บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


24 สิงหาคม 2554

<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง การแต่งกายประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของยิ่งลักษณ์ >>>

คำชี้แจงกรณีการติดเครื่องอิสริยาภรณ์ของยิ่งลักษณ์

















++++++++++++
คำชี้แจงของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

ตามที่มีผู้ตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ต่าง ๆ สรุปได้ว่า ในวันงานรัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภา วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๔ การแต่งกายประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ขณะยังไม่ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี) ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ นั้น

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ในฐานะเป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของหน่วยงานต่าง ๆ ขอชี้แจงข้อมูลในเรื่องดังกล่าวว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ฯ ได้รับการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์โดยสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะ ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามลาดับ ดังนี้

- ชั้น เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.) ในปี ๒๕๔๗ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข (เล่ม ๒) วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ หน้า ๒๖ ลำดับ ๑๓๒

- ชั้น เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.) ในปี ๒๕๕๑ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข (เล่ม ๒) วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑ หน้า ๑๑ ลำดับ ๘๖

การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งสองชั้นดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. ๒๕๓๖ และบัญชี ๔ ท้ายระเบียบ ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งในรัฐสภา ดังนั้น การแต่งกายประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทานทั้งสองชั้นของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ฯ ในงานรัฐพิธีดังกล่าว จึงเป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย
http://www.cabinet.thaigov.go.th/acrobat/Case-PM.pdf
-----------------------------------

คำชี้แจงกรณีการแต่งชุดขาวและติดป้ายแพรแถบย่อ
ของสามีและลูกยิ่งลักษณ์

























+++++++++++

การแต่งกายในการเข้าเฝ้าฯ

เมษายน ๔๘
ประเทศไทย เป็นอีกประเทศหนึ่งในโลกที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ดังนั้น จึงมีระเบียบแบบแผนที่เป็นธรรมเนียมในการเข้าเฝ้าต่างๆไม่ว่าจะเป็นคำกราบ บังคมทูล การแสดงความเคารพ การนั่งการยืน และการแต่งกาย ฯลฯ ที่ผู้เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติให้ถูกต้องเรียบร้อย งดงาม เพราะถือเป็นวัฒนธรรมของชาติอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะเรื่องการแต่งกายเข้าเฝ้าฯที่ประชาชน เยาวชน หรือแม้แต่ข้าราชการรุ่นใหม่หลายคนก็อาจจะยังไม่ทราบว่าแต่ละโอกาสจะต้อง แต่งกันอย่างไร บางคนก็อาจสงสัยว่าชุดที่คล้ายเครื่องแบบปกติขาว ที่มีเอกชนสวมใส่อยู่ในบางงานจะใช่ชุดข้าราชการหรือไม่ คนทั่วไปจะแต่งได้อย่างไร ซึ่งกลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรมจะได้บอกกล่าวกันต่อไป ก่อนอื่นควรทราบความหมายของคำว่า พระราชพิธี รัฐพิธี และพิธี เสียก่อน
พระราชพิธี หมายถึง งานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ กำหนดไว้เป็นประจำตามราชประเพณี ซึ่งจะเสด็จพระราชดำเนินไปประกอบพิธี โดยก่อนวันพระราชพิธีจะมีหมายกำหนดการ (เป็นเอกสารแจ้งกำหนดขั้นตอนของงานพระราชพิธีโดยเฉพาะ)ในการเสด็จฯไปทรง ประกอบพระราชกรณียกิจ ซึ่งโดยปกติแล้วคณะรัฐมนตรี และผู้มีตำแหน่งตามที่กำหนดให้เฝ้าฯต้องมีหน้าที่ไปเข้าเฝ้าฯในพระราชพิธี ด้วย ยกเว้นเป็นพระราชพิธีส่วนพระองค์หรือเป็นการภายใน พระราชพิธีที่บุคคลสำคัญหรือมีตำแหน่งต้องไปเข้าเฝ้าฯ ได้แก่ วันฉัตรมงคล วันเฉลิมพระชนมพรรษา การบำเพ็ญกุศลถวายผ้าพระกฐิน เป็นต้น
รัฐพิธี หมายถึง งานที่รัฐบาลกราบบังคมทูลขอพระมหากรุณาให้ทรงรับไว้เป็นงานรัฐพิธี มีหมายกำหนดการที่กำหนดไว้เป็นประจำ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จฯไปทรงเป็นประธานในพิธีหรืออาจจะทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มีผู้แทนพระองค์ไปแทนก็ได้ พูดง่ายๆคือถ้าเป็นพระราชพิธี จะเป็นงานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกำหนดเอง ส่วนรัฐพิธี รัฐบาลจะเป็นฝ่ายกำหนด แล้วขอพระราชทานอัญเชิญเสด็จฯ ซึ่งรัฐพิธีในปัจจุบันที่คณะรัฐมนตรีและบุคคลสำคัญต้องไปเฝ้าฯ ได้แก่ วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (วันกองทัพไทย) วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและวันที่ระลึกมหาจักรีบรม ราชวงศ์ วันปิยมหาราช และวันรัฐธรรมนูญ เป็นต้น
พิธี หมายถึง งานทั่วๆไปที่บุคคลจัดขึ้นตามลัทธิ หรือตามแบบอย่างธรรมเนียมประเพณีของสังคมหรือท้องถิ่นนั้นๆ เช่น พิธีแต่งงาน พิธีบวช พิธีศพ เป็นต้น
โดยปกติทั่วไป เมื่อเราจะไปไหนมาไหน ย่อมจะแต่งกายให้เหมาะสมกับกาลเทศะหรืองานที่จะไปอยู่แล้ว แต่สำหรับบุคคลที่มีหน้าที่เข้าเฝ้าฯ ในงานพระราชพิธี หรือรัฐพิธี เช่น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่หรือผู้เกี่ยวข้อง เมื่อจะเข้าเฝ้าฯยิ่งจำเป็นต้องศึกษารายละเอียดของการแต่งกายให้ถี่ถ้วนตาม ที่กำหนดในหมายกำหนดการ หรือหมายรับสั่งของสำนักพระราชวัง(เป็นหมายสั่งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการพระราช พิธีเป็นการภายใน ซึ่งผู้สั่งคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) หรือกำหนดนัดหมายในส่วนของราชการนั้นๆเองให้ถูกต้องด้วย เพื่อมิให้ผิดแบบแผนหรือธรรมเนียมปฏิบัติ ซึ่งโดยทั่วไป การแต่งกายเข้าเฝ้าฯ จะกำหนดเป็นเครื่องแบบพิธีการ อยู่ ๓ แบบคือ ดังนี้
เครื่องแบบปกติขาว ซึ่งจะเป็นเครื่องแบบที่ประชาชนและข้าราชการเองคุ้นชินที่สุด เพราะเห็นและสวมใส่บ่อยในงานพระราชพิธี และรัฐพิธีต่างๆ มีรูปแบบคือ
บุรุษ จะเป็นเสื้อคอปิด แขนยาวสีขาว มีกระเป๋าที่อกเสื้อสองข้างและมีใบปกกระเป๋า สวมกางเกงขายาวแบบราชการสีขาว ใช้กระดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดใหญ่ ๕ เม็ด รองเท้าหนังหุ้มส้น หรือจะเป็นวัตถุเทียมหนังสีดำก็ได้ ชนิดผูก และสวมถุงเท้าสีดำ
สตรี สวมเสื้อนอกคอแบะสีขาว แบบคอแหลม กระดุม ๕ เม็ด หรือคอป้าน กระดุม ๓ เม็ด กระดุมแบบเดียวกับบุรุษแต่ขนาดเล็กกว่า มีกระเป๋าเจาะด้านล่าง ๒ ข้าง สวมเสื้อเชิ้ตแขนยาวสีขาวภายใน ผูกผ้าพันคอสีดำเงื่อนกลาสี (ผูกเนคไทดำ) กระโปรงขาวยาวคลุมเข่า ใช้รองเท้าหนังหุ้มส้นสีดำ หรือวัตถุเทียมหนังสีดำแบบปิดปลายเท้า ไม่มีลวดลาย และสวมถุงเท้ายาวสีเนื้อ
ทั้งนี้ การประดับแพรแถบย่อของเครื่องราชอิสริยาภรณ์จะอยู่ที่อกเสื้อเบื้องซ้าย ถ้าหากหมายกำหนดการกำหนดให้แต่งปกติขาวประดับเหรียญ ก็ให้ประดับเหรียญอิสริยาภรณ์ เช่น เหรียญรัชดาภิเษก เหรียญรัตนาภรณ์ เป็นต้น และไม่ต้องประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์อื่น สำหรับเครื่องหมายสังกัดของแต่ละหน่วยงาน ให้ติดที่ปกคอเสื้อ เช่น กระทรวงวัฒนธรรมเป็นรูปบุษบก ส่วนอินทรธนูติดที่บ่า
เครื่องแบบเต็มยศ ลักษณะและส่วนประกอบเหมือนเครื่องแบบปกติขาว ยกเว้นกางเกงและกระโปรงให้ใช้สีดำ และประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (สวมสายสะพาย ถ้ามี)
เครื่องแบบครึ่งยศ ลักษณะและส่วนประกอบเหมือนเครื่องแบบเต็มยศ แต่ไม่ต้องสวมสายสะพาย
หากเป็นข้าราชการนอกประจำการ ให้แต่งกายตามหมายกำหนดการหรือหมายรับสั่งของสำนักพระราชวัง โดยมีลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับขณะประจำการ เพียงแต่ให้ติดเครื่องหมาย นก (นอ –กอ อันหมายถึงนอกประจำการ ทำด้วยโลหะโปร่งสีทอง สูง ๒ ซม.)ที่ปกคอเสื้อด้านหน้าข้างขวา
อนึ่ง ผู้ที่มิใช่ข้าราชการ และไม่อยู่ในกฎหมายหรือข้อบังคับของทางราชการให้มีเครื่องแบบเฉพาะการแต่ง กายเข้าเฝ้าฯในโอกาสต่างๆ สามารถแต่งกายด้วยเครื่องแบบพิธีการ คือ
บุรุษ ให้แต่งกายด้วยชุดขอเฝ้าเต็มยศ ชุดขอเฝ้าครึ่งยศ ชุดขอเฝ้าปกติขาวแล้วแต่กรณี ลักษณะคือ เสื้อนอกเป็นเสื้อคอปิดสีขาวแบบราชการ แนวเสื้อมีกระดุมสีทองขนาดใหญ่ ๕ เม็ด กางเกงขายาวแบบสากลไม่พับปลายขา โดยมีเครื่องประกอบชุดคือ ดุมเสื้อ (เป็นดุมเกลี้ยงทำด้วยโลหะสีทอง) แผ่นทาบคอ (พื้นกำมะหยี่สีดำ มีกิ่งชัยพฤกษ์ประกอบด้วยใบข้างละ ๕ ใบ ปักด้วยดิ้นสีทอง และที่กึ่งกลางมุมแหลมติดดุมโลหะสีทองขนาดเล็กข้างละ ๑ เม็ด) ไม่มีอินทรธนูติดบ่า ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามที่ได้รับพระราชทานหรือตามที่กำหนดในหมายฯ ซึ่งชุดนี้เองที่เรามักเห็นบุคคลอื่น ที่มิได้เป็นข้าราชการแต่งกันในงานพิธีการต่างๆ เช่น ชุดที่นายพานทองแท้ ชินวัตร สวมในวันที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๙ มีนาคมที่ผ่านมา เป็นต้น
ส่วน สตรีให้แต่งชุดไทยจิตรลดา ชุดไทยอมรินทร์ และชุดไทยบรมพิมานประดับด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือแต่งชุดไทยเรือนต้น ไทยจิตรลดา ไทยอมรินทร์ และไทยบรมพิมานประดับดุมเสื้อเครื่องราชอิสริยาภรณ์แล้วแต่กรณี
โดยทั่วไป การแต่งกายสำหรับงานพระราชพิธี และรัฐพิธีนั้น จะมีเขียนไว้ในหมายกำหนดการว่าให้แต่งกายแบบไหนและประดับเครื่องราช อิสริยาภรณ์แบบใดไว้ด้วย เช่น พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน จะมีกำหนดว่า เครื่องแบบเต็มยศ สายสะพายมหาจักรี หรือมงกุฎไทย เป็นต้น ก็แต่งตามที่กำหนด หรือสูงสุดเท่าที่มี
ในการแต่งกายเต็มยศเข้าเฝ้าฯนี้ หลายคนอาจจะสงสัยว่าบางท่านทำไมสวมสายสะพายสีเหลือง บางท่านก็สีชมพูหรือบางท่านก็สีอื่นๆ แล้วยังสะพายเฉียงไปทางขวาบ้าง ซ้ายบ้าง ที่เป็นเช่นนี้เพราะสายสะพายและแพรแถบแต่ละตระกูลก็มีสีและมีความหมายเฉพาะ ไม่เหมือนกัน เช่น สายสะพายจักรี จะเป็นสีเหลือง ซึ่งเป็นสีประจำพระบรมราชวงศ์ เป็นต้น ส่วนการประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ก็มีระเบียบที่ระบุไว้ชัดเจนว่าต้อง ประดับอย่างไร เช่น ผู้ที่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ม.ป.ช.(มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก)และ ม.ว.ม.(มหาวชิรมงกุฏ) หากในหมายฯกำหนดให้แต่ง เต็มยศช้างเผือก ก็ต้องแต่งชุดเต็มยศ โดยสวมสายสะพายมหาปรมาภรณ์ช้างเผือกตามที่กำหนด โดยสะพายจากบ่าซ้ายเฉียงไปขวา แล้วประดับดาราม.ป.ช.และม.ว.ม.ที่ได้รับตรงอกเสื้อเบื้องซ้าย เป็นต้น แต่ถ้าในกรณีบอกให้แต่งเต็มยศแล้วไม่ระบุสายสะพายตระกูลใด ให้สวมสายสะพายชั้นสูงสุดที่ได้รับ ยกเว้นกำหนดไว้ว่า ให้แต่งเต็มยศ และระบุสายสะพายตระกูลอื่นๆ เช่น เต็มยศจักรี ก็ให้สวมสายสะพายมหาจักรี ตามที่กำหนด หากไม่มีสายสะพายตามที่ว่า ให้สวมสายสะพายที่ได้รับพระราชทานชั้นสูงสุดแทน
ที่กล่าวมาข้างต้น เป็นเพียงตัวอย่างที่ยกมาเพียงสังเขป ซึ่งหวังว่าคงจะทำให้ท่านได้เข้าใจการแต่งกายเข้าเฝ้าฯมากขึ้นพอสมควร หรือหาอ่านรายละเอียดได้ในหนังสือเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของสำนักนายก รัฐมนตรี
……………………………….
อมรรัตน์ เทพกำปนาท
กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม. http://www.culture.go.th/knowledge/study.php?&YY=2548&MM=4&DD=11

วันที่ขึ้นเนื้อหา: 03 กุมภาพันธ์ 2553
http://www.m-culture.go.th/detail_page.php?sub_id=443

-----------------------------------

ตัวอย่างชุดขอเข้าเฝ้า


















http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9480000034130






















http://star.sanook.com/gossip/gossip_13470.php
-----------------------------------

ชุดปกติขาว



เครื่องแบบปกติขาว สุภาพบุรุษ มีรายละเอียดดังนี้

- เสื้อคอปิดสีขาวแขนยาว มีกระเป๋าที่อกเสื้อทั้งสองข้าง กระเป๋ามีใบปกกระเป๋า
-กางเกงขาวแบบราชการขายาว
-เสื้อใช้กระดุมโลหะสีทองตราคุรฑพ่าห์ ขนาดใหญ่ 5 เม็ด
-รองเท้าหนังหุ้มส้นหรือวัตถุเทียมหนังสีดำ
-ถุงเท้าสีดำ
-ประดับแพรแถบย่อตามเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่อกเสื้อเบื้องซ้ายเหนือปกกระเป๋า
-เครื่องหมายแสดงสังกัดตามกระทรวงที่สังกัด อินทรธนูตามวิทยฐานะ

ที่มา :http://web.ruammid.com/go.php?url=http://www.bkk.in.th/Topic.aspx?TopicID=18345
-----------------------------------

การประดับเหรียญ และแพรแถบย่อ

แพรแถบย่อ คือ ส่วนลักษณะของแพรแถบที่มาพร้อมกับเหรียญที่ระลึกที่ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดสร้างเหรียญขึ้นตามโอกาศมงคลต่างๆ โดยทั่วไปในหนึ่งชั้นจะประดับแพรแถบ 3 เหรียญที่ระลึก…จะใช้ประดับชุดปกติขาวในงานพิธีการหรือชุดปฏิบัติงาน (ชุดกากี) ก็ได้


ส่วนของเหรียญที่ระลึกประดับแพรแถบจะใช้ประดับที่ อกซ้ายชุดปกติขาวแบบเต็มยศ



ส่วนเงื่อนไขในการประดับเหรียญที่ระลึก และแพรแถบย่อมีดังนี้

1. ผู้ที่มีสิทธิ์ประดับเหรียญที่ระลึก และแพรแถบย่อได้จะต้องเกิดก่อนปี พ.ศ. ที่ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีจัดสร้างเหรีญที่ระลึกนั้น ๆ ขึ้น ยกตัวอย่างผมเกิด ปี พ.ศ. 2527 ก็จะสามารถประดับเหรียญที่ระลึก หรือ แพรแถบได้ จำนวน 8 เหรียญ

2. การประดับเหรียญที่ระลึกสามารถประดับกี่เหรียญก็ได้ตามที่เรามีสิทธิ์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความความสวยงาม เช่นเดียวกับกับแพรแถบย่อ เราสามารถสั่งทำได้

3. ในการประดับเหรียญที่ระลึกและแพรแถบย่อต้องเรียงลำดับตามปี พ.ศ. อดีต – ปัจจุบัน

แต่เท่าที่เห็นเหล่าข้าราชการทุกท่านที่ประดับมักประดับตามใจเสียมากกว่า หรือไม่ก็ไม่เข้าใจในรายละเอียด เมื่อเราเข้าใจแล้วก็เห็นควรประดับให้ถูกต้องจะเป็นการดีที่สุดครับ….

ข้อมูลจาก :http://web.ruammid.com/go.php?url=http://www.bkk.in.th/Topic.aspx?TopicID=18345
----------------------------------- FfF