โดย ไทยรัฐออนไลน์
29 กรกฎาคม 2552, 06:02 น.
โซ เนีย โซโตมายอร์ ได้รับการรับรองจากคณะกรรมาธิการตุลาการ ของวุฒิสภาสหรัฐ ให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลฎีกาแล้ว และมติดังกล่าว จะถูกส่งต่อไปยังวุฒิสภา เพื่อลงมติอีกครั้ง
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานวันนี้ (29 ก.ค.) ว่า คณะกรรมาธิการตุลาการ ของวุฒิสภาสหรัฐ ลงมติรับรองโซเนีย โซโตมายอร์ ให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลฎีกาแล้ว หลังจากได้รับการเสนอชื่อจากประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐ และผ่านขั้นตอนการเข้ารับการไต่สวนแล้ว โดยกรรมาธิการฯ ลงมติด้วยคะแนนเสียง 13 ต่อ 6 เสียง รับรองโซโตมายอร์ มีเพียงวุฒิสมาชิกพรรครีพับลิกัน เพียงคนเดียว ที่ลงมติสนับสนุนร่วมกับวุฒิสมาชิกจากพรรคเดโมแครต
ทั้ง นี้ มติดังกล่าว จะถูกส่งต่อไปยังวุฒิสภา เพื่อลงมติอีกครั้ง ในสัปดาห์หน้า ซึ่งคาดว่า โซโตมายอร์จะได้รับการสนับสนุน และกลายเป็นชาวฮิสแปนิก หรือชาวอเมริกันเชื้อสายสเปน คนแรก ที่ได้รับการแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลฎีกา เนื่องจากพรรคเดโมแครตครองเสียงข้างมาก อย่างไรก็ตาม วุฒิสมาชิกจากพรรครีพับลิกันส่วนใหญ่ ดูจะไม่เห็นด้วยกับการเสนอชื่อโซโตมายอร์ เข้ารับตำแหน่งดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าเธอมีแนวคิดเสรีนิยมมากเกินไป
---------------------------------------------
| วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เวลา 13:05:59 น. มติชนออนไลน์ ตั้ง"สบโชค สุขารมณ์"ปธ.ศาลฎีกาใหม่ โยกอีกหลายตำแหน่ง เผยเกือบทั้งหมดนั่งพิจารณาคดี"ทักษิณ" คณะกรรมการตุลาการ มีมติตั้ง"สบโชค สุขารมณ์"นั่งประธานศษลฎีกาคนใหม่แทนวิรัช ลิ้มวิชัย เริ่ม 1 ต.ค. นี้ ให้"พินิจ"โยกเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ประจำศาลฎีกา รวมถึงแต่งตั้งโยกย้ายอีกหลายตำแหน่ง ย้าย"ปกรณ์"ไปเป็นอัยการ เผยทั้งหมดล้วนเกี่ยวข้องทำคดีความ"ทักษิณ" ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคมมีการประชุมคณะกรรมการตุลาการ (ก.ต.) และที่ประชุมมีมติแต่งตั้งโยกย้ายผู้พิพากษาตำแหน่งสำคัญๆ ดังนี้ ให้นายสบโชค สุขารมณ์ รองประธานศาลฎีกา เป็นประธานศาลฎีกาคนใหม่ ให้นายพินิจ สุเสารัจ เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม เป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ประจำสำนักประธานศาลฎีกา ให้นายวิธวิทย์ หิรัญรุจิพงศ์ ประธานแผนกคดีแรงงานศาลฎีกาเป็นรองประธานศาลฎีกา ให้นายองอาจ โรจนสุพจน์ ประธานแผนกคดีภาษีอากรศาลฎีกาเป็นรองประธานศาลฎีกา ให้ มล.ฤทธิเทพ เทวกุล หัวหน้าคณะในศาลฎีกา เป็นรองประธานศาลฎีกา ให้นายมนตรี ยอดปัญญา หัวหน้าคณะในศาลฎีกา เป็นรองประธานศาลฎีกา ให้นายไพโรจน์ วายุภาพ หัวหน้าคณะในศาลฎีกา เป็นรองประธานศาลฎีกา ให้นายพีรพล พิชยวัฒน์ หัวหน้าคณะในศาลฎีกา เป็นรองประธานศาลฎีกา นอกจากนั้น ยังมีมติให้นายธานิศ เกศวพิทักษ์ หัวหน้าคณะในศาลฎีกา เป็นประธานแผนกคดีผู้บริโภคศาลฎีกา ให้นายอดิศักดิ์ ทิมมาศย์ ประธานศาลอุทธรณ์ เป็นประธานแผนกคดีเยาวชนศาลฎีกา นายมานัส เหลืองประเสริฐ หัวหน้าคณะในศาลฎีกา เป็นประธานแผนกคดีพาณิชย์ศาลฎีกา ให้นายประทีบ เฉลิมภัทรกุล หัวหน้าคณะในศาลฎีกาเป็นประธานแผนกคดีสิ่งแวดล้อมศาลฎีกา นายสมศักดิ์ จันทรา หัวหน้าคณะในศาลฎีกา เป็นประธานแผนกคดีล้มละลายศาลฎีกา นายฐานันท์ วรรณโกวิท หัวหน้าคณะในศาลฎีกา เป็นประธานแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองศาลฎีกา นายสุทัศน์ ศิริมหาพฤกษ์ หัวหน้าคณะในศาลฎีกา เป็นประธานแผนกคดีภาษีอากรศาลฎีกา นายอร่าม เสนามนตรี หัวหน้าคณะในศาลฎีกา เป็นประธานแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาศาลฎีกา ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า ที่ประชุมยังมีมติให้นายปฎิกรณ์ ทองโคตร ผู้ช่วยผู้พิพากษา โอนไปรับราชการเป็นข้าราชการอัยการ เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยๆ และให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ 1ก.ค. อย่างไรตาม นายสบโชค สุขารมณ์ จะดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกา ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. เป็นต้นไป หลังการเกษียณอายุราชกาของนายวิรัช ลิ้มวิชัย ประธานศาลฎีกาคนปัจจุบันในวันที่ 30 ก.ย.2552 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสบโชค สุขารมณ์ จะดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกา เป็นเวลา 3 ปี และจะเกษียณอายุราชการปี พ.ศ.2555 ปัจจุบันเป็นเจ้าของสำนวนคดีสลากกินแบ่งเลขท้าย 2 และ 3 ตัว (คดีหวยบนดิน 2 และ 3 ตัว) ในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งคดีอยู่ระหว่างการไต่สวนพยานโจทก์ ส่วนนายวิธวิทย์ หิรัญรุจิพงศ์ และนายองอาจ โรจนสุพจน์ เป็นองค์คณะในคดี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ทุจริตปล่อยเงินกู้ 4,000 ล้านบาทจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าให้แก่รัฐบาลพม่า ขณะที่ ม.ล.ฤทธิเทพ เทวกุล นายไพโรจน์ วายุภาพ และนายประทีป เฉลิมภัทรกุล ปัจจุบันเป็นองค์คณะในคดียึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้านของ พ.ต.ท.ทักษิณ และนายพีรพล พิชยวัฒน์ เป็นองค์คณะคดีทุจริตจัดซื้อที่ดินย่านรัชดาภิเษก |
----------------------------------------------------
ข้อมูล ณ วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
http://www.coj.go.th/ojc/www_ojc/p_jai/kt_pic/NAMEKT.pdf
----------------------------------------------------
สังเกตุความแตกต่าง
ระหว่างการสรรหาศาลฎีกา
ของไทยกับของอเมริกา
ของไทยแต่งตั้งมาจาก
คณะกรรมการตุลาการ (ก.ต.)
ซึ่งประกอบด้วยข้าราชการ กต.เสียส่วนใหญ่
ในขณะที่ของอเมริกา
เลือกโดยวุฒิสภา
ซึ่งทั้ง 2 รูปแบบมีข้อดีข้อเสียต่างกัน
กรณีแบบไทย ข้าราชการเลือกกันเอง
ซึ่งก็คงได้พรรคพวก
ของคนที่สามารถตั้ง กต. ชุดนั้นๆ มา
ในขณะที่ของอเมริกา
เสนอชื่อมาจากประธานาธิบดี
ซึ่งก็คงไม่พ้นคนสนิทคนรู้จักของประธานาธิบดี
กรณีนี้ถ้ามีรูปแบบที่ 3 ซึ่งเป็นแบบ มาหาอะไร ก็ได้
เพราะไม่รู้ว่ามีประเทศไหนใช้อยู่
เพราะพึ่งคิดขึ้นมาเมื่อกี้
อาจมีหรือไม่มีใช้อยู่ในโลกปัจจุบันก็ได้
คือให้คนที่อยู่ในวงการยุติธรรม
เคยมีประวัติตัดสินคดีไม่น้อยกว่ากี่สิบคดี
ซึ่งสามารถกำหนดจำนวนคดีตามความเหมาะสมได้
ให้สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นศาลฎีกา
เพื่อให้ประชาชนทั้งประเทศโหวตมา
สมมุติถ้าต้องการ 10 คน
ประชาชนสามารถโหวตได้คนละชื่อ
เรียงลำดับคะแนนที่ได้มากที่สุดจากที่ 1 ถึงที่ 10
เป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อ
ซึ่งช่วงการรณรงค์จะไม่ให้มีการหาเสียง
แต่ใช้วิธีนำประวัติเก่าๆ มาแสดงผ่านสื่อต่างๆ
และให้มีการซักถามจาก สภาทั้งสองสภา
เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติและอภิปราย
รวมไปถึงสื่อและเวทีประชาชนทั่วไป
โดยมีการถ่ายทอดสด
เพื่อให้ได้คนที่มีประวัติดีที่สุด ยุติธรรมที่สุด
คนที่เคยมีประวัติไม่ดี ก็จะโดนแฉ
พวกชอบตัดสินตามใบสั่ง ก็จะโดนอภิปราย
และอาจมีการแสดงวิสัยทัศน์คนละชั่วโมงสองชั่วโมง
ว่าจะมาพัฒนากระบวนการยุติธรรมยังไง
หรือถ้ามาเป็นแล้ว จะทำอะไร
เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมดีขึ้น โปร่งใสมากขึ้น
เรียกว่าการมีหลายๆ เวที
การผ่านกระบวนการหลายๆ ขั้นตอน
ก็เพื่อคัดคนที่รักความเป็นธรรม
ต้องการเข้ามาเพื่อรักษาความยุติธรรมจริงๆ
และอาจสกัดพวกนักตัดสินตามใบสั่ง
พวกลำเอียงแต่มาทำงานด้านยุติธรรม
เพื่อให้สังคมมีกระบวนการยุติธรรมที่สามารถพึ่งพิงได้
ไม่ใช่มีเพื่อเป็นฐานอำนาจให้ใครผู้ใดโดยเฉพาะ
หรือมีเพื่อใช้เป็นเครื่องมือกำจัดศัตรูทางการเมือง
หรือกลั่นแกล้งประชาชนตาดำๆ ที่ไม่มีเส้น
ไม่ว่าสังคมไหน ถ้าความยุติธรรมไม่มี ความสงบสุขก็ไม่มี
โดย มาหาอะไร
FfF