บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


28 มกราคม 2553

<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง หวยบนดิน >>>

ภายหลังทำรัฐประหาร
ก็มีการตั้งหน่วยงานไล่ล่าหาความผิดทักษิณ
จนมีการยัดเยียดข้อหาต่างๆ
เพื่อความชอบธรรมในการอายัดทรัพย์ทักษิณ
เช่นข้อหาเกี่ยวกับหวยบนดินเป็นดังนี้

"๔. โครงการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย ๓ ตัว และ ๒ ตัว
ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รัฐเสียหาย ประมาณ ๓๗,๗๙๐ ล้านบาท"

ซึ่งภายหลังก็มีการตัดสินคดีนี้ออกมา
เจ้าหน้าที่มีความผิดกันเล็กน้อย
ปรับกันไม่กี่บาทแล้วก็รอลงอาญา
ส่วนข้อหาว่าทำให้รัฐเสียหายหลายหมื่นล้าน
เอามาจากไหน
ก็เป็นอีกเรื่องที่พยายามกล่าวหาให้เยอะๆ ไว้ก่อน
เพื่อจะได้สร้างความชอบธรรม
ให้กับขบวนการยึดทรัพย์ทักษิณเท่านั้นเอง
แล้วลองเทียบกรณีไม่มีหวยบนดิน
รัฐไม่มีรายได้จากหวยบนดินสักบาท
รายได้ตกไปอยู่กับพวกหวยใต้ดินเพิ่มขึ้น
แบบนี้ไม่เรียกว่าทำให้รัฐเสียหาย
หรือรัฐเสียหายไปอยู่ในมือเจ้ามือหวยใต้ดินเท่าไหร่
รวมไปถึงกรณีหวยออนไลน์
จับตาดูว่าผลออกมาจะทำให้รัฐเสียหายจ่ายค่าโง่อีกเท่าไหร่
และรัฐบาลที่ตัดสินใจเรื่องหวยออนไลน์
จะโดนนำมากล่าวหาเพื่อยึดทรัพย์หรือไม่
ติดตามชมกระบวนการยุติธรรมแบบสองมาตรฐาน
หรือแบบไม่มีมาตรฐานเลย
แค่ตั้งกลุ่มปล้นอำนาจ เสร็จแล้วตั้งแก๊งส์ปล้นทรัพย์
กลายเป็นสิ่งยอมรับกันได้ สำหรับทั้งกลุ่มทั้งแก๊งส์เหล่านั้น
ทั้งเลือกปฏิบัติ ตั้งคนที่ไม่เป็นกลางเป็นศัตรูทางการเมืองมาตรวจ
มายัดเยียดข้อหา แถมมีการบงการเดินเรื่องกันจนมาถึงวันนี้
แถม ครม. สุรยุทธ์ พวกที่ คมช. ตั้งขึ้นมา
ก็ได้ออกหวยบนดินด้วย
แล้วทำไมไม่มีความผิดหรือโดนข้อหาเพื่อยึดทรัพย์ด้วย

โดย มาหาอะไร

------------------------------------------------------------------------

"วิษณุ"ข้องใจเว้นดำเนินคดีครม.สุรยุทธ์ออกหวยบนดิน


ที่ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง เมื่อวันที่ 17 ก.ค. นายสบโชค สุขารมณ์ รองประธานศาลฎีกา เจ้าของสำนวนทุจริตโครงการออกสลากพิเศษเลขท้าย 2 และ 3 ตัว ( หวยบนดิน ) พร้อมองค์คณะ 9 คน ไต่สวนพยานจำเลย คดีหมายเลขดำ อม.1/2551 ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นโจทก์ฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี (จำหน่ายคดีออกจากสารบบ) จำเลยที่ 1 , อดีตคณะรัฐมนตรีชุดรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ จำเลยที่ 2-30 และผู้บริหารสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นจำเลยที่ 31-47 ในความผิดฐานร่วมกันทำผิดยักยอกทรัพย์ เป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่จัดการดูแลกิจการ เข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นและละเว้นไม่ เรียกเก็บภาษีอากร และเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติโดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147, 152, 153, 154, 157 และความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 3, 4, 8, 9, 10 และ 11 โดย ป.ป.ช. ขอให้ศาลมีคำสั่งให้จำเลยทั้งหมด ร่วมกันคืนเงินที่มีมติอนุมัติให้จ่ายไปรวมจำนวน 14,862,254,865.94บาท ให้แก่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลด้วย

ทั้ง นี้ นายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี จำเลยที่ 7 ขึ้นเบิกความ ระบุว่า วันที่ 7 ก.ค. 48 ที่ ครม.(ขณะนั้น) พิจารณาออกสลาก 2-3 ตัว เป็นวาระจร โดย นายวราเทพ รัตนากร รมช.คลัง ซึ่งตนติดใจว่าอาจขัดต่อกฎหมายหรือไม่ จึงออกจากห้องประชุมไปศึกษาข้อกฎหมาย แต่เมื่อกลับเข้ามาก็พบว่า ครม. อนุมัติโครงการนี้แล้ว

นายวิษณุ กล่าวต่อว่า สำหรับผู้ริเริ่มโครงการหวยบนดิน น่าจะเป็น พ.ต.ท.ทักษิณ จำเลยที่ 1 เพื่อให้ตอบรับกับนโยบายปราบปรามยาเสพติดและผู้มีอิทธิพล และนำเงินนอกกฎหมายจำนวนมาก ขึ้นมาบนดินเพื่อใช้ช่วยเหลือประชาชนที่ยากจน ส่วนเงินที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ใช้ลงพื้นที่ "ทัวร์นกขมิ้น" เป็นเงินจากส่วนอื่นของสำนักงานสลาก สำหรับเงินที่ได้จากโครงการหวยบนดิน จะมีการจัดตั้งเป็นกองทุนโดยการนำไปใช้ จะต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการพัฒนายุทธศาสตร์

นายวิษณุ กล่าวด้วยว่า ครม.ชุด พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้ออกหวยบนดิน ต่อเนื่องอีก 3 งวด ก่อนจะยุติโครงการ หลังมีการเสนอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความออกมาว่าการออกสลาก 2-3 ตัว อาจขัดต่อกฎหมาย แต่เหตุใดจึงไม่มีการกล่าวหาดำเนินคดีกับ ครม.พล.อ.สุรยุทธ์ ด้วย ตนไม่ทราบ พยานเบิกความเรื่องอื่น ๆ แล้วเสร็จ

ทั้ง นี้ ศาลนัดไต่สวนพยานจำเลยในวันที่ 21 ก.ค.นี้ เวลา 09.30 น. โดยฝ่ายจำเลย เตรียมนำ นายวราเทพ รัตนากร อดีต รมช.คลัง จำเลยที่ 4 ขึ้นไต่สวน

http://breakingnews.quickze.com/readnews-102147-"%3Bวิษณุ"%3Bข้องใจเว้นดำเนินคดีครม.สุรยุทธ์ออกหวยบนดิน.html

------------------------------------------------------------------------

การเมือง : บทวิเคราะห์
วันที่ 1 ตุลาคม 2552 08:40
เปิดสามปมพิพากษาหวยบนดิน ศาลเอกฉันท์ไม่ผิดยักยอกเงินรัฐ

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

"กรุงเทพธุรกิจ" สรุปประเด็นคำฟ้องในคดีหวยบนดินและคำพิพากษาของศาล หลังคณะผู้พิพากษาศาลฎีกา อ่านคำพิพากษาคดีหวยบนดินเมื่อวานนี้ ประเด็น ที่ 1 จำเลยที่ 31, 33, 35, 37, 41 และ 42 ในฐานะคณะกรรมการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล (บอร์ดกองสลาก) ที่ร่วมกันมีมติเสนอโครงการหวยบนดินเพื่อ นำเงินรายได้คืนสู่สังคม และงดเว้นการจัดเก็บภาษี กระทำผิดพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล มาตรา 5 และ มาตรา 9 หรือไม่

เห็นว่า กองสลากจัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการหารายได้เข้ารัฐโดยการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล มีแนวทางการปฏิบัติจัดสรรางวัลอย่างชัดเจน เงินที่ได้รับร้อยละ 60 นำไปจ่ายค่ารางวัล ร้อยละ 28 เป็นรายได้เข้าแผ่นดิน ร้อยละ 12 เป็นค่าใช้จ่ายการบริหารงาน ส่วนการออกโครงการหวยบนดินไม่ ได้กำหนดอัตราส่วนรายรับรายจ่ายที่ชัดเจน แม้จำเลยจะอ้างว่าเป็นการออกสลากกินแบ่งลักษณะพิเศษเพื่อจะนำเงินไปใช้ในทางสาธารณประโยชน์ แต่ปรากฏว่าการออกสลากลักษณะพิเศษดังกล่าวไม่ได้จำกัดงวดตามแนวทางที่กองสลากเคยดำเนินการมาก่อนหน้านี้

ดังนั้น การออกสลากพิเศษเลขท้าย 2-3 ตัวดังกล่าว ไม่ใช่สลากกินแบ่งรัฐบาลหรือสลากการกุศลตาม พ.ร.บ.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จึงไม่ใช่สลากกินแบ่งรัฐบาลที่ไม่มี ความเสี่ยงขาดทุน แต่การออกหวยบนดินยัง กำหนดการจ่ายรางวัลให้แก่ผู้ถูกสลากทุกคนที่ถูกหมายเลข 2 และ 3 ตัว โดยไม่กำหนดวงเงินที่รับแทง ทำให้กองสลากต้องขาดทุนรวม 7 งวด จากการออกสลากทั้งสิ้น 80 งวด เป็นเงิน 1,600 ล้านบาทเศษ จึงไม่อาจได้รับการงดเว้นการลดหย่อนภาษีตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการงดเว้น ประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2540 และกฎกระทรวงปี 2503 และ 2543

ขณะที่ศาลยังเห็นว่า การไม่นำเงินรายได้จากการออกสลากหลังจากหักค่าใช้จ่ายส่งเข้ากระทรวงการคลัง ก็ไม่ถูกต้อง แม้ว่าเงินดังกล่าวจะได้มาจากการออกสลากที่ไม่ถูกต้อง แต่ก็ไม่สามารถนำไปใช้สอยได้ตามอำเภอใจ ถือว่าผิดหลักการบริหารราชการแผ่นดิน
ประเด็น ที่ 2 จำเลยที่ 2 -30 ซึ่งเป็นคณะรัฐมนตรี (ชุด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) มีความผิดฐานร่วมกันมีมติให้ดำเนินโครงการออกสลากพิเศษ 2-3 ตัว ตามที่ จำเลยที่ 31, 33, 35, 37, 41 และ 42 ซึ่งเป็นบอร์ดกองสลากเสนออนุมัติ และเป็นผู้ใช้ให้งดเว้นการจัดเก็บภาษีจากการออกสลากหรือไม่ เห็นว่า จำเลยที่ 31, 33, 35, 37, 41 และ 42 ได้มีมติเสนอโครงการโดยผลประชุมเมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2545 ซึ่งจำเลยที่ 31 (นายสมใจนึก เองตระกูล ปลัดกระทรวงคลังและประธานบอร์ดกองสลาก) จำเลยที่ 42 (นายชัยวัฒน์ พสกภักดี อดีตผู้อำนวยการกองสลาก) เป็นผู้นำมติเสนอต่อจำเลยที่ 1 (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น) ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ให้เร่งดำเนินการ

จากนั้นมีการจัดประชุมและอนุมัติโครงการโดยมีจำเลยที่ 10 (นายวราเทพ รัตนากร รมช.คลัง) เข้าร่วมประชุมด้วย เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2546 และเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นวาระพิเศษ โดยที่ ครม.ไม่น่าจะทราบรายละเอียดทั้งหมด เพียงพิจารณาจากเอกสารและฟังคำชี้แจงจากผู้แทนกระทรวงการคลังและกองสลาก จึงอนุมัติหลักการโดยเข้าใจว่าเป็นโครงการที่ถูกต้อง จนมีการออกสลากตั้งแต่งวดวันที่ 1 ส.ค. 2546-16 พ.ย. 2549 ศาลเห็นว่าจำเลยที่ 31 และ 42 ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงของกองสลาก ย่อมต้องทราบวัตถุประสงค์การจัดตั้งกองสลาก เจตนารมณ์กฎหมายในการออกสลาก ซึ่งแม้จำเลยจะอ้างว่าออกสลากตามนโยบายฝ่ายบริหารในการปราบปรามยาเสพติดและ หวยใต้ดิน แต่ก็ควรที่จะต้องคำนึงว่าทั้งโครงการออก สลากและนโยบายฝ่ายบริหารที่จะนำมา ปฏิบัติจะต้องอยู่ภายใต้บังคับกฎหมาย จึงควรจะต้องทักท้วงจำเลยที่ 1 เมื่อเห็นว่าโครงการไม่ถูกต้องและต้องมีการแก้ไขกฎหมาย

ข้อเท็จจริงยังปรากฏว่า นายคำนวณ ชโลปถัมภ์ ประธานคณะกรรมาธิการการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน วุฒิสภา (ในขณะนั้น) ได้ทำความเห็นท้วงติงในประเด็นข้อกฎหมาย ซึ่งเห็นว่าต้องแก้ไขแนวทางการออกสลากไม่ให้ฝ่าฝืนกฎหมาย หรือแก้ไขกฎหมายรองรับโครงการ แต่จำเลยที่ 31 และ 42 กลับไม่ดำเนินการให้ถูกต้องเสียก่อน แต่ยังฝืนเสนอให้มีการออกสลาก และทำความตกลงกับธนาคารออมสินขอเบิกเงินเกินบัญชีจำนวน 20,000 ล้านบาท ทำให้เห็นว่าจำเลยย่อมรู้อยู่แล้วว่าการออกสลากอาจมีปัญหา และสุ่มเสี่ยงที่รัฐจะเสียหายในระบบการคลัง จึงถือเป็นการกระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น

ดังนั้น จำเลยที่ 10, 31 และ 42 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 83 และ 86 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงาน ในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11 ส่วนจำเลยที่ 2-30 อนุมัติเห็นชอบโครงการในหลักการ ไม่ใช่ผู้ใช้ให้จำเลยที่ 31 และ42 ดำเนินการออกสลากและละเว้นไม่เสียภาษีอากร รวมทั้งไม่ได้มีส่วนรู้เห็นกับจำเลยที่ 10, 31 และ 42
ส่วนจำเลยที่ 32, 34, 36, 38, 39, 40 และ 43-47 ที่เป็นผู้แทนหน่วยงานรัฐเข้าไปเป็นกรรมการกองสลาก ก็ไม่ได้เป็นบอร์ดกองสลากมาตั้งแต่ต้น อาจเข้าใจว่าการอนุมัติออกสลาก ดังกล่าวน่าจะชอบด้วยกฎหมาย เพราะผ่านการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และอนุมัติเงินรายได้ใช้จ่ายเพื่อเด็กยากจนตามวัตถุประสงค์ ไม่มีเจตนายักยอกเงิน องค์คณะจึงมีมติเสียงข้างมาก ว่า จำเลยกลุ่มนี้ไม่มีความผิดประเด็น ที่ 3 จำเลยทั้งหมดต้องร่วมกันคืนหรือใช้ทรัพย์ที่ร่วมกันมีมติอนุมัติให้จ่ายเงิน ซึ่งเป็นเงินรายได้จากการออกหวยบนดิน รวมจำนวน 14,862,254,865.94 บาท หรือไม่

เห็นว่า เมื่อจำเลยที่ 10 เสนอโครงการตามที่จำเลยที่ 31 และ 42 เสนอมา ไม่ได้มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวกับการอนุมัตินำเงินไปใช้จ่ายโครงการต่างๆ ทั้งเรื่องการศึกษา สาธารณสุข ศาสนา และด้านสังคมอื่นๆ โดยไม่มีหลักฐานปรากฏว่าจำเลยทั้งสามนำเงินไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวหรือ ประโยชน์แก่พวกพ้อง แต่อย่างใด จึงไม่มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์หรือเบียดบังทรัพย์สินของทางราชการ ดังนั้นจำเลยทั้งสามและจำเลยอื่นๆ ไม่ต้องร่วมกันคืนเงินตามคำร้องโจทก์

พิพากษา ด้วยมติเอกฉันท์ ว่า จำเลยที่ 10 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ 83 ให้จำคุกเป็นเวลา 2 ปี ปรับ 20,000 บาท จำเลยที่ 31 (นายสมใจนึก) มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ให้จำคุกเป็นเวลา 2 ปี ปรับ 10,000 บาท
ส่วนจำเลยที่ 42 (นายชัยวัฒน์) กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ เป็นความผิดกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ อันเป็นบทหนักสุดตาม จำคุก 2 ปี ปรับ 10,000 บาท แต่จำเลยทั้งสามไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน ประกอบกับพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นสมควรให้รอการลงโทษจำคุกจำเลย ทั้งสามไว้คนละ 2 ปี

-------------------------------------------------------------------------------------