บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


22 มิถุนายน 2552

<<< อิหร่านกับไทย ใครลอกใคร >>>

ใกล้ถึงจุดไคล้แม็กซ์เต็มทีแล้ว
สำหรับเหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศอิหร่านระยะนี้
ผมเดาว่าตอนจบก็คงเหมือนไทยในช่วงนี้
คือเหตุการณ์อาจจะค่อยๆ ซาลงไป
แต่คุกรุ่นอยู่ข้างใน
รอวันปะทุขึ้นมาอีกครั้ง
จากข่าวคราวที่ลำดับเหตุการณ์ช่วงนี้
พอจะเห็นภาพคร่าวๆ ดังนี้
คือผู้นำสูงสุดซึ่งใหญ่กว่าตำแหน่งประธานาธิบดี
ที่กำลังมีปัญหาเรื่องผลการเลือกตั้งอยู่นี้
หนุนหลังผู้นำคนปัจจุบัน
ในขณะผู้ท้าชิงก็มีคนหนุนหลังจำนวนมากเหมือนกัน
จะว่าไปแล้วน่าจะเป็นกลุ่มหัวก้าวหน้า
ส่วนกลุ่มแรกน่าจะเป็นกลุ่มอนุรักษ์นิยม
แต่ดูจากผลเลือกตั้ง
ที่มีข่าวคล้ายๆ บ้านเรา
ประเภทมีบัตรเกินกว่าคนมาใช้สิทธิอะไรพวกนี้
ฝ่ายผู้ท้าชิงตอนนี้
มีคนหนุนเยอะมากพอสมควร
เมื่อเทียบกับรูปแบบการปกครอง
ที่มีการกุมอำนาจแทบทั้งหมดโดยผู้นำสูงสุด
นี่แหละที่จะทำให้ปัญหายืดเยื้อไปอีกนาน
คล้ายๆ ในไทยเวลานี้
และวิธีการที่ใช้
ก็สลายม็อบกันรุนแรง มีข่าวคนตาย และมีการปิดกั้นข่าวสาร
อันนี้อาจลอกไทยเมื่อไม่นานก็ได้
แต่จริงๆ แล้วจะว่าเป็นธรรมชาติของคนมีอำนาจ
มีกองทัพอยู่ในมือก็ว่าได้
คือคิดว่าใช้กำลังทหารปราบปรามแล้ว
พอไม่มีคนมาประท้วงก็คิดว่าสงบลงแล้ว
แต่อันที่จริงเขาประท้วงในใจ
หรือจะรวมกลุ่มมาประท้วงต่อในภายหลังก็ได้
เพราะคนก็เหมือนๆ กันไม่ว่าชาติไหน
ในไทยนี่ก็เหมือนกัน
ใช้กำลังสลายแล้วเป็นไงเขาเลิกต่อต้านไหม
ก็ไม่เลิกอยู่ดี มีแต่จะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

ให้สังเกตุวิธีการของอิหร่าน
ซึ่งจะว่าไปแล้วก็คล้ายๆ กับของไทยนั่นแหล่ะ
ต้องหาวิธีรับมือ
อนาคตอาจมาปรากฏในไทยได้
เช่น การไล่จับบล็อกเกอร์ต่างๆ
หรือการปิดกั้นข่าวสารต่างๆ
เหล่านี้ต้องมีการเตรียมการณรับมือไว้
ว่าจะติดต่อกันยังไงเพื่อไม่ให้การสื่อสารกันเองสะดุด
และการสื่อสารกับโลกภายนอก
อย่าคิดว่าเป็นไปไม่ได้
ที่พวกมีอำนาจจะยอมปิดประเทศ
เพื่อรักษาอำนาจไว้ไม่ให้สั่นคลอน
อีกอย่างเหตุการณ์ความไม่สงบ
และโครงสร้างการปกครองของอิหร่าน
ดูๆ ไปแล้วรู้สึกคุ้นๆ
เหมือนเคยพบเคยสัมผัสที่ไหนมาก่อน
โครงสร้างการปกครองของอิหร่าน
ไม่แน่อนาคตไทยอาจลอกมาใช้แบบเปิดเผยก็ได้
แค่เปลี่ยนชื่อตำแหน่งแต่โครงสร้างเหมือนเดิม


ปัญหาที่เกิดกับไทย
หรือประเทศต่างๆ ในโลก เวลานี้
มันจะโยงใยเหมือนๆ กันหมด
จะใช้ 2 มาตรฐานเหมือนยุคก่อนคงยาก
ตอนเกิดเหตุสลายม็อบเสื้อแดง
แล้วมีการนำปืนจริง กระสุนจริงมาใช้สลาย
แล้วไม่มีประเทศไหนทำอะไร
คิดว่าธุระไม่ใช่ ไม่ออกมาประนามกดดัน
เท่ากับเป็นความชอบธรรม
ที่ต่อไปนี้รัฐบาลประเทศไหนในโลกนี้
ก็สามารถทำตามได้

สุดท้ายนี้ก็คงต้องลุ้นต้องดูกันต่อไป
เพราะเหตุการณ์ในอิหร่านคล้ายๆ กับไทย
อาจเป็นการจำลองสถานการณ์
ที่จะเกิดขึ้นในไทยในอนาคตก็ได้ใครจะรู้
และถ้างานนี้บานปลาย
ก็อาจกระทบไปทั่วโลก
โดยเฉพาะราคาน้ำมัน
และค่าเงินประเทศต่างๆ

โดย มาหาอะไร

----------------------------------------------

เนชั่นทันข่าว
การต่อสู้ภายในระหว่างฝ่ายศาสนาในอิหร่านเริ่มเปิดเผยแล้ว
22 มิย. 2552 14:21 น.

การต่อสู้กันเองภายในฝ่ายศาสนา ที่เป็นองค์กรที่ทรงอิทธิพลสูงสุดในระบอบการปกครองของอิหร่าน เปิดเผยออกมาเมื่อวันอาทิตย์ เมื่อรัฐบาลระบุว่า ได้จับกุมบุตรสาวและญาติของอดีตประธานาธิบดีอยาตอลลาห์ ฮาเชมี รัฟซันจานี ที่ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในบุคคลทรงอิทธิพลที่สุดของประเทศ โดยสื่อของทางการอิหร่าน ระบุว่า บุตรสาวและญาติอีก 4 คนของอดีตประธานาธิบดี ได้รับการปล่อยตัวเมื่อวันอาทิตย์ แต่การจับกุมพวกเขาได้แสดงให้เห็นชัดเจนถึงสัญญาณเตือนจากฝ่ายอนุรักษ์นิยม สุดโต่ง ไปยังรัฟซันจานี ผู้มีแนวคิดปฏิรูปและอาจเอนเอียงไปเข้ากับฝ่ายที่ต่อต้านรัฐบาล
ถนนหลายสายในกรุงเตหะรานส่วนใหญ่อยู่ในความสงบเป็นครั้งแรก นับแต่เกิดความขัดแย้งจากการเลือกตั้งประธานาธิบดี เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน แต่เสียงร้องตะโกนว่า "พระอัลเลาะห์ทรงยิ่งใหญ่" สะท้อนก้องขึ้นมาจากบนหลังคาในความมืด บ่งบอกถึงความโกรธแค้นต่อการปราบปรามผู้ประท้วงของรัฐบาล ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 10 คนเมื่อวันเสาร์ ทำให้ตัวเลขผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการเพิ่มเป็นอย่างน้อย 17 คน หลังคลื่นมหาชนพากันหลั่งไหลไปบนถนน ที่ผู้ประท้วงระบุว่าประธานาธิบดีมาห์มุด อาห์มาดีเนจ๊าด ปล้นชัยชนะจนได้กลับมาดำรงตำแหน่งเป็นสมัยที่ 2 แต่จากภาพที่เผยแพร่ทางออนไลน์ รวมทั้งคลิปวีดีโอที่แสดงให้เห็นเด็กสาววัยรุ่นคนหนึ่งถูกยิง ทำให้น่าสงสัยว่า ตัวเลขผู้เสียชีวิตที่แท้จริงน่าจะสูงกว่านี้
ตำรวจและกองกำลังนอกเครื่องแบบ บาซิจ ได้ยกกำลังเข้าไปตามถนนสายต่าง ๆ ในกรุงเตหะราน เพื่อขัดขวางไม่ให้มีการประท้วงมากขึ้น และรัฐบาลได้ใช้มาตรการที่เข้มข้นกับสื่อมวลชนอิสระ ทั้งขับผู้สื่อข่าว BBC , ระงับการแพร่ภาพของเครือข่าย อัล อาราบิยา ที่มีสำนักงานอยู่ที่ดูไบ และจับกุมผู้สื่อข่าวท้องถิ่นอย่างน้อย 2 คน ที่ทำงานให้กับนิตยสารของสหรัฐ
สถานีโทรทัศน์ภาษาอังกฤษ ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล ระบุว่า กลุ่มที่ลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศ ที่มีชื่อว่า พีเพิล'มูญาฮีดีน อยู่เบื้องหลังความรุนแรงบนถนน และยังออกอากาศในสิ่งที่เรียกว่า เป็นคำรับสารภาพของบุคคลที่อยู่ภายใต้การควบคุมของอังกฤษ ที่บ่งชี้ว่ารัฐบาลถูกฝ่ายตรงข้ามใส่ร้ายว่า พร้อมจะใช้ความรุนแรงที่หนักหน่วงเข้ากวาดล้าง
นายมีร์ ฮอสเซน มูซาวี ผู้นำฝ่ายค้าน ได้เตือนผู้สนับสนุนถึงอันตรายที่อยู่เบื้องหน้า และระบุว่า เขาจะอยู่เคียงข้างผู้ประท้วงตลอดเวลา แต่ในจดหมายที่โพสต์ในเว็บไซท์ เมื่อวันเสาร์และวันอาทิตย์ ระบุว่า เขาจะไม่ยอมให้ชีวิตของใครต้องตกอยู่ในอันตรายเพราะการกระทำของเขาและเรียก ร้องให้ร้องเรียนเรื่องการโกงการเลือกตั้งต่อคณะกรรมการอิสระ
นายมูซาวี อดีตนายกรัฐมนตรี และได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ภักดีต่อรัฐบาลอิสลามมายาวนาน ยังได้เรียกกองกำลังบาซิจและทหารว่า " พี่น้องของเรา " และ" ผู้ปกป้องการปฏิวัติและระบอบของเรา " ซึ่งแสดงว่า เขาอาจพยายามจะยับยั้งเหล่าผู้สนับสนุน ก่อนที่พวกจะต้องเอาชีวิตเข้าไปเสี่ยงต่อระบอบประชาธิปไตยที่จำกัดของ อิหร่าน ที่ฝ่ายศาสนามีอำนาจที่ไร้ขีดจำกัด
สื่อของทางการ ประกาศเรื่องการจับกุมญาติของอดีตประธานาธิบดีรัฟซันจานี ที่รวมถึงแฟเซห์บุตรสาววัย 46 ปีของเขา ที่เป็นนักการเมืองหัวปฏิรูป และสนับสนุนนายมูซาวีอย่างเปิดเผย ซึ่ง
ก่อนหน้านี้ ได้เกิดการคาดการณ์มากขึ้นเรื่อย ๆ ว่า รัฟซันจานี ที่ไม่ได้แสดงความเห็นใด ๆ นับตั้งแต่การเลือกตั้ง อาจเคลื่อนไหวอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ต่าง ๆ และเข้าข้างนายมูซาวี ขณะที่ผู้ประท้วง ได้แสดงการท้ายทายต่ออยาตอลล่าห์ อาลี คาเมนี่ ผู้นำสูงสุด อย่างเปิดเผย ด้วยการไม่สนใจคำสั่งให้ยุติการประท้วง และบางคนถึงกับตะโกนไล่ให้คาเมนี่ไปตาย ซึ่งถือเป็นการท้าทายที่คาดไม่ถึง

http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=388581&lang=T&cat=

----------------------------------------------

เนชั่นทันข่าว
สภาผู้พิทักษ์อิหร่านรับการลต.ผิดปกติบางประการ
22 มิย. 2552 14:00 น.

สภาผู้พิทักษ์อันทรงอิทธิพลของอิหร่าน แถลงเมื่อวันอาทิตย์ว่า มีสิ่งผิดปกติบางประการในการเลือกตั้งประธานาธิบดีอิหร่านเมื่อ 12 มิถุนายน ซึ่งทำให้เกิดความขัดแย้งอย่างกว้างขวางและทำให้เกิดการประท้วงนองเลือด ซึ่งสื่อของทางการอิหร่านรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 10 คนเมื่อวันเสาร์ ทำให้มียอดรวมผู้เสียชีวิต 17 คนแล้วจากการประท้วงหลังทราบผลการเลือกตั้งที่ประธานาธิบดีมาห์มุด อาห์มาดีเนจ๊าด ชนะขาดลอยเหนือคู่แข่งหัวปฏิรูป
นายอับบาส-อาลี คัดโคดาอี โฆษกของสภาผู้พิทักษ์ฯ กล่าวทางช่องบรรษัทกระจายเสียงของสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน หรือ IRIB ยอมรับว่าจำนวนผู้ใช้สิทธิ์ใน 50 เมืองมีมากกว่าจำนวนผู้มีสิทธิ์ออกเสียง และว่ามีบัตรเลือกตั้งที่น่าสงสัย 3 ล้านใบ แต่ก็กล่าวเสริมด้วยว่า ยังต้องตัดสินต่อไปด้วยว่าจำนวนที่ผิดปกตินี้ส่งผลต่อผลการเลือกตั้งโดยรวม หรือไม่
รายงานข่าวระบุด้วยว่า ประธานาธิบดีอาห์มาดีเนจ๊าดดูเหมือนจะไม่สดุ้งเสทือนกับความรุนแรงที่เกิด ขึ้นจากการประกาศชัยชนะของเขา โดยเมื่อวันอาทิตย์เขาไม่ได้กล่าวพาดพิงใดใดถึงการประท้วง แต่ย้ำว่าการที่เขาชนะเลือกตั้งขาดลอย คือชัยชนะอันปฏิเสธไม่ได้สำหรับอิหร่าน และพิสูจน์อีกครั้งว่า ชาวอิหร่าน 40 ล้านคนยังรักระบบอิสลาม

http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=388567&lang=T&cat=

----------------------------------------------

เนชั่นทันข่าว
CNNแพร่ภาพหญิงสาวชาวอิหร่านถูกยิงสิ้นใจบนถนน
22 มิย. 2552 12:55 น.

เนด้า ซึ่งภาษาฟาร์ซี แปลว่าเสียง กลายเป็นชื่อที่ดังไปทั่วโลกชั่วข้ามคืน หลังจากหญิงสาวชาวอิหร่านชื่อนี้ ถูกยิงทะลุเข้าที่หัวใจ นอนหายใจรวยรินก่อนสิ้นใจต่อหน้าคนจำนวนมากในกรุงเตหะราน โดยเว็บไซท์ของ CNN รายงานว่า ชายคนหนึ่งซึ่งอ้างเป็นนักกีตาร์จากเมืองแนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี่ ได้เขียนข้อความไว้อาลัยให้หญิงสาววัยรุ่นชาวอิหร่านชื่อ เนด้า ว่า "โลกร่ำไห้ที่ได้เห็นลมหายใจสุดท้ายของคุณ คุณจะไม่ตายอย่างสูญเปล่า พวกเราจะจำจดจำคุณ "
ภาพก่อนสิ้นลมหายใจของเนด้า เป็นหนึ่งในหลายร้อยภาพที่เกิดจากการกวาดล้างผู้ประท้วงในอิหร่านเมื่อวัน เสาร์ที่ผ่านมา ที่ถูกเผยแพร่ไปทั่วโลกผ่านทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งภาพวีดีโอที่มีการตกแต่งแล้วแสดงให้เห็นช่วงก่อนหมดลมหายใจของหญิงสาว ที่ถูกยิงเข้าหัวใจ สร้างความสะเทือนใจให้กับผู้คนทั่วโลก และก็เหมือนข้อมูลอื่นๆที่ออกมาจากเตหะรานคือยากจะพิสูจน์ชื่อจริงของเธอ แต่ภาพนาทีสุดท้ายของเธอถูกบันทึกไว้โดยกล้องของคนผ่านมาพบเข้า
CNN แพร่ภาพวีดีโอที่ถูกโพสต์ในเว็บไซท์ยูทู้บด้วย และมีภาพของตากล้องสมัครเล่นที่แสดงให้เห็น เนด้ากับพ่อของเธอไปร่วมอยู่ในการประท้วงอย่างสันติ เพียงไม่นานก่อนถูกยิง ในภาพแสดงให้เห็น เนด้าสวมกางเกงยีนส์และรองเท้าผ้าใบสีขาว ล้มลงไปนอนบนถนน ขณะที่ช่างภาพซึ่งน่าจะใช้โทรศัพท์มือถือวิ่งตรงไปที่เธอและถ่ายที่ใบหน้า ของเธอ

http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=388546&lang=T&cat=

----------------------------------------------

เนชั่นทันข่าว
อิหร่านจับนักข่าวและบล็อคเกอร์อย่างน้อย 24 คน
22 มิย. 2552 08:32 น.

อิหร่านกล่าวหาสหรัฐฯกับอังกฤษเมื่อวันอาทิตย์ว่าเข้าแทรกแซงกิจการภายในของ ตน และเพิ่มความเข้มงวดกับการรายงานข่าวเกี่ยวกับตนของสื่อต่างประเทศ ที่แสดงภาพการประท้วงและ การปะทะกันตามท้องถนน ขณะที่นายอาลี ลาริจานี ประธานรัฐสภาอิหร่าน เรียกร้องเมื่อวานนี้ ให้รัฐสภาทบทวนความสัมพันธ์ทางการทูตกับสามชาติในยุโรป ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมนี โทษฐานแสดงความสงสัยต่อผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีอิหร่านเมื่อ 12 มิถุนายน และให้การสนับสนุนฝ่ายค้านที่พ่ายแพ้เลือกตั้ง
ทางการอิหร่านได้จับกุมตัวผู้สื่อข่าวและบล็อคเกอร์อย่างน้อย 24 คน นับจากมีการชุมนุมประท้วงผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อหนึ่งสัปดาห์ก่อน โดย"กลุ่มผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน"หรือ RSF ที่กรุงปารีสของฝรั่งเศสเปิดเผยชื่อผู้สื่อข่าว บรรณาธิการข่าว และบล็อคเกอร์ชาวอิหร่าน 23 คนที่ได้รับการยืนยันผ่านทางเครือข่ายผู้สื่อข่าวและนัดเคลื่อนไหวในอิหร่าน ว่าได้ถูกจับไปตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน และว่าไม่สามารถติดต่อกับคนอื่นๆอีกหลายคน เชื่อว่าได้ถูกจับหรือหลบหนีไปซ่อนตัว ส่วนใหญ่ยังไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้ถูกจับ แต่ RSF ระบุว่ารัฐบาลอิหร่านสั่นสะเทือนด้วยฝีมือประชาชนของตนเอง และไม่ต้องการให้เกิดขึ้นต่อไปอีก
RSF ระบุด้วยว่า ผู้สื่อข่าวตกเป็นเป้าหมายที่มีความสำคัญเป็นอันดับแรกๆของบรรดาผู้นำ อิหร่าน ในบรรดาผู้ที่ถูกจับ รวมทั้งนายอาลี มาซรูนี่ ประธานสมาคมผู้สื่อข่าวอิหร่านผู้ถูกจับเมื่อเช้าวันอาทิตย์ และเมื่อคืนวันเสาร์ ตำรวจนอกเครื่องแบบได้บุกเข้าค้นบ้านและจับนางจีลา บานิยัคฮูบ บรรณาธิการเว๊ปไซต์ข่าวที่เน้นเรื่องสิทธิสตรี กับนายบาฮามาน อฮามาดี อาโมอี สามีของเธอ ผู้เขียนบทความให้สื่อสิ่งพิมพ์หัวปฏิรูปหลายฉบับ
ด้านนิตยสารนิวสวีคออกแถลงการณ์ในเวลาต่อมาว่า นายมาเซียร์ บาฮารี ผู้สื่อข่าวชาวแคนาดาของตนได้ถูกจับโดยยังไม่มีการตั้งข้อหา เมื่อเช้าวันอาทิตย์ ปัจจุบัน ไม่สามารถติดต่อกับเขาได้ พร้อมเรียกร้องให้ปล่อยตัวเขา ส่วนจอน ลีนย์ ผู้สื่อข่าวของบรรษัทกระจายเสียงอังกฤษ หรือ BBC ได้รับคำสั่งให้เดินทางออกนอกประเทศภายใน 24 ชั่วโมง หลังถูกเจ้าหน้าที่อิหร่าน กล่าวหาว่า เผยแพร่ข่าวและรายงานข่าวที่กุขึ้นเอง เมินเฉยต่อความเป็นกลางของสื่อสนับสนุนผู้ก่อการจราจล และเหยียบย่ำสิทธิของประเทศอิหร่าน

http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=388470&lang=T&cat=

----------------------------------------------

สื่ออิหร่านรายงานมีผู้เสียชีวิต 13 คน
จากเหตุปะทะกันระหว่างจนท.ตำรวจและกลุ่มผู้ประท้วงวานนี้

สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- 23 ชั่วโมง 2 นาทีที่แล้ว

สถานีเพรส ทีวี ของอิหร่านรายงานในวันนี้ว่า มีผู้เสียชีวิต 13 คน และบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก จากการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจและกลุ่มผู้ประท้วงเมื่อวานนี้ ขณะเหตุการณ์ความไม่สงบในกรุงเตหะรานทวีความรุนแรงขึ้น สืบเนื่องมาจากความขัดแย้งเรื่องผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อวันศุกร์ ที่ 12 มิ.ย.ที่ผ่านมา
เพรส ทีวี รายงานว่า "ผู้ก่อเหตุจลาจล" ได้จุดไฟเผาปั๊มน้ำมันสองแห่ง และโจมตีสถานที่ทางทหาร

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปนัยดา ปัทมโกวิท โทร.0-2253-5050 ต่อ 323 อีเมล์: panaiyada@infoquest.co.th--
http://www.ryt9.com/s/iq02/595727/

----------------------------------------------

อิหร่านกล่าวหา VOA - BBC จุดชนวนให้เกิดเหตุจลาจลหลังการเลือกตั้ง
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน 2009 14:56:11 น.

อิหร่านได้กล่าวหา สถานีวิทยุเสียงแห่งอเมริกา (VOA) และ บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงของอังกฤษ (บีบีซี) ว่าเป็นผู้จุดชนวนให้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้นในประเทศ ซึ่งสืบเนื่องมาจากความขัดแย้งเรื่องผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อวัน ศุกร์ที่ 12 มิ.ย.ที่ผ่านมา
เพรส ทีวี รายงานอ้าง ฮัสซัน คาชคาวี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของ อิหร่านที่กล่าวเมื่อวานนี้ว่า VOA และ BBC พยายามปลุกปั่นให้เกิดความบาดหมางทางเชื้อชาติไปทั่วประเทศอิหร่าน โดยมีจุดประสงค์ที่จะสร้างความแตกแยกในประเทศ
โฆษกกระทรวงต่างประเทศอิหร่านยังกล่าวด้วยว่า สื่อทั้งสองทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงให้แก่สหรัฐอเมริกาและอังกฤษ โดยให้เหตุผลว่า VOA และ BBC เป็นสถานีของรัฐเนื่องจากสภาคองเกรสสหรัฐและรัฐสภาอังกฤษเป็นผู้อนุมัติงบ ประมาณให้
เขาเตือนว่า การติดต่อกับสถานีข่าวทั้งสองแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นทางอีเมลหรือโทรศัพท์ ถือเป็นการกระทำที่ต่อต้านอธิปไตยของอิหร่าน และเป็นปฏิปักษ์ต่อชาติอิหร่าน
ทั้งนี้ ได้เกิดเหตุประท้วงผลการเลือกตั้งในเมืองหลวงของอิหร่านในช่วงกว่าหนึ่ง สัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกลุ่มผู้สนับสนุน มีร์ ฮอสเซน มูซาวี ผู้พ่ายแพ้การเลือกตั้ง ไม่พอใจผลการเลือกตั้งเพราะเชื่อว่าชัยชนะสมัยที่ 2 ของประธานาธิบดี มาห์มุด อาห์มาดิเนจ๊าด เกิดจากการทุจริต
โดยเมื่อวานนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ใช้แก๊สน้ำตาและปืนฉีดน้ำเพื่อสลายการชุมนุมที่จัตุรัส ในกรุงเตหะราน ซึ่งนับเป็นเหตุการณ์ปะทะกันรุนแรงครั้งล่าสุดระหว่างกลุ่มผู้ประท้วงและกอง กำลังความมั่นคง สำนักข่าวซินหัวรายงาน

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปนัยดา ปัทมโกวิท โทร.0-2253-5050 ต่อ 323 อีเมล์: panaiyada@infoquest.co.th--
http://www.ryt9.com/s/iq02/595719/

----------------------------------------------

โอบามาเรียกร้องรัฐบาลอิหร่านยุติการกระทำที่รุนแรงและไม่ชอบธรรม
ขณะจนท.ตำรวจอิหร่านปะทะกลุ่มผู้ประท้วง
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน 2009 08:17:00 น.

ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ของสหรัฐ ได้ออกมาเตือนอิหร่านให้ยุติการกระทำที่รุนแรงและไม่ชอบธรรมกับประชาชนของตน เอง หลังจากที่เหตุประท้วงผลการเลือกตั้งยังคงดำเนินต่อไปและทวีความรุนแรงขึ้น
ในแถลงการณ์จากทำเนียบขาวเมื่อวันเสาร์ ผู้นำสหรัฐระบุว่า รัฐบาลอิหร่านต้องเคารพต่อสิทธิที่เป็นสากลในการชุมนุมและเสรีภาพในการพูด และสหรัฐอเมริกาจะยืนหยัดเคียงข้างทุกคนที่แสดงสิทธิเหล่านั้น
เขากล่าวว่า รัฐบาลอิหร่านต้องเช้าใจว่าโลกทั้งโลกกำลังจับตาดู การห้ามความคิดไม่ใช่วิธีที่จะสลายการชุมนุม ชาวอิหร่านจะตัดสินการกระทำของรัฐบาลของพวกเขาเอง
"ถ้ารัฐบาลอิหร่านต้องการความเคารพนับถือจากประชาคมโลก รัฐบาลอิหร่านก็ต้องเคารพในศักดิ์ศรีของประชาชนของตนเอง และปกครองประเทศด้วยการยินยอมอนุญาต ไม่ใช่การบังคับขู่เข็ญ"
ขณะเดียวกัน รายงานระบุว่า เมื่อวันเสาร์ เจ้าหน้าที่ตำรวจปราบปรามการจลาจลของอิหร่านได้ใช้แก๊สน้ำตา กระบอง และปืนฉีดน้ำ ปะทะกับผู้ชุมนุมหลายหมื่นคนที่พยายามจัดการประท้วงผลการเลือกตั้ง ประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. ซึ่งปรากฏว่า มาห์มุด อาห์มาดิเนจ๊าด เป็นฝ่ายคว้าชัยถล่มทลายและเตรียมขึ้นเป็นประธานาธิบดีสมัยที่ 2
โดยเหตุการณ์ประท้วงดูเหมือนจะยิ่งทวีความรุนแรงหลังจากที่เมื่อวันศุกร์ อยาตุลเลาะห์ อาลี คาเมนี ผู้นำสูงสุดของอิหร่าน ได้เรียกร้องให้ยุติการประท้วง ส่งผลให้ วานนี้ สภาความมั่นคงแห่งชาติได้ออกมาเตือน มีร์ ฮอสเซน มูซาวี ผู้พ่ายแพ้การเลือกตั้งประธานาธิบดีอิหร่าน ไม่ให้จัดการประท้วงใดๆขึ้นอีก มิฉะนั้นเขาต้องเป็นผู้รับผิดชอบกับผลที่ตามมา

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปนัยดา ปัทมโกวิท โทร.0-2253-5050 ต่อ 323 อีเมล์: panaiyada@infoquest.co.th--
http://www.ryt9.com/s/iq02/595626/

----------------------------------------------

ผู้นำสูงสุดอิหร่านสนับสนุนผลการเลือกตั้ง-ประณามต่างชาติเข้าแทรกแซง
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 19 มิถุนายน 2009 17:43:42 น.

อยาตุลเลาะห์ อาลี คาเมนี ผู้นำสูงสุดของอิหร่าน กล่าวปราศรัยต่อชาวอิหร่านทั่วประเทศเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ที่ความขัดแย้ง เรื่องผลการเลือกตั้งได้ลุกลามบานปลายกลายเป็นเหตุการณ์ประท้วงครั้งใหญ่จน ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายราย
โดยในระหว่างนำประกอบพิธีละหมาดประจำวันศุกร์ที่มหาวิทยาลัยเตหะรานซึ่งได้ มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ นายคาเมนีได้ขอให้ชาวอิหร่านอยู่ในความสงบ มีศรัทธาและอดทน ท่ามกลางประชนชนหลายแสนคนที่มารวมตัวกันเพื่อฟังถ้อยแถลงของเขา
นายเคเมนี กล่าวด้วยว่า เขามีความคิดเห็นคล้ายคลึงกับความเห็นของประธานาธิบดี มาห์มุด อาห์มาดิเนจ๊าด ในประเด็นเกี่ยวกับสังคม เศรษฐกิจ และต่างประเทศ
พร้อมกันนี้ เขายังได้แสดงการสนับสนุนผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ซึ่งนายอาห์มาดิเนจ๊าดคว้าชัยชนะถล่มทลาย ระบุว่าจะไม่ยอมอ่อนข้อให้กับผู้คัดค้านที่เรียกร้องให้การเลือกตั้งเป็น โมฆะและจัดการเลือกตั้งขึ้นใหม่ โดยให้เหตุผลว่า กลไกการเลือกตั้งของอิหร่านไม่อนุญาตให้มีการทุจริตเกิดขึ้น และเป็นเรื่องไม่ถูกต้องที่ออกไปประท้วงกันตามท้องถนนเพื่อกดดัน
ผู้นำสูงสุดอิหร่านยังได้ตำหนิแกนนำทางการเมืองหลายรายว่าเป็นผู้ปลุกระดม ให้เกิดความรุนแรง และได้ประณามบรรดาชาติมหาอำนาจว่าเป็นศัตรูของอิหร่าน ด้วยการเข้าแทรกแซงและทำให้เกิดการจลาจลขึ้นในประเทศ
บีบีซีรายงานว่า ถ้อยแถลงของผู้นำสูงสุดของอิหร่านในครั้งนี้เป็นการส่งสัญญาณอย่างชัดเจนว่า เขาเห็นชอบกับผลการเลือกตั้ง และถือหางประธานาธิบดีอาห์มาดิเนจ๊าด อีกทั้งยังชี้ด้วยว่าจะดำเนินการปราบปรามหากการประท้วงยังดำเนินต่อไป
ก่อนหน้านี้ ผู้นำสูงสุดของอิหร่านได้เคยแสดงท่าทีอย่างชัดเจนมาแล้วว่าให้การสนับสนุนผล การเลือกตั้งที่นายอาห์มาดิเนจ๊าดเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสมัย ที่ 2 ซึ่งทำให้การปราศรัยของนายคาเมนีในครั้งนี้ได้รับการจับตามองว่ามีความสำคัญ อย่างยิ่ง เนื่องจากจะสะท้อนให้เห็นว่าเขาจะสมานฉันท์กับฝ่ายค้าน หรือส่งสัญญาณว่าจะดำเนินการปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงตามที่หลายคนกลัว ซึ่งภายใต้รัฐธรรมนูญอิหร่านนั้น ผู้นำสูงสุดมีอำนาจโดยอิสระที่จะนำพาประเทศและกำหนดนโยบาย
ทั้งนี้ ได้เกิดเหตุประท้วงผลการเลือกตั้งในเมืองหลวงของอิหร่านตลอดหลายวันที่ผ่าน มา เนื่องจากกลุ่มผู้สนับสนุน มีร์ ฮอสเซน มูซาวี ผู้พ่ายแพ้การเลือกตั้ง ไม่พอใจผลการเลือกตั้งเพราะเชื่อว่าชัยชนะสมัยที่ 2 ของประธานาธิบดี มาห์มุด อาห์มาดิเนจ๊าด เกิดจากการทุจริต


--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปนัยดา ปัทมโกวิท/สุนิตา โทร.0-2253-5050 ต่อ 315 อีเมล์: sunita@infoquest.co.th--
http://www.ryt9.com/s/iq02/595409/

----------------------------------------------

ผู้นำสูงสุดอิหร่านกล่าวปราศรัยต่อปชช.ครั้งแรก
นับแต่เกิดเหตุประท้วงการเลือกตั้ง วอนชาวอิหร่านอยู่ในความสงบ
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 19 มิถุนายน 2009 16:46:07 น.

อยาตุลเลาะห์ อาลี คาเมนี ผู้นำสูงสุดของอิหร่าน กล่าวปราศรัยต่อชาวอิหร่านทั่วประเทศเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ที่ความขัดแย้ง เรื่องผลการเลือกตั้งได้ลุกลามบานปลายกลายเป็นเหตุการณ์ประท้วงครั้งใหญ่จน ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายราย
โดยในระหว่างนำประกอบพิธีละหมาดประจำวันศุกร์ที่มหาวิทยาลัยเตหะรานซึ่งได้ มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ นายคาเมนีได้ขอให้ชาวอิหร่านอยู่ในความสงบ มีศรัทธาและอดทน ท่ามกลางประชนชนหลายแสนคนที่มารวมตัวกันเพื่อฟังถ้อยแถลงของเขา
นอกจากนี้ นายเคเมนี ยังได้กล่าวด้วยว่า เขามีความคิดเห็นคล้ายคลึงกับความเห็นของประธานาธิบดี มาห์มุด อาห์มาดิเนจ๊าด ในประเด็นเกี่ยวกับสังคม เศรษฐกิจ และต่างประเทศ
ก่อนหน้านี้ ผู้นำสูงสุดของอิหร่านได้เคยแสดงท่าทีอย่างชัดเจนว่าให้การสนับสนุนผลการ เลือกตั้งที่นายอาห์มาดิเนจ๊าดเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสมัยที่ 2 ซึ่งทำให้การปราศรัยของนายคาเมนีในครั้งนี้ได้รับการจับตามองว่ามีความสำคัญ อย่างยิ่ง เนื่องจากจะสะท้อนให้เห็นว่าเขาจะสมานฉันท์กับฝ่ายค้าน หรือส่งสัญญาณว่าจะดำเนินการปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงตามที่หลายคนกลัว
บีบีซีรายงานว่า ภายใต้รัฐธรรมนูญอิหร่าน ผู้นำสูงสุดมีอำนาจโดยอิสระที่จะนำพาประเทศและกำหนดนโยบาย
ทั้งนี้ ได้เกิดเหตุประท้วงผลการเลือกตั้งในเมืองหลวงของอิหร่านตลอดหลายวันที่ผ่าน มา เนื่องจากกลุ่มผู้สนับสนุน มีร์ ฮอสเซน มูซาวี ผู้พ่ายแพ้การเลือกตั้ง ไม่พอใจผลการเลือกตั้งเพราะเชื่อว่าชัยชนะสมัยที่ 2 ของประธานาธิบดี มาห์มุด อาห์มาดิเนจ๊าด เกิดจากการทุจริต


--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปนัยดา ปัทมโกวิท/สุนิตา โทร.0-2253-5050 ต่อ 315 อีเมล์: sunita@infoquest.co.th--
http://www.ryt9.com/s/iq02/595372/

----------------------------------------------

ผู้ช่วยมูซาวีเผยผู้ก่อเหตุจราจลหลังการเลือกตั้งไม่ใช่กลุ่มผู้สนับสนุนนายมูซาวี
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน 2009 18:02:07 น.

ผู้ช่วยของ มีร์-ฮอสเซน มูซาวี ผู้สมัครเลือกตั้งของอิหร่านซึ่งพ่ายแพ้ให้กับประธานาธิบดีมาห์มูด อามาดิเนจ๊าด เปิดเผยว่าผู้ก่อเหตุจราจลหลังการเลือกตั้งไม่ใช่กลุ่มผู้สนับสนุนหรือมี ความเกี่ยวข้องกับนายมูซาวี
เพรส ทีวีรายงานอ้างการเปิดเผยของ นายมาห์มูด ราบี ที่ปรึกษาการเลือกตั้งของนายมูซาวี ซึ่งเขาได้ประณามผู้ก่อเหตุไม่สงบที่เกิดขึ้นหลังการเลือกตั้งซึ่งบานปลาย เป็นเหตุจลาจล โดยมีการวางเพลิงและการปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจทั่วทั้งอิหร่าน
"แม้เราจะไม่เห็นด้วยต่อผลการเลือกตั้ง แต่เราแสดงออกถึงความไม่เห็นด้วยอย่างสันติ" นายราบีกล่าว
ด้านรัฐมนตรีประจำสำนักข่าวกรองกล่าวว่า โดยทั่วไปการประท้วงตามปกติของประชาชนจะมีความแตกต่างจากการก่อความวุ่นวาย ของกลุ่มอาชญากรรมบางกลุ่ม ซึ่งขณะนี้เจ้าหน้าที่ได้รวบตัวหัวหน้ากลุ่มผู้ก่อความไม่งสงบหลังการเลือก ตั้งในกรุงเตหะรานมาได้แล้ว 30 ราย
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังย้ำด้วยว่า ทางกระทรวงทำงานตามข้อบังคับทางกฎหมายและได้สั่งการให้กองกำลังทหารติดตาม และจับตาความเคลื่อนไหวของผู้ไม่ประสงค์ดีที่แทรกซึมเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ ประท้วงจนก่อให้เกิดเหตุไม่สงบตามมา
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า การประท้วงที่บานปลายเป็นเหตุจราจลหลังการเลือกตั้งเกิดขึ้นหลังจากที่มีการ รายงานผลการนับคะแนนที่ระบุว่า นายมูซาวีได้รับคะแนนเพียง 33.75% ส่วนนายมาห์มูด อาห์มาดิเนจ๊าด ได้คะแนนโหวตไปถึง 62.63% ทำให้นายมูซาวีออกมาประท้วงผลการเลือกตั้งดังกล่าว พร้อมทั้งเรียกร้องต่อสภาผู้พิทักษ์หรือสภานิติบัญญัติของอิหร่านให้ผลการ นับคะแนนเมื่อวันที่ 12 มิ.ย.ที่ผ่านมาเป็นโมฆะ


--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย อรษา สงค์พูล/ปนัยดา โทร.0-2253-5050 ต่อ 323 อีเมล์: panaiyada@infoquest.co.th--
http://www.ryt9.com/s/iq02/594693/

----------------------------------------------

มูซาวี ปลุกระดมผู้สนับสนุนร่วมไว้อาลัยให้ผู้เสียชีวิตจากเหตุประท้วงการเลือกตั้ง
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน 2009 10:32:29 น.

มีร์-ฮอสเซน มูซาวี คู่แข่งคนสำคัญของประธานาธิบดีมาห์มูด อามาดิเนจ๊าด ของอิหร่านได้ปลุกระดมให้บรรดาผู้สนับสนุนหลายหมื่นคนออกมาชุมนุมครั้งใหญ่ ในวันนี้ เพื่อร่วมกันไว้อาลัยให้กับผู้เสียชีวิตในเหตุประท้วงการเลือกตั้งเมื่อ ศุกร์ที่ 12 มิ.ย.ที่ผ่านมา พร้อมประณามการปราบปรามเหตุประท้วงว่าเป็นการกระทำที่ป่าเถื่อน
สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า กลุ่มผู้สนับสนุนนายมูซาวีได้ออกมาชุมนุมประท้วงอย่างต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 นับตั้งแต่ทางการอิหร่านแจ้งผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีว่านายอาห์มาดิเน จ๊าดได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งถล่มทลาย ขณะที่นายมูซาวีอ้างว่ามีการโกงการเลือกตั้งเกิดขึ้น ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับผู้สนับสนุนจนส่งผลให้เกิดการประท้วงและบาน ปลายกลายเป็นเหตุจลาจลครั้งร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่มีการปฏิวัติอิสลามเมื่อ ปี 2522 ขณะที่เมื่อวานนี้รัฐบาลอิหร่านสั่งห้ามผู้สื่อข่าวต่างประเทศเข้าไปรายงาน ข่าวเหตุการประท้วงในกรุงเตหะราน
ทั้งนี้ ผลการนับคะแนนเลือกตั้งระบุว่า นายมูซาวีได้รับคะแนนเพียง 34% ส่วนนายมาห์มูด อาห์มาดิเนจ๊าด ได้คะแนนโหวตไปถึง 63% ส่งผลให้นายอาห์มาดิเนจ๊าดได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอิหร่านเป็นสมัยที่ 2
อย่างไรก็ตาม ผู้ต่อต้านนายอามาดิเนจ๊าดกล่าวว่า เขาเป็นผู้บ่อนทำลายเศรษฐกิจ โดยจะเห็นได้จากอัตราว่างงานที่ระดับ 10.5% ขณะที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 24% และเขาเป็นผู้ที่ทำให้อิหร่านถูกโดดเดี่ยวจากประชาคมโลกกรณีเดินหน้าพัฒนา โครงการนิวเคลียร์


--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย อรษา สงค์พูล/ปนัยดา โทร.0-2253-5050 ต่อ 323 อีเมล์: panaiyada@infoquest.co.th--
http://www.ryt9.com/s/iq02/594385/

----------------------------------------------

อิหร่านสั่งห้ามสื่อต่างประเทศทำข่าวการประท้วงผลเลือกตั้งปธน.ในกรุงเตหะราน
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 17 มิถุนายน 2009 12:25:19 น.

รัฐบาลอิหร่านได้สั่งห้ามผู้สื่อข่าวต่างประเทศเข้าไปรายงานข่าวเหตุการ ประท้วงในกรุงเตหะราน หลังจากที่การประท้วงได้ทวีความรุนแรงขึ้นจนมีผู้เสียชีวิตแล้ว 7 รายเมื่อวานนี้ จากการปะทะกันระหว่างกองกำลังของรัฐบาลอิหร่านและกลุ่มผู้สนับสนุนนายมีร์ ฮอสเซน มูซาวี ผู้สมัครเลือกตั้งซึ่งพ่ายแพ้โดยมีคะแนนตามมาเป็นอันดับ 2 ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีอิหร่าน

ซีเอ็นเอ็นรายงานว่า รัฐบาลอิหร่านวิจารณ์การรายงานข่าวและรูปภาพของสื่อบางสำนักว่ามีอคติ โดยรัฐบาลอนุญาตให้ผู้สื่อข่าวของสำนักข่าวต่างประเทศสามารถรายงานสดการ ประท้วงจากห้องส่งได้ แต่จะไม่สามารถออกไปทำข่าว ณ จุดที่เกิดการประท้วงภายนอกโรงแรมที่พักหรือสำนักข่าวของตนเอง และยังได้ห้ามการใช้อุปกรณ์สื่อสารออนไลน์บางประเภทด้วย
ทั้งนี้ กลุ่มผู้ประท้วงไม่พอใจที่นายมาห์มุด อามาดีเนจ๊าด ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีอีกครั้ง พร้อมกับกล่าวหาว่า การเลือกตั้งครั้งนี้มีการโกงเกิดขึ้น


--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย สุนิตา พรรณรักษา/ปนัยดา โทร.0-2253-5050 ต่อ 323 อีเมล์: panaiyada@infoquest.co.th--
http://www.ryt9.com/s/iq02/593678/

----------------------------------------------

ใครปกครองอิหร่าน: โครงสร้างทางการเมืองอิหร่านโดยสังเขป

Thu, 2009-06-18 05:46

ข้อมูล เกี่ยวกับโครงสร้างทางการเมืองอิหร่าน ซึ่งประธานาธิบดีไม่ใช่ผู้นำสูงสุด หากแต่ยังมีอีกหลายสถาบันการเมืองและผู้นำศาสนาที่ไม่เพียงแต่มีอำนาจเหนือ ประธานาธิบดี แต่ยังมีอิทธิพลทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม กระทั่งควบคุมวิถีชีวิต และความคิดของคนอิหร่าน


(ที่มา: ดัดแปลงจากภาพกราฟฟิค AP แปลและเรียบเรียงข้อมูลจาก: AP, Wikipedia, National Democratic Institute)

โครงสร้างสถาบันทางการเมืองอิหร่าน จำแนกเป็นส่วนที่มาจากการเลือกตั้ง และไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
(ที่มา: ดัดแปลงจาก BBC)

การเลือกตั้งประธานาธิบดีอิหร่านเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ที่ผ่านมา ตามมาด้วยการประท้วงผลการเลือกตั้งของผู้สนับสนุนผู้สมัครฝ่ายค้านและบาน ปลายเป็นเหตุจลาจลและเกิดการปราบปรามผู้ชุมนุมในขณะนี้ ทำให้ทั่วโลกจดจ้องมายังสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านแห่งนี้
อย่าง ไรก็ตาม การเลือกตั้งประธานาธิบดีไม่ถือเป็นการเลือกตั้งผู้นำประเทศสูงสุดของ อิหร่าน เพราะในอิหร่าน ยังมีหลายสถาบันการเมืองและทางศาสนาที่ไม่เพียงแต่มีอำนาจเหนือประธานาธิบดี แต่ยังมีอิทธิพลทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม กระทั่งควบคุมวิถีชีวิต และความคิดของคนอิหร่าน และต่อไปนี้จะเป็นคำอธิบายโครงสร้างทางการเมืองโดยสังเขปของสาธารณรัฐอิสลาม อิหร่าน

ประมุขสูงสุด: ผู้มีบารมีตามรัฐธรรมนูญ

คุมกองทัพ ศาล ทหาร สื่อ
โครง สร้างหรือระบบการเมืองของสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน อยู่บนพื้นฐานของรัฐธรรมนูญปี 1979 (2522) ประกอบด้วยสถาบันการเมืองที่ซับซ้อน โดยมีอยาตุลเลาะห์ หรือประมุขสูงสุด (Supreme Leader) คือ อยาตุลเลาะห์ อาลี คาเมนี (Ali Kamenei) ซึ่งเป็นผู้ควบคุมและกำหนดแนวนโยบายทั่วไปของสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน เป็นผู้นำของประเทศในการนำละหมาดในวันศุกร์ เป็นผู้รับรองผลการเลือกตั้ง
ประมุข สูงสุดเป็นทั้งผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพ ควบคุมกองทัพ หน่วยข่าวกรอง และปฏิบัติการด้านความมั่นคง มีอำนาจในการประกาศสงครามแต่เพียงผู้เดียว
ประมุข สูงสุด ยังเป็นผู้แต่งตั้งประธานคณะตุลาการของอิหร่าน ผู้บริหารเครือข่ายวิทยุและโทรทัศน์ของรัฐ ผู้บัญชาการตำรวจ และกองทัพ รวมทั้งสมาชิก 6 จาก 12 คนของสภาผู้พิทักษ์ (Guardian Council) โดยที่มาของประมุขสูงสุดไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง แต่มาจากสภาผู้เชี่ยวชาญ (Assembly of Experts) ซึ่งทำหน้าที่ทั้งแต่งตั้งและถอดถอนประมุขสูงสุด โดยพิจารณาว่ามีคุณสมบัติและได้รับการยอมรับจากประชาชนหรือไม่
สำหรับ อยาตุลเลาะห์ อาลี คาเมนี เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการปฏิวัติอิสลามอิหร่าน เป็นผู้ใกล้ชิดกับอยาตุลเลาะห์ โคไมนี่ (Ayatollah Khomeini) ผู้ก่อตั้งสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน เคยเป็นประธานาธิบดีในปี 1981-1989 ก่อนที่จะได้รับเลือกจากสภาผู้เชี่ยวชาญให้เป็นประมุขสูงสุดของรัฐ ซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่จนเสียชีวิต

ประธานาธิบดี: มีอำนาจแต่ไม่ใช่ตัวจริง
ส่วน ประธานาธิบดีอิหร่านถือเป็นประมุขฝ่ายบริหาร ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนมีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี และเป็นได้ไม่เกิน 2 วาระ ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีต้องได้รับการรับรองจากสภาผู้พิทักษ์ก่อนว่า เป็นผู้จงรักภักดีต่ออุดมการณ์ปฏิวัติอิสลามหรือไม่ ประธานาธิบดีเป็นผู้ทำตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ ยกเว้นหน้าที่ที่เป็นของประมุขสูงสุด ซึ่งถือเป็นผู้เห็นชอบทุกสิ่งทุกอย่างในขั้นตอนสุดท้าย
ประธานาธิบดี ยังมีรองประธานาธิบดีอีก 8 คน และมีคณะรัฐมนตรีไม่เกิน 22 คน ซึ่งการแต่งตั้งเหล่านี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาเสียก่อน อย่างไรก็ตามคณะผู้บริหารและรัฐมนตรีของอิหร่านไม่เหมือนรัฐบาลอื่นตรงที่ ฝ่ายบริหารไม่มีอำนาจควบคุมกองทัพ แม้ตามรัฐธรรมนูญประธานาธิบดีจะมีอำนาจตั้งรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมและกระทรวง ข่าวกรอง แต่ตามธรรมเนียมแล้วประธานาธิบดีต้องได้รับความเห็นชอบจากประมุขสูงสุด ก่อนที่ประธานาธิบดีจะนำรายชื่อรัฐมนตรีให้เสนอต่อสภาเพื่อให้ลงมติเห็นชอบ
สำหรับ ประธานาธิบดีอิหร่านปัจจุบันคือนายมะห์มุด อะห์มาดิเนจัด ซึ่งถือเป็นประธานาธิบดีที่ไม่ใช่อิหม่ามคนแรก นับตั้งแต่ปี 2524 อะห์มาดิเนจัดชนะการเลือกตั้งเมื่อปี 2548 เหนืออดีตประธานาธิบดีอาลี อัคบาร์ ฮาชิมี่ ราฟซานจานี่ (Ali-Akbar Hashemi Rafsanjani) และกำลังจะหมดวาระและมีการเลือกตั้งใหม่เมื่อ 12 มิ.ย. ที่ผ่านมา แต่การเลือกตั้งที่มะห์มุด อะห์มาดิเนจัดมีคะแนนห่างพรรคฝ่ายค้านนี้ กลับสร้างความกังขาให้กับผู้สนับสนุนพรรคฝ่ายค้าน
ตัว ของอะห์มาดิเนจัด เคยเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งสหภาพนักศึกษา ซึ่งสหภาพนักศึกษาดังกล่าวเคยบุกยึดสถานทูตสหรัฐในกรุงเตหะรานในปี 2522 แต่ตัวเขาปฏิเสธว่าไม่ใช่ชุดที่บุกเข้าไปจับคนเป็นตัวประกันด้านในสถานทูต
อะห์ มาดิเนจัดเป็นผู้ยึดมั่นในหลักการ ทั้งในบ้านและนอกบ้าน ในบ้านหมายถึงภายในประเทศที่เขาไม่ใช่ผู้เห่อการพัฒนาหรือเป็นนักการเมือง นิยมแนวทางปฏิรูป ส่วนนอกบ้านหมายถึงในต่างประเทศที่เขามักสะท้อนจุดยืนต่อต้านโลกตะวันตก และยืนกรานที่จะดำเนินโครงการพัฒนาด้านนิวเคลียร์
ผู้สนับสนุนเขาส่วนหนึ่งมาจากคนอิหร่านที่ยากจน และผู้เคร่งศาสนาในพื้นที่นอกกรุงเตหะรานซึ่งมีการขยายตัวของประชากรอย่างรวดเร็ว

สภา: การเลือกตั้ง และสภาที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
เดิมที ก่อนการปฏิวัติอิหร่าน อิหร่านใช้ระบบสองสภาคือมีทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา แต่ภายหลังการปฏิวัติอิสลามอิหร่าน ได้ยกเลิกวุฒิสภา เหลือแต่สภาผู้แทนราษฎรที่เรียกว่า Majlis โดยสภาดังกล่าวมีสมาชิกทั้งหมด 290 คน มาจากการเลือกตั้ง มีวาระทั้งหมด 4 ปี สภาทำหน้าที่พิจารณาและอนุมัติกฎหมาย ให้สัตยาบันสัญญาระหว่างประเทศ พิจารณางบประมาณของรัฐบาล โดยสมาชิกสภาทั้งหมดต้องผ่านการรับรองจากสภาผู้พิทักษ์จึงจะทำหน้าที่ได้
สำหรับสภาผู้พิทักษ์ ประกอบ ด้วยผู้พิพากษา 12 คน 6 คนแรกไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่มาจากการแต่งตั้งของประมุขสูงสุด อีก 6 คนมาจากการเลือกของสภา ตามการเสนอรายชื่อของประมุขฝ่ายตุลาการ สภาผู้พิทักษ์ยังมีอำนาจตีความรัฐธรรมนูญ และมีอำนาจยับยั้ง (Veto) รัฐสภาด้วยหากร่างกฎหมายขัดกับรัฐธรรมนูญหรือชารีอะห์ (Sharia) และร่างกฎหมายจะถูกส่งมายังรัฐสภาจะต้องทบทวนกฎหมายดังกล่าว นอกจากนี้การทำหน้าที่เป็นคณะที่ปรึกษาให้กับประมุขสูงสุด ยังทำให้สภาผู้พิทักษ์เป็นหนึ่งในสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในอิหร่านทีเดียว
ในระดับท้องถิ่นจะมีสภาเมือง ซึ่งเป็นสภาระดับท้องถิ่น จะได้รับเลือกจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง มีระยะเวลาในตำแหน่ง 4 ปี ตามรัฐธรรมนูญอิหร่านมาตรา 7 สภาท้องถิ่นเหล่านี้ร่วมกับรัฐสภาจะมีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายการบริหารรัฐ โดยมาตรานี้เดิมทีไม่มีผลในทางปฏิบัติ จนกระทั่งในปี 1999 ที่มีการเลือกตั้งสภาท้องถิ่นเป็นครั้งแรก โดยสภาท้องถิ่นมีหน้าที่คล้ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในไทย ตั้งแต่ เลือกตั้งนายกเทศมนตรี บริหารงานของเทศบาล วิจัย ผังเมือง ประสานงานชุมชน สังคม วัฒนธรรม การศึกษา สวัสดิการ และอื่นๆ ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด

อิหม่ามและสภาผู้เชี่ยวชาญ
พวกอิหม่ามเป็นผู้มีบทบาทครอบงำสังคมอิหร่าน
อิหม่ามเท่านั้นที่สามารถได้รับเลือกเข้าไปในสภาผู้เชี่ยวชาญ (Assembly of Experts) ซึ่งทำหน้าที่แต่งตั้งประมุขสูงสุด และทำหน้าที่ตรวจสอบและถอดถอนประมุขสูงสุดได้ในทางทฤษฎี หากประมุขสูงสุดไม่ทำตามหน้าที่ ผู้นำของสภาผู้เชี่ยวชาญปัจจุบันคืออดีตประธานาธิบดีอาลี อัคบาร์ ฮาชิมี่ ราฟซานจานี่ (Ali-Akbar Hashemi Rafsanjani) ซึ่งนิยามตัวเองว่าเป็นนักปฏิบัตินิยมและอนุรักษ์นิยม
สำหรับ สภาผู้เชี่ยวชาญจะมีการประชุมปีละ 1 หน เป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ สมาชิกไม่ใช่คนทั่วไป แต่จะเป็น “86 อิหม่าม” ผู้มี “ศีลธรรมและความรู้” ซึ่งได้รับเลือกจากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง มีวาระในตำแหน่ง 8 ปี และเช่นเดียวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีและสมาชิกสภา ผู้สมัครเลือกตั้งสภาผู้เชี่ยวชาญต้องได้รับการพิจารณาคุณสมบัติจากสภาผู้ พิทักษ์เสียก่อนว่ามีคุณสมบัติลงสมัครเลือกตั้งได้หรือไม่
สภา ผู้เชี่ยวชาญจะทำหน้าที่เลือกประมุขสูงสุด และมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญที่จะถอดถอนผู้นำสูงสุดเมื่อใดก็ได้ บันทึกการประชุมและความเห็นของพวกสภาผู้เชี่ยวชาญถือเป็นความลับอย่างยิ่ง สภาผู้เชี่ยวชาญไม่เคยเลยที่จะเปิดเผยให้สาธารณชนรับรู้ว่าในบรรดาพวกเขามี ใครที่ท้าทายการตัดสินใจของประมุขสูงสุด
อดีต ประธานาธิบดีสายปฏิรูปอย่างโมฮัมหมัด คาตามี่ กล่าวหาอิหม่ามว่าขัดขวางแผนการปฏิรูปของเขา และยังเตือนให้ระวังอันตรายของ “เผด็จการ” ทางศาสนา
อิหม่ามยังมีอิทธิพลต่อกระบวนการยุติธรรม ซึ่งอิงอยู่กับกฎหมายชารีอะห์ (Sharia)
หลาย ปีก่อน พวกอนุรักษ์นิยมจัดในอิหร่านใช้ระบบศาลบ่อนเซาะการปฏิรูปอิหร่านด้วยการจำ คุกนักปฏิรูปและผู้สื่อข่าว และปิดหนังสือพิมพ์ของพวกปฏิรูป

ระบบศาลในอิหร่าน
สำหรับ กระบวนการยุติธรรมของอิหร่าน ประมุขสูงสุด จะเป็นผู้แต่งตั้งประธานคณะตุลาการของอิหร่าน ซึ่งประธานคณะตุลาการจะเป็นผู้แต่งตั้งประธานศาลสูงสุดและอัยการสูงสุด ของอิหร่าน โดยอิหร่านมีหลายระบบศาล รวมถึงศาลสาธารณะ (public courts) ที่ใช้ตัดสินคดีแพ่งและคดีอาญา และ “ศาลปฏิวัติ” (revolutionary courts) ที่ใช้ตัดสินคดีที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ การพิพากษาของศาลปฏิวัติถือเป็นที่สิ้นสุดและไม่สามารถอุทธรณ์ได้
นอกจากนี้ยังมี “ศาลพิเศษทางศาสนา” (Special Clerical Court) ที่ใช้ตัดสินคดีที่อิหม่ามเป็นผู้กระทำผิด รวมถึงคดีที่อิหม่ามเป็นตัวการใช้ผู้อื่นไปกระทำผิดด้วย ศาลนี้จะเป็นอิสระจากระบบศาลอื่นในอิหร่านแต่จะขึ้นตรงกับประมุขสูงสุดคือ อยาตุลเลาะห์แต่เพียงผู้เดียว และเช่นเดียวกับศาลปฏิวัติ คำตัดสินจากศาลพิเศษทางศาสนาถือเป็นที่สิ้นสุดไม่สามารถอุทธรณ์ได้

กองทัพ: เครื่องมือกำราบฝ่ายค้าน
กอง ทัพอิหร่านประกอบด้วยกองกำลังพิทักษ์ปฏิวัติอิสลามอิหร่าน หรือ IRGC และ กองกำลังประจำการ ทั้งสองกองทัพอยู่ภายใต้การบัญชาการของผู้บัญชาการคนเดียวกันคือโมฮัมหมัด อาลี จาฟารี (Mohammad Ali Jafari)
ตามรัฐธรรมนูญอิหร่านที่พวกอิหม่ามร่างขึ้น กำหนดให้ กองกำลังพิทักษ์ปฏิวัติอิสลามอิหร่าน (Iran's Islamic Revolution Guards Corps - IRGC) หรือ Pasdaran มีอำนาจปกป้องระบอบการปกครองแบบอิสลามของประเทศภายหลังการปฏิวัติอิหร่านให้เป็นรัฐศาสนาได้สำเร็จ และเพื่อถ่วงดุลอำนาจกับกองกำลังประจำการหรือ Artesh ซึ่งตามรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีหน้าที่ป้องกันชายแดนและควบคุมความสงบเรียบร้อยในประเทศ
อย่าง ไรก็ตาม ในทางปฏิบัติกองกำลัง Pasdaran มันมีบทบาทล้ำเส้นกับกองกำลังประจำการหลัก เพราะ Pasdaran ยังมีบทบาทด้านรักษาความสงบเรียบร้อยในประเทศ มีการพัฒนากำลังอาวุธของตนเองทั้งทางบก ทางเรือ และทางอากาศ กองกำลัง Pasdaran นี้ประมาณการว่ามีกองกำลังพร้อมรบกว่า 125,000 นาย และยังอ้างว่ามียุทโธปกรณ์ทั้งภาคพื้นดิน ทางเรือ และทางอากาศ และขีปนาวุธระยะไกลด้วย
นอก จากนี้ Pasdaran ยังอยู่เบื้องหลังปฏิบัติการทางทหารของอิหร่านหลายครั้ง เช่นในเดือนมีนาคมปี 2550 ได้ทำให้เกิดความตึงเครียดทางการทูตกับอังกฤษ ด้วยการควบคุมตัวนาวิกโยธินของอังกฤษ 15 ราย ขณะลาดตระเวนที่ปากแม่น้ำชัต อัล-อาหรับ (Shatt al-Arab) ที่คั่นระหว่างชายแดนอิรักและอิหร่าน
สหรัฐอเมริกาเองก็เคยกล่าวหาหน่วยคุด (Quds Force) กองกำลังที่มีภารกิจปฏิบัติการนอกประเทศอิหร่าน ซึ่งมีกำลังพลกว่า 15,000 คน ที่อยู่ภายใต้ Pasdaran ว่าเป็นตัวการส่งมอบวัตถุระเบิดชนิดเจาะเกราะ (explosively formed projectiles - EFPs) ให้กับนักรบชีอะห์ซึ่งต่อต้านสหรัฐในอิรัก
หน่วย คุดนี้ เชื่อกันว่าเจ้าหน้าที่ประจำการในสถานทูตอิหร่านของหลายประเทศทั่วโลก พวกเขาถูกกล่าวหาว่าทำงานข่าวกรองในต่างประเทศ จัดตั้งค่ายฝึกอาวุธและขนอาวุธทางเรือให้กับกลุ่มนักรบต่างชาติที่อิหร่าน สนับสนุน อย่างเช่นกลุ่มเฮซโบลเลาะห์ (Hezbollah)
ด้วย อำนาจอย่างมหาศาล ทำให้กองกำลังพิทักษ์ปฏิวัติอิสลามอิหร่านหรือ Pesdaran การที่ประธานาธิบดี มะห์มูด อะห์มาดิเนจัดก็เคยเป็นสมาชิกของกองกำลังนี้ และ Pasdaran ก็มีความใกล้ชิดและได้รับการสนับสนุนจากผู้นำสูงสุดอย่าง อยาตุลเลาะห์ อาลี คาเมนี ทำให้ Pasdaran เป็นตัวแสดงสำคัญในทางการเมืองของอิหร่าน
และ เชื่อกันว่า อยาตุลเลาะห์ คาเมนี ซึ่งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ใช้อำนาจของเขาในการขยายอิทธิพลของเขาและ Pasdaran ผ่านการแต่งตั้งสมาชิก Pasdaran หลายคนให้มีตำแหน่งทางการเมืองระดับสูง และใช้กองกำลังนี้กำราบฝ่ายที่ต่อต้านเขาและพวกนิยมปฏิรูปในอิหร่าน
ล่าสุดหลังการเลือกตั้งในปี 2548 ประธานาธิบดีอะห์มาดิเนจัดได้แต่งตั้งอดีตทหารผ่านศึกใน Pasdaran ให้เป็นรัฐมนตรีในกระทรวงสำคัญๆ
นอก จากนี้ กองกำลัง Pasdaran ยังมีอำนาจในสถาบันทางสังคมของพลเรือน และมีบทบาททางเศรษฐกิจราว 1 ใน 3 ของอิหร่านผ่านการสงเคราะห์และการให้สินเชื่อปลอดดอกเบี้ย
ฝ่ายวิศวกรรมของ Pasdaran ที่ชื่อว่า Khatam-ol-Anbia หรือที่เรียกในชื่อย่อว่า GHORB ได้รับงบประมาณหลายพันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อว่าจ้างในโครงการก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงโครงการก่อสร้างสนามบินนานาชาติอิหม่ามโคไมนี่ (Imam Khomeini international airport) สนามบินแห่งใหม่ในเตหะรานด้วย
Pasdaran ยังเป็นเจ้าของหรือควบคุมห้องทดลองของมหาวิทยาลัยหลายแห่ง บริษัทผลิตอาวุธ หรือแม้แต่บริษัทผลิตรถยนต์ด้วย
โดย หนังสือพิมพ์ไฟแนลเชียล ไทม์ (The Financial Times) ประมาณการว่าร้อยละ 30 ในภารกิจของ Pasdaran เกี่ยวข้องกับเรื่องธุรกิจ และส่งภาษีให้กับรัฐราว 2,000 เหรียญสหรัฐต่อปี
นอกจากนี้กองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติหรือ Pasdaran ยังคงควบคุมกองกำลัง Basij (Basij Resistance Force) ซึ่งเป็นทหารอาสาสมัครอิสลาม มีกำลังพลทั้งชายและหญิงราว 90,000 คน และสามารถระดมพลในรัศมี 1 ไมล์ได้ทันที โดยทหารอาสา Basij มักถูกระดมพลบ่อยครั้งให้ออกมาตามท้องถนนเพื่อใช้สลายการชุมนุมของฝ่ายต่อ ต้าน พวกเขามีสาขาอยู่ทุกๆ ตำบลของอิหร่าน
ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก
วิกิพีเดีย, http://en.wikipedia.org/wiki/Iran
Profile: Iran's Revolutionary Guards, BBC, 26 October 2007 16:59 UK, http://news.bbc.co.uk/2/hi/middle_east/7064353.stm
Guide: How Iran is ruled, BBC, Tuesday, 9 June 2009 10:42 UK, http://news.bbc.co.uk/2/hi/middle_east/8102406.stm

http://www.prachatai.com/journal/2009/06/24738

-----------------------------------------------