บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


18 เมษายน 2552

<<< ข้อมูลฐานะการคลังไทยในวันนี้ ก่อนที่อีก 3-4 ปีจะมีหนี้เพิ่มอีกเท่าตัว >>>
























เก็บไว้เป็นหลักฐาน
อีกปีสองปีหรือสามปีมาเทียบดูอีกที
จะพบว่ามันจะเพิ่มมหาศาลเท่าตัวแน่ๆ
อีก 3 ปีข้างหน้า
รัฐบาลจะต้องกู้หรือเป็นหนี้เพิ่มอีก 2.2 ล้านบาท
หลัง 3 ปีใช่ว่าจะเลิกกู้ก็กู้อีกไปเรื่อยๆ แน่ๆ
แล้วไปดูยอดหนี้ตั้งแต่ตั้งประเทศไทยมาจนสิ้นรัฐบาลที่แล้ว
ประมาณ 2.1 กว่าล้านล้านบาท
เรียกว่านับจากนี้อีก 3 ปี จะมีหนี้เพิ่มอีก 1 เท่าตัว
เทียบกับระยะเวลที่ตั้งประเทศไทยมา
แล้วแสดงว่ามีการใช้เงินในอัตราจรวด
ซึ่งจะคล้ายๆ กับช่วงเปิดเสรีการเงินสมัยรัฐบาล ชวน1
เปิดไม่ถึง 3 ปีเหมือนกัน
จนประเทศไทยมีหนี้เพิ้มโดยเฉพาะภาคเอกชน
รวมกันแล้วมากกว่าตั้งแต่ตั้งประเทศไทยมาเหมือนกัน
แล้วสุดท้ายก็มีปัญหาประจวบกับโดนโจมตีค่าเงิน
เพราะไม่มีความเชื่อมั่นว่าจะเอาตัวรอดได้ถ้ายอดส่งออก 0%
เพราะค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นแต่ขายของเท่าเดิมเปรียบเป็นบริษัทก็ใกล้เจ๊งแหละ
สุดท้ายต้องเข้า IMF และเสียค่าโง่ ปรส.อีกหลายแสนล้าน
บริษัทเจ๊งระเนระนาด
งวดนี้ก็จะคล้ายกับงวดนั้นแต่แรงกว่า
เพราะเป็นหนี้รัฐบาล
โอกาสโดนบีบให้ขายรัฐวิสาหกิจให้ต่างชาติที่เข้ามาพยุงฐานะการเงิน
เหมือนที่อาเจนติน่ามีสูงมาก
และการขึ้นภาษีจะเพิ่มขึ้นมากแน่นอน
ไม่เช่นเอาตัวไม่รอดหนักเข้าไปอีก
เพราะรัฐสวัสดิการแบบยุโรป
ล้วนแล้วแต่เก็บภาษีเงินได้ว่ากันด้วยหลัก 50% ขึ้น
เขาถึงทำรัฐสวัสดิการต่างๆ ได้
ส่วนอาหรับทำได้จากเงินที่ขายน้ำมันจนเหลือไปทำ
แต่ไทยไม่ขึ้นภาษีไม่มีน้ำมันขายมากมายแบบอาหรับ
แล้วจะกู้กู้แล้วก็กู้ต่อไปเรื่อยๆ แบบนี้
รอวันล่มจมได้เลย
เพราะไม่มีใครกู้และให้กู้ไปตลอด
จนไม่ดูฐานะผู้กู้
ว่ามีปัญหาใช้คืนหรือไม่

โดย มาหาอะไร

----------------------------------------------------------------------------------

ไทยรัฐ
จ่อกู้ 2.2 ล้านล้านฟื้นเศรษฐกิจ [14 ม.ค. 52 - 04:51]

ที่ ประชุม ครม.วานนี้ (13 ม.ค.) อนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 18 มาตรการ ด้วยงบประมาณกลางปี 115,000 ล้านบาท ซึ่งจะนำเข้ารัฐสภาวันที่ 28 ม.ค.นี้ ภายใต้ 4 แผนงานคือ แผนงานฟื้นฟูและสร้างความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจ แผนงานส่งเสริมสร้างรายได้ พัฒนาคุณภาพชีวิต และความมั่นคงด้านสังคม แผนงานรองรับกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น และรายจ่ายชดเชยเงินคงคลัง ประกอบด้วย 1. โครงการช่วยเหลือค่าครองชีพ โดยจัดสรรเงินให้ผู้ประกันตน และข้าราชการที่มีรายได้ประจำต่ำกว่า 14,000 บาทต่อเดือน ได้รับเงินช่วยเหลือคนละ 2,000 บาทครั้งเดียวเมื่องบประมาณผ่านสภา เป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม 8 ล้านคน และข้าราชการ 1.45 ล้านคน วงเงินรวม 18,970.4 ล้านบาท

2. โครงการช่วยเหลือคนตกงาน โดยการจัดอบรมผู้ว่างงานเพื่อเพิ่มศักยภาพ เป็นเวลา 6 เดือน ขณะ อบรมได้เงินช่วยเหลือยังชีพเดือนละ 5,000 บาทต่อเดือน วงเงินงบประมาณ 6,900 ล้านบาท ครอบคลุมผู้ว่างงาน 240,000 คน ก่อนขยายเพิ่มในงบประมาณปี 2553 ให้ครบ 500,000 คน 3. โครงการเรียนฟรีจริง 15 ปีตั้งแต่อนุบาล-ม.6 ฟรีค่าเทอม เสื้อผ้า ตำราเรียน และอุปกรณ์การศึกษา ใช้งบประมาณ 19,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ปกครองและนักเรียน 4. โครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน สานต่อกองทุนเอสเอ็มแอล เพื่อสร้างงานและวางรากฐานในชนบท 5. ต่ออายุโครงการ 6 เดือน 5 มาตรการ ทั้งน้ำ-ไฟ-รถเมล์-รถไฟ ที่จะต่ออายุออกไปอีก 6 เดือน แต่ปรับลดการใช้นำประปาฟรี เหลือเดือนละ 30 ลบ. เมตร และใช้ไฟฟ้าฟรีไม่เกินเดือนละ 90 หน่วย ใช้งบ 11,409.2 ล้านบาท

6. โครงการช่วยเหลือเงินยังชีพคนชรา โดยช่วยเหลือคนชราอายุเกิน 60 ปี ที่ไม่อยู่ในระบบสวัสดิการ คนละ 500 บาทต่อเดือน จำนวน 3 ล้านคน รวมเป็นทั้งระบบช่วยเหลือ 5 ล้านคน ใช้งบ ประมาณ 9,000 ล้านบาท 7. ช่วยเหลือค่าครองชีพอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน คนละ 600 บาทต่อเดือน ครอบคลุม 834,075 คน งบประมาณ 3,000 ล้านบาท 8. โครงการจัดทำและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อเกษตรกร สร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก 2,000 ล้านบาท 9. โครงการถนนปลอดฝุ่น ลาดยางทางในชนบท ระยะทาง 490 กม. 1,500 ล้านบาท 10. โครงการจำหน่วยสินค้าราคาถูกให้กับประชาชนรายได้น้อย โดยกระทรวงพาณิชย์ มีเป้าหมายทำให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคมีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนไม่ เอาเปรียบผู้บริโภค รวมทั้งโครงการธงฟ้าลดค่าครอง ชีพวงเงิน 1,000 ล้านบาท

11. โครงการปรับปรุงสถานีอนามัยในชนบท วงเงิน 1,095.8 ล้านบาท 12. โครงการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยให้กับช้าราชการตำรวจชั้นประทวน 532 แห่ง แห่งละ 3.4 ล้านบาท เป็นเงิน 1,808.8 ล้านบาท 13. โครงการลดผลกระทบธุรกิจท่องเที่ยว โดยจะจัดกิจกรรมท่องเที่ยวในประเทศ การสนับสนุนส่งเสริมให้ส่วนราชการจัดสัมมนาต่างจังหวัด รวมทั้งดึงดูดนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ 1,000 ล้านบาท 14. โครงการสนับสนุนอุตสาหกรรมอาหาร และธุรกิจขนาดกลางและขยาดย่อม (เอสเอ็มอี) 500 ล้านบาท 15. โครงการฟื้นฟูความเชื่อมั่นและเสริมสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ เพื่อชี้แจงและประชาสัมพันธ์ให้ความมั่นใจกับนักลงทุน และนักท่องเที่ยวต่างชาติ 325 ล้านบาท 16. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ขุดลอกคูคลอง 760 ล้านบาท 17. เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น 2,391.3 ล้านบาท สุดท้าย 18. เป็นรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง 19,139.5 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขรัฐธรรมนูญ ที่เมื่อง่ายเงินคงคลังไปก่อนจะต้องตั้งงบชดเชยคืน ซึ่งกรณีนี้เป็นรายการแถมที่ไม่เกี่ยวกับการกระตุ้นเศรษฐกิจ

ผู้สื่อ ข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า งบประมาณกลางปีดังกล่าว เมื่อแยกแล้ว กระทรวงศึกษาฯรับสูงสุด 19,000 ล้านบาท รองลงมาคือ กระทรวงแรงงาน กว่า 16,000 ล้านบาท ขณะกระทรวงวัฒนธรรมได้รับเพียง 21.2 ล้านบาท กระทรวงคมนาคมได้เพียง 1,500 ล้านบาท จากเดิมที่เคยขอมากว่า 30,000 ล้านบาท กระทรวงพาณิชย์ได้เพียง 1,000 ล้านบาท จากที่เสนอขอกว่า 40,000 ล้านบาท กระทรวงเกษตรฯได้เพียง 2,000 ล้านบาท กระทรวงมหาดไทยได้รับ 12,557 ล้านบาท เป็นต้น

นอกจากนี้ ในประชุม ครม.ได้เห็นชอบแผนบริหารราชการแผ่นดินระยะเวลา 3 ปี (52-54) ตาม ที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ โดยสาระสำคัญได้ประมาณความต้องการใช้เงินตามนโยบายของรัฐบาลรวม 3 ปี มีวงเงินทั้งสิ้น 7.44 ล้านล้านบาท แต่มีรายได้ รัฐบาล 3 ปีเพียง 5.24 ล้านล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลงบประมาณรวม 3 ปีเป็นเงิน 2.2 ล้านล้านบาท หรือเท่ากับว่าในอีก 3 ปีข้างหน้า รัฐบาลต้องกู้เงินเพื่อนำมากระตุ้นเศรษฐกิจกว่า 2.2 ล้านล้านบาท.

-------------------------------------------------------------------------