บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


31 มกราคม 2553

<<< ตำนานการประท้วงที่ยิ่งใหญ่ ของพี่เบิ้มประชาธิปไตย >>>

ผมซื้อ DVD สารคดีเรื่อง เวียดนาม สงครามหมื่นวัน มาสองแผ่น
แผ่นละ 2 ตอน ซึ่งในตอนที่สองนั้นน่าสนใจ
อยากบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ให้คนไทยทั่วไปได้รับรู้
เป็นสารคดีที่มีภาพเหตุการณ์จริงประกอบทั้งเรื่อง
ตำนานการประท้วงที่ยิ่งใหญ่ของอเมริกา
หรือพี่เบิ้มประชาธิปไตยของโลกตอนนี้
ซึ่งก็คือม็อบต่อต้านสงครามเวียดนามในช่วงปี 1945 - 1975
แนะนำว่าน่าซื้อเก็บไว้ศึกษาประวัติศาสตร์ยุคนั้น

ปลายปี 1967 ในเวียดนามทหารอเมริกันตายเดือนละพันคน
มีฝูงชนกว่า 5 หมื่นคนที่ต่อต้านสงคราม
เดินไปประท้วงที่หน้าตึกแพนตากอน
ซึ่งเป็นศูนย์บัญชาการทางทหารของอเมริกา
เห็นภาพเจ้าหน้าที่วิ่งออกมาจากอาคาร
เพื่อเข้าร่วมกับม็อบที่อยู่หน้าอาคาร
และถูกตีเหมือนกับผู้ชุมนุมแถวหน้าจนเลือดอาบ
ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์อเมริกา
ที่มีผู้ชุมนุมประท้วงต่อต้านองค์กรของรัฐจำนวนมากมายขนาดนี้
ซึ่งผู้ร่วมชุมนุมมีทั้งคนทั่วไป กลุ่มคนผิวดำ นักศึกษา อาจารย์
และคอมมิวนิสต์ ที่เข้าร่วมประท้วงอย่างเปิดเผย
ซึ่งเห็นป้ายเขียนว่าองค์กรคอมมิวนิสต์อย่างชัดเจน
ทุกกลุ่มมีความต้องการตรงกัน
ที่จะร่วมเรียกร้องให้ยุติสงครามในเวียดนาม
พวกเขาใช้ยุทธวิธีสร้างสงครามบนถนน
เพื่อให้รัฐบาลอเมริกายุติสงครามในเวียดนาม
เพื่อหันมาสนใจสงครามบนถนนในประเทศแทน
แต่พวกเขาใช้มือเปล่าไปสู้กระบองและปืน
มีคนโดนจับนับพัน
ซึ่งช่วงนั้นประธานาธิบดีอเมริกาชื่อ จอห์นสัน
ก็ไม่ฟังเสียงคัดค้านใดๆ แถมพวกทหารระดับสูงๆ
ก็ไม่สนใจกลุ่มผู้ประท้วงยังเดินหน้าทำสงครามในเวียดนามต่อไป
แถมยังออกข่าวโจมตีผู้ชุมนุม
ทำนองไม่รักชาติ น่าจะไปชุมนุมที่เวียดนาม

นานาชาติเริ่มมีการต่อต้านสงครามเวียดนาม
โดยต้องการกดดันให้อเมริกายุติสงคราม
ทั้งที่อังกฤษ ออสเตรเลีย และที่อื่นๆ ทั่วโลก
มีการประท้วงในอเมริกาบ่อยครั้ง
ทั้งผู้นำศาสนาบางคนที่เริ่มปลุกระดมคนให้ลุกขึ้นมาต่อต้านสงคราม
ผู้นำคนผิวดำหลายๆ คนก็ลุกขึ้นมารณรงค์คนผิวดำ
ให้ต่อต้านสงครามอย่างจริงจัง
อดีตทหารลาดตะเวนผิวดำชาวอเมริกันกล่าวว่า
"เราไม่ต้องการไปเวียดนาม
เพื่อยิงบางคนที่เขาบอกว่าเราเป็นข้าศึก
เราชาวผิวดำจะยอมให้ตำรวจยิงตายในประเทศนี้เสียยังดีกว่า
นั่นคือการต่อสู้ที่แท้จริงของพวกเรา"

มีการต่อต้านการเกณฑ์ทหารไปทั่วประเทศ
ชายหนุ่มสี่หมื่นคนยอมหลบหนีออกจากประเทศอเมริกา
ชายหนุ่มกว่าพันคนยอมเข้าคุกมากกว่าไปเกณฑ์ทหาร
โมฮัมหมัด อาลี นักมวยชื่อดังของอเมริกัน
ก็ประกาศยอมถูกยิงตายมากกว่ายอมถูกส่งไปเวียดนามหรือถูกจำขัง
บรรดานักศึกษาตามมหาลัยต่างๆ ก็ไม่ยอมไปเกณฑ์ทหาร
แถมเป็นแกนหลักจัดม็อบร่วมกันคัดค้านด้วย
ช่วงนี้ประธานาธิบดีจอห์นสัน
เดินทางไปไหนมาไหนก็โดนกลุ่มต่อต้านประท้วง
จนในที่สุดประธานาธิปดีจอห์นสันก็ลาออก
และไม่ขอลงแข่งเลือกตั้งครั้งต่อไป

ในปี 1968 มาติน ลูเธอร์คิง ผู้นำคนผิวดำ และต่อมา โรเบิร์ต แคนเนดี้
ทั้งสองเป็นผู้นำต่อต้านสงคราม ถูกลอบสังหารด้วยกลุ่มคนลึกลับ
จนเกิดความวุ่นวายในอเมริกา และกลุ่มผู้ต่อต้านสงคราม
มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและรุนแรงเพิ่มขึ้นด้วย
เฉพาะในวอชิงตันเมืองเดียว
ต้องใช้กำลังทหาร 15,000 คนเข้าควบคุมสถานการณ์
รวมทั้งยังมีการนำรถถังออกมาใช้ด้วย
ที่ชิคาโกประชาชนนับหมื่นคนเดินไปยังอาคารที่ใช้ในการประชุม
เจ้าหน้าที่ตำรวจทหารสองหมื่นกว่าคนเข้าควบคุมสถานการณ์
ได้เกิดเหตุนองเลือด ผู้ชุมนุมก็เอาเสื้อเปื้อนเลือดของผู้ชุมนุม
ไปแขวนแทนธงชาติอเมริกา เพื่อให้ชาวโลกได้ทราบว่า
เกิดอะไรขึ้นในชิคาโก
และก็มุกเดิมๆ เหมือนกับประเทศด้อยพัฒนาแถวๆ นี้
คือเจ้าหน้าที่ออกมากล่าวหาผู้ประท้วงเป็นคอมมิวนิสต์
ตอนนนั้นใครประท้วงสงครามในอเมริกา
ก็จะถูกมองว่าเป็นพวกคอมมิวนิสต์
โดยเฉพาะพวกทหารและเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูงๆ
ช่างเหมือนกันทั่วโลกเลย
ยีนส์สีเขียวที่อยู่ในตัวพวกทหารหรือผู้นำระดับสูงๆ
ทำให้เป็นโรคจิตคิดว่าตนเองเป็นผู้รักชาติมากกว่าใคร
พวกที่ต่อต้านสงครามหรือไม่ยอมทำตามไม่ยอมก้มหัวให้
ไม่โดนกล่าวหาว่าไม่รักชาติก็โดนเหมาว่าเป็นพวกคอมมิวนิสต์ไปหมด
การปราบปรามในหลายๆ เมืองเริ่มรุนแรงขึ้น
แต่ภาพที่ออกมาเป็นการทำร้ายประชาชนมากกว่าการป้องกันการชุมนุม
เรียกว่าไม่มีการแจ้งเตือนใดๆ เจอหน้าวิ่งเข้าใส่ตีผู้ชุมนุมเลือดอาบ

ต่อมาริชาร์ด นิกสัน ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี
นิกสันเล่นบทสองหน้า
ต่อหน้าประชาชนในประเทศ
ก็บอกว่าจะถอนทหารจะเจรจาสงบศึก
แต่ก็แอบสั่งให้ทหารบอม์บเวียดนามมากขึ้น
ปี 1970 ในเมืองเล็กๆ แห่งหนึ่ง
เหมือนเกิดสงครามขึ้นในอเมริกา
เมื่อทหารถืออาวุธปืนครบมือ
บุกเข้าไปสลายม็อบในมหาลัยแห่งหนึ่ง
และมีการเปิดฉากยิงเข้าใส่กลุ่มผู้ต่อต้านสงคราม
มีคนเจ็บมากมายคนตาย 4 คน
ซึ่งผู้นำที่บ้าอำนาจ
มักจะใช้ความรุนแรงแบบไม่สนใจวิธีการ
หรือความถูกต้องชอบธรรมอะไร
ของแค่รักษาอำนาจพวกตนให้ได้
ใครจะตายเท่าไหร่ฉันไม่สน
โรคนี้ก็เป็นเหมือนกัน
ในหมู่ผู้นำบ้าอำนาจของประเทศต่างๆ
เพียงแต่ใครเล่นละครตบตาประชาชน
ได้แนบเนียนว่าไม่รู้ไม่เห็นได้เก่งกว่ากันเท่านั้น

เนิ่นนานไปประชาชนเริ่มรอไม่ไหว
เพราะคำสัญญาที่หาเสียงว่าจะยุติสงคราม
ไม่เกิดขึ้นจริงเสียที
ในที่สุด เวียดนามก็เปิดฉากบุกกัมพูชา
นิกสัน สั่งเครื่องบินไปบอม์บในกัมพูชา
มีการทิ้งระเบิด 5 แสนลูก
โดยปิดเป็นความลับไม่ให้สื่ออเมริกันรู้
แต่สุดท้ายเรื่องก็แดงถึงสื่อ
ทำให้ประชาชนไม่พอใจมากขึ้น

ปี 1970 นิกสันเดินหน้าส่งทหารเข้าไปในกัมพูชา
มีการชุมนุมต่อต้านอเมริกาทั่วไปในประเทศ
โดยเฉพาะที่มหาลัยในรัฐโอไฮโอ
ทหารยิงปืนใส่กลุ่มผู้ประท้วง อีกแล้ว
ซึ่งหลังๆ จะเห็นได้ว่าเริ่มใช้ความรุนแรง
ยิงกะว่าจะข่มขู่ให้กลัวให้พวกอื่นไม่กล้าเลียนแบบ
ในเมื่อยังมีเชื้อไฟ ก็ยังมีไฟต่อไป
เพราะการไล่ยิงประชาชนมือเปล่า
มันคือความโหดร้ายมันคือเชื้อไฟอย่างดี
เกิดผลกระทบต่อภาพลักษณ์ประธานาธิบดีนิกสัน
จนคนใกล้ชิดที่นิกสันสั่งให้ไปปราบ
ถึงกับบอกว่ามาถึงขั้นนี้ วันที่ประชาชนโกรธแค้นมากมาย
และมาชุมนุมประท้วงอยู่ทั่วไป ไม่รู้จะปราบยังไง
ไม่นานเกิดเหตุร้ายแรงมีการลอบวางระเบิดในเมืองและในมหาลัย
มุกนี้ก็คงหวังทำให้ประชาชนหรือนักศึกษาไม่กล้าออกมาชุมนุมแน่ๆ
ซึ่งไม่รู้ใครทำแต่เดาได้ไม่ยากว่าพวกไหนทำ
ช่วงนี้มีม็อบระบาดไปทั่ว
แต่สื่อกลับเริ่มปิดบังข่าวไม่เหมือนประธานาธิบดีคนก่อนๆ
เหมือนแอบช่วยประธานาธิบดีนิกสันอะไรประมาณนั้น

"เรย์ คอนเนสเซ็น เป็นนักร้องที่มีชื่อเสียง
เพลงเป็นสิ่งที่มีกรอบระเบียบ
และผมก็ชอบเช่นนั้น"
เป็นคำกล่าวของนิกสัน
เพื่อเริ่มเปิดการแสดงคอนเสริต์ในทำเนียบขาว
เหมือนเป็นคำเหน็บว่าแดกคนที่ชุมนุมอยู่ทั่วไปในอเมริกา
ว่าเป็นพวกไม่อยู่ในกรอบระเบียบอะไรประมาณนั้น
แขกที่มาร่วมชมคอนเสริต์ก็พรรคพวกเดียวกัน
ตบมือยินดีหน้าตายิ้มแย้ม
หลังนิกสันกล่าวเปิดงานและกลับไปนั่งเพื่อชมคอนเสริต์
เหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น
"ท่านประธานาธิบดีนิกสัน
ขอให้ท่านหยุดทิ้งระเบิดฆ่ามนุษย์
รวมทั้งป่าไม้สีเขียว
ท่านต้องไปโบสถ์วันอาทิตย์
เพื่อสวดอ้อนวอนต่อพระเจ้า
พระเจ้าทรงทราบการทิ้งระเบิดของท่านแล้ว
โปรดหยุดการทิ้งระเบิด
ขอให้พระเจ้าคุ้มครอง
กลุ่มผู้ต่อต้าน รวมทั้งผู้ประพันธ์เพลงนี้ด้วย"
เล่นเอานิกสันหน้าเจื่อนๆ ไปเลย
แม้จะมีเจ้าหน้าที่พยายามเดินมาดึงป้ายผ้า
ที่นักร้องสาวโชว์ขณะพูดข้อความดังกล่าว
แต่นักร้องสาวก็ดึงกลับและพูดต่อจนจบ
แล้วร้องเพลงเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
ผมเห็นภาพเหตุการณ์นี้แล้ว
ขอยกให้เธอเป็น SHERO หรือ วีรสตรีคนหนึ่งเลย
และเธอก็ได้รับเชิญให้เข้าไปยังฮานอย
เพื่อไปดูผลการทิ้งระเบิดของอเมริกา

ปี 1972 เวียดนามเหนือสามารถรุกเข้าเขตเวียดนามใต้ได้สำเร็จ
นิกสันสั่งบอม์บฮานอยเมืองหลวงเวียดนามเหนืออย่างหนัก
แต่ก่อนเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งต่อไป ซึ่งใกล้มาถึงแล้ว
นิกสันพยายามสร้างภาพเจรจาสงบศึกอีกครั้ง
แต่เงื่อนไขของอเมริกาในการเจรจาสงบศึก
เวียดนามเหนือไม่ยอมรับ
เพราะจะให้เวียดนามเหนือยุติการยึดไซง่อน
ซึ่งเป็นเมืองหลวงของเวียดนามใต้ในตอนนั้น
นิกสันตัดสินใจใช้กำลังทหารจำนวนมากหวังเผด็จศึก
และบอม์บฮานอยแบบไม่บันยะบันยัง
แต่ฮานอยก็ยันไว้ได้
ปี 1973 นิกสันชนะเลือกตั้งประธานาธิบดีอีกครั้ง
"การหยุดยิงจะเริ่มในเวลาเที่ยงคืนของวันที่ 27 มกราคม ปี 1973
ตามเวลาสากลที่เมืองกรีนิซ สหรัฐอเมริกาและเวียดนามเหนือ
มีความหวังว่าข้อตกลงนี้จะสร้างความสงบสุขในเวียดนาม
ตลอดจนประเทศต่างๆ ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้"
เป็นคำกล่าวของนิกสัน หลังทำข้อตกลงสงบศึกกับเวียดนามเหนือสำเร็จ
แต่ก็แอบให้ความหวังกับประธานาธิบดีเวียดนามใต้ว่า
สหรัฐจะปกป้องเวียดนามใต้
แต่รัฐสภาสหรัฐปฏิเสธนิกสัน
และตัดความช่วยเหลือทางทหารแก่เวียนามใต้ลง
ประธานาธิบดีเวียดนามใต้
มีความรู้สึกว่าประเทศของเขากำลังถูกสังเวย
ถึงกับเผยความในใจว่า
บุคคลสำคัญของอเมริกาที่เคยเกี่ยวข้องช่วยเหลือ ทรยศ
คดีวอเตอร์เกต ทำให้นิกสันและผู้รับผิดชอบในเวียดนาม
ต้องพ้นจากตำแหน่งในปี 1974
ส่วนอเมริกาก็แอบช่วยเหลืออย่างลับๆ แก่เวียดนามใต้ต่อไป
จนกระทั่งไซง่อนแตก

เป็นการเล่าเรื่องค่อนข้างละเอียดตาม DVD
แต่ไม่อาจจะได้อรรถรสเท่าดูภาพเหตุการณ์จริงๆ
และเรื่องราวปลีกย่อยที่ไม่ได้นำมาเขียนไว้
เป็นการสรุปย่อๆ ที่เราไม่อยากสรุปสักเท่าไหร่
เพราะอยากให้คนทั่วไปทราบรายละเอียดให้เยอะที่สุด
เพื่อให้คนทั่วไปได้เห็นภาพในอดีตของเหล่าวีรชนอเมริกา
ที่กล้าลุกขึ้นมาสู้ในสิ่งที่พวกเขาเชื่อว่าถูกต้อง
และสุดท้ายมันก็คือทางออกที่ดีที่สุดสำหรับอเมริกาในที่สุด
แต่กว่าจะมาถึงวันนี้
พวกเขาต้องต่อสู้กับผู้มีอำนาจ อาวุธและความเชื่อที่ว่า
พวกหนุนทำสงครามเท่านั้นที่รักชาติ
พวกต่อต้านสงครามเป็นพวกไม่รักชาติ
เห็นภาพการลุกขึ้นสู้ของคนหนุ่มสาวอเมริกันในครั้งนั้น
ซึ่งก็โดนกระทำไม่ต่างอะไรกับม็อบประเทศด้อยพัฒนาโดน
เช่นโดนตี โดนยิงตาย มีรถถังออกมาวิ่งเพ่นพล่าน
แกนนำคนสำคัญโดนเก็บ
แต่พวกเขาก็ร่วมกันต่อสู้เพื่อเรียกร้องให้ยุติสงคราม
แม้ไม่ชนะด้วยการโค่นล้มประธานาธิบดีได้โดยตรงๆ
แต่ก็สามารถเอาชนะได้ในแนวคิดต่อต้านสงคราม
ที่พวกเขาคิดว่าดีที่สุดสำหรับบ้านเมืองของเขาได้สำเร็จ

เก็บตกเรื่องหอกทมิฬแทงทมิฬ
ลูกระเบิดจำนวนมากมายที่อเมริกา
บอม์บทั้งในเวียดนาม ลาว และกัมพูชา
กลายเป็นวัตถุดิบในการทำอาวุธ
ลูกระเบิดจำนวนมากที่ถูกทิ้งมาแล้วไม่ระเบิด
ชาวเวียดนามได้นำไปทำเป็นกับระเบิดแบบง่ายๆ
แต่ได้ผลดีทำให้ทหารอเมริกัน
เหยียบกับระเบิดจนบาดเจ็บล้มตาย
ไม่ต่างกับที่ชาวเวียดนามถูกอเมริกาบอม์บด้วยระเบิดพวกนั้น

สุดท้ายนี้
สิ่งไหนอ่านแล้วเห็นว่าดีมีประโยชน์
พวกเราช่วยๆ กันจดจำนำไปใช้
สิ่งไหนไม่น่าจดจำก็ปล่อยวางไว้ที่นี่

คำคมสำหรับวันนี้
"ประวัติศาสตร์เรียนรู้ไว้ เพื่อแก้ไขอนาคต"

โดย มาหาอะไร

------------------------------------------------------------------------

คดีวอเตอร์เกต บันทึกอันแสนอัปยศของนิกสัน

วอ เตอร์เกต คดีฉาวสะท้านโลก เป็นคดีประวัติศาสตร์ที่สะเทือนศรัทธาชาวอเมริกันมากที่สุด เพราะมันทำลายภาพทุกอย่างที่อภิมหาอำนาจรายนี้สร้างขึ้นมา ตั้งแต่บทบาทตำรวจโลก แนวคิดที่ยึดมั่นในเสรีภาพและสิทธิมนุษยชน และระบบการปกครองแม่แบบของประเทศประชาธิปไตย ทั้งหมดที่ว่านี้กลายเป็นภาพจอมปลอมในบัลดลเมื่อประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสันผู้ชื่อว่าทำประโยชน์ต่อชาติอเมริกามากที่สุดผู้หนึ่ง เช่น ยอมถอนทหารออกจากเวียดนาม ปิดฉากสงครามเย็นกับสหภาพโซเวียต และเปิดความสัมพันธ์กับจีนคอมมิวนิสต์ แท้จริงคือคน ที่ใช้วิธีสกปรกเพื่อให้ตนเองชนะเลือกตั้ง ละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น บิดเบือนซุกซ่อนข้อมูล และใส่ร้ายป้ายสีคนอื่นเพื่อให้ตนเองพ้นผิด และเมื่อคดีแดงขึ้น คดีนี้จึงกลายเป็นแผลใจของอเมริกันชนที่กาลเวลาก็ไม่อาจเยียวยา

ก่อน ที่จะเกิดคดีวอตอร์เกตนั้น ทำเนียบขาวกับเอฟบีไอเข้ากันได้ไม่ดีนัก โดยเฉพาะหลังจากนิวยอร์กไทม์ ลงข่าวรั่วว่าทำเนียบขาวมีแผนจะแอบคุยกับโซเวียตเรื่องอาวุธ(ช่วงนั้นเป็น ช่วงสงครามเย็น) นั้นเองทำเนียบขาวไม่พอใจเอฟบีไอมาก ในที่สุดได้ว่าจ้างอดีตซีไอเอไปทำงานเรื่องข่าวกรองให้แทน ถึงขึ้นตั้งหน่วยพลัมเบอร์สขึ้นมาใหม่ และนั้นคดีจุดกำเนิดของคดีวอเตอร์เกต

คดีวอเตอร์เกตมีจุดเริ่มต้นที่นี้ โรงแรมวอเตอร์เกต วอชิงตัน ดีซี ในวันที่ 17 มิถุนายน 1972 ยาม ซึ่งโรงแรมนี้เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ระดับชาติของพรรคเดโมแครต ตอนนั้นเป็นเวลากลางคืน บังเอิญเจ้าหน้าที่โรงแรมได้สังเกตเห็นสิงผิดปกติในที่ทำการพรรคเดโมแครต จึงโทรเรียกตำรวจ ส่งผลสามารถจับกุมผู้ต้องหา 5 คนได้พร้อมของกลาง

ผู้ต้องหาเหล่านี้ประกอบด้วยนายเบอร์นาร์ด บาร์เกอร์, เวอร์จิลิโอ กอนซาเลซ, ยูจินิโอ มาร์ติเนซ, เจม แม็คคอร์ด และแฟรงค์ สเตอร์กิส โดยก่อนหน้านี้กลุ่มคนร้ายเคยแอบเข้าในออฟฟิศแห่งนี้แล้วเมื่อ 3 สัปดาห์ก่อนถูกจับ

ต่อมาตำรวจพบว่า บรรดาคนที่ถูกจับเหล่านี้ไม่ใช้โจรกระจอก เพราะแต่ละคนต่างทำงานให้แก่สำนักงานข่าวกรองกลางสหรัฐฯ (ซีไอเอ)โดยชายทั้ง 5 ได้ รับคำสั่งให้บุกเข้าไปขโมยข้อมูลที่พรรคเตรียมไว้เพื่อการเลือกตั้ง ประธานาธิบดีครั้งใหม่แข่งกับริชาร์ด นิกสัน เจ้าของตำแหน่งเดิม ในตัวผู้ต้องหาคนหนึ่งมีเบอร์โทรศัพท์ของที่ปรึกษาประจำทำเนียบขาว และในบัญชีของผู้ต้องหาอีกคนหนึ่ง มีเงิน 25,000 เหรียญที่ขึ้นด้วยแคชเชียร์เช็คประทับตรา นอกจากนั้นเอฟบีไอยังเจอบันทึก มีชื่อย่อที่อาจหมายถึงทำเนียบข่าวก็ได้ เช่น W.House และ W.H (White House)

ต่อมาคณะกรรมการเลือกตั้งประธานาธิบดี รัฐสภาสหรัฐจึงตัดสินใจตั้งคณะกรรมการสอบสวนคดีวอเตอร์เกตขึ้น

จาก การสอบสวนพบว่า ในสมุดโน้ตของแม็คคอร์ด หนึ่งในคนร้าย มีหมายเลขโทรศัพท์ของโฮเวิร์ด ฮันต์ อดีตเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวคนหนึ่ง ซึ่งทำให้สันนิษฐานได้ว่า คดีนี้น่าจะมีเงื่อนงำทางการเมือง นอกจากนี้แม็ค คอร์ดยังสารภาพกับศาลด้วยว่า เขาเป็นอดีตเจ้าหน้าที่ซีไอเอปลดเกษียณ

ต่อ มาแฟรงค์ วิลส์ ยามรักษาความปลอดภัยประจำส่วนที่เป็นสำนักงานของโรงแรมพบว่า มีเศษเทปติดอยู่ที่ประตูห้องใต้ดินของอาคารส่วนที่เปิดไปโรงรถ ซึ่งทำให้ประตูไม่ได้ล็อก ตอนแรกเขาคิดว่าคนทำความสะอาดอาจจะลืมไว้จึงดึงออก แต่เมื่อกลับมาดูอีกครั้งก็พบว่ามีเทปติดอยู่อีก วิลส์จึงติดต่อไปยังตำรวจวอชิงตันดี.ซี.

แต่ กระนั้นการสอบสวนของเอฟบีไอก็ไม่ได้ราบรื่นมากนัก เพราะถูกซีไอเอคอยดึงเรื่องและขัดขวาง เหมือนกับว่าต้องการให้เอฟบีไอไขว้เขวและวางมือ

ช่วง 1972 ความตึงเครียดระหว่างทำเนียบขาวกับเอฟบีไอขมึงตึงยิ่งขึ้น ถึงขั้นเผชิญหน้า ทำเนียบขาวหาทางขัดขวางการสอบสวนคดีวอเตอร์เกตอยู่เนืองๆ ทำให้การสอบสวนดำเนินไป 3 เดือน ปรากฏว่า ไม่มีหลักฐานว่ามีเจ้าหน้าที่ทำเนียบข่าวคนใดเกี่ยวข้อง

ดู เหมือนทุกอย่างจะมาถึงทางตันเสียแล้ว ตีนแมวที่ดอดเข้าไปในตึกวอเตอร์เกต กลายเป็นโจรธรรมดาไม่มีการขยายผล ส่วนการเลือกตั้งประธานาธิบดี ปรากฏว่า นิกสันชนะการเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 ในปี 1972 ด้วยคะแนนท่วมท้น

ระหว่างนั้นเอง ชื่อของ “ดีพ โธรท” ก็ ปรากฏตัวขึ้น เขาบอกว่าเป็นแหล่งข่าวลับ ที่พร้อมจะแฉคดีนี้ โดยเขาหวังว่าจะขยายคดีวอเตอร์เกต เขาจะคอยชี้ให้ว่าข้อมูลชิ้นไหนสำคัญชิ้นไหนไม่เกี่ยว ทำให้ข่าวได้ขึ้นหน้าหนึ่งของวอชิงตัน โพสต์ เป็นประจำ โดยมีนายบ็อบ วู้ดเวิร์ด และนายคาร์ล เบิร์นสไตน์ สองนักข่าวหัวเห็ดประจำหนังสือพิมพ์ วอชิงตัน โพสต์ เป็นผู้เปิดโปงคดีวอเตอร์เกต

การ ขุดคุ้ยและเปิดโปงเรื่องต่อเนื่องจากคดีวอเตอร์เกต ของวู้ดเวิร์ด ดำเนินไปนานนับเดือน สร้างแรงกดดันต่อทำเนียบขาวขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่ทางการก็โกรธเกรี้ยวต่อดีพ โธรทมากขึ้นรุนแรงขึ้น แต่เขายังเพิ่มระดับการช่วยเหลือไปถึงขั้นเริ่มให้ข้อมูลชี้นำ เบาะแสที่จะนำไปสู่การเผยความจริงว่ามีการรู้เห็นสมรู้ร่วมคิดกันปกปิดความ ลับในทำเนียบขาว

แน่นอนถ้าคดีนี้เป็นเรื่องจริงนี้ถือว่าเป็นเรื่องสกปรกมากในเรื่องของผู้นำที่ใช้อำนาจในทางที่ผิด

ด้วย ความกลัว นิกสันบีบให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงของทำเนียบขาวต้องลาออก และไล่ที่ปรึกษาจอห์น ดีนออกเพื่อตัดตอนคดี จอห์น ดีนจึงตัดสินใจขึ้นให้การต่อสภาคองเกรสว่า นิกสันพยายามวิ่งเต้นบิดเบือนคดี และในทำเนียบขาวมีการติดตั้งเครื่องดักฟังอยู่ ซึ่งข้อความต่างๆ ในนั้น คื่อหลักฐานที่จะมัดตัวนิกสันได้อย่างดี แต่เมื่อหัวหน้าฝ่ายสอบสวนคดีวอเตอร์เกต เรียกขอเทปจากเครื่องดักฟังนี้ นิกสันปฏิเสธโดยอ้างสิทธิพิเศษของผู้บริหารที่ไม่อาจเปิดเผยข้อความที่กระทบ ต่อความมั่นคงของชาติ และไล่หัวหน้าคนนี้ออก ส่งผลให้ประชาชนพากันส่งจดหมายกว่า 450,000 ฉบับมาต่อว่า วิทยาลัยกฎหมายกว่า 17 แห่งเรียกร้องให้นำนิกสันขึ้นพิจารณาคดี จนนิกสันต้องยินยอมส่งเทปบันทึกเสียงให้ฝ่ายสืบสวนไปในที่สุด

ปรากฎว่าเทปที่ส่งไปให้นั้นกลับมีช่วงว่างที่เสียงพูดหายไปเฉยๆ ถึง 18 นาที ครึ่ง แต่นิกสันเอาตัวรอดด้วยการโยนความผิดให้โรสแมรี่ วู้ดส์ เลขาส่วนตัวว่าเธอเผลอลบ ขณะที่วู้ดส์ปฏิเสธว่าเธอไม่ได้ทำ และถ้าพลาดจริงก็ไม่มีทางเกิน 4-5 นาทีแน่ๆ

จากนั้น หลักฐานต่างๆ ก็ทยอยเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ จนรัฐสภามีมติให้นำตัวนิกสันขึ้นพิจารณาคดีและเตรียมถอดถอน

และก่อนที่กระบวนการพิจารณาคดีจะเริ่มขึ้น ในวันที่ 9 สิงหาคม 1974 ริ ชาร์ด นิกสัน ก็กลายเป็นประธานาธิบดีเพียงคนเดียวในประวัติศาสตร์การเมืองอเมริกาที่ต้อง ลงเอยด้วยการประกาศลาออกจากตำแหน่ง แต่เขาได้รับการยกเว้นโทษในเวลาต่อมาโดยประธานาธิบดีฟอร์ด ขณะที่คนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกว่า 40 คนถูกตัดสินจำคุก ซึ่งมีตั้งแต่รอลงอาญา 1 เดือนจนถึงจำคุก 52 เดือน

คดีวอเตอร์เกตได้สร้างชื่อเสียงให้แก่วูดเวิร์ดและเบิร์นสไตน์ และได้ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง "All The President's Men" ในปี 2519 ส่วนนามแฝง "ดีพโธรต" ยังเป็นที่จดจำนั้นเป็นเพราะเป็นชื่อเดียวกับชื่อหนังโป๊เรื่อง "Deep Throat"

แม้ คดีจบไปนานแล้ว แต่ปริศนาของคดีนี้ยังมีอยู่ เมื่อหลายฝ่ายต่างอยากรู้ว่า คนแฉเรื่องคดีวอเตอร์เกตนั้นเป็นใคร โดยเฉพาะคนที่ใช้นามปากกาว่า "ดีพโธรท" ซึ่งเป็นแหล่งข่าวลับสุดยอด คนแฉข้อมูล ให้กับคนในสำนักพิมพ์ให้ฟัง แบบรู้เรื่องคดีนี้ทั้งหมด ราวกับตาเห็น จนประชาชนยกย่องเขาในฐานะ 'ฮีโร่' ที่คอยฟาดฟันกับบรรดานักการเมืองเหลิงอำนาจ

อย่าง ที่รู้ๆ กัน คงไม่มีใครในรัฐบาลของนิกสันหรือข้าราชการคนไหน บ้าพอที่จะเอาคอตัวเองขึ้นเขียงด้วยการให้ข้อมูลกับนักข่าวในเรื่องนี้แล้ว เห็นชื่อตัวเองปรากฏหราอยู่บนหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ฉบับวันรุ่งขึ้นแน่

'ดีพโธรท' เลยกลายเป็นสัญลักษณ์ของแหล่งข่าวที่มีความลึกลับ แต่มีความน่าเชื่อถือ

และ บังเอิญที่คดีนี้จบลงด้วยชัยชนะของสื่อมวลชน การอ้างอิงแหล่งข่าวที่ไม่มีการเปิดเผยชื่อจึงกลายเป็นการปฏิบัติที่ได้รับ การยอมรับโดยปริยาย

แต่ผลพวงที่ตามมาก็คือ สื่อมวลชนมะกันเริ่มอ้างอิง 'แหล่งข่าว' กัน อย่างพร่ำเพรื่อ ปัญหาใหญ่ก็คือ ถ้าแหล่งข่าวมีความเป็นกลางหรือรู้จริงก็ว่าไปอย่าง หรือที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น แหล่งข่าวที่นักข่าวใช้อ้างอิงนั้นมีตัวตนจริงหรือเปล่า หรือเป็นแค่การอุปโลกน์หรือเป็นแค่การปั้นน้ำเป็นตัวเพื่อให้ข่าวมีความน่า เชื่อถือเท่านั้น

นักข่าวหลายคนถูกจับได้คาหนังคาเขาว่ากุข่าวที่ตัวเองเขียนขึ้นมาเอง และแหล่งข่าวที่อ้างอิงในเรื่องนั้นไม่มีตัวตนด้วยซ้ำ

เรื่องนี้กว่าจะไขได้ก็ปาไป 30 เมื่อวอชิงตันโพสต์ยอมเผยโฉม "ดีพโธรท"

ว่า "ดีพโธรท" คือ ดับเบิลยู มาร์ค เฟลท์ อดีตผู้นำหมายเลข 2 ของ สำนักงานสืบสวนสอบสวนกลางสหรัฐ (เอฟบีไอ) ซึ่งผู้เปิดโปงคดีอื้อฉาววอเตอร์เกต ในช่วงที่ความสัมพันธ์ระหว่างทำเนียบขาวกับเอฟบีไอ กำลังตึงเครียดถึงที่สุด

โดยปัจจุบันนายเฟลท์ ซึ่งขณะนี้มีอายุ 91 ปี แล้วและอาศัยอยู่ในเมืองซานตา โรซา รัฐแคลิฟอร์เนีย ได้สารภาพกับครอบครัวและนิตยสารฉบับนี้ว่าตัวเองคือแหล่งข่าวลับสุดยอดของ วอชิงตัน โพสต์ หรือที่รู้จักกันในชื่อของดีพโธรท หลังจากเก็บงำเรื่องนี้ไว้เป็นความลับตลอดมา แม้แต่คนในครอบครัวก็ไม่มีใครล่วงรู้ หนำซ้ำยังขอร้องให้นายวู้ดเวิร์ด และนายเบิร์น

สไตน์ รวมทั้งนายเบ็น แบรดลี บรรณาธิการของวอชิงตัน โพสต์ในช่วงนั้นไม่ให้แพร่งพรายเรื่องนี้ให้ใครรู้จนกว่าจะถึงวันที่ตัวเองสิ้นลม

แต่ปริศนาก็ตามมาอีก ว่านายเฟลท์ เขาแฉคดีนี้เพื่อชาติจริงหรือ??

ใน ตอนที่คดีวอร์เตอร์เกตกำลังดังใครๆ ต่างรู้กันอยู่ว่า ดับเบิลยู มาร์ก เฟลต์ คาดหวังตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐ(เอฟบีไอ)มาก ด้วยคุณสมบัติครบถ้วน ทั้งความสามารถ การยอมรับ และประสบการณ์

แต่ที่เขายังเป็นหมายเลข 2 อยู่ก็เพราะ ประธานาธิบดีริชาร์ด เอ็ม นิกสัน ไม่ชอบแล้วมอบตำแหน่งสูงสุดของเอฟบีไอให้คนสนิท ทำให้ “ดีพ โธรท” ถือกำเนิดขึ้นมาพร้อมด้วยวลีอมตะที่เขาให้เบาะแสนักข่าว "ลองตามเส้นทางของเงินดูสิ"

ซึ่ง ความจรืงเฟลต์อำลาจากเอฟบีไอ ตั้งแต่ก่อนที่นิกสันจะลาออกเสียอีกเพราะเข้ากับหัวหน้าใหม่ไม่ได้ และเมื่อนิกสันลาออกไปแล้ว ดีพโธรท เป็นใครยังคงไม่มีใครทราบ แม้สหรัฐมีประธานาธิบดีต่อมาอีก 7 คน เขาก็ไม่ยอมเผยตัว ทั้งๆ ที่รู้ว่าถ้าเผยตัวเมื่อใด ชื่อเสียงเงินทองจะหลั่งไหลเข้ามา ในรูปแบบของหนังสือเรื่องจริง มีการทำเป็นภาพยนตร์และรายการพิเศษต่างๆ ทางทีวีแน่นอน แต่ทุกคนที่เกี่ยวข้องยังคงรักษาความลับและปิดปากเงียบ

เรื่องนี้เฟลต์บอกว่าเขาอย่างให้เรื่องนี้เป็นความลับเรื่องนี้ตายไปกับ ตัว เพราะเขารู้สึกว่าสิ่งที่กระทำไปนับเป็นความ 'ไม่ซื่อสัตย์' ต่อองค์กรและหน้าที่

จนกระทั้งหลายปีผ่านไป โจอัน เฟลต์ บุตรีซึ่งปัจจุบันวัย 61 ปี เริ่มระแคะระคายว่าบิดาคือแหล่งข่าวนิรนามซึ่งกล้าหาญผู้นั้นและเขาก็ต้องทน ทุกข์ทรมานอยู่กับความลับของตัวเอง ในที่สุดก็ตัดสินใจได้ว่าสิ่งที่เฟลต์ทำไป น่าจะเรียกว่าเป็นการแสดงความรักชาติอย่างแท้จริงมากกว่า พวกเขาจึงเสนอว่าน่าจะหาคนนอกมาเป็นผู้ถ่ายทอดเรื่องราวก่อนที่เรื่องนี้จะ ถูกลืมและเลือนหายไป จอห์น ดี.โอคอนเนอร์ ทนายความจากซาน ฟรานซิสโก ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ถ่ายทอดเรื่องราวต่อสังคม

วู้ดเวิร์ด กล่าวถึง ดีพ โธรท ระหว่างบรรยายในมหาวิทยาลัยเมื่อปี 2003 ว่า "เขาจำต้องโกหกครอบครัว เพื่อนฝูง และเพื่อนร่วมงาน และปฏิเสธที่จะช่วยเรา"

อาจ มีคนเห็นว่าเฟลต์คือคนทรยศที่ไขความลับขององค์กร แต่เมื่อบวกลบคูณหารลงแล้ว ดีพ โธรท ถือว่าเป็นวีรบุรุษนิรนามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของอเมริกา แม้ว่าสถานการณ์อาจมีส่วนผลักดันอยู่บ้าง แต่การที่ใครจะลุกขึ้นมาทำในสิ่งที่ขัดกับแนวทางขององค์กรที่ตัวเองเชื่อ มั่นเพื่อจะได้คงไว้ซึ่งความจริงและสิ่งที่ถูกต้อไม่ใช่เรื่องง่าย และเฟลต์ยังต้องรับผลของการกระทำของตัวเองมาตลอด แม้ว่าจะภูมิใจได้แต่เขายังตำหนิตัวเองเสมอ เหมือนถูกจองจำอยู่ในคุกในจิตใจที่เขาสร้างมันขึ้นมาเองมาตลอดกว่า 30 ปีที่ผ่านมา

คดี วอเตอร์เกตก็เป็นเครื่องยืนยันอีกครั้งว่าในประเทศอเมริกาหรือประเทศไหนๆ บนโลก ไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมายได้ แม้แต่ประธานาธิบดีก็ตาม รวมถึงกลายเป็นบรรทัดฐานของการทำข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนที่ทำให้ความจริงได้ ปรากฏและสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคมได้

credit : cammy
http://blog.eduzones.com/bluesky/25721

------------------------------------------------------------------------