรับเป็นครั้งแรกว่า เอกสาร “สยก.ศอฉ. ที่ กห.0407.45 (สยก.)/130” เป็นเอกสารจริง ขณะที่ก่อนหน้านี้ในการแถลงข่าวของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อ 16 ส.ค. 55 กล่าวแต่เพียงว่าไม่มีการใช้สไนเปอร์ เป็นเพียงปืนติดลำกล้องเพื่อใช้ระวังป้องกัน ซึ่งในตลาดนัดก็มีขายสำหรับใช้ยิงนก ขณะที่เมื่อก่อนหน้านี้เมื่อ 16 พ.ค. 53 พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. ก็ปฏิเสธว่าไม่มีการใช้สไนเปอร์ มีเพียง “พลแม่นปืนระวังป้องกัน” ทำหน้าที่คุ้มครองการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ทหาร ตำรวจ ที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ต่ำหรือตามถนนหนทางโดยทั่วไป เจ้าหน้าที่เหล่านี้จะมีหน้าที่ในการตรวจสอบว่ามีบุคคลผู้ใดถืออาวุธหรือจะ เข้าทำร้ายเจ้าหน้าที่ และจะใช้การยิงคุ้มครอง (อ่านข่าวย้อนหลัง)
ทั้งนี้เมื่อเดือนมีนาคมปี 2554 คณะกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร ได้นำรายงานบัญชีสรุปรายการเบิกจ่ายกระสุนจากหน่วยคลังแสงสรรพาวุธทหารบก เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ตั้งแต่ 11 มี.ค. 53 จนถึงเสร็จสิ้นการโดยมีการเบิกกระสุนจากคลังแสงทหารบกกว่า 597,500 นัด ส่งคืน 479,577 นัด ใช้ไป 117,923 นัด เผยมีการเบิกกระสุนปืนซุ่มยิง 3,000 นัด ส่งคืน 880 นัด ขณะที่เบิกกระสุนซ้อมเพียง 10,000 นัด ส่งคืน 3,380 นัด (อ่านข่าวย้อนหลัง)

เปิดเอกสารใหม่ คำสั่งรักษาด่าน ศอฉ.ฯ
สั่งการไปหลายหน่วยทั้งทหาร-ตำรวจ

ใบปะหน้าของเอกสารที่ กห.0407.45 (สยก.)/130 ลงวันที่ วันที่ 17 เม.ย. 53 “เรื่อง ขออนุมัติแนวทางการปฏิบัติการใช้อาวุธเพื่อ รปภ. ที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ ด่านตรวจ และสายตรวจเคลื่อนที่” เรียน ผอ. ศอฉ. โดย พล.อ. รอง เสธ.ศอฉ. (3) ท้ายเอกสารมีข้อความว่า “อนุมัติตามเสนอในข้อ 4” ลงนามโดย “สุเทพ เทือกสุบรรณ” ในฐานะ ผอ.ศอฉ. และยังมีนายทหารยศนายพล 2 นาย (ไม่สามารถอ่านลายมือชื่อได้) ร่วมลงนามในหนังสือสั่งการด้วย

ทั้งนี้ นอกจากเอกสาร “สยก.ศอฉ. ที่ กห.0407.45 (สยก.)/130” ที่มีการนำเสนอไปนั้น ประชาไทยังนำเสนอใบปะหน้าของ เอกสารดังกล่าว โดยหน้าเอกสารเรียนไปยัง “ผอ. ศอฉ.” ลงนามโดย “พล.อ. รอง เสธ.ศอฉ. (3)” (ไม่สามารถอ่านลายมือชื่อได้) ลงนามวันที่ 18 เม.ย. 54 โดยในท้ายเอกสารมีข้อความว่า “อนุมัติตามเสนอในข้อ 4” ลงนามโดย “สุเทพ เทือกสุบรรณ” ในฐานะ ผอ.ศอฉ. โดยลงนามวันที่ 18 เม.ย. 53 นอกจากนี้ยังมีนายทหารอีก 2 นาย ลงนามในเอกสารดังกล่าว คือ พล.อ. (ไม่สามารถอ่านลายมือชื่อได้) ระบุตำแหน่งเป็น เสธ.ศอฉ. และ พล.อ. (ไม่สามารถอ่านลายมือชื่อได้) ระบุตำแหน่งเป็น ผช.ผอ.ศอฉ.(3)
เอกสาร  “ส่วนราชการ สยก.ศอฉ.” ที่ “ต่อ กห 0407.45/130” ลงวันที่ 18 เม.ย. 55 ลงนามโดย  พล.ต. ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข รอง หน.สยก.ศอฉ. ทำการแทน หน.สยก.ศอฉ.  เสนอต่อ บช.น. ระบุท้ายหนังสือสั่งการว่า "เพื่อกรุณาทราบ และดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป" โดยท้ายเอกสารระบุการแจกจ่ายไปยังหน่วยงานทหาร-ตำรวจหลายหน่วย

และล่าสุดวันนี้ (20 ส.ค.) ผู้สื่อข่าวประชาไท เผยแพร่เอกสาร “ส่วนราชการ สยก.ศอฉ.” ที่ “ต่อ กห 0407.45/130” ลงวันที่ 18 เม.ย. 55 เรื่อง “เรื่อง ขออนุมัติแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธ เพื่อ รปภ.ที่ตั้งหน่วย และสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจ และสายตรวจเคลื่อนที่” ลงนามโดย พล.ต. ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข รอง หน.สยก.ศอฉ. ทำการแทน หน.สยก.ศอฉ.  เสนอต่อ บช.น. โดยแนบสิ่งที่ส่งมาด้วยคือ “สำเนาหนังสือ สยก.ศอฉ.ลับ - ด่วนมากที่ กห. 0407.45/130 ลง 17 เม.ย. 53” หรือคำสั่งรักษาด่านฯ ศอฉ. ดังกล่าว โดยระบุท้ายหนังสือสั่งการว่า “เพื่อกรุณาทราบ และดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป”
ไม่เพียงแต่ บช.น. เท่านั้น ในท้ายเอกสารระบุถึง “รายการแจกจ่าย” ว่ามีการแจกจ่ายคำสั่งดังกล่าวไปยังหน่วยงานทางทหารทั้งทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ และตำรวจหลายหน่วย ได้แก่ กกล.รส.ทภ.1, ศปก.ตร., บช.น., ศปก.ทอ., ศปก.ทร., พล.ม.2 รอ., นปอ., พล.ร.9, พล.1 รอ., บก.ควบคุม ทภ.2, บก.ควบคุม ทภ.3 และ บก.ควบคุม พล.ป.

เตรียมเรียกทหารที่ปฏิบัติการเข้าให้ปากคำที่ดีเอสไอ 22 ส.ค. นี้
ด้านวอยซ์ทีวี รายงาน ว่า เมื่อวันที่ 20 ส.ค. พ.ต.อ.ประเวศน์ มูลประมุข รองอธิบดี ดีเอสไอและหัวหน้าชุดพนักงานสอบสวนคดีพิเศษร่วมกับพลตำรวจตรีอนุชัย เล็กบำรุง รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และหัวหน้าชุดสืบสวนชันสูตรพลิกศพกรณีการเสียชีวิตของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อ ต้านเผด็จการแห่งชาติหรือ นปช.ในช่วงเหตุการณ์สลายการชุมนุมช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ประชุมร่วมกันเพื่อหารือเกี่ยวกับความคืบหน้าในการรวบรวมหลักฐานเพื่อสรุป สำนวนคดีการเสียชีวิตของแนวร่วม นปช.ทั้ง 98 ศพ โดยมีการเปิดเผยว่าในวันที่ 22 สิงหาคม 2555 คณะทำงานสอบสวนชัณสูตรพลิกศพได้นัดให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเข้าให้ ข้อมูลกับพนักสอบสวนจำนวน 1 นาย แต่ พ.ต.อ.ประเวศน์ไม่ได้เปิดเผยว่าเจ้าหน้าที่ที่จะเข้าให้การนั้นเป็น พลซุ่มยิงหรือไม่ เปิดเผยเพียงว่าเป็นเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในช่วงเหตุการณ์สลายการชุมนุม ปี 2553 เท่านั้น
นอกจากนี้ ดีเอสไอจะเชิญผู้ชำนาญการด้านอาวุธ 1 คน เข้าสอบปากคำเพื่อขยายผลเพิ่มเติมบางจุด โดยต้องการให้ผู้ชำนาญการด้านอาวุธให้รายละเอียดถึงประเภทของอาวุธ  ตลอดจนอานุภาพอาวุธแต่ละชนิดที่มีภาพปรากฏผ่านสื่อ   โดยผู้ชำนาญคนดังกล่าวมาจากฝ่ายตำรวจซึ่งไม่กังวลว่าจะไม่ได้รับการยอมรับ จากฝ่ายทหารเนื่องจากเป็นผู้ชำนาญการที่ได้รับการรับรองจากศาลแล้ว
นอกจากสำนวนการเสียชีวิตที่คาดว่าเกิดจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ และส่งให้ตำรวจดำเนินการจำนวน 22 ราย แล้ว  ดีเอสไอจะส่งสำนวนการสอบสวนการเสียชีวิตที่อาจเกิดจากการปฏิบัติงานของเจ้า หน้าที่รัฐเพิ่มอีก 5 รายในจำนวนนี้เป็นกรณีเสียชีวิตที่บริเวณบ่อนไก่ อย่างไรก็ตาม  หลังมีการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบแล้วพบว่ามีพยานที่เป็นญาติผู้เสียชีวิต ทยอยให้ข้อมูลมากขึ้น

http://prachatai.com/journal/2012/08/42178

--------------------------------------------------------

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555


ไขข้อข้องใจ "สไนเปอร์ - ปืนยิงนก?"




ตำรวจกองกำกับการต่อต้านการก่อการร้าย หรืออรินทราช 26 สาธิตการใช้ปืนซุ่มยิงระยะไกล  โดยกระบอกนี้เป็นปืนไรเฟิล ยี่ห้อเรมิงตัน 308 ปืนจากกองทัพบกสหรัฐอเมริกา ใช้กระสุนขนาด 5.56 มิลลิเมตร ในการฝึกทบทวนยุทธวิธีประจำปีของหน่วยอรินทราช

พลซุ่มยิงหรือสไนเปอร์ ระดับครูฝึก  อธิบายคำจำกัดความ คำว่า สไนเปอร์ มีที่มาจากนายพรานอังกฤษที่ซุ่มยิงนกสไนป์ ซึ่งมีประสาทสัมผัสไวและรวดเร็ว และต่อมาถูกนำมาปรับใช้ยุทธวิธีของทหารและตำรวจ ในการพรางตัวและซุ่มยิงแบบหวังผลระยะไกลมากกว่า 100 เมตรขึ้นไป โดยสไนเปอร์จะทำงานร่วมกับบัดดี้คือพลชี้เป้า  และปืนที่นำมาใช้ยิงส่วนใหญ่เป็นปืนติดลำกล้อง เช่น M 16 ติดลำกล้อง / ซิกซาวเออร์ เอสเอสจี 3000 / เฮคเลอร์แอนด์คอช PSG1 และการปฏิบัติหน้าที่ของ 1 ชุดพลซุ่มยิง มีศักยภาพสามารถยับยั้งการเคลื่อนไหวของทหารได้หนึ่งกองพล นับว่าเป็นเครื่องมือทางยุทธวิธีทำให้ฝ่ายตรงข้ามขาดเสรีในการปฏิบัติ


พลซุ่มยิงหรือสไนเปอร์  เป็นที่กล่าวขวัญถึงมากเมื่อถูกนำมาใช้ในปฏิบัติการกระชับวงล้อมการชุมนุม ของกลุ่มคนเสื้อแดง เมื่อช่วงปี 2553 จนมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก และผลการชันสูตรพลิกศพส่วนใหญ่ระบุว่าเสียชีวิตด้วยกระสุนความเร็วสูง ดังที่ปรากฏภาพและคลิปภาพ


หลักฐานที่ตอกย้ำว่า มีการสไนเปอร์ในการขอคืนพื้นที่จากผู้ชุมนุม ซึ่งขัดแย้งให้คำให้สัมภาษณ์ของผู้บัญชาการทหารบก เมื่อเว็บไซต์ประชาไท เผยแพร่เอกสารคำสั่งของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินหรือ ศอฉ.ที่มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงในขณะนั้นเป็นผู้อำนวยการและผู้อำนวยการ ศอฉ.เป็นผู้ลงนามในเอกสารลงวันที่ 17 เมษายน 2553  เรื่อง 'ขออนุมัติแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธเพื่อ รักษาความปลอดภัย ที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจและสายตรวจเคลื่อนที่' ลงนามโดย พล.ท.อักษรา เกิดผล หน.สยก.ศอฉ.


โดยเนื้อหาส่วนขั้นตอนการปฏิบัติการ ระบุว่า  ในกรณีพบความผิดซึ่งหน้าในลักษณะผู้ก่อเหตุใช้อาวุธยิงใส่เจ้าหน้าที่ หรือใช้อาวุธ/วัตถุระเบิดต่อที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญที่ ศอฉ. กำหนด ได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้อาวุธยิงผู้ก่อเหตุ เพื่อหยุดยั้งการปฏิบัติได้ แต่หากผู้ก่อเหตุอยู่ปะปนกับผู้ชุมนุมจนอาจทำให้การใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ เป็นอันตรายต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ ให้งดเว้นการปฏิบัติ ยกเว้นในกรณีที่หน่วยได้จัดเตรียมพลแม่นปืนที่มีขีดความสามารถเพียงพอให้ทำ การยิงเพื่อหยุดยั้งการก่อเหตุได้ นอกจากนี้หากหน่วยพบเป้าหมายแต่ไม่สามารถทำการยิงได้ เช่น เป้าหมายอยู่ในที่กำบัง ฯลฯ หน่วยสามารถร้องขอการสนับสนุนพลซุ่มยิง (Sniper) จาก ศอฉ.ได้ ขณะที่การเบิกจ่ายกระสุนปืนซุ้มยิงจากสรรพาวุธทหารบก ถึง 3,000 นัด และคืนเพียง 880 นัด


การใช้สไนเปอร์ กระสุนจริง ศพผู้ชุมนุม และผู้บาดเจ็บ ล้วนเป็นผลมาจากยุทธวิธีการผลักดันกระชับพื้นที่ผู้ชุมนุมตามปฏิบัติ ศอฉ. ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นเป็นผู้ลงนาม (เอกสารลับ) ยังเป็นคำถามว่าเจ้าหน้าที่รัฐทำเกินกว่าเหตุหรือไม่ และผ่านมากกว่า 2 ปีแล้ว คำถามนี้ยังไร้คำตอบ          


ขอขอบคุณ Voice TV                  

http://www.go6tv.com/2012/08/blog-post_1417.html

--------------------------------------------------------

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555


ช็อค! ข้อมูล "ศปช." ยัน "ใช้ทหาร 5 หมื่นคน กระสุน 1 แสนนัด" ระดมฆ่าเสื้อแดง


ศูนย์ข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบเหตุสลายชุมนุม เม.ย.-พ.ค.53 หรือ “ศปช.” ได้เก็บรวบรวมข้อมูลกรณีประชาชนถูกจับกุม/คุมขัง/ดำเนินคดี อันสืบเนื่องจากเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม 2553 โดยการลงพื้นที่พูดคุยกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ติดตาม ให้ความช่วยเหลือ รวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ

สืบเนื่องจากการใช้กำลังทหารสลายการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้าน เผด็จการแห่งชาติ หรือ “นปช.” โดยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ระหว่างวันที่ 10 เมษายน ถึง 19 พฤษภาคม 2553 ถือเป็นการปราบปรามการชุมนุมที่รุนแรงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย ทั้งในแง่การใช้กำลังของฝ่ายรัฐ ซึ่งมีการระดมกำลังทหารเข้าสู่กรุงเทพฯ ถึงกว่า 50,000 ราย และใช้กระสุนจริงกว่า 100,000 นัด ในจำนวนนี้เป็นกระสุนสำหรับการซุ่มยิ่งกว่า 2,000 นัด

ในแง่ของความสูญเสียต่อชีวิต มีผู้เสียชีวิตถึง 94 ราย ในจำนวนนี้เป็นเจ้าหน้าทีรัฐ 10 ราย เป็นพลเรือนทั่วไป 77 ราย อาสากู้ชีพ/พยาบาล 5 ราย ผู้สื่อข่าว 2 ราย (ในจำนวนนี้หากนับเฉพาะพลเรือน อาสากู้ชีพ/พยาบาล และผู้สื่อข่าวที่เสียชีวิตในเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 10 เมษายน และระหว่างวันที่ 13 – 19 พฤษภาคม จะมีทั้งหมด 83 ราย) และผู้บาดเจ็บไม่น้อยกว่า 1,500 ราย

จากข้อมูลที่ ศปช. เก็บรวบรวมได้ถึงวันที่ 30 เมษายน 2555 พบว่า มีผู้ถูกจับจากเหตุการณ์ที่สืบเนื่องกับการชุมนุมตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2553 ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เป็นจำนวนทั้งสิ้น 1,857 คน ในจำนวนนี้ ต่อมาถูกดำเนินคดีอย่างน้อย 1,763 คน โดยคิดเป็นจำนวนคดีทั้งสิ้น 1,381 คน ในศาล 59 แห่ง ทั้งในกรุงเทพปริมณฑล และต่างจังหวัด

ทั้งนี้ มีผู้ดำเนินคดีที่เป็นเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี จำนวน 167 คนโดยแยกดำเนินคดีในศาลเยาวชน และมีคนต่างชาติถูกดำเนินคดีไม่ต่ำกว่า 26 คน ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นแรงงานข้ามชาติ

หากพิจารณาคดีที่รัฐดำเนินการกับประชาชนในช่วงเวลาดังกล่าว สามารถจำแนกคดีได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ คดีฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ คดีอาญาอื่น ๆ และคดีฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ร่วมกับคดีอาญาอื่น ๆ

โดยผู้ที่ถูกดำเนินคดีด้วยข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ทั้งกรณีฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อย่างเดียว และร่วมกับคดีอาญาอื่น ๆ มีจำนวนมากถึง 1,628 คน จากจำนวนผู้ถูกดำเนินคดีทั้งหมด 1,763 คน และหากดูระยะเวลาในการจับกุม คนส่วนใหญ่ถูกจบกุมระหว่างวันที่ 19-29 พฤษภาคม 2553 ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาลเข้าสลายการชุมนุมและประกาศใช้ข้อกำหนดห้ามบุคคลออก นอกเคหสถานในเวลาที่กำหนดหรือเคอร์ฟิว

ถึง แม้ผู้ที่ถูกจับกุมอันเกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมในปี 2553 ส่วนใหญ่จะถูกดำเนินคดีในข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพียงข้อหาเดียว ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ แต่มีจำนวนไม่น้อยที่ถูกดำเนินคดีในความผิดทางอาญาฐานอื่น ๆ ด้วย โดยมีผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดทางอาญาฐานอื่นรวม 594 คน ในจำนวนนี้ตกเป็นจำเลยในคดีอาญาที่มีอัตราโทษสูง (ไม่นับรวมคดียาเสพติดที่เป็นการกระทำผิดร่วมกับการออกนอกเคหสถานในเวลาที่ กำหนด) 290 คน คนกลุ่มนี้ไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น อย่างน้อย 105 คน (บางคนไม่มีข้อมูล)

เนื่องจากศาลมีดุลยพินิจว่าคดีมีอัตราโทษสูง หากปล่อยไปเกรงจำเลยจะหลบหนี อีกทั้งศาลยังกำหนดเงินประกันไว้สูง (เริ่มตั้งแต่ 100,000 บาท ถึงกว่า 1,000,000 บาท) ทำให้ยากที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหาหลักทรัพย์มาประกันตัวไว้

นอกจากนี้ แม้แต่ในกลุ่มคนที่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างพิจารณาคดีนั้นมีจำนวน มากที่ถูกคุมขังนานกว่า 6 เดือน และอีกจำนวนหนึ่งถูกคุมขังอยู่กว่า 1 ปี ก่อนที่ศาลจะอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว อันเป็นผลมาจากการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ อยู่นานหลายเดือนหลังสลายการชุมนุม และบรรยากาศทางการเมืองที่มีความขัดแย้งอย่างรุนแรง

ทั้งนี้ รายงาน “ความจริงเพื่อความยุติธรรม เหตุการณ์และผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา – พฤษภา 53” กำหนดวางแผงทั่วไปวันที่ 1 ก.ย. นี้ โดยสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ www.pic2010.org


--------------------------------------------------

คำสั่งรักษาด่านศอฉ.ใช้ "พลแม่นปืน" หากผู้ก่อเหตุปะปนผู้ชุมนุม - หากยิงไม่ได้ให้ใช้ "สไนเปอร์"


เปิดเอกสาร “ศอฉ.” เผยแนวทางปฏิบัติการใช้อาวุธเพื่อรักษาที่ตั้งสำคัญ จุดตรวจ ด่านตรวจ ของช่วงสลายชุมนุม เม.ย. – พ.ค. 53 ระบุหากมีผู้ก่อเหตุใช้อาวุธแล้วอยู่ปะปนกับผู้ชุมนุม ให้เจ้าหน้าที่งดใช้อาวุธยกเว้นถ้าในหน่วยมี “พลแม่นปืน” ให้ทำการยิงเพื่อหยุดยั้งการก่อเหตุได้ และหากไม่สามารถยิงได้ สามารถร้องขอ “พลซุ่มยิง (Sniper)” จาก ศอฉ. ได้
18 ส.ค. 55 – ผู้สื่อข่าวประชาไท ได้รับเอกสาร ส่วนราชการ สยก.ศอฉ. ที่ กห.0407.45 (สยก.)/130 ลงวันที่ 17 เม.ย. 53 เรื่อง “ขออนุมัติแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธเพื่อ รปภ. ที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจและสายตรวจเคลื่อนที่” ลงนามโดย พล.ท.อักษรา เกิดผล หน.สยก.ศอฉ. เสนอ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผอ.ศอฉ. ในเวลานั้น
โดยเอกสารมีทั้งหมด 5 หน้า ใจความสำคัญคือการระบุแนวทางปฏิบัติ หากมี “ผู้ก่อการร้ายแฝงตัวมากับกลุ่มผู้ชุมนุม และใช้อาวุธ/วัตถุระเบิดต่อเจ้าหน้าที่ และประชาชนผู้บริสุทธิ์”
เอกสาร ส่วนราชการ สยก.ศอฉ. ที่ กห.0407.45 (สยก.)/130 ลงวันที่ 17 เม.ย. 53 เรื่อง “ขออนุมัติแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธเพื่อ รปภ. ที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจและสายตรวจเคลื่อนที่” ลงนามโดย พล.ท.อักษรา เกิดผล หน.สยก.ศอฉ. เสนอ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผอ.ศอฉ. 
โดยในข้อ 2.5 ระบุว่า “ในกรณีพบ ความผิดซึ่งหน้าในลักษณะผู้ก่อเหตุใช้อาวุธยิงใส่เจ้าหน้าที่ หรือใช้อาวุธ/วัตถุระเบิดต่อที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญที่ ศอฉ. กำหนด ได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้อาวุธยิงผู้ก่อเหตุ เพื่อหยุดยั้งการปฏิบัติได้ แต่หากผู้ก่อเหตุอยู่ปะปนกับผู้ชุมนุมจนอาจทำให้การใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ เป็นอันตรายต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ ให้งดเว้นการปฏิบัติ ยกเว้นในกรณีที่หน่วยได้จัดเตรียมพลแม่นปืน (Marksmanship) ที่มีขีดความสามารถเพียงพอให้ทำการยิงเพื่อหยุดยั้งการก่อเหตุได้ นอกจากนี้หากหน่วยพบเป้าหมายแต่ไม่สามารถทำการยิงได้ เช่น เป้าหมายอยู่ในที่กำบัง ฯลฯ หน่วยสามารถร้องขอการสนับสนุนพลซุ่มยิง (Sniper) จาก ศอฉ. ได้”

ต่อมามี ที่ใบปะหน้าของเอกสาร กห.0407.45 (สยก.)/130 ลงวันที่ วันที่ 17 เม.ย. 53 “เรื่อง ขออนุมัติแนวทางการปฏิบัติการใช้อาวุธเพื่อ รปภ. ที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ ด่านตรวจ และสายตรวจเคลื่อนที่” เรียน ผอ. ศอฉ. โดย พล.อ. รอง เสธ.ศอฉ. (3) 18 เม.ย. 54 ดังกล่าว ในท้ายเอกสารมีข้อความว่า “อนุมัติตามเสนอในข้อ 4” ลงนามโดย “สุเทพ เทือกสุบรรณ” ในฐานะ ผอ.ศอฉ. โดยลงนามวันที่ 18 เม.ย. 53
โดยก่อนหน้านี้ ในการแถลงข่าวของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อ 16 ส.ค. 55 กล่าวปฏิเสธว่าไม่มีการใช้สไนเปอร์ เป็นเพียงปืนติดลำกล้องเพื่อใช้ระวังป้องกัน ซึ่งในตลาดนัดก็มีขายสำหรับใช้ยิงนก ขณะที่เมื่อ 16 พ.ค. 53 พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. ก็ปฏิเสธว่าไม่มีการใช้สไนเปอร์ มีเพียง “พลแม่นปืนระวังป้องกัน” ทำหน้าที่คุ้มครองการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ทหาร ตำรวจ ที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ต่ำหรือตามถนนหนทางโดยทั่วไป เจ้าหน้าที่เหล่านี้จะมีหน้าที่ในการตรวจสอบว่ามีบุคคลผู้ใดถืออาวุธหรือจะ เข้าทำร้ายเจ้าหน้าที่ และจะใช้การยิงคุ้มครอง (อ่านข่าวย้อนหลัง)
ต่อมาเมื่อ 18 มี.ค 54 พ.ต.ท.สมชาย เพศประเสริฐ ส.ส.นครราชสีมา พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร ได้นำรายงานบัญชีสรุปรายการเบิกจ่ายกระสุนจากหน่วยคลังแสงสรรพาวุธทหารบก เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ตั้งแต่ 11 มี.ค. 53 จนถึงเสร็จสิ้นการโดยมีการเบิกกระสุนจากคลังแสงทหารบกกว่า 597,500 นัด ส่งคืน 479,577 นัด ใช้ไป 117,923 นัด เผยมีการเบิกกระสุนปืนซุ่มยิง 3,000 นัด คืนเพียง 880 นัด ขณะที่เบิกกระสุนซ้อมเพียง 10,000 นัด ส่งคืน 3,380 นัด (อ่านข่าวย้อนหลัง)
สำหรับรายละเอียดเอกสาร  สยก.ศอฉ. ที่ กห.0407.55 มีรายละเอียดดังที่ปรากฏในท้ายข่าว

000
บันทึกข้อความ
ส่วนราชการ สยก.ศอฉ.
ที่ กห. 0407.45 (สยก.)/130 วันที่ 17 เม.ย. 53
เรื่อง ขออนุมัติแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธเพื่อ รปภ. ที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจและสายตรวจเคลื่อนที่
เรียน ผอ.ศอฉ.
อ้างถึง 1. หนังสือ สยก.ศอฉ. ที่ กท. 0407.45 (สยก.)/13 ลง 8 เม.ย. 53
2. หนังสือ สยก.ศอฉ. ลับ - ด่วนที่สุด ที่ คห.0407.45 (สยก.)/106 ลง 15 เม.ย. 53
สิ่งที่ส่งมาด้วย แนวทางการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ ศอฉ. ในการใช้อาวุธสำหรับการรักษาความปลอดภัยที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจ และสายตรวจเคลื่อนที่
1. ตามที่ รอง นรม./ผอ.ศอฉ. ได้กรุณาอนุมัติแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ ศอฉ. เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารซึ่งทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยสถานที่สำคัญ และประจำจุดตรวจ/ด่านตรวจในพื้นที่ นำไปใช้ยึดถือปฏิบัติ รายละเอียดตามอ้างถึง 1 นั้น
2. เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบัน ปรากฏว่ามีผู้ก่อการร้ายแฝงตัวมากับกลุ่มผู้ชุมนุม และใช้อาวุธ/วัตถุระเบิดต่อเจ้าหน้าที่ และประชาชนผู้บริสุทธิ์ ดังนั้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารซึ่งทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่ตั้งหน่วย และสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจ และสายตรวจเคลื่อนที่ ได้มีกรอบแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสมกับสถานการณ์ดังกล่าว สยก.ศอฉ. จึงได้พิจารณาปรับปรุงแนวทางการปฏิบัติโดยเพิ่มเติมและแก้ไขรายละเอียดการ ปฏิบัติฯ ตามข้อ 1 ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย สรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้.-
2.1 แนวทางปฏิบัติทั่วไป ในหัวข้อการใช้อาวุธในการป้องกันตนเองและรักษาความปลอดภัยฯ ได้เพิ่มเติมข้อความเกี่ยวกับการป้องกันบุคคลอื่น หรือทรัพย์สินของทางราชการ และเอกชนที่อยู่ในความคุ้มครองของเจ้าหน้าที่ รวมทั้ง ให้หน่วยกำหนดแนวห้ามผ่านเด็ดขาด โดยให้ทำเครื่องหมายหรือประกาศให้กลุ่มผู้ชุมนุมที่มากดดันทราบ และในหัวข้อการปฏิบัติภายหลังเกิดเหตุ ได้แก้ไขให้เจ้าหน้าที่ทำการปฐมพยาบาลผู้ก่อเหตุตามหลักมนุษยธรรม ภายหลังจากที่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้แล้ว
2.2 แนวทางปฏิบัติเฉพาะเหตุการณ์ ในกรณีผู้ชุมนุมพยายามที่จะบุกรุกเข้ามาในที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญที่ ศอฉ. กำหนด: ได้เพิ่มเติมรายละเอียดการปฏิบัติโดยให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้โล่และไม้พลอง ยาว เพื่อต้านทานการบุกรุก และเมื่อมีแนวโน้มจะต้านทานไม่อยู่ให้ใช้การฉีดน้ำ และ/หรือคลื่นเสียงได้ แต่ถ้าผู้ชุมนุมยังสามารถปีนรั้ว/เครื่องกีดขวาง/ฝ่าแนวห้ามผ่านเด็ดขาดเข้า มาได้ หากมีผู้บุกรุกมีจำนวนน้อยและไม่มีอาวุธ ให้เข้าทำการจับกุม หากมีจำนวนมาก ให้ใช้แก๊สน้ำตา, กระบอง, กระสุนยาง และยิงเตือนตามลำดับและเมื่อปฏิบัติตามขั้นตอนแล้ว ผู้ชุมนุมยังคงบุกรุกเข้ามาจนอาจก่อให้เกิดอันตราย ให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้อาวุธตามสมควรแก่เหตุ โดยการใช้กระสุนจริงจาก ปลซ. และ ปลย. ตามลำดับ ทั้งนี้ หากผู้บุกรุกมีอาวุธเช่น มีด, ปืน, วัตถุระเบิด ฯลฯ และฝ่าแนวห้ามผ่านเด็ดขาดเข้ามาได้ เจ้าหน้าที่สามารถข้ามขั้นตอนการใช้แก๊สน้ำตา, กระบอง หรือกระสุนยาง ไปสู่การใช้กระสุนจริงได้ โดยในการใช้อาวุธกระสุนจริง ทั้งสองกรณี ผู้มีอำนาจตกลงใจสั่งการ คือ ผบ.หน่วยที่รับผิดชอบสถานที่นั้น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
2.3 แนวทางการปฏิบัติเฉพาะเหตุการณ์ในกรณีการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจ: ได้เพิ่มเติมข้อความ ในกรณีพบผู้ต้องสงสัย ซึ่งไม่ยอมให้ตรวจค้น/จับกุม และกำลังจะหลบหนี ให้ทำการยิงเตือน, ติดตาม และสกัดจับ รวมทั้งใช้อาวุธตามหลักเกณฑ์ในการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย และสมควรแก่เหตุ
2.4 แนวทางปฏิบัติเฉพาะเหตุการณ์ ในกรณีพบความผิดซึ่งหน้าในลักษณะผู้ก่อเหตุเตรียมใช้อาวุธ/วัตถุระเบิด: ได้เพิ่มเติมรายละเอียดในการเข้าจับกุม โดยเจ้าหน้าที่สามารถใช้อาวุธประจำกายเล็งไปยังผู้ก่อเหตุได้ และถ้าผู้ก่อเหตุพยายามหลบหนีให้ใช้เทคนิคการต่อสู้ระยะประชิด, การยิงเตือน และการใช้อาวุธยิงในจุดที่ไม่สำคัญของร่างกาย เพื่อหยุดการเคลื่อนที่ของผู้ก่อเหตุตามลำดับ
2.5 แนวทางปฏิบัติเฉพาะเหตุการณ์ ในกรณีพบความผิดซึ่งหน้าในลักษณะผู้ก่อเหตุใช้อาวุธยิงใส่เจ้าหน้าที่ หรือใช้อาวุธ/วัตถุระเบิดต่อที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญที่ ศอฉ. กำหนด ได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้อาวุธยิงผู้ก่อเหตุ เพื่อหยุดยั้งการปฏิบัติได้ แต่หากผู้ก่อเหตุอยู่ปะปนกับผู้ชุมนุมจนอาจทำให้การใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ เป็นอันตรายต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ ให้งดเว้นการปฏิบัติ ยกเว้นในกรณีที่หน่วยได้จัดเตรียมพลแม่นปืน (Marksmanship) ที่มีขีดความสามารถเพียงพอให้ทำการยิงเพื่อหยุดยั้งการก่อเหตุได้ นอกจากนี้หากหน่วยพบเป้าหมายแต่ไม่สามารถทำการยิงได้ เช่น เป้าหมายอยู่ในที่กำบัง ฯลฯ หน่วยสามารถร้องขอการสนับสนุนพลซุ่มยิง (Sniper) จาก ศอฉ. ได้
3. สยก.ศอฉ. พิจาณาแล้วมีความเห็น ดังนี้
3.1 แนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ ศอฉ. สำหรับการรักษาความปลอดภัยที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจ และสายตรวจเคลื่อนที่ ตามข้อ 2 ได้ปรับปรุงในรายละเอียดการปฏิบัติให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่ง ขึ้น โดยสอดคล้องกับการพัฒนาของสถานการณ์ ซึ่งปรากฏว่ามีผู้ก่อการร้ายแฝงตัวมากับกลุ่มผู้ชุมนุม และใช้อาวุธ/วัตถุระเบิดโจมตีต่อเจ้าหน้าที่ และประชาชนผู้บริสุทธิ์ ทำให้เจ้าหน้าที่มีความจำเป็นต้องใช้อาวุธในการป้องกันตนเองและบุคคลอื่น รวมทั้ง ทรัพย์สินของทางราชการและเอกชนที่อยู่ในความคุ้มครอง ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น จึงเห็นสมควรอนุมัติให้ยกเลิกแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ ศอฉ ตามข้อ 1 และอนุมัติให้หน่วยที่เกี่ยวข้องใช้แนวทางการปฏิบัติในการ รปภ. ที่ตั้งหน่วย และสถานที่สำคัญฯ ตามข้อ 2 เป็นแนวทางการปฏิบัติต่อไป
3.2 สำหรับแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธเพื่อ รปภ. ที่ตั้ง บก.ศอฉ ตามที่อ้างถึง 2 นั้น ได้กำหนดแนวทางการใช้อาวุธ และแนวทางการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ต่อกลุ่มก่อการร้ายแฝงตัวปะปนมากับกลุ่ม ผู้ชุมนุม ซึ่งยังคงมีความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันจึงเห็นสมควรให้หน่วยยึดถือเป็น แนวทางปฏิบัติ ในการ รปภ. ที่ตั้ง บก.ศอฉ. ได้ต่อไป
4. ข้อเสนอ เห็นสมควรดำเนินการตามการพิจารณาในข้อ 3 ดังนี้
4.1 ยกเลิกแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ ศอฉ. ตามข้อ 1
4.2 อนุมัติแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ ศอฉ. สำหรับการรักษาความปลอดภัยที่ตั้งหน่วย และสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจ และสายตรวจเคลื่อนที่ ตามข้อ 2
จึงเรียนมาเพื่อกรุณาพิจารณาอนุมัติตามเสนอในข้อ 4
(ลายมือชื่อ) พล.ท.อักษรา เกิดผล
หน.สยก.ศอฉ.



แนวทางการปฏิบัติของ เจ้าหน้าที่ ศอฉ. ในการใช้อาวุธสำหรับการรักษาความปลอดภัยที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจ และสายตรวจเคลื่อนที่
1.แนวทางการปฏิบัติทั่วไป
1.1 แนวทางการปฏิบัตินี้ ใช้บังคับกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารที่ปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาที่ตั้ง หน่วย และสถานที่สำคัญ รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่บริเวณจุดตรวจ/ด่านตรวจ และสายตรวจเคลื่อนที่ซึ่งอนุญาตให้กำลังพลสามารถใช้อาวุธประจำกายและอาวุธ ปืนพกได้ตามความจำเป็นของสถานการณ์
1.2 การใช้อาวุธในการป้องกันตนเอง และรักษาความปลอดภัยฯ ต้องการเป็นป้องกันอันตรายที่ใกล้จะมาถึง และเป็นอันตรายต่อชีวิตของเจ้าหน้าที่ รวมทั้งบุคคลอื่นหรือทรัพย์สินทางราชการ และเอกชนที่อยู่ในความคุ้มครองของเจ้าหน้าที่ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ก่อเหตุกำลังระเบิดใส่ กำลังเล็งปืนใส่ กำลังถือมีดเข้าทำร้ายร่างกาย เป็นต้น
1.3 การป้องกันตนเองและรักษาความปลอดภัยฯ ต้องเป็นการกระทำเพื่อป้องกันตนเองหรือผู้อื่น และสมควรแก่เหตุ รวมทั้งการใช้อาวุธนั้น ต้องใช้เท่าที่จำเป็น จากเบาไปหาหนัก และมีแจ้งเตือนการปฏิบัติกับผู้ก่อเหตุก่อนเสมอ
1.4 การใช้อาวุธจะไม่อนุญาตให้ใช้ในสถานการณ์ที่ไม่กระจ่างชัด หรือการใช้อาวุธที่ปราศจากความแม่นยำ ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายต่อผู้ไม่เกี่ยวข้องได้ เช่น การยิงกราด การยิงสุ่ม และการยิงที่ไม่เล็ง รวมทั้งไม่อนุญาตให้ใช้การยิงอัตโนมัติ โดยหากจะใช้อาวุธต้องทำการยิงทีละนัดเท่านั้น และห้ามใช้อาวุธเล็งศีรษะหรือส่วนสำคัญของร่างกายโดยเด็ดขาด
1.5 ให้หน่วยกำหนดแนวทางห้ามผ่านเด็ดขาดบริเวณที่ตั้งหน่วย และสถานที่สำคัญ รวมทั้งใช้เครื่องหมายหรือประกาศให้กลุ่มผู้ชุมนุมที่มากดดันทราบ
1.6 หากมีความจำเป็นในการใช้อาวุธแล้ว ต้องใช้ตามลำดับขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 แจ้งเตือนด้วยวาจา ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย มีระดับความดังเสียงที่ผู้ก่อเหตุได้อย่างชัดเจน และกล่าวซ้ำหลายๆ ครั้ง อย่างน้อย 3 ครั้ง เพื่อให้ผู้ก่อเหตุหยุดการกระทำดังกล่าว ... "หยุดนี่คือเจ้าหน้าที่"
ขั้นที่ 2 การยิงเตือนขึ้นฟ้า หรือเป็นการยิงในทิศทางที่ปลอดภัย
ขั้นที่ 3 การใช้อาวุธตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายและสมควร แก่เหตุ สรุปคือเป็นการยิงที่ไม่ประสงค์ให้ผู้ก่อเหตุเป็นอันตรายถึงชีวิต
ทั้งนี้ การปฏิบัติตามขั้นตอนดังกล่าวอาจปฏิบัติข้ามการปฏิบัติเป็นขั้นที่ 2 หรือ 3 โดยทันที ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ได้ประสบกับภัยคุกคามที่ใกล้จะมาถึงและเป็นอันตรายต่อ ชีวิตของตนเองและบุคคลอื่นที่อยู่ในความคุ้มครองของเจ้าหน้าที่


เหตุการณ์ การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ที่อนุญาตให้ทำได้

ผู้ก่อเหตุใช้อาวุธยิงใส่เจ้าหน้าที่ หรือใช้อาวุธวัตถุระเบิดต่อที่ตั้งหน่วยหรือสถานที่สำคัญ
1) ใช้อาวุธตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย และสมควรแก่เหตุโดยสามารถใช้อาวุธยิงผู้ก่อเหตุ เพื่อหยุดยั้งการปฏิบัติได้
2) หากผู้ก่อเหตุอยู่ปะปนกับผู้ชุมนุมจนอาจทำให้การใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ เป็นอันตรายต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์แล้ว ให้งดเว้นการปฏิบัติยกเว้นในกรณีที่หน่วยได้จัดเตรียมพลแม่นปืน (Marksmanship) ที่มีขีดความสามารถเพียงพอให้ทำการยิงเพื่อหยุดยั้งการก่อเหตุได้
3) ในกรณีที่หน่วยพบเป้าหมายแต่ไม่สามารถทำการยิงได้ เช่น เป้าหมายอยู่ในที่กำบังหน่วยสามารถร้องขอการสนับสนุนพลซุ่มยิง (Sniper) จาก ศอฉ. ได้

หมายเหตุ:
1. เมื่อผู้ชุมนุมมีการรวมตัวที่บริเวณภายนอกที่ตั้งหน่วย หรือสถานที่สำคัญให้ใช้เครื่องขยายเสียงประกาศให้ผู้ชุมนุทราบว่า หากมีการบุกรุกเข้ามา เจ้าหน้าที่จะมีขั้นตอนการปฏิบัติและการใช้อาวุธอย่างไร โดยให้มีการประกาศซ้ำหลายๆ ครั้ง
2. แนวทางการใช้อาวุธตามคำแนะนำฯ นี้ ไม่จำกัดสิทธิ์ในการใช้อาวุธเพื่อป้องกันตนเองและบุคคลอื่นจากการกระทำของ ผู้ก่อเหตุ ที่เป็นไปโดยสมควรแก่เหตุ
3. กรณีประสบเหตุการณ์เฉพาะหน้าที่เป็นอันตรายต่อชีวิต หรือก่อให้เกิดการบาดเจ็บสาหัสให้เจ้าหน้าที่ที่ประสบเหตุสามารถใช้อาวุธ เพื่อระงับเหตุการณ์นั้นๆ ได้ โดยไม่ต้องรอฟังคำสั่งใดๆ
4. ห้ามใช้อาวุธยิงใส่ยานพาหนะต้องสงสัยใดๆ ที่ขับฝ่าด่านตรวจ/จุดตรวจ/จุดสกัด โดยให้จดจำเลขทะเบียนและลักษณะที่สำคัญแจ้งให้หน่วยในพื้นที่ใกล้เคียง (ทั้งทหาร - ตำรวจ) ดำเนินการสกัดให้หยุดและตรวจค้น เว้นแต่ได้รับแจ้งยืนยันแน่ชัดแล้วว่ายานพาหนะนั้นเป็นการหลบหนีของผู้ก่อ เหตุ จึงสามารถใช้อาวุธยิงโดยเล็งที่บริเวณเครื่องยนต์หรือหม้อน้ำของยานพาหนะ เพื่อสกัดให้หยุดการเคลื่อนที่
5. ยานพาหนะที่จงใจขับพุ่งชนเพื่อฝ่าแนวต้านทานเข้ามาในที่ตั้งหน่วย หรือสถานที่สำคัญที่ ศอฉ. กำหนด ให้สามารถใช้อาวุธยิงเพื่อหยุดยานพาหนะนั้นได้โดยเล็งที่บริเวณเครื่องยนต์ หรือหม้อน้ำของยานพาหนะ ทั้งนี้ให้คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติเป็นสำคัญ รวมทั้งต้องประกาศให้ผู้ก่อเหตุทราบ ในลักษณะ "หยุด ถ้าไม่หยุดเจ้าหน้าที่มีความจำเป็นต้องใช้อาวุธ"

http://prachatai.com/journal/2012/08/42125?utm_source=feedburner&utm_medium=feed&utm_campaign=Feed%3A+prachatai+(ประชาไท+Prachatai.com)

--------------------------------------------------

โฆษก ศอฉ. ยอมรับแต่ง “ผังล้มเจ้า” เพื่อตอบโต้การใส่ร้ายท่านผู้หญิงจรุงจิตต์


“พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด” ยอมรับต่อศาล เผยแพร่ “แผนผังล้มเจ้า” หลังมีการใส่ร้าย “ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์” ว่าโทร.มาสั่งการ ศอฉ. จึงแถลงตอบโต้พร้อมแจกแผนผังเพื่อให้สังคมพิจารณา แต่ที่แจกไปมิได้หมายความว่าผู้ที่มีชื่อในเอกสารอยู่ในขบวนการล้มล้าง สถาบันฯ แต่ให้สังคมวินิจฉัยเอาเอง ส่วนที่สื่อมวลชนเอาไปขยายผล ผู้ที่มีรายชื่อในผังจะไปฟ้องร้องก็สุดแล้วแต่จะพิจารณา

พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก. และอดีตโฆษกศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอฉ.) (ที่มา: สำนักโฆษก)
     
คำแถลงต่อศาลเมื่อ 22 มี.ค. 54 ของ พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด
เมื่อ เวลา 09.30 น. วันที่ 22 มี.ค. ที่ผ่านมา ผู้พิพากษาออกนั่งพิจารณาคดีที่นายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นโจทย์ยื่นฟ้องนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก อดีตโฆษกศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอฉ.) โดยในวันดังกล่าวเป็นการนัดพร้อมเพื่อประนอมข้อพิพาท โดยมีนายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ โจทก์ และนายประเวศ ประภานุกูล ทนายโจทก์ เดินทางมาศาล ส่วนฝ่ายจำเลยมี พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด จำเลยที่ 3 และทนายจำเลยที่ 3 มาศาล ส่วนจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ส่งทนายมาศาล
โดย พ.อ.สรรเสริญ จำเลยที่ 3 แถลงต่อศาลว่า "ประการที่หนึ่ง ศอฉ. ในขณะนั้นเชื่อมั่นว่ามีขบวนการที่จ้องจะล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์จริง
ประการ ที่สอง ในช่วงเวลานั้น มีข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอินเตอร์เน็ตกล่าวหาในลักษณะทำนองว่า ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ซึ่งเป็นราชเลขาธิการในพระองค์ของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ โทรศัพท์มาสั่งการ ศอฉ. อยู่ตลอดเวลา ให้ดำเนินการนานัปการ กับกลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งข้อเท็จจริงมิได้เป็นเช่นนั้น ซึ่งหมายความว่ามีความพยายามยามจะสร้างภาพให้สังคมเห็นว่า พระองค์ท่านมีส่วนเกี่ยวพันกับเรื่องการเมือง ซึ่งมิได้เป็นความจริง ศอฉ. ก็มีความจำเป็นที่ต้องชี้แจงข้อมูลข่าวสารให้สังคมได้รับทราบความจริงเป็น เช่นไร นอกจากนั้นแล้ว ศอฉ. ก็ได้ขยายความลงไปเพราะว่าทางราชการมีหน่วยงานทางด้านความมั่นคง ที่สำนักนายกรัฐมนตรีได้จัดตั้งขึ้น โดยมีหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องเป็นตัวขับเคลื่อน ซึ่งหน่วยงานด้านความมั่นคงก็มีการรวบรวมข้อมูลข่าวสารของขบวนการที่จ้องจะ ล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์มาโดยตลอด จึงได้นำข้อมูลทั้งหลายเหล่านี้มาประกอบเพื่อใช้ในการชี้แจงทำความเข้าใจกับ สังคม
ประการที่สาม ในช่วงเวลาเช้าของวันเกิดเหตุ ข้าฯ ได้มีการแถลงข่าวให้สังคมรับทราบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นว่าไม่เป็นความจริง ตามข้อมูลที่พยายามกล่าวหาใส่ร้ายท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ โดยแถลงกำกับตอบไปด้วยว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องกับขบวนการล้มเจ้านั้น ในขณะนั้นมีคุณดาตอร์ปิโด กับคุณจักรภพ เพ็ญแข ซึ่งทั้งสองคนนี้มีหมายจับไว้แล้ว ในช่วงเวลาเย็นเกิดจากการประชุมในช่วงบ่ายของ ศอฉ.ได้มติของ ศอฉ. ที่ต้องการจะให้นำเสนอข้อมูลข่าวสารแก่สังคมเป็นลายลักษณ์อักษรอีกทางหนึ่ง เพื่อให้สังคมพิจารณา
ข้าฯ ได้รับมอบหมายให้นำเอกสารเหล่านั้นไปแจกแก่สื่อมวลชน ซึ่งเอกสารที่ไปแจกนั้นมิได้หมายความว่าผู้ที่มีชื่อในเอกสารเป็นผู้เกี่ยว ข้องในฐานะอยู่ในขบวนการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่เป็นความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ในลักษณะต่างๆ ซึ่งให้สังคมพิจารณาและวินิจฉัยเอาเอง ซึ่งมีรายละเอียดอยู่ในเอกสาร ว่าแต่ละคนเกี่ยวข้องกันในฐานะอะไร เช่น เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในฐานะญาติพี่น้อง เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในฐานะผู้ทำธุรกิจร่วมกันอย่างนี้เป็นต้น ซึ่งมิได้แถลงเลยว่า บุคคลทั้งปวงเหล่านั้นมีความสัมพันธ์ในฐานะที่เป็นผู้อยู่ในขบวนการ และมิได้ให้หมายความเช่นนั้น
แต่หลังจากนั้นมีสื่อมวลชนนำเรื่องราว ต่างๆเหล่านี้ไปขยายผล ขยายความ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในแผนผังดังกล่าว ทำให้ได้รับความเสียหายจากมุมมองของสังคม เพราะเป็นเรื่องที่สังคมจะต้องตัดสิน ส่วนผู้ที่ได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจะฟ้องร้องกับผู้ที่นำไปขยายความใน ทางที่ผิดจากเจตนารมณ์ของ ศอฉ. ก็สุดแล้วแต่บุคคลเหล่านั้นจะพิจารณา" พ.อ.สรรเสริญแถลง
ทั้งนี้ศาลได้ดำเนินการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อ พิพาท เมื่อโจทก์คือนายสุธาชัย รับฟังข้อเท็จจริงจากจำเลยที่สาม จึงไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีต่อจำเลยทั้งสามอีกต่อไป จึงขอถอนฟ้องจำเลยที่สาม
ด้าน นายประเวศ ประภานุกูล ทนายความ ดร.สุธาชัย ในคดีนี้ให้สัมภาษณ์ “ไทยอีนิวส์” ว่า คดีนี้นายสุธาชัยได้ถอนฟ้องตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2554 ที่ผ่านมา แต่เหตุที่เพิ่งมาแถลงข่าวเมื่อวานนี้ ก็เพราะเพิ่งได้สำเนารายงานกระบวนพิจารณาฉบับจริง ซึ่งมีการรับรองสำเนาถูกต้องโดยศาลอาญา ซึ่งในที่ประชุมแถลงข่าวก็มีสื่อมวลชนทั้งโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์จำนวนมากมาทำข่าว “ส่วนที่ว่าทำไมสื่อไม่นำเสนอข่าวนี้เลย ผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน อาจเป็นเพราะ ดร.สุธาชัย ตอกกลับ ศอฉ. แรง และตอนนั้นสื่อก็นำไปขยายผลอย่างคึกโครมหรือเปล่าก็ไม่ทราบ"

แผน ผังที่ พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด แจกต่อผู้สื่อข่าวเมื่อ 26 เม.ย. 53 โดยล่าสุดได้ยอมรับต่อศาลแล้วเอกสารที่ไปแจกนั้นมิได้หมายความว่าผู้ที่มี ชื่อในเอกสารเป็นผู้เกี่ยวข้องในฐานะอยู่ในขบวนการล้มล้างสถาบันพระมหา กษัตริย์
อนึ่งก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 26 เม.ย. ปีที่แล้ว ในการแถลงข่าวของ ศอฉ. พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. แถลงว่า แกนนำคนเสื้อแดงพยายามจะยกระดับการชุมนุม ซึ่งโดยปกติผิดกฎหมายอยู่แล้วไปสู่การก่อการร้าย อย่างที่เห็นเป็นการซ่องสุมอาวุธกันเป็นจำนวนมาก แล้วก็พยายามที่จะผูกโยงเรื่องราวต่าง ๆ โดยใช้ข้อมูลอันเป็นเท็จมุ่งโจมตีสถาบันเบื้องสูง อันเป็นที่รักเคารพของคนไทยทุกคน
โดยมีการดำเนินการกันแบบเป็นระบบ ผ่านทางกลุ่มบุคคลทั้งที่เป็นแกนนำหลัก แกนนำรอง ซึ่งผู้ที่คุ้นชื่อมีคดีติดตัว บางคนก็อยู่ในระหว่างการพิจารณาว่าจะมีคดีหรือไม่ ก็หนีไปก่อน เช่น ดา ตอร์ปิโด สุชาติ นาคบางไทร จักรภพ เพ็ญแข ชูพงษ์ ถี่ถ้วน ที่เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่ามีพฤติกรรมอย่างไร ไม่ว่าจะผ่านทางสื่ออินเตอร์เน็ต เว็บไซต์ นปช.ยูเอสเอ องค์กรเสื้อแดงระหว่างประเทศ หรือ Red Shirt International Organization สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์ความจริงวันนี้ Thai Red News, Voice of Thaksin รวมถึงวิทยุชุมชนต่างๆ คนรักแท็กซี่ของนายชินวัฒน์ หาบุญพาด เหล่านี้คือสื่อสีแดงที่ให้ข้อมูลข่าวสารในลักษณะที่หมิ่นเหม่ และจาบจ้วงต่อสถาบันเบื้องสูงอันเป็นที่รักเคารพของคนไทยอยู่ตลอดเวลา
นอก จากนี้มีการแจกแผนผังโดย พ.อ.สรรเสริญ ซึ่งนอกจากมีการเขียนรายชื่อนักการเมือง แกนนำคนเสื้อแดง เชื่อมโยงกับ นปช. ว่าจาบจ้วงสถาบันฯ แล้ว ยังมีการกล่าวหาว่านายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ถือเป็นผู้นำทางความคิดของขบวนการ นอกจากนี้ยังกล่าวหาว่าโรงเรียนผู้ปฏิบัติงาน นปช. แดงทั้งแผ่นดิน ซึ่งแกนนำนปช. เป็นบุคลากรหลักของโรงเรียน มีความพยายามที่จะสร้างวาทกรรม มีชุดความคิดอำมาตย์ ไพร่ เนื้อหาในเชิงของการบิดเบือน ปลุกปั่น กระทบต่อความมั่นคงของรัฐอยู่ตลอดเวลา
ต่อมา เมื่อวันที่ 28 เม.ย. เมื่อปีที่แล้ว นายสุธาชัย ได้แถลงจะดำเนินคดีต่อ พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิดกับพวก หลังจากที่ พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด แถลงข่าวว่ามีเครือข่ายที่มีการส่อถึงการล้มสถาบันเบื้องสูง ซึ่งมีชื่อของนายสุธาชัยอยู่ด้วย
“อนุสนธิจากการที่ พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกของ ศอฉ.ได้แถลงข่าวในวันจันทร์ที่ 26 เมษายน 2553 โดยกล่าวถึงเครือข่ายที่มีการส่อถึงการล้มสถาบันเบื้องสูง ปรากฏว่าในแผนผังของเครือข่ายกลุ่มบุคคลที่ พ.อ.สรรเสริญกล่าวถึง ได้ปรากฏชื่อของข้าพเจ้า สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อยู่ในเครือข่ายนั้นด้วย และทำให้พี่น้อง เพื่อนฝูง โทรมาถามข่าวว่า เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร จากนั้น ต่อมา ในวันที่ 27 เมษายน รายการต่างๆ ทางวิทยุ และโทรทัศน์ก็นำเอาข่าวและแผนผังนี้มาเผย และมีรายการบางรายการ ได้โจมตีกลุ่มบุคคลที่ปรากฏชื่อในแผนผังอย่างรุนแรง เป็นการจงใจบิดเบือนให้ร้าย โดยไม่ไต่ถามที่มา หรือข้อเท็จจริงแต่อย่างใด และคุณสุเทพ เทือกสุบรรณ ก็ยังออกมาแถลงต่อด้วยซ้ำ ว่าจะออกหมายจับตามรายการนี้อีกด้วย
ในกรณีเช่นนี้ ข้าพเจ้าในฐานะครูสอนประวัติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยคนหนึ่ง ที่คงจะไม่มีมหิทธานุภาพที่จะไปต่อกรอำนาจกับ ศอฉ.ได้ แต่ข้าพเจ้าก็มีความจำเป็นที่จะต้องปกป้องสิทธิของตนเอง ก่อนที่จะถูกลากเข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องสกปรกทางการเมืองที่มากกว่านี้” คำแถลงของนายสุธาชัย ระบุ

http://prachatai.com/journal/2011/05/34974
--------------------------------------------------


--------------------------------------------------
FfF