วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เวลา 00:30 น. ข่าวสดออนไลน์
เปิดผลสอบ "สด.9" อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
หมายเหตุ : พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม ทำหนังสือถึงเลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ชี้แจงผลสอบการบรรจุนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ สมัครเข้ารับราชการที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โดยไม่ชอบด้วยระเบียบและกฎหมาย
เป็นบุคคลที่ไม่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ของกองทัพบกโดยไม่ผ่านการตรวจเลือก และไม่มีหลักฐานทางทหาร
กรณี การบรรจุนายอภิสิทธิ์เข้ารับราชการเป็นข้าราชการทหาร เป็นการปฏิบัติตามพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ.2521 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
ซึ่งผู้สมัครจะต้องมีคุณสมบัติตามที่ระเบียบกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการบรรจุ การโอน และการบรรจุกลับเข้ารับราชการ พ.ศ.2529 กำหนด
ในกรณีที่ผู้สมัครเข้ารับราชการเป็นชาย ระเบียบกระทรวงกลาโหมกำหนดให้ต้องมีใบสำคัญทางทหารด้วย เช่น ทะเบียนกองประจำการ (สด.3), ใบสำคัญ (แบบ สด.9) หนังสือสำคัญ (แบบ สด.8) ใบรับรองผลการตรวจเลือกทหารกองเกิน เข้ารับราชการทหารกองประจำการ พ.ศ. ....(แบบ สด.43) หรือใบสำคัญ/หนังสือสำคัญอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องประกอบกันแล้วแต่กรณี
ซึ่งส่วนราชการต้นสังกัดที่ขอบรรจุได้ตรวจสอบความถูกต้องขั้นต้น และเห็นว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของพ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2497 แล้ว รมว.กลาโหมผู้มีอำนาจในการบรรจุย่อมสามารถออกคำสั่งให้บรรจุบุคคลเข้ารับ ราชการได้ตามที่ส่วนราชการต้นสังกัดรายงานขอบรรจุ
กรณีของนาย อภิสิทธิ์ซึ่งขณะนั้น (7 ส.ค.2530) กระทรวงกลาโหมเชื่อว่าการขอบรรจุนายอภิสิทธิ์เข้ารับราชการเป็นข้าราชการทหารนั้น ส่วนราชการที่ขอบรรจุได้ตรวจสอบความถูกต้องตามระเบียบของกระทรวงกลาโหมแล้ว รมว.กลาโหมจึงออกคำสั่งบรรจุและแต่งตั้ง
แต่ปรากฏว่าภายหลังมีผู้ร้องเรียนการบรรจุไม่ถูกต้อง เนื่องจากใช้หลักฐานเอกสารที่ไม่ถูกต้อง
ทั้งนี้ กองทัพบกโดยเจ้ากรมจเรทหารบกได้สอบสวนข้อเท็จจริงตามอนุมัติ ผบ.ทบ. ท้ายหนังสือกรมการกำลังสำรองทหารบก ลับที่ กห 0426/654 ลงวันที่ 8 มี.ค.2542 รายงานผลการสอบสวนถึง ผบ.ทบ. เมื่อวันที่ 19 พ.ค.2542 ตามหนังสือกรมจเรทหารบกที่ กห 0423/277 ลงวันที่ 19 พ.ค.2542
โดยเสนอให้ลงทัณฑ์ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยวินัยทหาร พ.ศ.2476 ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำผิดไปเรียบร้อยแล้ว
ในครั้งนี้ได้ตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า
1.1 ขั้นตอนการบรรจุมีหลักฐานใบสำคัญทางทหาร คือ หนังสือรับรองการผ่อนผันไม่เรียกเข้ากองประจำการในยามปกติ ตามหนังสือแผนกสัสดีกรุงเทพมหานคร ที่ กห 0481.62/5053 ลงวันที่ 31 ก.ค.2530
ซึ่งเป็นหลักฐานที่ขัดต่อพ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2497 เนื่องจากเป็นการรับรองว่า "นายอภิสิทธิ์ได้รับการผ่อนผันตามมาตรา 29(3) และเข้าบัญชีทหารกองเกินเมื่อวันที่ 1 ม.ค.2525 ได้รับการผ่อนผันไม่เรียกเข้ากองประจำการในยามปกติ"
ซึ่งตามความ จริง นายอภิสิทธิ์จะต้องไม่ได้รับการผ่อนผัน เนื่องจากไม่ได้เป็นผู้กำลังศึกษาหรือมีสิทธิขอผ่อนผันตามพ.ร.บ.รับราชการ ทหาร พ.ศ.2497 มาตรา 29(3)
ทั้งยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน จึงไม่มีรายชื่ออยู่ในระบบบุคคลในราชการทหาร ทำให้ไม่ต้องขอหรือไม่สามารถขอรับการผ่อนผันในการเข้ารับราชการทหารได้
หรือ หากได้ขอรับการผ่อนผันกรณียังศึกษาอยู่ต่างประเทศโดยมีหนังสือรับรองจากสถาน ศึกษาต่างประเทศและสถานเอกอัครราชทูต จะต้องได้รับการผ่อนผันตามมาตรา 27(2) เป็นแบบ สด.41
อีกทั้งยังมีหลักฐานต้นขั้วแบบ สด.9 และเอกสารแบบ สด.1 ฉบับจริง ยืนยันว่านายอภิสิทธิ์เข้าบัญชีทหารกองเกิน เมื่อวันที่ 4 ก.ค.2529
แต่ ใบสำคัญ (แบบ สด.9) แทนฉบับที่ชำรุดสูญหาย ลงวันที่ 8 เม.ย.2531 ยังกำหนดข้อความผิดจากการเข้าบัญชีทหารกองเกิน เมื่อวันที่ 4 ก.ค.2529
เป็นเข้าบัญชีทหารกองเกิน เมื่อวันที่ 8 เม.ย.2531 ซึ่งขัดแย้งกับข้อมูลฉบับเดิมที่ตรวจสอบพบเพิ่มเติม
ดังนั้น ใบสำคัญ (แบบ สด.9) แทนฉบับที่ชำรุดสูญหายลงวันที่ 8 เม.ย.2531 จึงไม่อาจใช้เป็นหลักฐานใบสำคัญทางทหารที่ถูกต้องได้
1.2 ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนทหารกองประจำการ เพื่อให้ได้มาซึ่งทะเบียนกองประจำการ (สด.3) หลังจากนายอภิสิทธิ์ได้รับการแต่งตั้งยศแล้ว เมื่อวันที่ 2 มิ.ย.2531 ได้นำใบสำคัญ (แบบ สด.9) แทนฉบับที่ชำรุดสูญหายลงวันที่ 8 เม.ย.2531 ไปขึ้นทะเบียนทหารกองประจำการ
หากนำใบสำคัญ (แบบ สด.9) ฉบับลงวันที่ 4 ก.ค.2529 เป็นหลักฐานในการขึ้นทะเบียนทหารกองประจำการจะสามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นบุคคล ที่ไม่เข้ารับการตรวจเลือก (ไม่ผ่านการเกณฑ์ทหาร) ในวันที่ 7 เม.ย.2530
จึงทำให้การขึ้นทะเบียนทหารกองประจำการ (สด.3) โดยใช้เอกสารใบสำคัญ (แบบ สด.9) แทนฉบับที่ชำรุดสูญหายไม่ถูกต้องไปด้วย
2.รมว.กลาโหมได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าวแล้วตาม คำสั่งกระทรวงกลาโหม (เฉพาะ) ที่ 281/55 ลงวันที่ 25 มิ.ย.2555 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง
และคำสั่งกระทรวงกลาโหม (เฉพาะ) ที่ 295/55 ลงวันที่ 2 ก.ค.2555 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง (เพิ่มเติม)
โดยกรม เสมียนตรามีหนังสือสอบถามโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ขอให้ตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการผ่อนผันหรือได้รับการยกเว้นการเรียก เข้ารับราชการทหารกองประจำการของนายอภิสิทธิ์มีอยู่จริงหรือถูกต้องประการใด
ซึ่งโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าส่งเอกสารสำคัญพร้อมกับรับรองสำเนาถูกต้อง คือ ใบสมัคร สัญญาค้ำประกัน สำเนาทะเบียนบ้านของผู้สมัครและบิดามารดา สำเนาแสดงผลการเรียน พร้อมคำแปล และผลการตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคล (รปภ.1) แต่ไม่พบเอกสารหลักฐานใบสำคัญทางทหารฉบับจริง
ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบแล้ว ไม่พบข้อสังเกตเพิ่มเติมจากที่ตรวจพบก่อนหน้าโดยจเรทหารบก
ในการปฏิบัติเมื่อส่วนราชการต้นสังกัดที่ขอบรรจุได้ตรวจสอบความถูกต้องชั้นต้น และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของพ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2497 รมว.กลาโหมผู้มีอำนาจในการบรรจุย่อมสามารถออกคำสั่งให้บรรจุบุคคลเข้ารับ ราชการได้ตามที่ส่วนราชการต้นสังกัดรายงานขอบรรจุ
สำหรับการตรวจสอบเอกสารที่ถูกต้องสำหรับการผ่อนผัน หรือได้รับการยกเว้นการเรียกเข้ารับราชการทหารกองประจำการของนายอภิสิทธิ์ คงมีรายละเอียดเช่นเดียวกับข้อ 1.1 และ 1.2
ซึ่งพบว่าเอกสารใบสำคัญ (แบบ สด.9) แทนฉบับที่ชำรุดสูญหาย ลงวันที่ 8 เม.ย.2531 หนังสือแผนกสัสดีกรุงเทพมหานคร ที่ กห 0481.62/5053 ลงวันที่ 31 ก.ค.2530 และทะเบียนกองประจำการ (สด.3)
มีสาระสำคัญไม่ถูกต้องกับความเป็นจริง และไม่อาจใช้เป็นหลักฐานเอกสารการรับราชการทหารได้ และยังปรากฏหลักฐานแบบ สด.16 ปี 2536 ระบุว่า นายอภิสิทธิ์ไม่เข้ารับการตรวจเลือกŽ
และหลักฐานแบบ สด.27 ปี 2530 ระบุว่า "นายอภิสิทธิ์เข้าบัญชีทหารกองเกินเมื่อวันที่ 4 ก.ค.2529" ซึ่งเป็นเอกสารยืนยันความไม่ถูกต้องของเอกสารตามข้อ 1.1 และ 1.2 ดังกล่าวข้างต้นด้วย
3.หากกระบวนการบรรจุคำสั่งบรรจุ หรือคำสั่งแต่งตั้ง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับกระทรวงกลาโหมที่เกี่ยวข้อง กระทรวงกลาโหมสามารถยกเลิก เพิกถอนคำสั่งบรรจุหรือคำสั่งแต่งตั้งได้โดยอำนาจของรมว.กลาโหม
โดยกระทรวงกลาโหมจะต้องพิจารณามูลเหตุ และแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อดำเนินการตามกระบวนการตามระเบียบของทางราชการต่อไป
สำหรับการเรียกเงินเดือนและสิทธิประโยชน์อื่นๆ คืน ถ้าจำเป็นหรือมีเหตุอันควรจะพิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ
สำหรับการดำเนินการตามข้อ 1 และข้อ 2 กระทรวงกลาโหมสั่งการให้กรมพระธรรมนูญรวบรวมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง หารือกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในประเด็นการแสดงข้อมูลเท็จในการบรรจุ เข้ารับราชการของนายอภิสิทธิ์จะดำเนินการต่อไปอย่างไร
หากจะต้องเพิกถอนคำสั่งจะกระทำได้หรือไม่ และสิทธิประโยชน์ที่ได้รับไประหว่างรับราชการจะสามารถเรียกคืนได้หรือไม่ประการใด
รวมทั้งพิจารณาดำเนินคดีกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการปลอมเอกสารและนำเอกสารไปใช้หรืออ้างเอกสารดังกล่าว
------------
ลำดับเหตุการณ์การบรรจุนายอภิสิทธิ์เข้ารับราชการโรงเรียน จปร.
* 4 ก.ค.29 ร.อ.รณรงค์ ศรีพลกรัง สัสดีเขตลาดกระบัง รักษาราชการแทนสัสดีเขตพระโขนง ขึ้นบัญชีทหารกองเกินนายอภิสิทธิ์ตามแบบ สด.1 มีข้อมูลสอดคล้องกับต้นขั้วใบสำคัญ (แบบ สด.9) ที่ 5352 ลง 4 ก.ค.29 (ต้นขั้ว สด.9)
* 19 มี.ค.30 โรงเรียน จปร. มีหนังสือที่ กห 0461/762 ลง 19 มี.ค.30 เรียน ผบ.ทบ. ขออนุมัติบรรจุนายอภิสิทธิ์ สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ เข้ารับราชการในตำแหน่ง รรก.อจ.ส่วนการศึกษา รร.จปร. (อัตรา พ.ต.)
* 31 มี.ค.30 สบ.ทบ.มีหนังสือถึง โรงเรียน จปร. ขอหลักฐานการบรรจุและส่งเอกสารหลักฐานทางทหารเพิ่มเติม
* 7 เม.ย.30 มีการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ากองประจำการในพื้นที่เขตพระโขนง แต่นายอภิสิทธิ์ไม่ได้เข้ารับการตรวจเลือก (สด.16 และสด.43 เป็นบุคคลขาดการตรวจเลือก)
* 9 เม.ย.30 นายอภิสิทธิ์เขียนใบสมัครที่โรงเรียน จปร. ในใบสมัครระบุว่าเกิดเมื่อ 3 ส.ค.07 อายุ 23 ปี
* 31 ก.ค.30 มีสำเนาหนังสือรับรอง ที่ กห 0481.62/5053 ลง 31 ก.ค.30 ออกโดย พ.ต.ไพโรจน์ แก้ววงศ์ ผช.สด.กรุงเทพมหานคร ว่า นายอภิสิทธิ์เข้าบัญชีทหารกองเกินเมื่อ 1 ม.ค.25 ได้รับการผ่อนผัน ไม่เรียกเข้ากองประจำการในยามปกติ ตามมาตรา 29(3) แห่งพ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2497Ž ซึ่งผิดจากความเป็นจริง ข้อกฎหมาย และขั้นตอนการได้มาของ สด.41 (ผู้ผ่อนผันเข้ารับการคัดเลือกเป็นทหารที่ศึกษา ณ ต่างประเทศ) โดยเริ่มจาก
1.ผู้ขอรับการผ่อนผันลงทะเบียนทหารกองเกินได้รับแบบ สด.9 และหมายเรียกแบบ สด.35
2.ร้อง ขอผ่อนผันผ่านสถานทูต ณ สถานศึกษา แนบเอกสารรับรองการศึกษาจากสถานศึกษาพร้อมคำแปล จากนั้นสถานทูตจะมีหนังสือถึงที่ว่าการอำเภอภูมิลำเนาทหาร
3.ผู้ขอ ผ่อนผันเขียนคำร้อง ณ ที่ว่าการอำเภอภูมิลำเนาทหาร ขอผ่อนผันเพื่อไปศึกษา ณ ต่างประเทศ นายอำเภอจะสอบปากคำและบันทึกความเห็นตามแบบ ปค.14 แล้วรายงานขอผ่อนผันเพื่อไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภูมิลำเนาทหาร
4.สด.จังหวัดภูมิลำเนาทหารนำเรียน ผู้ว่าฯ อนุมัติและลงชื่อในหนังสือผ่อนผันการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารที่ศึกษา ณ ต่างประเทศ ตามแบบ สด.41 (ผ่อนผันตามมาตรา 27(2) แต่สำหรับผู้ขอผ่อนผันเข้ารับราชการทหารที่ศึกษาในประเทศจะใช้มาตรา 29(3) สถานศึกษาจะแจ้งรายชื่อผู้ขอผ่อนผันและผู้อนุมัติผ่อนผันจะแจ้งเป็นหนังสือ ให้หัวหน้าสถานศึกษาได้รับทราบเท่านั้น)
* 4 ส.ค.30 บก.ทท.เสนอตามรายงานของ ทบ. ขออนุมัติบรรจุนายอภิสิทธิ์ อายุ 23 ปี คุณวุฒิ Bacherlor of Arts (Philosophy, Politics, and Economics) แห่ง University of Oxford ประเทศอังกฤษ
* 7 ส.ค.30 กห.มีคำสั่ง กห ที่ 720/30 ลง 7 ส.ค.30 เรื่องบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ โดยบรรจุนายอภิสิทธิ์เป็นข้าราชการกลาโหมพลเรือนชั้นสัญญาบัตรในตำแหน่ง รรก.อจ.ส่วนการศึกษา รร.จปร. (อัตรา พ.ต.) ใบสำคัญทางทหารใช้หนังสือรับรองผ่อนผันไม่เรียกเข้ากองประจำการในยามปกติตาม มาตรา 29(3) ที่ออกให้โดยไม่ถูกต้องตามแบบ สด.41 (หนังสือรับรองที่ กห 0481.62/5053 ลง 31 ก.ค.30)
* 8 เม.ย.31 สด.เขตพระโขนงออกใบสำคัญ (แบบสด.9) แทนฉบับที่ชำรุดสูญหายที่ 1178 ลง 8 เม.ย.31 มีข้อสังเกตในใบแทนตามต้นขั้ว จะต้องลงบันทึกตามต้นขั้วแบบ สด.9 ฉบับเดิม แต่กรณีนี้ลงวันที่การเข้าบัญชีทหารกองเกินเมื่อ 8 เม.ย.31 (เป็นวันเดียวกันกับวันออกใบแทนฯ) และไม่มีการออกเอกสาร แบบ สด.1 หรือลงบันทึกในแบบ สด.27 แต่สำหรับบุคคลอื่นในหลักฐานเล่มเดียวกันจะบันทึกวันเข้าบัญชีทหารกองเกิน เป็นวันเดียวกับต้นขั้วเดิมของแต่ละบุคคล ซึ่งจะตรงกับแบบ สด.1 และแบบ สด.27 ของบุคคลนั้นๆ
* 26 เม.ย.31 กห.มีคำสั่ง กห ที่ 339/31 ลง 26 เม.ย.31 เรื่องแต่งตั้งข้าราชการกลาโหมพลเรือนเป็นนายทหารสัญญาบัตร โดยแต่งตั้งนายอภิสิทธิ์เป็นว่าที่ร้อยตรี ตั้งแต่ 26 เม.ย.31 หลังจากฝึกหลักสูตรอบรมนายทหารสัญญาบัตร สำเร็จเมื่อ 25 เม.ย.31
* 2 มิ.ย.31 โรงเรียน จปร. นำตัวนายอภิสิทธิ์ไปขึ้นทะเบียนกองประจำการที่สัสดีจังหวัดนครนายก ใช้ใบสำคัญแบบ สด.9 แทนฉบับที่ชำรุดสูญหาย โดยระบุว่าเข้าบัญชีทหารกองเกิน เมื่อ 8 เม.ย.31 ซึ่งผิดจากข้อเท็จจริงที่ลงทะเบียนทหารกองเกินเมื่อ 4 ก.ค.29 (ตามแบบ สด.9, แบบ สด.1 และแบบ สด.27 ฉบับจริง ซึ่งยังคงเก็บรักษาไว้ ณ ส่วนราชการที่รับผิดชอบ)
* 12 เม.ย.32 กห.มีคำสั่ง กห ที่ 270/32 ลง 12 เม.ย.32 เรื่อง ให้นายทหารออกจากประจำการ โดยให้ ร.ต.อภิสิทธิ์ออกจากประจำการตามที่ขอลา เป็นนายทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัด สังกัด บก.จทบ.ก.ท. ตั้งแต่ 2 เม.ย.32
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNME1qYzVPREU0Tnc9PQ==§ionid=
------------------------------------------------
วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555
"อดีตสัสดี" แฉ "สด.9 มาร์ค" ลายเซ็นปลอม!!
กระหึ่มโลกโซเชี่ยลเมื่อมีคลิปชิ้นหนึ่ง มีภาพผู้ให้สัมภาษณ์อ้างตนว่าชื่อ "ทองคำ เดชเร" ยศนายทหารระดับพันโท อดีตสัสดีชลบุรี ได้ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีชื่อตนอยู่บนใบ สด.9 ของอดีตนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
บุคคลในคลิปซึ่งอ้างตนว่าชื่อ "ทองคำ เดชเร" ได้ดูสำเนาเอกสาร สด.9 แล้วได้ยืนยันว่า ลายเซ็นบนเอกสารดังกล่าวนั้น "ไม่ใช่ของตน"
ชื่อของ "ทองคำ เดชเร" เมื่อสืบค้นย้อนหลังทราบว่า ตรงกับชื่อของนายทหารยศ "พ.ต.ทองคำ เดชเร" สัสดีพระโขนง ซึ่งมีชื่ออยู่ในรายงานการสอบสวนของกองทัพบกว่าเป็นผู้กระทำผิดอาญา ในข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ตรวจสอบเอกสารของนายอภิสิทธิ์ให้ชัดเจน ดังรายละเอียดดังนี้
"....3.2 หน่วย สัสดีเขตพระโขนง เป็นหน่วยที่รับผิดชอบการลงบัญชีทหารกองเกินและการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้า กองประจำการตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2487 และคำสั่ง ทบ.ที่ 1173/2528 ลง 25 ธ.ค. 2528 โดยมี พ.ต.ทองคำ เดชเร เป็นสัสดีเขตพระโขนงในปี 2530 ภายหลังที่นายอภิสิทธิ์เป็นคนขาดการตรวจเลือกตั้งแต่ 7 เม.ย. 2530 ซึ่งในขั้นตอนการตรวจสอบก่อนออกใบแทนใบสำคัญ (สด.9) ให้ พ.ต.ทองคำต้องตรวจพบว่านายอภิสิทธิ์ เป็นคนขาดการตรวจเลือกและต้องสั่งตัวดำเนินคดีตามความผิด แต่ พ.ต.ทองคำ ไม่ส่งตัวนายอภิสิทธิ์ดำเนินคดี แสดงให้เห็นว่า พ.ต.ทองคำละเว้นการปฏิบัติหน้าที่มีมูลความผิดทางอาญา
3.3 บุคคลที่บกพร่องต่อหน้าที่ในการดำเนินการบรรจุนายอภิสิทธิ์ เข้ารับราชการในครั้งนี้บางนายได้เกษียณอายุราชการ, บางนายรับราชการนอกสังกัด ทบ. และบางนายเป็นนายทหารชั้นนายพลซึ่งไม่สามารถรับทัณฑ์ทางวินัยได้
คงมีบุคคลที่จะต้องได้รับทัณฑ์เพียงผู้เดียวคือ พ.อ.หญิง สายไสว มาสมบูรณ์ ประจำ กพ.ทบ.ขณะปฏิบัติหน้าที่ หน.แผนก กจก.กพ.ทบ.
4.ข้อเสนอ เห็นควรดำเนินการกับบุคคลที่เกี่ยวข้องดังนี้
4.1 ลงทัณฑ์ทางวินัยต่อ พ.อ.หญิง สายไสว มาสมบูรณ์ ประจำ กพ.ทบ.
4.2 ดำเนินคดีอาญาต่อ พ.ต.ทองคำ เดชเร"
หมายเหตุ: ภาพสำเนาคำให้การของ 3 นายทหาร แก่คณะกรรมการสอบสวนกองทัพบก เมื่อวันที่ 25-26 กรกฏาคม 2555 ด้านล่างนี้
บุคคลในคลิปซึ่งอ้างตนว่าชื่อ "ทองคำ เดชเร" ได้ดูสำเนาเอกสาร สด.9 แล้วได้ยืนยันว่า ลายเซ็นบนเอกสารดังกล่าวนั้น "ไม่ใช่ของตน"
ชื่อของ "ทองคำ เดชเร" เมื่อสืบค้นย้อนหลังทราบว่า ตรงกับชื่อของนายทหารยศ "พ.ต.ทองคำ เดชเร" สัสดีพระโขนง ซึ่งมีชื่ออยู่ในรายงานการสอบสวนของกองทัพบกว่าเป็นผู้กระทำผิดอาญา ในข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ตรวจสอบเอกสารของนายอภิสิทธิ์ให้ชัดเจน ดังรายละเอียดดังนี้
"....3.2 หน่วย สัสดีเขตพระโขนง เป็นหน่วยที่รับผิดชอบการลงบัญชีทหารกองเกินและการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้า กองประจำการตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2487 และคำสั่ง ทบ.ที่ 1173/2528 ลง 25 ธ.ค. 2528 โดยมี พ.ต.ทองคำ เดชเร เป็นสัสดีเขตพระโขนงในปี 2530 ภายหลังที่นายอภิสิทธิ์เป็นคนขาดการตรวจเลือกตั้งแต่ 7 เม.ย. 2530 ซึ่งในขั้นตอนการตรวจสอบก่อนออกใบแทนใบสำคัญ (สด.9) ให้ พ.ต.ทองคำต้องตรวจพบว่านายอภิสิทธิ์ เป็นคนขาดการตรวจเลือกและต้องสั่งตัวดำเนินคดีตามความผิด แต่ พ.ต.ทองคำ ไม่ส่งตัวนายอภิสิทธิ์ดำเนินคดี แสดงให้เห็นว่า พ.ต.ทองคำละเว้นการปฏิบัติหน้าที่มีมูลความผิดทางอาญา
3.3 บุคคลที่บกพร่องต่อหน้าที่ในการดำเนินการบรรจุนายอภิสิทธิ์ เข้ารับราชการในครั้งนี้บางนายได้เกษียณอายุราชการ, บางนายรับราชการนอกสังกัด ทบ. และบางนายเป็นนายทหารชั้นนายพลซึ่งไม่สามารถรับทัณฑ์ทางวินัยได้
คงมีบุคคลที่จะต้องได้รับทัณฑ์เพียงผู้เดียวคือ พ.อ.หญิง สายไสว มาสมบูรณ์ ประจำ กพ.ทบ.ขณะปฏิบัติหน้าที่ หน.แผนก กจก.กพ.ทบ.
4.ข้อเสนอ เห็นควรดำเนินการกับบุคคลที่เกี่ยวข้องดังนี้
4.1 ลงทัณฑ์ทางวินัยต่อ พ.อ.หญิง สายไสว มาสมบูรณ์ ประจำ กพ.ทบ.
4.2 ดำเนินคดีอาญาต่อ พ.ต.ทองคำ เดชเร"
หมายเหตุ: ภาพสำเนาคำให้การของ 3 นายทหาร แก่คณะกรรมการสอบสวนกองทัพบก เมื่อวันที่ 25-26 กรกฏาคม 2555 ด้านล่างนี้
คำให้การ พ.อ.ไพโรจน์ แก้ววงศ์ หน้า 1 |
คำให้การ พ.อ.ไพโรจน์ แก้ววงศ์ หน้า 2 |
คำให้การ พ.อ.ไพโรจน์ แก้ววงศ์ หน้า 3 |
คำให้การ พ.อ.สมศักดิ์ จั่นมณี หน้า 1 |
คำให้การ พ.อ.สมศักดิ์ จั่นมณี หน้า 2 |
คำให้การ พ.อ.สมศักดิ์ จั่นมณี หน้า 3 |
คำให้การ พ.อ.สมศักดิ์ จั่นมณี หน้า 4 |
คำให้การ พ.ท.ทองคำ เดชเร หน้า 1 |
คำให้การ พ.ท.ทองคำ เดชเร หน้า 2 |
คำให้การ พ.ท.ทองคำ เดชเร หน้า 3 |
http://www.go6tv.com/2012/08/9.html
------------------------------------------------
เรื่องที่อภิสิทธิ์ไปสมัครเป็นอาจารย์ทหาร
ซิกแซกจนได้เป็นแม้เอกสารไม่ครบ
แล้วจบลงที่คนช่วยให้เป็นโดนลงโทษ
แล้วคนที่ได้เป็นจะทำถูกต้องได้ยังไง
ชายไทยทุกคน
จะไปสมัครงานที่ไหนเอกชนหรือรัฐบาล
ก็ต้องมีเอกสารผ่านการเกณฑ์ทหาร
หรือผ่อนผันการเกณฑ์ทหารมาแล้วทั้งนั้น
แต่กรณีนายอภิสทธิ์คงอภิสิทธิ์สมชื่อ
ถึงสามารถไปเป็นข้าราชการทหารก่อน
แล้วค่อยเอาหลักฐานการเป็นนายทหาร
มาแก้เรื่องเอกสารการผ่อนผันการเกณฑ์ทหารไม่มี
ผมเชื่อว่าไม่มีใครทำได้นอกจากอภิสิทธิ์
แม้แต่ไปเป็นภารโรงเขายังต้องดูหลักฐาน
ว่าผ่านการเกณฑ์ทหารแล้วหรือยัง
หรือได้รับการผ่อนผันแล้วหรือยีง
ไม่ยังงั้นยังเป็นไม่ได้เพราะเขาไม่รับสมัคร
คิดดูนี่เล่นไปเป็นอาจารย์สอนทหาร
หน่วยงานที่บังคับชาวบ้านเรื่องการเกณฑ์ทหารด้วยซ้ำ
แถมมีคดีที่คนปลอมวุฒิการศึกษาระดับประถมหรือมัธยม
แล้วไปสมัครจนเรียนจบปริญญาตรี
ปรากฏว่ามีการตรวจพบ
เขายึดปริญญาตรีคืน
เพราะถือว่าหลักฐานตั้งแต่ต้นไม่ถูกต้อง
ผมมีตัวอย่างงานที่ใช้วุฒิการศึกษา ม.3 ด้านล่าง
ที่เพศชายยังต้องผ่านการตรวจเลือกทหารกองประจำการ
และหมดข้อผูกพันตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 แล้ว
แล้วอภิสิทธิ์ไปเป็นอาจารย์
จะบอกว่าเจ้าหน้าที่ผิดที่รับไปโดยที่หลักฐานไม่ครบ
แต่เจ้าตัวก็รู้ว่าหลักฐานไม่ครบไปสมัครซิกแซกช่วยกันได้เป็น
แบบนี้เขาเรียกว่าอะไร
ลองนึกๆ ดูก็ได้ว่าเรียกว่าอะไรแบบนี้
โกงได้ไหม ฉ้อฉลได้รึเปล่า หรือว่าสมคบคิดกับเจ้าหน้าที่กระทำผิด
หรือเรียกว่าอะไรคิดว่าเจ้าหน้าที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับทหารด้วย
เขาไม่รู้เลยรึไงว่าถ้าคุณสมบัติไม่ครบก็หมดสิทธิ์สมัครแล้ว
เขารู้อยู่เต็มอกแล้วเขายอมซิกแซกช่วย
โดยไม่มีคนไปจ่ายเงินให้เขาหรือไปให้สัญญาอะไรกะเขา
เขาจะแกล้งทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ปล่อยให้ผ่านไปได้หรือ
ลองใช้สามัญสำนึกความเป็นคนธรรมดานี่แหละ
ไม่ต้องสวมบทพระเอกนางเอกที่ไหนคิดดูก็จะรู้เอง
---------------------------------------------
กรมสรรพาวุธทหารเรือ รับพนักงานราชการ 19 อัตรา (3 - 11 พฤศจิกายน 2551)
กรม สรรพาวุธทหารเรือ มีความประสงค์ จะรับสมัครบุคคลพลเรือน เพื่อเลือกสรร เป็นพนักงานราชการ จำนวน 19 อัตรา ระยะเวลาการจ้างปีงบประมาณ 2552 เป็นต้นไป
โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ตำแหน่งที่รับสมัคร
1.1 กลุ่มงานบริการ จำนวน 1 อัตรา
- สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่า มัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความรู้ความสามารถ เหมาะสมในการปฏิบัติงานในหน้าที่
1.1.1 พนักงานบริการ รพ.สพ. ทร. จำนวน 1 อัตรา
- ปฏิบัติงานเกี่ยวกับดูแลรักษา ทำความสะอาดบริเวณอาคาร สถานที่ พัสดุ อุปกรณ์ และทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับราชการ ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวกับราชการ หรือตามที่ผู้บังคับ
บัญชามอบหมาย
...
...
...
2.1 คุณสมบัติทั่วไป
2.1.1 เป็นเพศชายหรือหญิง มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 35 ปี บริบูรณ์ (นับถึงวันสมัคร)
2.1.2 เพศชายต้องผ่านการตรวจเลือกทหารกองประจำการ และหมดข้อผูกพันตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 แล้ว
...
...
www.navy.mi.th/ordn
---------------------------------------------
จดหมายเปิดผนึกถึงพรรคประชาธิปัตย์
20 มิ.ย.2550เรื่อง ถามหาความชอบธรรมของผู้ที่จะเป็นหัวหน้ารัฐบาลจากหัวหน้าพรรคประชา ธิปัตย์
เรียน นายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิ ปัตย์
ด้วยปรากฏหลักฐานเป็นที่แน่ชัดว่า นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในปัจจุบัน ได้ เคยปรากฏพฤติการณ์หลีกเลี่ยงขัดขืน ไม่ไปแสดงตนเพื่อเข้ารับการตรวจเลือก ทหารกองเกินเข้ากองประจำการ ตามที่แผนกสัสดี เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร กำหนด เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2530 การกระทำและ พฤติการณ์ของนายอภิสิทธิ์ในครั้งนั้นได้ปรากฏหลักฐานทางราชการที่เป็นบันทึกข้อ ความลับ ด่วนมาก ที่ กห.0421/54 ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2542 เรื่อง การตรวจสอบเอกสารการบรรจุนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้ารับราชการทหารที่โรงเรียนนายร้อย จปร. ที่ลงนามโดย พล.อ.ชาญ บุญประเสริฐ เสนาธิการทหารบก ทำ การแทนผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้นการตรวจสอบเอกสารดังกล่าวนี้ ได้ปรากฏข้อมูลรายละเอียดของหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการบรรจุบุคคลพลเรือนเข้า รับราชการเป็นนายทหารสัญญาบัตรแล้ว ปรากฏว่า ไม่สามารถจะดำเนินการบ รรจุนายอภิสิทธิ์ให้เข้ารับราชการทหารได้ เนื่องจากขาดหลักฐานใบรับรองผล การตรวจเลือกฯ(สด43) ด้วยเหตุที่นายอภิสิทธิ์ไม่ได้เข้ารับการตรวจเลือกฯ ประกอบ เป็นข้อมูลรายละเอียดดังต่อไปนี้
1) นายอภิสิทธิ์ เวชา ชีวะ เกิดเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2507 เลขประจำตัวบัตรประชาชน 3-1009-01830-69-4 เป็นบุตรนายอรรถสิทธิ์และนางสดใส เวชชาชีวะ ซึ่งได้ลงบัญชีทหารกองเกินตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497 เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2529 ต่อมาในปี 2530 นายอภิสิทธิ์ มีชื่ออยู่ในบัญชีที่พ้นจากฐานะการยกเว้นผ่อนผันไม่ต้องเข้ารับการตรวจเลือกเป็น ทหารแขวงคลองตัน เขตพระโขนง อยู่ในลำดับ ที่ 299 เลขที่ สด 43 ลำดับที่ 675
2)ต่อมาในปี 2531 ตามหลัก ฐานของกรมการกำลังสำรองทหารบก กลับไม่มีชื่อนายอภิสิทธิ์ปรากฏในบัญชีเรียก ประจำปีนี้ และเมื่อตรวจสอบรายละเอียดตามข้อเท็จจริงก็ปรากฏว่า ใน บัญชีเรียกเข้ารับการตรวจเลือก ตั้งแต่ปี 2532 จนถึงปี 2536 ปรากฏชื่อนายอภิสิทธิ์ อยู่ในบัญชีคนขาดเข้ารับการตรวจเลือก ประจำแขวง คลองตัน ในลำดับที่ 148 ลำดับที่ 417 ลำดับที่ 685และ ลำดับที่ 641 ตามลำดับ
ในขณะเดียวกันกับที่ เมื่อ ปี พ.ศ.2530 นายอภิสิทธิ์ ได้รับหมายเรียก หลังจากที่ได้แสดง ตนขอลงบัญชีทหารกองเกิน(เกินกำหนด) ณ สำนักงานเขตพระโขนง เมื่อวัน ที่ 4 กรกฎาคม 2529 แต่ได้มีการขอใบแทนใบสำคัญฉบับนี้เมื่อวัน ที่ 8 เมษายน 2531 โดยนายอภิสิทธิ์ไม่ยอมเข้ารับการตรวจเลือก เกณฑ์ทหาร
3) จึงปรากฏพฤติการณ์เจตนาหลีกเลี่ยงขัดขืนการเข้ารับการ ตรวจเลือกฯของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดยอ้างเหตุผลว่า เป็น อาจารย์ประจำโรงเรียนนายร้อย จปร. ซึ่งปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า ได้มี การทุจริต บกพร่องต่อหน้าที่ ในการดำเนินการบรรจุนายอภิสิทธิ์ เวช ชาชีวะเข้ารับราชการทหารในครั้งนั้นกระทำกันอย่างเป็นทีม ซึ่งประกอบด้วย นายทหารบางนาย ซึ่งได้เกษียณอายุราชการไปแล้ว บางนายรับราชการนอก สังกัดกองทัพบก และบางนายเป็นนายทหารชั้นนายพล ซึ่งไม่สามารถ รับโทษทัณฑ์ทางวินัยได้ จึงปรากฏเอกสารทางราชการให้มีผู้ต้องได้รับโทษ ทัณฑ์จากการกระทำทุจริตครั้งนี้ได้เพียงผู้เดียวคือ พ.อ.หญิงสายไสว มา สมบูรณ์ ตำแหน่งประจำกำลังพลทหาร กองทัพบก ขณะปฏิบัติ หน้าที่เป็นหัวหน้าแผนก กองจัดการ กรมกำลังพลทหาร กอง ทัพบก และปรากฏในเวลาต่อมาว่า ได้มีการดำเนินคดีอาญาต่อพันตรี ทองคำ เดชเร ในข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยสมคบกันออก เอกสารทางราชการอันเป็นเท็จเพื่อให้นายอภิสิทธิ์หลีกเลี่ยงการเข้ารับการตรวจ เลือกฯด้วยการทำหลักฐานเท็จเพื่อบรรจุนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่ง เป็นบุคคลที่มีลักษณะขัดต่อหลักเกณฑ์ของกองทัพบก ที่สามารถจะบรรจุเข้ารับ ราชการได้
เนื่องจากนายอภิสิทธิ์ ได้ผ่านการตรวจเลือกและไม่ มีหลักฐานทางทหารนำมาส่งมอบ ประกอบเอกสารการบรรจุเข้ารับราชการทหารเพราะ เป็นคนขาดการตรวจเลือกฯเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2530 ถ้าหากจะดำเนินการบรรจุ เข้ารับราชการต้องกระทำภายหลังจากที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ถูกส่งตัวดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติรับราชการทหารพ.ศ.2497 มาตรา 27 และ มาตรา 45 พร้อมกับส่งตัวเข้ากองประจำการจนครบกำหนดเสียก่อน
4) แต่ปรากฏว่า เจ้าหน้าที่กำลังพลของโรงเรียนนายร้อย จปร. กลับเพิกเฉย ไม่ ปฏิบัติตามระเบียบของกองทัพบกที่ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น เป็นผู้ อนุมัติระเบียบดังกล่าวนี้ จากเอกสารของทางราชการกองทัพบก ปรากฏ ว่า กรมสารบรรณ กองทัพบก ได้ทำการทะกท้วงแล้ว แต่ผู้รับผิดชอบในเรื่องนี้ ขณะนั้นของโรงเรียนนายร้อย จปร. กลับไม่นำพา จึงเป็นความบกพร่องของเจ้าหน้าที่กำลังพลประกอบด้วย พ.อ.สมศักดิ์ พุ่มนิคม รอง ลก.บก.ทหารสูงสุด ขณะเป็นหก.กกพ.รร.จปร. ส่วน พล.อ.เผด็จ วัฒนะภูติ ขณะเป็นรองผบ.รร.จปร. ซึ่งรับผิดชอบงานด้าน กำลังพล และพล.อ.นิยม ศันสนาคม ขณะเป็น ผบ.รร.จปร.ทั้งสองนายพลนี้ ปัจจุบันเกษียณอายุราชการไปแล้ว จึงไม่สามารถตามไปเอาผิดทางวินัยได้ใน ปัจจุบัน
5) จากพฤติการณ์ตามข้อ1-4 ข้างต้นนี้ แสดงให้ เห็นว่า การขอบรรจุ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้ารับราชการ ใน ตำแหน่งรักษาราชการ อาจารย์ส่วนการศึกษาโรงเรียนนายร้อย จปร. มี วัตถุประสงค์จงใจหลีกเลี่ยงความผิดที่จะเกิดขึ้นตามกฏหมายพระราชบัญญัติรับ ราชการทหาร พ.ศ.2497 มาตรา 45 ซึ่งมีบทบัญญัติพอสรุปได้ว่า บุคคลใด หลีกเลี่ยง หรือขัดขืน ไม่มาให้คณะกรรมการตรวจเลือกฯ ทำการตรวจ เลือกเข้ารับราชการทหารตามหมายเรียกของอำเภอ หรือมาแต่ไม่เข้ารับการตรวจ เลือกหรือไม่อยู่ จนกว่าการตรวจเลือกแล้วเสร็จ หรือหลีก เลี่ยง หรือขัดขืนด้วยประการใดก็ดี เพื่อจะไม่ให้เข้ารับราชการ ทหาร ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ ต้องระวางโทษไม่เกิน 3 ปี
6) ดังนั้นการที่ ว่าที่ ร.ต.อภิสิทธิ์ เมื่อได้รับคำสั่ง บรรจุเป็นนายทหารสัญญาบัตรในตำแหน่ง รรก.อจ.สกศ.รร.จปร. แล้วเพียง 35 วัน ก็ได้ แจ้งความจำนงว่า จะขอลาออกจากราชการ ดังนั้นโดยสามัญสำนึก จึงแปลเจตนารมณ์ไปได้ว่า ว่าที่ ร.ต.อภิสิทธิ์ ไม่มีเจตนาที่ จะปฏิบัติหน้าที่ในขณะรับราชการ ดังปรากฏหลักฐานทางราชการ ว่า ว่าที่ ร.ต.อภิสิทธิ์ ได้ขอลากิจไปเยี่ยมญาติที่ประเทศ อังกฤษ 2 ครั้ง
ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2531 ถึง 30 กันยายน 2531 รวม 40 วัน และได้ขอลากิจอีกครั้งหนึ่ง ตั้งแต่ วันที่ 4 ตุลาคม 2531 ถึงวันที่ 9 ธันวาคม 2531 รวม 67 วัน พฤติการณ์เยี่ยงนี้ แสดงให้เห็นว่า
นายอภิสิทธิ์ไม่มีเจตนาที่จะ เข้ารับราชการทหารอย่างแท้จริง การสมัครเข้ารับราชการทหาร จึงเป็น เพียงการหาเหตุผลที่จะแก้ปัญหาความผิดทางอาญาจากกรณีการขาดตรวจเลือกเข้าเป็น ทหารกองประจำการเท่านั้น
7) การณีการบรรจุให้นายอภิสิทธิ์ เวชชา ชีวะ เป็นอาจารย์ประจำส่วนการศึกษาโรงเรียนนายร้อย จปร. จึงเป็นการ บรรจุที่ขัดระเบียบของกองทัพบก ซึ่งอนุมัติโดยผู้บัญชาการทหารบก(พล.อ. อาทิตย์ กำลังเอก) ตามท้ายหนังสือที่ กห.0401/1916 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2528 ประกอบกับหนังสือกรมกำลังพลทหารบกที่กพ. ทบ. 015/10006 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2522 ทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า การบรรจุนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้ารับราชการ ทหาร เป็นการบรรจุผู้ไม่มีคุณสมบัติตามระเบียบกองทัพบกกำหนด
จากข้อเท็จจริง ที่รวบรวมจากเอกสารหลักฐานของทางราชการดังกล่าวทั้ง 7 ประการ นี้ ทำให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คน ปัจจุบัน เป็นบุคคลผู้จงใจหลีกเลี่ยง ขัดขืน ไม่ไปแสดงตน เพื่อเข้ารับการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ากองประจำการ แปลความง่าย ๆ ว่า "หนีการเกณฑ์ทหาร" ตามที่กฏหมายกำหนดให้ลูกผู้ชายไทยทุกคน ต้อง เข้ารับการตรวจเลือกฯอย่างเสมอหน้ากันทุกคน นายอภิสิทธิ์จึงเป็นบุคคลที่ มีพฤติการณ์หนีการเกณฑ์ทหารอย่างชัดแจ้ง จึงเป็นนักการเมืองประเภทโมฆะ บุรุษตาม ระบอบประชาธิปไตยในหลักสากลปฏิบัติ ทำให้ไม่สามารถที่จะเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทาง การเมืองระดับผู้บริหารประเทศได้และยังเป็นบุคคลที่เห็นแก่ตัวอย่างน่า รังเกียจ เพราะคิดแต่จะเอาเปรียบผู้ชายไทยทั้งประเทศ โดยจงใจที่จะหลีกเลี่ยง กฎเกณฑ์และระเบียบของทางราชการ จนไม่สมควรที่จะไว้วางใจให้ทำกิจการใดๆของชาติ บ้างเมืองอีกต่อไปจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ ขอฝากคำถามถึงนายชวน หลีก ภัย ที่เคยพร่ำพูดอยู่เสมอว่า จะยึดมั่นในหลักการความถูกต้อง และจะปฏิบัติตาม ระเบียบข้อบังคับและกฎหมายอย่างเคร่งครัด เมื่อนายอภิสิทธ์ หัวหน้าพรรคคนปัจจุบัน มีพฤติกรรมเยี่ยงที่กล่าวมานี้ จึงเป็นสิ่งที่นายชวนและชาวพรรคประชาธิปัตย์ทั้งมวล จะพิจารณาอย่างถ่องแท้ว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีความชอบธรรม และมีความเหมาะสมที่จะเข้าไปดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีภายหลังการเลือกตั้งทั่วไป หรือไม่ ? เพราะเป็นหน้าที่ของสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ทุกคนที่จะต้องแก้ปัญหา ส่วนตัวของหัวหน้าพรรคคนปัจจุบันด้วยกันเองเสียก่อน ดีกว่าที่จะปล่อยให้ข้อมูล เหล่านี้ กลายเป็นปัญหาติดตัวคนในพรรคประชาธิปัตย์ จนเป็นเหตุให้นักการเมือง ฝ่ายค้านในอนาคตนำไปเป็นประเด็นเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจพรรคประชาธิปัตย์ หากได้ เป็นรัฐบาลในเร็ววันนี้ตามความต้องการของประชาชน คมช. นี่คือ คำถามที่ นายอภิสิทธิ์ และคนในพรรคประชาธิปัตย์ทุกคนต้องตอบให้ประชาชนทราบอย่างตรงไปตรง มาโดยไม่เล่นลิ้น หรือให้ความกะล่อนปลิ้นปล้อนตลบตะแลงอีกต่อ ไป
จากกลุ่มนายทหารประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ คมช.
------------------------------------------
พระราชบัญญัติ
รับราชการทหาร
พ.ศ. ๒๔๙๗
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๗
เป็นปีที่ ๙ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร เสียใหม่
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พุทธศักราช ๒๔๗๙
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
(๑)
วิธีนับอายุ
ถ้าเกิดพุทธศักราชใดให้ถือว่ามีอายุครบหนึ่งปีบริบูรณ์เมื่อสิ้นพุทธศักราช
ที่เกิดนั้น ส่วนการนับอายุต่อไปให้นับแต่เฉพาะปีที่สิ้นพุทธศักราชแล้ว
ถ้าไม่ปรากฏปีเกิดให้นายอำเภอท้องที่เป็นผู้กำหนด ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๒)“ทหาร
กองเกิน” หมายความว่า
ผู้ซึ่งมีอายุตั้งแต่สิบแปดปีบริบูรณ์และยังไม่ถึงสามสิบปีบริบูรณ์
ซึ่งได้ลงบัญชีทหารกองเกินตามมาตรา ๑๖
หรือผู้ซึ่งได้ลงบัญชีทหารกองเกินตามมาตรา ๑๘ แล้ว
(๓) “ทหารกองประจำการ” หมายความว่า ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการ และได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลด
(๔)
“ทหารกองหนุนประเภทที่ ๑” หมายความว่า ทหารที่ปลดจากกองประจำการ
โดยรับราชการในกองประจำการจนครบกำหนด
หรือทหารกองเกินซึ่งสำเร็จการฝึกวิชาทหารตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึก
วิชาทหาร
และได้ขึ้นทะเบียนกองประจำการแล้วปลดเป็นกองหนุนตามพระราชบัญญัตินี้
(๕) “ทหารกองหนุนประเภทที่ ๒” หมายความว่า ทหารที่ปลดจากกองเกินตามมาตรา ๓๙ หรือปลดจากกองประจำการตามมาตรา ๔๐
(๖)
“พ้นราชการทหารประเภทที่ ๑” หมายความว่า
ทหารซึ่งถูกปลดโดยที่ได้รับราชการในชั้นต่าง ๆ
จนครบกำหนดหรือโดยที่พิการทุพพลภาพ
หรือมีโรคซึ่งไม่สามารถจะรับราชการทหารได้ในระหว่างรับราชการทหารตามพระราช
บัญญัตินี้
(๗)
“พ้นราชการทหารประเภทที่ ๒” หมายความว่า ทหารกองหนุนประเภทที่ ๒
ที่มีอายุสี่สิบหกปีบริบูรณ์แล้วหรือทหารกองเกิน หรือทหารกองหนุนประเภทที่ ๒
ซึ่งพิการทุพพลภาพ
หรือมีโรคอันไม่สามารถจะรับราชการทหารได้ในระหว่างรับราชการทหารตามพระราช
บัญญัตินี้ หรือนายทหารสัญญาบัตรที่ถูกปลดโดยถูกถอดหรือออกจากยศ
(๘) “ทหารประจำการ” หมายความว่า ทหารซึ่งรับราชการตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนดซึ่งไม่ใช่ทหารกองประจำการ
(๙)“อำเภอ” หมายความรวมถึงกิ่งอำเภอด้วย
(๑๐)“ที่ว่าการอำเภอ” หมายความรวมถึงที่ว่าการกิ่งอำเภอด้วย
(๑๑)“นายอำเภอ” หมายความรวมถึงปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอด้วย
มาตรา ๕ บุคคลซึ่งต้องลงบัญชีทหารกองเกิน ให้ลงบัญชีที่อำเภอดังต่อไปนี้
(๑)
บุคคลซึ่งบิดายังมีชีวิตอยู่
หรือถ้าบิดาถึงแก่กรรมแล้วมารดายังมีชีวิตอยู่
หรือถ้าทั้งบิดาและมารดาถึงแก่กรรมแล้วมีผู้ปกครอง
ให้ลงบัญชีทหารกองเกินที่อำเภอท้องที่ที่บิดาหรือมารดาหรือผู้ปกครองมีภูมิ
ลำเนา แล้วแต่กรณี
(๒)
บุคคลซึ่งเกิดนอกสมรสและบิดามิได้จดทะเบียนรับรองบุตร
หรือถ้ามารดาถึงแก่กรรมแล้วมีผู้ปกครอง
ให้ลงบัญชีทหารกองเกินที่อำเภอท้องที่ที่มารดาหรือผู้ปกครองมีภูมิลำเนา
แล้วแต่กรณี
(๓)
บุคคลนอกจากที่กล่าวใน (๑) และ (๒)
หรือบุคคลที่ไม่อาจลงบัญชีทหารกองเกินตาม (๑) หรือ (๒)
ได้ไม่ว่าด้วยกรณีใดก็ตาม
ให้ลงบัญชีทหารกองเกินที่อำเภอท้องที่ที่บุคคลนั้นมีภูมิลำเนา
ถ้าบุคคลนั้นไม่ปรากฏภูมิลำเนาก็ให้ลงบัญชีทหารกองเกินที่อำเภอท้องที่ที่พบ
ตัวบุคคลนั้น
เมื่อได้ลงบัญชีทหารกองเกินแล้วให้ถือว่าผู้นั้นมีภูมิลำเนาทหารอยู่ในท้องที่อำเภอที่ได้ลงบัญชีทหารกองเกิน
ภูมิลำเนาทหารให้มีได้เพียงแห่งเดียว
มาตรา
๖ การเรียกและการตรวจเลือกคนเข้าเป็นตำรวจกองประจำการตลอดถึงการยกเว้นและ
การปลดตำรวจซึ่งอยู่ในกองประจำการ
ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกันกับการเรียกและการตรวจเลือกคนเข้าเป็นทหารกองประจำ
การ การยกเว้น และการปลดทหาร
การเรียกคนเข้ากองประจำการเป็นตำรวจ ให้กระทรวงมหาดไทยทำได้โดยตกลงกับกระทรวงกลาโหม
บททั่วไป
มาตรา ๗ ชายที่มีสัญชาติเป็นไทยตามกฎหมาย มีหน้าที่รับราชการทหารด้วยตนเองทุกคน
มาตรา
๘ การรับบุคคลเข้าเป็นทหารกองประจำการ ให้กระทำด้วยวิธีเรียกมาตรวจเลือก
หรือจะรับเข้าเป็นทหารกองประจำการโดยวิธีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงก็ได้
ถ้ามีความจำเป็น การรับบุคคลเข้าเป็นทหารกองประจำการจะไม่กระทำในบางท้องที่ก็ได้
มาตรา
๙ ทหารกองเกินซึ่งมีอายุตั้งแต่สิบแปดปีบริบูรณ์และยังไม่ถึงสามสิบปีบริ
บูรณ์ เป็นผู้ที่อยู่ในระหว่างที่จะต้องเข้ารับราชการทหารกองประจำการ
และเมื่อต้องเข้ากองประจำการจะต้องเข้ารับราชการทหารกองประจำการมีกำหนดสอง
ปี ส่วนผู้ซึ่งมีคุณวุฒิพิเศษหรือเมื่อมีกรณีพิเศษ
จะให้รับราชการทหารกองประจำการน้อยกว่าสองปีตามที่กำหนดในกฎกระทรวงก็ได้
แต่สำหรับผู้ซึ่งมีคุณวุฒิพิเศษนั้น
จะอ้างสิทธิดังกล่าวได้ต่อเมื่อได้แสดงหลักฐานต่อคณะกรรมการตรวจเลือกในวัน
ตรวจเลือก หรือต่อหน่วยทหารที่ตนร้องขอเข้ารับราชการในวันร้องขอ
วัน
เริ่มเข้ารับราชการทหารกองประจำการ ให้นับแต่วันขึ้นทะเบียนกองประจำการ
ในกรณีที่ทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการแล้ว
แต่ยังขึ้นทะเบียนกองประจำการให้ไม่ได้ในวันที่ทหารกองเกินเข้ารับราชการ
ทหารกองประจำการนั้น
จะขึ้นทะเบียนกองประจำการภายหลังจากวันเข้ารับราชการทหารกองประจำการก็ได้
และให้ถือว่าผู้นั้นได้ขึ้นทะเบียนกองประจำการตั้งแต่วันที่เข้ารับราชการ
ทหารกองประจำการ
เมื่ออยู่ในกองประจำการจนครบกำหนดแล้วให้ปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ ๑
ดังนี้
กองหนุนชั้นที่ ๑ เจ็ดปี
กองหนุนชั้นที่ ๒ สิบปี
กองหนุนชั้นที่ ๓ หกปี
ตามลำดับชั้นไปจนปลดพ้นราชการทหารประเภทที่ ๑
บุคคล
ซึ่งสำเร็จการฝึกวิชาทหารตามหลักสูตรที่กระทรวงกลาโหมกำหนดตามกฎหมายว่าด้วย
การส่งเสริมการฝึกวิชาทหารและมีลักษณะตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
จะให้รับราชการทหารกองประจำการน้อยกว่าสองปี
หรือให้ขึ้นทะเบียนกองประจำการแล้วปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ ๑
โดยมิต้องเข้ารับราชการทหารกองประจำการก็ได้ ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
แต่จะอ้างสิทธิดังกล่าวได้ต่อเมื่อได้แสดงหลักฐานต่อคณะกรรมการตรวจเลือกใน
วันตรวจเลือก หรือต่อหน่วยทหารที่ตนร้องขอเข้ารับราชการในวันร้องขอ
หรือต่อหน่วยที่ขึ้นทะเบียนกองประจำการ แล้วแต่กรณี
ส่วนที่จะให้อยู่ในกองหนุนชั้นใดและเป็นเวลาเท่าใดนั้น
ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการปลดทหารกองเกินที่ต้องเข้ารับราชการทหารกองประจำ
การตามวรรคสอง
ให้
ผู้ว่าราชการจังหวัดและสัสดีจังหวัดออกหนังสือสำคัญให้แก่ทหารที่ถูกปลดเป็น
ทหารกองหนุนไว้เป็นหลักฐาน หากหนังสือสำคัญชำรุดหรือสูญหาย
ให้ผู้ถือแจ้งต่อนายอำเภอท้องที่เพื่อขอรับหนังสือสำคัญใหม่
โดยเสียค่าธรรมเนียมฉบับละหนึ่งบาท
แต่ถ้าการชำรุดหรือสูญหายนั้นเป็นเพราะเหตุสุดวิสัยก็ไม่ต้องเสียค่า
ธรรมเนียม
มาตรา
๑๐ นักเรียนทหาร เมื่อมีอายุสิบแปดปีบริบูรณ์ให้ขึ้นทะเบียนกองประจำการ
ถ้าต้องออกจากนักเรียนในขณะที่อยู่ในกองประจำการยังไม่ครบกำหนด
ให้ส่งตัวไปรับราชการในกรมกองทหารจนกว่าจะครบกำหนด
มาตรา ๑๑ การรับราชการทหารประจำการ การแบ่งประเภท และการปลดทหารประจำการ ให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของกระทรวงกลาโหม
ทหาร
ประจำการนั้น ถ้ายังมิได้ขึ้นทะเบียนกองประจำการ
ก็ต้องขึ้นทะเบียนกองประจำการ
และรับราชการในกองประจำการจนครบกำหนดตามพระราชบัญญัตินี้
เว้นแต่กระทรวงกลาโหมจะสั่งปลดเป็นทหารประเภทอื่น
มาตรา
๑๒ บุคคลซึ่งได้ลงบัญชีทหารกองเกินตามมาตรา ๑๖
หรือทหารกองเกินหรือทหารกองหนุนผู้ใดประสงค์จะไปอยู่ต่างท้องที่ในอำเภอ
เดียวกันหรือต่างอำเภอเป็นการชั่วคราวเกินสามสิบวัน
ให้แจ้งต่อนายอำเภอท้องที่ที่ตนเข้ามาอยู่
และให้นายอำเภอที่ได้รับแจ้งทำการสอบสวนและออกใบรับให้
แล้วแจ้งให้นายอำเภอท้องที่ที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนาทหารทราบ
ถ้า
บุคคลตามวรรคหนึ่งประสงค์จะย้ายภูมิลำเนาทหาร
ให้แจ้งต่อนายอำเภอท้องที่ที่ตนเข้ามาอยู่นั้น
ให้นายอำเภอที่ได้รับแจ้งทำการสอบสวน
เมื่อพิจารณาเห็นว่าผู้ขอย้ายได้มาตั้งทำมาหาเลี้ยงชีพเป็นประจำหรือมีที่
อยู่เป็นหลักฐานและไม่ประสงค์จะหลีกเลี่ยงการรับราชการทหาร
ก็ให้แจ้งไปยังนายอำเภอท้องที่ที่เป็นภูมิลำเนาทหารเดิมทราบ
เมื่อได้รับตอบยืนยันเป็นการถูกต้องจึงให้รับแจ้งการย้ายภูมิลำเนาทหารของ
บุคคลนั้นและออกใบรับให้
แล้วให้นายอำเภอที่เกี่ยวข้องแจ้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดของตนทราบ
การแจ้งย้ายตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้กระทำภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ย้ายเข้ามาอยู่ในท้องที่
มาตรา
๑๒ ทวิ บุคคลซึ่งได้ลงบัญชีทหารกองเกินตามมาตรา ๑๖
หรือทหารกองเกินหรือทหารกองหนุนผู้ใดได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อ
สกุล
ให้ผู้นั้นนำหลักฐานไปแจ้งต่อนายอำเภอท้องที่ที่เป็นภูมิลำเนาทหารทราบภายใน
สามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอนุญาต
ให้นายอำเภอออกใบรับให้และแก้ใบสำคัญและบัญชีให้ถูกต้อง
ในกรณีหนังสือสำคัญหรือใบสำคัญที่จังหวัดเป็นผู้ออก
ให้ส่งผู้ว่าราชการจังหวัดและสัสดีจังหวัดจัดการแก้
การยกเว้น
มาตรา ๑๓ บุคคลดังต่อไปนี้ ยกเว้นไม่ต้องเข้ารับราชการทหารกองประจำการคือ
(๑) พระภิกษุที่มีสมณศักดิ์ หรือที่เป็นเปรียญ และนักบวชในพระพุทธศาสนาแห่งนิกายจีนหรือญวนที่มีสมณศักดิ์
(๒) คนพิการทุพพลภาพ ซึ่งไม่สามารถเป็นทหารได้
(๓) บุคคลซึ่งไม่มีคุณวุฒิที่จะเป็นทหารได้เฉพาะบางท้องที่ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๑๔ บุคคลดังต่อไปนี้ เมื่อลงบัญชีทหารกองเกินแล้วไม่เรียกมาตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการในยามปกติ คือ
(๑) พระภิกษุ สามเณร และนักบวชในพระพุทธศาสนาแห่งนิกายจีนหรือญวน ซึ่งเป็นนักธรรมตามที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง
(๒) นักบวชศาสนาอื่นซึ่งมีหน้าที่ประจำในกิจของศาสนาตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และผู้ว่าราชการจังหวัดออกใบสำคัญให้ไว้
(๓) บุคคลซึ่งอยู่ในระหว่างการฝึกวิชาทหารตามหลักสูตรที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร
(๔) นักเรียนโรงเรียนเตรียมทหารของกระทรวงกลาโหม
(๕)
ครูซึ่งประจำทำการสอนหนังสือหรือวิชาการต่าง ๆ
ที่อยู่ในความควบคุมของกระทรวง ทบวง กรม หรือราชการส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้
ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และผู้ว่าราชการจังหวัดออกใบสำคัญให้ไว้
(๖) นักศึกษาของศูนย์กลางอบรมการศึกษาผู้ใหญ่ของกระทรวงศึกษาธิการ
(๗) นักศึกษาของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนของกระทรวงคมนาคม
(๘) บุคคลซึ่งได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ
(๙)
บุคคลซึ่งได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกครั้งเดียวตั้งแต่สิบ
ปีขึ้นไป
หรือเคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหลายครั้งรวมกันตั้งแต่
สิบปีขึ้นไปหรือเคยถูกศาลพิพากษาให้กักกัน
การ
ไม่เรียกมาตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการในยามปกติ
และการออกใบสำคัญตาม (๒) และ (๕) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา
๑๕ บุคคลซึ่งพ้นจากฐานะตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๓ (๑) มาตรา ๑๔ (๑) (๒) (๓)
(๕) (๖) หรือ (๗) มาตรา ๒๗ (๒) หรือมาตรา ๒๙ (๓)
ให้แจ้งด้วยตนเองต่อนายอำเภอท้องที่ที่ตนอยู่หรือทำการประจำ
ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากฐานะเช่นนั้น และให้นายอำเภอออกใบรับให้
ถ้าผู้นั้นมีภูมิลำเนาทหารอยู่ในท้องที่อำเภออื่น
ให้นายอำเภอที่ได้รับแจ้งแจ้งต่อไปยังนายอำเภอท้องที่ที่เป็นภูมิลำเนาทหาร
ของผู้นั้น
การลงบัญชีทหารกองเกินที่อำเภอ
มาตรา
๑๖ บรรดาชายซึ่งมีสัญชาติไทย เมื่อมีอายุย่างเข้าสิบแปดปีในพุทธศักราชใด
ให้ไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินภายในพุทธศักราชนั้น
ผู้
ใดไม่สามารถไปลงบัญชีทหารกองเกินด้วยตนเองได้
ต้องให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะและเชื่อถือได้ไปแจ้งแทน ให้นายอำเภอสอบสวน
เมื่อเห็นว่าถูกต้อง ให้ลงบัญชีทหารกองเกินไว้ ถ้าไม่มีผู้มาแจ้งแทน
ให้ถือว่าผู้นั้นหลีกเลี่ยงขัดขืนไม่มาลงบัญชีทหารกองเกิน
เมื่อ
ได้รับการขอลงบัญชีทหารกองเกินตามมาตรานี้
ให้นายอำเภอออกใบสำคัญหรือใบรับให้ผู้ขอลงบัญชีทหารกองเกินไว้เป็นหลักฐาน
หากใบสำคัญชำรุดหรือสูญหาย
ให้ผู้ถือแจ้งต่อนายอำเภอท้องที่เพื่อขอรับใบสำคัญใหม่โดยเสียค่าธรรมเนียม
ฉบับละหนึ่งบาท
แต่ถ้าการชำรุดหรือสูญหายนั้นเป็นเพราะเหตุสุดวิสัยก็ไม่ต้องเสียค่า
ธรรมเนียม
ผู้ซึ่งได้ลงบัญชีทหารกองเกินตามมาตรานี้แล้วให้ถือว่าเป็นทหารกองเกินตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ของพุทธศักราชถัดไป
การลงบัญชีทหารกองเกินตามมาตรานี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา
๑๗ ในเดือนกันยายนทุกปี
ให้นายอำเภอจัดการประกาศให้ผู้ที่มีอายุถึงเขตที่จะต้องลงบัญชีทหารกองเกิน
ไปลงบัญชีทหารกองเกินตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๖
ประกาศ
เช่นว่านี้ ให้นายอำเภอปิดไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอและ ณ
ที่เปิดเผยตามชุมนุมชนในท้องที่นั้น
กับให้นายอำเภอส่งประกาศให้กำนันผู้ใหญ่บ้านเพื่อนำไปแจ้งให้ราษฎรในท้องที่
ของตนทราบด้วย
มาตรา
๑๘ บุคคลซึ่งยังมิได้ลงบัญชีทหารกองเกินที่อำเภอพร้อมกับคนชั้นปีเดียวกัน
เพราะเหตุใด ๆ ก็ดี ถ้าอายุยังไม่ถึงสี่สิบหกปีบริบูรณ์
ให้ปฏิบัติทำนองเดียวกับมาตรา ๑๖
ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สามารถจะปฏิบัติได้
แต่จะให้ผู้อื่นแจ้งแทนไม่ได้
ถ้านายอำเภอจะเรียกตัวลงบัญชีทหารกองเกินก็ย่อมทำได้โดยไม่ต้องคำนึงถึง
กำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว
เมื่อ
ได้รับการลงบัญชีทหารกองเกินตามมาตรานี้
ให้นายอำเภอออกใบสำคัญหรือใบรับให้ไว้เป็นหลักฐาน
หากใบสำคัญชำรุดหรือสูญหาย
ให้ผู้ถือแจ้งต่อนายอำเภอท้องที่เพื่อขอรับใบสำคัญใหม่โดยเสียค่าธรรมเนียม
ฉบับละหนึ่งบาท
แต่ถ้าการชำรุดหรือสูญหายนั้นเป็นเพราะเหตุสุดวิสัยก็ไม่ต้องเสียค่า
ธรรมเนียม
ผู้
ซึ่งได้ลงบัญชีทหารกองเกินตามมาตรานี้แล้วให้ถือว่าเป็นทหารกองเกินตั้งแต่
วันลงบัญชีทหารกองเกิน แต่ถ้ามีอายุครบกำหนดปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ ๒
ตามมาตรา ๓๙ เมื่อได้ลงบัญชีทหารกองเกินแล้วให้ปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่
๒ ทันที
การลงบัญชีทหารกองเกินตามมาตรานี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา
๑๙ เมื่อจำเป็น
นายอำเภอมีอำนาจประกาศเรียกบุคคลที่ได้ลงบัญชีทหารกองเกินไว้ที่อำเภอตาม
มาตรา ๑๖ หรือมาตรา ๑๘ แล้ว ไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินใหม่ได้
ภายในกำหนดเก้าสิบวันนับตั้งแต่วันประกาศ
ประกาศ
เช่นว่านี้ ให้นายอำเภอปิดไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอและ ณ
ที่เปิดเผยตามชุมนุมชนในท้องที่นั้น
กับให้นายอำเภอส่งประกาศให้กำนันผู้ใหญ่บ้านเพื่อนำไปแจ้งให้ราษฎรในท้องที่
ของตนทราบด้วย
ผู้
ใดไม่สามารถจะไปลงบัญชีทหารกองเกินด้วยตนเองได้
ต้องให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะและพอจะเชื่อถือได้ไปแจ้งแทน
ถ้าไม่มีผู้แทนให้ถือว่าผู้นั้นหลีกเลี่ยงขัดขืน
เมื่อ
ได้รับการขอลงบัญชีทหารกองเกินตามมาตรานี้
ให้นายอำเภอออกใบสำคัญหรือใบรับให้ผู้ขอลงบัญชีทหารกองเกินไว้เป็นหลักฐาน
ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
หากใบสำคัญชำรุดหรือสูญหายให้ผู้ถือแจ้งต่อนายอำเภอท้องที่เพื่อขอรับใบ
สำคัญใหม่โดยเสียค่าธรรมเนียมฉบับละหนึ่งบาท
แต่ถ้าการชำรุดหรือสูญหายนั้นเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย
ก็ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
มาตรา ๒๐ บุคคลตามมาตรา ๑๓ (๑) และ (๓) ให้ยกเว้นไม่ต้องลงบัญชีทหารกองเกิน
มาตรา ๒๑ บุคคลดังต่อไปนี้ไม่ต้องไปแสดงตนต่อนายอำเภอ ตามมาตรา ๑๖ มาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๑๙ คือ
(๑) สามเณรเปรียญ
(๒) ผู้ซึ่งอยู่ในระหว่างควบคุมหรือคุมขังของเจ้าพนักงาน
แต่ให้ลงบัญชีทหารกองเกินไว้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
การเรียกคนเข้ากองประจำการ
มาตรา ๒๒ บุคคลที่อยู่ในกำหนดออกหมายเรียกมาตรวจเลือกเข้าเป็นทหารกองประจำการนั้น คือ ผู้ที่เป็นทหารกองเกิน
มาตรา ๒๓ การที่จะเรียกทหารกองเกินเข้ารับราชการกองประจำการเมื่อใด อายุใดบ้าง และกี่ครั้งนั้น ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา
๒๔ การเรียกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการนั้น
ให้นายอำเภอออกหมายเรียกทหารกองเกินซึ่งลงบัญชีทหารกองเกินไว้ตามมาตรา ๑๖
มาตรา ๑๘ และมาตรา ๑๙ มาตรวจเลือก ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา
๒๕ ทหารกองเกินเมื่อมีอายุย่างเข้ายี่สิบเอ็ดปีในพุทธศักราชใด
ต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกที่อำเภอท้องที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาทหารของตน
ภายในพุทธศักราชนั้น
ทหาร
กองเกินที่พ้นจากฐานะการยกเว้นตามมาตรา ๑๔ (๓) หรือการผ่อนผันตามมาตรา ๒๗
(๒) และมาตรา ๒๙ (๓) ในพุทธศักราชใด
ต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกหรือเพื่อจำหน่ายบัญชีเรียกทหารกองเกินตามแต่
กรณีที่อำเภอท้องที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาทหารของตน ภายในพุทธศักราชนั้น
ผู้
ใดไม่สามารถจะไปรับหมายเรียกด้วยตนเองได้ ต้องให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะ
และพอจะเชื่อถือได้ไปรับหมายเรียกแทน
ถ้าไม่มีผู้แทนให้ถือว่าผู้นั้นหลีกเลี่ยงขัดขืน
มาตรา
๒๖ ในเดือนตุลาคมทุกปี
ให้นายอำเภอจัดการประกาศให้ทหารกองเกินที่มีอายุย่างเข้ายี่สิบเอ็ดปีในพุทธ
ศักราชนั้น ไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกที่อำเภอตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๒๕
ประกาศ
เช่นว่านี้ให้นายอำเภอปิดไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอและ ณ
ที่เปิดเผยตามชุมนุมชนในท้องที่นั้น
กับให้นายอำเภอส่งประกาศให้กำนันผู้ใหญ่บ้านเพื่อนำไปแจ้งให้ราษฎรในท้องที่
ของตนทราบด้วย
มาตรา
๒๗ ทหารกองเกินซึ่งถูกเรียกต้องมาให้คณะกรรมการตรวจเลือกทำการตรวจเลือกตาม
กำหนดหมายนั้นโดยนำใบสำคัญทหารกองเกิน
บัตรประจำตัวประชาชนและประกาศนียบัตรหรือหลักฐานการศึกษามาแสดงด้วย
ถ้าไม่มาหรือมาแต่ไม่เข้ารับการตรวจเลือก
หรือไม่อยู่จนกว่าการตรวจเลือกแล้วเสร็จ
ให้ถือว่าทหารกองเกินนั้นหลีกเลี่ยงขัดขืนไม่มาให้คณะกรรมการตรวจเลือกทำการ
ตรวจเลือก เว้นแต่
(๑)
ข้าราชการซึ่งได้รับคำสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยปัจจุบันทันด่วนให้ไปราชการ
อันสำคัญยิ่ง หรือไปราชการต่างประเทศโดยคำสั่งของเจ้ากระทรวง
(๒) นักเรียนซึ่งออกไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๓)
ข้าราชการหรือผู้ปฏิบัติงานในสถานที่ราชการ หรือโรงงานอื่นใด
ในระหว่างที่มีการรบหรือการสงคราม
อันเป็นอุปกรณ์ในการรบหรือการสงครามและอยู่ในความควบคุมของกระทรวงกลาโหม
(๔) บุคคลซึ่งกำลังปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยทหารในราชการสนาม
(๕) เกิดเหตุสุดวิสัย
(๖) ไปเข้าตรวจเลือกที่อื่น
(๗) ป่วยไม่สามารถจะมาได้ โดยให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะและเชื่อถือได้มาแจ้งต่อคณะกรรมการตรวจเลือกในวันตรวจเลือก
กรณี
ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔)
ต้องได้รับการผ่อนผันเฉพาะคราวจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
หรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย
การตรวจเลือกคนเข้ากองประจำการ
มาตรา
๒๘ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกำหนดผู้ดำรงตำแหน่งเทียบได้ไม่ต่ำกว่า
ผู้บัญชาการกองพล
เป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจเลือกและคณะกรรมการชั้นสูง
มาตรา
๒๘ ทวิ ให้ผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกำหนดตามมาตรา ๒๘
แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจเลือกขึ้นในท้องที่แต่ละจังหวัด
เพื่อทำการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารประจำการ
โดยให้ประกอบด้วยนายทหารสัญญาบัตรซึ่งมียศไม่ต่ำกว่าพันโทหนึ่งคน
เป็นประธานกรรมการ
นายทหารสัญญาบัตรซึ่งมียศหรือเทียบเท่าไม่สูงกว่าประธานกรรมการไม่เกินสองคน
สัสดีจังหวัดหรือผู้แทนหนึ่งคน
ซึ่งมิได้ประจำอยู่ในท้องที่จังหวัดที่ตรวจเลือกนั้น
และนายทหารสัญญาบัตรซึ่งเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ แผนปัจจุบันชั้น ๑
สาขาเวชกรรม หนึ่งคนหรือหลายคนเป็นกรรมการ
ถ้าไม่อาจแต่งตั้งนายทหารสัญญาบัตรซึ่งเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะดังกล่าวเป็น
กรรมการได้ ก็ให้แต่งตั้งผู้อื่นซึ่งเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้น ๑
สาขาเวชกรรม แทน
หน้าที่ของกรรมการตรวจเลือก และวิธีการตรวจเลือกให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา
๒๘ ตรี ให้ผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกำหนดตามมาตรา ๒๘
แต่งตั้งคณะกรรมการชั้นสูงขึ้นในท้องที่แต่ละจังหวัด
ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทนหนึ่งคน เป็นประธานกรรมการ
เจ้าหน้าที่สัสดีซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าสัสดีจังหวัดหนึ่งคน
และข้าราชการอื่นซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าหัวหน้าแผนกหรือเทียบเท่าอีก
หนึ่งคน เป็นกรรมการ
กรรมการชั้นสูงต้องไม่เป็นบุคคลคนเดียวกับกรรมการตรวจเลือก
คณะ
กรรมการชั้นสูงมีอำนาจพิจารณาตัดสินกรณีที่มีคำร้องตามมาตรา ๓๑
หรือกรณีที่มีข้อขัดแย้งระหว่างกรรมการตรวจเลือกซึ่งทำคำชี้แจงเสนอขึ้นมา
คำตัดสินของคณะกรรมการชั้นสูงให้เป็นที่สุด
มาตรา ๒๘ จัตวา ให้นายอำเภอท้องที่ที่มีการตรวจเลือกมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) จัดสถานที่ทำการตรวจเลือก
(๒) จัดเจ้าหน้าที่และเอกสารเกี่ยวกับการตรวจเลือกเพื่อให้คณะกรรมการตรวจเลือกตรวจสอบได้ในวันตรวจเลือก
(๓) จัดคนซึ่งมาตรวจเลือกให้รวมอยู่เป็นตำบลเพื่อฟังเรียกชื่อ
(๔) สอบสวนบุคคลซึ่งร้องขอในเหตุต่าง ๆ แล้วมอบเรื่องให้คณะกรรมการตรวจเลือกพิจารณา
(๕) ตรวจทานและบันทึกบัญชีเรียกของอำเภอตามผลการตรวจเลือก
(๖) ปฏิบัติการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา
๒๙ เมื่อได้คัดคนที่ยกเว้นด้วยเหตุต่าง ๆ ออกแล้ว
ถ้ามีจำนวนทหารกองเกินที่จะรับราชการเป็นทหารกองประจำการได้มากกว่าจำนวนที่
ฝ่ายทหารต้องการ ให้ผ่อนผันแก่ประเภทบุคคล ดังต่อไปนี้
(๑)
บุคคลที่จำเป็นต้องหาเลี้ยงบิดาหรือมารดาซึ่งไร้ความสามารถ
หรือพิการทุพพลภาพ หรือชราจนหาเลี้ยงชีพไม่ได้และไม่มีผู้อื่นเลี้ยงดู
แต่ถ้ามีบุตรหลายคนจะต้องเข้ากองประจำการพร้อมกัน
คงผ่อนผันให้คนเดียวตามแต่บิดาหรือมารดาจะเลือก
ถ้าบิดาหรือมารดาไม่สามารถจะเลือกได้ก็ให้คณะกรรมการตรวจเลือกพิจารณา
ผ่อนผันให้ หนึ่งคน
(๒)
บุคคลที่จำเป็นต้องหาเลี้ยงบุตรซึ่งมารดาตายหรือไร้ความสามารถ
หรือพิการทุพพลภาพ และบุคคลที่จำเป็นต้องหาเลี้ยงพี่หรือน้องร่วมบิดามารดา
หรือร่วมแต่บิดาหรือมารดาซึ่งบิดามารดาตาย ทั้งนี้เมื่อบุตรหรือพี่หรือน้อง
นั้นหาเลี้ยงชีพไม่ได้ และไม่มีผู้อื่นเลี้ยงดู
(๓) บุคคลที่อยู่ในระหว่างการศึกษาตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ผู้อ้างสิทธิตาม (๑) หรือ (๒) แห่งมาตรานี้
ต้องร้องขอผ่อนผันต่อนายอำเภอท้องที่ก่อนวันตรวจเลือกเข้ากองประจำการไม่
น้อยกว่าสามสิบวัน เว้นแต่ในกรณีพิเศษซึ่งไม่ใช่ความผิดของผู้ร้อง
และผู้ร้องต้องร้องต่อคณะกรรมการตรวจเลือกในวันตรวจเลือกตามมาตรา ๓๐
อีกครั้งหนึ่ง นายอำเภอต้องสอบสวนหลักฐานไว้เสียก่อนวันตรวจเลือก
เพื่อคณะกรรมการตรวจเลือกจะได้ตัดสินได้ทันที การขอผ่อนผันตาม (๓)
ให้ปฏิบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ถ้าไม่สามารถจะผ่อนผันพร้อมกันทั้งสามประเภทได้
เพราะจะทำให้คนไม่พอจำนวนที่ฝ่ายทหารต้องการ ให้ผ่อนผันคนประเภทที่ ๑
และประเภทที่ ๒ รวมกันก่อน ถ้าคนยังเหลือจึงผ่อนผันคนประเภทที่ ๓
ถ้าจำนวนคนในประเภทใดจะผ่อนผันไม่ได้ทั้งหมดต้องให้คนประเภทนั้นจับสลาก
มาตรา
๓๐ ถ้าผู้ที่ถูกเรียกมาตรวจเลือกเห็นว่า
ตนควรจะได้รับการยกเว้นหรือผ่อนผัน
ต้องนำหลักฐานมาแสดงต่อคณะกรรมการตรวจเลือกก่อนจับสลาก
หรือก่อนกำหนดให้เข้ากองประจำการ ในกรณีที่ไม่มีการจับสลาก
มิฉะนั้นให้ถือว่าหมดสิทธิที่จะได้รับการยกเว้นหรือผ่อนผัน
มาตรา
๓๑ ในการตรวจเลือกคนเข้ากองประจำการนั้น
ถ้าผู้ที่ต้องเข้ากองประจำการเห็นว่า
คณะกรรมการตรวจเลือกตัดสินไม่ถูกหรือไม่ยุติธรรม
ก็ให้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการชั้นสูงได้
แต่ให้ส่งผู้นั้นเข้ากองประจำการก่อนจนกว่าจะได้รับคำตัดสินของคณะกรรมการ
ชั้นสูง
มาตรา
๓๒ ถ้าปรากฏว่าทหารกองเกินซึ่งมีอายุเกินยี่สิบเอ็ดปีบริบูรณ์
และยังไม่ถึงสามสิบปีบริบูรณ์ในปีที่จะเข้ารับราชการทหารกองประจำการ
ไปทำมาหาเลี้ยงชีพในท้องที่อำเภออื่น
และนายอำเภอท้องที่ที่เป็นภูมิลำเนาทหารได้ส่งหมายเรียกไปยังนายอำเภอท้อง
ที่ที่ผู้นั้นไปอยู่มอบแทนให้ เมื่อได้รับหมายเรียกแล้ว
แต่ไม่สามารถจะไปตามหมายนั้นได้ เพราะไม่มีค่าพาหนะหรือจะไปไม่ทัน
ผู้นั้นต้องรีบชี้แจงต่อนายอำเภอท้องที่ที่ไปอยู่
เมื่อนายอำเภอท้องที่นั้นสอบสวนได้ความจริงก็ให้เข้ารับการตรวจเลือกพร้อม
กับคนในอำเภอท้องที่ที่ไปอยู่
แต่ถ้าไม่สามารถส่งเข้ารับการตรวจเลือกในอำเภอท้องที่นั้นได้
ก็ให้นายอำเภอรีบจัดส่งผู้นั้นไปรับการตรวจเลือกยังอำเภอท้องที่ใกล้เคียง
ตามที่เห็นสมควร
ให้นายอำเภอท้องที่ที่รับเข้าตรวจเลือกแจ้งต่อนายอำเภอท้องที่ที่ออกหมายเรียก
มาตรา
๓๓ ทหารกองเกินที่หลีกเลี่ยงขัดขืนตามมาตรา ๒๗
ถ้าไม่ขัดต่อการเป็นทหารกองประจำการ
ก็ให้ส่งผู้นั้นเข้ารับราชการทหารกองประจำการในปีนั้นหรือปีถัดไปโดยไม่ให้
จับสลาก
มาตรา
๓๔ ทหารกองเกินที่ถูกเข้ากองประจำการผู้ใด
จักต้องเริ่มเข้ารับราชการทหารกองประจำการเมื่อใด
ให้นายอำเภอท้องที่ที่รับเข้าตรวจเลือกเป็นผู้กำหนด
และให้นายอำเภอออกหมายนัดเพื่อให้ทหารกองเกินผู้นั้นมา ณ
ที่อำเภอท้องที่ตามที่ได้กำหนดไว้นั้น เพื่อเข้ารับราชการทหารกองประจำการ
ถ้าทหารกองเกินผู้นั้นไม่มาตามนัด ให้ถือว่าหลีกเลี่ยงขัดขืน
มาตรา ๓๕ ทหารกองเกินที่ถูกเข้ากองประจำการ เมื่อเริ่มเข้ารับราชการทหารกองประจำการเมื่อใด ให้รีบขึ้นทะเบียนกองประจำการโดยไม่ชักช้า
ทหารกองประจำการต้องรับราชการประจำอยู่ในหน่วยทหารตามที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารจะกำหนดให้
มาตรา
๓๖ ทหารกองเกินหรือทหารกองหนุนมีหน้าที่เข้ารับราชการทหารในการเรียกพลเพื่อ
ตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อม และในการระดมพล
กระทรวง
กลาโหมมีอำนาจกำหนดให้ทำการเรียกพลเพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร
หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อมตามที่เห็นสมควร
ส่วนการระดมพลให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกา
การ
เรียกเข้ารับราชการทหารตามวรรคหนึ่ง
ให้กระทรวงกลาโหมเป็นผู้จัดเตรียมและอำนวยการ
และให้กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ดำเนินการเรียกและส่งทหารเข้ารับราชการตามความ
ประสงค์ของกระทรวงกลาโหม
การผ่อนผันไม่ต้องเรียกหรือไม่ต้องเข้ารับราชการทหารตามมาตรานี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๓๗ ทหารกองเกินและทหารกองหนุนที่ถูกเรียกเข้ารับราชการตามมาตรา ๓๖ และทหารประจำการ ต้องอยู่ในวินัยทหารเหมือนทหารกองประจำการ
การปลด
มาตรา
๓๘ การปลดทหารกองประจำการเป็นทหารกองหนุนชั้นที่ ๑ นั้น
ถ้ากระทรวงกลาโหมเห็นว่ามีเหตุจำเป็นจะเลื่อนกำหนดเวลาปลดไป
ก็ให้สั่งเลื่อนไปได้ตามความจำเป็น
มาตรา ๓๙ ทหารกองเกินเมื่อมีอายุครบกำหนดปลดแล้ว ให้ปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ ๒ ตามลำดับ คือ
อายุสามสิบปีบริบูรณ์ เป็น ทหารกองหนุนชั้นที่ ๒
อายุสี่สิบปีบริบูรณ์ เป็น ทหารกองหนุนชั้นที่ ๓
อายุสี่สิบหกปีบริบูรณ์ เป็น พ้นราชการทหารประเภทที่ ๒
มาตรา
๔๐ ทหารกองประจำการ ถ้าต้องจำขังหรือจำคุกครั้งเดียว หรือหลายครั้ง
เมื่อมีกำหนดวันที่จะต้องทัณฑ์หรือต้องโทษรวมได้ไม่น้อยกว่าหนึ่งปีก็ดี
หรือทหารกองประจำการผู้ใดซึ่งกระทรวงกลาโหมเห็นว่าจะกระทำให้เสื่อมเสียแก่
ราชการทหารด้วยประการใด ๆ ก็ดี จะปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ ๒ ก็ได้
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพร้อมด้วยสัสดีจังหวัดออกใบสำคัญให้แก่ทหารที่ถูกปลดนี้ไว้เป็นหลักฐาน
ใบ
สำคัญนี้ หากชำรุดหรือสูญหาย
ให้ผู้ถือแจ้งต่อนายอำเภอท้องที่เพื่อรับใหม่โดยเสียค่าธรรมเนียมฉบับละ
หนึ่งบาท แต่ถ้าการชำรุดหรือสูญหายนั้นเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย
ก็ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
มาตรา
๔๑ ทหารกองประจำการ ทหารกองเกิน หรือทหารกองหนุน
ซึ่งยังไม่ครบกำหนดปลดพ้นราชการทหาร ถ้าพิการทุพพลภาพ
หรือมีโรคซึ่งไม่สามารถจะรับราชการทหารได้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ก็ให้ปลดพ้นราชการทหารประเภทที่ ๑ หรือที่ ๒ แล้วแต่กรณี
ถ้าเป็นนายทหารสัญญาบัตรถูกถอดหรือออกจากยศ ก็ให้ปลดเป็นพ้นราชการทหารประเภทที่ ๒
ทั้งนี้ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพร้อมด้วยสัสดีจังหวัดออกหนังสือสำคัญหรือใบสำคัญให้แก่ทหารตามประเภทที่ถูกปลดไว้เป็นหลักฐาน
บทกำหนดโทษ
มาตรา
๔๒ หนังสือซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ให้ไว้แก่บุคคลใดถ้าชำรุดหรือสูญหายแล้ว
บุคคลนั้นไม่แจ้งด้วยตนเองต่อนายอำเภอท้องที่ เพื่อรับใหม่ตามความในมาตรา ๙
มาตรา ๑๖ มาตรา ๑๘ มาตรา ๑๙ หรือมาตรา ๔๐
ภายในกำหนดสามสิบวันนับตั้งแต่วันที่สามารถแจ้งได้
มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสิบสองบาท
มาตรา
๔๓ ทหารกองเกินหรือทหารกองหนุนผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๒ มาตรา ๑๒ ทวิ
หรือมาตรา ๑๕ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน
หรือปรับไม่เกินสองร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
บุคคล
ใดได้ลงบัญชีทหารกองเกินตามมาตรา ๑๖ แล้ว แต่ยังไม่เป็นทหารกองเกิน
ไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๒ หรือมาตรา ๑๒ ทวิ
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา
๔๔ บุคคลใดไม่มาลงบัญชีทหารกองเกินตามมาตรา ๑๖ หรือมาตรา ๑๘
หรือไม่มาลงบัญชีทหารกองเกินใหม่ตามมาตรา ๑๙
หรือไม่ยอมลงบัญชีทหารกองเกินตามมาตรา ๒๑
หรือไม่มารับหมายเรียกที่อำเภอตามมาตรา ๒๕
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามร้อยบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้า
ก่อนที่เจ้าหน้าที่ยกเรื่องขึ้นพิจารณาความผิด
บุคคลนั้นได้มาขอลงบัญชีทหารกองเกินหรือขอลงบัญชีทหารกองเกินใหม่
หรือมาขอรับหมายเรียกที่อำเภอด้วยตนเอง
หรือให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะและเชื่อถือได้มาแทนตน แล้วแต่กรณี
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา
๔๕ บุคคลใดหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนไม่มาให้คณะกรรมการตรวจเลือกทำการตรวจเลือก
เข้ารับราชการทหารกองประจำการตามหมายเรียกของนายอำเภอ
หรือมาแต่ไม่เข้ารับการตรวจเลือก หรือไม่อยู่จนกว่าการตรวจเลือกแล้วเสร็จ
หรือหลีกเลี่ยง หรือขัดขืนด้วยประการใด ๆ
เพื่อจะไม่ให้เข้ารับราชการทหารกองประจำการตามพระราชบัญญัตินี้
หรือบุคคลใดเข้ารับราชการทหารกองประจำการแทนผู้อื่น หรือเรียก
รับหรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่น
โดยสัญญาว่าจะช่วยเหลือผู้หนึ่งผู้ใดมิให้ต้องเข้ารับราชการทหารกองประจำการ
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี
มาตรา
๔๖ ทหารกองเกินหรือทหารกองหนุนผู้ใดหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนไม่เข้ารับราชการ
ทหารในการเรียกพลเพื่อฝึกวิชาทหาร หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อม
หรือในการระดมพลตามมาตรา ๓๖ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงสี่ปี
มาตรา
๔๗ ทหารกองเกินหรือทหารกองหนุนผู้ใดหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนไม่เข้ารับราชการ
ทหารในการเรียกพลเพื่อตรวจสอบตามมาตรา ๓๖ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน
หรือปรับไม่เกินสามร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา
๔๘ บุคคลใดทำร้ายร่างกายตนเอง
หรือให้ผู้อื่นทำเพื่อจะให้พ้นจากการรับราชการทหารตามพระราชบัญญัตินี้
มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไปจนถึงแปดปี
ผู้สมรู้เป็นใจในการทำร้ายร่างกายเพื่อความมุ่งหมายดังกล่าวนี้ มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนขึ้นไปจนถึงสี่ปี
มาตรา
๔๙ บุคคลใดใช้อุบายหลอกลวงให้เจ้าหน้าที่หลงเชื่อโดยเจตนาหลีกเลี่ยงให้พ้น
จากการเข้ารับราชการทหารตามพระราชบัญญัตินี้จนเป็นผลสำเร็จ
หรือยุยงเสี้ยมสอนจนเกิดความผิดตามมาตรานี้
มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๕๐ ตั้งแต่วันใช้พระราชบัญญัตินี้
ก. การลงบัญชีทหารกองเกินที่อำเภอก่อนวันใช้พระราชบัญญัตินี้เป็นอันใช้ได้
ข.
หมายเรียกคนเข้ารับราชการในกองประจำการ
ซึ่งได้ออกไว้ก่อนวันใช้พระราชบัญญัตินี้ เป็นอันใช้ได้
เว้นแต่บุคคลซึ่งได้รับการยกเว้นตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ต้องปฏิบัติตามหมาย
เรียกนั้น
ค. ผู้ที่ยังอยู่ในกองประจำการตามพระราชบัญญัติเดิมต้องรับราชการทหารต่อไปจนกว่าจะครบกำหนดปลด
ง.
ผู้ที่อยู่ในกองหนุนชั้นที่ ๑ ชั้นที่ ๒ หรือชั้นที่ ๓
ตามพระราชบัญญัติเดิมต้องอยู่ในกองหนุนชั้นนั้น ๆ
ต่อไปจนกว่าจะครบกำหนดตามพระราชบัญญัตินี้
จ. ผู้ที่ถูกปลดพ้นราชการทหารตามพระราชบัญญัติเดิม ให้เป็นอันพ้นตลอดไป
ฉ. ผู้ที่เป็นทหารกองเกินอยู่ตามพระราชบัญญัติเดิมให้เป็นทหารกองเกินตามพระราชบัญญัตินี้
การรักษาพระราชบัญญัติ
มาตรา
๕๑ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงร่วมกันเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ
นี้
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรี
หมาย
เหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
การจัดกองทัพประจำการตามแผนการทหารปัจจุบัน
ทำให้วิธีการเรียกบุคคลเข้ารับราชการทหารในกองประจำการต้องเปลี่ยนแปลงตามไป
เป็นอันมาก จึงจำต้องปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารเสียใหม่
เพื่อให้เป็นการเหมาะสม
พระราชบัญญัติรับราชการทหาร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๙๘
หมาย
เหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
เนื่องจากสถานการณ์ในขณะนี้มีความจำเป็นที่จะต้องให้ชายที่มีสัญชาติไทยได้
เข้ารับราชการทหารเพื่อป้องกันประเทศชาติ
โดยเปลี่ยนแปลงประเภทบุคคลที่ควรยกเว้นให้น้อยลง
จึงจำเป็นต้องแก้ไขพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗
เพื่อให้สอดคล้องกับความจำเป็นดังกล่าวแล้ว
พระราชบัญญัติรับราชการทหาร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๐๗
หมาย
เหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
เนื่องจากกระทรวงกลาโหมได้รวมโรงเรียนเตรียมทหารทั้ง ๓
กองทัพเข้าเป็นโรงเรียนเดียวกัน เรียกว่าโรงเรียนเตรียมทหาร
และได้มีกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินให้ยุบเลิกภาค
เป็นเหตุให้ผู้มีอำนาจตั้งคณะกรรมการตรวจเลือกเปลี่ยนแปลงไป
กับเห็นควรยกเว้นการเรียกเข้ากองประจำการในยามปกติแก่นักศึกษาของศูนย์
กลางอบรมการศึกษาผู้ใหญ่ของกระทรวงศึกษาธิการ
และนักศึกษาของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนของกระทรวงคมนาคมด้วย จึงสมควรแก้ไข
เพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารให้สอดคล้องและเหมาะสมยิ่งขึ้น
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๒๖ ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๐๐ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕
พระราชบัญญัติรับราชการทหาร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๑๖
หมาย
เหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
เนื่องด้วยบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารบางมาตรายังไม่เหมาะสม
สมควรแก้ไขเพิ่มเติมให้เหมาะสม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น
http://www.thailandlawyercenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538974876&Ntype=19
หลักฐานใบผ่อนผัน ที่อภิสิทธิ์ใช้ยืนยันสิทธิว่าได้รับการผ่อนผันถูกต้อง
แต่ไม่ถูกกฏหมายเพราะคนให้สิทธิผ่อนผันคือนายอำเภอไม่ใช่สัสดี
มาตรา
๒๙ เมื่อได้คัดคนที่ยกเว้นด้วยเหตุต่าง ๆ ออกแล้ว
ถ้ามีจำนวนทหารกองเกินที่จะรับราชการเป็นทหารกองประจำการได้มากกว่าจำนวนที่
ฝ่ายทหารต้องการ ให้ผ่อนผันแก่ประเภทบุคคล ดังต่อไปนี้
(๑)
บุคคลที่จำเป็นต้องหาเลี้ยงบิดาหรือมารดาซึ่งไร้ความสามารถ
หรือพิการทุพพลภาพ หรือชราจนหาเลี้ยงชีพไม่ได้และไม่มีผู้อื่นเลี้ยงดู
แต่ถ้ามีบุตรหลายคนจะต้องเข้ากองประจำการพร้อมกัน
คงผ่อนผันให้คนเดียวตามแต่บิดาหรือมารดาจะเลือก
ถ้าบิดาหรือมารดาไม่สามารถจะเลือกได้ก็ให้คณะกรรมการตรวจเลือกพิจารณา
ผ่อนผันให้ หนึ่งคน
(๒)
บุคคลที่จำเป็นต้องหาเลี้ยงบุตรซึ่งมารดาตายหรือไร้ความสามารถ
หรือพิการทุพพลภาพ และบุคคลที่จำเป็นต้องหาเลี้ยงพี่หรือน้องร่วมบิดามารดา
หรือร่วมแต่บิดาหรือมารดาซึ่งบิดามารดาตาย ทั้งนี้เมื่อบุตรหรือพี่หรือน้อง
นั้นหาเลี้ยงชีพไม่ได้ และไม่มีผู้อื่นเลี้ยงดู
(๓) บุคคลที่อยู่ในระหว่างการศึกษาตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ผู้อ้างสิทธิตาม (๑) หรือ (๒) แห่งมาตรานี้
ต้องร้องขอผ่อนผันต่อนายอำเภอท้องที่ก่อนวันตรวจเลือกเข้ากองประจำการไม่
น้อยกว่าสามสิบวัน เว้นแต่ในกรณีพิเศษซึ่งไม่ใช่ความผิดของผู้ร้อง
และผู้ร้องต้องร้องต่อคณะกรรมการตรวจเลือกในวันตรวจเลือกตามมาตรา ๓๐
อีกครั้งหนึ่ง นายอำเภอต้องสอบสวนหลักฐานไว้เสียก่อนวันตรวจเลือก
เพื่อคณะกรรมการตรวจเลือกจะได้ตัดสินได้ทันที การขอผ่อนผันตาม (๓)
ให้ปฏิบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ถ้าไม่สามารถจะผ่อนผันพร้อมกันทั้งสามประเภทได้
เพราะจะทำให้คนไม่พอจำนวนที่ฝ่ายทหารต้องการ ให้ผ่อนผันคนประเภทที่ ๑
และประเภทที่ ๒ รวมกันก่อน ถ้าคนยังเหลือจึงผ่อนผันคนประเภทที่ ๓
ถ้าจำนวนคนในประเภทใดจะผ่อนผันไม่ได้ทั้งหมดต้องให้คนประเภทนั้นจับสลาก
http://news.voicetv.co.th/thailand/47246.html
------------------------------------------
ข้อมูลเรื่องใบ สด. 43
คนที่เป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา
คนธรรมดาไม่ได้เหมือนอภิสิทธิ์มักจะเลือกวิธีนี้
เพื่อผ่อนผันการเกณฑ์ทหาร
ถ้าได้ใบรับรองไม่ถูกต้องยังมีโทษถึงติดคุก
+++++++++++++++
หลักฐานสำคัญ (แบบ สด. 43)
- ใบรับรองผลการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหาร (แบบ สด. 43) หรือที่เรียกว่าใบผ่านการเกณฑ์ทหาร
เป็นหลักฐานสำคัญที่ท่านจะต้องใช้แสดงต่อหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ และบริษัท ห้างร้านเอกชน เพื่อประโยชน์ในการสมัครเข้าทำงาน หรือขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ เมื่อบัตรฯเดิมหมดอายุ
ข้อสังเกต ใบรับรองผลฯ ที่ถูกต้องท่านจะต้องได้รับจากประธานกรรมการตรวจเลือกฯ ในวันตรวจเลือกฯ
เท่านั้น หากท่านได้รับจากบุคคลอื่นหรือวันอื่นหรือได้รับโดยมิได้ไปรับการตรวจเลือกฯ แสดงว่าเป็นใบรับรองผลฯปลอม ซึ่งท่านจะมีความผิดระวางโทษถึงจำคุก
ระวัง อย่าหลงเชื่อการแอบอ้าง หรือหลอกลวงของเจ้าหน้าที่หรือบุคคลใดๆที่อ้างว่าจะช่วยเหลือให้ท่านพ้นจากการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารได้ เพราะนอกจากท่านจะได้รับใบรับรองผลฯ ปลอมแล้ว ท่านจะมีความผิด และต้องถูกดำเนินคดี ตามกฎหมาย
------------------------------------------
FfF