บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


22 พฤษภาคม 2552

<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ฆ่าตัดตอน 2,500 ศพ >>>

นี่ก็เป็นเรื่องกล่าวหากันลอยๆ อีกเรื่องหนึ่ง
โดยนำกรณีที่มีปัญหาไม่กี่ราย
มากล่าวหาทั้งโครงการว่าไม่ดี
เรื่องนี้เกิดจากการประกาศทำสงครามกับยาเสพติด
ตอนต้นรัฐบาลทักษิณ
ซึ่งทักษิณก็มีคำสั่งหลายคำสั่ง
โดยเฉพาะ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 119/2544
ซึ่งกำหนดมาตราการทำสงครามกับยาเสพติด
และคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน
ซึ่งก็มีบิ๊กจิ๋วมาเป็นหัวหน้าคณะทำงานเรื่องนี้
ซึ่งผลที่ออกมาทำให้ยาบ้าราคาแพงขึ้น
เพราะหาซื้อยากเลี่ยงมาก
ผิดกับสมัยก่อนหาง่ายพอๆ กับซื้อลูกอม
สรุปเป็นรัฐบาลแรกที่ปราบยาเสพติดได้จริงจัง
แต่ก็มีปัญหาอย่างที่เขากล่าวหา
แต่ลักษณะกล่าวหาเป็นแบบมั่วๆ
เช่นกล่าวหาว่ารัฐบาลฆ่าตัดตอนไป 2,500 ศพ
ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเอาอะไรมาแยกแยะว่า
ศพไหนใครทำระหว่างรัฐบาลกับพ่อค้ารายใหญ่
ที่ต้องการตัดตอนไม่ให้สาวไปถึงตัว
เพราะรัฐเล่นแรงและเอาจริง

รัฐบาลสุรยุทธ์ ก็พยายามรื้อเรื่องนี้
เพื่อต้องการเอาผิดทักษิณให้ได้
แต่สุดท้ายก็เอาผิดไม่ได้
ในเมื่อคำสั่งต่างๆ ที่ออกไป
ที่ผมเอามาให้ดูและตาม Link ที่ให้ไปอ่านต่อ
ก็จะพบว่าคำสั่งสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์
ก็ไม่เห็นมีอะไรแตกต่างจากสมัยทักษิณ
เพราะให้ปราบปรามเด็ดขาดกับผู้ค้า
ตามกฏหมายให้ถึงที่สุด
แต่ผู้เสพรัฐบาลทักษิณกำหนดให้เป็นผู้ป่วย
แล้วมีนโยบายส่งไปบำบัด
ซึ่งทำให้หลายหมื่นครอบครัวได้ลูกกลับคืนมา
หลังจากที่ติดยาจนเสียผู้เสียคน

ผมพยายามไปตามหาสถิติต่างๆ
เพื่อจะมาเทียบดูว่า
พวกที่มั่วตัวเลข 2,500 ศพอะไร
เอาข้อมูลมาจากไหน
ในเมื่อตามสถิติของ สนง.ตำรวจแห่งชาติ
ก็มีคดีฆ่ากันตายเยอะเป็นปกติทุกปี
ไม่เห็นมีปีไหนไม่มีการฆ่ากันตาย
โดยเฉพาะปี 46 ที่มีปัญหา
ลองไปดูก็ดูไม่ออกว่า
ไปรวมตัวเลขมาจากไหน
บางพวกก็ว่าแค่พันกว่าศพ
บางพวกก็ว่า 2.500 ศพ
เอามาจากไหนกันทำไมไม่เห็นตรงกัน
แถมรู้ได้ยังไงว่าศพที่ว่า
เป็นการฆ่าโดยใคร
แถมยังมั่วเอาตัวเลขที่ถูกฆ่าคดีอื่นๆ ไปรวม
ว่าเป็นพวกถูกฆ่าตัดตอนด้วย
ผมว่าพวกที่รู้ขนาดนี้
แสดงว่าต้องพัวพันรู้ข้อมูลกับพวกพ่อค้า
ขายยาเสพติดรายใหญ่
ไม่งั้นไม่กล้าชี้หรอกว่า
คนนี้เกี่ยวคนนั้นไม่เกี่ยว
ถามว่ามีไหมที่อาจโดนเพราะฝีมือเจ้าหน้าที่
ผมตอบตรงๆ ว่ามี
เพราะอาจจะเอาผลงานและเงินรางวัลนำจับอะไร
แต่ก็ว่าไปเป็นรายๆ ไม่ใช่กล่าวหาทั้งโครงการ
แล้วทีรัฐบาลสุรยุทธ์ไม่เห็นกระตือรือร้นทำอะไร
เกี่ยวกับปราบปรามยาเสพติด
ทั้งๆ ที่เป็นพวกมีอาวุธ
สามารถมายึดอำนาจกันเป็นว่าเล่นได้
ทำไมถึงไม่เห็นทำอะไร
แล้วแบบนี้ดีไหม
ส่วนรัฐบาลนี้ไปดูคำสั่ง
ก็ทำขึงขังจะปราบปรามยาเสพติด
ถ้าเกิดมีกรณีเจ้าหน้าที่ไปยิงคนขายยาบ้าตายคนหนึ่ง
จะมากล่าวหานายอภิสิทธิ์และรัฐบาลนี้
เหมือนที่ทำกล่าวหาทักษิณได้ไหมว่า
อภิสิทธ์สั่งฆ่าตัดตอน
ถามจริงๆ ว่าทั้งอภิสิทธิ์และพรรคพวกกองเชียร์ ปชป.
รับได้ไหมถ้าเกิดกรณีนี้ เป็นธรรมไหม
สรุปก็แค่เรื่องการเมือง
เพื่อดิสเครดิตทักษิณไปวันๆ อีกเรื่องหนึ่งเท่านั้นเอง
เดี๋ยวก็เงียบไปแล้วนึกอะไรไม่ออกก็งัดมาเล่นอีก
โดยอาจทำให้คดีคืบหน้าแล้วก็เงียบ
ทักษิณออกมาเคลื่อนอีกก็เอามาให้เป็นข่าวอีก
ทั้งๆ ที่ตั้งคณะกรรมการหาเรื่องกันเต็มที่
ยังหาเรื่องไม่ได้
อนาคตอาจมีมาร์คโดนกล่าวเป็นเพื่อนทักษิณ
ถ้าใช้มาตรฐานเดียวกับที่ใช้กล่าวหาทักษิณกรณีนี้

โดย มาหาอะไร

----------------------------------------------

สถิติคดีอาญา ที่น่าสนใจ 5 ประเภท ทั่วราชอาณาจักร
ตั้งแต่ ปี 2543 - 2548
ที่มา : http://moc.moj.go.th/MocMoj/PlanMOJ/PlanInfo/PlanAnnual/1.pdf









แบบแยกละเอียดเทียบให้ดูกับปี 52 ไตรมาสแรกของรัฐบาลอภิสิทธิ์
ที่มา : http://statistic.ftp.police.go.th/dn_main.htm
















































ข้อมูลการจับกุมตามประเภทยาเสพติด
ที่มา : http://moc.moj.go.th/MocMoj/PlanMOJ/PlanInfo/PlanAnnual/1.pdf














ข้อมูลราคายาบ้าก่อนทำสงครามกับยาเสพติด
จากราคาเม็ดละ 15-35 บาท ขึ้นไประดับ หลายร้อยบาท
ที่มา : http://en.oncb.go.th/document/2003Annual.zip




















----------------------------------------------

คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องแนวทางการใช้พลังแผ่นดินเพื่อเอาชนะยาเสพติด
มติคณะรัฐมนตรี -- อังคารที่ 12 มิถุนายน 2001 16:41:51 น.

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีรายงาน ว่า นายกรัฐมนตรีได้ลงนามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 119/2544 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2544 เรื่องแนวทางการใช้พลังแผ่นดินเพื่อเอาชนะยาเสพติด และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 120/2544 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2544 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการตามแนวทางการใช้พลังแผ่นดินเพื่อเอาชนะ ปัญหายาเสพติด สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แนวทางการใช้พลังแผ่นดินเพื่อเอาชนะยาเสพติด ซึ่งมีแนวทางดังนี้
1) การปลุกพลังแผ่นดินและการป้องกัน โดยกระตุ้น และปลุกจิตสำนึกของปวงชนในชาติให้มีความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติดที่จะมีต่อประเทศชาติ และบังเกิดความมุ่งมั่นที่จะร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหา โดยตระหนักว่าการที่จะเอาชนะยาเสพติดได้ มิใช่หน้าที่ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง แต่ทุกกององคาพยพในสังคมจะร่วมกันผนึกกำลังเป็นพลังของแผ่นดิน เข้าต่อสู้และเอาชนะยาเสพติดให้ได้โดยเร็ว และใช้มาตรการป้องกันนำการปราบปราม ด้วยการดูแล และสร้างภูมิคุ้มกันแก่ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็ก เยาวชน และกลุ่มเสี่ยงต่าง ๆ ตลอดจนเสริมสร้างความเข้มแข็งและส่งเสริมคุณธรรมให้แก่สถาบันทางสังคมต่าง ๆ โดยเริ่มต้นจากสถาบันครอบครัว รวมทั้งเสริมสร้างมาตรการการป้องกันและความมั่นคงให้แก่หมู่บ้านตามแนวชาย แดน
2) การควบคุมตัวยาและสารเคมี ตรวจสอบ ควบคุม และสกัดกั้น สารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ พร้อมทั้งอุปกรณ์ในการผลิตยาเสพติดซึ่งจะออกไปสู่แหล่งผลิตที่สามารถนำไป ใช้ในการผลิตยาเสพติดทั้งภายในและภายนอกประเทศ รวมทั้งควบคุมตัวยาหรือสารอื่นที่อาจสามารถนำมาใช้ทดแทนยาเสพติดได้
3) การปราบปราม พัฒนาบุคลากรทั้งทางด้านความรู้ จิตสำนึกและพลังศรัทธา ควบคู่กับการพัฒนาเทคโนโลยี วิธีการ และการสนับสนุนต่างๆ ในการสืบสวนปราบปราม ตลอดจนนำมาตรการทางกฎหมายต่าง ๆ ที่มีอยู่มาใช้ลิดรอน และทำลายเครือข่ายการผลิต นายทุน ผู้ค้ารายใหญ่ ผู้มีอิทธิพล ผู้สมคบ ผู้ขน ผู้ค้ารายกลางและรายย่อย ตลอดจนเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดอย่างเฉียบขาด
4) การบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ ทำลายโครงสร้างของปัญหายาเสพติด โดยตัดวงจรของยาเสพติดด้วยการแยกผู้เสพติดออกมาบำบัดรักษาและฟื้นฟู สมรรถภาพ ทั้งโดยระบบสมัครใจและระบบบังคับ ตลอดจนจัดให้มีระบบการติดตาม ช่วยเหลือ และให้กำลังใจแก่ผู้ที่ผ่านการบำบัดฟื้นฟูเพื่อสามารถกลับคืนสู่ครอบครัว ชุมชน และดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข ควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพและการใช้ทรัพยากรของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งของทางราชการ เอกชน และประชาชน เพื่อให้ผู้เสพติดมีโอกาสได้รับการบำบัดรักษาฟื้นฟูที่มีประสิทธิภาพและ คุณภาพอย่างทั่วถึง
5) การข่าว จัดและพัฒนางานด้านการข่าว การประสานการข่าว และการปฏิบัติการด้านการข่าวของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ให้เป็นระบบ สามารถสนับสนุนการปราบปราม โดยเฉพาะการปราบปรามการลักลอบนำเข้าหรือส่งออกสารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์ การปราบปรามเครือข่าย ผู้ผลิต นายทุน ผู้มีอิทธิพล ผู้สนับสนุน ผู้ค้ารายสำคัญ และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติด
6) การอำนวยการและประสานงาน พัฒนางานด้านการอำนวยการเพื่อให้เกิดประสิทธภาพสูงสุดในการปฏิบัติงานร่วม กันของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมตลอดทั้งทุกส่วนของสังคมไทย โดยขจัดปัญหาอุปสรรคและข้อขัดข้องต่าง ๆ ให้หมดสิ้นไป (โดยทลายกำแพงของส่วนราชการต่าง ๆ เพื่อเป็นการเปิดกว้างให้มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิด) กำหนดลักษณะพื้นที่ที่จะเข้าดำเนินการ โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมต่าง ๆ อันจะก่อให้เกิดสัมฤทธิ์ผลได้ตามวัตถุประสงค์ต่อไป
7) การปรับปรุงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม พิจารณาปรับปรุง แก้ไข กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และกระบวนการยุติธรรม ในคดียาเสพติด ให้เอื้ออำนวยต่อการแก้ไขปัญหา ตลอดจนเสริมสร้างความเข้มแข็งของกระบวนการยุติธรรม และขจัดปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินการกับผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรม เป็นไปด้วยความเด็ดขาด รวดเร็ว และเป็นธรรม ตลอดทั้งเอื้ออำนวยตามนโยบายการให้ผู้เสพเป็นผู้ป่วย เป็นต้น
8) ความร่วมมือระหว่างประเทศ ดำเนินการด้านการต่างประเทศ เพื่อผลักดันและกดดันให้เกิดความร่วมมือในด้านต่าง ๆ อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศโดยเฉพาะ และของภูมิภาคและประชาคมโลกโดยรวม โดยเฉพาะการแสวงหาความร่วมมือและความช่วยเหลือต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศไทยและ ประเทศเพื่อนบ้าน
9) การวิจัย พัฒนา และติดตามประเมินผล จัดและสนับสนุนให้มีการศึกษา วิจัย และติดตามประเมินผล แผนงาน โครงการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างเป็นวิชาการ เพื่อพัฒนาแนวทางในการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างมีหลักการและอยู่บนพื้นฐาน ของข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง ซึ่งได้รับการวิเคราะห์อย่างเป็นวิทยาศาสตร์และเป็นระบบ
เพื่อให้การดำเนินงานตามแนวทางดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ให้กำหนดการดำเนินงาน ดังนี้
1. ให้ทุกส่วนราชการ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ ถือว่าการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นภารกิจเร่งด่วน และเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบที่จะต้องร่วมกันแก้ปัญหาให้บรรลุผล
2. ให้สำนักงบประมาณจัดระบบและจัดเตรียมงบประมาณรองรับการดำเนินงานและการปฏิบัติตามคำสั่งนี้
3. ในระหว่างที่ยังมิได้มีการกำหนดบทบาท อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในระดับ พื้นที่ ให้ศูนย์ป้องกันและปราบปรามยาเสพติดกรุงเทพมหานคร และจังหวัด (ศ.ปส.ก./จ.) และศูนย์ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เขตและอำเภอ (ศ.ปส.ข./อ.) ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
2. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการตามแนวทางการใช้พลังแผ่นดินเพื่อเอาชนะ ปัญหายาเสพติด ซึ่งมีคณะกรรมการฯ รวม 26 คน โดยมี นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นรองประธานกรรมการ คณะกรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (พลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงงานและสวัสดิการสังคม รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายสุวรรณ วลัยเสถียร) ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อัยการสูงสุด เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ผู้แทนสถาบันองค์กรเอกชน (ที่ประธานกรรมการเห็นสมควร) ผู้ทรงคุณวุฒิ (ที่ประธานกรรมการเห็นสมควร) และเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เป็นกรรมการและเลขานุการ
ให้คณะกรรมการดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1) อำนวยการ สั่งการ ประสานงาน ควบคุม กำกับดูแล และตรวจสอบติดตามการปฏิบัติงานของส่วนราชการ ตลอดจนหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินและแนวทางในการเอาชนะปัญหา ยาเสพติด
2) กำหนดแผนปฏิบัติการเพื่อเอาชนะปัญหายาเสพติดให้เป็นไปอย่างสอดคล้องกับสถานการณ์
3) การปรับปรุงประสิทธิภาพบุคลากร เพื่อให้การดำเนินงานแก้ไขปัญหายาเสพติดบรรลุผล โดยเสนอความเห็นต่อนายกรัฐมนตรีในเรื่องต่อไปนี้
(ก) การโยกย้ายข้าราชการ พนักงานองค์กรของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ที่ไม่เหมาะสมกับพื้นที่
(ข) การให้ความดีความชอบเป็นกรณีพิเศษ สำหรับข้าราชการและประชาชน ผู้ปฏิบัติหน้าที่ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
(ค) การปกป้องคุ้มครองข้าราชการและประชาชนผู้ปฏิบัติหน้าที่ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
(ง) การสรรหาข้าราชการที่ดี มีความสามารถ ไปปฏิบัติหน้าที่ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
4) ให้มีอำนาจในการแต่งตั้งหรือเสนอให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน คณะที่ปรึกษา เพื่อรับผิดชอบดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นการเฉพาะเรื่อง หรือเฉพาะพื้นที่ และให้คณะที่แต่งตั้งดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายอย่างเคร่งครัด และรวดเร็ว
5) ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 มิ.ย.44--

http://www.ryt9.com/s/cabt/240808/

สนใจคำสั่งเกี่ยวกับการทำสงครามกับยาเสพติดสมัยรัฐบาลทักษิณ
อ่านเพิ่มเติมจากคำสั่งเหล่านี้

คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 228/2544
คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 29/2546
คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 30/2546
คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 31/2546
ที่นี่ http://www.nccd.go.th/index.php?mod=content_list&cate=273

------------------------------------------

วันพุธ, มกราคม 16, 2008


คตน.สรุปไร้หลักฐานฟัน'ทักษิณ' สั่งฆ่าตัดตอนปี46

คตน. ไม่สามารถสรุปได้ว่า 'ทักษิณ' มีนโยบายให้ฆ่าตัดตอน 'ผู้มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องยาเสพติด' แต่เสนอให้สอบเพิ่มเติมว่ากำหนดนโยบายมีเจตนาให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต เป็นความผิดทางอาญาระหว่างประเทศหรือไม่
รายงาน ข่าวจากกระทรวงยุติธรรมแจ้งว่า คณะกรรมการอิสระเพื่อตรวจสอบ ศึกษา และวิเคราะห์ การกำหนด นโยบายปราบปรามยาเสพติดให้โทษและการนำเอานโยบายไปปฏิบัติจนเกิดความเสียหาย ต่อชีวิต ร่างกาย ชื่อเสียง และทรัพย์สินของประชาชน (คตน.) ได้สรุปผลสอบสวนข้อเท็จจริงเสนอ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี พิจารณาแล้ว โดย คตน.ไม่สามารถสรุปได้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หรือรัฐบาลในขณะนั้นมีนโยบายให้ ้ฆ่าตัดตอนผู้ที่มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติดจริงหรือไม่ เพียงแต่เสนอให้สอบเพิ่มเติมว่าการกำหนดนโยบายต่างๆ มีเจตนาให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต ซึ่งเป็นองค์ประกอบความผิดทางอาญาระหว่างประเทศหรือไม่ อีกส่วนเป็นรายงานจำนวนผู้เสียชีวิตภายใต้นโยบายปราบปรามยาเสพติดในขณะนั้น
ข่าว แจ้งว่า ผลสรุปพบว่า ระหว่างช่วงประกาศสงครามยาเสพติดเดือนกุมภาพันธ์-เดือนเมษายน 2546 มีคดีฆาตกรรม 2,559 คดี ผู้เสียชีวิต 2,819 คน เป็นผู้เสียชีวิตที่มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติด 1,370 คน ผู้ตายไม่มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติด 878 คน มีผู้เสียชีวิตจากคดีฆาตกรรมที่ไม่ทราบสาเหตุการตาย 571 คน คดีวิสามัญฆาตกรรมมีผู้เสียชีวิต 54 คน ผู้ตายมีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติด 41 คน ไม่มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติด 2 คน คดีวิสามัญฆาตกรรมไม่ทราบสาเหตุการตาย 11 คน เมื่อเทียบกับคดีฆาตกรรมในช่วง 2 ปีก่อนและหลังประกาศ นโยบายปราบปรามยาเสพติด พบว่ากุมภาพันธ์-เมษายน 2544, 2545 และ 2547, 2548 พบว่า มีคดีฆาตกรรมเพียงเดือนละ 454 คดี หรือ 33.33% ต่อเดือน แต่ช่วงประกาศสงครามยาเสพติดมีคดีฆาตกรรมเฉลี่ยสูง ถึง เดือนละ 853 คดี หรือเพิ่มขึ้น 87.98% ต่อเดือน
รายงาน คตน.ยังมีความเห็นอีกว่า ในกรณีคดีฆาตกรรมโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรม หากถือเป็นการกระทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมจนพิสูจน์ได้ว่าผู้ตายเป็นใคร หรือเจ้าหน้าที่รัฐใช้วิธีการไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร และให้ตรวจสอบเพิ่มเติมว่าการกำหนดนโยบายต่างๆ มีเจตนาให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตซึ่งเป็นองค์ประกอบภายในของความผิดทาง อาญา ระหว่างประเทศฐานก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติหรือไม่