บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


25 กันยายน 2556

<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง เขื่อนแม่วงก์ >>>



9 เรื่องที่คุณควรรู้เกี่ยวกับเขื่อนแม่วงก์

เรียบเรียง: ดร. นณณ์ ผาณิตวงศ์ @ siamensis.org
ข้อมูลจาก: มูลนิธิสืบนาคะเสถียร และ มูลนิธิโลกสีเขียว

1.        ข้อมูลทั่วไป: เขื่อนแม่วงก์มีลักษณะเป็นเขื่อนหินทิ้งแกนดินเหนียวขนาดใหญ่ ความยาว 730 เมตร กว้าง 10 เมตร สูง 57 เมตร พื้นที่อ่างเก็บน้ำประมาณ 13,000 ไร่ อยู่ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จ.กำแพงเพชรและจ.นครสวรรค์ปริมาณกักเก็บน้ำ 250 ล้านลูกบาศก์เมตร

 
2.        ประมาณการค่าก่อสร้างของเขื่อนแม่วงก์เมื่อปี 2525 อยู่ที่ 3,761 ล้านบาท 2551 มีมูลค่า 7,000 ล้านบาท ในเว็บไซด์ของกรมชลประทานในวันที่ 31 สิงหาคม 2554 ระบุว่ามีมูลค่า 9,000 ล้านบาท แต่ เมื่อมีการอนุมัติงบประมาณ เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2555 มีมูลค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 13,000 ล้านบาท

3.        ถึงแม้ว่าพื้นที่น้ำท่วมจะเป็นแค่ 2% ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ หรือ 0.12% ของป่าตะวันตกทั้งหมด แต่พื้นที่ตรงนี้เป็นป่าที่ราบต่ำริมน้ำซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญในการหากินและขยายพันธุ์ของสัตว์ป่าในฤดูแล้ง ในปัจจุบันประเทศไทยเหลือป่าในพื้นที่ราบอยู่น้อยมาก สัตว์ป่าบางชนิด เช่น นกยูง ไม่สามารถบินขึ้นไป อาศัยอยู่บนเขาได้อย่างที่นักการเมืองเข้าใจ แต่นกยูง ต้องการลานหิน ลานทราย ริมน้ำเพื่อการ ป้อตัวเมีย ไม่สามารถไปกางหางอวดในป่ารกทึบได้ จากการสอบถามเจ้าหน้าที่อุทยานฯพบว่าป่าที่นักการเมืองกล่าวอ้างว่าเป็นป่าใหม่มีอายุไม่ถึง 30 ปีมีอยู่เพียงไม่กี่พันไร่ แต่ป่าด้านใน เป็นป่าไม้ที่สมบูรณ์มาก ในการสร้างเขื่อน ต้องทำการตัดไม้ออกจากพื้นที่ให้มากที่สุดเพื่อป้องกันน้ำเน่าเสีย น่าสนใจว่าไม้ขนาดใหญ่ (ซึ่งรวมถึงต้นสักด้วย) จะตกเป็นผลประโยชน์ของใคร 

 
ภาพจาก: sky report
4.        การก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ จะทำให้สูญเสียพื้นที่ป่าไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ไม่น้อยกว่า 13,000 ไร่ เป็นไม้ใหญ่ประมาณ 500,000 ต้น ซึ่งในจำนวนนี้มีไม้สักประมาณ 50,000 ต้น กล้าไม้อีก 10,000 ต้น หรือเปรียบ เทียบได้ว่าพื้นที่ป่า 1 ไร่ ที่จะถูกน้ำท่วมจะมีไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ 80 ต้นเป็น ไม้สัก 13 ต้น ลูกไม้ 576 ต้น และกล้าไม้อีก 1,880 ต้น จากการคำนวณพื้นที่ป่าที่จะสูญเสียไป จากการสร้างเขื่อนแม่วงก์ เมื่อคำนวณเป็น ปริมาณคาร์บอนที่ต้นไม้สามารถดูดซับไว้ได้นั้น หากมีการสร้างเขื่อนแม่วงก์ ประเทศไทยจะสูญเสียพื้นที่ที่ สามารถดูดซับคาร์บอนได้ประมาณ 10,400 ตันคาร์บอน ป่าแม่วงก์มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างน้อย 549 ชนิด และมีปลาอาศัยอยู่ในลำน้ำ 64 ชนิด (ใน EIA รายงานไว้ 61 แต่สำรวจเจอเพิ่มจากการลงพื้นที่อีก 3 ชนิด) ในจำนวนนี้มีเพียง 8 ชนิด หรือ 13% ที่สามารถผสมพันธุ์ในแหล่งน้ำนิ่งในอ่างเหนือเขื่อนได้นอกนั้นต้องอาศัยพื้นที่น้ำไหลหรือน้ำหลากซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ






5.        จากเว็บไซด์ของกรมชลประทาน ลุ่มน้ำแม่วงก์มีพื้นที่รับน้ำฝน (water shed) 1,113 ตารางกิโลเมตร มีน้ำท่า 569 ล้าน ลูกบาศก์เมตร หรือมีน้ำ 0.52 ล้าน ลบ.ม./1 ตร.กม. ของพื้นที่รับน้ำ เมื่อเปรียบเทียบกับลุ่มน้ำทับเสลาซึ่งมีเขื่อนทับเสลาอยู่แล้ว ซึ่งมีพื้นที่รับน้ำฝน 534 ตร.กม. แต่มีน้ำท่า 124 ล้าน ลบ.ม. หรือมีน้ำ 0.23 ล้าน ลบ.ม./1 ตร.กม. ข้อสังเกตคือ พื้นที่ใกล้ๆกัน เขื่อนทับเสลาอยู่ทางใต้ของแม่วงก์เพียง 40 กม.ทำไมพื้นที่รับน้ำของเขื่อนแม่วงก์(ต่อตร.กม.)จึงมีน้ำมากกว่าพื้นที่รับน้ำของเขื่อนทับเสลาสองเท่ากว่าทั้งๆที่อยู่ในแนวเขาเดียวกัน ปริมาณฝนตกไม่น่าจะแตกต่างกันมากนัก ทั้งนี้ปีพ.ศ.2554 ซึ่งเป็นปีที่มีน้ำมาก เขื่อนทับเสลามีปริมาณน้ำในอ่างเพียง 49 ล้าน ลบ.ม. หรือ 31% ของความจุ และในปัจจุบัน ณ วันที่ 5 พค. 2555 ซึ่งเป็นปลายฤดูแล้งที่ควรจะมีการจัดส่งน้ำให้ทำการเกษตรในหน้าแล้ง ปรากฏว่ามีน้ำในอ่างที่ใช้การได้จริงเพียง 34 ล้าน ลบ.ม. หรือ 21% ของความจุเท่านั้น
ข้อมูลจาก: ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน (http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/rid_bigcm.html)

เขื่อนทับเสลา พค. 2555 (ภาพ: มูลนิธิสืบฯ)
  
6.        การช่วยบรรเทาน้ำท่วม: เขื่อนแม่วงก็มีอัตราการเก็บน้ำสูงสุดที่ 250 ล้าน ลบ.ม. ในขณะที่ปริมาณน้ำที่ท่วมภาคกลางเมื่อปลายปี 2554 มีถึง 16,000 ล้าน ลบ.ม. (ตัวเลขจาก ศปภ.) น้ำที่กักเก็บได้ทั้งหมดของเขื่อนแม่วงก์จึงคิดเป็นเพียงแค่ 2% ของปริมาณน้ำที่ท่วมที่ราบลุ่มภาคกลางในช่วงปลายปี 2554 หรือคิดเป็นปริมาณน้ำที่ไหลเข้าทุ่งเจ้าพระยาในช่วงที่น้ำไหลเข้ามากที่สุดเพียงแค่ ครึ่งวันกว่าเท่านั้น เช่นในวันที่ 21 ตค. 2554 ทีม กรุ๊ป ให้ข่าวว่าปริมาณน้ำที่ไหลเข้าสู่ทุ่งเจ้าพระยามีมากถึงวันละ 419 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนแม่วงก์จึงสามารถช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมภาคกลางได้น้อยมาก นอกจากนั้นแม้แต่พื้นที่ใกล้เคียง เช่น อ.ลาดยาว เขื่อนแม่วงก์ก็ช่วยเรื่องน้ำท่วมหลากได้เพียง 25% เนื่องจากน้ำที่ท่วมอ.ลาดยาวจริงๆแล้วมาจากหลายสาย และเป็นน้ำไหลบ่าจากทุ่ง ไม่ใช่จากน้ำแม่วงก์สายเดียว ทั้งนี้การบริหารจัดการเขื่อน ต้องคงเหลือน้ำไว้ในเขื่อนส่วนหนึ่ง จึงเป็นไปไม่ได้ที่เขื่อนแม่วงก์จะสามารถรับน้ำได้เต็ม 250 ล้าน ลบ.ม. ทุกปี


(ภาพ: มูลนิธิสืบฯ)

7.        รายงานการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม(EIA) ทั้ง 4 ครั้งตั้งแต่ปี 2538, 2541, 2545 และ 2547 ไม่เคยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม ซึ่งระบุให้กรมชลประทานไปหาวิธีจัดการน้ำแบบบูรณาการมากกว่าสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนรายงานการศึกษาฉบับที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบัน มีมูลค่าวงเงินตามสัญญา ประมาณ 15 ล้านบาท ก็มีแนวโน้มไม่โปร่งใส เนื่องจากมีการลัดขั้นตอน ตัดลดจำนวนการลงพื้นที่สำรวจความหลากหลายทางชีวภาพบางรายการ นอกจากนั้นกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังได้มีหนังสือด่วนที่สุดเมื่อวันที่ 23 มีค. 2555 ถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ให้ความเห็นว่าโครงการเขื่อนแม่วงก์ขัดต่อเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติและไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ ป่า และ พันธุ์พืช จะพิจารณาให้ดำเนินการได้


8.        กรมชลประทานระบุว่าเขื่อนแม่วงก์จะสามารถส่งน้ำให้กับพื้นที่ชลประทานในฤดูฝนได้ 291,900 ไร่ พื้นที่ในฤดูแล้ง 116,545 ไร่ จากการลงพื้นที่ ปรากฏว่าในฤดูฝน ชาวบ้านใช้น้ำฝนและน้ำหลากทุ่งในการทำการเกษตรอยู่แล้ว ไม่มีความจำเป็นต้องพึ่งน้ำจากเขื่อนแต่อย่างใด ประโยชน์ของน้ำชลประทานจากเขื่อนจึงเหลือแต่ในฤดูแล้ง ซึ่งจากการคำนวน โดยใช้สมมุติฐานว่า
8.1     ชาวบ้านปลูกข้าวได้                0.75 ตัน/ไร่
8.2     ขายข้าวได้ราคาปกติ               8,000 บาท/ตัน
8.3     ขายข้าวได้ราคาจำนำ(เฉลี่ย)   14,000 บาท/ตัน
8.4     มีต้นทุนการเพาะปลูก             3,000 บาท/ไร่
8.5     ชาวบ้านจะมีกำไร/ไร่              (0.75*8,000)-3,000 = 3,000 บาท/ไร่ (ราคาปกติ)
8.6     ชาวบ้านจะมีกำไร/ไร่              (0.75*14,000)-3,000 = 7,500 บาท/ไร่ (ราคาจำนำ)
8.7     ชาวบ้านในพื้นที่ชลประทานจะมีรายได้เพิ่มขึ้น = 116,545 (ไร่) * 3,000 = 349.64 ล้านบาท (ราคาปกติ)
8.8     ชาวบ้านในพื้นที่ชลประทานจะมีรายได้เพิ่มขึ้น = 116,545 (ไร่) * 7,500 = 874.09 ล้านบาท (ราคาจำนำ)
8.9     ทำให้โครงการมูลค่า 13,000,000,000 บาทมีระยะเวลาคืนทุน 37 ปี และ 15 ปี ตามลำดับ โดยยังไม่คิดถึงค่าใช้จ่ายในการดูแลและซ่อมบำรุงเขื่อนและระบบส่งน้ำ  ทั้งนี้การลงทุนทั่วไปควรมีระยะคืนทุนอยู่ระหว่าง 4-7 ปี และ 7-10 ปีในโครงการขนาดใหญ่ 
8.10  เขื่อนแม่วงก์จะมีค่า IRR ในกรณีข้าวราคาปกติที่ -5% ในระยะเวลา 20 ปี และ 3% ในระยะ 20 ปีที่ราคาจำนำ ทั้งนี้ในปัจจุบัน การลงทุนส่วนใหญ่ควรมีค่า IRR ในช่วงระยะเวลา 10 ปีอยู่ระหว่าง 5-10% จึงจะถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า (การคำนวนยังไม่ได้นำค่าใช้จ่ายในการดูและและซ่อมบำรุงเขื่อนและระบบส่งน้ำเข้ามารวม) 
หมายเหตุ: ตัวเลขจากกรมชลประทานระบุว่าจะเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่ได้ประมาณ 720 ล้านบาท/ปี คิดเป็น ระยะเวลาคืนทุน 18 ปี IRR เมื่อ 20 ปี =1%

(ขยายความเรื่อง IRR: หมายถึง ผลตอบแทนการลงทุนของกระแสเงินชุดหนึ่ง ส่วนใหญ่แล้วเริ่มต้นด้วยงบลงทุน เป็นตัวเลขติดลบ ตามด้วยผลตอบแทนที่จะได้รับในแต่ละปี ในกรณีของเขื่อนแม่วงก์ ถ้าหากใช้ตัวเลขของกรมชลประทานว่าจะได้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้นปีละ 720 ล้านบาท/ปี โดยลบเงินลงทุนที่ 13,000 ล้านในปีแรก พบว่าในระยะเวลา 18 ปี ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยเพียงปีละ 1% ทั้งนี้ในปัจจุบันดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ประมาณ​ 2.5-3.5% จะเห็นว่าเงินลงทุนสร้างเขื่อนแม่วงก์ หากเอาไปฝากธนาคารไว้เฉยๆ ยังได้ผลตอบแทนคุ้มค่ากว่าประมาณ 2.5-3.5 เท่า)  

(หมายเหตุเพิ่มเติม: รัฐบาลบอกว่าโครงการนี้จะใช้เงินกู้ประมาณ 9,000 ล้านบาท ทั้งนี้ปัจจุบันอัตราพันธบัตรรัฐบาลอายุ 20 ปี ให้ผลตอบแทนประมาณ 5.5-6% ต่อปี ในขณะที่ผลตอบแทนของโครงการนี้ในระยะ 18 ปีอยูที่ 1% เท่านั้น ซึ่งหมายความว่าโครงการนี้เป็นโครงการลงทุนที่ไม่คุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์)  

9.        ผมโพล 7 สี ถามคนในจ.นครสวรรค์ว่าต้องการให้สร้างเขื่อนแม่วงก์หรือไม่ปรากฏว่ามี 22.7% ต้องการเขื่อน 32.5% ต้องการเขื่อนถ้าไม่มีผลกระทบโดยรวม และ 34.2% ไม่ต้องการเขื่อน ในขณะที่ 10% ไม่แน่ใจ แสดงให้เห็นว่า คนในพื้นที่เองส่วนใหญ่แล้วก็ยังไม่ต้องการเขื่อนเลยหรือไม่ต้องการถ้าส่งกระทบต่อส่วนรวม ทั้งนี้ป่าไม้ มิได้เป็นสมบัติของคนในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง แต่เป็นสมบัติของคนทั้งชาติ ที่มีการใช้ “บริการทางอ้อม” จากป่าไม้ร่วมกัน เช่นใช้เป็นแหล่งผลิตออกซิเจน แหล่งกักเก็บน้ำ แหล่งอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น การจะทำลายป่าไม้จึงต้องคำนึงถึง “คนนอกพื้นที่” ด้วยว่าเห็นด้วยหรือไม่  


ลำน้ำแม่วงก์บริเวณที่จะมีการสร้างเขื่อนแม่วงก์
http://www.siamensis.org/node/35660
    ---------------------------------------------------------

    คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้

    ๑. เห็นชอบในหลักการการดำเนินงานโครงการเขื่อนแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้

๑.๑ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทานเริ่มดำเนินการโครงการเขื่อนแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ ระยะเวลาดำเนินการโครงการทั้งสิ้น ๘ ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๖๒) วงเงินโครงการทั้งสิ้น ๑๓,๒๘๐.๔๔๕ ล้านบาท โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นการดำเนินการสำรวจธรณี ปฐพีวิทยา สภาพภูมิประเทศ รังวัด ปักหลักเขต ซึ่งกรมชลประทานจะเจียดจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีมาใช้เพื่อดำเนินการตามความเหมาะสม

๑.๒ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการตามแผนปฏิบัติการป้องกันแก้ไขและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม และติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด
๑.๓ ให้สำนักงบประมาณรับไปพิจารณาจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานโครงการให้เป็นไปตามเป้าหมายและระยะเวลาที่กำหนด

๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดทำรายละเอียดต่าง ๆ ของโครงการที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจนครบถ้วน เช่น แผนปฏิบัติการของโครงการ การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โครงการ การดำเนินการเกี่ยวกับมวลชน และแผนการเงินของโครงการ เป็นต้น แล้วนำเสนอคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) พิจารณาตามขั้นตอนตามนัยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๕ ต่อไป ทั้งนี้ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาที่ดิน (กรมพัฒนาที่ดิน) เกี่ยวกับการดำเนินโครงการควรคำนึงถึงสภาพตามธรรมชาติและความเป็นจริงโดยรับฟังความคิดเห็นและทำความเข้าใจกับประชาชนผู้ที่ได้รับประโยชน์และผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการ การให้ความสำคัญกับการจัดทำและปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการป้องกันแก้ไขและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม และติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด การพิจารณาหาแนวทางให้มีการจ้างงานแรงงานในพื้นที่เพื่อให้แรงงานในพื้นที่มีงานทำและมีรายได้เพิ่มขึ้น การจัดหาและบริหารแหล่งน้ำขนาดเล็กในระดับชุมชนภายในพื้นที่รับประโยชน์ของโครงการเพื่อรองรับน้ำหลากและเป็นแหล่งน้ำสำรอง การศึกษาสภาพทางธรณีวิทยาในพื้นที่โครงการโดยเฉพาะในเชิงลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาเพื่อเป็นข้อมูลในการออกแบบทางวิศวกรรมโยธา รวมทั้งการวางแผนป้องกันแก้ไขและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม สุขภาพ คุณภาพชีวิต และทุนทางสังคม การวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการ (Sensitivity Analysis) อันเนื่องมาจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่อาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนและผลประโยชน์ของโครงการในระยะยาวเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาความเหมาะสมโครงการ เป็นต้น ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการด้วย

๓. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการจัดเตรียมความพร้อมของโครงการคู่ขนานกันไปได้ เช่น การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและการศึกษาสำรวจด้านวิศวกรรม เป็นต้น

http://www.cabinet.soc.go.th/soc/Program2-3.jsp?top_serl=99302609&key_word=&owner_dep=&meet_date_dd=10&meet_date_mm=04&meet_date_yyyy=2555&doc_id1=&doc_id2=&meet_date_dd2=&meet_date_mm2=&meet_date_yyyy2=

-----------------------------------------------------------------

ลำดับเหตุการณ์ การสร้างเขื่อนแม่วงก์

อีเมลพิมพ์PDF
เขื่อนแม่วงก์ปี .. 2532 การประชุมคณะรัฐมนตรีส่วนภูมิภาคที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 13พฤษภาคม .. 2532 ได้มีมติให้กรมชลประทานดำเนินการศึกษาประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการ โดยกรมชลประทานได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ศึกษาด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการในส่วนที่ไม่ซ้ำซ้อนกับผลงานของ JICA

มกราคม .. 2534 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และแผนแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม (E.I.M.P) แล้วเสร็จในเดือนมกราคม .. 2534 และเดือนกุมภาพันธ์ .. 2537 ตามลำดับ

กันยายน .. 2537 มติที่ประชุมคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ (คชก.) ครั้งที่ 7/2537 วันที่ 2 กันยายน .. 2537 ให้กรมชลประทานศึกษาเพิ่มเติมโดยให้ศึกษาเปรียบเทียบผลกระทบสิ่งแวดล้อมบริเวณเขาชนกันด้วยเนื่องจากในการศึกษาความเหมาะสมของโครงการพบว่าที่ตั้งโครงการบริเวณเขาชนกันจะให้ผลตอบแทนสูงกว่าบริเวณเขาสบกก


ปี .. 2540 กรมชลประทานได้ว่าจ้างบริษัท พอล คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท ครีเอทีฟ เทคโนโลยี จำกัด (สัญญาเลขที่ . 86/2539 ลงวันที่ 12 กันยายน .. 2539) ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (เพิ่มเติมโครงการแม่วงก์ ตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.)ครั้งที่ 8/2539 แล้วเสร็จ และได้จัดส่งรายงานฯ ให้สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) พิจารณาต่อไป

23 มกราคม .. 2541 มติที่ประชุม คชกครั้งที่ 1/2541 “ไม่เห็นชอบกับการดำเนินโครงการแม่วงก์

มีนาคม .. 2541 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้มีมติ ครั้งที่ 2 ให้กรมชลประทานดำเนินการ 3 ประการฯ คือ 1) จัดทำประชาพิจารณ์2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อนิเวศวิทยาทั้งทางตรงและทางอ้อม 3) ประเมินต้นทุนทางด้านสิ่งแวดล้อมและเปรียบเทียบผลประโยชน์ของทางเลือกต่างๆ ทั้งนี้ตามมติที่ประชุม กก.วลครั้งที่ 3/2541 ได้มีมติดังนี้
1. ให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมโดยสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมรวบรวมความเห็นของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ต่อการพิจารณารายงานโครงการเขื่อนแม่วงก์ในประเด็นที่ยังไม่ชัดเจนและจำเป็นจะต้องมีข้อมูลเพื่อแจ้งให้กรมชลประทานดำเนินการจัดทำและนำมาประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นดังนี้
(1) ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อนิเวศวิทยาทั้งทางตรงและทางอ้อม
(2) การประเมินต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อม โดยจะต้องรวมมูลค่าระบบนิเวศวิทยาของทรัพยากรป่าไม้ และสัตว์ป่าที่จะได้รับผลกระทบจากโครงการมารวมเป็นต้นทุนโครงการ เพื่อการวิเคราะห์ผลประโยชน์ตอบแทนของโครงการทั้งหมด
(3) เปรียบเทียบการวิเคราะห์ผลประโยชน์ ต้นทุนของโครงการเขื่อนทั้ง 2 บริเวณ รวมทั้งการเปรียบเทียบต้นทุนของการสร้างฝายและการสร้างที่เก็บกักน้ำ และการจัดการทำในรูปแบบอื่นๆ แทนการสร้างเขื่อนตามที่เสนอไว้

2. ให้กรมชลประทานจัดทำประชาพิจารณ์โครงการเขื่อนแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยประสานกันกับสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม
3. ให้นำข้อมูลทั้งหมดเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเพื่อพิจารณาประกอบการตัดสินใจต่อไป

สิงหาคม .. 2542 ในวันที่ 19 สิงหาคม .. 2542 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีคำสั่งที่ 359/2542 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการประชาพิจารณ์โครงการเขื่อนแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ (ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ .. 2539)

มกราคม .. 2543 คณะกรรมการประชาพิจารณ์โครงการเขื่อนแม่วงก์ ได้จัดการประชาพิจารณ์ขึ้น  ศูนย์วิทยพัฒนาบริการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เมื่อวันที่ 14-15 มกราคม .. 2543 มีผู้สนใจส่งแบบคำขอลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมประชาพิจารณ์ จำนวน 8,100 คน และคณะกรรมการประชาพิจารณ์ฯ ได้กำหนดหลักเกณฑ์คัดเลือกผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์แล้ว มีผู้เข้าร่วมได้จริงจำนวน 564 คน

27 พฤศจิกายน .. 2543 เลขาธิการคณะรัฐมนตรี(นายวิษณุ เครืองามได้มีหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนมาก ที่ 0205/15613แจ้งให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาทบทวนโครงการเขื่อนแม่วงก์ ตามความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องอีกครั้งหนึ่ง โดยที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีความเห็นสอดคล้องกันอันเป็นสาระสำคัญว่า โครงการเขื่อนแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ ควรผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ .. 2535 ก่อน ประกอบกับรายละเอียดของโครงการยังไม่สามารถให้ความชัดเจนได้ว่า ผลของการดำเนินงานตามโครงการดังกล่าว จะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้โดยไม่มีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่

25 กุมภาพันธ์ .. 2545 กรมชลประทานได้มีหนังสือที่ กษ 0324/0924 แจ้งให้ สผพิจารณานำข้อมูล (ตามมติ กก.วลครั้งที่ 3/2541 ข้อที่ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อนิเวศวิทยาฯ การประเมินต้นทุนทางด้านสิ่งแวดล้อม และเปรียบเทียบการวิเคราะห์ผลประโยชน์เสนอ กก.วลเพื่อพิจาณาประกอบการตัดสินใจต่อไป

24 ธันวาคม .. 2545 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีมติครั้งที่ 3 ยังไม่เห็นชอบต่อรายงานการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและให้กรมชลประทานหาทางเลือกของที่ตั้งโครงการ และศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องการบริหารการจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบในลักษณะบูรณาการ

25 มีนาคม .. 2546 ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายปลอดประสพ สุรัสวดีในฐานะเลขานุการ กก.วลได้มีหนังสือที่ ทส 1008/2081 แจ้งให้กรมชลประทานทราบ มติที่ประชุม กก.วลครั้งที่ 10/2545 วันที่ 24 ธันวาคม 2545 ดังนี้ ยังไม่เห็นชอบกับรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการเขื่อนแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ และมอบหมายให้กรมชลประทาน ไปหาทางเลือกของที่ตั้งโครงการฯ และทำการศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องการบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบในลักษณะบูรณาการ แล้วนำเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เพื่อพิจาณาอีกครั้งหนึ่ง

กุมภาพันธ์ .. 2547 สผแจ้งผลการศึกษาเพิ่มเติมของกรมชลประทาน ตามหนังสือที่ ทส 1009/1307 ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ .. 2547แจ้งให้กรมชลประทานทราบว่าได้พิจารณารายงานฯ แล้วมีความเห็นว่า การนำเสนอข้อมูลในรายงานเป็นการรวบรวมข้อมูลที่ได้มีการศึกษามาแล้วในอดีตของโครงการเขื่องแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ แต่ไม่ได้นำเสนอการบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบ ในลักษณะบูรณาการเพื่อแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะปัญหาทรัพยากรน้ำในพื้นที่แต่ประการใด การเสนอทางเลือกที่ตั้งโครงการเป็นการเสนอทางเลือกเดิมที่เคยเสนอไว้ และการเสนอข้อมูลไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ กก.วลจึงขอความร่วมมือกรมชลประทานทำการปรับปรุง และเพิ่มเติมข้อมูลเพื่อความครบถ้วนสมบูรณ์ และชัดเจนก่อนที่ สผจะเสนอให้ กก.วลพิจารณาต่อไป

ธันวาคม .. 2547 มติที่ประชุม กก.วลครั้งที่ 7/2547 มีมติดังนี้
1. ให้กรมชลประทานประสานการดำเนินการวางแผนบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำแม่วง ให้สอดคล้องกับแผนการบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำสะแกกรังของคณะอนุกรรมการลุ่มน้ำสะแกกรัง เพื่อหาข้อยุติในการบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบในลักษณะบูรณาการ โดยพิจารณาให้มีผลกระทบต่อทรัพยากรป่าไม้ และสัตว์ป่าในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ตลอดจนความขัดแย้งกับราษฎรน้อยที่สุด และเมื่อได้ข้อสรุปแล้วให้เสนอคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ด้านโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ พิจาณาให้ความเห็นก่อนนำเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมต่อไป

2. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำวิธีการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงกลยุทธ์ (SEA: Strategic Environmental Assessment) มาใช้ในการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้วย

27 กันยายน .. 2550 กรมชลประทานได้ลงนามในสัญญาว่าจ้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อดำเนินการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงกลยุทธ์ (SEA) โครงการเขื่อนแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์งบประมาณจำนวน 7,000,000 บาท ระยะเวลาดำเนินการ 8 เดือน โดยคาดว่าจะเริ่มงานได้ในวัน 5 ตุลาคม .. 2550

10 เมษายน .. 2555 มีมติคณะรัฐมนตรี อนุมัติให้ดำเนินโครงการสร้างเขื่อนแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้ง โดยจะใช้งบประมาณก่อสร้างทั้งสิ้น 13,280 ล้านบาท ใช้ระยะเวลาก่อสร้างถึง 8 ปี โดยผูกพันงบประมาณถึงปีงบประมาณ 2562



-----------------------------------------------------------------
FfF