บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


01 พฤษภาคม 2552

<<< งบกำไรขาดทุน ปตท. ปี 51 >>>

จะเห็นว่ามีกำไรก่อนหักภาษีค่อนข้างมาก
ขนาดว่าค่าการตลาดไม่เยอะเท่าไหร่
และบางวันมีติดลบด้วย
ยังทำกำไรได้ขนาดนี้
แล้วปีนี้เพิ่มค่าการตลาดเยอะกว่าปีที่แล้ว
ไม่กำไรมโหฬารหรือยังไง
ซึ่งดูแล้วรัฐก็ได้ประโยชน์ในแง่ได้เงินเพิ่ม
จากค่าภาษีสารพัด
รวมกับค่าปันผลและเงินที่ส่งเข้ารัฐ
เฉพาะ ปตท.และบริษัทลูกทั้งหมด
คาดว่าน่าจะอยู่ระดับประมาณแสนล้านทีเดียว
ถึงว่าได้ทำไมถึงเอาหูไปนาเอาตาไปไร่
เวลาน้ำมันราคาสวนตลาดโลก




















และที่สำคัญ
สิ่งที่คนเข้าใจผิดกันมาก
ก็คือ ปตท. เป็นเอกชน
อันที่จริง ปตท.ยังเป็นรัฐวิสาหกิจอยู่
เพียงแต่กระจายหุ้นส่วนหนึ่ง
ในตลาดหลักทรัพย์เพื่อระดมทุนเท่านั้น
แต่โดยนิตินัยผู้ถือหุ้นใหญ่ยังเป็นรัฐบาล
ถือโดยกระทรวงการคลังเกิน 50%
ไม่รวมนอมินี 2 กองทุนวายุภักดิ์















โดยพฤตินัย
ยังปฏิบัติตัวหลายอย่างแบบรัฐวิสาหกิจทั่วไป
เช่น การส่งเงินเข้ารัฐ
ภาพข้างล่าง
เป็นข้อมูลปี 50
รัฐวิสาหกิจที่ส่งเงินเข้ารัฐสูงสุด 10 อันดับแรก
ปตท.ก็ติดอันดับต้นๆ




















แต่ถ้าพูดถึงการทำกำไรแล้ว
ปตท. นำขาดทุกรัฐวิสาหกิจ
ซึ่งกำไรส่วนหนึ่ง
หลังนำไปหักภาษีแล้ว
ก็แบ่งไปปันผลบางส่วน
รัฐก็มีรายได้เพิ่มจาก ปตท. อีก
จึงไม่แปลกใจว่า
ทำไมปล่อยให้ ปตท. ทำกำไรกันสนุกสนาน




















แถมช่วงนี้ปล่อยให้ค่าการตลาดสูงกว่าปีที่แล้ว

บางตัวเกินระดับ 10% เกิน 20% ยังมี
ผลประกอบการสิ้นปีนี้
กำไรคงเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว
อีกหลายหมื่นล้านแน่ๆ
ที่จริงดูแค่ค่าการตลาดอย่างเดียวไม่ได้
เนื่องจากเดี๋ยวก็มากเดี๋ยวก็น้อย
แต่ยอดการขายช่วงที่มากช่วงที่น้อยต่างกัน
และต้นทุนที่สั่งซื้อมาก็ต่างกัน
แต่รวมๆ แล้วกำไรเห็นๆ
จากงบการเงินที่แสดงออกมา








ดังนั้นการคาดหวังว่า
จะมีการใช้พลังงานทดแทนที่ไม่เกี่ยวกับน้ำมัน
เช่น พลังงานแสงแดด หรือพลังงานลม เป็นต้น
คงเกิดขึ้นไม่ได้ง่ายๆ
เนื่องจากรายได้ก้อนโต
ที่ทำให้รัฐไม่อยากเสียไป
จนทำให้พลังงานทางเลือก
จึงเป็นแค่ทางเลือกในฝัน
อย่างรถพลังงานลม
ถ้าเร่งสนับสนุน
ก็จะช่วยลดการสูญเสียเงินออกนอกประเทศ
ปีละหลายแสนล้านบาท
เผลอๆ จะล้านล้านกว่าบาทแล้ว
ที่ทุกบริษัทน้ำมันต้องไปซื้อมาขาย
ถึงรัฐจะได้รายได้นับแสนล้านบาทจากตรงนี้
แต่แลกกับการสูญเสียเงินตราออกต่างประเทศมากๆ
และเรื่องผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้น
ถ้ามองระยะยาวและอนาคตของประเทศ
ควรเลือกหนุนหรือส่งเสริมให้ไทย
เป็นฐานผลิตรถพลังงานลม
ซึ่งตอนนี้ได้ข่าวว่ามีการผลิตออกมาขายแล้ว
แต่ในไทยยังเงียบอยู่
หรือพลังงานทางเลือกอื่น
แต่นี่แทบไม่มีข่าวเลย
ส่วนเรื่องแก๊สโซฮอล
ก็ยังเกี่ยวพันถึงน้ำมันอยู่ดี
ยกเว้น Eสูงๆ เช่น E85
แต่รถก็มีราคาแพงอีก
ทั้งๆ ที่ช่วงนี้อุตสาหกรรมผลิตรถมีปัญหา
ถ้าสามารถผลักดันผลิตรถ
ที่ลดการใช้น้ำมันและราคาไม่แพงแล้ว
ผลิตไม่ทันขายแน่
แต่ไม่คิดขวนขวาย
รอรับรายได้จากการรีดเลือดเอากับปู
สนับสนุนการขูดรีดเอากำไรจากประชาชน
ถ้าเห็นโครงสร้างราคาน้ำมัน
จะเห็นว่าราคาน้ำมันจริงๆ อยู่แค่ 40-50%
ของราคาขายปลีกเท่านั้น
นอกนั้นภาษีและค่าการตลาดสูงมากๆ














เอามาให้ดูอีกครั้ง
นโยบาย 99 วันทำได้จริง
งดจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน
(Oil Fund) เฉพาะ ดีเซลและแก๊สโซฮอล
เพื่อลดภาระค่าครองชีพ














เผื่อมีคนลืม
เผื่อมาพบมาเห็นแล้วจำได้ว่า
เคยพูดเคยหาเสียงไว้ว่าอย่างไรบ้าง
เห็นพอได้มาเป็น
มีแต่เพิ่มภาระค่าครองชีพ
ด้วยการมารีดภาษีน้ำมันสารพัดชนิดเพิ่มจากเดิม
แถมปล่อยให้ค่าการตลาดขึ้นสูงไม่ควบคุมอีก
หรือประชาชนที่สนใจจะได้เก็บไว้
เวลามีการเลือกตั้งหาเสียงกันงวดหน้า
จะได้เปรียบเทียบได้ว่า
การทำงานจริงที่ผ่านมา
เหมือนที่เคยหาเสียงไว้หรือไม่

จากที่ ปตท. เคยชี้แจงมาว่า
ค่าการตลาดแบ่งกัน
ระหว่างเจ้าของปั๊มกับผู้ค้าน้ำมัน
เรียกว่าผู้ค้าน้ำมันอย่างปตท.
ได้ทั้งค่าการตลาดส่วนหนึ่ง
และค่าการกลั่นถ้ากลั่นเอง
หรือที่ซื้อมาขายก็บวกกำไรไปขายต่อทั้งนั้น
งานนี้คนที่ได้ประโยชน์จากค่าการตลาดสูงๆ
ก็คือเจ้าของปั๊มกับผู้ค้าน้ำมัน
ส่วนคนที่ได้ประโยชน์เมื่อภาษีสูงๆ ก็คือรัฐ
และรัฐยังได้ประโยชน์จากภาษีเงินได้
และเงินนำส่งหรือเงินปันผลด้วย
เรียกว่าได้เยอะสำหรับรัฐ
คนที่เสียผลประโยชน์งานนี้คงไม่ต้องบอก
ประชาชนตาดำๆ
ที่ต้องใช้น้ำมันราคาแพงเกินกว่าที่ควรจะเป็น
โดย มาหาอะไร