บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


26 พฤษภาคม 2552

<<< ประกาศ คปค. ทั้งหมด >>>

เก็บเอาไว้ให้ลูกหลานดู
ขั้นตอนการยึดอำนาจ
เขาทำยังไงกัน
แค่มีกำลังยึดอำนาจได้
ก็ทำผิดให้เป็นถูกได้ง่ายๆ
อะไรก็เกิดขึ้นได้ในประเทศนี้

โดย มาหาอะไร

---------------------------------------------------

ประกาศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑

ตาม ที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินเป็นที่เรียบร้อย ตามที่ได้

ประกาศ ให้ทราบทั่วกันแล้วนั้น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยให้เกิดกับประชาชนทั้งประเทศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหา

กษัตริย์ ทรงเป็นประมุข จึงประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร และให้ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ลงวันที่ ๑๙

กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ ตั้งแต่วันที่ ๑๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ เวลา ๒๑.๐๕ น.


ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙

พลเอก สนธิ บุณยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

----------------------------------------------------

ประกาศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๒
เรื่อง ห้ามการเคลื่อนย้ายกำลังทหาร

ให้ ทหารทุกนายไปรายงานตัว ณ ต้นสังกัด และห้ามเคลื่อนย้ายกำลังออกจากที่ตั้งปกติโดยเด็ดขาด ถ้าไม่ได้รับคำสั่งจากคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบ

ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙

พลเอก สนธิ บุณยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

--------------------------------------

ประกาศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๓

ตามที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ได้ทำการยึดอำนาจปกครองประเทศไว้เรียบร้อยแล้วนั้น

เพื่อความสงบเรียบร้อยในการปกครองประเทศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข จึงให้

๑.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ สิ้นสุดลง
๒.วุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี และศาลรัฐธรรมนูญ สิ้นสุดลงพร้อมกับรัฐธรรมนูญ
๓.องคมนตรี คงดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ต่อไป
๔.ศาลทั้งหลาย นอกจากศาลรัฐธรรมนูญ คงมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีตามบทกฎหมาย และตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบ

ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข

ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙

พลเอก สนธิ บุณยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

-----------------------------------------------

ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๔
เรื่อง อำนาจบริหารราชการแผ่นดิน

โดย ที่ได้มีกฎหมายบางฉบับ ถึงอำนาจหน้าที่ ของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ในอันที่จะปฏิบัติตามกฎหมายได้ และเพื่อประโยชน์แก่การปฏิบัติตาม

กฎหมายดังกล่าว หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ในระหว่างที่ยังไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ให้บรรดาอำนาจหน้าที่ ที่กฎหมายได้บัญญัติว่า เป็นอำนาจหน้าที่ ของนายกรัฐมนตรี หรือคณะ

รัฐมนตรี ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ผู้ซึ่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการ

ปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้รับมอบหมาย

ข้อ ๒ ระหว่างที่ยังไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ให้บรรดาอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติว่า เป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีกระทรวงใดก็ให้เป็นอำนาจ

หน้าที่ ของปลัดกระทรวงนั้น เว้นแต่หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น


ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ เวลา ๐๐.๒๗ น.

ลงชื่อ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

-------------------------------------------------

ประกาศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๕
เรื่อง: ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ควบคุมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

ตามที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองแล้วนั้น จึงให้กระทรวง

เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร ดำเนินการควบคุม ยับยั้ง สกัดกั้น และทำลาย การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในระบบสารสนเทศ ผ่านระบบเครือข่ายการ

สื่อ สารทั้งปวง ที่มีบทความ ข้อความ คำพูด หรืออื่นใด อันอาจส่งผลกระทบต่อการปฎิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น

ประมุข ตามที่ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้มีประกาศไว้ในเบื้องต้นแล้ว

สั่ง ณ วันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศํกราช ๒๕๔๙

---------------------------------------------

ประกาศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 7

เรื่อง การห้ามชุมนุมทางการเมือง

ตาม ที่ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอณาจักร ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน

พุทธศักราช 2549 เวลา 21.05 น.เป็นต้นไปแล้วนั้น

เพื่อมิให้เกิดปัญหา และอุปสรรคต่อการบริหารราชการแผ่นดิน ในระหว่างประกาศกฎอัยการศึก

จึง ห้ามมิให้มั่วสุม ประชุมทางการเมือง ณ ที่ใด ๆ ที่มีจำนวน ตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป หากผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกินหมื่น

บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ประกาศ ณ วันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549

ลงชื่อ พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

(ประกาศ เมื่อเวลา 10.48 น.)

------------------------------------------------------------

ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 8

เรื่อง ห้ามกักตุนสินค้า

เนื่อง ด้วยในการที่ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้เข้ายึด อำนาจในการปกครองในครั้งนี้ มุ่งหวัง

ให้ บ้านเมือง มีความสงบเรียบร้อย มีความเจริญรุ่งเรืองและประชาชนได้รับความเป็นธรรม ในการซื้อขายสินค้าเป็นสำคัญ จึงห้ามมิให้ผู้ใดกักตุนสินค้า หรือ

ขึ้นราคาสินค้าทุกประเภท

ถ้าหากผู้ใดฝ่าฝืน ถือว่าเป็นความผิดต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ประกาศ ณ วันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549

ลงชื่อ พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

---------------------------------------------------

ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฯ ฉบับที่ 9
เรื่อง นโยบายต่างประเทศ

ตาม ที่ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ยึดและควบคุมอำนาจการปกครองประเทศไว้แล้ว ตั้งแต่วันที่

19 กันยายน พุทธศักราช 2549 นั้น

คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า

คณะ ปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จะยึดมั่นในหลักกฎบัตรสหประชาชาติ และองค์การระหว่างประเทศอื่น

ๆ เพื่อผลประโยชน์ของชาติจะรักษาไว้ ซึ่งสิทธิและจะปฏิบัติตามพันธะกรณีในสนธิสัญญาหรือข้อตกลงที่ทำไว้กับนานา ประเทศ ภายใต้หลักเกณฑ์แห่งความ

เสมอภาคโดยเคร่งครัด

จะ ส่งเสริมและรักษาไว้ ซึ่งความสัมพันธ์อันดี ที่มีอยู่ สำหรับชาวต่างประเทศ คณะทูตานุทูต กงศุล สถานเอกอัคราชทูต และองค์การระหว่างประเทศที่ตั้ง

อยู่ในประเทศไทย จะได้รับการคุ้มครองจากคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ประกาศ ณ วันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549

ลงชื่อ พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

--------------------------------------------------

ประกาศ
แต่งตั้งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
..................................................
ภูมิพลอดุลยเดช ปร.
ด้วย พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ได้นำความกราบบังคมทูลว่า การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลอันมีพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ก่อ

ให้ เกิดปัญหาความขัดแย้งแบ่งฝ่าย สลายความรู้สึกรู้รักสามัคคีของชนในชาติอย่างที่ไม่เคยปรากฎในประวัติศาสตร์ ของชาติไทย ประชาชนส่วนใหญ่เคลือบ

แคลง สงสัยว่าการบริหารราชการแผ่นดินส่อไปในทางทุจริต ประพฤติมิชอบอย่างกว้างขวาง หน่วยงานอิสระถูกการเมืองครอบงำ ทำให้การดำเนินกิจกรรม

ทางการเมืองเกิดปัญหาและอุปสรรคหลายประการ แม้หลายภาคส่วนของสังคมจะได้พยายามประนีประนอมคลี่คลายสถานการณ์มาโดยต่อเนื่องแล้ว ก็ไม่

สามารถ รักษาความสงงบเรียบร้อยของบ้านเมืองได้ คณะทหาร ตำรวจ และพลเรือน ซึ่งมีพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้า ได้เข้ายึดอำนาจการปกครอง

ไว้ได้ และทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ดัง นั้น เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่ประเทศ จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครอง

ใน ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ขอให้ประชาชนทั้งหลายจงอยู่ในความสงบและให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทุกฝ่าย

ฟังคำสั่งของพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป


ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ เป็นปีที่ ๖๑ ในรัชกาลปัจจุบัน


ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
ผู้บัญชาการทหารบก

-----------------------------------------------------

ประกาศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๐
เรื่อง ขอความร่วมมือในการเสนอข่าวสาร

ตามที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ยึดอำนาจการปกครองไว้เรียบร้อยแล้วนั้น

เพื่อให้เกิดความสามัคคีภายในชาติ อันจะเป็นรากฐานในการแก้ไขวิกฤติและฟื้นฟูประเทศชาติให้ลุล่วงไปโดยเร็ว คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบ

ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงขอความร่วมมือ ร่วมใจ มายังสื่อมวลชนทุกคน ได้โปรดร่วมกันเสนอข่าวสารตามความเป็นจริง และ

เป็นไปในทางสร้างสรรค์ เพื่อฟื้นฟูความสามัคคีภายในชาติและทำให้ประเทศชาติกลับสู้ความสงบสุขโดยเร็วที่สุด

ประเทศ ชาติของเราได้บอบช้ำเพราะความแตกแยก แตกสามัคคีมากพอแล้ว จึงจำเป็นที่พี่น้องประชาชนชาวไทยทุกคนจะได้ร่วมแรงร่วมใจกันฟื้นฟูบ้าน เมือง

ฟื้นฟูความสามัคคี นำความสงบสุขกลับคืนประเทศชาติตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยเร็วที่สุด

คณะ ปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมีความหวังอยู่แรงกล้าที่จะได้รับความร่วม มือจากทุกท่านอย่างพร้อม

เพรียงกัน จึงขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้


ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙

พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

----------------------------------------------------

ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๑
เรื่อง แต่งตั้งบุคคลสำคัญดำรงตำแหน่งในคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

เพื่อ ให้การบริหารประเทศเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และควบคุมสถานการณ์ทั้งปวง อันอาจเกิดขึ้นจากผู้ไม่หวังดีต่อชาติบ้านเมืองให้กลับคืนเข้าสู่

สถานการณ์ ปกติโดยเร็วที่สุด จึงให้แต่งตั้งบุคคลดำรงตำแหน่งในกองบัญชาการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรง

เป็นประมุข ดังนี้

๑. พลเอก เรืองโรจน์ มหาศรรานนท์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็น ประธานที่ปรึกษาคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์

ทรงเป็นประมุข
๒.พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก เป็น หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
๓. พลเรือเอก สถิรพันธ์ เกยานนท์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็น รองหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น

ประมุข คนที่ ๑
๔.พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็น รองหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น

ประมุข คนที่ ๒
๕.พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็น รองหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น

ประมุข คนที่ ๓

ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙

พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

---------------------------------------------------------

ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๒
เรื่อง ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญบางฉบับมีผลบังคับใช้ต่อไป

เพื่อ ให้การดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดินเป็นไปอย่างต่อเนื่อง สมควรปรับปรุงพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.

๒๕๔๒ และให้มีผลใช้บังคับต่อไป คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๔๒ มีผลใช้บังคับต่อไป โดยให้งดการบังคับใช้บทบัญญัติในส่วนที่ ๑

หมวด ๑ จนกว่าจะมีประกาศเป็นอย่างอื่น และให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ พ้นจากตำแหน่ง

ข้อ ๒ ให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๙ คงอยู่ในตำแน่งต่อไป จนกว่าจะมีประกาศเป็นอย่างอื่น

ข้อ ๓ การใดที่กำหนดให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๔๒

ให้เป็นอำนาจของผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน

สั่ง ณ วันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙

พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

------------------------------------------------------------

ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๓
เรื่อง ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญบางฉบับมีผลใช้บังคับต่อไป

เพื่อ ให้การดำเนินการเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่นเป็นไปโดยสุจริต และเที่ยงธรรม และสามารถดำเนินการต่อไปได้ อย่างต่อ

เนื่อง คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๔๑ มีผลบังคับใช้ต่อไป

ข้อ ๒ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจหน้าที่ควบคุม และดำเนินการจัดให้มีการเลือกตั้งสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่นให้เป็นไปโดยสุจริต และเที่ยง

ธรรม

ข้อ ๓ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจหน้าที่ออกประกาศให้ย่น หรือขยายระยะเวลา หรือกำหนดวิธีการเกี่ยวกับการเลือกตั้งตามที่บัญญัติในพระราช

บัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อให้เหมาะสมแก่การเลือกตั้งที่ค้างดำเนินการหรือจำเป็นต้องดำเนินการต่อ ไป

ให้แล้วเสร็จ

ข้อ ๔ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกอบด้วย

(๑) นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกรรมการ
(๒) นายประพันธ์ นัยโกวิท กรรมการ
(๓) นางสดศรี สัตยธรรม กรรมการ
(๔) นายสมชัย จึงประเสริฐ กรรมการ
(๕) นายสุเมธ อุปนิสากร กรรมการ

ทั้งนี้ จนกว่าจะประกาศเป็นอย่างอื่น

ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙

พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

----------------------------------------------------------

ประกาศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๔
เรื่อง ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญบางฉบับมีผลใช้บังคับต่อไป

เพื่อ ให้การดำเนินการเกี่ยวกับการรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการบริหารราชการ แผ่นดินและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นไปอย่างต่อเนื่อง คณะปฏิรูป

การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน

ของรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๔๒ มีผลใช้บังคับต่อไป จนกว่าจะมีประกาศเป็นอย่างอื่น

ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙

พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

----------------------------------------------------

ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ฉบับที่ ๑๕
เรื่อง ห้ามพรรคการเมืองประชุมหรือดำเนินกิจการอื่นใดทางการเมือง
..................................................
เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอานาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ได้สิ้นสุดลงตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหา

กษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๓ ลงวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ แล้ว และได้มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหา

กษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๗ ลงวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ เรื่อง การห้ามชุมนุมทางการเมือง แต่เพื่อให้การดำเนินการปกครองตามระบอบ

ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สามารถดำเนินการต่อไปได้ต่อเนื่อง ภายหลังที่สถานการณ์เข้าสู่ปกติแล้ว คณะปฏิรูปการปกครองใน

ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ มีผลใช้บังคับต่อไป เพื่อให้พรรคการเมืองยังคงสภาพอยู่ต่อไปได้

ข้อ ๒ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อย ห้ามมิให้พรรคการเมืองที่มีอยู่แล้ว ดำเนินการประชุมหรือดำเนินกิจการใดๆ ในการเมือง และการจัดตั้ง

หรือจดทะเบียนพรรคการเมืองให้ระงับไว้เป็นการชั่วคราว

ทั้งนี้จนกว่าจะประกาศเป็นอย่างอื่น


ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙
พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

--------------------------------------------------

ประกาศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๖
เรื่อง ให้หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขทำหน้าที่รัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา

เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดินให้มีความต่อเนื่องในระหว่างที่ยังไม่มีสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบ

ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้
ใน กรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้การดำเนินการเรื่องใดต้องได้รับควาามเห็นชอบจาก รัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา ให้เป็นอำนาจของหัวหน้าคณะ

ปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในการให้ความเห็นชอบแทนรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา ใน

เรื่องนั้น

ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙

พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

----------------------------------------------

ประกาศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๗
เรื่อง มอบอำนาจบริหารราชการแผ่นดิน

ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๔ ลงวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ มีคำสั่งให้

บรรดาอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีเป็นอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองใน

ระบอบ ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือผู้ซึ่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น

ประมุข มอบหมาย นั้น
เพื่อ ให้การบริหารราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงมอบหมายให้ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ของนายก

รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีแทนหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขดังกล่าวข้างต้น ในส่วนที่เกี่ยว

กับการบริหารราชการและปฏิบัติราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น

ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙

พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

------------------------------------------------

ประกาศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๘
เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ

โดย ที่เป็นการสมควรปรับปรุงระบบการบริหารงานตำรวจเพื่อให้มีความเป็นอิสระ เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ยิ่งขึ้นและมิให้อิทธิพลทางการเมือง

ก้าว ก่ายการดำเนินกระบวนการยุติธรรมขั้นต้น อันจะก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ประชาชนโดยส่วนรวมยิ่งขึ้น สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติตำรวจ

แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ ก.ตร. ตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ ประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้
(๑) ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นประธานกรรมการ
(๒) จเรตำรวจแห่งชาติ หรือรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนดจำนวน ๒ คน
(๓) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๖ คน ซึ่งได้รับการสรรหาจากประธานและกรรมการตาม (๒)
ให้ผู้บัญชาการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ เป็นกรรมการและเลขานุการ ก.ตร. และรองผู้บัญชาการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ

เป็นผู้ช่วยเลขานุการ ก.ตร.
ข้อ ๒ ในการดำเนินการของ ก.ตร. ตามข้อ ๑ มิให้นำความในมาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ และมาตรา ๕๗ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการทำความตกลง และการ

ให้ความเห็นชอบมาใช้บังคับ
ข้อ ๓ การใดที่ ก.ตร.ตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ ดำเนินการไปแล้ว ก่อนวันที่ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

อัน มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับนี้ใช้บังคับ แต่การดำเนินการยังไม่แล้วเสร็จ และมีผลกระทบต่อการบริหารงานบุคคล และอยู่ในอำนาจของ ก.ตร.

ให้ ก.ตร.ตามข้อ ๑ พิจารณาดำเนินการตามควรแต่กรณี
ข้อ ๔ ให้ ก.ตร.ซึ่งดำรงอยู่ในตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับพ้นจากตำแหน่ง
ข้อ ๕ ให้ดำเนินการพิจารณาแก้ไขปรับปรุง พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ ให้แล้วเสร็จในหนึ่งปี นับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๖ เมื่อได้มีการแก้ไขปรับปรุง พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ หรือเมื่อครบกำหนดหนึ่งปี นับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ประกาศฉบับนี้

เป็นอันยกเลิก
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙

พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

----------------------------------------------

ประกาศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๙
เรื่อง ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญบางฉบับมีผลใช้บังคับต่อไป

เพื่อ ให้การดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเป็นไปอย่างต่อ เนื่อง สมควรปรับปรุงพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการ

ป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ และมีผลใช้บังคับต่อไป คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

จึงมีประกาศดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มีผลใช้บังคับต่อไป โดยให้งดการบังคับใช้บท

บัญญัติที่เกี่ยวกับการสรรหา
ข้อ ๒ ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๒ มีผลใช้บังคับต่อไป
ข้อ ๓ ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.

๒๕๔๒ ประกอบด้วย
(๑) นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานกรรมการ
(๒) นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ
(๓) นายใจเด็ด พรไชยา กรรมการ
(๔) นายประสาท พงษ์ศิวาภัย กรรมการ
(๕) ศาสตราจารย์ภักดี โพธิศิริ กรรมการ
(๖) ศาสตราจารย์เมธี ครองแก้ว กรรมการ
(๗) นายวิชา มหาคุณ กรรมการ
(๘) นายวิชัย วิวิตเสวี กรรมการ
(๙) นางสาวสมลักษณ์ จัดกระบวนพล กรรมการ


ข้อ ๔ ในกรณีที่ประธานกรรมการหรือกรรมการตามข้อ ๓ พ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุใดๆ และมีกรรมการเหลืออยู่ตั้งแต่หกคนขึ้นไป ให้คณะกรรมการ

ประกอบด้วยกรรมการเท่าที่เหลืออยู่
ถ้าประธานกรรมการพ้นจากตำแหน่ง ให้กรรมการที่เหลืออยู่คัดเลือกกันเอง ให้กรรมการคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการแทน
ใน กรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่ง และมีกรรมการเหลืออยู่ไม่ถึงหกคน ให้นายกรัฐมนตรีสรรหาบุคคลเพื่อขอความเห็นชอบจากสภาที่ทำหน้าที่นิติบัญญัติ

และนำความกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต่อไป หรือดำเนินการสรรหาและแต่งตั้งตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น แล้วแต่กรณี
ข้อ ๕ ให้ประธานกรรมการและกรรมการตามข้อ ๓ ดำเนินการตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม

การทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ในกรณีที่บุคคลตามข้อ ๓ ไม่ดำเนินการภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งหรือไม่อาจรับตำแหน่งได้ ให้นำความในข้อ ๔ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙

พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

---------------------------------------------------

ประกาศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๒๐
เรื่อง ให้คณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป

ตาม ที่ได้มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๓ ลงวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ให้

คณะรัฐมนตรี สิ้นสุดลง ซึ่งมีผลให้คณะกรรมการซึ่งแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี หรือนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ต้องสิ้นสภาพลง ยกเว้นคณะ

กรรมการ ซึ่งแต่งตั้งตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ฉะนั้น เพื่อมิให้งานของคณะกรรมการต้องหยุดชะงักลง จึงให้คณะกรรมการดังกล่าวยังคงอยู่และปฏิบัติ

หน้าที่ ที่มีอยู่ต่อไป เว้นแต่ส่วนราชการที่เป็นผู้เสนอขอให้มีคณะกรรมการนั้นๆ เห็นสมควรยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลง ก็ให้ปลัดกระทรวงนั้นๆ เสนอขอคำ

วินิจฉัย ต่อหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข ทั้งนี้ คณะกรรมการที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน

กรรมการ ให้หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือผู้ซึ่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองใน

ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ และสำหรับคณะกรรมการที่มีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน

กรรมการ ให้รองหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข หรือผู้ซึ่งรองหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครอง

ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ
ทั้งนี้ จนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีขึ้นบริหารราชการแผ่นดินแล้ว


ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙

พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

------------------------------------------------------

ประกาศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๒๑
เรื่อง ห้ามการดักฟังทางโทรศัพท์หรือเครื่องมือสื่อสารใด

โดย ที่ในระยะเวลาที่ผ่านมา ได้มีการลักลอบดักฟัง ใช้ประโยชน์ หรือเปิดเผยข้อความที่มีการติดต่อทางโทรศัพท์หรือเครื่องมือสื่อสารอื่นโดย มิชอบด้วย

กฎหมาย อันเป็นการละเมิดเสรีภาพของบุคคลในการสื่อสารถึงกัน ก่อให้เกิดความหวาดระแวงกันทั่วไปในหมู่ประชาชนผู้ใช้เครื่องมือสื่อสาร
ดัง นั้น เพื่อคุ้มครองเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยชอบด้วยกฎหมายและเพื่อให้เกิด ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและรักษาความสงบของประเทศ คณะปฏิรูป

การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ผู้ใดดักฟัง ใช้ประโยชน์ หรือเปิดเผย ซึ่งข้อความที่มีการติดต่อทางโทรศัพท์หรือเครื่องมือสื่อสารอื่นใด โดยไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย ต้อง

ระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ ๒ ผู้ใดรับรู้ข้อความที่ได้มาจากการกระทำความผิดตามข้อ ๑ ใช้ประโยชน์ หรือเปิดเผยข้อความนั้นต่อผู้อื่น โดยไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย ต้อง

ระวางโทษไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ ๓ ผู้ใดใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดตามข้อ ๑ หรือ ข้อ ๒ ต้องรับโทษเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าตามที่บัญญัติไว้ในความผิดตามข้อ ๑ หรือข้อ ๒ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๔ ถ้าผู้กระทำความผิดเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้บริการโทรศัพท์หรือการสื่อสาร หรือเป็นผู้ได้รับสัมปทานการให้บริการดังกล่าว นอกจากต้องรับโทษตามข้อ

๑ ข้อ ๒ หรือ ข้อ ๓ แล้วแต่กรณีแล้ว ให้ใบอนุญาตหรือสัมปทานนั้นสิ้นสุดลงด้วย
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙

พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

-----------------------------------------------------

[แก้ไข] ประกาศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๒๒
เรื่อง ขอให้ยุติความเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองท้องถิ่น

ตาม ที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้ประกาศกฎอัยการศึก ตั้งแต่วันที่ ๑๙ กันยายน พุทธศักราช

๒๕๔๙ เป็นต้นมา และได้มีประกาศฉบับที่ ๗ ลงวันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ เรื่อง การห้ามชุมนุมทางการเมือง โดยมิให้ มั่วสุมประชุมทางการ

เมือง ณ ที่ใดๆ ที่มีจำนวนตั้งแต่ ๕ คนขึ้นไปนั้น ด้วยปัจจุบันปรากฏความเคลื่อนไหวของกลุ่มสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด

รวม ทั้งกลุ่มองค์กรอื่นๆ ทั้งที่มีความมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนหรือคัดค้านการดำเนินการของคณะปฏิรูปการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหา

กษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวอาจทำให้เกิดปัญหาและเป็นอุปสรรคต่อการบริหาร ราชการแผ่นดิน อันจะนำไปสู่ความแตกแยกในสังคมต่อ

ไป ดังนั้น คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงขอประกาศให้กลุ่มองค์กรต่างๆ ยุติความเคลื่อนไหว

และการรวมกลุ่มทางการเมืองไว้จนกว่าสถานการณ์ของประเทศจะเข้าสู่สภาวะปกติ ซึ่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหา

กษัตริย์ทรงเป็นประมุข จะประกาศให้ทราบต่อไป
ทั้งนี้ หากมีผู้ใดฝ่าฝืน จะต้องได้รับโทษโดยเฉียบขาด


ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙

พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

-------------------------------------------
[แก้ไข] ประกาศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๒๓
เรื่อง การตรวจสอบทรัพย์สิน

เนื่องด้วยปรากฏว่าการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งโดยผลของการปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหา

กษัตริย์ ทรงเป็นประมุข มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองและผู้อื่น ทำให้เกิดความเสียหายแก่

ประเทศอย่างร้ายแรง จึงสมควรดำเนินการตรวจสอบการดำเนินงานและโครงการต่างๆ ที่ได้รับอนุมัติหรือเห็นชอบโดยบุคคลในคณะรัฐมนตรีหรือคณะ

รัฐมนตรี ดังกล่าวว่าเป็นไปโดยสุจริตหรือไม่ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้มีคณะกรรมการตรวจสอบคณะหนึ่ง ประกอบด้วย
(๑) นายสวัสดิ์ โชติพานิช เป็นประธานกรรมการ
(๒) ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นกรรมการ
(๓) อัยการสูงสุดหรือผู้แทน เป็นกรรมการ
(๔) กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือผู้แทน เป็นเลขาธิการคณะกรรมการ
(๕) กรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินหรือผู้แทน เป็นเลขาธิการคณะกรรมการ
(๖) เจ้ากรมพระธรรมนูญ เป็นกรรมการหรือผู้แทน
(๗) ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยหรือผู้แทน เป็นกรรมการ
(๘) เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือผู้แทน เป็นกรรมการ


ให้ คณะกรรมการตรวจสอบแต่งตั้งเลขานุการคนหนึ่ง และผู้ช่วยเลขานุการตามความจำเป็น ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินรับผิดชอบงานด้านธุรการของ

คณะกรรมการตรวจสอบ และปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการตรวจสอบมอบหมาย

ข้อ ๒ ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบการดำเนินงานหรือโครงการ ซึ่งได้รับอนุมัติหรือเห็นชอบโดยบุคคลในคณะรัฐมนตรี หรือ

คณะ รัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง โดยผลของการปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ว่าเป็นไปโดยสุจริตหรือไม่

ใน กรณีที่เห็นว่าการดำเนินงานหรือโครงการใดมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่ามีการ ทุจริตหรือประพฤติมิชอบ และมีพฤติการณ์ว่าบุคคลใดเกี่ยวข้องกับการ

ทุจริต หรือประพฤติมิชอบ หรือร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องของ

ผู้ นั้น คู่สมรสและบุตร ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะของผู้นั้นไว้ก่อนได้ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามประกาศนี้ นอกจากอำนาจตามวรรคหนึ่ง ให้คณะ

กรรมการตรวจสอบมีอำนาจตามกฎหมายดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) พระราชบัญญัติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยให้คณะกรรมการตรวจสอบใช้อำนาจของคณะกรรมการป้องกันและ

ปราบปรามการฟอกเงินและคณะกรรมการธุรกรรม
(๒) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยให้คณะกรรมการตรวจสอบใช้อำนาจของคณะ

กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
(๓) ประมวลรัษฎากร โดยให้คณะกรรมการตรวจสอบใช้อำนาจของอธิบดีกรมสรรพากร เฉพาะที่เกี่ยวกับการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สิน
ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง คณะกรรมการตรวจสอบจะเรียกสำนวนการสอบสวนหรือการตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน

มา ใช้ประกอบการพิจารณา และใช้เป็นสำนวนการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ ในกรณีที่มีเรื่องเดียวกันอยู่ในการดำเนิน

การของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือคณะกรรมการธุรกรรม ให้

ประสานงานเพื่อดำเนินการตามควรแก่กรณี

ข้อ ๓ ให้คณะกรรมการตรวจสอบแจ้งรายชื่อบุคคลตามข้อ ๒ แก่สถาบันการเงิน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กรมที่ดิน

กรม สรรพากร หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง และผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้นั้น เพื่อให้หน่วยงานหรือบุคคลนั้นแจ้ง

ข้อมูล เกี่ยวกับทรัพย์สินและการเสียภาษีอากร ตลอดจนการทำธุรกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องของบุคคลตามข้อ ๒ คู่สมรสและบุตรซึ่งยังไม่บรรลุ

นิติภาวะของผู้นั้นให้คณะกรรมการตรวจสอบทราบภายในเวลาและตามวิธีการที่คณะกรรมการตรวจสอบกำหนด
ใน การปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์มีอำนาจสั่งให้ บริษัทหลักทรัพย์ส่งข้อมูลและเอกสารให้

แก่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เพื่อแจ้งต่อคณะกรรมการ ตรวจสอบได้ มิให้นำบทบัญญัติของกฎหมายที่ห้ามมิให้มีการเปิด

เผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง มาใช้บังคับกับการแจ้งข้อมูลตามวรรคหนึ่ง
ข้อ ๔ ในกรณีที่บุคคลซึ่งถูกยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามข้อ ๒ ไม่แจ้งข้อมูลตามข้อ ๓ หรือไม่ส่งมอบทรัพย์สินที่ถูกยึด หรือยักย้าย จำหน่าย จ่ายโอน

ทรัพย์สิน ที่ถูกอายัด ให้ถือว่าทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่ชอบและ เป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการร่ำรวยผิดปกติหรือเพิ่มขึ้นผิดปกติ

ใน กรณีที่หน่วยงานหรือบุคคลตามข้อ ๓ ไม่ดำเนินการตามที่คณะกรรมการตรวจสอบกำหนดตามข้อ ๓ หากมีกรณีเกิดความเสียหายขึ้นจากการที่ไม่ดำเนิน

การนั้น ให้หน่วยงานหรือบุคคลดังกล่าวรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น
ข้อ ๕ บรรดาทรัพย์สินที่ถูกยึดหรืออายัดตามข้อ ๒ ถ้าเจ้าของทรัพย์สินพิสูจน์ต่อคณะกรรมการตรวจสอบภายในเวลาที่คณะกรรมการตรวจ สอบกำหนดได้ว่า

ตนเป็น เจ้าของที่แท้จริงและทรัพย์สินนั้นมิใช่ทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความ ผิด หรือมิได้เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการร่ำรวยผิดปกติหรือมี

ทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจสั่งเพิกถอนการยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้น
ข้อ ๖ ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบมีมติว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือบุคคลใด กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ หรือร่ำ

รวย ผิดปกติ ให้ส่งรายงาน เอกสารหลักฐาน พร้อมทั้งความเห็นไปยังอัยการสูงสุดเพื่อให้อัยการสูงสุดดำเนินการต่อไป ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐ

ธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.๒๕๔๒ และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรง

ตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยให้ถือว่ามติของคณะกรรมการตรวจสอบเป็นมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ข้อ ๗ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามประกาศนี้ ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการตามที่มอบหมายได้
ข้อ ๘ ให้คณะกรรมการตรวจสอบดำเนินการตามประกาศนี้ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
เมื่อครบกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง และการตรวจสอบหรือสอบสวนเรื่องใดยังไม่แล้วเสร็จ ให้คณะกรรมการตรวจสอบส่งมอบสำนวนคืนให้สำนักงานคณะ

กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อดำเนินการ

ตามอำนาจหน้าที่ของตน แล้วแต่กรณี

ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙

พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

--------------------------------------------

ประกาศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๒๔
เรื่อง แต่งตั้งบุคคลสำคัญดำรงตำแหน่งในคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ตามที่ได้มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๑ เรื่อง แต่งตั้งบุคคลสำคัญดำรง

ตำแหน่ง ในคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ลงวันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ ไปแล้วนั้น บัดนี้

เนื่อง จากจะมีการเกษียณอายุราชการของผู้ดำรงตำแหน่งบางตำแหน่ง จึงสมควรปรับปรุงประกาศดังกล่าวเสียใหม่ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ คณะปฏิรูป

การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขจึงออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๑ เรื่อง แต่งตั้งบุคคลสำคัญดำรง

ตำแหน่งในคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ลงวันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙

ข้อ ๒ แต่งตั้งให้บุคคลดังต่อไปนี้ดำรงตำแหน่งในคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

๒.๑ พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
๒.๒ พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข เป็นรองหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
๒.๓ พลเรือเอก สถิรพันธ์ เกยานนท์ เป็นสมาชิกคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
๒.๔ พลเอก บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ เป็นสมาชิกคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
๒.๕ พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ เป็นสมาชิกคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
๒.๖ พลเอก วินัย ภัททิยกุล เป็นเลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
๒.๗ พลโท สพรั่ง กัลยาณมิตร เป็นผู้ช่วยเลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป


ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙

พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

----------------------------------------------------
ประกาศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๒๕
เรื่อง การดำเนินการเกี่ยวกับการยุติธรรมทางอาญา

โดย ที่เป็นการสมควรกำหนดหน้าที่ของผู้ต้องหาในคดีอาญาให้พิมพ์ลายนิ้วมือตามคำ สั่งของเจ้าพนักงานในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เพื่อให้มี

ประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดกฏหมาย คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น

ประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้

ผู้ ซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญามีหน้าที่ต้องพิมพ์ลายนิ้วมือ ลายมือหรือลายเท้า ตามคำสั่งของพนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี หรือ พนักงานสอบสวน ผู้ใด

ฝ่าฝืนมีความผิดฐานกระทำความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา


ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙


พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

------------------------------------------------

ประกาศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๒๖
เรื่อง การแก้ไขประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๓ ลงวันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช

๒๕๔๙

ตาม ที่ได้มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๓ ลงวันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช

๒๕๔๙ ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อดำเนิน การเกี่ยวกับสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น ให้เป็นไปโดย

สุจริต และเที่ยงธรรม และมีความต่อเนื่อง นั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏบัติงานตามอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการการ เลือกตั้งตามพระราช

บัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๔๑ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น

ประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑ ของประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๓ ลงวันที่ ๒๐

กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"ข้อ ๑ การยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอานาจักรไทย มิให้กระทบกระเทือนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.

๒๕๔๑ โดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๔๑ ยังคงบังคับใช้ต่อไป จนกว่าจะมีกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม

หรือยกเลิก"

ข้อ ๒ ให้ยกเลิกข้อ ๒ และข้อ ๓ ของประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๓ ลงวันที่ ๒๐

กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙

ข้อ ๓ ให้ถือว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งได้รับแต่งตั้งตามประกาศคณะปฏิรูปการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ฉบับที่ ๑๓ ลงวันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ ได้รับการสรรหาและแต่งตั้งโดยชอบด้วยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการ

การ เลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๔๑ โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งตามประกาศดังกล่าวและมี อำนาจและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราช

บัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๔๑ และกฎหมายอื่นที่บัญญัติให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง


ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙

พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

---------------------------------------------------

ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ฉบับที่ ๒๗
เรื่อง การแก้ไขประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๕
ลงวันที่ ๒๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙
..................................................
ตาม ที่ได้มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๕ ลงวันที่ ๒๑ กันยายน พุทธศักราช

๒๕๔๙ ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ มีผลบังคับใช้ต่อไป นั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการมีผลใช้บังคับ

ของ กฎหมายดังกล่าว รวมทั้งกำหนดเรื่องการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้เกี่ยวข้องกับการกระทำการ ต้องห้ามตามกฎหมายนั้น คณะปฏิรูปการปกครองใน

ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑ ของประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๕ ลงวันที่ ๒๑

กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้

"ข้อ ๑ การยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอานาจักรไทย มิให้กระทบกระเทือนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ โดย

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ ยังคงใช้บังคับต่อไป จนกว่าจะมีกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิก

ข้อ ๒ การห้ามพรรคการเมืองดำเนินการประชุมหรือดำเนินกิจการใดๆ ในทางการเมืองตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมี

พระ มหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๕ ลงวันที่ ๒๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ ให้ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีจะมีมติเป็นอย่าง

อื่น

ข้อ ๓ ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอื่นที่ทำหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ ยุบพรรคการเมืองใด เพราะเหตุกระทำการต้องห้ามตามพระราช

บัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้น มีกำหนดห้าปีนับแต่วันที่

มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมือง

ข้อ ๔ ผู้ใดถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งโดยคำสั่งของศาลตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐ ธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา

พ. ศ. ๒๕๔๑ ก่อนวันที่ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๓ ลงวันที่ ๑๙ กันยายน พุทธ

ศักราช ๒๕๔๙ ใช้บังคับ ให้ผู้นั้นยังคงถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตามคำสั่งของศาลต่อไป

ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙
พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

----------------------------------------------------
ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ฉบับที่ ๒๘
เรื่อง ยกเลิกประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๗
ลงวันที่ ๒๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ และ
ฉบับที่ ๑๘ ลงวันที่ ๒๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙
..................................................
ตาม ที่ได้มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๗ ลงวันที่ ๒๒ กันยายน พุทธศักราช

๒๕๔๙ เรื่อง มอบอำนาจบริหารราชการแผ่นดิน และฉบับที่ ๑๘ ลงวันที่ ๒๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยตำรวจ

แห่ง ชาติ นั้น บัดนี้ สมควรให้การบริหารราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการไปตามกฎหมายที่ใช้ บังคับอยู่เดิม หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองใน

ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๗ ลงวันที่ ๒๒ กันยายน พุทธศักราช

๒๕๔๙ เรื่อง มอบอำนาจบริหารราชการแผ่นดิน และฉบับที่ ๑๘ ลงวันที่ ๒๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยตำรวจ

แห่งชาติ

ข้อ ๒ ให้บทบัญญัติตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อน วันที่ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

อัน มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๘ ลงวันที่ ๒๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติใช้บังคับ

มีผลใช้บังคับอยู่ต่อไปเช่นเดิม

ข้อ ๓ การยกเลิกประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามข้อ ๑ ไม่กระทบกระเทือนการใดๆ ที่

กระทำ ในระหว่างที่ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขดังกล่าวยังมีผลใช้บังคับ และให้ดำเนิน

การจัดให้มีคณะกรรมการข้าราชการตำรวจตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ

ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการข้าราชการตำรวจตามวรรคหนึ่ง ให้บุคคลที่ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการข้าราชการตำรวจตามประกาศคณะปฏิรูปการ

ปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๘ ลงวันที่ ๒๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการ

ข้าราชการตำรวจไปพลางก่อน

ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙
พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

----------------------------------------------------

ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ฉบับที่ ๒๙
เรื่อง แก้ไขประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๒
ลงวันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙
..................................................
ตาม ที่ได้มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๒ ลงวันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช

๒๕๔๙ ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๔๒ มีผลใช้บังคับต่อไปนั้น เพื่อให้มีความชัดเจนในผลการใช้บังคับ

ที่ ยังคงให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นใช้บังคับต่อเนื่อง คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

จึงมีประกาศดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑ ของประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๒ ลงวันที่ ๒๐

กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

" ข้อ ๑ การยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอานาจักรไทย มิให้กระทบกระเทือนการบังคับใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการ ตรวจเงินแผ่นดิน

พ.ศ. ๒๕๔๒ ยังคงใช้บังคับต่อไป เว้นแต่บทบัญญัติในส่วนที่ ๑ หมวด ๑ จนกว่าจะมีกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิก และให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่น

ดินซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ พ้นจากตำแหน่ง"

ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒ ของประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๒ ลงวันที่ ๒๐

กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

" ข้อ ๒ ให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ คงอยู่ในตำแหน่งต่อไป จนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐"

ข้อ ๓ ให้ดำเนินการสรรหาและแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจ เงินแผ่นดินใหม่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย

การตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๔๒ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินตามข้อ ๒ ของประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบ

ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๒ ลงวันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศฉบับนี้พ้นจาก

ตำแหน่ง

ใน ระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินที่พ้นจากตำแหน่งตามวรรค

หนึ่งยังคงปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินไปพลางก่อน

ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙
พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

------------------------------------------------------
ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ฉบับที่ ๓๐
เรื่อง การตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความสูญเสียแก่รัฐ
..................................................
ตาม ที่ได้มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๒๓ เรื่อง การตรวจสอบทรัพย์สิน ลงวันที่

๒๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ นั้น โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการดำเนินการตรวจสอบเพื่อให้คณะกรรมการตรวจสอบเพื่อให้คณะกรรมการตรวจ

สอบ มีอำนาจตรวจสอบการกระทำผิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐได้กว้างขวางขึ้น คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์

ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๒๓ เรื่อง การตรวจสอบทรัพย์สิน ลง

วันที่ ๒๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙

ข้อ ๒ ให้มีคณะกรรมการตรวจสอบคณะหนึ่ง ประกอบด้วย

(๑) นายกล้าณรงค์ จักทิก เป็นกรรมการ
(๒) นายแก้วสรร อติโพธิ เป็นกรรมการ
(๓) คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา เป็นกรรมการ
(๔) นายจิรนิติ หะวานนท์ เป็นกรรมการ
(๕) นายนาม ยิ้มแย้ม เป็นกรรมการ
(๖) นายบรรเจิต สิงคะเนติ เป็นกรรมการ
(๗) นายวิโรจน์ เลาหะพันธ์ เป็นกรรมการ
(๘) นายสวัสดิ์ โชติพานิจ เป็นกรรมการ
(๙) นายสัก กอแสงเรือง เป็นกรรมการ
(๑๐) นางเสาวนีย์ อัศวโรจน์ เป็นกรรมการ
(๑๑) นายอุดม เฟื่องฟุ้ง เป็นกรรมการ
(๑๒) นายอำนวย ธันธรา เป็นกรรมการ

ใน กรณีที่มีกฎหมายห้ามมิให้บุคคลใดดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการหรือห้ามการปฏิบัติ หน้าที่อื่นใดในการดำรงตำแหน่ง มิให้นำกฎหมายนั้นมาใช้บังคับแก่

การได้รับแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการตรวจสอบ

ให้ กรรมการตรวจสอบตามวรรคหนึ่งเลือกกรรมการด้วยกันเองคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ และมีอำนาจแต่งตั้งเลขาจนุการคนหนึ่ง และผู้ช่วยเลขานุการ

ตามความจำเป็น

ใน กรณีที่มีกรรมการว่างลง ให้กรรมการที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ แต่ต้องมีกรรมการเหลืออยู่ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดและ ให้

คณะรัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งผู้ที่เห็นสมควรเป็นกรรมการแทนกรรมการที่ว่างลง

ข้อ ๓ ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินรับผิดชอบงานด้านธุรการของคณะกรรมการตรวจสอบ และปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการตรวจสอบมอบหมาย

ให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลัก

ทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ร่วมมือดำเนินการตามที่คณะกรรมการตรวจสอบร้องขอ รวมทั้งสนับสนุนข้อมูลบุคคากร หรือการอื่นใดเพื่อประโยชน์ในการ

ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการตรวจสอบ

ให้สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีดำเนินการจัดหาสถานที่ทำการของคณะกรรมการตรวจสอบตามความเหมาะสม และในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบ

ร้องขอให้คณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐมาช่วยปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการตรวจสอบกำหนดให้

ข้อ ๔ ให้สำนักงบประมาณจัดสรรเงินงบประมาณให้กับสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน โดยเจียดจ่ายจากเงินเหลือจ่ายของสำนักงานคณะกรรมการป้องกัน

และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งตามจำนวนที่เห็นสมควรเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของคณะกรรมการ

ตรวจสอบ ในกรณีที่ไม่เพียงพอแก่ค่าใช้จ่าย ให้คณะรัฐมนตรีสนับสนุนงบประมาณตามที่จำเป็น

ค่า ตอบแทนหรือค่าใช้จ่ายอื่นใดในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการตรวจสอบ และค่าตอบแทนหรือค่าใช้จ่ายอื่นใดขงเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้แก่คณะ

กรรมการตรวจสอบ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการตรวจสอบกำหนดโดยความเห็นชอบของนายกรัฐมนตรี

ข้อ ๕ ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑) ตรวจสอบการดำเนินงานหรือโครงการที่ได้รับอนุมัตหรือเห็นชอบ โดยบุคคลในคณะรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีซึ่งพ้นจากตำแหน่งโดยผลของการ

ปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะเป็นไปโดยทุจริตหรือประพฤติมิชอบ

(๒) ตรวจสอบสัญญา สัญญาสัมปทานหรือการจัดซื้อจัดจ้างของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำที่

เอื่อประโยชน์แก่เอกชนโดยมิชอบ หรือมีการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือมีการกระทำที่ทุจริตหรือประพฤติมิชอบ

(๓) ตรวจสอบการปฏิบัติราชการใดๆ ของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วย กฎหมายหรือมีการกระทำที่ทุจริตหรือ

ประพฤติมิชอบ

(๔) ตรวจสอบการการะทำของบุคคลใดๆ ที่เห็นว่าเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือหลีกเลี่ยงกฎหมายว่าด้วยภาษีอากร อันเป็นการกระทำให้เกิดความ

เสียหายแก่รัฐ

ใน กรณี ที่เห็นว่า การดำเนินการในเรื่องที่ตรวจสอบ มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า มีการกระทำทุจริตหรือประพฤติมิชอบ หรือมีพฤติการณ์ว่า มีบุคคลใดเกี่ยว

ข้อง กับการทุจริต หรือประพฤติมิชอบ หรือร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจสั่งยึด หรืออายัดทรัพย์ที่เกี่ยว

ข้องของผู้นั้น คู่สมรส และบุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะของผู้นั้นไว้ก่อนได้

เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามประกาศนี้นอกจากอำนาจตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจตามกฎหมายดังต่อไปนี้ด้วย

(๑) พระราชบัญญัติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินพ.ศ. ๒๕๔๒ โดยให้คณะกรรมการตรวจสอบใช้อำนาจของคณะกรรมการป้องกันและ

ปราบปรามการฟอก เงินและคณะกรรมการธุรกรรม

(๒) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตพ.ศ. ๒๕๔๒ โดยให้คณะกรรมการตรวจสอบใช้อำนาจของคณะ

กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ

(๓) ประมวลรัษฎากรโดยให้คณะกรรมการตรวจสอบ ใช้อำนาจของอธิบดีกรมสรรพากร เฉพาะที่เกี่ยวกับการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สิน

ใน การดำเนินการตามวรรคหนึ่งวรรคสอง และวรรคสาม คณะกรรมการตรวจสอบ มีอำนาจพิจารณาเรื่องใดๆ ที่เห็นควรตรวจสอบ เรื่องที่มีผู้เสนอข้อมูล

หรือ เรื่องที่อยู่ระหว่างการดำเนินการของหน่วยงานอื่นใด และให้มีอำนาจเรียกสำนวน หรือเรื่องที่อยู่ในการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐ หรือเรียก

สำนวนการสอบสวน หรือ การตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน มาพิจารณา และให้ใช้เป็นสำนวนการตรวจสอบ ของคณะกรรมการตรวจสอบ

โดย จะสอบสวนเพิ่มเติมหรือไม่ ก็ได้ ในกรณีที่มีเรื่องเดียวกันอยู่ในการดำเนินการของคณะกรรมการป้องกันและปราบ ปรามการทุจริตแห่งชาติหรือคณะ

กรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือคณะกรรมการธุรกรรม ให้ประสานงานเพื่อดำเนินการตามควรแก่กรณี

ข้อ ๖ ให้คณะกรรมการตรวจสอบแจ้งรายชื่อบุคคลตามข้อ ๕ แก่สถาบันการเงินสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กรมที่ดิน

กรม สรรพากร และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง และผู้ครอบครองทรัพย์สิน หรือเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้นั้น เพื่อให้หน่วยงาน หรือบุคคลนั้น

แจ้ง ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สิน และการเสียภาษีอากร ตลอดจนการทำธุรกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับบุคคลตามข้อ ๕ คู่สมรสและบุตร ซึ่งยังไม่บรรลุ

นิติภาวะของผู้นั้นให้คณะกรรมการตรวจสอบทราบ ภายในเวลาและตามวิธีการที่คณะกรรมการตรวจสอบกำหนด

ใน การปฏิบัติ หน้าที่ตามวรรคหนึ่งให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ มีอำนาจสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์ ส่งข้อมูลและเอกสาร

ให้แก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อแจ้งต่อคณะกรรมการตรวจสอบได้

มิ ให้นำบทบัญญัติของกฎหมายที่ ห้ามมิให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามวรรคหนึ่งและ วรรคสอง มาใช้บังคับกับการแจ้งข้อมูลตาม

วรรคหนึ่ง

ข้อ ๗ ในกรณีที่บุคคลซึ่งถูกยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามข้อ ๕ ไม่แจ้งข้อมูลตามข้อ6 หรือไม่ส่งมอบทรัพย์สินที่ถูกยึดยักย้าย จำหน่าย หรือจ่ายโอนทรัพย์สิน

ที่ ถูกอายัด ให้ถือว่าทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่ชอบ และเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการร่ำรวยผิดปกติ หรือเพิ่มขึ้นผิดปกติ หรือเป็น

ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

ใน กรณีที่หน่วยงานหรือ บุคคลตามข้อ ๖ ไม่ดำเนินการตามที่คณะกรรมการตรวจสอบกำหนดตามข้อ ๖ หากมีกรณีเกิดความเสียหายขึ้นจากการที่ไม่ดำเนิน

การนั้นให้หน่วยงานหรือ บุคคลดังกล่าว รับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น

ข้อ ๘ บรรดาทรัพย์สินที่ถูกยึดหรืออายัดตามข้อ5 ถ้าเจ้าของทรัพย์สิน พิสูจน์ต่อคณะกรรมการตรวจสอบ ภายในเวลาที่คณะกรรมการตรวจสอบกำหนดได้ว่า

ตน เป็นเจ้าของที่แท้จริง และทรัพย์สินนั้นมิใช่ทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิด หรือมิได้เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการร่ำรวยผิดปกติ หรือมี

ทรัพย์สิน เพิ่มขึ้นผิดปกติ หรือมิได้เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการ ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ให้คณะกรรมการ

ตรวจสอบมีอำนาจสั่งเพิกถอนการยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้น

ข้อ ๙ ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบมีมติว่า ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือบุคคลใดกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือทุจริตต่อหน้าที่ หรือร่ำ

รวย ผิดปกติ ให้ส่งรายงาน เอกสาร หลักฐาน พร้อมทั้งความเห็นไปยังอัยการสูงสุด เพื่อให้อัยการสูงสุดดำเนินการต่อไป ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐ

ธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรง

ตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยให้ถือว่ามติของคณะกรรมการตรวจสอบเป็นมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบ ปรามการทุจริตแห่งชาติ ใน

กรณี ที่อัยการสูงสุดมีความเห็นแตกต่าง แต่คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นยืนยันความเห็นเดิม ให้คณะกรรมการตรวจสอบ มีอำนาจดำเนินการให้มีการ

ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือศาลที่เขตอำนาจพิจารณาคดี แล้วแต่กรณี

ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบมีมติว่าบุคคลใดทำผิด กฎหมายและไม่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการ ป้องกันและปราบ

ปราม การทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้คณะกรรมการตรวจสอบส่งเรื่องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่งเรื่องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตามกฎหมายที่อยู่ใน

ความรับผิดชอบของหน่วยงานนั้นต่อไป โดยถือผลการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบ เป็นการสอบสวนตามกฎหมายนั้น

ข้อ ๑๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามประกาศนี้ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อปฏิบัติการตามที่มอบหมายได้

ข้อ ๑๑ ให้คณะกรรมการตรวจสอบดำเนินการตามประกาศนี้ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ

เมื่อครบกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งและการตรวจสอบหรือสอบสวนเรื่องใดยังไม่แล้วเสร็จ ให้คณะกรรมการตรวจสอบ ส่งมอบสำนวนคืนให้สำนักงานคณะ

กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อดำเนินการ

ตามอำนาจหน้าที่ของตน แล้วแต่กรณี

ข้อ ๑๒ การแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๒๓ เรื่องการตรวจสอบ

ทรัพย์สิน ลงวันที่ ๒๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ โดยประกาศฉบับนี้ ไม่กระทบกระเทือนการกระทำใดๆ ที่คณะกรรมการตรวจสอบได้กระทำไป ก่อน

ที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ

ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙
พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

--------------------------------------------------
ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ฉบับที่ ๓๑
เรื่อง การดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
..................................................
ตาม ที่ได้มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๙ ลงวันที่ ๒๒ กันยายน พุทธศักราช

๒๕๔๙ ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มีผลใช้บังคับต่อไป และแต่งตั้งคณะ

กรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ รวมทั้งให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ ดำรงตำแหน่งทางการ

เมือง พ.ศ. ๒๕๔๒ มีผลบังคับใช้ต่อไปด้วยนั้น โดยที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ มีเรื่องค้างอยู่

เป็นจำนวนมาก เพราะว่างเว้นจากการมีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมาเป็นเวลานาน สมควรปรับปรุงการปฏิบัติงานให้มี

ประสิทธิภาพ และเป็นไปโดยรวดเร็วยิ่งขึ้น คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑ และข้อ ๒ ของประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๙ ลง

วันที่ ๒๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"ข้อ ๑ การยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมิให้กระทบกระเทือนการบังคับใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบ

ปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ ยังคงใช้บังคับต่อไป จน

กว่า จะมีกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิก และให้ถือว่าคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติซึ่งได้รับแต่ง ตั้งตามประกาศคณะปฏิรูปการ

ปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๙ ลงวันที่ ๒๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ ได้รับการสรรหาและแต่งตั้ง

โดยชอบตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒

ข้อ ๒ การยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมิให้กระทบกระเทือนการบังคับใช้พระ ราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของ

ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.

๒๕๔๒ ยังคงใช้บังคับต่อไป จนกว่าจะมีกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิก"

ข้อ ๒ ให้กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ที่ได้รับการแต่งตั้งตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหา

กษัตริย์ทรง เป็นประมุข ฉบับที่ ๑๙ ลงวันที่ ๒๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งตามประกาศฉบับดังกล่าว และมีวาระ

การดำรงตำแหน่งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒

ข้อ ๓ กรณีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและ หนี้สินและเอกสารประกอบต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการ

ทุจริต แห่งชาติ ภายในเวลาที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ กำหนดให้ดำเนินการตามมาตรา

๓๔ เช่นเดียวกับกรณีการจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสาร ประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้

ทราบ

ข้อ ๔ ในการดำเนินการตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการ

ทุจริต แห่งชาติมีอำนาจออกคำสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นผิดปกติไว้ชั่ว คราว ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่จะยื่นคำร้องของผ่อนผัน

เพื่อขอรับทรัพย์สินนั้นไปใช้ประโยชน์โดยมีหรือไม่มีประกันหรือหลักประกันก็ได้

เมื่อ มีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินชั่วคราวตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จัดให้มีการพิสูจน์เกี่ยวกับทรัพย์สินโดย

เร็ว ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไม่สามารถแสดงหลักฐานได้ว่าทรัพย์สินที่ ถูกยึดหรืออายัดชั่วคราวมิได้เพิ่มขึ้นผิดปกติ ให้คณะกรรมการป้องกัน

และ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีอำนาจยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นไว้ต่อไป จนกว่าคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จะมีมติว่า

ทระพย์ สินนั้นมิได้เพิ่มขึ้นผิดปกติ ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันยึดหรืออายัด หรือจนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกคำร้อง แต่ถ้าสามารถพิสูจน์ได้ก็ให้

คืนทรัพย์สินแก่ผู้นั้น

ข้อ ๕ ในการไต่สวนข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ คณะกรรมการป้องกัน

และ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติอาจมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับแต่ง ตั้งดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง รวบรวมพยานหลักฐาน และสรุปสำนวน

เสนอ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

กำหนด

ข้อ ๖ ในกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติพิจารณาเห็นสมควร อาจส่งเรื่องที่มีการกล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมิใช้บุคคลตาม

มาตรา ๖๖ ว่ากระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมที่อยู่

ระหว่าง ดำเนินการ ให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนดำเนินการทางวินัยหรือดำเนิน การตามอำนาจหน้าที่ แล้วแต่กรณี หรือส่งเรื่องให้

พนักงานสอบสวนดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาต่อไปก็ได้

ข้อ ๗ การลงมติของที่ประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ไม่ว่าเป็นมติในการวินิจฉัยหรือให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ถือเสียง

ข้างมาก

ข้อ ๘ บรรดาบทบัญญัติใดของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่ขัดหรือแย้งกับประกาศ

ฉบับนี้ให้ใช้ประกาศฉบับนี้แทน

ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙
พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

--------------------------------------------------

ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ฉบับที่ ๓๒
เรื่อง อำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น
หรือผู้บริหารท้องถิ่นของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
..................................................
เพื่อ ให้การดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นแล้วเสร็จ โดยเร็ว แต่ยังคงสามารถตรวจสอบการกระทำที่ไม่สุจริตของผู้ได้รับการเลือก

ตั้งได้ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นใดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสถาท้องถิ่นหรือผู้

บริหาร ท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕ คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องประกาศผลการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ซึ่งต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันเลือกตั้ง

ข้อ ๒ เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศผลการเลือกตั้งตามข้อ ๑ แล้ว หากภายหลังมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าผู้ได้รับการเลือกตั้งตามข้อ ๑ ผู้กระทำ

การใดๆ โดยไม่สุจริตหรือกระทำความผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้งเพื่อให้ตนเองได้รับการ เลือกตั้งหรือการเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมหรือมีการ

ฝ่า ผืนกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งนั้น ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้ได้รับการ เลือกตั้งผู้นั้นมีกำหนดเวลาหนึ่งปี และดำเนิน

การจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่เว้นแต่การกระทำนั้นมิได้เกี่ยวข้องกับผู้ได้รับการเลือกตั้ง

ข้อ ๓ บรรดาบทบัญญัติใดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสถาท้องถิ่นหรือผู้ บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕ ที่ขัดหรือแย้งกับประกาศฉบับนี้ ให้ใช้บท

บัญญัติในประกาศฉบับนี้แทน

ข้อ ๔ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหาร ท้องถิ่นที่ดำเนินการก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับด้วย โดยกำหนดเวลา

สามสิบวันตามข้อ ๑ ให้นับตั้งแต่วันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ

ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙
พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

----------------------------------------------------------

ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ฉบับที่ ๓๓
เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก
และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกี่ยรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. ๒๕๓๖
..................................................
โดย ที่เป็นการสมควรปรับปรุงการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่ง ช้างเผือกและเครื่องราช

อิสริยาภรณ์ อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยให้เหมาะสมยิ่งขึ้น คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมี

ประกาศดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อัน เป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราช

อิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. ๒๕๓๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"ข้อ ๔ ในระเบียบนี้

" เครื่องราชอิสริยาภรณ์" หมายความว่า เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ตามกฎหมายว่าด้วยเคื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือก หรือเครื่องราช

อิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎไทย แล้วแต่กรณี

"ข้าราชการการเมือง" หมายความถึง บุคคลซึ่งเป็นหรือถือว่าเป็นข้าราชการการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยข้าราชการการเมืองหรือกฎหมายอื่น

" ข้าราชการ" หมายความว่า ข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ ยกเว้นข้าราชการการเมือง และให้หมายความรวมถึงข้าราชการหรือพนักงานของ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามกฏหมายว่าด้วยการปกครองส่วนท้องถิ่น"

ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อัน เป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราช

อิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. ๒๕๓๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

" ข้อ ๕ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับแก่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หน่วยงานหรือองค์การของรัฐ รวมทั้งบุคคลที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ยกเว้นการ

ขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามมติคณะรัฐมนตรี"

ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๑๖/๑ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อัน เป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. ๒๕๓๖

"ข้อ ๑๖/๑ ให้บุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้เสนอรายชื่อผู้ที่สมควรขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

(๑) ประธานองค์กรอิสระตามกฎหมาย สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กร

(๒) เลขาธิการหรือหัวหน้าหน่วยธุรการขององค์กรอิสระตามกฎหมายสำหรับพนักงานในองค์กร

(๓) ผู้ดำรงตำแหน่งบริหารสูงสุดขององค์การมหาชน สำหรับเจ้าหน้าที่ในองค์การ

การ ขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้กับคู่สมรสของบุคคลที่มีสิทธิได้รับพระ ราชทานตามบัญชีแนบท้าย ให้ผู้ดำรงตำแหน่งตาม (๒) เป็นผู้เสนอ

ให้ผู้เสนอรายชื่อผู้ที่สมควรขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามวรรคหนึ่ง (๒) และ (๓) ดำเนินการตามข้อ ๑๗ โดยอนุโลม"

ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒๒ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อัน เป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราช

อิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. ๒๕๓๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

" ข้อ ๒๒ ข้าราชการ ลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่องค์การมหาชน พนักงานองค์การของรัฐ หรือพนักงานหน่วยงานของรัฐ

ที่ มีลักษณะอย่างเดียวกัน พนักงานหน่วยธุรการขององค์กรอิสระตามกฎหมาย และบุคคลหรือพนักงานอื่นที่ต้องพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่เพราะเกษียณอายุใน

ปี ใด หากเป็นผู้มีคุณสมบัติที่จะได้รับการพิจารณาเสนอขอพระราชทานเครื่องราช อิสริยาภรณ์อยู่ก่อนการพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ ให้มีสิทธิได้รับการ

พิจารณาเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในปีที่พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่นั้นด้วย"

ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒๓ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อัน เป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราช

อิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. ๒๕๓๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"ข้อ ๒๓ ให้มีคณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายคณะหนึ่ง ประกอบด้วย

(๑) นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรี ที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ
(๒) รองนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการ
(๓) รัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง จำนวน ๕ คน เป็นกรรมการ
(๔) เลขาธิการพระราชวัง เป็นกรรมการ
(๕) ราชเลขาธิการ เป็นกรรมการ
(๖) เลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการ
(๗) เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นกรรมการและเลขานุการ
(๘) รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี หรือที่ปรึกษาประจำสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่เลขาธิการคณะรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
(๙) ผู้อำนวยการสำนักอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

ให้ คณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง มีอำนาจและหน้าที่ในการพิจารณาเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสาย สะพายทุกชั้นตราแก่บุคคลที่สมควร

ขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นต่ำกว่าสายสะพายแก่บุคคลดังต่อไปนี้ด้วย

(๑) องคมนตรี

(๒) ข้าราชการการเมือง สมาชิกรัฐสภา และข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง

(๓) ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามกฎหมาย

(๔) ข้าราชการการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในกรุงเทพมหานคร ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร

(๕) คู่สมรสของผู้ดำรงตำแหน่งตามบัญชีท้ายระเบียบที่มีสิทธิได้รับการพิจารณาเสนอขอพระราชทาน

ทั้ง นี้ ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อกลั่นกรอง ตรวจสอบหรือดำเนินการอื่นตามที่คณะกรรมการ

มอบหมาย"

ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒๔ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อัน เป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราช

อิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. ๒๕๓๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"ข้อ ๒๔ ให้มีคณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นต่ำกว่าสายสะพายคณะหนึ่ง ประกอบด้วย

(๑) รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี ที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ
(๒) ปลัดกระทรวงหรือปลัดทบวงที่ประธานกรรมการแต่งตั้ง จำนวน ๕ คน เป็นกรรมการ
(๓) เลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการ
(๔) เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นกรรมการ
(๕) รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี หรือที่ปรึกษาประจำสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่เลขาธิการคณะรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นกรรมการ
(๖) ผู้อำนวยการสำนักอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นกรรมการและเลขานุการ
(๗) ข้าราชการในสำนักอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ที่เลขาธิการคณะรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นกรรมการเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง มีอำนาจและหน้าที่ในการพิจารณาเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นต่ำกว่าสายสะพายทุกชั้นตรา

ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อกลั่นกรอง ตรวจสอบหรือดำเนินการอื่นตามที่คณะกรรมการมอบ

หมาย"

ข้อ ๗ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๓๐/๑ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อัน เป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. ๒๕๓๖

"ข้อ ๓๐/๑ ข้าราชการที่เปลี่ยนสภาพเป็นพนักงานของมหาวิทยาลัย ให้เสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่อไปได้เสมือนเป็นข้าราชการใน

ตำแหน่งที่ดำรงอยู่ก่อนเปลี่ยนสภาพเป็นพนักงานของมหาวิทยาลัย"

ข้อ ๘ ให้ยกเลิกบัญชี ๘ บัญชี ๙ และบัญชี ๑๔ ท้ายระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก

และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. ๒๕๓๖ และให้ใช้บัญชี ๘ บัญชี ๙ และบัญชี ๑๔ ท้ายประกาศนี้แทน

ข้อ ๙ ให้เพิ่มบัญชี ๒๕ ถึงบัญชี ๓๘ ท้ายประกาศนี้เป็นบัญชีท้ายระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่

เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. ๒๕๓๖

ข้อ ๑๐ กรณีไม่มีหลักเกณฑ์ในการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่บุคคลใด ให้คณะกรรมการตามข้อ ๒๓ และข้อ ๒๔ พิจารณาโดยใช้

หลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายระเบียบโดยอนุโลม

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป


ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙
พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

บัญชี 8
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการทหาร
ลำดับ ยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ขอพระราชทาน เงื่อนไขและระยะเวลาการเลื่อนชั้นตรา หมายเหตุ
เริ่มต้นขอ เลื่อนได้ถึง
1 สิบตรี จ่าตรี จ่าอากาศตรี ร.ง.ม. - - ขอพระราชทานได้เฉพาะกรณีพิเศษเท่านั้น 1. ต้องมีระยะเวลารับราชการติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์นับ

ตั้งแต่วันเริ่มเข้ารับราชการจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่ขอพระราชทานไม่น้อยกว่า 60 วัน
2. ผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนทหาร ให้นับเวลาราชการตั้งแต่วันขึ้นทะเบียนทหารกองประจำการในระหว่างที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียน
3. เกณฑ์การขอพระราชทานที่กำหนดไว้ตามชั้นยศให้รวมถึงว่าที่ยศนั้นๆด้วย
4. ลำดับ 6 ซึ่งกำหนดระยะเวลาเลื่อนชั้นตรา 5 ปี หมายถึงต้องดำรงชั้นยศนั้นๆ รวมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระ

ชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทานไม่น้อยกว่า 60 วัน
2 สิบโท จ่าโท จ่าอากาศโท ร.ง.ช. -
3 สิบเอก จ่าเอก จ่าอากาศเอก ร.ท.ม. -
4 - จ่าสิบตรี พันจ่าตรี พันจ่าอากาศตรี
- จ่าสิบโท พันจ่าโท พันจ่าอากาศโท
- จ่าสิบเอก พันจ่าเอก พันจ่าอากาศเอก
ร.ท.ช. บ.ม. 1. เริ่มขอพระราชทาน ร.ท.ช.
2. ได้ ร.ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ บ.ม.
5 จ่าสิบเอก พันจ่าเอก พันจ่าอากาศเอก อัตราเงินเดือน จ่าสิบเอกพิเศษ พันจ่าเอกพิเศษ พันจ่าอากาศเอกพิเศษ ร.ท.ช. จ.ม. 1. เริ่มขอพระราชทาน ร.ท.ช.
2. ได้ ร.ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ บ.ม.
3. ได้ บ.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ขอ บ.ช.
4. ได้ บ.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ จ.ม.
6 ร้อยตรี เรือตรี เรืออากาศตรี บ.ม. จ.ม. 1. เริ่มขอพระราชทาน บ.ม.
2. ดำรงตำแหน่ง ร้อยตรี เรือตรี เรืออากาศตรี มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ บ.ช.
3. ได้ บ.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ จ.ม.
7 ร้อยโท เรือโท เรืออากาศโท จ.ม. -
8 ร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก จ.ช. -
9 พันตรี นาวาตรี นาวาอากาศตรี ต.ม. -
10 พันโท นาวาโท นาวาอากาศโท ต.ช. -
11 พันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก ท.ม. -
12 พันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือน พันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ ท.ช. -
13 พันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือน พันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ ท.ช. ป.ม. 1. ดำรงตำแหน่งบังคับบัญชา
2. ได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ม.
3. ให้ขอได้ในปีก่อนปีเกษียณอายุราชการหรือในปีที่เกษียณอายุราชการเท่านั้น
14 พันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือน พันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ
- เงินเดือนขั้นต้นของพลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี ท.ช. ป.ม. 1. เริ่มขอพระราชทาน ท.ช.
2. ได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ม.
3. ได้รับเงินเดือนขั้นต้นของพลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
15 พันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือน พันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ
- เงินเดือนขั้นต้นของพลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี
- ดำรงตำแหน่งรอง, เสนาธิการ, รองเสขาธิการ ของหน่ายงานที่มีผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ชั้นยศ พลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี ขึ้นไป หรือ
- ดำรงตำแหน่งผู้บังคับกรม, ผู้บังคับการจังหวัดทหารบก, ผู้บังคับหมวดเรือ, ผู้บังคับกองบิน, ราชองครักษ์ประจำ, ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร, ผู้ช่วยทูตฝ่าย

ทหาร บก, ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือ, ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารอากาศ, ตุลาการพระธรรมนูญประจำสำนักตุลาการทหาร, ตุลาการพระธรรมนูญฝ่ายศาลทหารสูงสุด,

ตุลาการพระธรรมนูญหัวหน้าคณะฝ่ายศาลทหารกลาง, ตุลาการพระธรรมนูญรองหัวหน้าศาลทหารกรุงเทพ, อัยการศาลทหารกรุงเทพ, อัยการฝ่ายอุทธรณ์

และฎีกา หรือ
- ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกอง, นายทหารฝ่ายเสนาธิการ หรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งเทียบเท่าตำแหน่งดังกล่าว ท.ช. ป.ม. 1. เริ่มขอพระราชทาน

ท.ช.
2. ได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ม.
16 พลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี - ม.ว.ม. 1. ได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ม.
2. ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ช.
3. ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ว.ม.
4. ในปีที่เกษียณอายุราชการให้ขอสูงขึ้นอีก 1 ชั้นตรา แต่ไม่เกิน ป.ช. เว้นกรณีลาออก - ลำดับ 16 - 18 การขอกรณีปีที่เกษียณอายุราชการตามข้อ 4 ให้ขอปี

ติดต่อกันได้
17 พลโท พลเรือโท พลอากาศโท - ม.ป.ช. 1. ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ช.
2. ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ว.ม
3. ได้ ม.ว.ม มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ป.ช.
4. ในปีที่เกษียณอายุราชการให้ขอสูงขึ้นอีก 1 ชั้นตรา แต่ไม่เกิน ม.ว.ม. เว้นกรณีลาออก
18 พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก - ม.ป.ช. 1. ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ช.
2. ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ว.ม
3. ได้ ม.ว.ม มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ป.ช.
4. ในปีที่เกษียณอายุราชการให้ขอสูงขึ้นอีก 1 ชั้นตรา

บัญชี 9
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการตำรวจ
ลำดับ ยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ขอพระราชทาน เงื่อนไขและระยะเวลาการเลื่อนชั้นตรา หมายเหตุ
เริ่มต้นขอ เลื่อนได้ถึง
1 สิบตำรวจตรี ร.ง.ม. - - ขอพระราชทานได้เฉพาะกรณีพิเศษเท่านั้น 1. ต้องมีระยะเวลารับราชการติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์นับตั้งแต่วันเริ่ม

เข้ารับราชการจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่ขอพระราชทานไม่น้อยกว่า 60 วัน
2. ผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนตำรวจ ให้นับเวลาราชการตั้งแต่วันเริ่มเข้ารับราชการตำรวจในระหว่างที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียน
3. เกณฑ์การขอพระราชทานที่กำหนดไว้ตามชั้นยศให้รวมถึงว่าที่ยศนั้นๆด้วย
4. ลำดับ 6 ซึ่งกำหนดระยะเวลาเลื่อนชั้นตรา 5 ปี หมายถึงต้องดำรงชั้นยศนั้นๆ รวมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระ

ชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทานไม่น้อยกว่า 60 วัน
2 สิบตำรวจโท ร.ง.ช. -
3 สิบตำรวจเอก ร.ท.ม. -
4 จ่าสิบตำรวจ ร.ท.ช. บ.ม. 1. เริ่มขอพระราชทาน ร.ท.ช.
2. ได้ ร.ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ บ.ม.
5 - จ่าสิบตำรวจ อัตราเงินเดือน จ่าสิบตำรวจพิเศษ
- ดาบตำรวจ ร.ท.ช. จ.ม. 1. เริ่มขอพระราชทาน ร.ท.ช.
2. ได้ ร.ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ บ.ม.
3. ได้ บ.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ขอ บ.ช.
4. ได้ บ.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ จ.ม.
6 ร้อยตำรวจตรี บ.ม. จ.ม. 1. เริ่มขอพระราชทาน บ.ม.
2. ดำรงตำแหน่ง ร้อยตรี เรือตรี เรืออากาศตรี มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ บ.ช.
3. ได้ บ.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ จ.ม.
7 ร้อยตำรวจโท จ.ม. -
8 ร้อยตำรวจเอก จ.ช. -
9 พันตำรวจตรี ต.ม. -
10 พันตำรวจโท ต.ช. -
11 พันตำรวจเอก ท.ม. -
12 พันตำรวจเอก อัตราเงินเดือน พันตำรวจเอกพิเศษ ท.ช. -
13 พันตำรวจเอก อัตราเงินเดือน พันตำรวจเอกพิเศษ - ป.ม. 1.ดำรงตำแหน่งบังคับบัญชา
2. ได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ม.
3. ให้ขอได้ในปีก่อนปีเกษียณอายุราชการหรือในปีที่เกษียณอายุราชการเท่านั้น
14 พันตำรวจเอก อัตราเงินเดือน พันตำรวจเอกพิเศษ
- เงินเดือนขั้นต้นของพลตำรวจตรี ท.ช. ป.ม. 1. เริ่มขอพระราชทาน ท.ช.
2. ได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ม.
3. ได้รับเงินเดือนขั้นต้นของพลตำรวจตรี มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
15 พันตำรวจเอก อัตราเงินเดือน พันตำรวจเอกพิเศษ
- เงินเดือนขั้นต้นของพลตำรวจตรี
- ดำรงตำแหน่งรองผู้บังคับการ ท.ช. ป.ม. 1. เริ่มขอพระราชทาน ท.ช.
2. ได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ม.
16 พลตำรวจตรี - ม.ว.ม. 1. ได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ม.
2. ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ช.
3. ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ว.ม.
4. ในปีที่เกษียณอายุราชการให้ขอสูงขึ้นอีก 1 ชั้นตรา แต่ไม่เกิน ป.ช. เว้นกรณีลาออก - ลำดับ 16 - 18 การขอกรณีปีที่เกษียณอายุราชการตามข้อ 4 ให้ขอปี

ติดกันได้
17 พลตำรวจโท - ม.ป.ช. 1. ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ช.
2. ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ว.ม
3. ได้ ม.ว.ม มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ป.ช.
4. ในปีที่เกษียณอายุราชการให้ขอสูงขึ้นอีก 1 ชั้นตรา แต่ไม่เกิน ม.ว.ม. เว้นกรณีลาออก
18 พลตำรวจเอก - ม.ป.ช. 1. ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ช.
2. ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ว.ม
3. ได้ ม.ว.ม มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ป.ช.
4. ในปีที่เกษียณอายุราชการให้ขอสูงขึ้นอีก 1 ชั้นตรา

บัญชี 14
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่องค์การมหาชน
พนักงานองค์การของรัฐ หรือพนักงานหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน
ยกเว้นที่ปรากฏในบัญชีอื่นๆ
ลำดับ ตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ขอพระราชทาน เงื่อนไขและระยะเวลาการเลื่อนชั้นตรา หมายเหตุ
เริ่มต้นขอ เลื่อนได้ถึง
1 หัวหน้าแผนก บ.ม. จ.ม. 1. เริ่มขอพระราชทานตามตำแหน่ง
2. การขอพระราชทานเลื่อนชั้นตรา เว้นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ตามลำดับถึงเกณฑ์ชั้นสูงสุดของตำแหน่ง
3. ลำดับ 5 ได้ ท.ช. 3 ปี ขอ ป.ม. 1. ต้องปฏิบัติงานติดต่อกันมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 8 ปีบริบูรณ์นับตั้งแต่วันเริ่มจ้างจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระ

ชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทานไม่น้อยกว่า 60 วัน
2. จะต้องดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกหรือเทียบเท่าซึ่งเป็นตำแหน่งบังคับบัญชาหรือผู้ปกครองขึ้นไป
3. หัวหน้าแผนกเริ่มขอพระราชทานต้องดำรงตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์
2 ผู้อำนวยการกอง หรือหัวหน้ากอง บ.ช. จ.ช.
3 ผู้ช่วยผู้ว่าการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ผู้อำนวยการฝ่าย หรือหัวหน้าฝ่าย จ.ม. ต.ม.
4 รองผู้ว่าการ รองผู้อำนวยการ หรือผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้บริหารสูงสุด จ.ช. ท.ช.
5 ผู้ว่าการ ผู้อำนวยการ หรือผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสูงสุด ต.ม. ป.ม.

บัญชี 25
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่กรรมการการเลือกตั้ง
ลำดับ ตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ขอพระราชทาน เงื่อนไขและระยะเวลาการเลื่อนชั้นตรา หมายเหตุ
เริ่มต้นขอ เลื่อนได้ถึง
1 ประธานกรรมการการเลือกตั้ง ม.ว.ม. ม.ว.ช. ทุกปี 1. ลำดับ 1 - 2 ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วันนับตั้งแต่วันที่ดำรง

ตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทาน
2. ลำดับ 3 - 4 ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีบริบูรณ์ นับตั้งแต่วันดำรงตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระ

ชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทานไม่น้อยกว่า 60 วัน
3. ลำดับ 5 - 6 ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 120 วันนับตั้งแต่วันที่ดำรงตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระ

ชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทาน
4. ลำดับ 5 - 6 กรณีผู้ดำรงตำแหน่งหลายคนให้พิจารณาคัดเลือกผู้มีผลงานดีเด่นเพียงตำแหน่งละ 1 คน เท่านั้น
2 กรรมการการเลือกตั้ง ป.ม. ม.ป.ช. 1. ป.ม. - ป.ช. ปีติดกัน
2. ป.ช. - ม.ป.ช. ปีเว้นปี
3 ประธานกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดและกรุงเทพมหานคร ต.ช. ท.ช. ปีเว้นปี
4 กรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดและกรุงเทพมหานคร ต.ม. ท.ม. ปีเว้นปี
5 หัวหน้าคณะที่ปรึกษาประธานกรรมการการเลือกตั้ง ต.ช. ท.ช. ปีเว้นปี
6 ที่ปรึกษากรรมการการเลือกตั้ง ต.ม. ท.ม. ปีเว้นปี

บัญชี 26
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ลำดับ ตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ขอพระราชทาน เงื่อนไขและระยะเวลาการเลื่อนชั้นตรา หมายเหตุ
เริ่มต้นขอ เลื่อนได้ถึง
1 ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ม.ว.ม. ม.ป.ช. ทุกปี 1. ลำดับ 1 - 2 ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90

วันนับตั้งแต่วันที่ดำรงตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทาน
2. ลำดับ 3 - 5 ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 120 วัน นับตั้งแต่วันดำรงตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระ

ชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทาน
3. ลำดับ 3 - 5 กรณีมีผู้ดำรงตำแหน่งหลายคนให้พิจารณาคัดเลือกผู้มีผลงานดีเด่นเพียงตำแหน่งละ 1 คน เท่านั้น
4. ลำดับ 3 การเริ่มต้นขอชั้นสายสะพายจะต้องดำรงตำแหน่งที่ปรึกษามาแล้วครบ 1 ปี (12 เดือน) ของปีที่จะขอพระราชทาน
2 กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ป.ม. ม.ป.ช. 1. ป.ม. - ป.ช. ปีติดกัน
2. ป.ช. - ม.ป.ช. ปีเว้นปี
3 ที่ปรึกษาประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ท.ม. ป.ม. ปีเว้นปี
4 เลขานุการประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ต.ช. ท.ช. ปีเว้นปี
5 เลขานุการกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ต.ม. ท.ม. ปีเว้นปี

บัญชี 27
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ลำดับ ตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ขอพระราชทาน เงื่อนไขและระยะเวลาการเลื่อนชั้นตรา หมายเหตุ
เริ่มต้นขอ เลื่อนได้ถึง
1 ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ม.ว.ม. ม.ป.ช. ทุกปี 1. ลำดับ 1 - 2 ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วันนับตั้งแต่วัน

ที่ดำรงตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทาน
2. ลำดับ 3 - 4 ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 120 วัน นับตั้งแต่วันที่ดำรงตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระ

ชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทาน
3. ลำดับ 3 - 4 กรณีมีผู้ดำรงตำแหน่งหลายคนให้พิจารณาคัดเลือกผู้มีผลงานดีเด่นเพียงตำแหน่งละ 1 คน เท่านั้น
2 กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ป.ม. ม.ป.ช. 1. ป.ม. - ป.ช. ปีติดกัน
2. ป.ช. - ม.ป.ช. ปีเว้นปี
3 เลขานุการประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ต.ช. ท.ช. ปีเว้นปี
4 เลขานุการกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ต.ม. ท.ม. ปีเว้นปี

บัญชี 28
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
ลำดับ ตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ขอพระราชทาน เงื่อนไขและระยะเวลาการเลื่อนชั้นตรา หมายเหตุ
เริ่มต้นขอ เลื่อนได้ถึง
1 ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ป.ม. ม.ป.ช. 1. ป.ม. - ป.ช. ปีติดกัน
2. ป.ช. - ม.ป.ช. ปีเว้นปี 1. ลำดับ 1 ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วันนับตั้งแต่วันที่ดำรงตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธี

เฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทาน
2. ลำดับ 2 - 3 ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 120 วัน นับตั้งแต่วันที่ดำรงตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระ

ชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทาน
3. ลำดับ 2 - 3 กรณีมีผู้ดำรงตำแหน่งหลายคนให้พิจารณาคัดเลือกผู้มีผลงานดีเด่นเพียงตำแหน่งละ 1 คน เท่านั้นี
2 ที่ปรึกษาผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ต.ช. ท.ช. ปีเว้นปี
3 เลขานุการผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ต.ม. ท.ม. ปีเว้นปี

บัญชี 29
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ตุลาการศาลปกครอง
ลำดับ ตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ขอพระราชทาน เงื่อนไขและระยะเวลาการเลื่อนชั้นตรา หมายเหตุ
เริ่มต้นขอ เลื่อนได้ถึง
1 ประธานศาลปกครองสูงสุด ม.ว.ม. ม.ป.ช. ทุกปี 1. ลำดับ 1 - 3 ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วันนับตั้งแต่วันที่ดำรง

ตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทาน
2. ลำดับ 4 - 5 ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ นับตั้งแต่วันเริ่มดำรงตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิม

พระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทานไม่น้อยกว่า 60 วัน
3. ลำดับ 4 - 5 การนับระยะเวลาปฏิบัติงานสำหรับตุลาการศาลปกครองชั้นต้นให้นับระยะเวลาที่ เคยเป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจหรือพนักงาน

องค์การ ของรัฐมารวมกับระยะเวลาปฏิบัติงานในตำแหน่งตุลาการศาลปกครองชั้นต้นเป็นเวลา ไม่น้อยกว่า 1 ปี (12 เดือน) ของปีที่จะขอพระราชทาน
2 รองประธานศาลปกครองสูงสุด ม.ว.ม. ม.ป.ช. ปีเว้นปี
3 ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด
ตุลาการศาลปกครองสูงสุด ป.ม. ม.ป.ช. ปีเว้นปี
4 อธิบดีศาลปกครองชั้นต้น
รองอธิบดีศาลปกครองชั้นต้น ท.ช. ม.ป.ช. 1. เริ่มขอพระราชทาน ท.ช.
2. ได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ม.
3. ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ช.
4. ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ว.ม.
5. ได้ ม.ว.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ป.ช.
5 ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองชั้นต้น
ตุลาการในศาลปกครองชั้นต้น ท.ม. ม.ป.ช. 1. เริ่มขอพระราชทาน ท.ม.
2. ได้ ท.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ท.ช.
3. ได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ม.
4. ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ช.
5. ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ว.ม.
6. ได้ ม.ว.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ป.ช.

บัญชี 30
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ
และกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ลำดับ ตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ขอพระราชทาน เงื่อนไขและระยะเวลาการเลื่อนชั้นตรา หมายเหตุ
เริ่มต้นขอ เลื่อนได้ถึง
1 ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ
ประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ป.ม. ม.ป.ช. 1. ป.ม. - ม.ว.ม. ปีเว้นปี
2. ม.ว.ม. 3 ปี ขอ ม.ป.ช. - ลำดับ 1 - 2 ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วันนับตั้งแต่วันที่ดำรงตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันพระราช

พิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทาน
- ลำดับ 3 - 4 ต้องมีระยะเวลาดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 120 วัน นับตั้งแต่วันที่ดำรงตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา

ของปีที่จะขอพระราชทาน
- ลำดับ 3 - 4 กรณีมีผู้ดำรงตำแหน่งหลายคนให้พิจารณาคัดเลือกผู้มีผลงานดีเด่นเพียงตำแหน่งละ 1 คนเท่านั้น
2 กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ
กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ท.ช. ม.ว.ม. 1. ท.ช. - ป.ช. ปีเว้นปี
2. ป.ช. 3 ปี ขอ ม.ว.ม.
3 ที่ปรึกษาประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ
ที่ปรึกษาประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ต.ช. ท.ช. ปีเว้นปี
4 เลขานุการประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ
เลขานุการประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ต.ช. ท.ช. ปีเว้นปี
5 เลขานุการกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ
เลขานุการกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ต.ม. ท.ม. ปีเว้นปี

บัญชี 31
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ลำดับ ตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ขอพระราชทาน เงื่อนไขและระยะเวลาการเลื่อนชั้นตรา หมายเหตุ
เริ่มต้นขอ เลื่อนได้ถึง
1 ประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ท.ช. ป.ช. ปีเว้นปี - ลำดับ 1 - 3 ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วันนับ

ตั้งแต่วันที่ดำรงตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทาน
2 รองประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ท.ม. ป.ม. ปีเว้นปี
3 สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ต.ช. ป.ม. ปีเว้นปี

บัญชี 32
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่พนักงานราชการ
ลำดับ ตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ขอพระราชทาน เงื่อนไขและระยะเวลาการเลื่อนชั้นตรา หมายเหตุ
เริ่มต้นขอ เลื่อนได้ถึง
1 พนักงานราชการ
- กลุ่มงานบริการ
- กลุ่มงานเทคนิค บ.ม. จ.ช. 1. เริ่มขอพระราชทาน บ.ม.
2. ได้ บ.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ บ.ช.
3. ได้ บ.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ จ.ม.
4. ได้ จ.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ จ.ช. 1. ลำดับ 1 - 4 ต้องปฏิบัติงานติดต่อกันมาเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ นับตั้งแต่วันเริ่มจ้าง จน

ถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทานไม่น้อยกว่า 60 วัน
2. ลำดับ 5 - 7 ต้องปฏิบัติงานติดต่อกันมาเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ นับตั้งแต่วันเริ่มจ้าง จนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของ

ปีที่จะขอพระราชทานไม่น้อยกว่า 60 วัน
3. ต้องเป็นพนักงานราชการตามสัญญาจ้างของส่วนราชการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมาตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547
4. ต้องเป็นพนักงานราชการที่มีชื่อและลักษณะงานเป็นพนักงานที่เทียบเท่ากับ ลูกจ้างประจำหมวดฝีมือขึ้นไป ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยลูกจ้าง

ประจำของส่วนราชการ
2 พนักงานราชการ
- กลุ่มงานบริหารทั่วไป บ.ช. ต.ม. 1. เริ่มขอพระราชทาน บ.ช.
2. ได้ บ.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ จ.ม.
3. ได้ จ.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ จ.ช.
4. ได้ จ.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ต.ม.
3 พนักงานราชการ
- กลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ จ.ม. ต.ช. 1. เริ่มขอพระราชทาน จ.ม.
2. ได้ จ.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ จ.ช.
3. ได้ จ.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ต.ม.
4. ได้ ต.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ต.ช.
4 พนักงานราชการ
- กลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ จ.ช. ท.ม. 1. เริ่มขอพระราชทาน จ.ช.
2. ได้ จ.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ต.ม.
3. ได้ ต.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ต.ช.
4. ได้ ต.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ท.ม.
5 พนักงานราชการ
- กลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ
ระดับทั่วไป ต.ม. ท.ช. 1. เริ่มขอพระราชทาน ต.ม.
2. ได้ ต.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ต.ช.
3. ได้ ต.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ท.ม.
4. ได้ ท.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ท.ช.
6 พนักงานราชการ
- กลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ
ระดับประเทศ ต.ช. ป.ม. 1. เริ่มขอพระราชทาน ต.ช.
2. ได้ ต.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ท.ม.
3. ได้ ท.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ท.ช.
4. ได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ม.
7 พนักงานราชการ
- กลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ
ระดับสากล ท.ม. ป.ช. 1. เริ่มขอพระราชทาน ท.ม.
2. ได้ ท.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ท.ช.
3. ได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ม.
4. ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ช.

บัญชี 33
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่คู่สมรสกรรมการการเลือกตั้ง
ลำดับ ตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ขอพระราชทาน เงื่อนไขและระยะเวลาการเลื่อนชั้นตรา หมายเหตุ
เริ่มต้นขอ เลื่อนได้ถึง
1 ประธานกรรมการการเลือกตั้ง ต.ช. ม.ว.ม. 1. เริ่มขอพระราชทาน ต.ช.
2. ขอพระราชทานเลื่อนชั้นตราได้ทุกปี ตามลำดับถึง ป.ม.
3. การขอพระราชทานตั้งแต่ชั้น ป.ม. - ป.ช. ปีเว้นปี
4. การขอพระราชทานตั้งแต่ชั้น ป.ช. - ม.ว.ม. เว้น 2 ปี - ลำดับ 1 - 2 ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ดำรง

ตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทาน
2 กรรมการการเลือกตั้ง ต.ม. ป.ช. 1. เริ่มขอพระราชทาน ต.ม.
2. ขอพระราชทานเลื่อนชั้นตราได้ทุกปี ตามลำดับถึง ท.ช.
3. การขอพระราชทานตั้งแต่ชั้น ท.ช. - ป.ม. ปีเว้นปี
4. การขอพระราชทานตั้งแต่ชั้น ป.ม. - ป.ช. เว้น 2 ปี

บัญชี 34
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่คู่สมรสกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ลำดับ ตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ขอพระราชทาน เงื่อนไขและระยะเวลาการเลื่อนชั้นตรา หมายเหตุ
เริ่มต้นขอ เลื่อนได้ถึง
1 ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ต.ช. ม.ว.ม. 1. เริ่มขอพระราชทาน ต.ช.
2. ขอพระราชทานเลื่อนชั้นตราได้ทุกปี ตามลำดับถึง ป.ม.
3. การขอพระราชทานตั้งแต่ชั้น ป.ม. - ป.ช. ปีเว้นปี
4. การขอพระราชทานตั้งแต่ชั้น ป.ช. - ม.ว.ม. เว้น 2 ปี - ลำดับ 1 - 2 ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ดำรง

ตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทาน
2 กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ต.ม. ป.ช. 1. เริ่มขอพระราชทาน ต.ม.
2. ขอพระราชทานเลื่อนชั้นตราได้ทุกปี ตามลำดับถึง ท.ช.
3. การขอพระราชทานตั้งแต่ชั้น ท.ช. - ป.ม. ปีเว้นปี
4. การขอพระราชทานตั้งแต่ชั้น ป.ม. - ป.ช. เว้น 2 ปี

บัญชี 35
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่คู่สมรสกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ลำดับ ตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ขอพระราชทาน เงื่อนไขและระยะเวลาการเลื่อนชั้นตรา หมายเหตุ
เริ่มต้นขอ เลื่อนได้ถึง
1 ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ต.ช. ม.ว.ม. 1. เริ่มขอพระราชทาน ต.ช.
2. ขอพระราชทานเลื่อนชั้นตราได้ทุกปี ตามลำดับถึง ป.ม.
3. การขอพระราชทานตั้งแต่ชั้น ป.ม. - ป.ช. ปีเว้นปี
4. การขอพระราชทานตั้งแต่ชั้น ป.ช. - ม.ว.ม. เว้น 2 ปี - ลำดับ 1 - 2 ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ดำรง

ตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทาน
2 กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ต.ม. ป.ช. 1. เริ่มขอพระราชทาน ต.ม.
2. ขอพระราชทานเลื่อนชั้นตราได้ทุกปี ตามลำดับถึง ท.ช.
3. การขอพระราชทานตั้งแต่ชั้น ท.ช. - ป.ม. ปีเว้นปี
4. การขอพระราชทานตั้งแต่ชั้น ป.ม. - ป.ช. เว้น 2 ปี

บัญชี 36
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่คู่สมรสผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
ลำดับ ตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ขอพระราชทาน เงื่อนไขและระยะเวลาการเลื่อนชั้นตรา หมายเหตุ
เริ่มต้นขอ เลื่อนได้ถึง
1 ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ต.ช. ป.ช. 1. เริ่มขอพระราชทาน ต.ช.
2. ขอพระราชทานเลื่อนชั้นตราได้ทุกปี ตามลำดับถึง ท.ช.
3. การขอพระราชทานตั้งแต่ชั้น ท.ช. - ป.ม. ปีเว้นปี
4. การขอพระราชทานตั้งแต่ชั้น ป.ม. - ป.ช. เว้น 2 ปี - ลำดับ 1 - 2 ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ดำรง

ตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทาน

บัญชี 37
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่คู่สมรสตุลาการศาลปกครอง
ลำดับ ตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ขอพระราชทาน เงื่อนไขและระยะเวลาการเลื่อนชั้นตรา หมายเหตุ
เริ่มต้นขอ เลื่อนได้ถึง
1 ประธานศาลปกครองสูงสุด ต.ช. ม.ว.ม. 1. เริ่มขอพระราชทาน ต.ช.
2. ขอพระราชทานเลื่อนชั้นตราได้ทุกปี ตามลำดับถึง ป.ม.
3. การขอพระราชทานตั้งแต่ชั้น ป.ม. - ป.ช. ปีเว้นปี
4. การขอพระราชทานตั้งแต่ชั้น ป.ช. - ม.ว.ม. เว้น 2 ปี 1. ลำดับ 1 - 3 ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วันนับตั้งแต่วันที่ดำรง

ตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทาน
2. ลำดับ 4 - 5 ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ นับตั้งแต่วันเริ่มดำรงตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิม

พระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทานไม่น้อยกว่า 60 วัน
3. ลำดับ 4 - 5 การนับระยะเวลาปฏิบัติงานสำหรับตุลาการศาลปกครองชั้นต้นให้นับระยะเวลาที่ เคยเป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจหรือพนักงาน

องค์การ ของรัฐมารวมกับระยะเวลาปฏิบัติงานในตำแหน่งตุลาการศาลปกครองชั้นต้นเป็นเวลา ไม่น้อยกว่า 1 ปี (12 เดือน) ของปีที่จะขอพระราชทาน
2 รองประธานศาลปกครองสูงสุด ต.ช. ป.ช. 1. เริ่มขอพระราชทาน ต.ช.
2. ขอพระราชทานเลื่อนชั้นตราได้ทุกปี ตามลำดับถึง ท.ช.
3. การขอพระราชทานตั้งแต่ชั้น ท.ช. - ป.ม. ปีเว้นปี
4. การขอพระราชทานตั้งแต่ชั้น ป.ม. - ป.ช. เว้น 2 ปี
3 ตุลาการศาลปกครองสูงสุด ต.ม. ป.ม. 1. เริ่มขอพระราชทาน ต.ม.
2. ขอพระราชทานเลื่อนชั้นตราได้ทุกปี ตามลำดับถึง ท.ช.
3. การขอพระราชทานตั้งแต่ชั้น ท.ช. - ป.ม. ปีเว้นปี
4 อธิบดีศาลปกครองชั้นต้น จ.ม. ท.ช. 1. เริ่มขอพระราชทาน จ.ม.
2. ขอพระราชทานเลื่อนชั้นตราได้ปีเว้นปี ตามลำดับถึง ท.ม.
3. การขอพระราชทานตั้งแต่ชั้น ท.ม. ขึ้นไป ต้องเว้น 2 ปี ตามลำดับถึง ท.ช.
5 รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลปกครองชั้นต้น จ.ม. ท.ม. 1. เริ่มขอพระราชทาน จ.ม.
2. ขอพระราชทานเลื่อนชั้นตราได้ปีเว้นปี ตามลำดับถึง ท.ม.

บัญชี 38
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่คู่สมรสกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการ
โทรทัศน์แห่งชาติและกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ลำดับ ตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ขอพระราชทาน เงื่อนไขและระยะเวลาการเลื่อนชั้นตรา หมายเหตุ
เริ่มต้นขอ เลื่อนได้ถึง
1 ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ
ประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ต.ม. ป.ม. 1. เริ่มขอพระราชทาน ต.ม.
2. ขอพระราชทานเลื่อนชั้นตราได้ปีเว้นปี ตามลำดับถึง ป.ม. - ลำดับ 1 - 2 ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน นับตั้งแต่วันที่

ดำรงตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทาน
2 กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ
กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ จ.ช. ท.ช. 1. เริ่มขอพระราชทาน จ.ช.
2. ขอพระราชทานเลื่อนชั้นตราได้ปีเว้นปี ตามลำดับถึง ท.ช.

-----------------------------------------------

ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ฉบับที่ ๓๔
เรื่อง อนุญาตให้ข้าราชการอัยการลาออกจากราชการ
..................................................
ตามคำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ ๒๗/๒๕๔๙ ให้อนุญาตให้ นายใจเด็ด พรไชยา

อัยการ อาวุโส สำนักงานอัยการสูงสุด ลาออกจากราชการ เพื่อไปดำรงตำแหน่งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม

๒๕๔๙ เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙
พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

-------------------------------------------

ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีประมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ฉบับที่ ๓๕
เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑
..................................................
โดย ที่เป็นการสมควรปรับระบบการบริหารงานยุติธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับงานของ อัยการให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ และแก้ไขปัญหาข้อขัดข้อง

บางประการในทางปฏิบัติ สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบ

ประชาธิปไตย อันมีประมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

" มาตรา ๑๘ ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการอัยการตามมาตรา ๑๕ ว่างลง และมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการ โดยรีบด่วน ก็ให้กรรมการอัยการที่เหลืออยู่

ดำเนินการไปได้ แต่ต้องมีกรรมการอัยการพอที่จะเป็นองค์ประชุม"

ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

" มาตรา ๒๗ การแต่งตั้งข้าราชการอัยการให้ดำรงตำแหน่งนอกจากตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ให้ประธาน ก.อ. เสนอ ก.อ. โดยคำนึงถึงความรู้ ความสามารถ

ความ รับผิดชอบ ประวัติการปฏิบัติราชการของบุคคลนั้นเทียบกับงานในตำแหน่งข้าราชการอัยการ ที่จะได้รับการแต่งตั้งนั้นๆ เพื่อให้ความเห็นชอบก่อน แต่

ทั้ง นี้ไม่ตัดสิทธิกรรมการอัยการคนหนึ่งคนใดที่จะเสนอ เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว จึงนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง"

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙
พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

--------------------------------------------

ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ฉบับที่ ๓๖
เรื่อง กฎหมายว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยสถาบันพระมหากษัตริย์
..................................................
เพื่อ ให้การรักษาความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์

และ พระราชอาคันตุกะ เป็นไปโดยรัดกุมและเรียบร้อยยิ่งขึ้น จึงให้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหา กษัตริย์

พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นพระราชบัญญัติว่า

ด้วย การรักษาความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และ

พระราชอาคันตุกะ พ.ศ. ๒๕๔๙

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป


ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙
พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

---------------------------------

ที่มา : http://th.wikisource.org/wiki/หมวดหมู่:ประกาศ_คปค