พระราชบัญญัติ
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ( ฉบับที่ 19 )
พ.ศ.2543
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ.วันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2543
เป็นปีที่ 55 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภาดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ( ฉบับที่ 19 ) พ.ศ.2543"
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในหมวด 2 การพิจารณาโดยขาดนัด มาตรา 197 ถึงมาตรา 209 ในลักษณะ 2
วิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้นภาค 2 วิธีพิจารณาในศาลชั้นต้นแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"หมวด 2
การพิจารณาโดยขาดนัด
ส่วนที่ 1
การขาดนัดยื่นคำให้การ
มาตรา 197 เมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การแล้ว จำเลยมิได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามกฎหมายหรือตามคำสั่งศาล ให้ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ
มาตรา 198 ถ้าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ให้โจทก์มีคำขอต่อศาลภายในสิบห้าวันนับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลง เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัด
ถ้าโจทก์ไม่ยื่นคำขอต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นออกเสียจากสารบบความ
ถ้าโจทก์ยื่นคำขอต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีโดยขาดนัดไปตามมาตรา 198 ทวิ แต่ถ้าศาลมีเหตุสงสัยว่าจำเลย จะไม่ทราบหมายเรียกให้ยื่นคำให้การ ก็ให้ศาลมีคำสั่งให้ส่งหมายเรียกใหม่ โดยวิธีส่งหมายธรรมดาหรือโดยวิธีอื่นแทนและจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดตามที่เห็นสมควร เพื่อให้จำเลยได้ทราบหมายเรียกนั้นก้ได้
มาตรา 198 ทวิ ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์เป็ฝ่ายชนะคดีโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การมิได้ เว้นแต่ศาลเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ในการนี้ ศาลจะยกขึ้นอ้างโดยลำพังซึ่งข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ได้
เพื่อประโยชน์ในการพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีตามวรรคหนึ่ง ศาลอาจสืบพยานเกี่ยวกับข้ออ้างของโจทก์หรือพยานหลักฐานอื่นไปฝ่ายเดียวตามที่เห็นว่าจำเป็นก็ได้ แต่ในคดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคล สิทธิในครอบครัวหรือคดีพิพาทเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ ให้ศาลสืบพยานหลักฐานโจทก์ไปฝ่ายเดียวและศาลอาจเรียกพยานหลักฐานอื่นมาสืบได้เองตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ในการกำหนดจำนวนเงินตามคำขอบังคับของโจทก์ ให้ศาลปฏิบัติดังนี้
(1) ในกรณีที่โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินจำนวนแน่นอนให้ศาลมีคำสั่ง
ให้โจทก์ส่งพยานเอกสารตามที่ศาลเห็นว่าจำเป็นแทนการสืบพยาน
1. ในกรณีที่โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินอันไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดย
แน่นอน ให้ศาลสืบพยานหลักฐานโจทกืไปฝ่ายเดียวและศาลอาจเรียกพยานหลักฐานอื่นมาสืบได้เองตามที่เห็นว่าจำเป็น
ถ้าจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การไม่มาศาลในวันสืบพยานตามมาตรานี้ มิให้ถือว่าจำเลยนั้น
ขาดนัดพิจารณา
ถ้าโจทก์ไม่นำพยานหลักฐานมาสืบตามความในมาตรานี้ภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด ให้ถือว่าคดีของโจทก์ไม่มีมูลและให้ศาลยกฟ้องของโจทก์
มาตรา 198 ตรี ในคดีที่จำเลยบางคนขาดนัดยื่นคำให้การ ให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีโดยขาดนัดยื่นคำให้การระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การนั้นไปก่อน และดำเนินการพิจารณาคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ยื่นคำให้การต่อไป แต่ถ้ามูลความแห่งคดีนั้นเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ ให้ศาลรอการพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดีโดยขาดนัดยื่นคำให้การไว้ก่อน เมื่อศาลดำเนินการพิจารณาสำหรับจำเลยที่ยื่นคำให้การเสร็จสิ้นแล้ว ก็ให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีไปตามรูปคดีสำหรับจำเลยทุกคน
ในกรณีที่จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การไม่มาศาลในวันที่สืบพยานของคู่ความอื่น มิให้ถือว่าจำเลยนั้นขาดนัดพิจารณา
มาตรา 199 ถ้าจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การมาศาลก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดีและแจ้งต่อศาล ในโอกาสแรกว่า ตนประสงค์จะต่อสู้คดี เมื่อศาลเห็นว่าการขาดนัดยื่นคำให้การนั้นมิได้เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุอัน สมควร ให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาตามที่ศาลเห็นสมควร และดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตั้งแต่เวลาที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ
ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การมิได้แจ้งต่อศาลก็ดี หรือศษลเห็นว่าการขาดนัดยื่นคำให้การนั้นเป็นไปโดยจงใจหรือไม่มีเหตุอันสมควรก็ดี ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ในกรณีเช่นนี้ จำเลยอาจถามค้านพยานโจทก์ที่อยู่ระหว่างการสืบได้ แต่จะนำสืบพยานหลักฐานของตนไม่ได้
ในกรณีที่จำเลยมิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งหรือศาลไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การตามวรรคสอง หรือศาลเคยมีคำสั่งให้พิจารณาคดีใหม่ตามคำขอของจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การตามมาตรา 199 ตรี มาก่อน จำเลยนั้นจะขอยื่นคำให้การตามมาตรานี้อีกหรือจะร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ไม่ได้
มาตรา 199 ทวิ เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การแพ้คดี ศาลอาจกำหนดการอย่างใดตามที่เห็นสมควรเพื่อส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำ สั่งให้แก่จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การโดยวิธีส่งหมายธรรมดาหรือโดยวิธีอื่น แทน หรือศาลจะให้เลื่อนการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งเช่นว่านั้นไปภายในระยะ เวลาที่ศาลเห็นสมควรก็ได้
การบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งแก่จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การนั้นให้บังคับตามมาตรา 273 มาตรา 292 และมาตรา 317
มาตรา 199 ตรี จำเลยซึ่งศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้แพ้คดีโดยขาดนัดยื่นคำให้การ ถ้ามิได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น จำเลยนั้นอาจยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ เว้นแต่
(1) ศาลเคยมีคำสั่งให้พิจารณาคดีนั้นใหม่มาครั้งหนึ่งแล้ว
(2) คำขอให้พิจารณาคดีใหม่นั้นต้องห้ามตามกฎหมาย
มาตรา 199 จัตวา คำขอให้พิจารณาคดีใหม่นั้น ให้ยื่นต่อศาลภายในสิบห้าวันนับจากวันที่
ได้ส่งคำบังคับ ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การ แต่ถ้าศาลได้กำหนดการอย่างใดๆ เพื่อส่งคำบังคับเช่นว่านี้ โดยวิธีส่งหมายธรรมดาหรือโดยวิธีอื่นแทน จะต้องได้มีการปฏิบัติตามข้อกำหนดนั้นแล้ว ในกรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ไม่สามารถยื่นคำขอภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับ ได้ จำเลยนั้นอาจยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง แต่กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตามห้ามมิให้ยื่นคำขอเช่นว่านี้เมื่อพ้นกำหนดหกเดือน นับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธี อื่น
คำขอตามวรรคหนึ่งให้กล่าวโดยชัดแจ้งซึ่งเหตุที่จำเลยได้ขาดนัดยื่นคำให้การและขอคัดค้าคำตัดสินชี้ขาดของศาลที่แสดงให้เห็นว่า หากศาลได้พิจารณาคดีนั้นใหม่ตนอาจเป็นฝ่ายชนะ และในกรณีที่ยื่นคำขอล่าช้า ให้แสดงเหตุแห่งการล่าช้านั้นด้วย
มาตรา 199 เบญจ เมื่อศาลได้รับคำขอให้พิจารณาคดีใหม่แล้ว หากเห็นสมควร ศาลจะมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ ให้ศาลแจ้งคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ
ในการพิจารณาคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ ถ้ามีเหตุควรเชื่อว่ากาารขาดนัดยื่นคำให้การนั้นมิได้เป็นไปโดยจงใจ หรือมีเหตุอันสมควร และศาลเห็นว่าเหตุผลที่อ้างมาในคำขอนั้นผู้ขออาจมีทางชนะคดีได้ทั้งในกรณีที่ยื่นคำขอล่าช้านั้น ผู้ขอได้ยื่นภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอ ในกรณีเช่นนี้ ถ้ามีการอุทธรณ์ หรือ ฎีกา คำพิพากษาหรือ คำสั่ง ให้คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดยื่นคำให้การแพ้คดี ให้ศาลแจ้งคำสั่งดังกล่าว ให้ศาลอุทธรณ์ หรือ ศาลฎีกา แล้วแต่กรณี ทราบด้วย
เมื่อ ศาลได่มีคำสั่งอนุญาตตามคำขอ ให้พิจารณาคดีใหม่ตามวรรคสอง คำพิพากษา หรือ คำสั่ง ของศาล โดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ และคำพิพากษาหรือคำสั่งอื่นๆ ของศาลอุทธรรณ์ หรือ ศาลฎีกา ในคดีเดียวกันนั้น และวีธีการบังคับคดีที่ได้ดำเนินไปแล้ว ให้ถือว่าเป็นอันเพิกถอนไปในตัว และให้ศาลแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ แต่ถ้าเป็นการพ้นวิสัย ที่จะให้คูความกลับคืนสู่ฐานะเดิม ดังเช่นก่อนบังคับคดีได้ หรือ เมื่อ ศาลเห็นว่า ไม่จำเป็นที่จะบังคับเช่นนั้น เพื่อ ประโยชน์แก่คู่ความ หรือ บุคคลภายนอก ให้ศาลมีอำนาจสั่งอย่างใดๆ ตามที่เห็นสมควร แล้วให้ศาลพิจารณษคดีนั้นใใหม่ตั้งแต่เวลา ที่จำเลยขาดนัดยื่นคำใให้การ โดยให้จำเลยยื่นคำให้การ ภายในกำหนดเวลา ตามที่ศาลเห็นสมควร
คำสั่งที่ศาลอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่เป็นที่สุด แต่ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตผู้ขออาจอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าววได้ คำพิพากษาของศาลอุทธรรณ์ให้เป็นที่สุด
ถ้าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ โดยจงใจ หรือ ไม่มีเหตุอันสมควร เป็นเตุให้คูความอีกฝ่ายหนึ่งต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียม มากกว่าที่ควรจะต้องเสีย เสียค่าฤชาธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นนั้น ให้ถือว่าเป็น ค่าฤชาธรรมเนียม อันไม่จำเป็น ตามความหมายแห่งมาตรา 166
มาตรา 199 ฉ. ในกรณีที่โจทก์มิได้ให้การแก้ฟ้องแย้งของจำเลยภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ให้นำบทบัญญัติในส่วนที่ 1 นี้มาใช้บังคับเพียงเท่าที่เกี่ยวกับฟ้องแย้ง เช่นว่านั้นโดยอนุโลม
ส่วนที่ 2
การขาดนัดพิจารณา
มาตรา 200 ภายใต้บังคับมาตรา 189 ทวิ และ มาตรา 189 ตรี ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาล ในวันสืบพยาน และไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี ให้ถือว่าคู่ความฝ่านนั้นขาดนัดพิจารณา
ถ้าคู่ความฝ่ายใดไม่มาศาล ในวันนัดอื่น ที่มิใช่วันสืบพยาน ให้ถือว่าคู่ความฝ่ายนั้นสละสิทธิการดำเนินกระบวนพิจารณาของตนในนัดนั้น และทราบกระบวนพิจารณาที่ศาล ได้ดำเนินไปในนัดนั้นด้วยแล้ว
มาตรา 201 ถ้าคู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณา ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้น ออกจากสารบบความ
มาตรา 202 ถ้าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสียจากสารบบความ เว้นแต่จำเลยจะได้แจ้งต่อศาลในวันสืบพยาน ขอให้ดำเนินการพิจารณาต่อไป ก็ให้ศาลพิจารณา และชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียว
มาตรา 203 ห้ามมิให้โจทก์ อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดี ตามมาตรา 201 และ มาตรา 202 แต่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความ คำสั่งเช่นว่านี้ไม่ตัดสิทธิโจทก์ ที่จะเสนอคำฟ้องของตนใหม่
มาตรา 204 ถ้าจำเลยขาดนัดพิจารณา ให้ศาลพิจารณา และชี้ขาด ตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียว
มาตรา 205 ในกรณีดังกล่าวมาในมาตรา 202 และ มาตรา 204 ถ้ายังไม่เป็นที่พอใจของศาลว่า ได้ส่งหมายกำหนด วันนัดสืบพยาน ไปให้คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดทราบโดยชอบแล้ว ให้ศาลมีคำสั่งเลื่อนวันสืบพยานไป และกำหนดวิธีการอย่างใดตามที่เห็นสมควร เพื่อให้มีการส่งหมายกำหนดวันสืบพยานใหม่แก่คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดพิจาณา โดยวิธีการส่งหมายธรรมดา หรือ โดยวิธีอื่นแทน ถ้าได้กระทำดังเช่นว่ามาแล้ว คู่ความฝ่ายนั้นยังไม่มาศาลก่อนเริ่มสืบพยานในวันที่กำหนดไว้ในหมายนั้น ก็ให้ศาลดำเนินคดีนั้นไปดังที่บัญญัติไว้ ใน 202 และ มาตรา 204 แล้วแต่กรณี
มาตรา 206 คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จะร้องต่อศาล ให้วินิจฉัยชี้ขาดคดี ให้ตนเป็นฝ่ายชนะ โดยอาศัยเหตุแต่เพียงว่า คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งขาดนัดพิจาณานั้นหาได้ไม่ ให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดีให้คู่ความที่มาศาลเป็นฝ่ายชนะต่อเมื่อศาลเห็นว่า ข้ออ้างของคู่ความเช่านว่านี้ มีมูล และไม่ขัดต่อกฎหมาย ในการนี้ ศาลจะยกขึ้นอ้างโดยลำพัง ซึ่งข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ของประชาชน ก็ได้
เพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยชี้ขาดคดี ตามวรรคหนึ่ง ให้นำบทบัญญัติมาตรา 189 ทวิ วรรคสอง และ วรรคสาม มาใช้บังคับแก่คดีของคู่ความฝ่ายที่มาศาล โดยอนุโลม
ในระหว่างการพิจารณาคดีฝ่ายเดียว ถ้าคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดพิจารณา มาศาลภายหลัง ที่เริ่มต้นสืบพยานไปบ้างแล้ว และแจ้งต่อศาลในโอกาสแรกว่าตนประสงค์จะดำเนินคดี เมื่อศาลเห็นว่ากรขาดนัดพิจารณานั้น มิได้เป็นไปโดยจงใจ หรือ มีเหตุอันสมควร และศาลไม่เคยมีคำสั่งให้พิจารณาคดีใหม่ ตามคำขอของคู่ความฝ่ายนั้นมาก่อน ตาม มาตรา 199 ตรี ซึ่งให้นำมาใช้บังคับกับการขาดนัดพิจารณา ตาม มาตรา 207 ด้วย ให้ศาลมีคำสั่งให้พิจารณาคดีนั้นใหม่ ในกรณีเช่นนี้ หากคู่ความนั้นขาดนัดพิจารณาอีก จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ ตาม มาตรา นี้ไม่ได้
ในกรณี ตามวรรคสาม ถ้าคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดพิจารณา มิได้แจ้งต่อศาลก็ดี หรือ ศาลเห็นว่า การขาดนัดพิจารณา นั้น เป็นไปโดยจงใจ หรือ ไม่มีเหตุอันสมควรก็ดี หรือ คำขอให้พิจารณาคดีใหม่นั้น ต้องห้ามตามกฎหมายก็ดี ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป แต่
1. ห้ามไม่ให้ศาลอนุญาตให้คู่ความที่ขาดนัดพิจารณา นำพยานเข้าสืบ ถ้าคู่ความนั้นมา
ศาล เมื่อพ้นเวลาที่จะนำพยาน ของตนเข้าสืบแล้ว
2. ถ้าคู่ความที่ขาดนัดพิจารณา มาศาลเมื่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ได้นำพยานหลักฐานเข้าสืบ
ไป แล้ว ห้ามไม่ให้ศาลยอมให้คู่ความที่ขาดนัดพิจารณาคัดค้านพยานหลักฐานเช่นว่านั้น โดยวิธีถามค้านพยานของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งที่ได้สืบไปแล้วหรือโดยวิธีคัด ค้านการระบุเอกสารหรือคัดค้านคำขอที่ให้ศาลไปทำการตรวจหรือให้ตั้งผู้เชี่ยว ชาญของศาล แต่ถ้าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนำพยานหลักฐานเข้าสืบยังไม่บริบูรณ์ ให้ศาลอนุญาตให้คู่ความที่ขาดนัดพิจารณาหักล้างได้แต่เฉพาะพยานหลักฐานที่นำ สืบภายหลังที่ตนมาศาล
3. ในกรณีเช่นนี้ คู่ความที่ขาดนัดพิจารณาไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่
มาตรา 207 เมื่อศาลพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดพิจารณาแพ้คดี ให้นำบทบัญญัติ
มาตรา 199 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมและคู่ความฝ่ายนั้นอาจมีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ ทั้งนี้ให้นำบทบัญญัติมาตรา 199 ตรี มาตรา 199 จัตวาและมาตรา 199 เบญจ มาใช้บังคับโดบอนุโลม"
มาตรา 4 บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่อ้างถึงบทบัญญัติในหมวด 2 การพิจารณาโดยขาดนัดแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ให้ถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวนั้นอ้างถึงบทบัญญัติในหมวด 2 การพิจารณาโดยขาดนัด แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ในบทมาตราที่มีนัยเช่นเดียวกัน
มาตรา 5 พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่คดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้แล้วก่อนวันที่พระราช บัญญัตินี้ใช้บังคับและให้ใช้กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่ยื่นฟ้องนั้น บังคับแก่คดีดังกล่าวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
มาตรา 6 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมรักษาการตาพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระราชโองการ
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้ คือ เนื่องจากบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในส่วนที่เกี่ยวกับ การพิจารณาโดยขาดนัดที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีความล้าสมัยและไม่สอดคล้องกับ สภาวการณ์ปัจจุบัน อีกทั้งมีบทบัญญัติที่ขาดความชัดเจนในหลายประการ เป็นเหตุให้การดำเนินคดีในกรณีที่ คู่ความขาดนัดยื่นคำให้การหรือขาดนัดพิจารณาเป็นไปโดยล่าช้าและมีข้อโต้แย้ง ที่คู่ความอาจใช้เป็นช่องทางในการประวิงคดีได้ สมควรแก้ไขบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในส่วนที่เกี่ยวกับ การพิจารณาโดยขาดนัดให้เหมาะสมและชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อให้ศาลสามารถพิพากษาให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีไปได้ เมื่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งขาดนัดยื่นคำให้การ และเพื่อให้กระบวนพิจารณาพิพากษาคดีที่คู่ความขาดนัดยื่นคำให้การหรือขาดนัด พิจารณาเป็นไปด้วยความเป็นธรรมทุกฝ่าย รวมทั้งรวดเร็ว ประหยัดและชัดเจนแน่นอนยิ่งขึ้น อันจะเป็นหลักประกันการใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์และการคุ้มครองสิทธิของ จำเลย ตลอดจนทำให้คดีที่ค้างการพิจารณาในศาลลดน้อยลง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
( ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนที่ 19 ก วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2543 )
บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.