พระราชบัญญัติ
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๘)
พ.ศ. 2542
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๒
เป็นปีที่ ๕๔ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้ กระทำได้ โดยอาศัย อำนาจตาม บทบัญญัติ แห่งกฎหมาย
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภาดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่...) พ.ศ. ....."
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความใน (๓) ของมาตรา ๑๕ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"(๓) หมายบังคับคดีและหมายของศาลที่ออกให้จับและกักขังบุคคลใดตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ อาจบังคับได้ไม่ว่าในที่ใด ๆ"
มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของมาตรา ๑๕ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
"ในกรณีที่มีการบังคับคดีนอกเขตศาลที่ออกหมายบังคับคดี ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำแถลงหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานให้ ศาลที่จะมีการบังคับคดีทราบ ในกรณีเช่นว่านี้ให้ศาลที่จะมีการบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อ ดำเนินการบังคับคดีโดยไม่ชักช้า และให้ศาลนั้น ดำเนินการไปเสมือนหนึ่งเป็นศาลที่บังคับคดีแทนตามมาตรา ๓๐๒ วรรคสาม"
มาตรา ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสี่ของมาตรา ๒๘๕ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๑๘
"คำสั่งของศาลตามวรรคหนึ่ง (๑) และ (๒) ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ได้และคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด"
มาตรา ๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสาม วรรคสี่ และวรรคห้า ของมาตรา ๒๘๖ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๑๘
"ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจออกคำสั่งอายัดตามมาตรา ๓๑๑ วรรคสอง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจกำหนดจำนวน เงินตาม (๑) (๓) และ (๔) และให้นำความในวรรคสองมาใช้บังคับแก่การกำหนดจำนวนเงินตาม (๑) และ (๓) โดยอนุโลม แต่ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีไม่เห็นด้วยกับจำนวนเงินที่ เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนด บุคคลดังกล่าว อาจยื่นคำร้องต่อศาลภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการกำหนดจำนวนเงิน เช่นว่านั้น เพื่อขอให้ศาลกำหนดจำนวนเงินใหม่ได้
ในกรณีที่พฤติการณ์แห่งการดำรงชีพของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้เปลี่ยนแปลงไป บุคคลตามวรรคสามจะยื่นคำร้องให้ศาลหรือ เจ้าพนักงานบังคับคดี แล้วแต่กรณี กำหนดจำนวนเงินตาม (๑) และ (๓) ใหม่ก็ได้
คำสั่งของศาลที่เกี่ยวกับการกำหนดจำนวนเงินตามมาตรานี้ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ได้ และคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ ให้เป็นที่สุด"
มาตรา ๗ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของมาตรา ๒๘๘ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๔๙๙
"คำสั่งของศาลตามวรรคสอง (๑) และ (๒) ให้เป็นที่สุด"
มาตรา ๘ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคเก้าของมาตรา ๒๙๐ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๒๗
"คำสั่งอนุญาตของศาลตามวรรคแปดให้เป็นที่สุด"
มาตรา ๙ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของมาตรา ๒๙๑ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
"คำสั่งอนุญาตของศาลตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด"
มาตรา ๑๐ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๒๙๓ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ถ้าศาลเห็นว่าข้ออ้างของลูกหนี้ตามคำพิพากษามีเหตุฟังได้และถ้างดการบังคับคดีไว้ไม่น่าจะเป็นที่เสียหายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ศาลอาจมีคำสั่งงดการบังคับคดีไว้ภายในระยะเวลาและเงื่อนไขตามที่เห็นสมควร"
มาตรา ๑๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของมาตรา ๒๙๓ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
"คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด"
มาตรา ๑๒ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๙๖ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา ๒๙๖ ในกรณีที่คำบังคับ หมายบังคับคดี หรือคำสั่งศาลในชั้นบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะนี้ เมื่อศาลเห็นสมควร ไม่ว่าในเวลาใดก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลงหรือเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดี รายงานต่อศาล หรือเมื่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีซึ่งต้องเสียหายเพราะเหตุดัง กล่าวยื่นคำร้องต่อศาล ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขคำบังคับ หมายบังคับคดีหรือคำสั่งดังกล่าวทั้งหมดหรือบางส่วน หรือมีคำสั่งอย่างใดตามที่ศาลเห็นสมควร
ภายใต้บังคับมาตรา ๓๐๙ ทวิ วรรคสอง ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะนี้ เมื่อศาล เห็นสมควรไม่ว่าในเวลาใดก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง หรือเมื่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสีย ในการบังคับคดีซึ่งต้องเสียหายเพราะเหตุดังกล่าวยื่นคำร้องต่อศาล ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขกระบวนวิธีการบังคับคดีทั้งปวง หรือวิธีการบังคับใด ๆ โดยเฉพาะหรือมีคำสั่งกำหนดวิธีการอย่างใดตามที่ศาลเห็นสมควร
การยื่นคำร้องตามมาตรานี้อาจกระทำได้ไม่ว่าในเวลาใดก่อนการบังคับคดีได้ เสร็จลง แต่ต้องไม่ช้ากว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบข้อความ หรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น แต่ทั้งนี้ผู้ยื่นคำร้องต้องมิได้ดำเนินการอันใดขึ้นใหม่หลังจากได้ทราบ เรื่องฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะ นี้แล้ว หรือต้องมิได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำนั้น และในกรณีเช่นว่านี้ผู้ยื่นคำร้องจะขอต่อศาลในขณะเดียวกันนั้นให้มีคำสั่งงด การบังคับคดีไว้ในระหว่าง วินิจฉัยชี้ขาดก็ได้
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ให้ถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลง เมื่อได้มีการดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่คำบังคับหรือหมายบังคับคดีกำหนดให้ส่งมอบทรัพย์สิน กระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใด เมื่อได้มีการปฏิบัติตาม คำบังคับหรือหมายบังคับคดีที่ให้ส่งมอบทรัพย์สินกระทำการหรืองดเว้นกระทำการ อย่างนั้นแล้ว แต่ถ้าการปฏิบัติตามคำบังคับหรือหมายบังคับคดี ดังกล่าว อาจแยกได้เป็นส่วน ๆ เมื่อได้มีการปฏิบัติตามคำบังคับหรือหมายบังคับคดีในส่วนใดแล้ว ให้ถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงเฉพาะในส่วนนั้น
(๒) ในกรณีที่คำบังคับหรือหมายบังคับคดีกำหนดให้ใช้เงิน เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้จ่ายเงินตามมาตรา ๓๑๘ มาตรา ๓๑๙ มาตรา ๓๒๐ หรือมาตรา ๓๒๒ แล้วแต่กรณี แล้ว แต่ถ้าทรัพย์สินที่ถูกบังคับคดีมีหลายรายการ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้จ่ายเงินที่ได้จากการ ขายทอดตลาดทรัพย์สินรายการใดแล้ว ให้ถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงเฉพาะทรัพย์สินรายการนั้น
ในการยื่นคำร้องต่อศาลตามมาตรานี้ หากมีพยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคำร้องนั้นไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อ ประวิงให้ชักช้า เมื่อศาล เห็นสมควรหรือเมื่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากาษาหรือบุคคลอื่นที่อาจได้รับความเสีย หายเนื่องจากการยื่นคำร้องดังกล่าวร้องขอศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้ผู้ยื่น คำร้องวางเงินหรือหาประกันต่อศาลตามจำนวนและภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควร กำหนด เพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตาม คำพิพากษาหรือบุคคลนั้นได้ ถ้าผู้ยื่นคำร้องไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ให้ศาลมีคำสั่งยกคำร้องนั้นเสีย คำสั่งของศาลที่ออกตามความในวรรคนี้ให้เป็นที่สุด
ในกรณีที่ศาลได้มีคำสั่งยกคำร้องที่ยื่นไว้ตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลอื่นที่ได้รับความเสียหายเนื่องจาก การยื่นคำร้องดังกล่าวเห็นว่าคำร้องนั้นไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิง ให้ชักช้า บุคคลดังกล่าวอาจยื่นคำร้องต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีคำสั่งยกคำ ร้อง เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ยื่นคำร้องนั้น ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนได้ ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้แยกการพิจารณาเป็นสำนวนต่างหากจากคดีเดิม และเมื่อศาลไต่สวนแล้วเห็นว่า คำร้องนั้นรับฟังได้ ให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ยื่นคำร้องนั้นชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เจ้าหนี้ตามคำ พิพากษาหรือบุคคลที่ได้รับความเสียหายดังกล่าวตาม จำนวนที่ศาลเห็นสมควร ถ้าผู้ยื่นคำร้องนั้นไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ศาลมีอำนาจบังคับผู้ยื่นคำร้องนั้นได้เสมือนหนึ่งว่าเป็นลูกหนี้ตามคำ พิพากษา"
มาตรา ๑๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของมาตรา ๓๐๖ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
"คำสั่งอนุญาตของศาลตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด"
มาตรา ๑๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของมาตรา ๓๐๗ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
"คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ได้ และคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด"
มาตรา ๑๕ ให้เพิ่มความต่อไปเป็นมาตรา ๓๐๙ ทวิ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
"มาตรา ๓๐๙ ทวิ ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้นก่อนที่เจ้าพนักงาน บังคับคดีจะเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคา สูงสุดที่เจ้าพนักงานบังคับคดี เห็นว่าเป็นราคาที่สมควรขายได้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี อาจคัดค้านว่าราคาดังกล่าวมีจำนวนต่ำเกินสมควร ในกรณีเช่นว่านี้ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเลื่อนการขาดทอดตลาดทรัพย์สินไป และในการขาด ทอดตลาดทรัพย์สินครั้งต่อ ๆ ไป หากมีผู้เสนอราคาสูงสุดในจำนวนไม่น้อยกว่าจำนวนที่ผู้เสนอราคาสูงสุดได้เสนอ ในการขาดทอดตลาดทรัพย์สิน ครั้งก่อน ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายให้แก่ผูเสนอราคานั้นได้
ในกรณีที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีเห็นว่าราคาที่ได้จากการขาดทอดตลาด ทรัพย์สินมีจำนวนต่ำเกินสมควรและการขายทอดตลาดทรัพย์สินต่ำเกินสมควรนั้น เกิดจากการคบคิดกันฉ้อฉลในระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในการเข้าสู้ราคา หรือความไม่สุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับ คดีในการปฏิบัติหน้าที่ บุคคลดังกบ่าวอาจยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอ ให้มีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์สินตามบทบัญญัติแห่งลักษณะนี้ได้ และเมื่อศาลไต่สวนแล้วเห็นว่าคำร้องนั้นรับฟังได้ ให้ศาลมีคำสั่งอนุญาต ตามคำร้องนั้น
ให้นำบทบัญญัติในวรรคสาม วรรคสี่ วรรคห้า และวรรคหกของมาตรา ๒๙๖ มาใช้บังคับแก่การยื่นคำร้องตามวรรคสองโดยอนุโลม
คำสั่งของศาลตามวรรคสองให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ได้ และคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด"
มาตรา ๑๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๑๐ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา ๓๑๐ เมื่อได้มีการยึดทรัพย์แล้ว สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้อันมีต่อบุคคลภายนอกนั้น ให้จัดการดังต่อไปนี้
ผู้รับสนองพระราชโองการ
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี
บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.