โดย ผู้จัดการออนไลน์ 9 พฤษภาคม 2548 21:51 น.
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
สภาพแปลงยางชำถุงในฟาร์มกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร เครือซีพี ที่ให้เอกชนเช่าเพาะชำยางถุงซึ่งเพิ่งแตกตาและบางส่วนติดโรคเฉาตาย
?ผู้จัดการรายวัน? ตรวจสอบข้อมูลการแจ้งจำนวนแปลงกิ่งตาและแปลงกล้ายางเทียบกับทำเนียบแปลงขยาย พันธุ์ต้นยางเพื่อการค้า ประจำปี 2546 ของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร พบว่า การแสดงเนื้อที่ของแปลงกิ่งตายางของซีพี ไม่ตรงตามข้อเท็จจริง จำนวน 6 แปลง คือ
1. แปลงของนางสุภาวิณีย์ หนูทอง บ้านเลขที่ 317 ถ.กันตัง ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง ซีพี แจ้งเนื้อที่ 15 ไร่ กิ่งตายางพันธุ์ RRIM 600 จำนวน 700,000 กิ่ง แต่ตัวเลขการขึ้นทะเบียนในทำเนียบแปลงขยายพันธุ์ต้นยางฯ มีเพียง 2 ไร่ จำนวน 50,000 กิ่ง
2. แปลงของนางวารุณี ศรีวะปะ 62/1 ม. 9 ต.ทุ่งค่าย อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง ซีพี แจ้ง 30 ไร่ จำนวน 800,000 กิ่ง แต่ตัวเลขการขึ้นทะเบียนในทำเนียบแปลงขยายพันธุ์ฯ มีเพียง 16 ไร่ จำนวน 417,500 กิ่ง
3. แปลงนายสุนทร พรหมมี 139/1 ม.6 ต.โคกสะบ้า อ.นาโยง จ.ตรัง ซีพี แจ้งเนื้อที่36 ไร่ จำนวน 1,400,000 กิ่ง แต่ตัวเลขการขึ้นทะเบียนในทำเนียบแปลงขยายพันธุ์ฯ มีเพียง 4 ? 2-0 ไร่ จำนวน 143,500 กิ่ง
4. แปลงนายสุธรรม แซ่โค้ว 49/2 ม. 1 ต.ทุ่งยาว อ.ปะเหลียน จ.ตรัง ซีพี แจ้งเนื้อที่ 23 ไร่ จำนวน 600,000 กิ่ง แต่การขึ้นทะเบียนในทำเนียบแปลงขยายพันธุ์ฯ มีเพียง 20 ไร่ จำนวน 621,450 กิ่ง
5. แปลงของนายโสภณ ดำจุ้ย 179/4 ม.4 ต.ลิพัง อ.ปะเหลียน จ.ตรัง ซีพี แจ้งเนื้อที่ 19 ไร่ จำนวน 760,000 กิ่ง แต่การขึ้นทะเบียนในทำเนียบแปลงขยายพันธุ์ฯ มีเพียง 6 ไร่ จำนวน 172,550 กิ่ง
6. แปลงของนายเล่ง แซ่โค้ว 126 ม.6 ต.ทุ่งหว้า อ.ทุ่งหว้า จ.สตูล ซีพี แจ้งเนื้อที่ 40 ไร่ จำนวน 1,275,000 กิ่ง แต่การขึ้นทะเบียนในทำเนียบแปลงขยายพันธุ์ฯ มีเพียง 30 ไร่ จำนวน 512,650 กิ่ง
กล่าวเฉพาะในส่วนของแปลงกิ่งตายาง ซีพี แจ้งเท็จ 85 ไร่ คือ มีแปลงกิ่งตายางที่ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร เพียง 187 ไร่เท่านั้น ซึ่งไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดให้ผู้เข้าร่วมประมูลมีแปลงเพาะขยายพันธุ์ ยาง ไม่น้อยกว่า 200 ไร่
ส่วนแปลงต้นกล้า ที่เงื่อนไขประมูลกำหนดให้มีไม่น้อยกว่า 1,000 ไร่ ในเอกสารยื่นประมูลของบริษัท แจ้งมี 1,961 ไร่ แต่เป็นหลักฐานเท็จเมื่อตรวจสอบจากเอกสารทำเนียบแปลงขยายพันธุ์ฯ ประจำปี 2546 โดยเนื้อที่ที่ขอจดทะบียนฯ กับเนื้อที่ที่บริษัทแจ้งแตกต่างกัน ดังนี้
1. แปลงของนางวารุณี ศรีวะปะ 62/1 ม.9 ต.ทุ่งค่าย อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง ซีพี แจ้ง 150 ไร่ กำลังผลิต 1,950,000 ต้น แต่ตัวเลขการขึ้นทะเบียนในทำเนียบแปลงขยายพันธุ์ฯ จริงมีเพียง 45 ไร่ 675,000 ต้น
2. แปลงของนายสุเทพ เยี่ยมอุดม 188 ถ.เพชรเกษม ต.ห้วยยอด อ.ห้วยยอด จ.ตรัง ซีพี แจ้ง 100 ไร่ กำลังผลิต 1,200,000 ต้น ตัวเลขการขึ้นทะเบียนฯ มีเพียง 15 ไร่ 225,000 ต้น
3. แปลงของนายสุนทร พรหมมี 139/1 ม.6 ต.โคกสะบ้า อ.นาโยง จ.ตรัง ซีพี แจ้ง 150 ไร่ กำลังผลิต 2,250,000 ต้น ส่วนตัวเลขการขึ้นทะเบียนฯ มีเพียง 27 ไร่ 405,000 ต้น
4. แปลงของนายปรีชา ใจสมุทร 9 หมู่ 5 ต.ทุ่งยาว อ.ปะเหลียน จ.ตรัง ซีพี แจ้ง 80 ไร่ กำลังผลิต 1,200,000 ต้น แต่ตัวเลขการขึ้นทะเบียนฯ มีเพียง 17 ไร่ จำนวน 246,500 ต้น
5. แปลงของนายสุธรรม แซ่โค้ว 49/2 ม. 1 ต.ทุ่งยาว อ.ปะเหลียน จ.ตรัง ซีพี แจ้ง 150ไน่ กำลังผลิต 1,950,000 ต้น แต่ตัวเลขการขึ้นทะเบียนฯ มีเพียง 20 ไร่ จำนวน 290,000 ต้น
6. แปลงของนายโสภณ ดำจุ้ย 179/4 ม.4 ต.ลิพัง อ.ปะเหลียน จ.ตรัง ซีพี แจ้งเนื้อที่ 120 ไร่ กำลังผลิต 1,680,000 ไร่ แต่ตัวเลขการขึ้นทะเบียนฯ มีเพียง 47 ไร่ จำนวน 681,500 ต้น
7.แปลงของนายอ้า แซ่โค้ว 76 ม. 5 ต.ทุ่งยาว อ.ปะเหลียน จ.ตรัง ซีพี แจ้งเนื้อที่ 125 ไร่ กำลังผลิต 2,000,000 ต้น แต่ตัวเลขการขึ้นทะเบียนฯ มีเพียง 50 ไร่ จำนวน 725,000 ต้น
8. แปลงของนายชัยยุทธ สุขลิ้ม 33/8 ม. 1 ต.ทุ่งยาว อ.ปะเหลียน จ.ตรัง ซีพี แจ้งเนื้อที่ 100 ไร่ กำลังผลิต 1,200,000 ต้น แต่ตัวเลขการขึ้นทะเบียนฯ มีเพียง 56 ไร่ จำนวน 840,000 ต้น
9. แปลงของนายเล่ง แซ่โค้ว 126 ม. 6 ต.ทุ่งหว้า อ.ทุ่งหว้า จ.สตูล ซีพี แจ้ง 160 ไร่ กำลังผลิต 2,000,000 ต้น แต่ตัวเลขการขึ้นทะเบียนฯ มีเพียง 50 ไร่ จำนวน 750,000 ต้น
10. ฟาร์มกำแพงเพชร (ของกลุ่มซีพี) 187-189 ม. 9 ต.เทพนคร อ.เมือง จ.กำแพงเพชร ซีพี แจ้งเนื้อที่ 300 ไร่ กำลังผลิต 4,500,000 ต้น แต่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการฯ
11. ฟาร์มแสลงพัน-คำพราน 58 ม. 5 อ.วังม่วง จ.สระบุรี (ของกลุ่มซีพี) ซีพี แจ้งเนื้อที่ 200 ไร่ กำลังผลิต 3,000,000 ต้น แต่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการฯ
จากข้อมูลข้างต้น พบว่า เครือซีพี แจ้งหลักฐานอันเป็นเท็จประกอบการเข้าร่วมประมูลกันถึง 808 ไร่ และอีก 500 ไร่ ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการฯ รวมพื้นที่จำนวน 1,308ไร่ ซึ่งไม่เป็นไปตามเงื่อนไขประมูลที่จะต้องมีแปลงกล้ายางที่ขึ้นทะเบียนกับกรม วิชาการฯ ไม่ต่ำกว่า 1,000 ไร่ เพราะข้อเท็จจริงแปลงยางที่ซีพี กล่าวอ้างขึ้นทะเบียนจริงเพียง 653ไร่เท่านั้น
---------------------------------------------------------------
แฉไอ้โม่งทุจริตกล้ายาง
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 9 พฤษภาคม 2548 21:52 น.
สภาพแปลงยางชำถุงในฟาร์มกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร เครือซีพี ที่ถูกทิ้งร้างเนื่องจากปีที่ผ่านมาแปลงแห่งนี้เพาะยางชำถุงจำนวนล้านต้นแต่ ได้มาตรฐานพร้อมส่งมอบเพียง 5 แสนต้น
เบื้องหลังความเสียหายโครงการปลูกยางล้านไร่ เหตุฝ่ายการเมืองเร่งรัดในลักษณะ ?แดกด่วน? ซ้ำยังคัดเลือกยักษ์ซีพีที่ขาดคุณสมบัติ ผิดเงื่อนไขประมูล ไม่มีประสบการณ์และความพร้อมเป็นผู้ส่งมอบยางจำนวนมโหฬารถึง 90 ล้านต้น เผยซีพียุบทิ้งโครงการผลิตกล้ายางคล้อยหลังชนะประมูลเพียงเดือนเศษ หันสวมบทโบรกเกอร์จับเสือมือเปล่ากินส่วนต่างเหนาะๆ กว่า 350 ล้าน
นายโกเมน สงค์ประเสริฐ อดีตอัยการประจำจังหวัดหนองคาย กรรมการสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย จังหวัดหนองคาย เปิดเผยว่า โครงการปลูกยางเพื่อยกระดับรายได้ฯ 1 ล้านไร่ เป็นโครงการที่ทำกันอย่างเร่งรีบเพราะเป็นช่วงใกล้หาเสียงเลือกตั้ง อีกทั้งกลุ่มซีพีที่ชนะประมูลไม่ใช่มืออาชีพ ไม่เคยทำเรื่องยางมาก่อน แต่เข้ามาจับเสือมือเปล่า หน่วยปฏิบัติคือฝ่ายราชการก็ไม่กล้าปฏิเสธต้องทำตามนโยบายของฝ่ายการเมือง
?โครงการใหญ่ขนาดนี้ต้องใช้เวลาเตรียมแปลงกิ่งตา ต้นกล้ายาง เป็นปีๆ เพื่อให้ได้พันธุ์ยางที่มีคุณภาพ สมบูรณ์? นายโกเมน กล่าว
ด้าน นายกุลชัย ธีระกุลพิสุทธิ์ เจ้าหน้าที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง จ.อุดรธานี กล่าวในทำนองเดียวกันว่า ซีพีทำหน้าที่เหมือนโบรกเกอร์เข้ามากว้านซื้อกล้ายางจากแปลงเพาะชำทั่วไป ทั้งที่ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการฯ รวมถึงกล้ายางไม่ได้ขึ้นทะเบียนเพราะต้องเร่งส่งมอบให้ทันตามสัญญา โดยกว้านซื้อในราคาต้นละ 11-12 บาท ส่งขายให้กรมวิชาการเกษตรในราคาต้นละ 15.70 บาท จำนวน 90 ล้านต้น งานนี้ ซีพี กินส่วนต่างประมาณ 350 ล้านบาท
ขณะที่ นายอุดร ชายตุ้ย พนักงานประจำแปลงเพาะชำยาง อ.แม่วงศ์ จ.นครสวรรค์ กล่าวยืนยันว่า ราคาต้นกล้ายางที่เพาะชำส่งมอบให้ซีพีในราคา 11.50 บาท/ต้น หากคิดต้นทุนทั้งหมดแล้วผู้เพาะชำจะมีกำไรเฉลี่ยต้นละ 1 บาท ซึ่งไม่ค่อยคุ้ม ขณะที่ราคาตลาดปีที่แล้วซื้อขายกันที่ 18-20 บาท ส่วนปีนี้ซื้อขายกันที่ 14-15 บาท โดยพันธุ์ยางที่นำมาเพาะชำเอามาจากอ.ปะเหลียน จ.ตรัง มีสัญญาส่งมอบให้ซีพีปีนี้ จำนวน 500,000 กว่าต้น
เนวิน - กรมวิชาการเกษตร เล่นผิดบท
โครงการดังกล่าว เกิดขึ้นในสมัยนายเนวิน ชิดชอบ รมช.กระทรวงเกษตรฯ เป็นผู้กำกับดูแลกรมวิชาการเกษตรฯ ผู้รับผิดชอบโครงการ ทั้งที่ตามพันธกิจของกรมวิชาการเกษตร คือ ?บริการวิเคราะห์ ทดสอบ ตรวจสอบ รับรอง และให้คำแนะนำเกี่ยวกับดิน น้ำ ปุ๋ย พืช วัสดุการเกษตร ผลผลิตและผลิตภัณฑ์พืช เพื่อให้บริการการส่งออกสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ?
นอกจากนี้ กรมวิชาการ ยังเน้นการประยุกต์และพัฒนางานวิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตพืชเศรษฐกิจ และเน้นการทดสอบเทคโนโลยี การผลิตพันธุ์พืช ปัจจัยการผลิต การบริการวิชาการและสร้างเครือข่ายวิชาการ การที่ นายเนวิน ชิดชอบ เสนอให้กรมวิชาการเกษตร ดำเนินการจัดหาพันธุ์กล้ายางโดยเปิดประมูลให้บริษัทเอกชนรับดำเนินการจึงขัด กับหลักการทำงานของกรมวิชาการเกษตรมาตั้งแต่ต้น
เพราะไม่ได้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะดังหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องยางโดยตรง เช่น สำนักงานกองทุนสวนยางฯ
นายเนวิน ชิดชอบ รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงประเด็นการเข้ามารับผิดชอบโครงการส่งเสริมปลูกยางล้านไร่ของกรม วิชาการเกษตร ว่าคนทั่วไปกำลังเข้าใจผิดว่ากรมวิชาการฯ มีหน้าที่เพียงวิจัยและพัฒนา แต่ในความเป็นจริงกรมวิชาการ มีหน้าที่ไม่ต่างกับกรมปศุสัตว์ที่รับผิดชอบดูแลสินค้าปศุสัตว์ หรือกรมประมงที่จะต้องรับผิดชอบดูแลสินค้าประมง กรมวิชาการฯ ก็เช่นกันจะต้องดูแลเรื่องพืชทั้งหมด ซึ่งไม่จำกัดว่าจะต้องดูแต่งานวิจัยอย่างเดียว
นายเนวิน กล่าวต่อว่า ปัจจุบันการองค์ความรู้หรืองานวิจัยของภาคเอกชนไปไกลกว่าภาครัฐค่อนข้างมาก ภาครัฐจะคิดว่าหน้าที่ในการวิจัยเป็นของกรมวิชาการเพียงแห่งเดียว จะคิดว่ากรมวิชาการเก่งอยู่คนเดียวไม่ได้ ต่อไปกรมจะต้องมีหน้าที่ในการกำกับดูแล ต้องเป็นหน่วยตรวจสอบหรือหน่วยรับรอง หรือคอยอำนวยความสะดวกให้ภาคเอกชน โดยรองอธิบดีจะต้องทำงานประจำ ส่วนอธิบดีจะต้องเป็นคนทำโปรเจค
ซีพี ขาดคุณสมบัติแต่กลับผ่านฉลุย
อย่างไรก็ตาม หลังจากครม.อนุมัติโครงการ กรมวิชาการเกษตร ได้ออกประกาศเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 46 ประกวดราคาจ้างเหมาผลิตต้นยางชำถุง ขนาดการเติบโต 1 ฉัตร ตามพันธุ์ยางที่กรมวิชาการเกษตร แนะนำปี 2546 จำนวน 90 ล้านต้น ราคากลางจัดจ้าง 1,440 ล้านบาท โดยผู้สนใจต้องขอซื้อเอกสารประกวดราคาชุดละ 50,000 บาท พร้อมกับวงเงินค้ำประกันสัญญา 3 ล้านบาท
กรมวิชาการฯ ยังกำหนดคุณสมบัติผู้เสนอราคาว่า ?จะต้องมีแปลงเพาะต้นกล้าไม่ว่าจะเป็นแปลงเดียว หรือหลายแปลง (รวมกัน) ไม่น้อยกว่า 1,000 ไร่ และจะต้องมีแหล่งกิ่งตายางที่ใช้จากแปลงเพาะขยายพันธุ์ที่จดทะเบียนกับกรม ไม่ว่าจะเป็นแปลงเดียวหรือหลายแปลง (รวมกัน) ไม่น้อยกว่า 200 ไร่ และมีต้นกิ่งตายางพันธุ์ดีตรงตามพันธุ์ยางที่กรมแนะนำไม่น้อยกว่า 120,000 ต้นและจะต้องเสนอรายละเอียดพื้นที่แปลงกล้ายางและทะเบียนแปลงเพาะขยายพันธุ์ ยางในวันยื่นซองประกวดราคา?
ในการเข้าร่วมประมูลครั้งนี้ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด เสนอว่า ?บริษัทมีแปลงเพาะต้นกล้าหลายแปลงรวมกันมากกว่า 1,000 ไร่ และจะมีแหล่งกิ่งตายางที่ใช้จากแปลงเพาะขยายพันธุ์ยางที่จดทะเบียนกับกรม หลายแปลงรวมกันมากกว่า 200 ไร่ และมีต้นกิ่งตายางพันธุ์ดีตรงตามพันธุ์ยางที่กรมแนะนำมากกว่า 120,000 ต้น?
พร้อมกันนั้น บริษัทได้แนบรายการแสดงเนื้อที่และสถานที่ตั้งของแปลงกิ่งตายาง จำนวน 21 แปลง ซึ่งตั้งอยู่ในเขตจ.ตรัง (อ.เมือง, อ.ย่านตาขาว,อ.ห้วยยอด, อ.นาโยง, อ.ปะเหลียน อ.สิเกา) และอ.ทุ่งหว้า จ.สตูล รวม 272 ไร่ และแสดงรายการเนื้อที่และสถานที่ตั้งของแปลงยาง รวม 1,961 ไร่ กำลังผลิต 27.445 ล้านต้น
แจ้งเท็จแปลงกิ่งตา ? กล้ายาง
?ผู้จัดการรายวัน? ตรวจสอบข้อมูลข้างต้นเทียบกับทำเนียบแปลงขยายพันธุ์ต้นยางเพื่อการค้า ประจำปี 2546 ของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร พบว่า การแสดงเนื้อที่ของแปลงกิ่งตายางของซีพี ไม่ตรงตามข้อเท็จจริง จำนวน 6 แปลง โดย ซีพี แจ้งเท็จ 85 ไร่ คือ มีแปลงกิ่งตายางที่ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร เพียง 187 ไร่เท่านั้น ซึ่งไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดให้ผู้เข้าร่วมประมูลมีแปลงเพาะขยายพันธุ์ ยาง ไม่น้อยกว่า 200 ไร่
ส่วนแปลงต้นกล้า ที่เงื่อนไขประมูลกำหนดให้มีไม่น้อยกว่า 1,000 ไร่ ในเอกสารยื่นประมูลของบริษัท แจ้งมี 1,961 ไร่ แต่เป็นหลักฐานเท็จเมื่อตรวจสอบจากเอกสารทำเนียบแปลงขยายพันธุ์ฯ ประจำปี 2546 โดยเนื้อที่ที่ขอจดทะบียนฯ กับเนื้อที่ที่บริษัทแจ้งแตกต่างกัน
ทั้งนี้ บริษัทฯ แจ้งหลักฐานอันเป็นเท็จประกอบการเข้าร่วมประมูลกันถึง 808 ไร่ และอีก 500 ไร่ ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการฯ รวมพื้นที่จำนวน 1,308ไร่ ซึ่งไม่เป็นไปตามเงื่อนไขประมูลที่จะต้องมีแปลงกล้ายางที่ขึ้นทะเบียนกับกรม วิชาการฯ ไม่ต่ำกว่า 1,000 ไร่ เพราะข้อเท็จจริงแปลงยางที่ซีพี กล่าวอ้างขึ้นทะเบียนจริงเพียง 653ไร่เท่านั้น (อ่านรายละเอียด ?ซีพี แจ้งเท็จแปลงกิ่งตา - กล้ายาง?)
อย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุด คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา ซึ่งมีนายสมชาย ชาญณรงค์กุล รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร (ขณะนั้น) เป็นประธาน พิจารณาตัดสินให้ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด เป็นผู้ชนะประมูล โดยไม่ได้ตรวจสอบคุณสมบัติว่าเป็นไปตามกำหนดหรือไม่
ทางสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้เข้ามาตรวจสอบโครงการนี้ในเรื่องที่บริษัทผู้เข้าร่วมประมูล 3 บริษัทมีกรรมการที่ถือหุ้นไขว้กัน และส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดตีความ ซึ่ง ?ผู้จัดการรายวัน? สอบถามความคืบหน้าจากรักษาการผู้ว่าการสตง. ในการเข้ามาตรวจสอบโครงการนี้ แต่ยังไม่ได้รับคำตอบเพราะต้องรอให้บอร์ดพิจารณาก่อนว่าจะให้ข้อมูลต่อสื่อ ได้หรือไม่
ยุบทิ้งแปลงเพาะกล้าหลังชนะประมูล
ในการ ลงพื้นที่สำรวจผลโครงการฯ ช่วงเดือนเม.ย. ที่ผ่านมา ?ผู้จัดการรายวัน? เดินทางไปเยี่ยมชมโครงการเพาะกล้ายางที่ฟาร์มแสลงพัน ? คำพราน ที่ จ.สระบุรี และฟาร์มกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร ในเครือซีพี ด้วย
เจ้าหน้าที่ระดับบริหารของฟาร์มแสลงพัน ? คำพราน ให้ข้อมูลว่า ?เรา (ซีพี) ยุบโครงการปลูกกล้ายางทิ้งไปแล้วตั้งแต่ต้นปี 47 เพราะค่า PH ของดินมีปัญหาเป็นด่างมากประมาณ 7.8-8 กล้ายางที่ควรเขียวหลังเพาะปลูกไปแล้ว 2 เดือน กลับเหลืองแข่งกับทานตะวัน เราใช้เวลาบำรุงนานหลายเดือนด้วยทุกวิธีการแต่ไม่สามารถทำให้ยางเติบโตได้ สุดท้ายก็ยุบทิ้งและใช้พื้นที่ปลูกทานตะวันไปแล้วรอบหนึ่ง?
เจ้าหน้าที่ระดับบริหารของฟาร์มแสลงพันฯ ให้ข้อมูลว่า ซีพี เริ่มเพาะกล้ายางเมื่อเดือน ส.ค. 46 บนเนื้อที่ 70 ไร่ เพาะกล้ายางประมาณ 100,000 ต้น
การดำเนินการเพาะกล้ายางของฟาร์มแสลงพันฯ เกิดขึ้นระหว่างที่กลุ่มซีพี เข้าร่วมประมูลตามประกาศประกวดราคา เลขที่ 4/2546 ลงวันที่ 19 มิ.ย. 46 ของกรมวิชาการเกษตร และต่อมากลุ่มซีพี ชนะประมูลพร้อมกับทำสัญญาในเดือนพ.ย. 46 ทั้งนี้ เครือซีพี แจ้งต่อกรมวิชาการฯ ว่าแปลงยางที่ฟาร์มแสลงพันฯ มีเนื้อที่ 200 ไร่ กำลังผลิตกล้ายางถึง 3 ล้านต้น ทั้งที่ ช่วงเวลานั้น สภาพกล้ายางของซีพีที่ฟาร์มแสลงพัน ? คำพรานมีปัญหาเกิดขึ้นชัดเจนและสุดท้ายก็ไม่สามารถเพาะกล้ายางได้แม้แต่ต้น เดียว
ขณะที่ฟาร์มกำแพงเพชร ไม่มีแปลงเพาะกล้ายางดังที่แจ้งต่อกรมวิชาการฯว่าฟาร์มแห่งนี้ มีเนื้อที่เพาะกล้า 300 ไร่ กำลังผลิต 4,500,000 ต้น แต่อย่างใด โดยมีเนื้อที่บางส่วนสำหรับยางชำถุง จำนวน 1 ล้านต้น ซึ่งเจ้าหน้าที่ระดับบริหารของฟาร์มกำแพงเพชร กล่าวยอมรับว่า ปีที่ผ่านมายางชำถุงที่ฟาร์มฯ สามารถส่งมอบได้เพียง 500,000 ต้นเท่านั้นจากที่เพาะชำล้านต้น
?การไม่มีคุณสมบัติ ไม่มีประสบการณ์และความไม่พร้อมของกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ซีพี ได้สร้างปัญหาต่อเนื่องให้เกษตรกรรับเคราะห์กรรมและอาจส่งผลให้โครงการนี้ ประสบความล้มเหลวไม่เป็นไปตามเป้าหมาย? เจ้าหน้าที่ระดับบริหารของสกย.ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง วิเคราะห์
สำหรับการตั้งข้อสังเกตและพาดพิงถึงเครือซีพี ที่มีปัญหาส่งยางช้าและไม่ได้คุณภาพนั้น ?ผู้จัดการรายวัน? ได้ทำหนังสือขอสัมภาษณ์นายสกล บุญชูดวง รองกรรมการผู้จัดการบริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด ผู้รับมอบอำนาจลงนามเป็นคู่สัญญากับกรมวิชาการเกษตร เมื่อวันที่ 18 เม.ย. 48 เพื่อเปิดโอกาสให้ชี้แจงกรณีที่ถูกเกษตรกรและเจ้าหน้าที่รัฐฯ ในพื้นที่พาดพิงถึงในเรื่องการส่งมอบกล้ายางช้าและไม่ได้คุณภาพ และขอสอบถามถึงผลสรุปโครงการในช่วงปี 47 ที่ผ่านมา การเตรียมความพร้อมส่งมอบยางชำถุงตามสัญญาในปี 48 และ 49 ความพร้อมของแปลงกล้ายางตามสัญญา และข้อมูลอื่นๆ แต่ทางนายสกล ปฏิเสธการให้สัมภาษณ์ โดยให้เลขาฯ หน้าห้องแจ้งว่าติดภารกิจที่ต่างจังหวัด ไม่สามารถติดต่อได้
อย่างไรก็ตาม ?ผู้จัดการ? จะติดตามความคืบหน้า พร้อมนำเสนอข่าวเมื่อได้รับข้อมูลจากฝ่ายที่ถูกพาดพิงถึงในวันข้างหน้า
-----------------------------------------------------------------------
เผยสตง.เคยคุ้ยทุจริตกล้ายาง
โดย ASTVผู้จัดการรายวัน | 18 พฤษภาคม 2548 22:09 น. |
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีกล้ายาง 90 ล้านต้นในโครงการปลูกยาง 1 ล้านไร่ ว่า จนถึงขณะนี้ตนก็ยังไม่ได้รับรายงานจากหน่วยงานใดเลยว่ามีความคืบหน้าไปมาก น้อยแค่ไหน ดังนั้นจะให้เวลาอีก 2 วันสรุปเรื่องรายงานขึ้นมา เพื่อที่จะสรุปว่าควรจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ส่วนข้อเสนอที่ให้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบสัญญาที่ไม่เป็นธรรมที่บริษัทซีพี กับกรมวิชาการเกษตรนั้น ก็ต้องดูรายงานก่อนสรุป ตนยังไม่เคยเห็นสัญญา แต่จะขอดูรวดเดียวทั้งหมด
ทั้งนี้คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคมที่ผ่านมานั้น นายกรัฐมนตรีเองก็ไม่ได้กำชับอะไรเป็นพิเศษเพราะท่านให้นโยบายไปแล้วว่าให้ หาข้อเท็จจริงให้ได้เพราะกระทบกับเกษตรกรโดยตรง ส่วนการลงพื้นที่เพื่อเอ็กซ์เรย์แปลงกล้ายางที่ตายลงเป็นจำนวนมากนั้น ก็เป็นเรื่องที่สมควรจะทำอย่างเร็วที่สุด
แหล่งข่าวจากกระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กรณีที่มีข้อครหาถึงความไม่โปร่งใสในขั้นตอนการประมูลว่ามีการฮั้วประมูลกัน ระหว่างบริษัทเอกชน 3 รายที่เข้าร่วมประมูล ทางสำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ได้ตรวจพบและสอบถามมาทางรัฐมนตรีที่กำกับดูแลเรื่องนี้ และได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบกล้ายางและการส่งมอบกล้ายาง อย่างไรก็ตามก่อนที่จะได้รับคำตอบ ก็มีการดำเนินการเพื่อทำให้คุณหญิงจารุวรรณ เมณฆกา ผู้ว่าการสตง. ออกจากตำแหน่ง
แหล่งข่าวจากกรรมาธิการการเกษตร สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้มี ส.ส.ไทยรักไทยภาคเหนือและอีสานยอมรับว่า รับเป็นตัวแทนจากบริษัทซีพีในการผลิตกล้ายางโดยไม่ให้รายละเอียดอย่างอื่น และไม่มีการเซ็นสัญญา ทั้งที่ ส.ส.เหล่านั้นไม่มีประสบการณ์ตรงในการผลิต จึงได้ไปกว้านซื้อจากเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ โดยมีการปลอมปนยางพื้นเมืองร่วมด้วย หากตรวจสอบพบและคัดออกก็ถือว่าโชคดี แต่ถ้าตรวจไม่พบก็ถือเป็นกรรมของเกษตรกรที่ต้องปลูกยางพื้นเมืองที่ไม่ให้ผล ผลิต
"เท่าที่ทราบซีพีไม่ได้เซ็นต์สัญญากับตัวแทนเหล่านี้ด้วย บริษัทฯ ให้ข้อมูลแต่เพียงว่า ต้องการกล้ายางเป็นจำนวนมาก ใครผลิตได้เท่าไรรับไม่อั้น จึงได้มีการกว้านซื้อต้นกล้ากันชนิดไม่มีการตรวจสอบ แต่ประเด็นที่สำคัญคือเรื่องสัญญาที่ไม่เป็นธรรม เพราะไม่มีเกษตรกรที่ไหนเขาปลูกยางกันเดือนสิงหาคม และโดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือและอิสานนั้น ในช่วงเดือนดังกล่าวเกือบไม่มีฝนแล้ว ไม่เหมือนภาคใต้ที่เพิ่งเข้าฤดูฝนและสามารถส่งมอบในเดือนนี้ได้ แม้จะไม่ควรส่งมอบก็ตาม" แหล่งข่าวระบุ
นายสุเมธ ภิญโญสนิท กรรมการผู้จัดการ ธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า ในช่วงระหว่างวันที่ 24 พ.ค.เป็นต้นไป ทางบริษัทเตรียมพาคณะสื่อมวลชน ไปร่วมตรวจสอบความเสียหายในพื้นที่ แถบภาคอีสาน โดยขณะนี้ทางสำนักประชาสัมพันธ์ของบริษัทอยู่ระหว่างกำหนดวันเวลาและสถานที่ ที่ชัดเจนอีกครั้ง
นายสุเมธ กล่าวถึงกรณีสัญญาข้อ 20(2) ที่เปิดช่องให้ภาครัฐเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติมเกินกว่าค่าปรับตามสัญญากรณี เกิดความเสียหายว่า ขอบเขตความรับผิดชอบของบริษัทตามสัญญาคือในส่วนของกล้ายางและคุณภาพของกล้า ยาง แต่หากเกิดกรณีความเสียหายหลังจากการส่งมอบ ตามที่เป็นข่าว ทางบริษัทไม่ต้องรับผิดชอบ ซึ่งก็เป็นเงื่อนไขตามที่สัญญากำหนด
สำหรับกรณีที่หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันรายงานข่าว การแจ้งเท็จกรณีแปลงกิ่งตายางที่ จ.สระบุรี นายสุเมธ กล่าวว่า ทางบริษัทได้ยุบโครงการแปลงกล้ายาง ฟาร์มแสลงพัน - คำพราน จ.สระบุรี ตามที่เป็นข่าวจริง เนื่องจากที่ดินไม่เหมาะสมในการเพาะกล้าพันธุ์ แต่เรื่องดังกล่าวไม่ได้เป็นปัญหากับทางบริษัทและโครงการ เพราะยังมีแปลงกล้ายางที่ ฟาร์มกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร ที่มีการผลิตกล้ายางได้มากเกินกว่าความต้องการของโครงการด้วยซ้ำ
ส่วนการแก้ไขสัญญาเพื่อให้ส่งมอบเร็วขึ้นจากสัญญา 1 เดือน หรือสิ้นสุดการส่งมอบในเดือนกรกฎาคมนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างให้เจ้าหน้าที่ของบริษัทสำรวจความพร้อมในพื้นที่ ทั้งความพร้อมในเรื่องของกล้ายางและความพร้อมของเกษตรกร ยังให้คำตอบไม่ได้ว่าจะสามารถแก้สัญญาได้หรือไม่ แต่ยืนยันได้ 90% ว่าจะสามารถทำได้
นายนพดล สวนประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ได้รับรายงานอย่างไม่เป็นทางการว่ามีเกษตรกรบางส่วนได้สละสิทธิ์ เข้าร่วมโครงการ แต่ในความรู้สึกคิดว่ายังไม่มาก ตอนนี้อยู่ระหว่างรอรับรายงานอย่างเป็นทางการ เพื่อแก้ปัญหาล่วงหน้าในฤดูกาลต่อไป
"ฉกรรจ์"ซุ่มเงียบลงพื้นที่หนองคาย
จากการตรวจสอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงเกษตรฯ ในพื้นที่จังหวัดหนองคาย ทั้ง สกย. –สำนักงานเกษตรจังหวัดหวัด หรือแม้แต่นายอำเภอ กรณีทีมีข่าวว่านายฉกรรจ์ แสงรักษาวงษ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรและคณะฯ จะลงพื้นที่ตรวจสอบกล้ายางที่ได้รับความเสียหายจากโครงการปลูกยาง 1 ล้านไร่ ในวันที่ 18 พ.ค.เจ้าหน้าที่แต่ละหน่วยงานต่างปฏิเสธว่า คณะของอธิบดีกรมวิชาการเกษตรไม่ได้ลงพื้นที่ตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่สกย.จังหวัดหนองคายรายหนึ่งกล่าวว่า เท่าที่ทราบคณะของอธิบดีกรมวิชาการเกษตรจะเดินทางมาปฏิบัติราชการในพื้นที่ อำเภอโพนพิสัย จ.หนองคาย ในวันนี้ (19 พ.ค.) แต่จะมาในหมู่บ้านและตำบลใดนั้นไม่ได้รับการแจ้งรายละเอียดเข้ามา
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9480000066112
------------------------------------------------------
ทุจริตกล้ายางพารา -- โกงยกกำลัง 3
โดย "เซี่ยงเส้าหลง" และทีมข่าวการเมือง | 19 พฤษภาคม 2548 11:53 น. |
|
http://www.nokkrob.org/index.php?&obj=forum.view(cat_id=open,id=344)
---------------------------------------------------------
"บรรพต" ตกตะลึงยางตาสอยงัดกม.เล่นงานซีพีผิดสัญญา
ผู้จัดการรายวัน(21 มิถุนายน 2548)
" บรรพต" ดอดลงตรังหาข้อมูลตลบหลังกรมวิชาการเกษตร ยอมรับตะลึงยางตาสอยเกลื่อนสองฟากถนนและลามทั่วประเทศ ยันเป็นยางพันธุ์ไม่ดีไม่มีน้ำยาง "คุณหญิงหน่อย" จี้ "เนวิน" เร่งสรุปปัญหากล้ายาง พร้อมพลิกกม.เล่นงานซีพีหากพบความผิดอาจถึงขั้นยกเลิกสัญญา ขณะที่ "เนวิน" โบ้ยส่งชี้แจงหมดแล้ว ยันไม่มีทุจริต ย้ำไม่ได้นอนเฝ้าแปลงซีพีจึงไม่รู้มียางตาสอยหรือไม่ ผอ.สถาบันยางยืดอกพร้อมรับผิดชอบ ทั้งโยกงานควบคุมยางออกจากสถาบันวิจัยยางยกแผนก กลุ่มผู้ผลิตยางพันธุ์ดีตรังทวงสัญญาก่อนบุกทำเนียบฯ รอบสอง
นายบรรพต หงษ์ทอง ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวยอมรับว่า ได้เดินทางไปตรวจสอบแปลงกล้ายางที่จ.ตรัง ซึ่งเป็นแหล่งผลิตกล้ายางป้อนให้โครงการส่งเสริมปลูกยางล้านไร่จริง และพบยางตาสอยทั้งจังหวัดเต็มสองข้างทาง โดยก่อนหน้านี้ตนได้ยินแต่เพียงข่าวเท่านั้น จึงได้ลงไปพิสูจน์ด้วยตัวเอง ซึ่งจากการสอบถามเกษตรกรที่เพาะพันธุ์กล้าส่งโครงการก็ยอมรับว่าเป็นยางตา สอยจริง เพราะหากเป็นยางตาเขียวจะต้องใช้เวลาในการชำกล้านานเป็นปี แต่การทำยางตาสอยใช้เวลาเพียง 3 เดือนเท่านั้น และจะไม่ให้น้ำยางในอนาคต ที่น่าห่วงคือขณะนี้พบยางตาสอยระบาดไปทั่วประเทศ
"เกษตรกรผู้ผลิตบอกผมว่า ยางตาสอยก็สามารถเจริญเติบโตได้แต่เปลือกบางจะไม่ให้น้ำยางหรือให้น้อยมาก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงเกษตรกร โดยเฉพาะผู้ที่ปลูกไปแล้ว และไม่มีประสบการณ์ไม่สามารถที่จะแยกระหว่างยางตาเขียวกับยางตาสอยได้ ซึ่งผมจะเร่งสั่งการให้เจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตรลงไปให้ความรู้แก่เกษตรกร ที่ร่วมโครงการตรวจสอบพันธุ์ก่อนที่จะลงมือปลูก ส่วนเกษตรกรที่ซื้อไปปลูกเองจะต้องสอบถามเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตรให้แน่ ใจเสียก่อนในการเลือกซื้อพันธุ์ การดูแลรวมไปถึงเทคนิคการปลูก" นายบรรพตกล่าว
วานนี้ (20 มิ.ย.) คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดประชุมวิชาการภายใต้กรอบความร่วมมือไทย-ฝรั่งเศส เพื่อความร่วมมือการวิจัยยางพาราของไทยว่า ในปี 2547 ไทยและฝรั่งเศสมีข้อตกลงกรอบความร่วมมือด้านวิจัยร่วมกัน ซึ่งฝ่ายไทยคัดเลือกโครงการวิจัยยางพาราเป็นหนึ่งในหลายหัวข้อที่ได้รับการ สนับสนุนภายใต้กรอบความร่วมมือนี้ เพราะเห็นว่าฝรั่งเศสมีความเชี่ยวชาญครบวงจร ตั้งแต่เกษตรกรรมยางที่ฝรั่งเศสมีฐานการผลิตในแอฟริกาจนถึงผลิตภัณฑ์ยางใน วิศวกรรมและยานยนต์
คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออกยางพารามากที่สุดในโลก แต่ 90% เป็นการส่งออกวัตถุดิบ มีเพียง 10% เท่านั้นที่มีการแปรรูป ถึงเวลาแล้วที่จะปรับโครงสร้างให้มีมูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์ยาง การประชุมครั้งนี้จะเป็นช่องทางให้มีการพัฒนาสู่การแปรรูปอย่างยั่งยืนต่อไป ทั้งยอมรับว่าโครงการปลูกยาง 1 ล้านไร่ ก็เป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องที่ต้องหารือกันในประเด็นของการพัฒนาคุณภาพต้นยาง ตั้งแต่ปลูกเพื่อให้น้ำยางที่ดีในอนาคต
จี้ "เนวิน" เร่งสรุปปัญหากล้ายาง
ผู้สื่อข่าวถามว่าโครงการพัฒนาคุณภาพยางเป็นเรื่องระดับประเทศ แต่ปัญหาการปลูกยางไม่ได้คุณภาพกลับยังไม่มีการแก้ไข คุณหญิงสุดารัตน์กล่าวว่า ได้กำชับผู้ที่รับผิดชอบคือนายเนวิน ชิดชอบ รมช.เกษตรฯ ให้เร่งดำเนินการและสรุปความเสียหายมาให้โดยเร็ว ไม่ใช่เพียงแต่การสรุปในเบื้องต้นเท่านั้น เพราะขณะนี้ประเด็นปัญหาได้ขยายผลไปมาก จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
ส่วนเรื่องที่นายกรัฐมนตรีออกมารับรองซีพีว่าได้ดำเนินการส่งมอบกล้า ยางอย่างถูกต้องนั้น ก็ต้องเข้าใจว่าโครงการปลูกยาง 1 ล้านไร่นั้นเป็นโครงการที่ดีนายกฯ พูดในทำนองว่าต้องการให้เกษตรกรหลุดพ้นจากปัญหาความยากจนไม่ได้มีเจตนาจะไป รับรองใคร
ส่วนกรณีหากภายหลังพบว่าบริษัทซีพีมีความผิดจะมีการยกเลิกสัญญาหรือไม่ นั้น คุณหญิงสุดารัตน์กล่าวว่า ตอนนี้รอข้อเท็จจริงและดูข้อกฎหมายอยู่ว่าจะดำเนินการได้แค่ไหน ซึ่งก็ได้ให้นายเนวินเร่งสรุปให้อยู่แล้ว
"เนวิน" ย้ำแจงหมดแล้วการันตีไม่มีทุจริต
นายเนวิน ชิดชอบ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงปัญหาการทุจริตในโครงการขยายพื้นที่ปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ว่า โครงการนี้ไม่มีการทุจริต ทุกอย่างได้ชี้แจงไปหมดแล้ว จึงไม่อยากพูดอะไรมาก ส่วนการตั้งกรรมการสอบตอนนี้ก็อยู่ระหว่างดำเนินการตามกระบวนการ จึงต้องรอสรุปผลว่าจะออกมาอย่างไร
สำหรับกรณีที่มีการระบาดของยางตาสอยและยางธุดงค์ในพื้นที่ภาคอีสานนั้น ได้มอบหมายให้นายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ไปตรวจจับอยู่ และก็ได้ดำเนินการแล้ว แต่การจะระบุว่ามียางตาสอยระบาดเข้ามาร่วมกับแปลงต้นยางที่ทางบริษัทเจริญ โภคภัณฑ์เมล็ดภัณฑ์ จำกัด (ซีพี) หรือไม่นั้น ไม่อาจทราบได้ เนื่องจากไม่ได้นอนเฝ้าแปลงกล้ายางของซีพี
นายเนวินกล่าวถึงกรณีที่กลุ่มเกษตรกรออกมาระบุว่าทางบริษัทซีพีเบี้ยว เงินไม่ยอมจ่ายเรื่องค่าต้นยางที่ส่งมอบนั้นว่า เป็นเรื่องของกลไกทางธุรกิจที่ทางบริษัททำกับเกษตรกร กระทรวงฯ จะไปเกี่ยวด้วยไม่ได้ ถ้ามีปัญหาหรือโกงกันเกษตรกรควรจะไปแจ้งความฟ้องร้องตามกฎหมายเพื่อเรียก ร้องค่าเสียหาย
ส่วนกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ออกมาระบุว่า ส.ส. นำกล้ายางไปแจกในช่วงหลังเดือนสิงหาคม ซึ่งล่วงเลยฤดูปลูกยางจนทำให้กล้ายางตายเป็นจำนวนมาก เป็นเพราะส.ส.ไม่ฟังเสียงทักท้วงจากกระทรวงเกษตรฯ แต่ในเอกสารระบุชัดว่า ทางกรมวิชาการเกษตรเป็นผู้เสนอขอเงื่อนไขให้ส่งมอบเอง นายเนวินกล่าวว่า ไม่มีความคิดเห็นกับเรื่องดังกล่าว
ผอ.สถาบันวิจัยยาง ยืดอกรับผิดชอบ
นายประวิตร วงศ์สุคนธ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า การทำยางตาสอยถ้าพูดตามหลักเหตุผลแล้วไม่คุ้มค่ากับการลงทุน เนื่องจากติดตายาก การลงทุนสูง เมื่อไม่คุ้มค่ากับการลงทุน จึงไม่น่าจะมีใครยอมขาดทุนเพื่อทุจริต ดังนั้นจึงไม่เชื่อว่ามีการทำยางตาสอยอยู่จริง แต่ถ้ามีการทำยางตาสอยจริง ผมในฐานะ ผอ.สถาบันวิจัยยาง ก็ต้องเป็นฝ่ายรับผิดชอบ เพราะเป็นผู้ดูแลด้านพันธุ์ยางโดยตรง
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า ผอ.ได้ลงไปตรวจสอบบ้างหรือไม่ นายประวิตรกล่าวว่า ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงไปตรวจเป็นประจำก็ไม่พบว่ามียางตาสอยจริง แต่ถ้าเป็นกรณีที่ทางเกษตรกรเขาทำของเขาเองไม่ได้ทำเพื่อการค้าทางสถาบัน วิจัยยาง ก็ไม่สามารถบังคับอะไรได้
ส่วนกรณีที่มีการโอนย้ายงานทางด้านการควบคุมยางให้เป็นไปตามพระราช บัญญัติยาง ไปอยู่ในสังกัดสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตรนั้น นายประวิตรกล่าวว่า เป็นแผนของกรมวิชาการเกษตรที่มีมาแต่เดิมแล้วไม่เกี่ยวกับปัญหาเรื่องทุจริต กล้ายางพาราเป็นการย้ายสังกัดให้ถูกต้องตามหน้าที่โดยงานที่ย้ายไปเป็นการ ย้ายกันทั้งแผนก รวมทั้งบุคลากรอีกประมาณ 10 กว่าคนด้วย สำหรับงานที่ย้ายออกไปก็ไม่ได้เป็นปัญหาแต่อย่างใด เมื่อทางสถาบันวิจัยยางต้องการข้อมูลในส่วนไหน ก็สามารถประสานตรวจสอบหรือร้องขอข้อมูลได้
ซีพีเรียก "นายหน้า" เข้าพบด่วน
รายงานข่าวแจ้งว่า ภายหลังการตีพิมพ์คำสัมภาษณ์ของนายเอกพล บุญเกื้อ นายหน้าที่รวบรวมกล้ายางส่งให้กับซีพี ปรากฏว่าทางผู้บริหารของซีพี ได้เรียกนายเอกพลเข้าพบเป็นการด่วนในวันนี้ (21 มิ.ย.)
ยื่น 3 ข้อเสนอร้อง "คุณหญิงหน่อย" แก้ไข
นายซุ่น แซ่เอี้ยว ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 ต.ลิพัง อ.ปะเหลียน จ.ตรัง ในฐานะประธานกลุ่มผู้ผลิตยางพันธุ์ดีตรัง เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางกลุ่มฯ ซึ่งมีสมาชิกจำนวน 304 ราย กำลังประสบปัญหาเดือดร้อนอย่างหนักเพราะผลกระทบจากโครงการส่งเสริมปลูกยาง ล้านไร่ของรัฐบาล โดยผลการสำรวจข้อมูลจากสมาชิกทั้งหมด มีประเด็นข้อเรียกร้อง 3 ข้อที่ขอให้ทางรมว.กระทรวงเกษตรฯ ให้ความช่วยเหลือโดยด่วน คือ
1) ปัญหาด้านราคาและต้นทุนการผลิต ให้รัฐบาลประกันราคากล้ายางพันธุ์ดีที่จำหน่ายจากแปลงเกษตรกรในราคา 6 บาท/ต้นเป็นอย่างน้อย และอยากให้รัฐบาลควบคุมราคาสินค้าที่เป็นต้นทุนการผลิตกล้ายางของเกษตรกร หรือไม่ก็หาทางสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงด้วย
2) ปัญหาด้านการตลาด เวลานี้มีปริมาณยางพันธุ์อยู่ในแปลงของเกษตรกรอีกจำนวนมาก สวนทางกับความต้องการของตลาดและนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการปลูกยาง แต่ไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง ตอนนี้เกษตรกรต้องการขายกล้ายางเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ แต่กลับไม่มีผู้ซื้อ แถมที่จำหน่ายไปแล้วส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับเงินจากพ่อค้าคนกลาง
นอกจากนั้น ยังมีเกษตรกรหลายรายถูกหลอกจากนายหน้าบริษัทยักษ์ใหญ่ โดยให้นำหลักฐานการขึ้นทะเบียนต่อทางราชการ และเอกสารที่ดินเพาะกล้ายางไปมอบให้ แล้วบอกว่าจะมีการจัดสรรโควตาขายกล้ายางมาให้ตามความเป็นจริง แต่ปรากฏในภายหลังว่าเกษตรกรถูกสวมสิทธิ์ ส่วนกล้ายางที่ผลิตได้ก็ไม่สามารถขายได้ ดังนั้นขอให้รัฐบาลชี้แจงข้อมูลที่ชัดเจนที่เกษตรกรเข้าใจได้ง่าย และหาตลาดให้กับเกษตรกรโดยตรง โดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง
และ 3. ปัญหาด้านการขาดเงินทุนหมุนเวียน ต้องแบกรับภาระหนี้สินกล้ายางที่ผลิตออกมาจำนวนมากก็ขายไม่ได้ ส่วนที่ขายไปแล้วก็ได้ราคาต่ำมาก ซ้ำยังไม่ได้รับเงิน ทั้งนี้เกิดจากพ่อค้าคนกลางปั่นตลาดและฉวยโอกาสทำกำไร ดังนั้นขอให้รัฐบาลจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือเกษตรกรกลุ่มผู้ผลิตกล้ายางด่วน เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน และช่วยลดภาระหนี้สินของเกษตรกร รวมถึงเพื่อให้งานของกลุ่มขยายไปสู่วิสาหกิจชุมชนได้ในที่สุด
"หากรัฐบาลจริงใจให้ความช่วยเหลือ โดยเฉพาะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ สั่งการให้แก้ไขปัญหาทันที เกษตรกรผู้ผลิตกล้ายางจะไม่ต้องรวมตัวกันเดินทางบุกทำเนียบฯ ทวงถามอีกครั้ง" หนึ่งในแกนนำกลุ่มเกษตรกรฯ กล่าว โดยก่อนหน้านี้ กลุ่มดังกล่าวได้เดินทางมายังทำเนียบฯ เพื่อร้องเรียนปัญหาที่เกิดขึ้นมาแล้วครั้งหนึ่ง
http://www.gotomanager.com/news/printnews.aspx?id=34358
---------------------------------------------------
ประชาทรรศน์
พิรุธ คตส.เลือกปฏิบัติ “บรรพต” พ้นคดีกล้ายาง
พบ พิรุธ คตส. เลือกปฏิบัติคดีจัดซื้อกล้ายางพารา 1.4 พันล้าน ในรายชื่อผู้ถูกกล่าวหา 45 คน ไม่มีชื่อ “บรรพต หงษ์ทอง” ทั้งที่เรื่องอยู่ในความรับผิดชอบของปลัดกระทรวงเกษตรฯ โดยตรง ขณะที่กรรมการโดยตำแหน่งกลับโดนหางเลขถ้วนหน้า จี้ประธานอนุกรรมการสอบสวน พร้อมด้วย “นาม ยิ้มแย้ม” อธิบายต่อสาธารณชน ระบุประธาน คตส.ละเว้นปฏิบัติหน้าที่ มีโทษถึงติดคุก
จาก กรณีที่คณะกกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.) มีมติส่งสำนวนคดีการจัดซื้อกล้ายางพารามูลค่า 1,440 ล้านบาทให้สำนักงานอัยการสูงสุด สั่งฟ้องผู้ถูกกล่าวหาจำนวน 45 คน มีทั้งนักการเมือง ข้าราชการ และ บริษัทเอกชนที่เข้าประกวดราคา ซึ่งเป็นเรื่องที่มีการใช้เวลาพิจารณาอย่างยาวนานนั้น ได้กลายเป็นประเด็นที่มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางถึงความสุจริต เที่ยงธรรม และการเลือกปฏิบัติของ คตส.
เนื่อง มาจากการสอบสวนคดีจัดซื้อกล้ายางพาราดังกล่าว มีพิรุธมาตั้งแต่แรก เมื่อนายนาม ยิ้มแย้ม ประธานคตส. สั่งให้แจ้งข้อกล่าวหาผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด 93 ราย โดยไม่มีชื่อผู้บริหารบริษัทซีพี คือ นายวัลลภ เจียรวนนท์ ซึ่งเป็นผู้ชนะการประกวดราคาอยู่ด้วย จนกระทั่งถูกสื่อมวลชนทักท้วง ว่าทำไมชื่อผู้บริหารบริษัทซีพี หายไป
ใน ครั้งนั้น นายนาม ยิ้มแย้ม ชี้แจงว่า “เจ้าหน้าที่พิมพ์ตกหล่น” และได้สั่งให้พิมพ์ชื่อนายวัลลภ เจียรวนนท์ พร้อมด้วยผู้บริหารซีพี ทั้งคณะ เข้าไปเป็นผู้ต้องหาแล้ว โดยเป็นเพียงคำแก้ตัวง่ายๆ ท่ามกลางกระแสข่าวว่ามีการวิ่งเต้น และมีคนพยายามที่จะเชื่อมโยงไปถึง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี
เมื่อ ผ่านพ้นขั้นตอนการแจ้งข้อกล่าวหา โดยไม่สามารถตัดชื่อผู้บริหารบริษัทซีพี ให้พ้นจากสำนวนได้ คตส.ก็ใช้เวลาอีกกว่า 1 ปี ในการสรุปผลการสอบสวนว่าสมควรดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาจำนวน 45 ราย ตัดคณะรัฐมนตรี และคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งเป็นผู้นำเสนอโครงการปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ ออกไปทั้งหมด
ผู้ ต้องหาของคตส. ในคดีนี้ จึงเหลือเพียง กลุ่มที่ 1. คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คกช.) บางคน นำโดยนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ประธานคชก. นายสรอรรถ กลิ่นประทุม นายอดิศัย โพธารามิก นายวราเทพ รัตนากร พร้อมด้วยข้าราชการจากหลายหน่วยงานที่เป็นกรรมการคชก. โดยตำแหน่ง ซึ่งถูกตั้งข้อหาดำเนินคดีอนุมัติเงิน 1,440 ล้านบาท ดำเนินโครงการปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ โดยไม่มีอำนาจ
กลุ่ม ที่ 2. ข้าราชการกรมวิชาการเกษตร ที่เป็นคณะกรรมการประกวดราคา กลุ่มที่ 3. บริษัทเอกชนที่เข้าประกวดราคาทั้ง 3 ราย และ กลุ่มที่ 4 คือ นายเนวิน ชิดชอบ ในฐานะผู้อนุมัติให้รับราคาตามที่ส่วนราชการเสนอมา
หาก จำแนกความผิดของทั้ง 45 ราย ที่ถูกคตส. ตั้งข้อหาและสรุปสำนวนส่งให้อัยการสั่งฟ้อง พอจะได้เป็น 3 เรื่องหลัก คือ 1. คณะกรรมการคชก. มีความผิดเนื่องจากอนุมัติให้ใช้เงิน 1,440 ล้านบาทโดยไม่มีอำนาจ 2. ข้าราชการกรมวิชาการเกษตร กับ บริษัทเอกชน มีความผิด เนื่องจาก “ล็อกสเปก” และ “ฮั้ว”ราคา และ 3. นายเนวิน ชิดชอบ มีความผิดเนื่องจาก เซ็นอนุมัติรับราคา โดยไม่ยอมรอให้นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คนใหม่ ในขณะนั้น มาเป็นคนลงนาม
อย่าง ไรก็ดีประเด็นที่น่าสนใจของเรื่องนี้ อยู่ตรงที่การดำเนินคดีกับกรรมการ คชก. บางคน และตัดชื่อคนบางคน ออกไป ทั้งๆ ที่เป็นความรับผิดชอบร่วมกัน ในฐานะคณะกรรมการที่ร่วมกันพิจารณาอนุมัติเงิน 1,440 ล้านบาท
มี การตั้งข้อสังเกตุว่า คตส. หยิบชื่อกรรมการคชก. 2 คนออกไปจากสำนวนสอบสวน คือ นายบรรพต หงษ์ทอง ปลัดกระทรวงเกษตรฯ และนายสุทธิพร จีระพันธ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ที่ไม่ตกเป็นผู้ต้องหาของคตส. ทั้งๆ ที่เรื่องนี้เป็นเรื่องของกระทรวงเกษตรฯ โดยเฉพาะนายบรรพต ซึ่งเป็นปลัดกระทรวงเกษตรฯ ต้องเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง
ใน ขณะที่ นายสิทธิ บุณยรัตผลิน อธิบดีกรมประมง กลับตกเป็นผู้ต้องหา เนื่องจากเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ โดยตำแหน่ง เช่นเดียวกับ นายปริญญา อุดมทรัพย์ รองอธิบดีกรมการปกครอง ซึ่งไม่น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้เลย แต่เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง ก็กลับต้องตกเป็นผู้ต้องหา เช่นเดียวกัน
แหล่ง ข่าวระบุว่ากรณีที่เกิดขึ้น นายบรรเจิด สิงหคเนติ ประธานอนุกรรมการสอบสวนคดีนี้ และ นายนาม ยิ้มแย้ม ประธานคตส. ต้องมีคำอธิบายกับประชาชนว่าเหตุใด ชื่อนายบรรพต หงษ์ทอง จึงหายไป แต่รองอธิบดีกรมการปกครอง หรืออธิบดีกรมประมง ต้องมารับผิดกับเรื่องของกระทรวงเกษตรฯ ที่มีนายบรรพต เป็นปลัดกระทรวงฯ เพราะเหตุใด
พร้อม ตั้งข้อสังเกตุด้วยว่า นายนาม ยิ้มแย้ม จะแก้ตัวว่าเจ้าหน้าที่พิมพ์ชื่อผู้ต้องหา “หล่น” อีกหรือไม่ ซึ่งการกระทำของนายนาม ส่อเข้าข่ายการละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เข้าด้วยช่วยเหลือผู้กระทำความผิด เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มีโทษจำคุก
ทั้ง นี้ หากคตส. ทำงานด้วยความไม่ชัดเจน อาจจะก่อให้เกิดความเข้าใจได้ว่าเป็นการทำงานเพื่อชำระความแค้นส่วนตัว ไม่ได้เป็นการทำงานเพื่อประเทศชาติด้วยความสุจริต
http://downmerng.blogspot.com/2008/02/blog-post_07.html
-------------------------------------------------------------------------
แก้วสรร เป็นพยานให้ เนวิน เชื่อไม่ผิดคดีทุจริตกล้ายาง
แก้วสรร อติโพธิ" อดีต คตส.เสียงข้างน้อยคดีทุจริตกล้ายาง พร้อมขึ้นศาลเป็นพยานจำเลย ระบุ คตส. มีมติเอกฉันท์การสมยอมราคาการจัดซื้อ แต่ตัวเองเห็นต่างเรื่องข้อกฎหมาย พฤติการณ์ คชก.ยังไม่เข้าความผิดทุจริตร่วม "เนวิน" ย้ำไม่กลัวคนมองเป็นพยานจำเลย ชี้เป็นเรื่องกระบวนยุติธรรม จำเลยมีโอกาสสู้คดีเต็มที่
ที่ ศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง วันที่ 22 พ.ค.52 เวลา 09.30 น. นายบุญรอด ตันประเสริฐ ประธานแผนกคดีเลือกตั้งในศาลฎีกา เจ้าของสำนวนทุจริตจัดซื้อกล้ายางพารา 90 ล้านต้น คดีหมายเลขดำที่ อม.4
2551 พร้อมองค์คณะรวม 9 คน ไต่สวนพยานจำเลย ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ประธานคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) นายวราเทพ รัตนากร อดีต รมช.คลัง ในฐานะ คชก. นายสรอรรถ กลิ่นประทุม รมว.เกษตรฯ ในฐานะ คชก. นายเนวิน ชิดชอบ อดีต รมช.เกษตรฯ ในฐานะเป็นผู้ริเริ่มโครงการ
นอก จากนี้ ยังมีนายอดิศัย โพธารามิก อดีต รมว.พาณิชย์ ในฐานะ คชก. กับพวกบริษัทเอกชน และกลุ่มข้าราชการ ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1-44 ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต เป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ จัดการหรือรักษาทรัพย์สินใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตอันเป็นการเสียหายแก่รัฐ ผู้ใดทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ เพื่อให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สิน อันเป็นความผิดฐานฉ้อโกง และ ความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ (ฮั้วประมูล) พ.ศ.2542 มาตรา 4 10 -14 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 มาตรา 11
โดยฝ่ายจำเลย นำนายแก้วสรร อติโพธิ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ซึ่งเป็น คตส. เสียงข้างน้อย ในชั้นพิจารณาสำนวน ที่เห็นว่ามีปัญหาประเด็นข้อกฎหมายที่ยังไม่อาจชี้มูลความผิดว่า มีการทุจริต ซึ่งนายแก้วสรร เบิกความว่า เหตุผลที่พยานเป็นเสียงข้างน้อยในชั้นพิจารณารายงานสอบสวนอนุ คตส. เรื่องนี้ เพราะไม่เห็นหลักฐานที่ชี้ว่า มีการสมคบกันกับนายเนวินผู้ริเริ่มโครงการตั้งแต่แรก เช่นเดียวกับ คชก. ที่เห็นว่า การกระทำนั้นยังไม่ใช่การทุจริต แต่เป็นเรื่องที่ คชก. ดื้อ พยายามจะทำโครงการนี้ ส่วนข้อเท็จจริงเรื่องการประมูลจัดซื้อจัดจ้างมีการทุจริตหรือไม่นั้น ประเด็นนี้ คตส. มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า มีการสมยอมในการประกวดราคา โดยไม่ได้แข่งขันกันเลย ซึ่งบุคคลที่มาร่วมก็อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
เมื่อ ศาลถามว่า นายเนวิน รมช.เกษตร ฯ ขณะนั้น ซึ่งรับผิดชอบเรื่องกล้ายาง รวมทั้งอธิบดีกรมวิชาการเกษตร และคณะกรรมการบริหารประกวดราคา ต่างมีความสัมพันธ์กันในทางตำแหน่งแล้ว เป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีพฤติการณ์ร่วมกัน นายแก้วสรร ตอบว่า ในสำนวนคดี อนุ คตส. ไม่สามารถเจาะลงไปว่า มีการบัญชาการดังกล่าว ส่วนเรื่องความสัมพันธ์โดยส่วนตัวนั้น มีแต่คำบอกเล่า ซึ่งตนไม่เห็นว่าจะนำมาเป็นหลักฐานได้ ภายหลังศาลไต่สวนนายแก้วสรรเสร็จสิ้นแล้ว ฝ่ายจำเลยได้นำพยานเข้าไต่สวนอีก 4 ปาก
ทั้งนี้ นายแก้วสรร กล่าวชี้แจงว่า การที่มาเป็นพยานจำเลยครั้งนี้ ไม่กลัวว่าใครจะมองยังไง เพราะอยากจะให้มองในมุมกลับว่าเป็นกระบวนการยุติธรรม จำเลยมีโอกาสต่อสู้เต็มที่ เมื่อเขาต้องการให้เรามาให้ปากคำเราก็ต้องมา เมื่อมาแล้วเราจะมาพูดความเท็จไม่ได้เพราะในความเป็นจริง คตส. ก็มีการถกเถียงกันตั้งเยอะ ไม่ใช่ว่าจะมีมติเอกฉันท์เสมอไป แต่ตรงนี้ก็แสดงให้เห็นว่าเราไม่ได้กลั่นแกล้ง
http://news.impaqmsn.com/articles.aspx?id=264499&ch=pl1
http://ic-democracy.com/news-View.php?N=47
------------------------------------------------------
ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา เลือก 7 หัวหน้าคณะ 1 พ.อาวุโส รับผิดชอบสำนวน “สมคิด-เนวิน” กับพวกทุจริตจัดซื้อกล้ายาง 90 ล้านต้น 1,440 ล้านบาท นัดฟังคำสั่งรับฟ้องหรือไม่ 6 ส.ค.นี้
วันนี้ (4 ก.ค.) เมื่อเวลา 09.30 น.ที่ศาลฎีกา สนามหลวง นายวิรัช ลิ้มวิชัย ประธานศาลฎีกา เป็นประธานประชุมใหญ่ศาลฎีกา เพื่อเลือกตั้งองค์คณะผู้พิพากษาจำนวน 9 คน เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ อม.4/2551 ทุจริตจัดซื้อต้นกล้ายางพารา 90 ล้านต้น มูลค่า 1,440 ล้านบาท ที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ยื่นฟ้อง นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการนโยบาย และมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.), นายเนวิน ชิดชอบ อดีต รมว.เกษตร และสหกรณ์ กับพวกรวม 44 คน ประกอบด้วย กลุ่มคณะรัฐมนตรี (ครม.), กลุ่มคณะกรรมการกลั่นกรองเสนอโครงการต่อ ครม.คณะที่ 2, กลุ่มคณะกรรมการนโยบาย และมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.), กลุ่มคณะกรรมการบริหารโครงการ (กำหนดทีโออาร์) และคณะกรรมการพิจารราผลประกวดราคา ซึ่งเป็นกลุ่มข้าราชการ และกลุ่มบริษัทเอกชนที่มี 3 ราย ประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด ในเครือซีพี, บริษัท รีสอร์ทแลนด์ จำกัด และ บริษัท เอกเจริญการเกษตร จำกัด
โดยการประชุมเลือกองค์คณะใช้วิธีลงคะแนนลับตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 มาตรา 13 ซึ่งผลการลงคะแนนโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ผู้พิพากษาในศาลฎีกาที่ได้รับเลือกมีรายชื่อเรียงตามลำดับคะแนนที่ได้รับ เลือกดังนี้
1.นายบุญรอด ตันประเสริฐ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา 2.นายชาลี ทัพภวิมล ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา 3.นายเกษม วีรวงศ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา 4.นายสุรภพ ปัทมะสุคน ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา 5.นายวิชา มั่นสกุล ผู้พิพากษาอ่วุโสในศาลฎีกา 6.นายพรเพชร วิชิตชลชัย ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา 7.นายประทีป ปิติสันต์ ผู้พิหากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา 8.นายรัตน กองแก้ว ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา 9.นายจรัส พวงมนี ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา ซึ่งนายจรัส เป็นหนึ่งในองค์คณะคดีหมายเลขดำ อม.2/2551 ทุจริตออกโฉนดที่ดินคลองด่านทับที่สาธารณะที่อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายวัฒนา อัศวเหม ประธานพรรค เพื่อแผ่นดิน อดีต รมช.มหาดไทย เป็นจำเลยด้วย
องค์คณะผู้พิพากษาทั้ง 9 จะประชุมเลือกผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน และพิจารณาคำฟ้องของ คตส. เพื่อมีคำสั่งรับฟ้องหรือไม่รับฟ้องต่อไป ซึ่งศาลฎีกาฯ นัดฟังคำสั่งในวันที่ 6 ส.ค.นี้ เวลา 10.00 น. ณ ห้องพิจารณาคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทั้งนี้ประธานศาลจะปิดประกาศรายชื่อองค์คณะผู้พิพากษาไว้ที่หน้าศาลฎีกาให้ คู่ความทราบ เพื่อยื่นคำร้องคัดค้านตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินคดีของศาลฎีกาแผนกคดี อาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2543 ข้อ 4
ผู้สื่อข่าวรายงงานว่า คดีนี้ คตส.ยื่นฟ้องจำเลย 44 คน ประกอบด้วย รัฐมนตรีผู้ดำเนินโครงการ ได้แก่ นายเนวิน ชิดชอบ อดีตรมช.เกษตรฯ, กลุ่ม คชก.ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน คชก.ที่อนุมัติการใช้เงิน, กลุ่มข้าราชการที่เป็นคณะกรรมการบริหารโครงการ (กำหนดทีโออาร์) และคณะกรรมการพิจารณาผลประกวดราคา, กลุ่มเอกชน 18 ราย แยกเป็นนิติบุคคลบริษัท 3 แห่ง และกรรมการบริษัท เจริญโภคภัณฑ์ , บจก.รีสอร์ทแลนด์ และ บจก.เอกเจริญการเกษตร จำนวน 15 ราย ข้อหาเป็น เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต ประมวลกฎหมายอาญา ม.157 ที่โทษจำคุก 1-10 ปี หรือ ปรับ 2,000-20,000 บาท, เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ จัดการหรือรักษาทรัพย์สินใดๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตอันเป็นการเสียหายแก่รัฐ ม.151 ที่มีโทษจำคุก 5- 20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับ 2,000-40,000 บาท , ผู้ใดทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ เพื่อให้ได้ไป ซึ่งทรัพย์สิน อันเป็นความผิดฐานฉ้อโกง ที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท ประกอบ มาตรา 83, 84 และ 86 และความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ (ฮั้วประมูล) พ.ศ.2542 มาตรา 4, 10-14 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 มาตรา 11
http://www.boybdream.com/manager-news-content.php?newid=71755
-----------------------------------------------------------------
ยกฟ้องคดีกล้ายางรอดทั้งยวง
เนวินและคณะพ้นมลทิน
วันอังคาร ที่ 22 กันยายน 2552 เวลา 7:36 น
สะอื้นยันทำเพื่อประชาชนทนายโจทก์ระบุคดีสิ้นสุด
5 อดีตรัฐมนตรีและผู้เกี่ยวข้องรวม 44 ชีวิตรอดยกแผง ศาลฎีกามีมติ 8 ต่อ 1 ยกฟ้องคีดกล้ายาง “เนวิน” สะอื้นน้ำตาคลอเบ้ายันโครงการกล้ายางทำเพื่อประชาชน พร้อมเดินหน้าภารกิจปกป้องสถาบันจนตัวตาย ขณะที่กองเชียร์เฮจนเสียงแหบ คำตัดสินชี้ไม่มีผลประโยชน์ร่วมกัน ไม่ใช่การฉ้อโกง หลังฐานฟังไม่ได้ จึงไม่มีความผิดตามฟ้อง ทนายโจทก์น้อมรับชี้คดีจบแล้ว ด้าน “หญิงเป็ด” บ่นผิดหวัง ขณะที่กองทัพและตำรวจฉวยจังหวะนายกฯไม่อยู่ ขอเงินครม.ซื้ออาวุธอื้อซ่า อ้างของเก่าล้าสมัย ด้านพ.ร.บ.เงินกู้อาจสะดุด วุฒิฯยังค้าน “กอร์ปศักดิ์” แย้มถ้ารัฐบาลแพ้โหวตก็ต้องยุบสภา ส่วน “เจ๊วา” ดัน “ยรรยง” เข้าครม.ประทับตรานั่งเก้าอี้ปลัดกระทรวงพาณิชย์
* “ปะฉะดะ”คุมอ่านกล้ายาง
เมื่อวันที่ 21 ก.ย. ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีการนัดอ่านคำพิพากษาครั้งที่ 2 ในคดีการทุจริตจัดซื้อกล้ายางพาราจำนวน 90 ล้านต้น มูลค่า 1,440 ล้านบาท ของกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรฯ หลังจากเลื่อนอ่านคำพิพากษามาจากวันที่ 17 ส.ค. เนื่องจากนายอดิศัย โพธารามิก อดีต รมว.พาณิชย์ จำเลยที่ 5 ไม่ได้เดินทางมาฟังคำพิพากษา ซึ่งอ้างว่าอยู่ในระหว่างการรักษาอาการป่วยที่สหรัฐอเมริกา
สำหรับบรรยากาศก่อนการคำพิพากษา ได้มีผู้สื่อข่าวทุกแขนงมารอรายงานข่าว รวมถึงโทรทัศน์ได้มีการเตรียมพร้อมการถ่ายทอดสด ขณะที่บริเวณทางเข้าและออกของศาลฎีกาได้มีการนำแผงเหล็กมาตั้งบริเวณทางเดิน เท้าเพื่อป้องกันเหตุการณ์ความวุ่นวาย นอกจากนี้ยังมีเจ้าหน้าที่ตำรวจมารักษาความสงบเรียบร้อยหลายร้อยนายทั้งใน และนอกเครื่องแบบ รวมทั้งชุดปฏิบัติการพิเศษเคลื่อนที่เร็ว “ปะฉะดะ” นำโดย พล.ต.ต. วิชัย สังข์ประไพ ผบก.น.1 เป็นผู้ควบคุมดูแล
* รมต.มาให้กำลังใจเพียบ
จากนั้นในช่วงบ่ายบรรดา ส.ส. และรัฐมนตรีของพรรคภูมิใจไทยได้เดินทางมาให้กำลังใจนายเนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคอย่างคับคั่ง นำโดยนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย และหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ เลขาธิการ พรรค นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม นายศุภชัย โพธิ์สุ รมช.เกษตรฯ น.ส.นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ รมช.ศึกษาธิการ จากพรรคเพื่อแผ่นดิน นายอนุทิน ชาญวีรกูล บุตรชายนายชวรัตน์ ทั้งนี้ยังรวมถึงนายมานิต วัฒนเสน ว่าที่ปลัดกระทรวงมหาดไทย นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน
ขณะที่คนในครอบครัวชิดชอบมีเพียงนายศักดิ์สยาม ประธานคณะทำงาน รมว.มหาดไทย น้องชายนายเนวินเท่านั้นที่เดินทางมาที่ศาลฎีกา ส่วนนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา บิดานายเนวินติดภารกิจที่รัฐสภาจึงไม่ได้เดินทางมา จนกระทั่งเวลา 13.35 น. นายเนวินในฐานะจำเลยที่ 4 ได้เดินทางมาถึงศาลฎีกาด้วยสีหน้าที่ยิ้มแย้มพร้อมกับทักทายสื่อมวลชน
* ศาลร่ายยาวคดีกล้ายาง
จากนั้นเวลา 14.10 น. นายบุญรอด ตันประเสริฐ ประธานแผนกคดีเลือกตั้ง เจ้าของสำนวนทุจริตการจัดซื้อต้นกล้ายาง พารา พร้อมองค์คณะรวม 9 คน นัดอ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำ อม.4/2551 ที่ คตส. โดย ป.ป.ช. เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร คชก. จำเลยที่ 1 นายวราเทพ รัตนากร อดีต รมช.คลัง จำเลยที่ 2 นายสรอรรถ กลิ่นปทุม อดีต รมว.เกษตรฯ จำเลยที่ 3 นายเนวิน ชิดชอบ อดีต รมช.เกษตรฯ จำเลยที่ 4 นายอดิศัย โพธารามิก อดีต รมว.พาณิชย์ จำเลยที่ 5 ในฐานะกรรมการ คชก. คณะกรรมการบริหารโครงการ (กำหนดทีโออาร์) และคณะกรรมการพิจารณาผลประกวดราคา และบริษัทเอกชน ประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ เมล็ดพันธุ์ จำกัด บริษัท รีสอร์ตแลนด์ จำกัด ผู้ร่วมเสนอราคา และบริษัทเอกเจริญ การเกษตร จำกัด ผู้ร่วมเสนอราคา เป็นจำเลยที่ 6-44 ในความผิดฐาน เป็นเจ้าพนักงานและผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการ ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
* มติคะแนนเสียงเอกฉันท์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า องค์คณะผู้พิพากษา พิจารณาแล้ววินิจฉัยในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ 1. ปัญหาว่าคำฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ องค์คณะผู้พิพากษามติด้วยคะแนนเสียงเอกฉันท์ว่า คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายการกระทำความผิดของจำเลยแต่ละคนไว้อย่างชัดเจนโดย ละเอียดแล้วว่า จำเลยคนใดกระทำความผิดร่วมกับจำเลยคนใด และจำเลยแต่ละคนมีความผิดอย่างไรโดยระบุข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ ที่กล่าวหาว่ากระทำความผิดพอสมควรที่จะทำให้จำเลยทั้ง 44 เข้าใจข้อหาได้ดี ทั้งอ้างบทมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด คำฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม.158 และข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง พ.ศ. 2543 ข้อ 8 วรรคหนึ่งแล้ว
ข้อ 2. โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ องค์คณะผู้พิพากษามีมติเอกฉันท์ว่า ศาลฎีกาฯมีอำนาจรับคดีนี้ไว้พิจารณาพิพากษาและโจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับ จำเลยทั้ง 44 ได้ ข้อ 3. ปัญหาว่านายฉกรรจ์ แสงรักษาวงษ์ อดีตอธิบดีกรมวิชาการเกษตร จำเลยที่ 19 เป็นผู้ก่อและร่วมกับนายเนวิน จำเลยที่ 4 เสนอโครงการปลูกยางพาราเพื่อยกระดับรายได้และความมั่นคงกับเกษตรกรในแหล่ง ปลูกยางใหม่ ขัดต่อระเบียบและกฎหมายโดยมีเจตนาให้มีการใช้เงินรายได้จากค่าธรรมเนียมการ ส่งออกยางหรือเงิน (CESS) และเงินกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรโดยมิชอบ ด้วยการปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ องค์คณะผู้พิพากษามติด้วยคะแนนเสียง 8 ต่อ 1 กรณีของจำเลยที่ 4 และมีมติด้วยคะแนนเสียง 7 ต่อ 2 กรณีของจำเลยที่ 19 ว่า กรณียังฟังไม่ได้ว่า นายเนวิน จำเลยที่ 4 และ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร จำเลยที่ 19 มีเจตนาปกปิดข้อเท็จจริงเพื่อให้มีการใช้เงินรายได้จากค่าธรรมเนียมการส่ง ออกยางหรือเงิน CESS และเงินกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรโดยมิชอบด้วยการปกปิดข้อเท็จจริงที่ ควรแจ้งให้ทราบตามที่โจทก์ฟ้องแต่อย่างใด
* 8-1ไม่มีความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษายังระบุด้วยว่า จำเลยที่ 4 และ 19 เสนอให้นำเงิน CESS มาใช้ก่อน เพราะเวลาผ่านช่วงเวลาเสนองบประมาณ แล้ว หากจะรอเสนองบประมาณก็จะทำ ให้โครงการล่าช้า ขณะที่ความเป็นมาของโครงการดังกล่าว เริ่มจากนโยบายรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร สนับสนุนให้มีการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาเกี่ยวกับระบบผลผลิตทางการเกษตร และให้ประเทศได้มีส่วนแบ่งการตลาดในการค้ายางระดับโลกซึ่งยางพาราถือเป็นพืช เศรษฐกิจ ซึ่งจำเลยที่ 4 และ 19 ได้เสนอโครงการดังกล่าวโดยไม่ได้กระทำเพียงลำพัง แต่ยังมีองค์การอื่นเกี่ยวกับการทำสวนยางร่วมด้วย เช่น สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ดังนั้น จำเลยที่ 4 และ 19 จึงไม่มีความผิดตามฟ้อง
ข้อ 4. ปัญหาว่านายสมคิด นายวราเทพ และนายสรอรรถ จำเลยที่ 1-3 และ นายอดิศัย และคณะกรรมการ คชก. ที่ 5- 18 ร่วมกันมีมติในการประชุมคณะกรรมการ นโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร หรือ คชก. ชอบด้วยระเบียบและกฎหมายและเป็นความผิดตามฟ้องหรือไม่ องค์คณะ ผู้พิพากษามีมติด้วยคะแนนเสียง 6 ต่อ 3 ว่าการที่ คชก. มีมติอนุมัติให้ใช้เงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ยของกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือ เกษตรกรวงเงิน 1,440,000,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดหากล้ายางอยู่ในวัตถุประสงค์ของระเบียบว่าด้วย กองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรฯ และมติของ คชก. ที่ให้นำเงิน CESS มาชำระคืนเงิน คชก. มิได้ขัดหรือฝ่าฝืน พ.ร.บ.กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 ม.18 (3) ประกอบ ม. 7-8 และมีมติด้วยคะแนนเสียง 8 ต่อ 1 ว่าจำเลยที่ 1-3 และที่ 5-18 ไม่มีความผิดตามฟ้อง
* พยานหลักฐานฟังไม่ได้
ข้อ 5. ปัญหาว่านายฉกรรจ์ และคณะกรรมการบริหารโครงการและพิจารณาประกวดราคาจำเลยที่ 19-24 ร่วมกันกำหนดเงื่อนไขและคุณสมบัติของผู้เสนอราคาตามเอกสารการประกวดราคาจ้าง ที่ 4/ 2546 ลงวันที่ 19 มิถุนายน 2546 โดยไม่ชอบด้วยระเบียบและกฎหมายเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ เมล็ดพันธุ์ จำกัด ในฐานะผู้ชนะการประกวดราคา บริษัท รีสอร์ตแลนด์ จำกัด ผู้ร่วมเสนอราคา และบริษัทเอกเจริญ การเกษตร จำกัด ผู้ร่วมเสนอราคา จำเลยที่ 30-32 หรือไม่ องค์คณะผู้พิพากษามีมติด้วยคะแนนเสียงเอกฉันท์ว่า พยานหลักฐานที่ได้จากการไต่สวนยังฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 19-24 มีเจตนาร่วมกันกำหนดเงื่อนไขและคุณสมบัติของผู้เสนอราคาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับจำเลยที่ 30-32 ตามที่โจทก์ฟ้อง จำเลยที่ 19-24 จึงไม่มีความผิดตามฟ้อง
ข้อ 6. ปัญหาว่าคณะกรรมการพิจารณา ประกวดราคา จำเลยที่ 20-22 และที่ 25-26 ร่วมกันละเลยการตรวจสอบคุณสมบัติและความเกี่ยวข้องในเชิงผลประโยชน์ร่วมกัน ของจำเลยที่ 30-32 ซึ่งเป็นผู้เสนอราคาโดยไม่ชอบด้วยระเบียบและกฎหมายหรือไม่ องค์คณะผู้พิพากษามีมติเอกฉันท์ ว่า พยานหลักฐานที่ได้จากไต่สวนฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 20-22 และ ที่ 25-26 มีเจตนาร่วมกันละเลยการตรวจสอบคุณสมบัติและความเกี่ยวข้องในเชิงผลประโยชน์ ร่วมกัน ของจำเลยที่ 30-32 ดังที่โจทก์อ้าง จำเลย ที่ 20-22 และ 25-26 จึงไม่มีความผิด ตามฟ้อง
* ยันไม่ใช่การฉ้อโกง
ข้อ 7. ปัญหาว่าบริษัทเจริญโภค ภัณฑ์ เมล็ดพันธุ์ จำกัด ในฐานะผู้ชนะการประกวดราคา บริษัท รีสอร์ตแลนด์ จำกัด ผู้ร่วมเสนอราคา และบริษัทเอกเจริญ การเกษตร จำกัด ผู้ร่วมเสนอราคา จำเลยที่ 30-32 นำหลักฐานแสดงคุณสมบัติการประกวดราคาอันเป็นเท็จมาแสดงว่าเป็นผู้มี คุณสมบัติตามประกาศประกวดราคาอันเป็นการกระทำความผิดฐานฉ้อโกง โดยจำเลยที่ 31 ไม่ได้เป็นผู้มีความชำนาญในการผลิตยางชำถุงตามประกาศประกวดราคาได้ยื่นหลัก ฐานการแสดงคุณสมบัติของการประกวดราคาว่าเป็นผู้จำหน่ายพันธุ์พืชมาอย่างต่อ เนื่องไม่ต่ำกว่า 5 ปี
ตามสัญญาซื้อขายเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่จำเลยที่ 31 ทำกับบริษัทยิ่งวัฒนาไซโล จำกัด เป็นเพียงการฝากขายเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดไม่ใช่เป็นการซื้อขายกันจึงเป็นการ แสดงข้อความอันเป็นเท็จว่า จำเลยที่ 31 เป็นผู้มีคุณสมบัติตามประกวดราคาของกรมวิชาการเกษตร ทั้งที่รู้ว่าตนไม่มีคุณสมบัติ ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการผลิตพันธุ์ยาง ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของการเสนอราคา จึงเป็นการกีดกันผู้เสนอราคารายอื่นเพื่อให้จำเลยที่ 30 เป็นผู้มีสิทธิเข้าทำสัญญากับกรมวิชาการเกษตร โดยหลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมและจำเลยที่ 32 มิได้มีประสบการณ์เกี่ยวกับการเพาะปลูกพันธุ์ยางและหนังสือรับรองผลงานการ ซื้อขายเมล็ดพันธุ์พืช ที่ออกโดยห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.โชคจรรยา ที่จำเลยที่ 32 นำส่งต่อคณะกรรมการประกวดราคา เป็นเอกสารที่ทำขึ้นเพื่อแสดงข้อความอันเป็นเท็จนั้น องค์คณะผู้พิพากษามีมติเอกฉันท์ว่า การกระทำของจำเลยที่ 30-32 หาใช่เป็นการฉ้อโกงหรือตกลงร่วมกันเสนอราคาเพื่อให้จำเลยที่ 30 มีสิทธิเข้าทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐอันจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิด เกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ พ.ศ. 2542 ตามที่โจทก์ฟ้อง
* ผลประโยชน์ร่วมกันก็ไม่มี
ข้อ 8. ปัญหาว่ากรรมการผู้มีอำนาจในบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ฯ บริษัท รีสอร์ต แลนด์ฯ และบริษัทเอกเจริญฯ จำเลยที่ 27-44 ร่วมกันยื่นซองเสนอราคาผลิต กล้ายางชำถุง โดยจำเลยที่ 30-32 มีความ สัมพันธ์ในเชิงบริหาร เชิงทุน และในเชิงถือหุ้นไขว้กันในลักษณะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่ว่าทางตรงหรือทาง อ้อม อันเป็นการขัดขวาง การเสนอราคาอย่างเป็นธรรมและมีผล ประโยชน์ร่วมกันโดยฝ่าฝืนต่อระเบียบและกฎหมายหรือไม่ องค์คณะผู้พิพากษามีมติเอกฉันท์ว่า พยานหลักฐานที่ได้จากการ ไต่สวนฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 27-44 ร่วมกันยื่นซองเสนอราคาโดยจำเลยที่ 30-32 มีความสัมพันธ์ในเชิงบริหาร เชิงทุน และในเชิงถือหุ้นไขว้กันในลักษณะเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม อันเป็นการขัดขวางการเสนอราคาอย่างเป็นธรรมและมีผลประโยชน์ร่วมกัน โดยฝ่าฝืนต่อระเบียบและกฎหมายตามที่โจทก์ฟ้อง
ข้อ 9. ปัญหาว่ากรรมการผู้มีอำนาจในบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ฯ, บริษัท รีสอร์ต แลนด์ฯ และบริษัทเอกเจริญฯ จำเลยที่ 27-44 ร่วมกันกระทำการโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งโดยจำเลยที่ 30 เจตนาปกปิดเกี่ยวกับพื้นที่สำหรับใช้เป็นแปลงเพาะต้นกล้ายาง โดยนำเอกสารที่มีข้อความเท็จมาแสดง และจำเลยที่ 31-32 นำหลักฐานแสดงคุณสมบัติของการประกวดราคาอันเป็นเท็จมาแสดงว่าเป็นผู้มี คุณสมบัติตามการประกวดราคา อันเป็นการหลอกลวงเพื่อให้จำเลยที่ 30 ได้เข้าทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเป็นการกระทำความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐฯ และความผิดฐานฉ้อโกงตามฟ้องของโจทก์หรือไม่
* จำเลย 44 คนยกฟ้องหมด
องค์คณะผู้พิพากษามีมติเอกฉันท์ว่า พยานหลักฐานเท่าที่ได้ไต่สวนมาฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 30 มีเจตนาปกปิดเกี่ยวกับพื้นที่สำหรับใช้เป็นแปลงเพาะต้นกล้า โดยนำเอกสารเท็จมาแสดง โดยจำเลยที่ 30-32 ตกลงร่วมกันในการเสนอราคาเพื่อให้จำเลยที่ 30 มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐหลีกเลี่ยงการเสนอราคาอย่างเป็นธรรมแต่ อย่างใด จำเลยที่ 27-44 จึงไม่มีความผิดตามฟ้อง
ข้อ 10. ปัญหาประการสุดท้ายว่าจำเลยทั้ง 44 ต้องร่วมกันรับผิดชำระเงิน ต้นพร้อมดอกเบี้ยให้แก่สำนักงานกองทุน สงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ตามฟ้องหรือไม่เพียงใด องค์คณะมีมติเอกฉันท์ว่า เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้ง 44 กระทำความผิดตามฟ้อง ประกอบกับสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางยังไม่ได้เสียเงิน cess ที่จะให้นำไปชำระเป็นเงินปลดดอกเบี้ยในโครงการนี้แต่อย่างใด จำเลยทั้ง 44 จึงไม่ต้องร่วมกันรับผิดชำระเงิน ให้แก่ สกย. ตามที่โจทก์ฟ้องพิพากษา ยกฟ้อง
* “เนวิน”หลั่งน้ำตาดีใจ
สำหรับบรรยากาศภายหลังศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรดากองเชียร์ที่รออยู่หน้าห้องพิจารณาคดี ต่างแสดงความดีใจกันใหญ่ จำเลยที่มาฟังคำพิพากษาต่างทยอยเดินออกมาด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม และเมื่อนายเนวินได้เดินออกมาจากห้องพิจารณาคดีได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนด้วย น้ำเสียงสั่นเครือและน้ำตาคลอเบ้าว่า เรื่องของคดีทั้งหมดเป็นไปตามคำพิพากษา นับจากวันนี้ไปตนว่าไม่เกิน 2 ปี น้ำยางจากต้นกล้ายาง 90 ล้านต้น ก็คงจะสร้างรายได้ให้พี่น้องเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ และเชื่อว่าผลผลิตจากยางพาราจะทำรายได้ให้ กับประเทศชาติ
“ตัวผมเองนับจากวันนี้ไปก็เหลือเรื่องเดียว จะทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์จนกว่าจะสิ้นลมหายใจ” นายเนวินกล่าวทั้งน้ำตา
* ทนายโจทก์ยันคดีปิดแล้ว
ด้าน นายสรอรรถ กลิ่นประทุม อดีต รมว.เกษตรฯ กล่าวว่า จากนี้ไปในฐานะสมาชิกบ้านเลขที่ 111 จะขอทำหน้าที่ดูแลน้อง ๆ ต่อไป ตนเองเหลือเวลาอีก 2 ปี ก็จะได้กลับมาทำงานรับใช้ประชาชนใหม่ อย่างไรก็ตามจะไม่มีการฟ้องร้องกลับ อย่างแน่นอน เพราะการเมืองจบก็คือจบ ขณะที่นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาด ไทย กล่าวว่า “ดีใจก็บอกแล้วว่าไม่ได้ผิด ตั้งแต่ต้น”
ขณะที่นายดนัย อนันติโย ทนายความฝ่ายโจทก์ กล่าวว่า คดีนี้ถือว่าศาลฎีกาพิจารณาสิ้นสุดแล้วแม้ว่ารัฐธรรมนูญจะระบุว่าสามารถ อุทธรณ์ได้ภายใน 30 วันถ้ามีหลักฐาน แต่ก็เป็นการให้สิทธิฝ่ายจำเลยเท่านั้นไม่ใช่ฝ่ายโจทก์ ดังนั้น ถือว่าคดีนี้จบแล้ว เมื่อถามว่าคดีนี้จะเป็นบรรทัดฐานให้กับคดีหวยบนดินในวันที่ 30 ก.ย. หรือไม่ นายดนัยกล่าวว่า ข้อเท็จจริงของทั้ง 2 คดีนี้แตกต่างกัน ดังนั้นจะเอามาใช้เป็นบรรทัดฐานไม่ได้
* “หญิงเป็ด” บ่นผิดหวัง
นายอุดม เฟื่องฟุ้ง อดีตคณะอนุกรรมการไต่สวนคดีกล้ายางพารา ในคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) กล่าวว่า ต้องถือว่าคดีจบแล้ว เมื่อผลการพิพากษาออกมาอย่างนี้ก็ต้องยอมรับ ทั้งนี้หลังศาลอ่านคำพิพากษาคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการการตรวจเงินแผ่นดิน หนึ่งในอดีต คตส. ได้โทรศัพท์มาแสดงความผิดหวัง
ผู้สื่อข่าวถามว่า เกรงหรือไม่ว่ากลุ่มคนเสื้อแดงจะนำเรื่องนี้ไปปลุกกระแสดิสเครดิต คตส. นายอุดมตอบว่า ถือเป็นความเห็นของเขา คตส. ทำทุกอย่างตามกระบวนการ คดีอื่นก็เช่นกันหากศาลวินิจฉัยอย่างไรก็ต้องยอมรับผลการวินิจฉัย อย่างไรก็ตาม อดีต คตส. จะมีการนัดพบกันทุกวันจันทร์ต้นเดือน ซึ่งในการพบกันในช่วงต้นเดือน ต.ค.นี้ คงจะพูดคุยเกี่ยวกับคดีนี้โดยจะสรุปผลว่าเป็นอย่างไร
...
http://dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=8&contentID=21723
--------------------------------------------------------------------
แม้วซัดคมช.กล่าวเท็จคดีกล้ายาง
วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2552 11:20
ทักษิณโพสต์ทวิตเตอร์โชว์ภาพสยบข่าวเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
วันนี้ (22กันยายน) พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้เขียนข้อความลงในทวิตเตอร์ กรณีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษายกฟ้องจำเลย จำนวน 44 คน ในคดีทุจริตกล้ายาง มูลค่า 1,440 ล้านบาทว่า "คำตัดสินคดีกล้ายางคงอธิบาย?ให้สังคมไทยได้กระจ่างขึ้นเยอะ เท่ากับคมช.กล่าวหาเท็จว่ารัฐบาลผมทุจริตโดยใช้คตส.เป็นเครื่องมือคดีที่ว่า เจ๋งยังหลุด"
นอกจากนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังเขียนข้อความกรณีกระแสข่าวที่ว่าตัวเค้าเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากว่า "ผมฝากรูปนี้ให้นักโกหกได้ดูแล้วกันครับ ว่าผมใส่วิกหรือเปล่า http://picasaweb.google.com" "ตอนนี้กำลังเป็นการต่อสู้ระหว่างนิยายโกหกกับการพิสูจน์และนำเสนอความจริง ครับ แทนที่จะเป็นการต่อสู้ทางความคิดอย่างสร้างสรรภายใต้กติกาประชาธิปไตย" และข้อความว่า "ทราบว่ามีนักโกหกออกมาโกหกเป็นนิยายให้พี่น้องว่าผมเป็นมะเร็งใส่วิกแล้ว เพราะ ฉายคีโมพอดีนักข่าวมาเยี่ยมผมวันที่ผมไปตัดผมเลยจะโพสต์รูปในเวปให้ดู"
http://www.rssthai.com/reader.php?t=politic&r=15140
--------------------------------------------------------------
เครือเจริญโภคภัณฑ์ รวมพลังชาวสีลม แสดงพลังถวายความจงรักภักดี ในโครงการ "๙ ในดวงใจ"
วันที่ 9 กันยายน 2552 11:15 น.
เมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๒ เวลา ๙.๐๙ น. เครือเจริญโภคภัณฑ์ ในฐานะหน่วยงานธุรกิจเอกชนชั้นนำระดับประเทศ ได้ร่วม โครงการ “๙ ในดวงใจ” พร้อมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ โดยรวมพลังผู้บริหาร พนักงานและชาวสีลมถวายความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ โดยการร่วมกันร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี และเพลงสดุดีมหาราชา ณ บริเวณหน้าอาคาร ซี.พี. ทาวเวอร์ ถนนสีลม
ในการนี้ นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และพนักงานเครือเจริญโภคภัณฑ์จากทุกกลุ่มธุรกิจได้มาร่วมกิจกรรมอย่างคับ คั่งกว่า ๕๐๐ ชีวิต
พร้อมกันนี้ ยังได้รับเกียรติจากคณะกรรมการบางส่วนของบมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (ซีพีเอฟ)มาร่วมแสดงความจงรักภักดีในโครงการนี้กับชาวเครือเจริญโภคภัณฑ์ ด้วย ได้แก่ พล.ต.อ.เภา สารสิน ประธานกรรมการกิตติมศักดิ์และกรรมการอิสระ นายอาสา สารสิน กรรมการอิสระ และ ศ.นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ กรรมการอิสระ
นายธนินท์ ในฐานะตัวแทนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ได้ขอพรให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีความสุข และมีพระเกษมสำราญ พร้อมกันนี้ท่านประธานธนินท์ได้กล่าวด้วยว่าอยากให้คนไทยรักใคร่ ปรองดอง และสามัคคีกัน โดยเครือฯได้น้อมนำแนวพระราชดำริมาใช้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการตามโครงการพระราชดำริ หรือ โครงการเกษตรต่าง ๆ
นอกเหนือจากเครือเจริญโภคภัณฑ์แล้ว หน่วยงานธุรกิจที่ตั้งอยู่บนถนนสีลม ไม่ว่าจะเป็นธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด โรงพยาลบาลกรุงเทพคริสเตียน ก็ได้จัดกิจกรรม ๙ ในดวงใจ อย่างพร้อมเพรียงกัน โดยชาวสีลมที่เดินทางผ่านสัญจรไปมาได้ร่วมกันร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี และสดุดีมหาราชากันเสียงก้องกังวานไปทั้งท้องถนน
สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์
โทรศัพท์ 02-625-8127-30
http://www.thaipr.net/nc/readnews.aspx?newsid=6D5AF184EB6E435B4E1EADB090AFFB0B&query=zcPDtsrUt7jU7CDgx6qq0qrVx9A=
------------------------------------------------------
ธุรกิจลงขันดัน"มาร์ค"นายกฯ ซีพี-สหพัฒน์-สหวิริยานำทีมหนุน
จัด แถวกลุ่มทุนพรรคการเมืองหลังรัฐธรรมนูญผ่าน เผยธุรกิจซื้ออนาคตควักกระเป๋าบริจาคให้พรรคประชาปัตย์ตัวเลขพุ่งพรวด ลุ้น "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 25 เปิดข้อมูลคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตัวเลขเงินบริจาคให้ ปชป.เดือนกรกฎาคมเพียง เดือนเดียวเฉียด 100 ล้าน บริษัทเครือ ซี.พี.นำโด่ง 21 ล้าน กลุ่มทรูอุดหนุนบริษัทละ 2 ล้าน สหวิริยาลงขัน 8 ล้าน นครหลวงค้าข้าว ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ เดอะมอลล์กรุ๊ป ฮือฮา ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล หรือ "หม่อมปลื้ม" ร่วมสมทบทุน
หลังประชามติร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ผ่านความเห็นชอบ บรรยากาศความคึกคักของพรรคการเมืองทั้งเก่าและใหม่ก็ปรากฏให้เห็นอย่าง ชัดเจนมากขึ้น เนื่องจากทุกฝ่ายเริ่มมั่นใจและมองข้ามไปถึงการเลือกตั้งทั่วไปที่จะเกิด ขึ้นในช่วงปลายเดือนธันวาคม โดยเฉพาะกลุ่มทุนและนักธุรกิจ ต่างคาดหวังรัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาเดินเครื่องเศรษฐกิจ ที่ประสบภาวะชะงักงันติดต่อกันมาเกือบ 2 ปี จึงมีท่าทีและความเคลื่อนไหวที่ชัดเจนมากขึ้นในการสนับสนุนพรรคการเมืองผ่าน การบริจาคเงินทุนให้แก่พรรคการเมืองที่คาดว่าจะเป็นแกนในการจัดตั้งรัฐบาล
ทั้ง นี้ในบรรดาผู้นำพรรคการเมืองที่อาจได้เป็นพรรคเสียงข้างมาก มีโอกาสเป็นแกนในการจัดตั้งรัฐบาลและมีความเป็นไปได้ที่จะก้าวขึ้นเป็นนายก รัฐมนตรีนั้น ดูเหมือนบรรดานักธุรกิจ กลุ่มทุนขนาดใหญ่เริ่มมองเป็นโอกาสและความท้าทายใหม่ๆ โดยจับตาไปที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งนอกจากจะได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีในการจัดงานระดมทุนเข้าพรรค มีผู้บริจาคมากกว่า 400 ล้านบาทไปเมื่อเร็วๆ นี้แล้ว ยังเริ่มปรากฏข้อมูลเงินสนับสนุนโดยตรงที่บริจาคเข้ามาสนับสนุนกิจการของ พรรคมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ล่าสุด ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" ตรวจสอบข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พบว่าเงินบริจาคพรรคการเมืองเดือนกรกฎาคม 2550 ที่ผ่านมา พรรคประชาธิปัตย์มีการบริจาคเงินทั้งสิ้น 4 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 99,993,600 บาท ในจำนวนนี้ปรากฏว่าเป็นการบริจาคโดยบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) จำนวน 23 ล้านบาท
บริษัทในเครือ ซี.พี.ที่บริจาคเงินให้พรรคประชาธิปัตย์ 9 ครั้งเป็นบริษัทในกลุ่ม บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น ซึ่งประกอบด้วย บริษัท ทรูอินเทอร์เน็ต เกตเวย์ จำกัด 2 ล้านบาท บริษัท ทรู พร็อพเพอร์ตี้ส์ จำกัด 2 ล้านบาท บริษัท เทเลคอมฝึกอบรมและพัฒนา จำกัด 2 ล้านบาท บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต จำกัด 2 ล้านบาท บริษัท ทรู มัลติมีเดีย จำกัด 2 ล้านบาท บริษัท ทรู ลีสซิ่ง จำกัด 2 ล้านบาท บริษัท ทรู ทัช จำกัด 2 ล้านบาท บริษัท ทรูมูฟ จำกัด 2 ล้านบาท บริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) 2 ล้านบาท
นอกจากกลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น แล้ว ยังมีบริษัทเครือ ซี.พี. อย่างบริษัท เจียไต๋ จำกัด บริจาค 3 ล้านบาท และบริษัท อาคเนย์เกษตรกรรมจำนวน 2 ล้าน
ส่วนผู้ บริจาครายใหญ่อีกหลายราย ประกอบด้วย นางประภา วิริยประไพกิจ 5 ล้านบาท บริษัท สหวิริยาเพลทมิล จำกัด และบริษัท สหวิริยาพาณิชย์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัทละ 1.5 ล้านบาท บริษัท เรือลำเลียงบางปะกง จำกัด 1 ล้านบาท
บริษัท บางกอกไตรวิชั่น จำกัด บริจาค 9 ล้านบาท นายโพธิพงษ์ ล่ำซำ 5 ล้านบาท บริษัท ฮัลโหล บางกอก ไตรวิชั่น จำกัด 5 ล้านบาท ของนายสันติ วิสาศสักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมฯ บริษัท จีเนียส ทราฟฟิค ซีสเต็ม จำกัด 3 ล้านบาท นางสาวพัชราภรณ์ แก้วทอง 3 ล้านบาท พระนครศรีอยุธยาพาณิชย์และอุตสาหกรรม จำกัด 2 ล้านบาท
รายชื่อผู้บริจาค 1 ล้านบาท ประกอบด้วย
นาย กรณ์ จาติกวณิช นายสมพงษ์ สระกวี นางมาลี ติงธนาธิกุล นายกฤช กุลทรัพย์ไพศาล นายสิทธิชัย นวลมณี นายสุชาติ เจียรานุสสติ นายทรงฤทธิ์ กุสุมรสนันท์ นายสมเกียรติ ฉันทวานิช นายทรวงธรรม พวงพันธ์ บริษัท รัชโยธิน เรียลตี้ จำกัด บริษัท ระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) บริษัท นครหลวงค้าข้าว จำกัด บริษัท เอส.พี.ซี.แมเนจเม้นท์ จำกัด บจ.แอพไพลแอ๊นซ์ เทคโนโลยี ซัพพลายส์ บริษัท ไฮโดรเทค จำกัด บริษัท เอสกรุ๊ปเออีซี (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัท บีเอส แมนเนจเม้นท์ จำกัด บริษัท พี.เอส.เค. โลจิสติกส์ จำกัด บริษัท พีระมิดคอนกรีต จำกัด บริษัท โลหะกิจรุ่งเรืองเจริญทรัพย์ จำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามประสิทธิ์ บริษัท ซีฟโก้ จำกัด (มหาชน) บริษัท บี.เอส. เมทัล จำกัด บริษัท สมบูรณ์สุข จำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัดโชคชัยการโยธา ห้างหุ้นส่วนจำกัด ป.รุ่งเรืองคอนกรีต
ราย ชื่อผู้บริจาค 600,000 บาท ประกอบด้วย บริษัท ยูหลิมโบ๊ต จำกัด บริษัท คิงส์ แพ็ค อินดัสเตรียล จำกัด บริษัท เสริมสงวนก่อสร้าง จำกัด และบริษัท บ้านซูซูกิ จำกัด
รายชื่อผู้บริจาค 500,000 บาท ได้แก่ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด บริษัท โมทีฟ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) บริษัท ทุนธนโชติ จำกัด บริษัท สุขสวัสดิ์สลิตติ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด บริษัท สำนักพิมพ์บรรณกิจ 1991 จำกัด บริษัท อินเด็กซ์อีเวนท์ เอเจนซี่ จำกัด (มหาชน) บริษัท เลนโซ่โฟนการ์ด จำกัด บริษัท บริหารสินทรัพย์ท่าเรือดอนสัก-สมุย จำกัด บริษัท ซีโก้ทรานสปอร์ต จำกัด และนางสุดา ศึกษากิจ
รายชื่อผู้บริจาค 400,000 บาท ได้แก่ บริษัท คิงส์แบ็ก จำกัด และบริษัท บัญชากิจ จำกัด บริจาค 300,000 บาท ได้แก่ บริษัท ไทยยานยนตร์ จำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทองตะวัน และบริษัท นำโชค ก่อสร้าง จำกัด
รายชื่อผู้บริจาค 250,000 บาท มี 4 ราย ได้แก่ นายศิริชัย มาโนช บริษัท วิสิทธิ์ เอ็นจิเนียริ่งคอนซัลแตนส์ จำกัด บริษัท เอเชี่ยนเอ็นจิเนียริ่งคอนซัลแตนส์ จำกัด บริษัท ไทยพัฒนา จำกัด
ราย ชื่อผู้บริจาค 200,000 บาท ได้แก่ ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล หรือ "หม่อมปลื้ม" ผู้ประกาศข่าวและพิธีกรชื่อดัง นางนุชนารถ รัตนสุวรรณชาติ บริษัท พีระมิดพาราวู้ด จำกัด บริษัท ทีวี แสตนดาร์ด จำกัด บริษัท ซุปเปอร์ไลท์ เอ็น.เค.เอส.โฮลดิ้ง จำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัดสระบุรีวณิชชาการ บริษัท คอนแคร์ จำกัด บริษัท ศุภผลการโยธา จำกัด บริษัท หาดใหญ่ยิบซั่ม จำกัด และบริษัท บี.เอส.ไมนิ่ง (2003) จำกัด
รายชื่อผู้บริจาค 100,000 บาท ได้แก่ นายศิริศักดิ์ อ่อนละมัย นายสมบัติ ชัยรัตนมโนกร นายปกรณ์ ชิตตนันท์ บริษัท อินฟาร์ เทคโนโลยีเซอร์วิส จำกัด นายโกวิท เพ็ชรัตน์ นายยงยุทธ อาริยะชน นายชูเกียรติ ทุ่งปรือ บริษัท ทำอย่างพอเพียง จำกัด และบริษัท อุดมศักดิ์เชียงใหม่ จำกัด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ในช่วงรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคฝ่ายค้านในช่วงปี 2544-2549 แทบไม่มีกลุ่มธุรกิจใดบริจาคเงินสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ นอกจากกลุ่มอยู่วิทยา (กระทิงแดง) ที่บริจาคอยู่อย่างต่อเนื่องยาวนานและยุติการบริจาคไปในช่วงรัฐบาลไทยรักไทย
หลัง จากนั้นในปี 2549 ประชาธิปัตย์มีการบริจาคเงินทั้งสิ้น 49 ครั้ง รวม 74,045,361 บาท โดยบริษัทศรีสุบรรณฟาร์ม ของนายสุเทพบริจาคมากที่สุด 12 ล้านบาท เฉลี่ยเดือนละ 1 ล้านบาท และในนามส่วนตัวนายสุเทพอีก 2,478,561 บาท
ก่อน หน้านี้ ช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน 2550 พบว่าพรรคประชาธิปัตย์มียอดเงินบริจาคทั้งหมด 23 ครั้ง รวม 9,884,618 บาท โดยแชมป์บริจาคมากที่สุดคือ บริษัท ศรีสุบรรณฟาร์ม จำกัด ที่มี "แทน เทือกสุบรรณ" บุตรชายคนโตของนาย
สุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรค เป็นผู้ดูแลที่บริจาคมากที่สุด เฉลี่ยเดือนละ 1 ล้านบาท ส่วนนายสุเทพบริจาคทั้งสิ้น 2,297,318 บาท
ขณะ ที่พรรคพรรคชาติไทยของนายบรรหาร ศิลปอาชา จากการตรวจสอบพบว่า ตลอดครึ่งปี 2550 มียอดบริจาค 6 ครั้ง รวม 1,250,000 บาท ทั้งนี้ในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ผู้บริจาครายใหญ่คือ นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรค เดือนละ 1 แสนบาท ขณะที่เดือนมีนาคม นายประภัตร โพธสุธน บริจาคคนเดียว 2 แสนบาท ขณะที่ปี 2549 พรรคชาติไทยไม่มียอดเงินบริจาค ส่วนปี 2548 มียอดบริจาค 5 ครั้ง รวม 755,700 บาท
แหล่งข่าวในพรรค ประชาธิปัตย์ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ก่อนหน้านี้ พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดงานเลี้ยงระดมทุนในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ได้รับเงินกว่า 427 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นแนวโน้มที่ดี ซึ่งคาดว่าในช่วงก่อนการเลือกตั้งจะมีการบริจาคให้กับพรรคประชาธิปัตย์อย่าง ต่อเนื่อง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะพรรคประชาธิปัตย์มีโอกาสจัดตั้งรัฐบาลสูง เมื่อเทียบกับพรรคชาติไทย หรือพรรคพลังประชาชน และนโยบายของพรรคก็ยืนอยู่กับความเป็นจริง ไม่ใช่มุ่งหาเสียงโดยไม่สนใจภาวะเศรษฐกิจที่แท้จริง
หน้า 1
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02p0101230850&day=2007-08-23§ionid=0201
--------------------------------------------------------
สิ้นสุดข้อกล่าวหาเรื่องทุจริตอีกเรื่อง
ที่รัฐบาลทักษิณถูกโจมตีอย่างหนัก
กรณีทุจริตกล้ายางก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
แต่ด้วยความที่ผมไม่ค่อยสนใจเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้น
เลยไม่ได้เก็บข่าวไว้
พอคดีสิ้นสุดแล้ว
ก็เลยต้องเสียเวลาไปค้นหานานพอสมควร
กว่าจะรวบรวมมาให้อ่านได้อย่างที่เห็น
โดยเริ่มจากการเปิดประเด็นนี้
และเกาะติดมาเรื่อยๆ
จากนสพ. ผู้จัดการ
ผมพยายามหาข้อกล่าวหามาลงให้อ่าน
เผื่อคนที่ไม่เคยผ่านหูผ่านตา
จะได้รับรู้ที่มาที่ไป
เรื่อยมาจนกระทั่งมีคำตัดสินออกมา
และยังไปหาข้อมูล
สายสัมพันธ์ของกลุ่ม ซีพี มาเพิ่มเติม
เนื่องจากเป็นบริษัทจำเลยในคดีนี้
อันที่จริงกลุ่มนี้มีสายสัมพันธ์แทบทุกพรรค
แต่ระยะหลังๆ เทมาหนุน ปชป. สุดกำลัง
ดูจากทุนที่บริจาคให้พรรค ปชป.
ในช่วงหลังๆ เฉพาะที่เป็นข่าว
ที่จริงยังมีนายทุนพรรคอื่นๆ อีก
สนใจอ่านเพิ่มเติมได้ที่เรื่องนี้
<<< นายทุนพรรคการเมืองแต่ละพรรค >>>
ส่วน ศ.นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ก็คือคุณพ่อของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ซึ่งก็เป็นกรรมการอิสระในบริษัทในเครือซีพี
เหล่านี้คือสายสัมพันธ์
ซึ่งอาจไม่เกี่ยวกับคดีนี้
แต่นำมาลงประกอบ
เพื่อเป็นความรู้เพิ่มเติม
เผื่อจะมีใครสนใจเพิ่มเติมว่า
เครือซีพีหนุน ฝ่ายไหน
ซึ่งส่วนใหญ่เขาคงบริจาค
ให้หลายพรรคหลายพวก
โดยไม่เป็นข่าว
สรุป ก็จบไปอีก 1 คดี
สำหรับคดีข้อกล่าวหาในสมัยรัฐบาลทักษิณ
โดย มาหาอะไร