บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


07 มิถุนายน 2552

<<< นายทุนพรรคการเมืองแต่ละพรรค >>>

รวบรวมมาจากข่าวที่เปิดเผยออกมา
ส่วนที่ไม่เปิดเผยก็ไม่เปิดเผยต่อไป
จะสังเกตุได้ว่า
บางคนเล่นการเมืองแล้วรวย
เพราะรับเงินที่ไม่เปิดเผยหรือเปิดเผย
แล้วมุบมิบเอาเข้ากระเป๋าตัวเองก็มี
สำหรับประชาชนแล้ว
เรื่องนายทุนพรรคการเมือง
จำเป็นต้องรับรู้ไว้
เพื่อใช้ติดตามการทำงานของรัฐบาล
ว่าเอื้อประโยชน์ให้นายทุนพรรคบ้างไหม
เช่นนโยบายนั้นนี้
ออกมาเพื่อให้ใครได้ประโยชน์
ประชาชนหรือนายทุนพรรคเป็นต้น

บางทีนายทุนพรรคบางคน
อาจหนุนหลายๆ พรรค
เพื่อที่จะไม่พลาด
ในการอยู่ฝ่ายรัฐบาลไปตลอด
เรียกว่าแทงก๊ก ว่ายังงั้นเถอะ
ส่วนบางพวกก็ย้ายพรรคสนับสนุน
ตาม ส.ส. ที่ตนเองหนุนหลังให้ไปอยู่พรรคนั้นๆ
บางพวกก็แฟนพันธุ์แท้ช่วยพรรคใดพรรคเดียว
ข้อมูลที่นำมาให้ดู
ก็เพื่อดูคร่าวๆ ประกอบการพิจารณา
เรื่องนโยบายต่างๆ
การที่มีนักธุรกิจหนุนพรรคการเมือง
ไม่ใช่เรื่องแปลกเป็นเรื่องปกติ
แต่ถ้านักธุรกิจกระโดดมาเล่นการเมือง
แย่งอาชีพนักการเมือง
อันนี้แหละไม่ปกติ
และมีสิทธิ์โดดแบบเดียวกับทักษิณได้
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า
ทำไมเราอยากให้นักธุรกิจนักบริหารเก่งๆ
คนนั้นคนนี้มาเล่นการเมือง
แล้วเขาไม่อยากมาเล่น
ก็เพราะว่าเขาทนแรงเสียดทานทางการเมืองไม่ไหว
ไม่อยากเปลื้องตัว
และสุดท้ายอาจกระทบกับธุรกิจที่เขาทำอยู่ด้วย

สรุปว่า สำหรับนักธุรกิจที่หนุนพรรคการเมือง
เราถือว่าเป็นเรื่องปกติ
แต่ถ้าหนุนรัฐประหาร
เราว่าไม่ปกติ
สมควรโดนต่อต้าน
เพราะว่าเล่นกันจนเกินขอบเขต
ไม่เห็นหัวประชาชน
ที่สนับสนุนพรรคการเมืองนั้นๆ
ให้เข้ามาบริหารประเทศแทนตน

ปล. ปัจจุบันประชาชนผู้เสียภาษี
สามารถสนับสนุนพรรคการเมืองที่สนับสนุนได้
โดยการบริจาคเงินให้พรรคการเงิน
ในแบบฟอร์มการยื่นเสียภาษี
เท่าที่ดูแฟนคลับ ปชป. จะสนับสนุน
มากกว่าพรรคการเมืองอื่น
ซึ่งเรื่องนี้พรรคการเมืองอื่นๆ
ควรประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้นด้วย
แม้จะเป็นเงินที่น้อยนิดต่อคน
แต่มันหมายถึงการเป็นแฟนคลับ
ที่เหนี่ยวแน่นด้วย
คล้ายๆ กับมีความรู้สึกว่า
เป็นพรรคของตัวเองอะไรแบบนั้น
อย่าเห็นว่าเป็นเงินจำนวนน้อย
อนาคตมันจะเยอะขึ้นเรื่อยๆ
ถ้าเขาศรัทธาในพรรคนั้นๆ จริงๆ

โดย มาหาอะไร

-------------------------------------------------

ชำแหละ "ทุนการเมือง" โค้งสุดท้าย "หญิงอ้อ" รัก ทรท.หมดใจ

"ชาตรี" หนุน ปชป. "อีดี้จวบ" อัน 10 ล. "ราษฎร" รับ "มารวย"
(นสพ.ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 15 - วันอาทิตย์ที่ 18 ก.พ.44)
ในเดือนธันวาคม ซึ่งโค้งสุดท้ายก่อนหย่อนบัตรเลือกตั้งใหญ่ 6 มกราคม 2544
เป็นอีกเดือนหนึ่งที่มียอดเงินบริจาคหลั่งไหลเข้าพรรคการเมืองมากกว่าครึ่งหนึ่ง
ของเงินบริจาค 3 ปี เพราะตามรายงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ระบุว่า
เดือนธันวาคมมียอดเงินบริจาคมากถึง 313 ล้านบาท แต่ยอดบริจาคตั้งแต่ปี 2541
ถึงเดือนพฤศจิกายน 2543 รวมแล้วเพียง 603 ล้านบาท
พรรคที่มีเงินบริจาคมากที่สุดเป็น พรรคไทยรักไทย 161.4 ล้านบาท
รองลงมาเป็น พรรคประชาธิปัตย์ 57.8 ล้านบาท
และอันดับสามเป็นพรรคชาติพัฒนา 55.3 ล้านบาท
อันดับสี่เป็นพรรคเสรีธรรม 22 ล้านบาท
และอันดับ 5 เป็นพรรคราษฎร 7.5 ล้านบาท (ตารางประกอบ)
พรรคการเมือง จำนวนเงิน/บาท
1. พรรคชาติพัฒนา 55,300,000.00
2. พรรคประชาธิปัตย์ 57,861,010.00
3. พรรคไทยรักไทย 161,425,000.00
4. พรรคชาติไทย 1,714,000.00
5. พรรคเสรีธรรม 22,000,000.00
6. พรรคความหวังใหม่ 1,500,000.00
7. พรรคราษฎร 7,500,000.00
8. พรรคประชากรไทย 3,050,000.00
9. พรรคถิ่นไทย 1,877,820.00

โดยผลการเลือกตั้งปรากฏว่า
ไทยรักไทยได้ 248 ที่นั่ง
ประชาธิปัตย์ได้ 128 ที่นั่ง
ชาติพัฒนาได้ 29 ที่นั่ง
เสรีธรรมได้ 14 ที่นั่ง
ส่วนราษฎรได้ 2 ที่นั่ง
เมื่อผ่าไปดูในรายละเอียด
จะเห็น "แฟนตัวจริง" ของแต่ละพรรคการเมือง

คุณหญิงอ้อ แฟนพันธุ์แท้ ทรท. จากรายงานล่าสุดของ กกต. ระบุว่า
ที่พรรคไทยรักไทย วันที่ 4 ธันวาคม
คุณหญิงพจมาน ชินวิตร บริจาค 5 ล้านบาท วันที่ 18 ธันวาคม
คุณหญิงบริจาคเพิ่มถึง 100 ล้านบาท ก่อนที่จะทิ้งทวนบริจาคในวันที่ 25 ธันวาคม
ใส่ลงไปอีก 60 ล้านบาท รวม 165 ล้านบาท
ส่วนผู้บริจาคระดับ 1 ล้านบาทขึ้นไปมีแค่
พิมล ศรีวิกรม์ บริจาค 1 ล้านบาท และ ประชา คุณะเกษม อีก 1 ล้านบาท
เห็นกันชัด ๆ ว่าเดือนสุดท้ายก่อนเลือกตั้ง
คุณหญิงพจมานทุ่มลงไปรวม 165 ล้านบาท
แต่ก็ถือว่าได้ตามเป้า เพราะไทยรักไทยชนะเลือกตั้งถล่มทลายจน
"พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" ก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ของเมืองไทย

บิ๊กแบงก์กรุงเทพ หนุน ปชป. สำหรับพรรคประชาธิปัตย์ที่พ่ายหมดรูป
เมื่อพลิกดูรายชื่อผู้สนับสนุนในโค้งสุดท้ายแล้วน่าสนใจไม่น้อย
โพธิพงษ์ ล่ำซำ ผู้บริจาครายใหญ่ขาประจำ
วันที่ 4 ธันวาคม บริจาค 10 ล้าน ต่อมาบริจาคอีก 5 ล้านบาท
พิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล บริจาค 5 ล้านบาท
คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช 2 ล้านบาท
นายสุธี มีนชัยนันท์ 1 ล้านบาท
พรวุฒิ สารสิน 1 ล้านบาท
ส่วนนักธุรกิจใหญ่ที่ให้การสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์มี
นายชาตรี โสภณพนิช แห่งธนาคารกรุงเทพ บริจาค 6 แสนบาท
ส่วนผู้บริจาคในบริษัท บริจาครายละ 1 ล้านบาทขึ้นไป มีหลายราย เช่น
บริษัท แทค พร็อพเพอร์ตี้ 1.2 ล้านบาท
จงสถิตย์พลัช ยักษ์ใหญ่ขายผ้าส่งออก
ของตระกูลชีวประวัติดำรงค์ บริจาค 4 ครั้ง รวม 3.6 ล้านบาท
พี.รัชมิตร 1 ล้านบาท
เอ็ม.ซี.คอนสตรักชั่น 1 ล้านบาท
สระหลวงก่อสร้าง 1.2 ล้านบาท
อาเซียนอินซูเลเตอร์ 1.2 ล้านบาท
ยังมีบริษัทดังที่สนับสนุนครั้งละหลายแสน เช่น
บริษัทแสงโสม 6 แสนบาท
กันตนา กรุ๊ป 6 แสนบาท
กลุ่มบริษัทในเครือสามารถ เช่น สามารถเพจจิ้ง บริจาค 2 แสนบาท
สามารถคอร์ปอเรชั่น บริจาค 2 แสนบาท
ซีพโก้ 6 แสนบาท
เจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง 2 แสนบาท

ตระกูล "ลิปตพัลลภ" หนุนชาติพัฒนาสุดตัว
ส่วนพรรคชาติพัฒนานั้น เงินบริจาคโค้งสุดท้ายมาจากตระกูลลิปตพัลลภ
หลังจากนายวิศว์ ลิปตพัลลภ ใส่ไป 10 ล้านบาท เมื่อ 18 พฤศจิกายนแล้ว 9 ธันวาคม
สุวัจน์ บริจาค 2 แสนบาท 23 ธันวาคม
สังวรณ์ ลิปตพัลลภ ให้ 5 ล้านบาท และสุวัจน์อีก 2 ล้านบาท
ส่วน กร ทัพพะรังสี บริจาค 2 แสนบาท
พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก 5 แสนบาท
สำหรับผู้บริจาครายอื่น เช่น
ณัฐพล เดชวิทักษ์ 2.5 ล้านบาท
หจก.มานะชัยยนต์ 1 ล้านบาท
ชูศักดิ์ สิงห์สมบุญ 1 ล้านบาท
เกศเมือง เวชชาวิศิษฐ์ 1 ล้านบาท
แต่ผลงานของพรรคนี้ ต่ำกว่าเป้าหมายมาก
เพราะ "สุวัจน์" หวัง 70 ขึ้นไป แต่ได้แค่ 29 เท่านั้น

"อีดี้จวบ" อัด 10 ล. ก่อนหงายหลัง
พรรคเสรีธรรมงวดสุดท้ายรับเงินบริจาค 22 ล้านบาท
มีรายใหญ่ 2 ราย คนแรกคือ
นายประจวบ ไชยสาส์น บริจาคล็อตใหญ่ 10 ล้านบาท
ส่วนอีกคนคือ นางทัศนีย์ อินทามระ บริจาค 9 ล้านบาท
นางทัศนีย์ เป็นเจ้าของธุรกิจ 10 บริษัท รับเหมาทำความสะอาด
ชื่อบริษัท เอส.เอ.วี.ไทยแลนด์ จำกัด บริษัท ฟิล (ไทยแลนด์) จำกัด
ส่วนอีก 3 รายเป็นรายย่อย ได้แก่
บริษัท จงสถิตย์พลัช จำกัด บริจาค 1 ล้านบาท
ก่อนหน้านี้เคยบริจาคให้ 1 ล้านบาท
นายประชา นภาพฤกษ์ เหรัญญิกพรรค บริจาค 1.9 ล้านบาท
แต่ "อีดี้จวบ" นำพลพรรคแบบเขตมาได้ 14 คน
ส่วนปาร์ตี้ลิสต์ตกเรียบ ไม่มีโอกาสลุ้นเป็นนายกฯ คนอีสาน
แต่ตัดสินใจยุบพรรคเข้าไปเสริมความแข็งแกร่งให้กับไทยรักไทย

ในโค้งสุดท้ายของพรรคชาติไทย มีเงินบริจาคไม่มากนัก
ส่วนใหญ่มาจากกิจการรับเหมาก่อสร้างและขนส่ง เช่น
บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ 3 แสนบาท
ช.การช่าง 3 แสนบาท
ทางด่วนกรุงเทพ 3 แสนบาท
เอกซ์เปอร์ต ทรานสปอร์ต 3 แสนบาท
และบริษัท ซุปเปอร์ดเซฟเซอร์วิส 3 แสนบาท

"มารวย" แตก 4 บริษัทให้ "ราษฎร" ทุนก้อนสุดท้าย
ของพรรคราษฎรมิได้มาจากบริษัทในเครืออัศวเหมเหมือนครั้งที่ผ่าน ๆ มา
หากแต่ว่าในงวดเดือนพฤศจิกายน
มีเงินบริจาคเข้ามา 4 ราย วงเงิน 3.5 ล้านบาท ได้แก่
บริษัท เจมส์คอลเลคชั้น แมนูแฟคเจอเรอร์ จำกัด 5 แสนบาท
บริษัท โอเอเอ็กซ์เพรส เซอร์วิส คาร์ จำกัด 5 แสนบาท
บริษัทเจมส์ คอลเลคชั่นอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 2 ล้านบาท
และบริษัท บางกอกแฮนดิคราฟท์ เซ็นเตอร์ จำกัด 5 แสนบาท
ส่วนในเดือนธันวาคม มีผู้บริจาคให้ 4 ล้านบาท แบ่งเป็น
นายประเสริฐ จิรัสคามิน เสี่ยรับเหมาบริษัท เอส.อินเตอร์แอนด์แอสโซซิเอทส์ จำกัด
จำนวน 3 ล้านบาท อีก 1 ล้านบาทมาจาก
นายสุทธิ เกรียงชัยพฤกษ์ กรรมการโรงพยาบาลภูเก็ต
เป็นเม็ดเงินงวดสุดท้ายที่มีการเปิดเผยอย่างเป็นทางการ
และเมื่อผลการเลือกตั้งออกมา พรรคชาติพัฒนา เสรีธรรมและราษฎร
น่าจะผิดหวังมากที่สุด

----------------------------------------------------

http://the-thainews.com/misc/journal/jn191243_1.htm

แหล่งทุนและยอดเงินรับบริจาคของพรรคการเมือง

กลุ่มธุรกิจและเอกชนผู้บริจาคเงินสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์
(นสพ.ประชาชาติ ฉบับ วันจันทร์ที่ 18 - วันพุธที่ 20 ธันวาคม 2543)
บริษัท/เอกชนผู้บริจาค ประเภทธุรกิจ จำนวนเงินบริจาค

นายพรเสก กาญจนจารี ปาร์ตี้ลิสต์ หมายเลข 26 1.8 ล้านบาท
นายประมุข ไชยวรรณ 600,000 บาท
นายธงชัย ล่ำซำ (กลุ่มล็อกซเล่ย์) ค้าขาย 600,000 บาท
นายวิชัย กฤษดาธานนท์ อสังหาริมทรัพย์ 600,000 บาท
นายสุนทร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ ธุรกิจโรงเลื่อย-ค้าไม้ 600,000 บาท
นายลิขิต หงส์ลดารมภ์ ที่ปรึกษา "สุเทพ เทือกสุบรรณ" 600,000 บาท
นายสราวุฒิ อยู่วิทยา (กลุ่มกระทิงแดง) เครื่องดื่มกระทิงแดง บริจาค 5 ครั้ง 800,000 บาท
นายโพธิพงษ์ ล่ำซำ ปาร์ตี้ลีส หมายเลข 27 5 ล้านบาท
บริษัท เกษตรภัณฑ์อุสาหกรรม จำกัด (กลุ่ม ซี.พี) ผลิต/จำหน่ายอุปกรณ์เลี้ยงสัตว์ 600,000 บาท
บริษัท ศูนย์การศึกษาและการบริหารสหเทคโนโลยี จำกัด (กลุ่มล้ำซำ) ธุรกิจการศึกษา 600,000 บาท
บริษัท ค้าผลผลิตน้ำตาล จำกัด (กลุ่มโรงงานน้ำตาล) ธุรกิจน้ำตาล 600,000 บาท
บริษัท ภาคใต้เชื้อเพลิง จำกัด (มหาชน) ค้าน้ำมัน 1.2 ล้านบาท
บริษัท แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด ธุรกิจบันเทิง 1 ล้านบาท
บริษัท สามารถคอมมิวนิเคชั่น เซอร์วิส จำกัด ธุรกิจสื่อสารข้อมูลผ่านดาวเทียม 600,000 บาท
บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด รับเหมาก่อสร้าง 750,000 บาท
บริษัท โรงงานฟุตบอลไทย สปอร์ตติ้ง กู๊ดส์ จำกัด ธุรกิจกีฬา 600,000 บาท
บริษัท คอนโทรล ดาต้า (ประเทศไทย) จำกัด
(เจ้าของธุรกิจคือ นายนาถ ลิ่วเจริญ) ธุรกิจค้าคอมพิวเตอร์ 600,000 บาท
บริษัท กรุงธน เอนยิเนียร์ จำกัด รับเหมาก่อสร้าง 600,000 บาท
บริษัท เกษตรรุ่งเรืองพืชผล จำกัด ธุรกิจการเกษตร 300,000 บาท
บริษัท คราฟท์ จำกัด รับต่อเติม, สร้างรถ, เรือทุกชนิด (ขายส่ง-นำเข้า) 600,000 บาท

บริษัทที่บริจาคเงินให้พรรคการเมือง 1 ล้านขึ้นไปเปรียบเทียบกับสถานะของบริษัท
(นสพ.ประชาชาติ ฉบับ วันจันทร์ที่ 11 - วันพุธที่ 13 ธันวาคม 2543)

ชื่อผู้บริจาค ทุนจดทะเบียน(ล้านบาท) ประเภทธุรกิจ ผลประกอบการ(ปี 2542) จำนวนเงินที่บริจาค(บาท)

พรรคราษฎร
บริษัท เอ็ม พี ปิโตรเลียม 100 ขายส่งน้ำมัน ขาดทุน 379.5 ล้านบาท 1,000,000
บริษัท กรุงศิริ จำกัด 250 ซื้อ-ขายที่ดิน ขาดทุน 17,843.91 บาท 2,000,000
บริษัท อีสซีแลนด์ จำกัด 500 ที่ดิน อาคารชุด ขาดทุนปี 2541 264,668 บาท 2,000,000
บริษัท ชุมพรปิโตรเลียม จำกัด 2 ขายส่งน้ำมันเชื้อเพลิง กำไร 3,000 บาท 1,500,000
บริษัท โชคชัยปิโตรเลียม จำกัด 2 ขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง ขาดทุน 4,000 บาท 1,500,000

พรรคประชาธิปัตย์
บริษัท ปัญญา คอนซัลแตนท์ จำกัด 12 บริการที่ปรึกษา กำไร 7 ล้านบาท 1,200,000
บริษัท โรงพยาบาลปากเกร็ด เวชการ จำกัด 575 รักษาพยาบาล กำไร 2.8 ล้านบาท 1,200,000
บริษัท เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด 500 รับเหมาก่อสร้าง กำไร 7 ล้านบาท 1,000,000
บริษัท โมเดิร์น คอนสตรัคชั่น แมทที่เรียล จำกัด 9 จำหน่ายวัสดุรับจ้างก่อสร้าง ขาดทุน 53,570 บาท 1,800,000
บริษัท โรงแรมดิ เดมเมอรัล จำกัด 230 โรงแรม ภัตราคาร ขาดทุน 41.6 ล้านบาท 1,000,000
บริษัท ทีไอ เทรดดิ้ง จำกัด 20 ขายส่ง-นำเข้าบุหรี่ต่างประเทศ กำไร 7.7 ล้านบาท 2,000,000

พรรคเสรีธรรม
บริษัท อุทัยโปรดิวส์ จำกัด 200 ส่งออกข้าวต่างประเทศ กำไร 12.9 ล้านบาท 1,000,000
บริษัท เกรทเทนเนอร์ จำกัด 10 กิจการขนส่ง ขาดทุน 13 ล้านบาท 1,000,000

พรรคชาติไทย
บริษัท รวมโชคค้าข้าว จำกัด 5 ส่งออกข้าว กำไร 312,398 บาท 2,000,000
บริษัท ซีดีเอส เทอร์มินอล จำกัด 50 บริการท่าเทียบเรือ กำไร 23.7 ล้านบาท 10,000,000
บริษัท รัตนวันก่อสร้าง จำกัด 200 รับเหมาก่อสร้างอาคาร กำไร 11 ล้านบาท 2,000,000
บริษัท ข้าวไชยพร จำกัด 400 ส่งออกข้าว ข้าวโพด ขาดทุน 208 ล้านบาท 10,000,000
บริษัท ป้วยเฮงล้ง จำกัด 30 ส่งออกข้าวสาร กำไร 3 ล้านบาท 2,000,000
บริษัท รวมข้าวสยาม จำกัด 25 ส่งออกข้าว ขาดทุน 13.9 ล้านบาท 5,000,000
บริษัท เก้าภิญโญ จำกัด 50 การป่าไม้และทำไม้ ขาดทุน 138,001 บาท 25,000,000

พรรคไทยรักไทย
บริษัท ไทยยานยนตร์ จำกัด 700 ผลิตรถยนต์ กำไร 271.7 ล้านบาท 1,000,000


บัญชีรายชื่อผู้บริจาคและจำนวนเงินที่แต่ละพรรคได้รับบริจาคในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2543
(นสพ.ประชาชาติ ฉบับ วันพฤหัสบดีที่ 14 - วันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม 2543)

พรรค ผู้บริจาค จำนวนเงิน (บาท)

ชาติไทย นายบุญมั่น กาญจนอุทัยศิริ 1,000,000 (30 ต.ค.-20 พ.ย.43)
บริษัท ลิ้มเซ้งฮวด ซัพพลาย 1,900,000
นายสมชาย กาญจนอุทัยศิริ 1,500,000
นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง 1,900,000
บริษัท ศรีราชา ทักโบ๊ต 1,900,000
บริษัท เจซี มารีน เซอร์วิส 1,900,000
บริษัท สเตทศรีราชา 1,900,000
นายบัณฑิต พรกิจประสาน 2,000,000
บริษัท ศรีราชา เบสท์แลนด์ 1,900,000
บริษัท ทัศนาขนส่ง 1,900,000
นายเข็มชาติ ว่องชาญกิจ 1,900,000
บริษัท โรงโม่หิน ศิลามหานคร 1,000,000
หจก.สินทรัพย์คีรี 1,000,000
บริษัท เก้าภิญโญ 25,000,000
บริษัท ปิ่นรังษี 300,000
บริษัท เหมราช พัฒนาที่ดิน 150,000
บริษัท ศรีราชา ฮาร์เบอร์ 150,000
บริษัท ซันเทคสแครปโพรเซสซิ่ง 300,000
บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ 300,000
บริษัท เชสเอ็นเตอร์ไพรัส (สยาม) 300,000
บริษัท แสงโสม 600,000
น.ส.ดารณี เอศะวาณิช 10,000,000
น.ส.อำไพวรรณ พลเสน 10,000,000
บริษัท ดับเบิ้ลยูเซเนเรนท์ทัล เซอร์วิสเซส จำกัด 300,000


บัญชีรายชื่อผู้บริจาคและจำนวนเงินที่แต่ละพรรคได้รับบริจาคในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2543
(นสพ.ประชาชาติ ฉบับ วันพฤหัสบดีที่ 7 - วันอาทิตย์ที่ 10 ธันวาคม 2543)

พรรค ผู้บริจาค จำนวนเงิน (บาท)

ประชาธิปัตย์ สมาคมประกันชีวิตไทย 150,000 (6 - 12 พ.ย. 43)
บริษัท โกอิ้ง กรีน จำกัด 150,000
บริษัท วงศ์ ดีจิรง คอปเรชั่น จำกัด 150,000
บริษัท นครหลวงค้าข้าว จำกัด 600,000
บริษัท กำจรกิจการก่อสร้าง จำกัด 600,000
หจก.ยูต้าอุตสาหกรรม 100,000
นายปรีชา ถิรกสิทธิ์ 1,000,000
นายสหะ พงศ์พิริยะเกียรติ 120,000
บริษัท กันกุล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด 100,000
บริษัท สายไฟฟ้าบางกอกเคเบิล จำกัด 100,000
นายธนสิทธิ์ อังกสิทธิ์ 100,000
บมจ.ชิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด 150,000
บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด 150,000
บริษัท ทักษิณอุดสาหกรรมน้ำมันปาล์ม (1993) จำกัด 150,000
นายอนุเชาวน์ อนุจารีอาภา 500,000
บริษัท แอ๊ดวานซ์ อินฟอร์มเมชั่นเทคโนโลยี จำกัด 600,000
บริษัท ทักษิณปาล์ม (2521) จำกัด 150,000
บมจ.เพชรศรีวิชัย 300,000
คุณกำจร วังอุดม 200,000
น.ส.ณัฐชยา หงส์ศรีสุวรรณ์ 100,000
นายสราวุฒิ อยู่วิทยา 100,000
หจก.ยูต้าอุตสาหกรรม 100,000
ผู้บริจาคต่ำกว่า 100,000 บาท จำนวน 42 ราย 590,300

ยอดบริจาคตั้งแต่ 6 - 12 พ.ย. 43 6,660,300

(20 - 26 พ.ย. 43)
บริษัท ปัญญา คอนซัลแตนท์ จำกัด 1,200,000
บริษัท โรงพยาบาลปากเกร็ดเวชการ จำกัด 1,200,000
บริษัท คริสเตียนี และนีลเส็น (ไทย) จำกัด (มหาชน) 600,000
บริษัท เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด 300,000
บริษัท สามารถเทเลคอม จำกัด (มหาชน) 300,000
บริษัท รวมนครก่อสร้าง (ประเทศไทย) จำกัด 100,000
หจก.สามประสิทธิ์ 600,000
บริษัท แสงประดิษฐ์เทรดดิ้ง จำกัด 600,000
บจ.เบสท์ แพลน เทคโนโลยี 600,000
บจ.โมเดิร์น คอนสตรัคชั่น แมททีเรียล 1,800,000
บจก.ทางด่วนกรุงเทพเหนือ 600,000
บจ.เสริมมิตร เอ๊กซ์เซคคิวทีป 600,000
บริษัท อินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ฟ จำกัด 600,000
บริษัท โรจนะสวนเกษตรและรีสอร์ท จำกัด 600,000
บริษัท ที.เค.เอส. (ประเทศไทย) จำกัด 600,000
บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) 600,000
บจ.คอนสตรัคชั่น แมททีเรียล ซัพพลาย 150,000
บจก.ที.เค. แอร์เซลแอนด์เซอร์วิส 200,000
บริษัท พี.เจ ดีไซน์ จำกัด 100,000
นายอภิรักษ์ วานิช 1,000,000
บจก.โรงแรมดิ เอมเมอรัลด์ 1,000,000
บริษัท ทีไอ เทรดดิ้ง จำกัด 2,000,000
ผู้บริจาคต่ำกว่า 100,000 บาท จำนวน 2 ราย 98,558.07

ยอดบริจาค 20 - 26 พ.ย. 43 16,148,858.07
ยอดบริจาครวมทั้งหมด 22,808,858.07

ไทยรักไทย บริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด 100,000
บริษัท ไวร์เออ แอนด์ ไวร์เลส จำกัด 100,000
บริษัท กำแพงเพชรวิวัฒน์ จำกัด 100,000
นายมงคล สิมะโรจน์ 100,000
ผู้บริจาคต่ำกว่า 100,000 บาท จำนวน 18 ราย 435,600

ยอดบริจาคตั้งแต่ 9 - 14 พ.ย. 43 รวม 835,600

ชาติไทย บริษัท ดับเบิ้ลยูเซเนเรนท์ทัล เซอร์วิสเซส จำกัด 300,000
บริษัท ปิ่นรังษี จำกัด 300,000
บริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด 150,000
บริษัท ศรีราชาฮาร์เบอร์ จำกัด 150,000
บริษัท ซันเทคสแครปโพรเซสซิ่ง จำกัด 300,000
บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนท์ จำกัด (มหาชน) 300,000
บริษัท เฮสเอ็นเตอร์ไพร์ส (สยาม) จำกัด 300,000
บริษัท แสงโสม จำกัด 600,000
ผู้บริจาคต่ำกว่า 100,000 บาท 4 ราย 148,000

ยอดบริจาค รวม 2,548,000

ชาติพัฒนา นายวิศว์ ลิปตพัลลภ 10,000,000
พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก 5,000,000
นางวิจิตรา รัตนเพียร 5,000,000
นางประจวบ จันทราสุข 4,000,000
นายวราวุธ จันทราสุข 2,000,000
นายชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ 1,000,000
นางปิยะธิดา นันที 1,000,000

ยอดบริจาค รวม 28,000,000


ยอดเงินบริจาคพรรคการเมืองที่แต่ละพรรคได้รับเฉพาะในเดือนพฤศจิกายน 2543
(นสพ.ผู้จัดการรายสัปดาห์ ฉบับลงวันที่ 11-17 ธันวาคม 2543)

พรรคที่ได้รับบริจาค จำนวนเงิน (บาท)
ประชาธิปัตย์ 22,314,958
ไทยรักไทย 1,825,600
ชาติไทย 49,388,000
ชาติพัฒนา 29,000,000
ความหวังไหม่ 18,810,000
เสรีธรรม 5,800,000
ประชากรไทย 3,083,000
เอกภาพ 55,000
ราษฎร 30,000
พลังธรรม 1,000
ถิ่นไทย 200,000
เกษตรมหาชน 320,000
ก้าวหน้า 30,000
ส่วนพรรคอื่น ๆ ไม่ได้รับเงินบริจาค

ยอดเงินบริจาคพรรคการเมืองที่แต่พรรคได้รับบริจาค ในปี 2543

พรรคที่ได้รับบริจาค จำนวนเงิน (บาท)
ประชาธิปัตย์ 50,124,833
ไทยรักไทย 135,939,354
ชาติไทย 125,370,000
ชาติพัฒนา 900,000
ความหวังใหม่ 11,900,000
เสรีธรรม 8,558,500
เอกภาพ 516,500
ราษฎร 11,100,000
พลังธรรม 4,000
เสรีประชาธิปไตย 5,400
ศรัทธาประชาชน 220,000

ยอดเงินบริจาคพรรคการเมืองที่แต่ละพรรคได้รับบริจาคในปี 2542
พรรคที่ได้รับบริจาค จำนวนเงิน (บาท)
ประชาธิปัตย์ 12,195,758
ไทยรักไทย 12,273,995
ชาติไทย 5,461,600
ชาติพัฒนา 6,000,000
ความหวังใหม่ 22,647,802
กิจสังคม 321,000
เสรีธรรม 1,160,340
เอกภาพ 513,155
พลังธรรม 646,471
เสรีประชาธิปไตย 43,800
ศรัทธาประชาชน 40,000
อำนาจประชาชน 51,200

ยอดเงินบริจาคของพรรคการเมืองที่แต่ละพรรคได้รับริจาคในปี 2541
พรรคที่ได้รับริจาค จำนวนเงิน (บาท)
ประชาธิปัตย์ 1,074,300
ไทยรักไทย 31,111,630
ชาติพัฒนา 1,500,000
พลังธรรม 288,511
ชาติประชาธิปไตย 28,755
--------------------------------------------
ธุรกิจลงขันดัน"มาร์ค"นายกฯ ซีพี-สหพัฒน์-สหวิริยานำทีมหนุน

จัดแถวกลุ่มทุนพรรคการเมืองหลังรัฐธรรมนูญผ่าน เผยธุรกิจซื้ออนาคตควักกระเป๋าบริจาคให้พรรคประชาปัตย์ตัวเลขพุ่งพรวด ลุ้น "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 25 เปิดข้อมูลคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตัวเลขเงินบริจาคให้ ปชป.เดือนกรกฎาคมเพียง เดือนเดียวเฉียด 100 ล้าน บริษัทเครือ ซี.พี.นำโด่ง 21 ล้าน กลุ่มทรูอุดหนุนบริษัทละ 2 ล้าน สหวิริยาลงขัน 8 ล้าน นครหลวงค้าข้าว ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ เดอะมอลล์กรุ๊ป ฮือฮา ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล หรือ "หม่อมปลื้ม" ร่วมสมทบทุน

หลังประชามติร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ผ่านความเห็นชอบ บรรยากาศความคึกคักของพรรคการเมืองทั้งเก่าและใหม่ก็ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนมากขึ้น เนื่องจากทุกฝ่ายเริ่มมั่นใจและมองข้ามไปถึงการเลือกตั้งทั่วไปที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายเดือนธันวาคม โดยเฉพาะกลุ่มทุนและนักธุรกิจ ต่างคาดหวังรัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาเดินเครื่องเศรษฐกิจ ที่ประสบภาวะชะงักงันติดต่อกันมาเกือบ 2 ปี จึงมีท่าทีและความเคลื่อนไหวที่ชัดเจนมากขึ้นในการสนับสนุนพรรคการเมืองผ่านการบริจาคเงินทุนให้แก่พรรคการเมืองที่คาดว่าจะเป็นแกนในการจัดตั้งรัฐบาล

ทั้งนี้ในบรรดาผู้นำพรรคการเมืองที่อาจได้เป็นพรรคเสียงข้างมาก มีโอกาสเป็นแกนในการจัดตั้งรัฐบาลและมีความเป็นไปได้ที่จะก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น ดูเหมือนบรรดานักธุรกิจ กลุ่มทุนขนาดใหญ่เริ่มมองเป็นโอกาสและความท้าทายใหม่ๆ โดยจับตาไปที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งนอกจากจะได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีในการจัดงานระดมทุนเข้าพรรค มีผู้บริจาคมากกว่า 400 ล้านบาทไปเมื่อเร็วๆ นี้แล้ว ยังเริ่มปรากฏข้อมูลเงินสนับสนุนโดยตรงที่บริจาคเข้ามาสนับสนุนกิจการของพรรคมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

ล่าสุด ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" ตรวจสอบข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พบว่าเงินบริจาคพรรคการเมืองเดือนกรกฎาคม 2550 ที่ผ่านมา พรรคประชาธิปัตย์มีการบริจาคเงินทั้งสิ้น 4 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 99,993,600 บาท ในจำนวนนี้ปรากฏว่าเป็นการบริจาคโดยบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) จำนวน 23 ล้านบาท

บริษัทในเครือ ซี.พี.ที่บริจาคเงินให้พรรคประชาธิปัตย์ 9 ครั้งเป็นบริษัทในกลุ่ม บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น ซึ่งประกอบด้วย บริษัท ทรูอินเทอร์เน็ต เกตเวย์ จำกัด 2 ล้านบาท บริษัท ทรู พร็อพเพอร์ตี้ส์ จำกัด 2 ล้านบาท บริษัท เทเลคอมฝึกอบรมและพัฒนา จำกัด 2 ล้านบาท บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต จำกัด 2 ล้านบาท บริษัท ทรู มัลติมีเดีย จำกัด 2 ล้านบาท บริษัท ทรู ลีสซิ่ง จำกัด 2 ล้านบาท บริษัท ทรู ทัช จำกัด 2 ล้านบาท บริษัท ทรูมูฟ จำกัด 2 ล้านบาท บริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) 2 ล้านบาท

นอกจากกลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น แล้ว ยังมีบริษัทเครือ ซี.พี. อย่างบริษัท เจียไต๋ จำกัด บริจาค 3 ล้านบาท และบริษัท อาคเนย์เกษตรกรรมจำนวน 2 ล้าน

ส่วนผู้บริจาครายใหญ่อีกหลายราย ประกอบด้วย นางประภา วิริยประไพกิจ 5 ล้านบาท บริษัท สหวิริยาเพลทมิล จำกัด และบริษัท สหวิริยาพาณิชย์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัทละ 1.5 ล้านบาท บริษัท เรือลำเลียงบางปะกง จำกัด 1 ล้านบาท

บริษัท บางกอกไตรวิชั่น จำกัด บริจาค 9 ล้านบาท นายโพธิพงษ์ ล่ำซำ 5 ล้านบาท บริษัท ฮัลโหล บางกอก ไตรวิชั่น จำกัด 5 ล้านบาท ของนายสันติ วิสาศสักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมฯ บริษัท จีเนียส ทราฟฟิค ซีสเต็ม จำกัด 3 ล้านบาท นางสาวพัชราภรณ์ แก้วทอง 3 ล้านบาท พระนครศรีอยุธยาพาณิชย์และอุตสาหกรรม จำกัด 2 ล้านบาท

รายชื่อผู้บริจาค 1 ล้านบาท ประกอบด้วย

นายกรณ์ จาติกวณิช นายสมพงษ์ สระกวี นางมาลี ติงธนาธิกุล นายกฤช กุลทรัพย์ไพศาล นายสิทธิชัย นวลมณี นายสุชาติ เจียรานุสสติ นายทรงฤทธิ์ กุสุมรสนันท์ นายสมเกียรติ ฉันทวานิช นายทรวงธรรม พวงพันธ์ บริษัท รัชโยธิน เรียลตี้ จำกัด บริษัท ระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) บริษัท นครหลวงค้าข้าว จำกัด บริษัท เอส.พี.ซี.แมเนจเม้นท์ จำกัด บจ.แอพไพลแอ๊นซ์ เทคโนโลยี ซัพพลายส์ บริษัท ไฮโดรเทค จำกัด บริษัท เอสกรุ๊ปเออีซี (ประเทศไทย) จำกัด

บริษัท บีเอส แมนเนจเม้นท์ จำกัด บริษัท พี.เอส.เค. โลจิสติกส์ จำกัด บริษัท พีระมิดคอนกรีต จำกัด บริษัท โลหะกิจรุ่งเรืองเจริญทรัพย์ จำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามประสิทธิ์ บริษัท ซีฟโก้ จำกัด (มหาชน) บริษัท บี.เอส. เมทัล จำกัด บริษัท สมบูรณ์สุข จำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัดโชคชัยการโยธา ห้างหุ้นส่วนจำกัด ป.รุ่งเรืองคอนกรีต

รายชื่อผู้บริจาค 600,000 บาท ประกอบด้วย บริษัท ยูหลิมโบ๊ต จำกัด บริษัท คิงส์ แพ็ค อินดัสเตรียล จำกัด บริษัท เสริมสงวนก่อสร้าง จำกัด และบริษัท บ้านซูซูกิ จำกัด

รายชื่อผู้บริจาค 500,000 บาท ได้แก่ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด บริษัท โมทีฟ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) บริษัท ทุนธนโชติ จำกัด บริษัท สุขสวัสดิ์สลิตติ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด บริษัท สำนักพิมพ์บรรณกิจ 1991 จำกัด บริษัท อินเด็กซ์อีเวนท์ เอเจนซี่ จำกัด (มหาชน) บริษัท เลนโซ่โฟนการ์ด จำกัด บริษัท บริหารสินทรัพย์ท่าเรือดอนสัก-สมุย จำกัด บริษัท ซีโก้ทรานสปอร์ต จำกัด และนางสุดา ศึกษากิจ

รายชื่อผู้บริจาค 400,000 บาท ได้แก่ บริษัท คิงส์แบ็ก จำกัด และบริษัท บัญชากิจ จำกัด บริจาค 300,000 บาท ได้แก่ บริษัท ไทยยานยนตร์ จำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทองตะวัน และบริษัท นำโชค ก่อสร้าง จำกัด

รายชื่อผู้บริจาค 250,000 บาท มี 4 ราย ได้แก่ นายศิริชัย มาโนช บริษัท วิสิทธิ์ เอ็นจิเนียริ่งคอนซัลแตนส์ จำกัด บริษัท เอเชี่ยนเอ็นจิเนียริ่งคอนซัลแตนส์ จำกัด บริษัท ไทยพัฒนา จำกัด

รายชื่อผู้บริจาค 200,000 บาท ได้แก่ ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล หรือ "หม่อมปลื้ม" ผู้ประกาศข่าวและพิธีกรชื่อดัง นางนุชนารถ รัตนสุวรรณชาติ บริษัท พีระมิดพาราวู้ด จำกัด บริษัท ทีวี แสตนดาร์ด จำกัด บริษัท ซุปเปอร์ไลท์ เอ็น.เค.เอส.โฮลดิ้ง จำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัดสระบุรีวณิชชาการ บริษัท คอนแคร์ จำกัด บริษัท ศุภผลการโยธา จำกัด บริษัท หาดใหญ่ยิบซั่ม จำกัด และบริษัท บี.เอส.ไมนิ่ง (2003) จำกัด

รายชื่อผู้บริจาค 100,000 บาท ได้แก่ นายศิริศักดิ์ อ่อนละมัย นายสมบัติ ชัยรัตนมโนกร นายปกรณ์ ชิตตนันท์ บริษัท อินฟาร์ เทคโนโลยีเซอร์วิส จำกัด นายโกวิท เพ็ชรัตน์ นายยงยุทธ อาริยะชน นายชูเกียรติ ทุ่งปรือ บริษัท ทำอย่างพอเพียง จำกัด และบริษัท อุดมศักดิ์เชียงใหม่ จำกัด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ในช่วงรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคฝ่ายค้านในช่วงปี 2544-2549 แทบไม่มีกลุ่มธุรกิจใดบริจาคเงินสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ นอกจากกลุ่มอยู่วิทยา (กระทิงแดง) ที่บริจาคอยู่อย่างต่อเนื่องยาวนานและยุติการบริจาคไปในช่วงรัฐบาลไทยรักไทย

หลังจากนั้นในปี 2549 ประชาธิปัตย์มีการบริจาคเงินทั้งสิ้น 49 ครั้ง รวม 74,045,361 บาท โดยบริษัทศรีสุบรรณฟาร์ม ของนายสุเทพบริจาคมากที่สุด 12 ล้านบาท เฉลี่ยเดือนละ 1 ล้านบาท และในนามส่วนตัวนายสุเทพอีก 2,478,561 บาท

ก่อนหน้านี้ ช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน 2550 พบว่าพรรคประชาธิปัตย์มียอดเงินบริจาคทั้งหมด 23 ครั้ง รวม 9,884,618 บาท โดยแชมป์บริจาคมากที่สุดคือ บริษัท ศรีสุบรรณฟาร์ม จำกัด ที่มี "แทน เทือกสุบรรณ" บุตรชายคนโตของนาย

สุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรค เป็นผู้ดูแลที่บริจาคมากที่สุด เฉลี่ยเดือนละ 1 ล้านบาท ส่วนนายสุเทพบริจาคทั้งสิ้น 2,297,318 บาท

ขณะที่พรรคพรรคชาติไทยของนายบรรหาร ศิลปอาชา จากการตรวจสอบพบว่า ตลอดครึ่งปี 2550 มียอดบริจาค 6 ครั้ง รวม 1,250,000 บาท ทั้งนี้ในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ผู้บริจาครายใหญ่คือ นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรค เดือนละ 1 แสนบาท ขณะที่เดือนมีนาคม นายประภัตร โพธสุธน บริจาคคนเดียว 2 แสนบาท ขณะที่ปี 2549 พรรคชาติไทยไม่มียอดเงินบริจาค ส่วนปี 2548 มียอดบริจาค 5 ครั้ง รวม 755,700 บาท

แหล่งข่าวในพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ก่อนหน้านี้ พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดงานเลี้ยงระดมทุนในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ได้รับเงินกว่า 427 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นแนวโน้มที่ดี ซึ่งคาดว่าในช่วงก่อนการเลือกตั้งจะมีการบริจาคให้กับพรรคประชาธิปัตย์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะพรรคประชาธิปัตย์มีโอกาสจัดตั้งรัฐบาลสูง เมื่อเทียบกับพรรคชาติไทย หรือพรรคพลังประชาชน และนโยบายของพรรคก็ยืนอยู่กับความเป็นจริง ไม่ใช่มุ่งหาเสียงโดยไม่สนใจภาวะเศรษฐกิจที่แท้จริง

หน้า 1
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02p0101230850&day=2007-08-23&sectionid=0201

-------------------------------------------------


กกต.เผยยอดเงินบริจาคพรรคการเมือง
กกต. 9 ธ.ค. – กกต.เผยยอดเงินบริจาคพรรคการเมืองในเดือน ต.ค.50 “มัชฌิมาธิปไตย” รวยสุด เดือนเดียวกว่า 39 ล้านบาท ด้าน ปชป.ยังเนื้อหอม กลุ่มทุนทุ่มสุดฤทธิ์ ยอดรวมแล้วกว่า 192 ล้านบาท ขณะที่ “ชาติไทย” น้อยสุด
ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า สำนักกิจการพรรคการเมือง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) สรุปยอดเงินบริจาคของพรรคการเมือง ประจำเดือนตุลาคม 2550 โดยพรรคมัชฌิมาธิปไตย มียอดบริจาคมากที่สุด จำนวน 39,999,900 บาท ในการบริจาคเพียง 2 ครั้ง โดยอยู่ช่วงระหว่างวันที่ 15-19 ตุลาคม 2550 โดยมีบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) บริจาค 10 ล้านบาท และบริษัท ทีพีไอ คอนกรีต จำกัด บริจาคอีก 10 ล้านบาท และอีกครั้งในช่วงระหว่างวันที่ 22-26 ตุลาคม 2550 บริษัท ไทยพลาสติกโปรดักส์ จำกัด บริจาค 10 ล้านบาท บริษัท ไทยพลาสติกฟิล์ม จำกัด บริจาค 5 ล้านบาท และบริษัท อุตสาหกรรมสหธัญญพืช จำกัด บริจาค 4,999,900 บาท
ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ มียอดบริจาครวม 16,432,770 บาท แบ่งเป็นเงินบริจาคที่มีนิติบุคคลและบุคคลทั่วไปบริจาคมากกว่า 5,000 บาทขึ้นไป 16,273,770 บาท และยอดบริจาคที่ต่ำกว่า 5,000 บาท มีทั้งสิ้น 159,000 บาท โดยมีนิติบุคคลที่น่าสนใจ คือ หจก.บี.วาย.บิวซิเนส ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจสัมปทานรังนกในพื้นที่ภาคใต้ บริจาคเงินเข้าพรรคประชาธิปัตย์ 2 ล้านบาท ทั้งนี้ บริษัทดังกล่าวเป็นกิจการของ พล.ต.สุตสาย หัสดิน หรือที่รู้จักในนาม “เจ้าพ่อกระทิงแดง” ผู้ล่วงลับ และกิจการตกทอดเป็นของทายาท เคยถูกร้องเรียนว่าฮั้วประมูลในสัมปทานรังนกใน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อปี 2546 ร่วมกับนักการเมืองท้องถิ่น และ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลในขณะนั้น
ทั้งนี้ ยังมีผู้บริจาครายใหญ่ที่บริจาคเข้าพรรคประชาธิปัตย์ อาทิ บริษัท เอบีซี เท็คโนโลยี จำกัด บริจาคให้ 2 ล้านบาท โดยบริษัทดังกล่าวบริจาคให้พรรคประชาธิปัตย์มาอย่างต่อเนื่อง บริษัท ไทยเอ็นจีวี จำกัด 2 ล้านบาท บริษัท ทรัพย์อนันต์ฟาร์มชุมพร จำกัด 2 ล้านบาท บริษัท เอเชีย สตีล แฟคทอรี เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด 1 ล้านบาท ส่วนผู้บริจาคที่เป็นบุคคลทั่วไปรายใหญ่ คือ นางอาภรณ์ พัฒนกิจวิบูรณ์ บริจาค 2 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ยอดรวมบริจาคของพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่เดือนมกราคม-ตุลาคม 2550 มียอดรวม 192,606,288 บาท
ด้านพรรคชาติไทย มียอดเงินบริจาค 500,000 บาท จากนางสุจินดา เชิดชัย หรือ เจ๊เกียว เจ้าของอู่เชิดชัย ซึ่งพรรคชาติไทยมียอดรวมบริจาคตั้งแต่เดือนมกราคม-ตุลาคม 2550 จำนวน 2,050,000 บาท ส่วนพรรคเพื่อแผ่นดิน มียอดเงินบริจาค 4,200,000 บาท จากบริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำกัด 2 ล้านบาท บริษัท เอ็มไออี (ประเทศไทย) จำกัด 2 ล้านบาท และจากนายพิชัย นริพทะพันธุ์ 200,000 บาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับเงินบริจาคของพรรคมัชฌิมาธิปไตยนั้น เป็นที่น่าสังเกตว่า บริษัททั้งหมดที่บริจาคเงินเข้าพรรคฯ เป็นบริษัทที่อยู่ในเครือทีพีไอของนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ หัวหน้าพรรค ซึ่งแม้ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง มาตรา 59 ระบุว่า ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลบริจาคให้แก่พรรคการเมืองใดพรรคการเมือง หนึ่งเกินกว่า 10 ล้านบาท แต่ในทางกฎหมายแล้ว คำว่าบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลนั้น จะมีความหมายในทางที่แยกกันเป็นราย ๆ ไป ดังนั้น การบริจาคเงินเข้าพรรคการเมือง บุคคลธรรมดาคนหนึ่งหรือนิติบุคคลใดนิติบุคคลหนึ่งที่มีชื่อเดียวกันจะบริจาค เกิน 10 ล้าน/ปี จึงทำไม่ได้ ซึ่งการที่บริษัทในเครือทีพีไอบริจาครวมแล้วเกิน 10 ล้านบาท ต้องถือว่าเป็นเรื่องของแต่ละนิติบุคคลที่บริจาคกันบริษัทละไม่เกิน 10 ล้านบาท ซึ่งไม่ถือว่าผิดกฎหมายแต่อย่างใด. - สำนักข่าวไทย
http://news.mcot.net/politic/inside.php?value=bmlkPTc1NDcmbnR5cGU9dGV4dA==
--------------------------------------------------
รายชื่อผู้บริจาคเงินสนับสนุนพรรคการเมือง


สำนัก งานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)ได้เผยแพร่เงินบริจาคให้แก่พรรคการเมือง ต่างๆประจำเดือนพฤศจิกายน 2551พบว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้รับบริจาคมากที่สุด 119,673,149 บาท รวมบริจาคระหว่างมกราคม-พฤศจิกายน เท่ากับ 150,345,876 บาท พรรคพลังประชาชนได้รับบริจาค 10 ล้านบาท รวมบริจาคระหว่างมกราคม-พฤศจิกายน ดเท่ากับ 49,520,000 บาท พรรครวมใจไทยชาติพัฒนาได้รับบริจาค 3.7 ล้านบาท รวมระหว่างมกราคม-พฤศจิกายน 28,545,500 บาท, พรรคกิจสังคม 20,000 บาท รวมระหว่างมกราคม -พฤศจิกายน 220,000 บาท

ขณะที่พรรคมัชฌิมา ธิปไตยไม่มีเงินบริจาค แต่มีเงินบริจาคเดิมอยู่ 4.4 ล้านบาท พรรคชาติไทยมีเงินบริจาคเดิม 16,000 บาท พรรคเพิ่อแผ่นดิน มีเงินบริจาคเดิม 14 ล้านบาทเศษ

เงินบริจาคให้แก่พรรคประชาธิ ปัตย์ 119 ล้านบาทเศานั้น มีผู้บริจาคทั้งสิ้น 385 ราย โดยมีรายที่บริจาค 1 ล้านบาท ได้แก่ บริษัท เอทีเอ็น พร็อพเพอร์ตี้, บริษัท พีระมิดคอนกรีต ,นายวรพจน์ อำนวยพล, บริษัท บัญชากิจ,บีษัท ทีวีแสตนดาร์ด,บริษัทประยูรวิศว์ ,บริษัท ทีเอส ปาล์ม, บริษัทพระนครศรีอยุธยาพาณิชย์และอุตสาหกรรม,

บริษัท ธาราวัญ คอนสรัคชั่น, บริษัท เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ กรุ๊ป, นายเทพไท เสนพงศ์, นายอภิชาติ ศักดิ์เศรษฐ์, นายอาคม เอ่งฉ้วน, นายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ 1.1 ล้านบาท, นางฐิติมา เปี่ยมพงศ์สานต์, น.ส.ภานี อรวัฒนาศรีสกุล, นายองอาจ คล้ามไพบูลย์, นางเฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์,นายเกียรติ สิทธิอมร.

นาย ชาญ โสภณพนิช, บริษัท วัฒนาโชติ,บริษัท อินเตอร์เอนจิเนียริง,บริษัท ดอนเมืองการช่าง, บริษัท มาสเตอร์แอนด์มอร์, บริษัทบางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นท์, บริษัท ยุพงษ์,บริษัท สุปรีมโบรคเกอร์, บริษัท ซีฟโก้, บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต, หจก.สามประสิทธิ์, นายไพบูลย์ ควรทรงธรรม,

นายถาวร เสนเนียม นายบุญ วนาสิน, ธนาคารกรุงเทพ , บริษัทเศรษฐีวรรณพัฒนาการ,บริษัทประกันภัยไทยวัวัฒน์, บริษัทอมตะ บีกริม เพาเวอร์,บริษัทสหพัฒนพิบูล,บริษัทอุตสาหกรรมมิตรเกษตร,บริษัท วิจิตรภัณฑ์ ปาล์มออยส์

ส่วนที่บริจาคเกิน 1 ล้านบาทขึ้นไปได้แก่
นายอภิมงคล โสณกุล 10.5 ล้านบาท
นายชุมพล จุลใส 3.005 ล้านบาท
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ 5.51 ล้านบาท
นายแทน เทือกสุบรรณ 8 ล้านบาท(รวมตระกูลเทือกสุบรรณบริจาค 13.51 ล้านบาท)
นายสงครามชีวประวัติดำรงค์ 2 ล้านบาท
นายประกอบ จิรกิติ 5 ล้านบาท
นายศิริชัย แซ่โค้ว 1.5 ล้านบาท
นายโพธิพงษ์ ล่ำซำ 2 ล้านบาท
นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ 3 ล้านบาท
หจก.ไพโรจน์สมพงษ์พาณิชย์ 1.075 ล้านบาท
บริษัท เซ็นหลุยส์ โฮลดิ้ง 3 ล้านบาท
บริษัทพฤกษษ เรียลเอสเตท 1.1 ล้านบาท

-----------------------------------------------

เปิดยอดเงินภาษีบริจาคพรรคการเมือง ปชป.นำลิ่ว

วันนี้ (19 พ.ค.)ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาฯกกต. เปิดเผยว่า ตามที่พ.ร.บ.พรรคการเมืองกำหนดให้ประชาชนสามารถบริจาคเงินภาษี ให้แก่พรรคการเมืองต่างๆได้นั้น จากการตรวจสอบพบว่า ช่วงเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปรากฏว่า มีผู้ยื่นแบบทั้งสิ้น 9,338,260 ราย และจากการรายงานการประมวลผลเบื้องต้น ตรวจสอบแล้ว 7,618,313 ราย คิดเป็น 81.58% ซึ่งมีผู้แสดงเจตนาบริจาคให้พรรคการเมืองที่ดำเนินการอยู่ 61 พรรค ทั้งสิ้น 66,364 ราย และไม่ได้ระบุรหัสพรรคการเมือง หรือรหัสไม่ถูกต้องจำนวน 33 ราย

เลขาฯ กกต. กล่าวอีกว่า จากการตรวจสอบพบว่า มีผู้ประสงค์บริจาคให้พรรคประชาธิปัตย์มากที่สุด จำนวน 57,124 ราย ตามมาด้วยพรรคเพื่อไทย ที่มีผู้ประสงค์บริจาค 7,260 ราย ขณะที่พรรคอื่นๆกลับมีการบริจาคเป็นเพียงหลักร้อยรายเท่านั้น ไม่เว้นแต่พรรคที่มี ส.ส. ในสภา อย่างพรรคชาติไทยพัฒนาที่มีผู้ประสงค์จะบริจาคเพียง 266 ราย พรรคภูมิใจไทย 100 ราย พรรคเพื่อแผ่นดิน 48 รายและ พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา 39 ราย

นาย สุทธิพล ระบุว่า ตามกฎหมายกำหนดให้ แต่ละคนสามารถบริจาคให้พรรคการเมืองได้รายละ 100 บาท ซึ่งหลังจากที่ตรวจสอบผู้ยื่นภาษีทั้งหมดแล้ว กรมสรรพากรจะจัดส่งยอดเงินบริจาคให้นายทะเบียนพรรคการเมืองเท่ากับจำนวน พรรคการเมือง ที่ยังคงดำเนินกิจการในขณะนั้นและรัฐจะสนับสนุนเงินให้อีกร้อยละห้า ของจำนวนเงินบริจาคที่ได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หากคิดด้วยฐานปัจจุบัน บวกกับเงินร้อยละห้าที่รัฐบาลจะสมทบ พรรคประชาธิปัตย์จะได้รับเงินทั้งสิ้น 5,998,020 บาท พรรคเพื่อไทย 762,300 บาทชาติไทยพัฒนา 27,930 บาทภูมิใจไทย 10,500 บาท เพื่อแผ่นดิน 5,040 บาท และพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา 4,095 บาท

ไทยรัฐ

----------------------------------------------------

เงินบริจาคพรรคการเมือง

คอลัมน์ เดินคนละฟาก โดย กมล กมลตระกูล ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ปีที่ 29 ฉบับที่ 3741 (2941)

ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรนัดที่แล้วเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน 2548 นี้ ได้ผ่านร่างเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรในส่วนค่าลดหย่อนเงินที่บริจาคแก่พรรคการเมืองด้วยมติ 285 ต่อ 55 เสียง

ในรายละเอียดกำหนดว่า "ผู้บริจาคเงินให้พรรคการเมืองสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ โดยไม่มีเพดานกำหนด"

โดยหลักการแล้ว ผู้บริจาคเงินให้พรรคการเมือง หรือว่าการกุศลแล้วสามารถนำไปลดหย่อนภาษี ได้โดยไม่มีเพดานกำหนดเป็นเรื่องที่ดี และน่าจะมีกฎหมายเช่นนี้มานานแล้ว

ในด้านการเมืองจะทำให้มีความโปร่งใสมากขึ้นว่าพรรคการเมืองได้รับความสนับสนุนจากใคร และเงินที่สนับสนุนนั้นเป็นเงินที่บริสุทธิ์ มิใช่เงินใต้ดินที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นเงินที่ไม่ได้เสียภาษี

ในด้านการกุศลและงานเพื่อสาธารณประโยชน์ ด้านปกป้องชุมชน สิ่งแวดล้อม ผู้อ่อนแอ รวมทั้งบุคคลจำนวนมากที่ทำงานด้านส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม การค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การส่งเสริมเด็กและเยาวชน ส่งเสริมภูมิปัญญาชาวบ้านจะได้มีเงินทุนทำงานอย่างมืออาชีพได้ถ้า หากว่า กฎหมายนี้ได้ครอบคลุมผู้รับบริจาคให้มากกว่าพรรคการเมือง

ประเด็นที่วุฒิสภาน่าจะไม่รับรองกฎหมายนี้จนกว่าสภาผู้แทนราษฎรแก้ไขเพิ่มเติม ในประเด็นผู้รับบริจาคให้ขยายจากพรรคการเมืองให้ครอบคลุมถึงสมาคม มูลนิธิ และองค์กรพัฒนาเอกชน หรือเอ็นจีโอ ที่มีผลงานต่อเนื่องกันอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป ไม่ว่าองค์กรนั้นจะได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ตาม

สำหรับองค์กรเล็กๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียน หรือยังไม่ได้จดก็อาจจะมีการกำหนดเพดานการบริจาคไว้ไม่เกิน 1 ล้านบาท

กฎหมายและระเบียบเดิมนั้นแม้หน่วยงานการกุศลก็ยังต้องขึ้นทะเบียน และได้รับการรับรอง ซึ่งมีเงื่อนไขและขั้นตอนมากมายทำให้หน่วยงานเอกชน ที่จะเข้าข่ายให้ได้รับเงินบริจาคแล้วผู้บริจาค สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้มีน้อย นอกจากนี้แล้วยังมีเพดานกำหนดอีกด้วย

ในทุกวันนี้มีกลุ่มหรือองค์กรที่ทำงานเพื่อสาธารณประโยชน์ เพื่อปกป้องชุมชน สิ่งแวดล้อม ผู้อ่อนแอ รวมทั้งบุคคลจำนวนมากที่ทำงานด้านส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ส่งเสริมเด็กและเยาวชน ส่งเสริมภูมิปัญญาชาวบ้านแต่ขาดเงินทุนจึงไม่อาจจะทำงานอย่างมืออาชีพ

อันที่จริงผลงานของเอ็นจีโอในภาพรวมแล้วได้ช่วยลดภาระและงบประมาณของรัฐบาลได้อย่างมหาศาล ในการแก้ปัญหา และบรรเทาปัญหาของสังคมและสิ่งแวดล้อม

เป็นเรื่องแปลกที่รัฐบาล หรือ กระทรวงการคลังแทนที่จะสนับสนุน แต่กลับคิดแบบเต่าล้านปี ที่คิดได้เพียงว่า มีแต่คนจะใช้ช่องทางนี้เพื่อเลี่ยงภาษี แต่ไม่ได้ชั่งน้ำหนักเปรียบเทียบกับด้านดีที่รัฐบาลหรือสังคมจะได้

ในประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่ จะมีกฎหมายอำนวยความสะดวกให้ผู้บริจาคเพื่อสาธารณประโยชน์ และการกุศลสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อย่างง่ายดาย เช่น การบริจาคเสื้อผ้า หรือ ของใช้แล้วก็ยังให้ตีเป็นมูลค่าแล้วนำไปลดหย่อนภาษีได้ โดยไม่มีระเบียบหรือขั้นตอนที่ซับซ้อน

ทั้งนี้ช่วยให้มีการนำของใช้แล้วนำไปใช้ใหม่ เป็นการลดภาวะมลพิษจากอุตสาหกรรมทางอ้อม และยังช่วยให้หน่วยงานการกุศล เช่น องค์การทหาร ผ่านศึก หรือ โบสถ์ต่างๆ ที่มีรถไปรับบริจาคถึงบ้านมีรายได้มาช่วยเหลือผู้อื่น

ในบ้านเราก็เห็นมีแต่วัดสวนแก้วของพระพยอมที่ได้ริเริ่มโครงการส่งรถไปรับบริจาคของใช้แล้วทุกชนิดถึงบ้าน เพื่อนำมาขายในราคาถูกเพื่อช่วยเหลือคนจนที่ไม่มีปัญญาซื้อของใหม่ หรือ เป็นรายได้เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้อื่นต่อไป

ในประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่ จะมีกฎหมายอำนวยความสะดวกให้เศรษฐีตั้งมูลนิธิส่วนตัวของตระกูลแล้วได้รับการลดหย่อนภาษีโดยไม่มีเพดาน เพื่อนำเงินมาสนับสนุนงานสาธารณประโยชน์ รวมทั้งด้านส่งเสริมศิลปวิทยาการ การค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรม

มูลนิธิที่เรามักจะได้ยินชื่อเหล่านี้ เช่น ร็อกกี้ เฟลเลอร์ ฟอร์ด บิล เกตส์ ไมเคิล แจ็กสัน โอปร้า หรือเฟรดเดอริก อีแบร์ต ของประเทศเยอรมนี

สังคมของประเทศเหล่านี้จึงมีการพัฒนาที่หลากหลาย บุคคลโดยเฉพาะเยาวชนที่มีภูมิปัญญาหรือมีความสามารถพิเศษ เช่น การเล่นดนตรี กีฬา หรือการค้นคว้าวิจัย มักจะได้รับทุนจากมูลนิธิเหล่านี้ให้ได้มีโอกาสพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้าจนมีชื่อเสียงระดับโลกและเป็นประโยชน์ต่อสังคม

เยาวชนไทยที่เป็นเด็กอัจฉริยะ เมื่อมีโอกาสไปแข่งขันหรือประกวดในต่างประเทศมักจะได้ชัยชนะ ได้เหรียญทอง หรือรางวัลกลับมา แต่เมื่อกลับมาแล้วก็มักจะขาดเงินทุนสนับสนุนให้ได้ใช้ความสามารถนั้นต่อไป

นับเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมากกับมันสมองเหล่านี้

ครูที่ทุ่มเทสนับสนุนเยาวชนเหล่านี้ก็มักจะท้อแท้หมดกำลังใจ เพราะขาดเงินทุนสนับสนุน จะรองบประมาณของรัฐก็เป็นเรื่องของฝันกลางแดด เพราะติดระเบียบวิธีและขอบข่ายของการใช้จ่ายของสำนักงบประมาณที่ไม่ยืดหยุ่นเหมือนของเอกชน หรือขาดงบประมาณสนับสนุนทางตรง

ทุกวันนี้องค์กรพัฒนาเอกชน หรือเอ็นจีโอได้รับการรับรองจากองค์การสหประชาชาติ ว่าเป็นสถาบันที่สำคัญ 1 ใน 3 ของสังคมที่มีบทบาทต่อการพัฒนาประเทศ อันได้แก่ สถาบันรัฐบาล สถาบันธุรกิจ และสถาบันเอ็นจีโอ

การพัฒนาประเทศ หรือการแก้ไขปัญหาของสังคมจะละเลยบทบาทของเอ็นจีโอไม่ได้เลย

คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมขององค์การสหประชาชาติ ได้ให้บทบาทของเอ็นจีโอเข้าประชุมประจำปีและมีสถานภาพเป็นที่ปรึกษาอยู่ในคณะกรรมการของตน

ในประเทศไทยมีนักธุรกิจระดับเศรษฐีและมหาเศรษฐีจำนวนมากมายที่ไม่ต้องการบริจาคเงินให้พรรคการเมืองหรือการกุศล แต่ต้องการบริจาคให้เอ็นจีโอซึ่งมีผลงานที่เป็นรูปธรรมมากกว่า หรือต้องการสนับสนุนส่งเสริมด้านศิลปวัฒนธรรม การค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์หรือการกีฬา

เศรษฐีหลายคนต้องการตั้งมูลนิธิเพื่อสนับสนุนงานสาธารณประโยชน์ที่ไม่ใช่การกุศล และไม่ใช่การเมือง

แต่การบริจาคของเขาไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ หรือลดหย่อนได้อย่างมีเพดาน หรือมีเงื่อนไขมากมาย จนทำให้ไม่อยากจะยุ่งยากปวดหัว (เพราะว่าความหวังดีอาจจะนำไปสู่การถูกตรวจสอบการเสียภาษี จากกรมสรรพากร) ซึ่งทำให้สังคมเสียโอกาส ทำให้เยาวชนที่มีความสามารถแต่ขาดเงินทุนหมดโอกาสที่จะพัฒนาตนเอง ให้มีชื่อเสียงระดับชาติหรือระดับโลกเหมือนอย่างเยาวชนของประเทศอื่นๆ

เมื่อไรหนอรัฐสภาและกระทรวงการคลังจะเลิกเป็นเต่าล้านปีสักที

หน้า 2

------------------------------------------------