(ครุฑ)
คำสั่งกระทรวงการคลัง
ที่ 376/2540
เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาและเสนอแนะมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพ
การบริหารจัดการระบบการเงินของประเทศ (ศปร.)
-----------------------------------------------------
ตามที่ได้เกิดสถานการณ์วิกฤติทางเศรษฐกิจ อันมีผลกระทบต่อความมั่นใจในสถาบันการเงิน และระบบการเงินของประเทศ ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมและ ผลประโยชน์ของประชาชนต้องถูกกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงด้วย นั้น สมควรที่ข้อเท็จจริงในเหตุการณ์วิกฤติทางการเงินต่างๆ รวมทั้งข้อเท็จจริง กรณีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินได้ใช้เงินเข้าไปช่วยเหลือสถาบันการเงินต่างๆ เป็นจำนวนมาก และข้อเท็จจริงกรณีเงินทุนสำรอง ระหว่างประเทศได้ลดลงอย่างมากและรวดเร็วสู่ระดับที่น่าวิตก จะได้รับการบันทึกให้ปรากฏ ทั้งในด้านการตัดสินใจเชิงนโยบายและการบริหารจัดการ หรือการปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง และมีการวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวอย่างเป็นระบบ มีการนำประสบการณ์และข้อผิดพลาดในกรณีดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ ในการกำหนดมาตรการเพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานของธนาคารแห่งประเทศไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้มีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบ และมีความโปร่งใสยิ่งขึ้นในอนาคต อันจะช่วยฟื้นฟูความเชื่อมั่น ให้กลับคืนสู่ระบบการเงินและสถาบันการเงินที่สำคัญของประเทศต่อไป
กระทรวงการคลัง จึงเห็นควรแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อวิเคราะห์ต้นเหตุที่นำไปสู่สถานการณ์วิกฤติทางเศรษฐกิจและการเงิน และวินิจฉัย ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ดังกล่าว ทั้งนี้ ให้วิเคราะห์ถึงข้อบกพร่อง ความผิดพลาด หรือความล่าช้าในการใช้มาตรการต่างๆ ของทางราชการ ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจการเงินของประเทศ และเสนอแนะมาตรการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบการเงินของประเทศที่อยู่ใน ความรับผิดชอบของธนาคารแห่งประเทศไทยและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยจะเป็นการดำเนินการในลักษณะที่เพิ่มเติมและต่อเนื่องจากผลการศึกษา ของคณะกรรมการพิจารณาข้อเท็จจริงและหาแนวทางแก้ไขระบบตรวจสอบและควบคุมสถาบันการเงิน ซึ่งได้เสนอกระทรวงการคลังแล้วเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2540 ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการที่แต่งตั้ง มีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. องค์ประกอบ
ให้คณะกรรมการ ประกอบด้วยบุคคล ดังต่อไปนี้
(1) นายนุกูล ประจวบเหมาะ ประธานกรรมการ (2) นายอมร จันทรสมบูรณ์ กรรมการ (3) นายอมเรศ ศิลาอ่อน กรรมการ (4) นายอัมมาร์ สยามวาลา กรรมการ (5) นายโกวิทย์ โปษยานนท์ กรรมการ (6) นายเกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม กรรมการ (7) นางสาวนภพร เรืองสกุล กรรมการและเลขานุการ 2. อำนาจหน้าที่
ให้คณะกรรมการ มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) ศึกษาและเสนอแนะมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพงานกำกับ ตรวจสอบ และแก้ไขปัญหาระบบการเงิน ที่ดำเนินการโดย ธนาคารแห่งประเทศไทยและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เพื่อให้มีกระบวนการที่สามารถตรวจจับปัญหาด้านต่างๆ ของสถาบันการเงิน แต่ละราย หรือทั้งระบบ ได้อย่างทันเหตุการณ์ และสามารถเข้าแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที
(2) ศึกษาและเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการระบบอัตราแลกเปลี่ยนและเงินทุนสำรองระหว่างประเทศให้เป็นไปโดยรัดกุม และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
(3) เสนอแนะมาตรการอื่น เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานของธนาคารแห่งประเทศไทยและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับ การบริหารจัดการระบบการเงินของประเทศ ให้มีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบ และมีความโปร่งใสยิ่งขึ้น
(4) ศึกษาเหตุการณ์ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) ในด้านผลกระทบต่อความมั่นคงของระบบการเงิน
(5) ตรวจสอบและวินิจฉัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการบริหารจัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ตั้งแต่ ช่วงการเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) จนถึงปัจจุบัน
(6) ตรวจสอบและวินิจฉัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการบริหารจัดการเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ตั้งแต่ช่วงที่มีการดำเนินการ เพื่อปกป้องค่าเงินบาท จนนำไปสู่การประกาศใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 จนถึงปัจจุบัน
(7) ในการตรวจสอบและวินิจฉัยข้อเท็จจริงตาม (5) และ (6) นั้น ให้รวบรวมและตรวจสอบให้ครอบคลุมหน่วยงานและบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในด้านการตัดสินใจเชิงนโยบายและการบริหารจัดการหรือการปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง และให้วินิจฉัยว่าการกระทำโดยหน่วยงาน และบุคคลดังกล่าวเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องหรือไม่เพียงใด
(8) ให้คณะกรรมการมีอำนาจเรียก ข้อมูล เอกสาร หลักฐานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำหรือ ให้ความเห็นได้
(9) ให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะทำงาน หรือผู้ช่วยปฏิบัติงานของคณะกรรมการได้ตามที่เห็นสมควร
(10) ให้คณะกรรมการเสนอผลการศึกษาต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยเร็วทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 16 ธันวาคม 2540
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
รายนามบุคคลที่ ศปร. เชิญมาให้ข้อมูลและข้อคิดเห็น
(เรียงลำดับตามวันที่มาให้ข้อมูล)
รายนาม/ตำแหน่ง | วันที่มาให้ข้อมูล | |
1. | คุณเกลียวทอง เหตระกูล ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ | วันจันทร์ที่ 5 มกราคม 2541 |
2. | คุณบัณฑิต นิจถาวร ผู้อำนวยการฝ่ายต่างประเทศ อดีตผู้อำนวยการฝ่ายการธนาคาร | วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม 2541 |
3. | คุณไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน หัวหน้าส่วนวิเคราะห์และธุรกิจตลาดเงิน ฝ่ายการธนาคาร | วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม 2541 |
4. | คุณศิริ การเจริญดี ผู้ช่วยผู้ว่าการอาวุโสธนาคารแห่งประเทศไทย | วันจันทร์ที่ 12 มกราคม 2541 และวันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2541 |
5. | คุณธัญญา ศิริเวทิน ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย | วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม 2541 และวันจันทร์ที่ 9 มีนาคม 2541 |
6. | ม.ร.ว. จัตุมงคล โสณกุล อดีตปลัดกระทรวงการคลัง | วันจันทร์ที่ 19 มกราคม 2541 |
7. | คุณธนศักดิ์ จันทโรวาส ผู้อำนวยการฝ่ายการธนาคาร อดีตรองผู้อำนวยการฝ่ายการธนาคาร | วันจันทร์ที่ 19 มกราคม 2541 |
8. | คุณธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ผู้อำนวยการฝ่ายตรวจสอบและวิเคราะห์บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ อดีตผู้อำนวยการฝ่ายกำกับและพัฒนาสถาบันการเงิน | วันศุกร์ที่ 23 มกราคม 2541 |
9. | คุณวิจิตร สุพินิจ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย | วันเสาร์ที่ 24 มกราคม 2541 |
10. | คุณบันเทิง ตันติวิท ประธานสมาคมบริษัทเงินทุน | วันเสาร์ที่ 24 มกราคม 2541 |
11. | คุณชาญชัย โยธาวงษ์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายตรวจสอบบริษัทเงินทุน | วันเสาร์ที่ 24 มกราคม 2541 |
12. | คุณนภดล จิวศิวานนท์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายตรวจสอบบริษัทเงินทุน | วันเสาร์ที่ 24 มกราคม 2541 |
13. | คุณสามารถ บูรณวัฒนาโชค รองผู้อำนวยการฝ่ายตรวจสอบบริษัทเงินทุน อดีตหัวหน้าส่วนตรวจสอบธนาคารพาณิชย์ | วันเสาร์ที่ 24 มกราคม 2541 |
14. | คุณสว่างจิตต์ จัยวัฒน์ ผู้อำนวยการสถาบันฝึกอบรม ธปท. อดีตผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูฯ | วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2541 |
15. | คุณเริงชัย มะระกานนท์ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย | วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ 2541 |
16. | คุณทัศนา รัชตโพธิ์ ผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูฯ | วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2541 |
17. | คุณอำนวย วีรวรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2541 |
18. | คุณศิรินทร์ นิมมานเหมินท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงไทย จำกัด | วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2541 |
19. | คุณชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย อดีตรองผู้ว่าการ ธปท. และผู้จัดการทุนรักษาระดับฯ | วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ 2541 |
20. | คุณสุวิช นิวาตวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี อดีตผู้อำนวยการฝ่ายตรวจสอบและวิเคราะห์บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ | วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2541 |
21. | คุณจรุง หนูขวัญ รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย | วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2541 |
22. | คุณพีรศิลป์ ศุภผลศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ กรุงไทยธนกิจ | วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2541 |
23. | คุณทนง พิทยะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม 2541 |
24. | คุณสุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม 2541 |
1. | ดร. รินใจ ไชยสุต | ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย |
2. | คุณจริมา ทองสวัสดิ์ | กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ |
3. | คุณสุวิทย์ ฉันทไกรวัฒน์ | กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ |
4. | คุณสุรงค์ สุวรรณวานิช | กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ |
5. | คุณพูนสิน วงศ์กลธูต | มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย |
6. | คุณสุนีย์ ยิ่งไพบูลย์วงศ์ | มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย |
7. | ดร. ธีระบูลย์ อินทรกำธรชัย | -- |
รายนามเจ้าหน้าที่จากกระทรวงการคลังที่ช่วยงาน ศปร.
ด้านการประสานงาน งานสารบรรณ และอาคารสถานที่
1. | คุณอาริยา | อินทรครรชิต |
2. | คุณจณัญญา | ภัทรวนากูล |
3. | คุณภิรัตน์ | เจียรนัย |
4. | คุณกุลิศ | สมบัติศิริ |
5. | คุณรัตนา | นิยมเทศ |
6. | คุณอรวรรณ | แก้วประกิต |
7. | คุณศศินลักษณ์ | ธรรมนิมิต |
8. | คุณวีระพร | บุญธูป |
9. | คุณจิตรา | อรุณศรีวิเชฐ |
10. | คุณปัญญา | ฉายะจินดาวงศ์ |
11. | คุณรัชนี | ภู่ตระกูล |
12. | คุณพนาวรรณ | แสนสุด |
13. | คุณขวัญเรือน | เทพประสิทธิ์ |
14. | คุณรอด | มลวิชัย |
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการจัดการกองทุนตาม
พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย
พุทธศักราช 2485 พ.ศ. 2528
หมวด 5 ทวิ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการจัดการกองทุนไวัดังนี้
มาตรา 29 เตรส คณะกรรมการจัดการกองทุนมีอำนาจหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของกองทุน อำนาจและหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง
- ออกข้อบังคับเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรา 29 ตรี มาตรา 29 เบญจ และมาตรา 29 อัฏฐ
- ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการประชุมและการดำเนินงานของคณะกรรมการการจัดการกองทุน
- ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของผู้จัดการ
- พิจารณาเรื่องอื่น ๆ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยมอบหมาย
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยตาม
พระราชกฤษฎีกากำหนดกิจการธนาคารแห่งประเทศไทย
พุทธศักราช 2485
พระราชกฤษฎีกากำหนดกิจการธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยไว้ดังนี้
มาตรา 5 ในการควบคุมและดูแลโดยทั่วไป ซึ่งกิจการของธนาคารแห่งประเทศไทย คณะกรรมการต้องควบคุมและดูแลกิจการต่อไปนี้โดยเฉพาะ คือ
- การตั้งและการเลิกสาขาและตัวแทน
- การกำหนดเงื่อนไขและขอบเขตทั่วไปแห่งธุระกิจประเภทต่างๆ ซึ่งพระราชกฤษฎีกาอนุญาตให้ธนาคารประกอบได้
- การกำหนดอัตรามาตรฐานสำหรับรับช่วงซื้อลดและดอกเบี้ย
- การให้ความสะดวกด้วยเครดิต
- การเสนอบัญชีกำไรขาดทุน งบดุล และรายงานประจำปีตามมาตรา 22
- การออกข้อบังคับของธนาคาร
รายนามคณะกรรมการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
คณะกรรมการชุดที่ 4 ครบวาระวันที่ 22 ธ.ค. 40 | |
แต่งตั้งกรรมการชุดที่ 4 | การเปลี่ยนแปลงกรรมการ |
1. นายวิจิตร สุพินิจ | ลาออก 2 ก.ค. 39 (1) นายเริงชัย มะระกานนท์ 13 ก.ค. 39 ลาออก 29 ก.ค. 40 (2) นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ 31 ก.ค. 40 |
2. นายอรัญ ธรรมโน | เกษียณอายุ 1 ต.ค. 38
|
8. นายธวัช ภูษิตโภยไคย | |
4. นายปรีดี บุญยัง | ได้รับแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมศุลกากร (1) นายนิพัทธ พุกกะณะสุต 17 ก.พ. 40 |
3. นายสมชัย ฤชุพันธุ์ | ลาออก 2 ม.ค. 40 (1) นายวุฒิชัย พงษ์ประสิทธิ์ 1 ก.พ. 40 ลาออก 13 ต.ค. 40 |
7. นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ | ลาออก 27 ก.ย. 39 (1) นายศิริ การเจริญดี 17 ก.พ. 40 |
5. นายคณิต ณ นคร | ลาออกตั้งแต่ 1 ต.ค. 40 |
6. นายอักขราทร จุฬารัตน |
รายนามคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย
ตั้งแต่มกราคม 2538 - ปัจจุบัน
ชื่อ – นามสกุล | ตำแหน่ง | ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง |
1. นายวิจิตร สุพินิจ | ประธาน | 1 ต.ค. 2533 – 1 ก.ค. 2539 |
2. นายเริงชัย มะระกานนท์ | รองประธาน | 25 ต.ค. 2533 – 12 ก.ค. 2539 13 ก.ค. 2539 – 28 ก.ค. 2540 |
3. นายเอกกมล คีรีวัฒน์ | รองประธาน | 25 ต.ค. 2533 – 25 ธ.ค. 2538 1 ม.ค. 2540 – ปัจจุบัน |
4. นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ | รองประธาน | 26 ธ.ค. 2538 – 26 ก.ย. 2539 19 พ.ย. 2539 – 30 ก.ค. 2540 31 ก.ค. 2540 – ปัจจุบัน |
5. นายจรุง หนูขวัญ | รองประธาน | 26 ส.ค. 2539 - ปัจจุบัน |
6. คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี | กรรมการ | 12 ม.ค. 2532 – 11 ม.ค. 2535 12 ม.ค. 2535 – 11 ม.ค. 2538 |
7. นายบดี จุณณานนท์ | ” | 1 ต.ค. 2535 – 30 ก.ย. 2538 |
8. นายไมตรี ตันเต็มทรัพย์ | ” | 1 ต.ค.2537 – 30 ก.ย. 2538 |
9. นายอภิลาศ โอสถานนท์ | ” | 1 มี.ค. 2533 – 28 ก.พ. 2536 1 มี.ค. 2536 – 29 ก.พ. 2539 |
10. นายสุเมธ ตันติเวชกุล | ” | 1 ธ.ค. 2537- 30 พ.ย. 2539 |
11. นายจเร จุฑารัตนกุล | ” | 1 ต.ค. 2537 –30 ก.ย. 2540 |
12. นายสมชัย ฤชุพันธุ์ | ” | 1 ก.พ. 2538 – 24 ก.พ. 2540 |
13. นายวีรพงษ์ รามางกูร | ” | 25 พ.ย. 2528 – 25 ส.ค. 2529 1 พ.ย. 2538 – 14 ส.ค. 2540 |
14. นายปรีดี บุญยัง | ” | 1 ส.ค. 2535 – 31 ก.ค. 2538 1 ส.ค. 2538 – ปัจจุบัน |
15. นายวิษณุ เครืองาม | ” | 1 ก.พ. 2537 –31 ม.ค. 2540 4 มี.ค. 2540 – ปัจจุบัน |
16. นายอักขราทร จุฬารัตน | ” | 17 พ.ย. 2538 – ปัจจุบัน |
17. นายสมพล เกียรติไพบูลย์ | ” | 1 มี.ค. 2539 – ปัจจุบัน |
18. นายวุฒิชัย พงษ์ประสิทธิ์ | ” | 25 ก.พ. 2540 – ปัจจุบัน |
19. นายวิรัตน์ วัฒนศิริธรรม | ” | 16 ก.ย. 2540 - ปัจจุบัน |
รายชื่อสถาบันการเงินที่ทางการสั่งให้เพิ่มทุน
เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2540
- บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ยูนิโก้เฮ้าซิ่ง จำกัด
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์คันทรี จำกัด
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์รอยัลอินเตอร์เนชั่นแนล ไฟแนนซ์ จำกัด
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ไทยฟูจิ จำกัด
- บริษัทเงินทุนทรัพย์ธำรง จำกัด
- บริษัทเงินทุนศรีธนา จำกัด (มหาชน)
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ตะวันออกฟายแนนซ์ (1991) จำกัด (มหาชน)
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ศรีนคร จำกัด
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์อินเตอร์เครดิตแอนด์ทรัสต์ จำกัด
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ไอ ที เอฟ จำกัด (มหาชน)
รายชื่อสถาบันการเงินที่ทางการสั่งให้ระงับการดำเนินกิจการ
จำนวน 16 บริษัท
เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2540
- บริษัทเงินทุนเอกธนกิจ จำกัด (มหาชน)
- บริษัทเงินทุนทรัพย์ธำรง จำกัด
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ไทยฟูจิ จำกัด
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอกธนา จำกัด (มหาชน)
- บริษัทเงินทุนจี ซี เอ็น จำกัด (มหาชน)
- บริษัทเงินทุนยูไนเต็ด จำกัด (มหาชน)
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์รอยัลอินเตอร์เนชั่นแนล ไฟแนนซ์ จำกัด
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ธนไทย จำกัด (มหาชน)
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ตะวันออกฟายแนนซ์ (1991) จำกัด (มหาชน)
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอกสิน จำกัด (มหาชน)
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ศรีมิตร จำกัด (มหาชน)
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ไอ ที เอฟ จำกัด (มหาชน)
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ จี เอฟ จำกัด (มหาชน)
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์คันทรี จำกัด
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ซี แอล สหวิริยา จำกัด
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ศรีนคร จำกัด
รายชื่อสถาบันการเงินที่ทางการสั่งให้ระงับการดำเนินกิจการ
จำนวน 42 บริษัท
เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2540
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เจ้าพระยา จำกัด
- บริษัทเงินทุนศรีธนา จำกัด (มหาชน)
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สหธนกิจไทย จำกัด (มหาชน)
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ธนพล จำกัด (มหาชน)
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ไทยรุ่งเรืองทรัสต์ จำกัด
- บริษัทเงินทุนคาเธ่ย์ทรัสต์ จำกัด
- บริษัทเงินทุนเอเชียธนกิจ จำกัด (มหาชน)
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทย จำกัด (มหาชน)
- บริษัทเงินทุนธนสินธุ์ จำกัด
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์การทุนไทย จำกัด (มหาชน)
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์วอลล์สตรีท จำกัด (มหาชน)
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์นครหลวงเครดิต จำกัด (มหาชน)
- บริษัทเงินทุนพรีเมียร์ จำกัด
- บริษัทเงินทุนบางกอกเงินทุน จำกัด
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอ็ม ซี ซี จำกัด (มหาชน)
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอส ซี เอฟ จำกัด (มหาชน)
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ลีลาธนกิจ จำกัด
- บริษัทเงินทุนชาติไพบูลย์ จำกัด
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สยามซิตี้ ซินดิเคท จำกัด (มหาชน)
- บริษัทเงินทุนนิธิภัทร จำกัด (มหาชน)
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอกพัฒน์ จำกัด (มหาชน)
- บริษัทเงินทุนไทยธนากร จำกัด (มหาชน)
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์พูลพิพัฒน์ จำกัด (มหาชน)
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์แปซิฟิคไฟแนนซ์ จำกัด (มหาชน)
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์พารา จำกัด (มหาชน)
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน)
- บริษัทเงินทุนไทยธำรง จำกัด
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์อินเตอร์เครดิต แอนด์ ทรัสต์ จำกัด
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ซิทก้า จำกัด (มหาชน)
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์มหาธนกิจ จำกัด (มหาชน)
- บริษัทเงินทุนธีรชัยทรัสต์ จำกัด
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ธนทรัพย์ จำกัด (มหาชน)
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เมืองทองทรัสต์ จำกัด
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สยามพาณิชย์ทรัสต์ จำกัด
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์มหานครทรัสต์ จำกัด (มหาชน)
- บริษัทเงินทุนธนมาศ จำกัด
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์บางกอกอินเวสท์เมนท์ จำกัด (มหาชน)
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ธนนคร จำกัด (มหาชน)
- บริษัทเงินทุนยูเนี่ยนไฟแนนซ์ จำกัด (มหาชน)
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ไทยเม็กซ์ จำกัด (มหาชน)
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์คาเธ่ย์ไฟน์แนนซ์ จำกัด (มหาชน)
- บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ไทย-โอเวอร์ซีทรัสต์จำกัด
ผู้ช่วยผู้ว่การ (คุณศิริ การเจริญดี)บันทึกที่ 355/2540
เรื่อง การแทรกแซงตลาดเงินตราต่างประเทศเพื่อรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาท
ตามที่ธนาคารได้มอบหมายให้ฝ่ายการธนาคารติดตามดูแลภาวะตลาดเงินและตลาดเงินตราต่างประเทศ โดยอนุมัติให้ดำเนินการแทรกแซงตลาดทั้งสองได้ ตามความจำเป็นของสถานการณ์ เพื่อรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาทในท้องตลาดให้เคลื่อนไหวอยู่ภายในกรอบของนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนระบบตะกร้าเงิน และดูแลให้ตลาดเงินในประเทศมีสภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม สอดคล้องกับนโยบายการเงินของธนาคาร นั้น
นับตั้งแต่ปลายปี 2539 เป็นต้นมา ปรากฏว่าแรงกดดันต่อค่าเงินบาทเป็นระลอก และได้ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ ทั้งนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากภาวะ เศรษฐกิจและการส่งออกของประเทศที่ชะลอตัวลงอย่างมาก ความซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนปัญหาความมั่นคงของ ระบบสถาบันการเงิน ปัจจัยเหล่านี้ได้บั่นทอนความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติที่มีต่อนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน และเป็นชนวนให้นักเก็งกำไรต่างชาติโจมตี ค่าเงินบาทในตลาดหลายครั้ง เพื่อสร้างแรงกดดันให้ทางการต้องลดค่าเงิน และ/หรือปรับเปลี่ยนนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน ภายใต้ภาวะดังกล่าวธนาคาร จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการแทรกแซงปกป้องค่าเงินบาทในตลาด เพื่อรักษาความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติและเอกชนในประเทศต่อระบบ อัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งธนาคารก็สามารถควบคุมสถานการณ์ให้กลับคืนเป็นปกติได้ทุกครั้ง ทั้งนี้ตามที่ฝ่ายการธนาคารได้รายงานข้อมูลและการทำธุรกรรม พร้อมทั้งได้หารือภาวะตลาดและการดำเนินการมาเป็นระยะๆ
อย่างไรก็ดี เนื่องจากปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นในระบบสถาบันการเงินของประเทศในขณะนี้ยังไม่คลี่คลายเท่าที่ควร ประกอบกับ ฐานะการคลังของรัฐบาลเริ่มมีแนวโน้มว่าจะขาดดุลด้วย ฝ่ายการธนาคารเห็นว่าหากไม่มีการเร่งแก้ไขปัญหาพื้นฐานต่างๆ ดังกล่าวให้เห็นผลอย่างเป็น รูปธรรมแล้ว การฟื้นฟูความเชื่อมั่นของนักลงทุนก็คงเป็นไปได้ยาก แรงกดดันและการโจมตีค่าเงินบาทจากนักเก็งกำไรต่างชาติก็ยังจะมีต่อไปอีกเป็นระลอก และจะรุนแรงยิ่งขึ้น ฝ่ายการธนาคารจึงขอเรียนทบทวนสรุปความเป็นมาของสถานการณ์ วิธีการที่นักเก็งกำไรใช้กดดันค่าเงินบาท วิธีการตอบโต้ของธนาคาร และผลการดำเนินการที่ผ่านมา ตลอดจนแนวนโยบายที่ธนาคารควรพิจารณาดำเนินการต่อไป ดังนี้
1. สถานการณ์ช่วงปลายปี 2539
ปัญหาความอ่อนแอของเศรษฐกิจและระบบสถาบันการเงินของประเทศได้เริ่มส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ ตั้งแต่ครึ่งหลังปี 2539 โดยเฉพาะหลังจาก Moody's ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือหนี้ต่างประเทศระยะสั้นของไทยในวันที่ 3 กันยายน 2539 ทำให้การไหลออกของเงินทุน ต่างประเทศเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และทุนรักษาระดับฯ ต้องขายเงินตราต่างประเทศให้กับธนาคารพาณิชย์ในช่วงเดือนกรกฎาคม - พฤศจิกายน 2539 จำนวนสุทธิ 1.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับครึ่งแรกของปีที่รับซื้อสุทธิ 2.04 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
การไหลออกของเงินทุนต่างประเทศมีความรุนแรงมากในเดือนธันวาคม 2539 เมื่อปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะแนวโน้มการส่งออก และปัญหา ระบบสถาบันการเงินเลวร้ายลงอีก เสริมด้วยข่าวการให้สัมภาษณ์ของนักการเมืองเกี่ยวกับการปรับปรุงระบบอัตราแลกเปลี่ยน ล้วนทำให้นักลงทุนต่างชาติ ขาดความมั่นใจยิ่งขึ้นจึงเร่งถอนเงินลงทุนออกไปในช่วงก่อนปิดบัญชีสิ้นปี ประกอบกับค่าเงินดอลลาร์ สรอ. เทียบกับเงินสกุลสำคัญมีแนวโน้มแข็งขึ้นอย่าง ชัดเจน จึงเป็นแรงกดดันต่อค่าเงินบาทเพิ่มขึ้นอีก อัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์ สรอ./บาทในท้องตลาดจึงมีความผันผวน และอยู่ในระดับสูงกว่าอัตราขาย ของทุนรักษาระดับฯ บ่อยครั้ง ทุนรักษาระดับฯ ต้องขายเงินตราต่างประเทศในเดือนธันวาคมจำนวน 2.91 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ดังนั้น เพื่อลดแรงกดดันและ รักษาค่าเงินบาทในท้องตลาด ไม่ให้เบี่ยงเบนจากระดับที่ควรจะเป็นตามระบบตะกร้าเงินมากจนเกินไป ซึ่งอาจทำให้นักลงทุนตื่นตระหนกและถอนการลงทุน ออกไปมากยิ่งขึ้น ธนาคารจึงจำเป็นต้องเข้าไปขายเงินดอลลาร์ สรอ. ในตลาดโดยตรงเป็นจำนวนรวม 1.97 พันล้านดอลลาร์ สรอ. การแทรกแซงตลาดทันที ดังกล่าวนอกจากจะเป็นผลให้อัตราแลกเปลี่ยนในท้องตลาดมีเสถียรภาพ และเคลื่อนไหวในระดับที่เหมะสมแล้ว ยังเป็นการลดความต้องการซื้อเงินตรา ต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์จากทุนรักษาระดับฯ ลงส่วนหนึ่งด้วย
โดยสรุป แรงกดดันต่ออัตราแลกเปลี่ยนในเดือนธันวาคม 2539 ส่วนใหญ่เป็นผลจากการถอนการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ เสริมด้วยการซื้อเงินตรา ต่างประเทศของบริษัทเอกชนในประเทศส่วนหนึ่งที่เริ่มขาดความเชื่อมั่นในระบบอัตราแลกเปลี่ยน มิได้เกิดจากการโจมตีค่าเงินบาทของนักเก็งกำไร
การขายเงินตราต่างประเทศของทางการเพื่อรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาทโดยผ่านการดำเนินงานของทุนรักษาระดับฯ และการแทรกแซงตลาดของ ธนาคารเป็นจำนวนรวม 4.88 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ในเดือนธันวาคมนั้น ย่อมทำให้สภาพคล่องในระบบการเงินลดลงไปมาก ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ อัตราดอกเบี้ยพุ่งสูงขึ้นจนเกินควรจนอาจทำให้ตลาดการเงินในประเทศปั่นป่วน และซ้ำเติมฐานะของสถาบันการเงินที่อ่อนแออยู่แล้ว ฝ่ายการธนาคารจึงได้ sterilize การขายเงินตราต่างประเทศบางส่วน ด้วยการทำธุรกรรม buy - sell swap ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วมีผลเท่ากับธนาคารขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า โดย ณ สิ้นปี 2539 ธนาคารมียอดขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าทยอยส่งมอบภายในปี 2540 จำนวนทั้งสิ้น 4.75 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในขณะที่ฐานะ เงินสำรองทางการ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2539 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 0.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เป็น 38.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
2. การโจมตีค่าเงินบาทช่วงเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2540
นักลงทุนต่างชาติเริ่มนำเงินกลับเข้ามาลงทุนอีกครั้งหนึ่ง ตามฤดูกาลปกติในช่วงต้นปี ประกอบกับมีข่าวเรื่องการประกาศตัดงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลลง 50 พันล้านบาทในช่วง 3 สัปดาห์แรกของเดือนมกราคมงประเทศไหลเข้ามามาก และทุนรักษาระดับฯ รับซื้อเงินตราต่างประเทศจาก ธพ.เป็นจำนวนทั้งสิ้น 2.43 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จึงมีเงินทุนต่า
อย่างไรก็ดี ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก็เริ่มมีการปล่อยข่าวลือการลดค่าเงินบาทแพร่หลายในตลาด และในวันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม ซึ่งเป็นวันประกาศตัวเลข เศรษฐกิจรายเดือนของธนาคาร นักเก็งกำไรต่างชาติก็เริ่มไล่ซื้อเงินดอลลาร์/ขายเงินบาทตั้งแต่เช้าในลักษณะที่ทำให้ตลาดปั่นป่วน ดังนั้นเพื่อป้องกันมิให้ สถานการณ์ลุกลามจนควรคุมไม่อยู่ และปกป้องไม่ให้ทุนรักษาระดับฯ สูญเสียเงินตราต่างประเทศมากเกินไป ธนาคารจึงได้แทรกแซงขายเงินดอลลาร์ สรอ./ซื้อเงินบาทในตลาดอย่างต่อเนื่องจนถึงเที่ยงวันพร้อมกับการปฏิเสธข่าวลือ ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพ และธนาคารพาณิชย์มาซื้อเงินตรา ต่างประเทศจากทุนรักษาระดับฯ เพียง 20 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่ในช่วงบ่ายเมื่อธนาคารประกาศตัวเลขเศรษฐกิจ ซึ่งแสดงการขาดดุลของรัฐบาลในช่วง 3 เดือนแรกของปีงบประมาณจำนวน 54 พันล้านบาท นักเก็งกำไรต่างชาติก็เริ่มโจมตีค่าเงินบาทอีกระลอกหนึ่ง ฝ่ายการธนาคารจึงต้องเข้าแทรกแซง กดอัตราแลกเปลี่ยนลงเป็นลำดับ จนคืนสู่ระดับปกติเมื่อสิ้นวัน นอกจากนี้ฝ่ายการธนาคารยังได้เฝ้าติดตามการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทจนกระทั่ง ปิดตลาดลอนดอน และต่อเนื่องไปจนถึงเที่ยงวันของตลาดนิวยอร์ก โดยได้เข้าแทรกแซงตามความจำเป็นให้อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ภายในกรอบของนโยบาย ตะกร้าเงินเพื่อเรียกคืนความมั่นใจของนักลงทุน ธนาคารขายเงินดอลลาร์ สรอ./บาทในวันดังกล่าวรวมทั้งสิ้น 1.49 พันล้านดอลลาร์ สรอ. แต่นักเก็งกำไร ยังโจมตีค่าเงินบาทอย่างหนักต่อไปอีก ในวันรุ่งขึ้น (31 มกราคม) ธนาคารจึงต้องแทรกแซงตลาดเพิ่มเติมเป็นจำนวนรวม 2.21 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ถึงกระนั้นก็ยังไม่เพียงพอที่จะป้องกันธนาคารพาณิชย์ไม่ให้เข้ามาซื้อเงินตราต่างประเทศจากทุนรักษาระดับฯ จำนวน 1.11 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ได้ แต่สถานการณ์ก็ได้คลี่คลายลงในช่วงสิ้นวัน
ในช่วง 3 สัปดาห์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ ค่าเงินบาทยังถูกกดดันอย่างต่อเนื่อง เพราะความไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจ ความวิตกเกี่ยวกับความมั่นคงของ สถาบันการเงิน และปัญหาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ทวีความรุนแรงขึ้น ประกอบกับข่าวลือลดค่าเงินบาทมีหนาหูขึ้นอีก นอกจากนี้ค่าดอลลาร์ สรอ. ในต่างประเทศ ยังโน้มแข็งขึ้นมาก จากดอลลาร์ สรอ.ละ 122.15 เยน และ 1.6385 มาร์ก เมื่อสิ้นเดือนมกราคมมาสูงสุดในรอบ 4 ปีที่ 124.82 เยน และ 1.7050 มาร์กใน ช่วงกลางเดือน และเมื่อ Moody's ออกประกาศในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ว่าจะพิจารณาทบทวนอันดับความน่าเชื่อถือหนี้ระยะยาวของไทย นักเก็งกำไรต่างชาติ ก็ได้โหมซื้อเงินดอลลาร์ สรอ./ขายเงินบาทอีกครั้งหนึ่ง ธนาคารได้เข้าแทรกแซงเพื่อระงับความระส่ำระสายด้วยเงินจำนวน 1.07 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
สถานการณ์ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์เริ่มปรับตัวดีขึ้น หลังจากธนาคารออกแถลงการณ์เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างหนักแน่นพร้อมเหตุผล รายละเอียดที่ชัดเจน ว่าจะไม่ใช้วิธีลดค่าเงินบาทเป็นทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจอย่างแน่นอน เนื่องจากจะเกิดผลเสียหายต่อเศรษฐกิจอย่างใหญ่หลวง ประกอบกับมีข่าวดีเกี่ยวกับการรักษาวินัยทางการคลังของรัฐบาล โดยคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ตัดงบประมาณรายจ่ายลงประมาณ 100 พันล้านบาท อีกทั้งมีการประกาศมาตรการใหม่ที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหาหนี้เสียของสถาบันการเงินที่เกิดจากสินเชื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยการจัดตั้ง องค์การของรัฐขึ้นเพื่อซื้อหนี้อสังหาริมทรัพย์ของสถาบันการเงิน โดยใช้เงินที่ระดมจากการออกพันธบัตร zero-coupon ในวงเงินถึง 1 แสนล้านบาท ความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อแนวทางของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสถาบันการเงินดังกล่าว ประกอบกับการที่เงินดอลลาร์ สรอ. เมื่อเทียบกับ เงินสกุลสำคัญก็เริ่มมีแนวโน้มอ่อนลงในช่วงปลายเดือน เป็นผลให้มีเงินทุนต่างประเทศไหลเข้าตลอดสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ ทุนรักษาระดับฯ รับซื้อเงินตราต่างประเทศจากธนาคารพาณิชย์รวม 1.52 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในขณะที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ก็ได้ปรับตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 5.7 ในระหว่างวันที่ 19-26 กุมภาพันธ์
โดยสรุป ทุนรักษาระดับฯ และธนาคารต้องใช้เงินสำรองทางการในการปกป้องค่าเงินบาท จากการโจมตีของนักเก็งกำไรต่างชาติในช่วงปลายเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2540 เป็นจำนวนสุทธิทั้งสิ้น 7.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ฐานะเงินสำรองทางการ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ลดลงเหลือ 38.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในขณะที่ยอดคงค้างสัญญาขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าของธนาคารเพิ่มสูงขึ้นเป็น 12.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
3. สถานการณ์เดือนมีนาคม - เมษายน 2540
ภาวะตลาดเงินตราต่างประเทศในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2540 โดยรวมแล้วค่อนข้างสงบ อัตราแลกเปลี่ยนมีแรงกดดันบ้างเป็นครั้งคราวในช่วงที่มี เหตุการณ์หรือข่าวลบเกิดขึ้น เช่นในวันที่ 3 มีนาคม เมื่อตลาดหลักทรัพย์ประกาศพักการซื้อขายหุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินชั่วคราว เพื่อรอแถลงการณ์ของทางการเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาฐานะของสถาบันการเงิน ข่าวลือในช่วงเช้าวันที่ 6 มีนาคมว่าท่านผู้ว่าการจะลาออก สถาบัน Standard & Poor's ประกาศลดอันดับเครดิตธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ของไทยในวันที่ 18 มีนาคม ข่าวบริษัทเอกโฮลดิ้งผิดนัดชำระหนี้ในวันที่ 19 มีนาคม ตลอดจนการ ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือหนี้เงินตราต่างประเทศระยะยาวของประเทศไทยโดยสถาบัน Moody's ในวันที่ 9 เมษายน ประกอบกับนักลงทุนยังมี ความกังวลเกี่ยวกับฐานะความมั่นคงของสถาบันการเงินและภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่มีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้น และความไม่มั่นใจว่าทางการจะปรับนโยบาย อัตราแลกเปลี่ยนหรือไม่ ปัจจัยลบเหล่านี้ทำให้ไม่มีเงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามา ถึงแม้ว่าจะไม่มีการโจมตีค่าเงินบาทในช่วง 2 เดือนนี้แต่ทุนรักษาระดับฯ ก็ยังต้องขายเงินตราต่างประเทศให้กับธนาคารพาณิชย์เป็นครั้งคราวจำนวนรวมทั้งสิ้น 1.65 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในขณะที่ความจำเป็นที่ธนาคารจะต้อง เข้าไปดูแลเสถียรภาพของตลาดมีไม่มากนัก โดยได้ขายเงินตราต่างประเทศในตลาดเป็นจำนวนสุทธิตลอด 2 เดือนเพียง 0.74 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
ณ สิ้นเดือนเมษายน 2540 ฐานะเงินสำรองทางการจึงลดลงเหลือ 37.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และยอดคงค้างการขายล่วงหน้าสุทธิเงินดอลลาร์ สรอ./บาท ของธนาคารเพิ่มขึ้นเป็น 13.69 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
4. การโจมตีค่าเงินบาทรอบใหม่ 9 พฤษภาคม 2540
ในช่วง 2 วันสุดท้ายของเดือนเมษายน ต่อเนื่องมาถึงวันที่ 8 พฤษภาคม 2540 เริ่มมีแรงซื้อ swap (sell - buy) ในตลาดอย่างเห็นได้ชัด กดดันให้ swap premium ปรับตัวจากระดับประมาณดอลลาร์ สรอ.ละ 34 สตางค์ สำหรับระยะ 6 เดือนและ 69 สตางค์สำหรับระยะ 1 ปี ในวันที่ 28 เมษายน สูงขึ้นมาถึง 40 สตางค์และเกือบ 80 สตางค์ตามลำดับในวันที่ 8 พฤษภาคม ทั้งๆ ที่ธนาคารได้พยายามชะลอการปรับตัวสูงขึ้นของอัตรา premium ด้วยการขาย swap (buy - sell) ในตลาดติดต่อกันทุกวันระหว่างวันที่ 2 -8 พฤษภาคม เป็นจำนวนรวม 3.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. การที่ธนาคารดำเนินการแทรกแซงตลาด swap ในระยะที่ผ่านมาไม่ให้อัตรา premium พุ่งสูงขึ้นจนเกินไปนั้น ก็เพื่อป้องกันมิให้เกิดแรงกดดันต่ออัตราดอกเบี้ยในประเทศ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความมั่นใจ ให้กับนักลงทุนที่มาลงทุนในตลาดเงินบาท เพราะถ้าปล่อยให้อัตรา premium (และอัตราดอกเบี้ย) พุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ ผู้ที่คิดจะนำเงินเข้ามาลงทุนในประเทศ ก็จะรีรอจนถึงจุดที่คิดว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดแล้ว ส่วนผู้ที่ลงทุนในเงินบาทอยู่ก่อนก็จะประสบผลขาดทุน และหากอัตรา premium พุ่งสูงขึ้นรุนแรงก็อาจถึงขั้น ต้องตัดขาดทุน ถอนการลงทุนออกไปด้วยการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ./ขายเงินบาท ซึ่งจะสร้างแรงกดดันต่อค่าเงินบาทอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในทางตรงข้าม หากอัตรา premium และอัตราดอกเบี้ยมีเสถียรภาพ และโน้มลดลงช้าๆ ก็จะเป็นแรงจูงใจให้นักลงทุนต่างชาติเร่งนำเงินเข้ามาลงทุนในตลาดเงิน เป็นผลดีต่อค่าเงินบาท
นอกจากแรงซื้อ swap ในตลาดที่รุนแรงผิดปกติแล้ว ยังมีสัญญาณอื่นที่บ่งชี้ว่านักเก็งกำไรเตรียมโจมตีเงินบาทอีกรอบหนึ่ง ได้แก่ การปล่อยข่าวลือเป็น ระลอกเกี่ยวกับการขยายช่วงห่างระหว่างอัตราซื้อและขายของทุนรักษาระดับฯ การเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีคลังปัจจุบันซึ่งไม่เห็นด้วยกับนโยบายปรับค่าเงินบาท การทำลายความน่าเชื่อถือของทั้งกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย โดยการกระพือข่าวลือว่านายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้ตัดสินใจดำเนินการเกี่ยวกับ นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแต่ผู้เดียวในเร็วๆ นี้ เป็นต้น เมื่อข่าวลือแพร่กระจายไปทั่วตลาดจนนักค้าเงินต่างพากันวิตกกังวลแล้ว นักเก็งกำไรก็เริ่มดำเนินการ โจมตีค่าเงินโดยซื้อเงินดอลลาร์ สรอ./ขายบาทในตลาดทันที พร้อมๆ กับการซื้อ swap (sell - buy) ควบคู่ไปด้วย นักเก็งกำไรจะได้ประโยชน์จากธุรกรรมดังกล่าว หากสามารถผลักดันให้อัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์ สรอ./บาทในตลาดทันทีสูงขึ้น (เงินบาทอ่อนลง) จากระดับปกติ และ/หรือดันให้อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (swap premium/อัตราดอกเบี้ยเงินบาท) สูงขึ้น ทั้งนี้ผู้โจมตีค่าเงินบาทจะได้กำไรมหาศาลหากสามารถบีบบังคับให้ทางการไทยจำต้องลดค่าเงินบาทในที่สุด ในทางตรงกันข้าม หากนักเก็งกำไรไม่สามารถผลักดันอัตราแลกเปลี่ยนทั้งในตลาดทันทีหรือตลาดล่วงหน้าให้สูงขึ้นได้ ก็จะต้องประสบกับผลขาดทุนเพราะ เท่ากับกู้เงินบาทมาถือเงินดอลลาร์ สรอ. ซึ่งผลตอบแทนดอกเบี้ยต่ำกว่าต้นทุนอัตราดอกเบี้ยเงินบาทที่เสียไป ดังนั้นกลยุทธ์ที่ธนาคารใช้ปกป้องค่าเงินบาทก็คือ พยายามต้านทานแรงซื้อเงินดอลลาร์ สรอ./ขายเงินบาทในตลาดทันที ด้วยการขายเงินดอลลาร์ สรอ./ซื้อเงินบาท ในจำนวนที่เพียงพอที่จะไม่ให้อัตราแลกเปลี่ยน พุ่งสูงขึ้น เช่นเดียวกับการดำเนินการในตลาด swap ทั้งนี้เพราะหากปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยนทันทีและอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าพุ่งสูงเกินไปแล้ว ก็ยิ่งจะสร้าง ความตื่นตระหนกให้กับนักลงทุนทั่วไปรวมทั้งธุรกิจเอกชนในประเทศ ถ้าหากบุคคลเหล่านี้สูญเสียความเชื่อมั่นในระบบอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศ ก็จะเข้ามาซื้อเงินดอลลาร์ สรอ./ขายเงินบาทเพื่อจำกัดผลขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนของตน ซึ่งยิ่งสร้างแรงกดดันต่ออัตราแลกเปลี่ยนให้มีมากขึ้นอีก ดังนั้นการแทรกแซงตลาดของธนาคารจึงต้องใช้ความเด็ดขาด ตัดไฟแต่ต้นลม และดำเนินการในจำนวนมาก พอที่จะป้องกันไม่ให้อัตราแลกเปลี่ยนพุ่งสูงขึ้นจากระดับปกติจนทำลายความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั่วไป
ในครั้งนี้นักเก็งกำไรเลือกโจมตีค่าเงินบาทในช่วงหลังตลาดกรุงเทพฯ ปิดแล้วในคืนวันที่ 8 พฤษภาคม โดยเริ่มโหมซื้อเงินดอลลาร์ สรอ./ขายเงินบาท จำนวนมากในตลาดลอนดอน จนทำให้อัตราแลกเปลี่ยนทันทีพุ่งสูงกว่าอัตรากลางของทุนรักษาระดับฯ ประมาณ 10 - 12 สตางค์ และได้ดำเนินการต่อ ในตลาดนิวยอร์กด้วย ซึ่งก็สามารถสร้างความตื่นตระหนกให้กับนักค้าเงินและผู้ลงทุนทั่วไป ความกดดันต่ออัตราแลกเปลี่ยนเริ่มต้นอีกครั้งเมื่อตลาดเอเชีย เปิดในเช้าวันที่ 9 พฤษภาคม โดยเริ่มจากอัตราแลกเปลี่ยนที่สูงกว่าอัตรากลางประมาณ 4 - 5 สตางค์ เมื่อเวลา 7.00 น. กรุงเทพฯ จนขยับสูงขึ้นเป็น 9-10 สตางค์ในอีกครึ่งชั่วโมง ธนาคารจึงได้เข้าแทรกแซงตลาดเงินตราต่างประเทศทั้งในสิงคโปร์และฮ่องกง เพื่อควบคุมสถานการณ์ความระส่ำระสายในตลาด และผลักดันให้อัตราแลกเปลี่ยนทั้งในตลาดทันทีและล่วงหน้ากลับคืนใกล้เคียงระดับปกติ โดยดำเนินการในตลาดเอเชีย ลอนดอน และนิวยอร์ก อย่างไรก็ดีเพื่อเป็นการประหยัดเงินสำรองทางการ การดำเนินการแทรกแซงของธนาคารในตลาดลอนดอนและนิวยอร์กจึงเป็นเพียงเพื่อป้องกันไม่ให้ อัตราแลกเปลี่ยนพุ่งสูงขึ้นจนเกิดความผันผวนรุนแรงเท่านั้น มิได้พยายามกดดันอย่างหนักแน่นให้อัตราแลกเปลี่ยนกลับสู่ระดับที่ถือว่าปกติ ดังนั้น อัตราแลกเปลี่ยเมื่อตลาดนิวยอร์กปิดในวันที่ 9 พฤษภาคม จึงยังสูงกว่าอัตรากลางของทุนรักษาระดับฯ ประมาณ 5 - 6 สตางค์
การโจมตีของนักเก็งกำไรในครั้งนี้รุนแรงมาก ธนาคารต้องใช้เงินสำรองทางการในวันเดียวเพื่อป้องกันค่าเงินบาทในตลาดทันทีเป็นจำนวนถึง 6.08 พันล้าน ดอลลาร์ สรอ. (ส่วนใหญ่ดำเนินการในช่วงก่อนเที่ยงวันเวลากรุงเทพฯ) แต่ก็ทำให้สามารถรักษาเสถียรภาพของตลาดเงินตราต่างประเทศได้ค่อนข้างดี ธพ.เข้ามาซื้อเงินตราต่างประเทศจากทุนรักษาระดับฯ เพียง 105 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในขณะที่อัตรา swap premium และอัตราดอกเบี้ยในประเทศก็มิได้ ปรับตัวสูงขึ้นเท่าใดนัก เนื่องจากการที่ธนาคารเข้าแทรกแซงตลาดล่วงหน้าด้วย โดยขาย swap (buy - sell) วันเดียวเป็นจำนวนทั้งสิ้น 3.94 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ฐานะการซื้อขายเงินตราต่างประเทศของธนาคารทุกหน้าต่างรวมกันตั้งแต่สิ้นเดือนเมษายนจนถึงสิ้นวันที่ 9 พฤษภาคม จึงติดลบเพียง 0.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ทำให้ทุนสำรองทางการมีจำนวน 36.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. แต่เมื่อหักยอดคงค้างสุทธิการขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าของธนาคารซึ่งเพิ่มสูงขึ้นเป็น 18.86 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ทุนสำรองทางการสุทธิจึงเท่ากับ 17.74 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
5. แนวนโยบายในระยะต่อไป
ฝ่ายการธนาคารคาดว่าการโจมตีค่าเงินบาทจากนักเก็งกำไรต่างชาติจะยังคงมีอีกเป็นระลอก ตราบใดที่ :
(1) ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศไม่ดีขึ้น การส่งออกไม่ฟื้นตัวอย่างชัดเจน
(2) ปัญหาความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินไม่ได้คลี่คลายลง
(3) นักลงทุนยังขาดความมั่นใจในนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากมีการออกมาแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้อย่างไม่ลดละ
(4) รัฐบาลไม่สามารถรักษาวินัยทางการคลังสืบเนื่องต่อไปได้
การแทรกแซงตลาดเงินตราต่างประเทศเพื่อรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาทและปกป้องระบบอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศนั้น เป็นการดำเนินการแก้ไข ปัญหาเฉพาะหน้าที่ปลายเหตุเพื่อซื้อเวลาให้ทางการสามารถดำเนินนโยบายและมาตรการที่จำเป็นสำหรับแก้ไขปัญหาพื้นฐานข้างต้น ทั้งนี้ หากมิได้ ดำเนินการแก้ไขปัญหาพื้นฐานอย่างจริงจังและเร่งด่วนแล้ว นักเก็งกำไรต่างชาติก็สามารถฉวยโอกาสจังหวะที่ฐานะเศรษฐกิจและการเงินของประเทศอ่อนแอ ปล่อยข่าวลือทำลายความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั่วไป และโจมตีค่าเงินบาทอีกอย่างเช่นที่ได้ดำเนินการมาเป็นระยะ
สำหรับแนวนโยบายการรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาทในระยะต่อไปนั้น ฝ่ายการธนาคารขอเรียนเสนอว่า ภายใต้นโยบายระบบอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน ในระหว่างที่ปัญหาพื้นฐานต่างกำลังได้รับการดูแลแก้ไขอยู่นั้น ธนาคารยังคงต้องดำเนินการแทรกแซงตลาดเงินตราต่างประเทศต่อไปเพื่อรักษาความมั่นใจ ในระบบอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศเช่นเดียวกับที่ได้ดำเนินการในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี จากที่การโจมตีค่าเงินบาทมีความรุนแรงขึ้น และสถานการณ์ล่าสุด ได้ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อเงินสำรองทางการเพื่อดูแลเสถียรภาพของเค่าเงินบาทในระดับที่เพิ่มสูงขึ้นมาก จนปัจจุบันฐานะทุนสำรองทางการสุทธิได้ลดลง ต่ำกว่าที่จะต้องใช้ในการหนุนหลังธนบัตรออกใช้เล็กน้อยแล้ว จึงมีความจำเป็นที่ธนาคารจะต้องพิจารณาขีดจำกัดในการเข้าแทรกแซงตลาดเพื่อรักษา เสถียภาพค่าเงินบาท ว่าจะมีขอบเขตสูงสุดได้เท่าใดจึงจะถึงจุดที่จะต้องพิจารณาทบทวนความเหมาะสมของนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน ฝ่ายการธนาคารขอเรียนเสนอว่า ก่อนที่ทุนสำรองทางการสุทธิ (ฐานะเงินสำรองทางการหักด้วยยอดการขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า) จะลดลงไป จนเป็นศูนย์ธนาคารควรจะต้องมีการพิจารณาความเหมาะสมของระบบอัตราแลกเปลี่ยนตะกร้าเงิน และทบทวนแนวทางการรักษาเสถียรภาพเงินบาท อย่างจริงจัง พร้อมกับธนาคารควรเร่งดำเนินการหาช่องทางระดมเงินตราต่างประเทศเพื่อใช้ในการรักษาเสถียภาพเงินบาทเพิ่มเติม เช่นการทำ swap กับธนาคารกลางอื่น หรือการกู้เงินจากตลาดโดยตรงด้วย เพื่อเตรียมทรัพยากรการเงินไว้ใช้ในยามฉุกเฉินโดยเฉพาะ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและขอความเห็นชอบในการที่ฝ่ายการธนาคารจะดำเนิน การแทรกแซงตลาดเงินตราต่างประเทศเพื่อรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทต่อไป
[บัณฑิต นิจถาวร]
ผู้อำนวยการฝ่ายการธนาคาร
12 พฤษภาคม 2540
ความเห็นท้ายบันทึกที่ 355/2540 เรื่อง
การแทรกแซงตลาดเงินตราต่างประเทศเพื่อรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาท
ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2540
1. ท่านผู้ว่าการ
เพื่อโปรดทราบสถานการณ์และผลของการแทรกแซงในตลาดเงินตราต่างประเทศของธนาคารและข้อสังเกตของฝ่ายการธนาคารเกี่ยวกับแนวนโยบาย ของการแทรกแซงในระยะต่อไป ผมเห็นว่าธนาคารจะต้องมีการประเมินอย่างจริงจังว่าการใช้แนวนโยบายที่เคยกระทำมา จะมีโอกาสสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงไร ภายใต้เงื่อนไขของสภาพเศรษฐกิจและการเงินในปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อจะลดความสูญเสียที่พึงจะเกิดขึ้นให้เหลือน้อยที่สุด
ศิริ
12/5
2. ท่านรองผู้ว่าการ คุณชัยวัฒน์
เพื่อทราบด้วยเพราะเกี่ยวข้องกับ EEF และขอให้จัดทำบันทึกเสนอท่านรัฐมนตรีในฐานะประธานกรรมการ EEF และในฐานะ รมว. คลัง เพื่อพิจารณาแนวนโยบายที่ควรดำเนินการต่อไป
เริงชัย มะระกานนท์
12/5/40
3. ผู้ช่วยผู้ว่าการ (คุณศิริ) ผ.ฝ.การธนาคาร
ในเรื่องการหาแนวทางดำเนินการที่เหมาะสมสำหรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนในระยะข้างหน้านั้น ขอได้โปรดช่วยกันทบทวนแนวคิดและทางเลือกต่างๆ ที่เคยมีการหารือกันไว้แล้วเป็นระยะๆ และเมื่อมีโอกาสให้ท่านผู้ว่าการได้ตัดสินใจเชิงนโยบายแล้ว จึงค่อยเสนอท่าน รมต. คลังอย่างเป็นทางการ (แต่ทั้งนี้ก็ได้มีการหารือกับท่าน รมต. คลัง เป็นระยะๆ อยู่แล้ว)
ชัยวัฒน์
18/6
4. ผ.อ.ฝ. การธนาคาร
โปรดพิจารณาดำเนินการ
ศิริ
18/6
<<< รายงาน ศปร. ( สารบัญ และ คำนำ ) >>>
<<< รายงาน ศปร. ( สารบัญตารางและภาพ ) >>>
<<< รายงาน ศปร. ( สรุปความเห็น และ บทที่ 1 ) >>>
<<< รายงาน ศปร. ( บทที่ 2 ) >>>
<<< รายงาน ศปร. ( บทที่ 3-4 ) >>>
<<< รายงาน ศปร. ( บทที่ 5-7 ) >>>
<<< รายงาน ศปร. ( ภาคผนวก ) >>>