กว่าจะมาเป็นรัฐธรรมนูญฉบับเกื้อกูลคมช.
และพรรคพวกที่หนุนหลัง
ก็ต้องเริ่มต้นนับตั้งแต่การฉีกรัฐธรรมนูญปี 40
ในการทำรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
หลังจากนั้นก็พยายามร่างรัฐธรรมนูญออกมา
แล้วให้ประชาชนลงประชามติเพื่อความชอบธรรม
โดยขั้นตอนการร่างก็บล็อคไว้หมดแล้ว
พวกเดียวกันทั้งนั้น แถมบางมาตราระหว่างร่าง
หรือบางพรบ.ประกอบรธน.ฉบับนี้
ก็มีการโหวตโดยไม่ครบองค์ประชุมก็มี
คือมีแต่ชื่อให้ครบดูโก้ๆ
แต่นั่งร่างกันจริงๆ จังๆ ไม่กี่คน
และก็ไม่ต้องบอกว่าจะยัดไส้อะไรเข้ามาในรธน.50 นี้
เพราะมีแน่ๆ เห็นๆ เลยมาตรา 309 ที่ไม่ให้เอาผิดพวกคมช.
ไม่ว่าอดีตและอนาคต
ขนาดมีตัวอย่างมาทำผิดหลังรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่าน
ก็ไม่สามารถเอาผิดได้เพราะมีมาตรานี้รับรองการกระทำผิดให้หมด
มีที่ไหนในโลกเป็นแบบนี้บ้าง
แถมจะแก้ก็จะมีการสร้างกระแสเอามวลชนมากดดันห้ามแก้อีก
ไหนจะเขียนให้ล็อคนโยบายรัฐบาลในอนาคตเสร็จสรรพ
โดยให้ทำตามนโยบายที่เขียนฝังไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้
คิดว่าคงมีรัฐธรรมนูญของประเทศนี้ประเทศเดียวที่เป็นแบบนี้
เช่น ต้องอนุมัติงบประมาณทางทหาร
เพื่อซื้ออาวุธให้ทันสมัยและพอเพียง
เรียกว่าถ้ารัฐบาลไหนที่ไม่ชอบหน้า
มาตัดงบทางทหารเป็นโดนเล่น
ว่าทำผิดรัฐธรรมนูญได้เลย
แต่ถ้าเป็นพวกเดียวกันเครือเดียวกัน
หรือเส้นใหญ่ก็ไม่เอามาเล่น เป็นต้น
สุดท้ายก็พยายามโกงกันทุกรูปแบบ
ทั้งสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรและวาจา
เพื่อสกัดพวกไม่รับร่างให้ได้
เพื่อให้ร่างนี้ออกมาให้ได้
ตามที่พรรคพวกตัวเองต้องการ
เพื่อสร้างความชอบธรรมว่า
มีคนเห็นด้วยกับการทำรัฐประหารครั้งนี้เยอะ
ดังนั้นจึงเป็นลักษณะที่แพ้ไม่ได้
ขนาดมีข่าวพิมพ์บัตรเลือกตั้งเกิน
จำนวนเกือบเท่าตัวหลายสิบล้านใบ
มีคนขอพิสูจน์จนบัดนี้ก็เงียบเฉย
แถมด้วยเรื่องร้องเรียนเรื่องการนับคะแนนสลับ
เช่น นับคะแนนที่หน่วยว่าเห็นชอบเท่าไหร่ ไม่เห็นชอบเท่าไหร่
พอไปรวมที่จังหวัดมีการสลับตัวเลขบางหน่วย
ในหน่วยที่มีคะแนนไม่เห็นชอบร่างมากกว่าเห็นชอบ
เรื่องนี้ก็เงียบ
เรียกว่าสารพัดโกง
จะเรียกว่าเป็นการโกงการลงคะแนนเสียง
ที่น่าอัปยศที่สุดครั้งหนึ่งของโลกเลยก็ว่าได้
จากข้อมูลที่กล่าวมาแล้วนั้น
เชื่อได้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้
ร่างขึ้นมาเพื่อสืบทอดอำนาจโดยแท้
ไม่ใช่ร่างเพื่อมาแก้ปัญหาสังคม เศรษฐกิจ
หรือการเมืองของประเทศไทยในขณะนี้
โดย มาหาอะไร
--------------------------------------------------
(ทุกขั้นตอน พวกเดียวกัน)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พุทธศักราช 2549
(เฉพาะมาตราที่ 19 - 33 ที่เกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่)
มาตรา 19 ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญประกอบด้วยสมาชิก ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มีจำนวน 100 คน พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญคนหนึ่ง และรองสภาร่างรัฐธรรมนูญ อีกไม่เกิน 2 คน ตามมติของสภาร่างรัฐธรรมนูญ ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ แต่งตั้งประธานสภา และรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ต้องไม่เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกพรรคการเมือง หรือดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมือง ภายในเวลา 2 ปี ก่อนวันได้รับการคัดเลือกให้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และต้องไม่ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในขณะเดียวกัน ให้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ กรรมาธิการของสภา ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณารายงานการประชุม โดยคำสั่งของสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือคณะกรรมาธิการบุคคลซึ่งประธานในที่ประชุมอนุญาตให้แถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ และผู้ดำเนินการถ่ายทอด การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ทางวิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์ ที่ได้รับอนุญาตจากประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้รับเอกสิทธิ์ และความคุ้มกันตามที่บัญญัติไว้ ในมาตราที่ 13 เช่นเดียวกับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้นำมาตรา 9 วรรค 1 มาใช้บังคับแก่องค์ประชุมของสภาร่างรัฐธรรมนูญ และให้นำข้อบังคับของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มาใช้บังคับแก่การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญด้วยโดยอนุโลม
มาตรา 20 ให้มีสมัชชาแห่งชาติ ประกอบด้วยสมาชิก ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิดอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี มีจำนวนไม่เกิน 2,000 คน ให้ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติตามวรรค 1 ให้นำความในมาตรา 5 วรรค 3 และ วรรค 4 มาใช้บังคับแก่การสรรหาบุคคล และการได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติด้วยโดยอนุโลม
มาตรา 21 ในการประชุมสมัชชาแห่งชาติ ให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่ประธานสมัชชาแห่งชาติ และรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รองประธานสมัชชาแห่งชาติ การประชุมสมัชชาแห่งชาติ และวิธีการคัดเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญให้เป็น ไปตามที่ผู้ทำหน้าที่ประธานสมัชชาแห่งชาติกำหนด
มาตรา 22 ให้สมัชชาแห่งชาติ มีหน้าที่คัดเลือกสมาชิกด้วยกันเอง เพื่อจัดทำบัญชีรายชื่อ ผู้สมควรได้รับการโปรดเกล้า แต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ มีจำนวน 200 คน ให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน นับแต่วันเปิดประชุมสมัชชาแห่งชาติครั้งแรก และเมื่อได้คัดเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญแล้ว หรือเมื่อครบ กำหนดเวลาแล้ว ยังไม่อาจคัดเลือกได้ครบถ้วน ให้สมัชชาแห่งชาติเป็นอันสิ้นสุด การคัดเลือกตามวรรค 1 ให้สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ มีสิทธิเลือกได้คนไม่เกิน 3 รายชื่อ และให้ผู้ได้คะเเนนเสียงสูงสุด เรียงไปตามลำดับจนครบ 200 คน เป็นผู้ได้รับเลือก ในกรณีที่มีคะแนนเสียงเท่ากันในลำดับใด อันจะทำให้มีผู้ได้รับเลือกเกิน 200 คน ให้ใช้วิธีจับสลาก
มาตรา 23 เมื่อได้รับบัญชีรายชื่อที่ได้รับการคัดเลือกจากสมัชชาแห่งชาติแล้ว ให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติคัดเลือกบุคคลตามบัญชีรายชื่อดังกล่าวให้เหลือ 100 คน และนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่สมัชชาแห่งชาติปฏิบัติหน้าที่ไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา ตามมาตรา 22 วรรค 1 ให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเลือกสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ จำนวน 100 คน เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต่อไป ให้ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ให้นำความในมาตรา 5 วรรค 4 มาใช้บังคับแก่การได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และกรรมาธิการ ตามมาตรา 25 ด้วยโดยอนุโลม
มาตรา 24 ในระหว่างที่สภาร่างรัฐธรรมนูญยังปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญนี้ ไม่แล้วเสร็จหากมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่ง ไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ ให้ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติคัดเลือกบุคคลจากบัญชีรายชื่อตามมาตรา 22 ที่เหลืออยู่ หรือจากบุคคลที่เคยเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ แล้วแต่กรณี เพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญแทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีตำแหน่งว่างในระหว่างที่ยังมิได้แต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่เหลืออยู่
มาตรา 25 ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ได้รับการคัดเลือกตามมติของสภา จำนวน 25 คน และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 10 คน ตามคำแนะนำของประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
มาตรา 26 เมื่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วให้จัดทำคำชี้แจงว่า ร่างรัฐธรรมนูญที่จัดทำขึ้นใหม่นั้นมีความแตกต่างกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ในเรื่องใด พร้อมด้วยเหตุผลในการแก้ไข ไปยังสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ องค์กร และบุคคล ดังต่อไปนี้ เพื่อพิจารณาและเสนอความคิดเห็น
1. คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
2. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
3. คณะรัฐมนตรี
4. ศาลฎีกา
5. ศาลปกครองสูงสุด
6. คณะกรรมการการเลือกตั้ง
7. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
8. ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
9. ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
10. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
11. สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
12. สถาบันอุดมศึกษา ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญและเอกสารชี้แจงตามวรรค 1 ให้ประชาชนทั่วไปทราบ
ตลอดจนส่งเสริมและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ประกอบด้วย
มาตรา 27 เมื่อสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้รับร่างรัฐธรรมนูญและเอกสารตามมาตรา 26 แล้ว หากประสงค์จะแปรญัตติแก้ไขเพิ่มเติมให้กระทำได้ เมื่อมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญลงชื่อรับรองไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มีอยู่ และต้องยื่นคำขอแปรญัตติพร้อม ทั้งเหตุผลก่อนวันนัดประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญตามมาตรา 28 สมาชิกที่ยื่นคำขอแปรญัตติ หรือที่ให้คำรับรองคำแปรญัตติของสมาชิกอื่นแล้ว จะยื่นคำขอแปรญัตติ หรือรับรองคำแปรญัตติของสมาชิกอื่นใดอีกไม่ได้
มาตรา 28 เมื่อพ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันที่ส่งเอกสารตามมาตรา 26 ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาความเห็นที่ได้รับมาตามมาตรา 26 และคำแปรญัตติตามมาตรา 27 พร้อมทั้งจัดทำรายงานการแก้ไขเพิ่มเติม หรือไม่แก้ไขเพิ่มเติม พร้อมทั้งเหตุผล เผยแพร่ให้ทราบเป็นการทั่วไป แล้วนำเสนอร่างรัฐธรรมนูญต่อสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณา การพิจารณาของสภาร่างรัฐธรรมนูญตามวรรค 1 เป็นการพิจารณาเพื่อให้ความเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ และเฉพาะมาตราที่สมาชิกยื่นคำขอแปรญัตติตามมาตรา 27 หรือที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเสนอ โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจะแปรญัตติแก้ไขเพิ่มเติม นอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 มิได้ เว้นแต่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะเห็นชอบด้วย หรือสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญมีจำนวนไม่น้อยกว่า3 ใน 5 เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น
มาตรา 29 ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญจัดทำร่างรัฐธรรมนูญและพิจารณาแล้วเสร็จตามมาตรา 28 ภายใน 180 วัน นับแต่วันเปิดประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญครั้งแรก เมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วให้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบ และจัดให้มีการออกเสียงประชามติว่าจะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ซึ่งต้องจัดทำไม่เร็วกว่า 15 วัน และไม่ช้ากว่า 30 วัน นับแต่วันที่เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สภาร่างรัฐธรรมนูญประกาศกำหนด การออกเสียงประชามติต้องกระทำภายในวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร
มาตรา 30 เมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จตามมาตรา 29 วรรค 1 ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเฉพาะที่จำเป็น เพื่อประโยชน์ในการจัดให้มีการเลือกตั้ง ให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน นับจากวันที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ เพื่อเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติดำเนินการต่อไป ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ได้รับร่างจากคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อประโยชน์ในการขจัดส่วนได้ส่วนเสีย ห้ามมิให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
มาตรา 31 ในการออกเสียงประชามติ ถ้าประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติเห็นชอบ ให้นำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้บังคับแล้วให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาตินำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย และเมื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแล้วให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและบังคับใช้ได้ เมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญและสภาร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมาตรา 30 แล้วเสร็จ หรือเมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 30 สุดแต่เวลาใดจะถึงก่อน ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันสิ้นสุดลง
มาตรา 32 ในกรณีที่สภาร่างรัฐธรรมนูญจัดทำร่างรัฐธรรมนูญไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 29 วรรค 1 ก็ดี สภาร่างรัฐธรรมนูญไม่ให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญตามมาตรา 28 วรรค 2 ก็ดี หรือการออกเสียงประชามติตามมาตรา 31 ประชาชนโดยเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติไม่เห็นชอบให้ใช้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก็ดี ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลงและให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ได้เคยประกาศใช้บังคับมาแล้วฉบับใดฉบับหนึ่งมาปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันออกเสียงประชามติไม่เห็นชอบ และนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญต่อไป ในการประชุมร่วมกันตามวรรค 1 ให้ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม การประกาศใช้รัฐธรรมนูญตามมาตรานี้ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
มาตรา 33 เงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานสภาและรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสภาร่างรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
-----------------------------------------------------(เก็บตกมาจากเว็บ http://www.thaienews.blogspot.com)
------------------------------------------------------------
(แฉพวกเดียวกัน)
ดร.ชัยอนันต์ เปิดโปงขบวนการสืบทอดอำนาจ
ข่าวเที่ยงช่อง 9 แจ้งว่า
ดร.ชัยอนันต์ สมุทรวาณิช เตือนให้จับตาดูการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะหลอกลวงประชาชน ดังนี้
1. กำหนดว่า นายก ต้องเป็นสมาชิกรัฐสภา เพื่อหลอกให้คนทั่วไป เข้าใจว่า นายก ต้องมาจากการเลือกตั้ง
2. กำหนดว่า สว. มาจากการเลือกตั้ง ครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่ง มาจาการแต่งตั้ง
3. แต่งตั้ง คนที่จะเป็น นายก (เพื่อสืบทอดอำนาจ) เป็น สว. ซึ่งทำให้มีสิทธิ์เป็นนายกได้
4. สว. โหวตเลือกนายกได้ สุดท้าย นายก ที่ได้มา ก็ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่เป็นนายกที่มาจากการแต่งตั้งเพื่อสืบทอดอำนาจ
---------------------------------------------------
(ฝ่ายพรรคการเมืองตีกันนายกคนนอกประเด็นนี้เลยตกไป)
พรรค ชท.-ปชป.เห็นตรงกันให้ นรม.มาจากการเลือกตั้ง
จากประเด็นที่เกิดการหวาดระแวงถึงการร่าง รธน.ฉบับใหม่ที่จะเปิดช่องให้นายกรัฐมนตรี (นรม.) มาจากคนนอกได้หรือไม่นั้น ส่งผลให้พรรคการเมืองต่างๆ โดยเฉพาะ พรรค ชท.และ พรรค ปชป. ออกมาแสดงความเห็นที่ตรงกันว่า นรม.ต้องมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น เนื่องจากหากเปิดทางให้ นรม.มาจากคนนอกได้ อาจเกิดปัญหาขัดแย้งเหมือนในอดีต
ขณะที่นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ มธ.เห็นว่าหากไม่เขียนข้อบัญญัติที่ว่า นรม.ต้องเป็น ส.ส.ไว้ใน รธน. โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันจะทำให้ คมช.ถูกมองว่ามีเจตนาสืบทอดอำนาจได้
-------------------------------------------------
ร่างธรรมนูญการปกครองชั่วคราว พ.ศ.2549 ฤๅจะย่ำเท้าเพื่อถอยหลัง? [ วันที่ 2006-10-04 ]
โดย นพ.เหวง โตจิราการ
หลังจากการรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ได้คลอดธรรมนูญชั่วคราวออกมาเพื่อรองรับ "ความถูกต้อง" ของการรัฐประหารสำหรับรายละเอียดของธรรมนูญการปกครองชั่วคราว พ.ศ.2549 จำนวน 39 มาตรานั้น สังคมควรสนใจและช่วยกันเสนอแนะต่อ คปค.เพื่อให้ธรรมนูญที่ออกมาใช้ชั่วคราวเกื้อหนุนให้การร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรใหม่สามารถแก้ปัญหาของสังคมไทยและป้องกันไม่ให้เกิด "วงจรอุบาทว์" ขึ้นอีก เป้าหมายดังกล่าว เป็นการท้าทาย คปค.อย่างยิ่งว่ารักษาคำมั่นสัญญา "ไม่แสวงหาอำนาจ" ที่ได้ให้ไว้กับประชาชนหรือไม่ แต่ว่าตามที่ปรากฏนั้นเพียงแต่ในชั้นร่างธรรมนูญการปกครอง คปค.ก็ทำให้ผู้คนเริ่มหวาดระแวงแล้ว เพราะ คปค.ใช้นักกฎหมายที่เคยร่างให้กับคณะผู้รักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ซึ่งประวัติศาสตร์ก็ได้พิสูจน์แล้วว่า ธรรมนูญชั่วคราว (รสช.) ที่ร่างออกมาในเวลานั้นได้นำไปสู่รัฐธรรมนูญฉบับ รสช. ที่ทำให้เกิดการสืบทอดอำนาจของกลุ่ม รสช.และนำไปสู่กรณีนองเลือด "พฤษภาทมิฬ" ในปี พ.ศ.2535 อย่างไรก็ดี ผู้เขียนหวังว่า คปค.คงจะเห็นแก่ประโยชน์ของบ้านเมืองรวมไปถึงเกียรติยศศักดิ์ศรีของตนเอง โดยกล้าพอที่จะปฏิเสธและยอมแก้ไขเนื้อหาสำคัญของร่างธรรมนูญการปกครองชั่วคราว พ.ศ.2549 ที่มีลักษณะรักษาอำนาจในหมู่ชนชั้นนำในสังคมและกลุ่ม คปค. ซึ่งอาจนำไปสู่หายนภัยอันใหญ่หลวงได้ ในทรรศนะของผู้เขียนร่างธรรมนูญการปกครองชั่วคราว พ.ศ.2549 ดังที่ปรากฏเป็นข่าวอยู่ในขณะนี้ มีสิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างมากอยู่สามเนื้อหาใหญ่ด้วยกัน ได้แก่
1.เรื่องบริหารราชการแผ่นดิน
ตามที่บัญญัติไว้ในร่างธรรมนูญการปกครองชั่วคราว พ.ศ.2549 นั้น คปค.จะเปลี่ยนรูปเป็นคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (ซึ่งคล้ายคลึงกับคณะ รสช. ที่ได้เปลี่ยนรูปเป็นสภา รสช.หลังการรัฐประหารในปี พ.ศ.2534) และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (ขอย่อว่าคณะมนตรีฯ) ยังคงมีอำนาจในการครอบงำการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐบาลชุดใหม่ได้เต็มที่ดังเช่นที่ระบุไว้ในมาตรา 34 ว่า "...ประธานคณะมนตรีฯอาจขอให้มีการประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแก้ปัญหาใดๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน" อันเป็นการเปิดโอกาสให้คณะมนตรีฯ หรือ คปค.สามารถเข้าครอบงำและเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจของคณะรัฐมนตรี "พลเรือน" ได้ตลอดเวลาเช่นเดียวกับสมัย รสช. ที่ธรรมนูญ รสช.กำหนดอำนาจให้ "...กรณีที่เห็นสมควร ประธานสภา รสช.หรือนายกรัฐมนตรีอาจขอให้มีการประชุมร่วมกันเพื่อร่วมพิจารณาและแก้ไขปัญหาอันเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน..."
2.การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ คปค.พยายามเลียนแบบ "สภาสนามม้า" ในสมัยหลังเหตุการณ์ "14 ตุลาคม" กล่าวคือให้มีสมัชชาแห่งชาติ 2,000 คน
(ในที่นี้ยังคงมีคำถามถึงวิธีการสรรหาสมัชชาแห่งชาติทั้ง 2,000 คน) คล้ายกับสภาสนามม้า ให้มีการเลือกตั้งประธาน รองประธาน แล้วมีการเลือกกันเองเหลือ 200 คนแต่คราวนี้ภายหลังจากที่เลือกกันเองเหลือ 200 คนแล้ว ผู้ที่ชี้ขาดเลือกให้เหลือ 100 คนสุดท้ายก็คือคณะมนตรีฯ ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่า คณะมนตรีฯมีอำนาจครอบงำสภาร่างรัฐธรรมนูญได้เต็มที่ดังที่ระบุไว้ในมาตรา 22 ว่า "...นำบัญชีรายชื่อ 200 คนให้คณะมนตรีฯเลือกให้เหลือ 100 คนเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญซึ่งต้องโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง..."
นอกจากนี้ มาตรา 24 ยังระบุว่า ...ประธานคณะมนตรีฯเป็นผู้แต่งตั้งประธานสภาร่างและรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ นั่นย่อมทำให้คณะมนตรีฯสามารถควบคุมการดำเนินงานของสภาร่างรัฐธรรมนูญได้และเป็นการแทรกแซงการทำงานของสภาร่างรัฐธรรมนูญ แทนที่จะปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการคัดเลือกประธานโดยเสียงข้างมากของหลักประชาธิปไตย หลังจากนั้น ในคณะร่างจำนวน 100 คนจะเลือกกันเองเอาผู้ที่จะร่วมร่างรัฐธรรมนูญจริงเพียง 25 คน คณะมนตรีฯจะเป็นผู้แต่งตั้งมาเพิ่มโดยมิได้ผ่านกระบวนการสรรหาใดๆ อีก 10 คน รวมเป็นคณะทำงานร่างรัฐธรรมนูญถาวรฉบับใหม่ทั้งสิ้น 35 คน ซึ่งสามารถคาดเดาได้ว่าผู้ที่ลงมือร่างที่แท้จริงก็คือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะมนตรีฯจำนวน 10 คน เป็นตัวแทนของตนในการร่างรัฐธรรมนูญ ที่ได้ร่างธรรมนูญการปกครองชั่วคราวฉบับดังกล่าวมาแล้ว เช่นเดียวกับสมัยสภา รสช.ที่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริงเพียงแค่ 60 คนเท่านั้นเอง เมื่อเราพิจารณากระบวนการร่างรัฐธรรมนูญแล้ว คงเห็นได้ว่าในที่สุดรัฐธรรมนูญน่าจะเป็นไปตามที่ คปค.และกลุ่มชนชั้นนำในประเทศต้องการ มิใช่เป็นไปตามเจตจำนงและผลประโยชน์ของประชาชน และจะถูกตราไว้เป็น "รัฐธรรมนูญฉบับสืบทอดอำนาจของ คปค." ในประวัติศาสตร์
3.การปราศจากความจริงใจในการลงประชามติเพื่อรับรองรัฐธรรมนูญ
แม้ว่ามาตรา 29 จะกำหนดให้มีการลงประชามติก็ตาม แต่หากประชาชนไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มาตรา 31-32 ก็ได้ให้อำนาจคณะมนตรีฯ นำมาปรับปรุงแล้วประกาศใช้ได้ในทันที เท่ากับเป็นการไม่เคารพอำนาจอธิปไตยและการตัดสินใจของประชาชนอย่างชัดเจน ดังนั้นแก่นสำคัญของธรรมนูญการปกครองชั่วคราว พ.ศ.2549 นี้ ก็คือการสืบทอดอำนาจของ คปค.ต่อจากการรัฐประหาร ซึ่งน่าจะไม่ใช่สิ่งที่ คปค. ประกาศไว้ และจะนำไปสู่ความยุ่งยากได้ทางออกที่ผู้เขียนอยากแนะนำคือ คปค.ควรนำเอารัฐธรรมนูญฉบับ 2540 มาพิจารณาปรับแก้บางมาตราแล้วใช้เป็นการชั่วคราวและหารูปการที่ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง (ไม่ใช่หลอกๆ) ในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรต่อไป
-----------------------------------------------------------------
(จรัลวันก่อนโหวตรับรัฐธรรมนูญ 50 บอกแก้ได้ไม่ยาก
พอหลังนำมาใช้มีปัญหาจะขอแก้ออกมาพูดอีกอย่าง
และมาตรา 309 สุดท้ายแล้วก็เอาไปคุ้มครองการกระทำผิดกฏหมาย
ของพวกคมช.และพวกมีสีจริงๆ)
บทสรุปเวที debate โดยวรเตน์ ภาคีรัตน์ - จรัล ภักดีธนากุล
? เมื่อ: สิงหาคม 04, 2007, 09:17:25 AM ?
รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์
ถ้า ย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์การเมืองไทย จริงๆ แล้วมีรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ
ที่ได้ชื่อว่าเป็นประชาธิปไตยสูงมาก รัฐธรรมนูญ 2 ฉบับที่ผมได้อ้างถึงไปคือ
รัฐธรรมนูญปี 2489 และ รัฐธรรมนูญปี 2540 ซึ่งมันเปลี่ยนผ่านมา
โดยไม่มี ‘การทำรัฐประหาร’ แต่เปลี่ยนผ่านมาโดย ‘กระบวนการแก้ไขอย่างสันติ’
รัฐธรรมนูญปี 2540 หลายฝ่ายได้มีส่วนร่วม แม้ว่าในทางเนื้อหาจะมีปัญหาอยู่บ้างก็ตาม
อีกฉบับหนึ่ง นั้น คือรัฐธรรมนูญปี 2517 ซึ่งเกิดขึ้น เป็นผลพวงจากการลุกฮือขึ้น
ของบรรดานิสิต นักศึกษา ประชาชนในเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 เราจะพบว่ารัฐธรรมนูญ
ที่เป็นประชาธิปไตยอย่างน้อยในบ้านเมืองเรา ถ้าผมหยิบยกมาอ้างสัก 3 ฉบับ
ปี 2489 ปี 2540 และ ปี 2517 ไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับไหนที่เป็นผลพวงที่เกิดขึ้น
จากการทำรัฐประหาร นี่เป็นบทสรุปในทางประวัติศาสตร์
คำถามมีอยู่ต่อไปว่า ถ้าอย่างนั้นการโหวตรับ หรือไม่รับรัฐธรรมนูญฉบับนี้
จะมีความสำคัญกับชะตากรรมในทางการเมือง หรือโชคชะตา
หรือวิถีชีวิตของพวกเราอย่างไรในวันข้างหน้า
ผมเรียนว่า การโหวตรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้เท่ากับยอมรับในทุกบทบัญญัติมาตรา
ที่ปรากฏในรัฐ ธรรมนูญ การโหวตให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ย่อมเท่ากับการชอบธรรม
ให้กับการกระทำที่ไม่ชอบ นี่คือปัญหาประหารแรก
ที นี้ถามว่า ถ้าเกิดโหวตไม่รับจะเกิดอะไรขึ้น ตอนนี้มีการพูดกันถึงเรื่องการจัดการเลือกตั้งว่า
ถ้าโหวตไม่รับจะไม่มีการจัดการการเลือกตั้ง ผมเรียนว่า การเลือกตั้งอย่างไรเสียก็ต้องเกิดขึ้น
ไม่ว่าจะมีการโหวตรับหรือโหวตไม่รับ ถ้าโหวตไม่รับผลที่เกิดตามมาคือ ครม. และ คมช.
มีหน้าที่ ต้องไปหยิบเอารัฐธรรมนูญฉบับใด ฉบับหนึ่งที่ประกาศใช้ในอดีตมาแก้ไขปรับปรุง
แล้วประกาศใช้ และจัดการการเลือกตั้ง มันมีการเลือกตั้งแน่
มีคนสงสัยว่า ถ้าโหวตไม่รับแล้ว จะได้รัฐธรรมนูญที่แย่ยิ่งกว่ารัฐธรรมนูญปี 2550 ได้ไหม
ผมเรียนว่าในทางปฏิบัติ ถ้าประชาชนโหวตไม่รับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ถามว่าคนที่มีอำนาจ
จะกล้าเอารัฐธรรมนูญฉบับที่มีเนื้อหาแย่ยิ่งกว่ารัฐ ธรรมนูญปี 2550 มาประกาศใช้
เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศไหม
ถ้าใช่ ผมก็คิดว่า ความขัดแย้งทางการเมืองจะดำรงอยู่ต่อไป
แต่ ถ้าไม่ใช่ หมายความว่า คมช. และ ครม. เห็นแล้วว่า ขนาดรัฐธรรมนูญปี 2550
ซึ่งหลายส่วนก็เห็นข้อดีอย่างที่ผมได้กล่าวไป ประชาชนยังโหวตไม่รับ
เพราะฉะนั้น ก็ต้องเอารัฐธรรมนูญที่ดีกว่ามาให้
ที่สำคัญ การโหวตไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จะเป็นการยกระดับการต่อสู้
เพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตยในทางอุดมการณ์ ในทางคุณค่า
ซึ่งจะเป็นรากฐานที่สำคัญอย่างยิ่ง ในการทำให้ประเทศไทยเดินไป
ในวิถีทางที่นานาอารยประเทศยอมรับ
ท่านไม่ต้องกังวล ว่าโหวตไม่รับแล้วจะได้รัฐธรรมนูญที่มีเนื้อหาที่แย่ลง
ข้อเสนอของทุกฝ่ายเท่าที่ผมได้ยินได้ฟังมา ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกันว่า
ให้เอารัฐธรรมนูญปี 2540 มาใช้บังคับ มีคนบอกว่า ก็ 40 มีข้อบกพร่องอยู่
จะเอามาใช้บังคับทำไม
คำตอบคือ เอามาใช้บังคับเพื่อจัดการเลือกตั้ง แล้วหลังจากที่มีการเลือกตั้งแล้ว
วาระสำคัญในทางการเมืองอย่างนี้จะเป็นวาระระดับชาติ อำนาจในการกำหนดเนื้อหา
ของตัวรัฐธรรมนูญจะกลับมาอยู่ในมือประชาชน มีการต่อรองของกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ
อย่างถูกต้อง อย่างครบถ้วน แล้วก็ใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 ซึ่งอย่างน้อยในแง่ของที่มา
ซึ่งมีความชอบธรรมอยู่เป็นฐานของการปฏิรูปการ เมืองต่อไป อย่างน้อยที่สุดในวันข้างหน้า
สังคมไทยเองจะไม่ต้องเผชิญกับปัญหาเรื่องคุณ ค่าว่า ‘เรารับรัฐธรรรมนูญที่มีที่มาอันไม่ชอบ’
แต่ถ้าเราปฏิเสธ และกลับไปใช้รัฐธรรมนูญที่มีที่มาอันชอบ และมีการแก้ไขให้มันถูกต้อง
เพราะอะไรที่เป็นข้อบกพร่องที่ได้พูดกันมาเยอะแล้วก็แก้ไขให้มันหมดสิ้นไป เช่นนั้นแล้วน่าจะดีกว่า
และเมื่อเอารัฐธรรมนูญปี 2540 กลับมาใช้แล้วการจัดการเลือกตั้งก็อาจทำได้รวดเร็วกว่าที่คิดด้วยซ้ำไป
ทั้งนี้ ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับความจริงใจของเป็นองค์กรซึ่งเป็นองค์กรที่กุมอำนาจรัฐขณะนี้ ว่าจะมีความจริงใจว่า
จะคืนอำนาจกลับมาให้ประชาชนมากน้อยเพียงใด
โดย ส่วนตัวแล้ว และในนามของทั้ง 3 ท่านที่มาอภิปราย มาให้ความรู้ แล้วก็มาแสดงจุดยืนและทัศนะ
ของเราที่มีต่อรัฐธรรมนูญปี 2550 นี้ ผมเห็นว่าการโหวตไม่รับรัฐธรรมนูญฉบับนี้
จะเป็นทางออกของสังคมไทย ไม่ให้เกิดความตีบตันในวันข้างหน้า เรียกร้องเอา 2540 กลับมาใช้
ให้มีฐานของความชอบธรรม แล้วก็ปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่มันบกพร่องต่อไป เพราะไม่ว่าอย่างไรๆ ก็ตาม
แม้จะมีการรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก็ต้องมีการแก้ไขแน่นอน และเมื่อมีการแก้ไขแล้ว
ทำไมจึงไม่เอารัฐธรรมนูญปี 2540 มาใช้
ขอบคุณทุกท่านมากครับ
0 0 0
นายจรัญ ภักดีธนากุล
ผม ก็ดีใจมาก ที่กิจกรรมนี้ได้ดำเนินมาอย่างราบรื่น จนถึงเวลาใกล้จะยุติลงได้ด้วยดี
ขอเรียนว่าอย่างนี้ครับ ที่เราคุยกันมาทั้งหมด 3 ชั่วโมงนี้ ล้วนแต่เป็นความคิดเห็น
และความเชื่อของแต่ละคนๆ ซึ่งมีภูมิหลังแตกต่างกัน มีประสบการณ์ความรู้แตกต่างกัน
เพราะฉะนั้นสิ่งที่ผมพบว่าเป็นปัญหาจริงๆ อยู่ที่ความยึดมั่น ถือมั่นของพวกเรากันเองว่า
จะรุนแรงเกินไปไหม ถ้าเราลดคลายทิฐิมานะลงบ้างทุกฝ่าย แล้วก็เริ่มต้นทำใจเป็นกลาง
แล้วก็วิเคราะห์ปัญหานี้ซึ่งเป็นปัญหาของบ้านเมืองให้หาประโยชน์ให้ได้ว่า ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น
จากการก้าวต่อไปของเราในการลงประชามติ ‘รับ’ หรือ ‘ไม่รับ’ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้
เป็นประโยชน์มากกว่าหรือน้อยกว่าแล้วเราก็ตัดสินใจ อย่างนั้น อย่าได้ถูกชี้นำ
หรือชักนำไปตามความคิดความเห็นของวิทยากรที่นำเสนอในวันนี้ นะครับ
ผมเองในฐานะได้รับมอบหมาย จากคณะผู้เสนอร่างรัฐธรรมนูญฉบับให้สรุป
ผมก็ต้องสรุปอย่างนี้ครับว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เรายอมรับว่าไม่ใช่รัฐธรรมนูญที่ดีที่สุด
สมบูรณ์ที่สุด แต่เรามองว่า มันเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดของการกลับคืนมาแห่งอำนาจของประชาชน
อย่างราบรื่น ชัดเจน แน่นอน (ปรบมือ)
ผมเคารพและได้ฟังความคิดเห็นของ ท่านอาจารย์วรเจตน์ชัดเจนวันนี้ เมื่อสักครู่นี้ว่าท่านเห็นทางสะดวกของท่านเหมือนกัน แต่ว่า ท่านครับ นั่นคือความเห็นและความเชื่อไม่ชัดเจนแน่นอนราบรื่นเท่ากับการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญนี้
จุดที่ สองครับ การที่เราลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญนี้ จะให้ผลดีคือ ‘ยุติระบบปฏิวัติรัฐประหารทันที’
คมช. สิ้นสภาพทันที ส่วนว่ารัฐธรรมนูญนี้ไม่ดี มีข้อบกพร่อง มีบางจุดหลายจุดที่ท่านนำเสนอมานี้
เราเริ่มกระบวนการแก้ไข การแก้ไขนี้ผมอยากจะให้ ‘เราทำแบบเมื่อปี 2540 เราเสนอแบบให้ 50,000 คนเท่านั้นครับ!
แล้วก็ ส.ส.ในสภา 1 ใน 4 เท่านั้นครับ!’ (น้ำเสียงหนักแน่น) เสนอแก้ไขมาตราเดียวแบบที่เราเริ่มทำในปี 2540 แล้วให้กระบวนการนั้นจัดทำกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญของประชาชนขึ้นใหม่ เนี่ยครับ เราก็ว่าถ้าเราเดินอย่างนี้มันจะราบรื่นกว่าที่เราจะใช้วิธีการว่า เอาล่ะ! เราล้มร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แล้วคาดหวังว่า คมช. กับ ครม. จะหยิบร่างรัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดในอดีต มาปรับปรุงให้ดีกว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ที่เรากำลังทำนี้
ท่าน ครับ ท่านไม่มีอะไรไปบังคับเขาได้นะครับ! ไม่มีเลย นี่เป็นความคาดหวังของเรา
แล้วถ้าไม่เป็นไปตามที่เราคาดละครับ อะไรจะเกิดขึ้น นะฮะ แต่ถ้าเรารับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้
จะดีจะเลว เราได้ระบอบประชาธิปไตยกลับคืนมาเป็นของประเทศ เราได้อำนาจอธิปไตย
กลับคืนมาเป็นของประชาชน แล้วหลังจากนั้นครับ เราช่วยกันเถิดครับ ช่วยกันพาประเทศนี้
เข้าสู่กระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นของประชาชน ที่เราทุกคนอยากได้อีกครั้งหนึ่งเถิดครับ
ส่วนร่างฯ มาตรา 309 ท่านครับ เจตนารมณ์ท่านอาจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพทูรย์พูดชัด
ตรงกับเจตนารมย์ของเราว่า ต้องการคุ้มครองการกระทำที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
สิ่งที่ไม่ชอบไม่คุ้มครอง ท่านอย่าตีความไปอย่างอื่น เปิดช่องให้มีการเล็ดลอดออกไปอย่างนั้นครับ
ผมคิดว่าจะเอาเจตนารมย์นี้ให้มั่น ณ วันนี้ว่า มาตรา 309 มีเจตนารมณ์มุ่งคุ้มครองการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญเท่านั้น
ขอบคุณครับ
-------------------------------------------------------
(ตัวอย่างอิทธิฤทธิ์มาตรา 309
ไม่ต้องแปลกใจถ้าพวกนี้จะค้านการแก้รธน.ฉบับนี้แบบหัวชนฝา)
คมช.พ้นผิดเอกสารลับ มติกกต.4-1ยกคำร้อง
วันนี้ (12 ธ.ค.) นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมลงมติกรณีเอกสารลับ ว่าที่ประชุม กกต.มีมติ 4-1 เสียง ให้ยกคำร้อง โดยเสียงข้างน้อย ได้แก่ นางสดศรี สัตยธรรม กกต. ด้านกิจการพรรคการเมือง เนื่องจากนางสดศรีเห็นว่า กกต.ไม่มีอำนาจตรวจสอบการทำงานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ส่วนกกต. 4 คนที่เหลือมีความเห็นว่า สมควรยกคำร้อง แม้ว่าจะให้เหตุผลแตกต่างกันเล็กน้อย นายอภิชาต กล่าวว่า กกต.เสียงข้างมากจำนวน 2 คน เห็นว่าการกระทำของ คมช.เป็นการกระทำที่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว ปี 2549 และมาตรา 309 ของรัฐธรรมนูญปี 2550 ซึ่งตรงกับความเห็นเสียงข้างน้อย 3-4 ของคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนกรณีเอกสารลับ ที่มีนายสุพล ยุติธาดา เป็นประธาน เสนอมายัง กกต.
นายอภิชาต กล่าวต่อว่า กกต.เสียงข้างมากเห็นตรงกันทั้งหมดว่า ยังไม่มีการกระทำที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่พรรคการเมืองหรือผู้ใด
การ ที่ คมช.ยังไม่ได้มีการกระทำ และเอกสารลับนั้นเป็นเพียงแผนงานที่กำหนดออกมา แต่ยังไม่มีการกระทำตามแผนดังกล่าว เช่น ยังไม่มีการอนุมัติงบประมาณ และยังไม่มีการกระทำตามแผนใดๆ ทั้งสิ้น ดังนั้น กกต.จึงไม่ต้องสั่งห้ามใดๆ เพราะพยานฝ่ายผู้ถูกร้องเรียนยืนยันว่าไม่มีการกระทำใดๆ ส่วนการระบุว่าเอกสารใดเป็นของจริงและเท็จนั้น ไม่ได้พิสูจน์เรื่องนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอภิชาต ได้ปฏิเสธที่จะให้เหตุผลว่าทำไมจึงไม่มีการพิสูจน์เรื่องเอกสารจริงและเท็จ โดยระบุสั้นๆ ว่า " ไม่จำเป็นต้องมีเหตุผล" และย้ำว่า กกต.ไม่จำเป็นต้องสั่งระงับ หรือเตือนใดๆ ไปยัง คมช. เพราะไม่มีการกระทำใดๆ พร้อมทั้งยืนยันว่า กกต.ไม่ได้ถูกกดดันจาก คมช.
ไทยรัฐ
-----------------------------------------------------
(เอกสารที่กล่าวถึง)
-----------------------------------------------------
(การลงประชามติก็คือการซ่อมโกงล่วงหน้าก่อนการเลือกตั้งจริง
ถึงได้กลัวต่างชาติไม่ยอมให้เข้ามาสังเกตุการณ์)
ไทยรัฐ
กล้าได้กล้าเสีย
กลัวรู้ความลับ [5 ก.ย. 50 - 20:43]
หลังจากรัฐบาลและ คมช.พากันปฏิเสธเป็นเสียงเดียวกัน ไม่ต้องการให้ สหภาพยุโรป หรืออียู เข้ามาจุ้นจ้านสังเกตการณ์เลือกตั้งในเมืองไทยที่จะมีขึ้นปลายปีนี้ แถมยังทำเป็นไร้เดียงสา ตั้งคำถามหน้าตาย ทำไมอียูถึงสนใจอยากมาดูเลือกตั้งในบ้านเรานัก ต้องมีคนไทยชักใยอยู่เบื้องหลังแน่ๆ
สุดท้ายก็หนีไม่พ้น ต้องโยนให้กระโถนท้องพระโรงอย่างกลุ่มอำนาจเก่ารับผิดชอบไปเต็มๆเหมือนเดิม เหตุก็เพราะป้ายสีแล้วดูน่าเชื่อถือ มีเหตุผลมากที่สุด พวกกลุ่มใหม่ที่กระสันอำนาจ ก็เลยไม่รอช้า พากันออกมาพูดสอดคล้องต้องกันว่า อำนาจเก่าบงการอียูได้
โอ้โห ผมฟังแล้วปลื้มแทน ถ้าอำนาจเก่าบงการได้แม้กระทั่งอียู ที่แม้แต่อเมริกายังต้องเกรงใจ ก็คงต้องช่วยกันรณรงค์เลือกอำนาจเก่าให้กลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง เพราะยังมีปัญหาการค้าระหว่างไทยกับอียูให้รัฐบาลเก่ามาบงการอียู เพื่อประโยชน์ของเกษตรกรชาวไทยอีกมากมายนัก
แต่เอาเข้าจริง มันใช่ซะที่ไหนกันเล่า ผมเคยบอกไปหลายหนแล้วว่า จินตนาการกับความเป็นจริงมักเดินสวนทางกันเสมอ โดยเฉพาะเหตุผลที่มีน้ำหนักมากที่สุด ที่อียูสนใจอยากเข้ามาสังเกตการณ์เลือกตั้งในไทยก็มาจากการปฏิวัติรัฐประหารนั่นแหละ
ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีพรรคการเมืองบางพรรคไปเห็นดีเห็นงามกับการปฏิวัติรัฐประหาร ทำตัวเป็นลูกสมุนอย่างว่าง่าย ขณะที่พรรคการเมืองที่เคยเป็นรัฐบาลกลับโดนทุบทำลายจนไม่เหลือชิ้นดี อียูซึ่งเป็นกลุ่มประเทศมหาอำนาจในโลก ก็เลยสนใจอยากจะเข้ามาดูให้เห็นกันจะจะ
ถ้าพบอะไรไม่ชอบมาพากลจะได้เอาไปประจานให้ชาวโลกได้รับรู้กันบ้าง
เหมือนคราวลงประชามติรัฐธรรมนูญที่ผ่านมานั่นแหละ ตอนนั้นใครทำอะไรเอาไว้คงรู้อยู่แก่ใจ แต่บังเอิญความลับไม่มีในโลกนี้ ผมก็เลยได้เอกสารลับมาฉบับหนึ่ง เป็นเอกสารการส่งข่าวระหว่างหน่วยงานของ กอ.รมน.ลงวันที่ 24 ก.ค.ดังนี้
จาก สขว.กอ.รมน.ถึงผู้รับปฏิบัติ กอ.รมน.ภาค 1-4, กอ.รมน.จว., กอ.รมน.กทม.
1. ตามที่รัฐบาลได้สั่งการให้ส่วนราชการในพื้นที่ต่างๆเป็นองค์กรนำ ในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนออกไปใช้สิทธิออกเสียงลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ซึ่งปัจจุบันพบว่ายังมีประชาชนอีกเป็นจำนวนมาก ที่ยังไม่ให้ความสนใจโดยเฉพาะในประเด็นของเนื้อหาและวันลงประชามติ
นอกจากนี้ ยังปรากฏข่าวสารความเคลื่อนไหวของกลุ่ม ทรท. ซึ่งมีฐานเสียงและเงินทุนจำนวนมากออกรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการตัดสินใจลงประชามติของประชาชนในพื้นที่ค่อนข้างมาก
2. ดังนั้น เพื่อให้การลงประชามติของประชาชนเป็นไปตามแนวทางที่ถูกต้องและเป็นธรรม จึงขอให้ดำเนินการดังนี้
2.1 รณรงค์และประชาสัมพันธ์โดยเน้นให้ประชาชนเห็นถึงข้อดีของร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ให้ผ่านการลงประชามติ และขอให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิให้มากที่สุด เพื่อจะได้ถ่วงดุลกับจำนวนฐานเสียงของกลุ่ม ทรท. โดยประสานความร่วมมือกับนายก อบต., กำนัน และผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ร่วมดำเนินการด้วย
2.2 ให้ ติดตาม ตรวจสอบ และเกาะติดประชาชน เพื่อควบคุมและยับยั้งไม่ให้กลุ่ม ทรท.ดำเนินการซื้อเสียงหรือกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด ที่สามารถกุมสภาพการซื้อเสียงในพื้นที่ได้อย่างเต็มที่เพื่อลดจำนวนผู้สนับสนุนกลุ่ม ทรท.ลงให้มากที่สุด
สรุปก็คือ ข้อกล่าวหาว่า ทรท.ซื้อเสียง จนบัดนี้ยังไม่มีหลักฐานสักชิ้น แต่กรณีการใช้อำนาจรัฐชี้นำการลงประชามตินั้น หลักฐานชิ้นนี้ก็น่าจะชี้ได้ว่าอะไรเป็นอะไร ยิ่งถ้าเป็นการเลือกตั้งคงหนักกว่านี้แน่
และเพราะอย่างนี้ใช่ไหม ถึงได้กลัวอียูจะเข้ามารู้อะไรๆในเมืองไทยจนขนหัวลุก.
เห่าดง
-----------------------------------------------------
(รายชื่อคณะบุคคลที่ร่างรัฐธรรมนูญ 50)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ส.ส.ร.แล้ว
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ
แต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 23 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
( ฉบับชั่วคราว ) พุทธศักราช 2549 ดังต่อไปนี้
1. นายกนก โตสุรัตน์
2. นายกรรณิการ์ บรรเทิงจิตร
3. นายกฤษฎา ให้วัฒนานุกูล
4. นายกล้านรงค์ จันทิก
5. นายการุณ ใส่งาม
6. นายกิตติ ตีรเศรษฐ
7. นายเกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม
8.นายเกียรติชัย พงษ์พาณิชย์
9. นายคมสัน โพธิ์คง
10. นายจรัญ ภักดีธนากุล
11. นายจรัส สุวรรณมาลา
12. นายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี
13. นายเจริญศักดิ์ โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์
14. นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
15. นาย ช.ชัยนาท ศรีเสมาเมือง
16. นายชนินทร์ บัวประเสริฐ
17. นายชวลิต หมื่นนุช
18. นายชาติชาย เจียมศรีพงษ์
19. นายชาติชาย แสงสุข
20. นายชาลี กางอิ่ม
21. นายชำนาญ ภูมิสัย
22. นายชูชัย ศุภวงศ์
23. นายโชคชัย อักษรนันท์
24. นายไชยยศ เหมะรัชตะ
25.นางดวงสุดา เตโชติรส
26. นายเดโช สวนานนท์
27. นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์
28. พลตำรวจโท ธรรมนิตย์ ปิตะนีละบุตร
29. นายธวัช บวรนิชยภูร
30. นายธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย
31. นายธีรวัฒน์ ร่มไทรทอง
32. นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์
33. นายนรนิติ เศรษฐบุตร
34. นายนิตย์ วังวิวัฒน์
35. นายนิมิต ชัยจีระธิกุล
36. นายนุรักษ์ มาประณีต
37. นายปกรณ์ ปรียากร
38. นายประดิษฐ์ เหลืองอร่าม
39. นายประพันธ์ นัยโกวิท
40. นายประวิทย์ อัครชิโนเรศ
41. นายประสงค์ พิทูรกิจจา
42. นายปริญญา ศิริสารการ
43. นางพรรณราย แสงวิเชียร
44. นางสาวพวงเพชร สารคุณ
45. นางพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ
46. นายพิสิฐ ลี้อาธรรม
47. พลเรือเอกพีรศักดิ์ วัชรมูล
48. นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์
49. นายไพโรจน์ พรหมสาส์น
50. นายมนตรี เพชรขุ้ม
51. นางมนูญศรี โชติเทวัณ
52. นายมานิจา สุขสมจิตร
53. พลตำรวจเอกมีชัย นุกูลกิจ
54. นายรัฐ ชูกลิ่น
55. นางรุจิรา เตชางกูร
56. นายวรากรณ์ สามโกเศศ
57. นายวัชรา หงส์ประภัศร
58. นายวิชัย รูปขำดี
59. นายวิชัย เรืองเริงกุลฤทธิ์
60. นายวิชัย ศรีขวัญ
61. นายวิชา มหาคุณ
62. นายวิทธยา บริบูรณ์ทรัพย์
63. นายวิทยา คชเขื่อน
64. นายวิทยา งานทวี
65. นายวิทวัส บุญญสถิตย์
66. นายวีนัส ม่านมุงศิลป์
67. นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร
68. นายวุฒิสาร ตันไชย
69. นายศรีราชา เจริญพานิช
70. นายศักดิ์ชัย อุ่นจิตติกุล
71. นายศักดิ์นรินทร์ เขื่อนอ้น
72. นายศิวะ แสงมณี
73. นายเศวต ทินกูล
74. นางสดศรี สัตยธรรม
75. นายสนั่น อินทรประเสริฐ
76. นายสมเกียรติ รอดเจริญ
77. นายสมคิด เลิศไพฑูรย์
78. นายสมชัย ฤชุพันธุ์
79. นายสมยศ สมวิวัฒน์ชัย
80. นายสวัสดิ์ โชติพานิช
81. นายสว่าง ภู่พัฒน์วิบูลย์
82. นายสวิง ตันอุด
83. นายสามขวัญ พนมขวัญ
84. นายสุนทร จันทร์รังสี
85. นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย
86. นายสุรพล พงษ์ทัดศิริกุล
87. นายเสริมเกียรติ วรดิษฐ์
88. นายเสรี นิมะยุ
89. นายเสรี สุวรรณภานนท์
90. นายหลักชัย กิตติพล
91. นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล
92. นายอภิชาติ ดำดี
93. นายอรรครัตน์ รัตนจันทร์
94. นายอรัญ ธรรมโน
95. นางสาวอลิสา พันธุศักดิ์
96. นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์
97. นางอังคณา นีละไพจิตร
98. นางสาวอาภา อรรถบูรณ์วงศ์
99. นายอุทิศ ชูช่วย
100.นายโอภาส เตพละกุล
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 1 มกราคม พุทธศักราช 2550 เป็นปีที่ 62 ในรัชกาลปัจจุบัน
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
-----จากเวป กรมประชาสัมพันธ์------- 2/01/2007
http://www.thaisnews.com/
-----------------------------------------------------------
เปิดโฉม 25+10 กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
โดย ข่าวสด วัน จันทร์ ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2550 08:31 น.
รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2549 มาตรา 19 กำหนดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เพื่อจัดร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งมาตรา 25 กำหนดให้ส.ส.ร. แต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 35 คน
โดย 25 คนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากที่ประชุมส.ส.ร. มีมติแต่งตั้ง ซึ่งจะเป็นสมาชิกส.ส.ร. หรือไม่เป็นก็ได้
อีก 10 คน เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) แต่งตั้ง จะเป็นหรือไม่เป็นสมาชิกส.ส.ร. ก็ได้เช่นกัน
วันที่ 16 ม.ค. ที่ประชุมส.ส.ร. คัดเลือกกรรมาธิการยกร่างฯ ตามพ.ร.ฎ.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
ตามมาตรา 4 (1) ตัวแทนจากภาคต่างๆ จำนวน 8 คน ประกอบด้วย
ภาครัฐ 2 คน
1. นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร สำนักงานอัยการสูงสุด
2. นางสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)
ภาควิชาการ 2 คน
1. นายธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ภาคเอกชน 2 คน
1. นายพิสิฐ ลี้อาธรรม อดีตรมช.คลัง
2. นายวิทยา งานทวี นายกสมาคมไม้ยางพาราแห่งประเทศไทย
ภาคสังคม 2 คน
1. นายมานิจ สุขสมจิตร นักหนังสือพิมพ์
2. นายวุฒิสาร ตันไชย ผอ.วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า
คัดเลือกตามมาตรา 4 (2) จำนวน 17 คน เรียงตามลำดับคะแนน ดังนี้
1. นายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม (86 คะแนน)
2. นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ ศาสตราจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (79 คะแนน)
3. นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. (75 คะแนน)
4. นายเกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม อดีตกรรมการ ป.ป.ช. (72 คะแนน)
5. นายศรีราชา เจริญพานิช รองศาสตราจารย์ด้านนิติศาสตร์ อาจารย์พิเศษด้านกฎหมาย มีตำแหน่งและบทบาทในคณะกรรมการและอนุกรรมการ
ของสำนักงานกฤษฎีกา กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (66 คะแนน)
6. นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ เลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญ (61 คะแนน)
7. นางอังคณา นีละไพจิตร ภรรยานายสมชาย นีละไพจิตร อดีตประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม (57 คะแนน)
8. นายไพโรจน์ พรหมสาส์น อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย (57 คะแนน)
9. น.ส.พวงเพชร สารคุณ รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา (54 คะแนน)
10.นายไชยยศ เหมะรัชตะ ศาตราจารย์ด้านนิติศาสตร์ (53 คะแนน)
11.น.พ.ชูชัย ศุภวงศ์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (47 คะแนน)
12.นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต. (47 คะแนน)
13.นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์ รองประธานศาลปกครองสูงสุด (46 คะแนน)
14.นายนุรักษ์ มาประณีต ตุลาการรัฐธรรมนูญ (44 คะแนน)
15.นายปกรณ์ ปรียากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (41 คะแนน)
16.นายสนั่น อินทรประเสริฐ สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อดีตอธิบดีกรมพลศึกษา (37 คะแนน)
17.นายคมสัน โพธิ์คง อาจารย์นิติศาสตร์ มสธ. (35 คะแนน)
ขณะที่คมช. เสนอแต่งตั้ง 10 คน เมื่อวันที่ 19 ม.ค. ประกอบด้วย
1. พล.อ.อัฏฐพร เจริญพานิช เจ้ากรมพระธรรมนูญทหาร
2. นายมนตรี ศรีเอี่ยมสะอาด สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ ผู้พิพากษาศาลฎีกา
3. นายอัชพร จารุจินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
4. นายสุพจน์ ไข่มุกต์ ประธานและเพื่อนร่วมรุ่น วปรอ.กับพล.อ.วินัย ภัททิยกุล เลขาธิการคมช. ประธานอนุกรรมการประชาสัมพันธ์
ในคณะกรรมการกำกับดูแลการสรรหาสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ(กดส.)
5. นายธงทอง จันทรางศุ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม
6. นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ
7. น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
8. นายธนบูลย์ จิรานุวัฒน์ ที่ปรึกษาอธิการบดีม.รังสิต และอดีตอัยการ
9. นายวิจิตร วิชัยสาร อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี
10.นางกาญจนรัตน์ ลีวิโรจน์ รองเลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง
สำหรับหน้าที่ของกรรมาธิการทั้ง 35 คน รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวกำหนดว่า เมื่อคณะกรรมาธิการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วให้ทำคำชี้แจงว่า ร่างรัฐธรรมนูญที่จัดทำขึ้นใหม่นั้นมีความแตกต่างกับรัฐธรรมนูญ 2540 อย่างไรบ้าง พร้อมเหตุผลการแก้ไขไปยัง ส.ส.ร. คมช. สนช. ครม. ศาลฎีกา ศาลปกครองสูงสุด องค์กรอิสระ เพื่อพิจารณาเสนอแนะ
การร่างรัฐธรรมนูญต้องเสร็จใน 180 วัน นับแต่วันเปิดประชุมส.ส.ร.นัดแรก ก่อนทำประชามติ ซึ่งต้องจัดทำไม่เร็วกว่า 15 วัน และไม่ช้ากว่า 30 วัน นับแต่วันที่เผยแพร่
แต่ถ้า ส.ส.ร.จัดทำร่างรัฐธรรมนูญไม่แล้วเสร็จภายในกำหนด หรือประชามติไม่เห็นชอบ ให้ส.ส.ร.สิ้นสุดลงและให้คมช. ประชุมร่วมกับครม. นำรัฐธรรมนูญฉบับใดก็ได้มาปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันออกเสียงประชามติไม่เห็นชอบ
----------------------------------------------------------
(ชื่อซ้ำๆ หน้าคุ้นๆ ทั้งนั้น)
"ประสงค์" นั่ง ปธ.กมธ.ยกร่างฯ "สมคิด เลิศไพฑูรย์" นั่งเลขาฯ ตามโผ
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 25 มกราคม 2550 12:19 น.
ที่ประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญนัดแรก เพื่อเลือกตำแหน่งต่างๆ นั้น
ล่าสุด มีผลการลงคะแนนเสียงในการชิงชัยในตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการฯ
โดย น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ได้รับเลือกเป็นประธานกรรมาธิการฯ ด้วยคะแนนเสียง 18 เสียง
ขณะที่นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์ ได้ 17 คะแนน จากนั้นได้มีการเลือกตำแหน่งรองประธานกรรมาธิการ
ซึ่งมีทั้งสิ้น 4 คน ประกอบด้วย
นายอัครวิทย์ เป็นรองประธานฯ คนที่ 1
นายจรัญ ภักดีธนากุล เป็นรองประธานฯ คนที่ 2
นายวิชา มหาคุณ เป็นรองประธานฯ คนที่ 3
และนายชูชัย ศุภวงศ์ เป็นรองประธานฯ คนที่ 4
ขณะที่นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเลขานุการคณะกรรมาธิการฯ
และนายธงทอง จันทรางศุ เป็นโฆษกคณะกรรมาธิการฯ
อย่างไรก็ตาม รายชื่อดังกล่าวนั้นเป็นไปตามโผที่มีการคาดการณ์กันไว้ล่วงหน้า
-------------------------------------------------------------------
40นักวิชาการร่วมกันเข้าชื่อคัดค้าน รธน.ฉบับ'ประสงค์' [22 ก.พ. 50 - 13:18]
วันนี้ (22 ก.พ.) นายสมเกียรติ ตั้งนะโม อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า เวลานี้ 40 นักวิชาการจากทั่วประเทศ ได้เตรียมเข้าชื่อกัน เพื่อจะยื่นคัดค้านรัฐธรรมนูญ ฉบับที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 35 คนที่มี น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ เป็นประธานเป็นผู้ร่างขึ้น เนื่องจากไม่สามารถเคารพและยอมรับรัฐธรรมนูญที่มาจากกระบวนการรัฐประหารได้
นายสมเกียรติ กล่าวว่า การเข้าชื่อกันครั้งนี้ มีกลุ่ม 19 กันยาต้านรัฐประหารของนายใจ อึ๊งภากรณ์ เป็นแกนนำ ซึ่งจะยื่นรายชื่อทั้งหมดให้กับประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นักวิชาการที่มีรายชื่อเข้าร่วม อาทิ นายนิธิ เอียวศรีวงษ์ นายสมชาย ปรีชาศิลปกุล และอาจารย์ชื่อดังจากอีกหลายสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ
----------------------------------------------------------
(ภาพคนเสื้อแดงที่ออกมาแสดงพลังต่อต้านโดยรณรงค์ Vote No รัฐธรรมนูญ 50 นี้
ในวันที่ 15 ส.ค. 50 ก่อนวันลงประชามติ วันที่ 19 ส.ค. 50
เป็นภาพถ่ายของชาวเว็บ จำชื่อไม่ได้แล้วขออภัยด้วยเพราะตอน Save ลืมบันทึกชื่อไว้)
-------------------------------------------------------
(สุมหัวช่วยกันโกงสารพัดเริ่มจากการทำป้ายประชาสัมพันธ์ให้คนไปใช้สิทธิ์
ก็ระบุชัดเจนทีเดียวให้ไป "เห็นชอบ")
---------------------------------------------------(นี่เป็นหลักฐานเอกสารทางการสั่งเกณฑ์คนมาลงรับร่าง
หรือสกัดฝ่ายไม่รับร่างทุกอย่างมีทั้งด่วน ทั้งลับ
และที่ไม่เปิดเผยสั่งด้วยวาจาอีกเท่าไหร่)
----------------------------------------------------------
(ภาพเปรียบเทียบพื้นที่ที่อยู่ในกฏอัยการศึกกับพื้นที่ที่ไม่เห็นชอบกับร่างรธน.50)
---------------------------------------------------
(เปรียบเทียบ 24 จังหวัดโหวตไม่รับกับคะแนนเลือกตั้ง ทรท. ปี 48)
--------------------------------------------------------
(รูปผลการลงคะแนนแยกตามภาพคิดเปอร์เซ็นต์เฉพาะผู้มาลงคะแนน)
------------------------------------------------------
(ถ้าคิดตามเปอร์เซ็นต์ของผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนทุกคน
ผลจะเห็นว่ารับร่างรัฐธรรมนูญ 50 แค่ 31.05% ไม่ถึงครึ่งของทั้งประเทศ)
-------------------------------------------------------
แฉหลักฐานบัตรเลือกตั้งพิรุธ2บริษัทยื่นราคาไขว้
เขียนโดย ทีมข่าว
ศุกร์, 08 สิงหาคม 2008
“ณัฐวุฒิ” กางเอกสารแฉความไม่ชอบมาพากลพิมพ์บัตรเลือกตั้งเกินกว่า 50 ล้านใบ ของ กกต. พบพิรุธแยกจ้างพิมพ์เป็น 2 งาน ขณะที่บริษัทได้งาน 2 ราย เข้ามาแข่งขันกันเอง ก่อนจะได้งานไปคนละชิ้นด้วยราคาเท่ากันจนน่าแปลกใจที่ 99 สตางค์ ขณะที่คู่แข่งเสนอต่างกันไม่มาก ข้องใจทำไมเสนอราคา 2 งานคนละราคา คล้ายจงใจแบ่งปันผลประโยชน์ ส่อเข้าข่ายความผิด พ.ร.บ.ฮั้ว
กรณีร้องเรียนทุจริตบัตรเลือกตั้งได้ถูกขยายผลและมีข้อให้ชวนสงสัยมากยิ่ง ขึ้น เมื่อพบว่ามีเอกสารหลักฐานที่บอกถึงความไม่ชอบมาพากล โดยเฉพาะการแยกพิมพ์บัตรเลือกตั้ง และมีเพียง 2 บริษัทเข้าประมูลงาน โดยได้งานไปคนละส่วนบนเงื่อนไขราคาที่ตรงกันอย่างน่าแปลกใจ พร้อมกับข้อสงสัยว่าทำไมการเสนอราคาของทั้ง 2 บริษัท ในการประมูล 2 ครั้งจึงเสนอราคาแตกต่างกัน จนส่อว่าจงใจให้ชนะการประกวดราคาไปคนละ 1 งาน
กรณีดังกล่าวนั้น นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รองโฆษกสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะแขกรับเชิญรายการ “ความจริงวันนี้” กล่าวในรายการเมื่อคืนวันที่ 6 สิงหาคม ที่ผ่านมาว่า ตนเคยตั้งคำถามการพิมพ์บัตรเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ที่เกินมาถึงกว่า 20% แต่ไม่สามารถหาเหตุผลมารองรับได้ ตนมีหลักฐาน เป็นหนังสือประกาศ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่องการจัดประกวดราคาจ้างพิมพ์บัตรออกเสียงประชามติ หนังสือฉบับนี้ประกาศเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2550 ลงนามโดย นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. ประกาศว่า มีความประสงค์จะประกวดราคาจ้างพิมพ์บัตรออกเสียงประชามติ ตามรายการดังนี้
(1) ภาคกลางและภาคตะวันออก จำนวน 17,330,000 ฉบับ ในวงเงิน 20,796,000 บาท
(2) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 16,930,000 ฉบับ ในวงเงิน 19,716,000 บาท
(3) ภาคเหนือ จำนวน 9,035,000 ฉบับ ในวงเงิน 10,842,000 บาท
(4) ภาคใต้ จำนวน 6,705,000 ฉบับ ในวงเงิน 8,056,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 59,400,000 บาทถ้วน (ห้าสิบเก้าล้านสี่แสนบาทถ้วน)
ในการประกวดราคามีการกำหนดหลักเกณฑ์ ที่จะให้ผู้ยื่นซองเข้าประกวดราคายื่น TOR ประกาศ TOR ไปเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ต่อมาเดือนกรกฎาคมจึงได้ตัวผู้รับเหมา ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากว่า ในการจ้างพิมพ์บัตรออกเสียงประชามติ ถูกจัดหมวดหมู่ให้ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ จ้างให้พิมพ์เจ้าหนึ่ง และให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ จ้างอีกที่หนึ่งพิมพ์ โดยในกลุ่มแรกพิมพ์จำนวน 24.35 ล้านฉบับ กลุ่มที่สองพิมพ์ 25.465 ล้านฉบับ ปรากฏว่าผู้ยื่นประกวดราคามีเพียง 2 บริษัทเท่านั้นคือ บริษัท จันวาณิช ซีเคียวริตี้ พริ้นท์ติ้ง จำกัด และบริษัท ทีเคเอส เทคโนโลยี จำกัด
นายณัฐวุฒิได้ตั้งเป็นข้อสังเกตว่า ได้มีเป็นความบังเอิญเหลือเกินที่บริษัทที่พิมพ์บัตรเลือกตั้งก็เป็น สองบริษัทนี้ ผลการประกวดราคาในการพิมพ์บัตรออกเสียงประชามติ กลุ่มแรก บริษัท จันวาณิช ได้เพราะเสนอราคา ใบละ 99 สตางค์ บริษัท ทีเคเอส ไม่ได้เพราะเสนอราคาให้ใบละ 1.08 บาท ต่างกันไม่มาก ในการพิมพ์บัตรกลุ่มที่สอง บริษัท ทีเคเอส เสนอราคาใบละ 99 สตางค์ บริษัท จันวาณิช เสนอราคาใบละ 1.07 บาท จึงไม่ได้ เป็นที่น่าสังเกตว่า ทั้งสองบริษัทได้งานในราคาเท่ากัน คือ 99 สตางค์ และบริษัททั้งสองไม่รู้จักกันมาก่อน แล้วตัวเลขที่ไม่ได้งานก็ต่างกันเพียงเล็กน้อย คำถามที่อยากถาม กกต. คือ 1.ทั้งสองบริษัทนี้เสนอราคามาตรงกันได้อย่างไร 2.หากเป็นเช่นนี้มีเหตุผลอะไรที่ทั้งสองบริษัทจะยื่นเสนอราคาทั้งสองแบบใน ตัวเลขที่ไม่เท่ากัน หรือเจตนาจะให้อีกบริษัทได้งานไป
“นั่นหมายความว่ามีการเสนอราคาไขว้กัน พิมพ์บัตรออกเสียงประชามติภาคเหนือ บริษัทจะได้ต้องเสนอ 99 สตางค์ อันนี้เป็นตัวเลขมหัศจรรย์ เพราะบัตรสเป็กเดียวกัน ต้นทุนเหมือนกัน กกต. กำหนดราคากลางไว้ที่ 1.20 บาท และเป็นไปได้อย่างไรที่สองบริษัทนี้จะเสนอราคาเท่ากันที่ 99 สตางค์ และได้งานแบบไขว้กัน มันเหมือนกับมีการเจรจากันก่อนแล้วค่อยยื่นราคาเข้าไป เจ้าหน้าที่ กกต. ท่านไม่ทราบกันเลยหรือว่ามีความไม่ชอบมาพากลแบบนี้เกิดขึ้น”
การที่ผลงานที่สองบริษัทนี้ พิมพ์ตอนลงประชามติ เนื่องจากมีการจัดตัวเลขตรงกันโดยมิได้นัดหมาย เพราะฉะนั้นในการพิมพ์บัตรเลือกตั้ง จึงจ้างสองบริษัทนี้เป็นพิเศษโดยมิได้มีการประมูล หากจำได้ ตนเคยนำข้อมูลมาเปิดเผยภายหลังการลงประชามติ นางสดศรี สัตยธรรม คณะกรรมการ กกต. พยายามหลบเลี่ยงไม่เข้าประชุมในวาระการจัดจ้างพิมพ์บัตรมาตลอด เพราะทนไม่ได้ เพราะถ้าเข้าประชุมแล้วคงอดตั้งคำถามไม่ได้ว่า ทำไมสองบริษัทที่มีปัญหาในการพิมพ์บัตรประชามติจึงได้งานพิมพ์บัตรเลือกตั้ง อีก
ดังนั้นจึงขอถามว่า กกต.ซึ่งมีหน้าที่ดำรงความบริสุทธิ์ยุติธรรมในการเลือกตั้งภายในประเทศ เมื่อทำการที่น่าสงสัยอย่างนี้ ตนจะให้ใบแดง กกต.ทั้ง 5 คนนี้ได้หรือไม่ จึงอยากให้ กกต.สำรวจตัวเองเหมือนกันว่าทำอะไรกัน คนเขารู้เห็นกันอย่างนี้แล้ว กกต. คิดกันบ้างหรือไม่ว่าท่านไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ที่จะไปตรวจสอบคนอื่น เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ความกระจ่าง
ประชาทรรศน์
ที่มา http://prachachonthai.com/www/index.php?option=com_content&task=view&id=320
------------------------------------------------------
<<< รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว)พ.ศ. 2549 >>>
<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ที่มาของรัฐธรรมนูญ ปี 2550 >>>
<<< รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 >>>
<<< รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 #2 >>>
<<< รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 #3 >>>
------------------------------------------------------
FfF
บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.