วิธีเผยแพร่ศาสนาสมัยก่อน
เขามุ่งไปที่เจ้าครองนครนั้นๆ
ถ้าเมื่อไหร่เขาเปลี่ยนใจเจ้าครองนครนั้นๆ ได้แล้ว
เมืองนั้นแทบทั้งเมือง
จะเปลี่ยนศาสนาตามเจ้าครองนคร
เพราะว่าเจ้าครองนคร
สามารถออกกฏหมายเอื้อ
พวกที่ยอมนับถือศาสนานั้นตาม
หรือทำลายกลั่นแกล้ง
พวกไม่ยอมเปลี่ยนศาสนาตามได้ทั้งนั้น
ไปดูประวัติศาสตร์เก่าๆ จะเห็นว่ามาแนวนี้ทั้งนั้น
กรณีใช้กำลังยึดแล้วบังคับให้เปลี่ยนก็มี
แต่ต้องมีกำลังที่เก่งกว่าและลงทุนมากกว่า
ถึงจะทำได้สำเร็จ
ไม่ใช่แค่มีคนเยอะแต่อาวุธด้อยกว่า
แล้วฮึกเหิมจะยกทัพไปยึดเมืองไหน
อาจมีโอกาสจะถูกยิงทิ้งเป็นผักเป็นปลาได้ง่ายๆ
แต่การเปลี่ยนใจเจ้าเมืองไม่ใช่เรื่องง่าย
แต่บางทีอาจมีเรื่องโชคชะตาฟ้าลิขิตเข้ามาเกี่ยวข้อง
เช่น ลูกหลานเจ้าเมืองป่วยแล้วรักษาไม่หาย
แล้วมีคนรักษาหายแต่เป็นคนนับถือคนละศาสนา
ก็อาจทำให้มีความเลื่อมใสส่วนตัวได้
อีกกรณีหนึ่งอันนี้จากหนังเรื่องแดจังกึม
จะเห็นว่าแดจังกึมโดนกล่าวหา
จนถูกเนรเทศไปอยู่เกาะร้าง
แต่สุดท้ายเธอก็ขวนขวายกลับเข้ามา
ในอีกรูปแบบหนึ่ง
จากคนทำอาหารกลายมาเป็นหมอ
สุดท้ายสามารถล้างมลทินได้เหมือนกัน
อันที่จริงมันไม่สูตรสำเร็จหรอก
ว่าจะทำยังไงที่จะทำให้เจ้าเมืองนั้นๆ
ยอมเปลี่ยนใจ ยอมให้อภัย
บางครั้งอาจเป็นในรูป
อีกฝ่ายมีอำนาจต่อรองสูงขึ้น
ก็อาจยอมอ่อนข้อลงบ้างก็ได้
เพราะการดันทุรังจนบ้านเมืองพัง
คนที่อยู่ไม่ได้ก็คือเจ้าเมือง
เพราะถ้าฐานรากสั่นคลอนแล้ว
หอคอยก็อาจล้มลงมาได้เหมือนกัน
ขณะที่กำลังเขียนเรื่องนี้
ผมเห็นฟ้าฝนแถวบ้านผม
ตกลงมาอย่างไม่ลืมหูลืมตา
ถ้าไปตกที่อื่นจนไร่นาเขาเสียหาย
หรือจนเขาทำมาหากินกันไม่ได้
ชาวบ้านเขาก็คงไม่พอใจฟ้าฝนนั้นได้เหมือนกัน
ซึ่งจะไปโทษใครก็ไม่ได้
นอกจากบอกว่า
ฟ้าฝนนั้นทำตัวเอง
เที่ยวตกลงมา
แบบไม่สนใจชาวบ้านชาวช่อง
ว่าเขาจะคิดยังไง
ก็เลยต้องโดนบ่นโดนด่าเป็นธรรมดา
เปรียบเหมือนเจ้าเมืองดื้อรั้น
จนบ้านเมืองพัง
จนตัวเองอยู่ไม่ได้ในภายหลัง
ก็คงไปโทษใครไม่ได้อีกเหมือนกัน
นอกจากโทษตัวเอง
อันนี้จะเห็นได้จากประวัติศาสตร์ในอดีตที่ผ่านมา
โดย มาหาอะไร
บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.