ในวันที่ถูกประชาชนยกเลิกระบอบกษัตริย์
ถ้าได้อ่านข่าวที่นำมาลงไว้ที่บทความนี้
จะรู้ว่าที่แท้แล้วก็โหดไม่ใช่เล่น
ถึงว่าทำไมถึงมีวันนี้
อ่านจากข่าวเก่าๆ แล้ว
รู้สึกได้ว่ากษัตริย์เนปาล
จะเป็นพวกชอบพูดอย่างทำอีกอย่าง
แต่พอดีชาวบ้านรู้ทัน
ประชาคมโลกเห็นลิ้นไก่
เลยโดนประนามในช่วงนั้น
แต่ไม่มีใครคิดว่า
การกวาดล้างจับกุมแกนนำ
การกำจัดสิทธิการสื่อสาร
การประกาศกฏหมาย
ห้ามชุมนุมในเมืองหลวงอย่างเด็ดขาด
และการยิงประชาชนที่มาชุมนุมประท้วง
ทำไมถึงทำให้พ่ายแพ้ในตอนจบ
ในเวลาไม่กี่เดือนด้วยซ้ำ
พอดีผมสนใจประวัติศาสตร์
ไม่อยากรับรู้เฉพาะแค่ตอนจบ
แต่อยากรู้ความเป็นไปว่าพัฒนามายังไง
ถึงได้มีวันนี้ ถึงได้พยายามหาข่าวจากหลายๆ ที่
โดยเฉพาะช่วงที่มีการปะทะกัน
เพื่อให้รับรู้ถึงความเป็นไปที่แท้จริงให้มากที่สุด
โดยเฉพาะช่วงก่อนถึงวันล่มสลาย
ถือเป็นจุดไคลแม็กซ์ที่อนุชนรุ่นหลังควรศึกษา
เพื่อเข้าใจความเป็นมาของโลกใบนี้
ถ้ายังไม่จุใจ อ่านเรื่องประวัติศาสตร์เนปาลเพิ่มเติมได้อีกที่นี่
<<< เนปาล จากวันวานถึงวันนี้ >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2010/02/blog-post_05.html
โดย มาหาอะไร
------------------------------------------------------------------
ลำดับเหตุการณ์ ประว้ติศาสตร์การเมืองเนปาล
Reuters, AlertNet, 8 ก.พ. 2548
กัฑมาณธุ - เมื่อวันอังคาร (1 ก.พ. 2548) กษัตริย์ กิเนนทรา ยึดอำนาจรัฐบาลเนื่องจากความล้มเหลวในการฟื้นฟูสันติภาพหรือจัดการเลือกตั้ง อำนาจของตัวเขาเองเป็นศูนย์กลางตอบโต้สงครามกลางเมืองกับกบฎลัทธิเหมา
ต่อไปเป็นลำดับเหตุการณ์ทางการเมืองสำคัญในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของราชอาณาจักรหิมาลัย
1948 - ประกาศใช้รัฐธรรมนูญเนปาลฉบับแรก จากการหยุดยั้งการเผชิญหน้ากับฝ่ายค้าน นายกรัฐมนตรี Padma Shamsher Rana ลาออก
1955 - กษัตริย์ Tribhuvan สวรรณคต กษัตริย์ Mahendra ขึ้นครองราชย์
1959 - ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ นำไปสู่การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรก พรรค centrist Nepali Congress ชนะเสียงข้างมากอย่างสัมบูรณ์
1960 - B.P. Koirala ผู้นำพรรค Nepali Congress หัวหน้ารัฐบาลประชาชนแรก นโยบายของเขาถูกต้านจากกษัตริย์ Mahendra ผู้ไล่นายกรัฐมนตรีออกไป และห้ามพรรคการเมืองและยึดอำนาจควบคุมรัฐบาลโดยตรง
1972 - กษัตริย์ Mahendra สวรรณคต กษัตริย์ Birendra พระโอรสขึ้นครองราชย์
1990 - กษัตริย์ Birendra ยกเลิกการห้ามพรรคการเมืองที่ยาวนาน 30 ปี และนำไปสู่ระบบราชาธิปไตยรัฐธรรมนูญ
พฤษภาคม 1991 - Girija Prasad Koirala ของพรรค Nepali Congress รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจากประชาชนคนแรกในรอบ 30 ปี
มิถุนายน 1994 - Koirala ลาออก หลังจากแพ้การลงมติในรัฐสภา นำไปสู่การไร้เสถียรภาพที่ยาวนาน
กุมภาพันธ์ 1996 - กบฎลัทธิเหมาเปิดการต่อสู้ด้วยอาวุธโดยมีเป้าหมายแทนที่ระบบราชาธิไตยรัฐ ธรรมนูญด้วยสาธารณรัฐพรรคคอมมิวนิสต์ พรรคเดียว
มกราคม 1999 - กษัตริย์ Birendra ยุบสภา
1 มิถุนายน 2001 - กษัตริย์ Birendra พระราชินีAishwarya และสมาชิกราชวงศ์ถูกปลงพระชนม์จากการยิงด้วยพระโทสะของเจ้าชาย Dipendra และสังหารพระองค์เองด้วยอาวุธปืน
4 มิถุนายน 2001 - เจ้าชาย กิเนนทรา ขึ้นครองราชย์
กรกฎาคม กลุ่มลัทธิเหมาเพิ่มความรุนแรง Sher Bahadur Deuba ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นรัฐบาลชุที่ 11 ในรอบ 11 ปี หลังจาก Koirala ลาออก
23 กรกฎาคม 2001 - Deuba ประกาศสงบศึกกับฝ่ายกบฎ และเริ่มต้นพักรบชั่วคราว
21 พฤศจิกายน 2001 - กลุ่มลัทธิเหมากล่าวการเจรจาล้มเหลว ไม่มีการพักรบต่อไป
23 พฤศจิกายน 2001 - กษัตริย์ กิเนนทรา ประกาศภาวะฉุกเฉิน รัฐบาลประกาศ กลุ่มลัทธิเหมา เป็น "องค์กรก่อการร้าย"
4 ตุลาคม 2002 - กษัตริย์ กิเนนทรา ปลดนายกรัฐมนตรี Deuba และควบคุมอำนาจบริหาร แต่งตั้งเชื้อพระวงศ์ Lokendra Bahadur Chand เป็นนายกรัฐมนตรี
30 พฤษภาคม 2003 - Chand ลาออกหลัง 1 เดือนของการประท้วงนำโดยพรรคการเมืองที่เรียกร้องให้กษัตริย์แต่งตั้งผู้ท่พ วกเขาเสนอชื่อหรือฟื้นฟูรัฐสภา
4 มิถุนายน 2003 - กษัตริย์ กิเนนทรา แต่งตั้งเชื้อพระวงศ์ Surya Bahadur Thapa เป็นนายกรัฐมนตรี
7 พฤษภาคม 2004 - Surya Bahadur Thapa ลาออกเนื่องจากการประท้วงนานหลายสัปดาห์
2 มิถุนายน 2004 - กษัตริย์ กิเนนทรา แต่งตั้ง Deuba เป็นนายกรัฐมนตรี
1 กุมภาพันธ์ 2005 - กษัตริย์ กิเนนทรา ล้มรัฐบาลและยึดอำนาจเป็นของพระองค์
http://www.thaiindy.org/region/region_title_details.php?cont_id=asiaso&title_id=asiaso200502080&row_order=18&page=2
--------------------------------------------------------------------------------
เนปาล….การกวาดจับที่นำไปสู่ความรุนแรงอย่างน่ากลัว กำจัดกลุ่มประชาสังคมก่อนการเลือกตั้ง
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล , International Commission of Jurists , ฮิวเมน ไรท์ วอช - [ 25 ม.ค. 49, 13:26 น. ]
ขณะนี้รัฐบาลของประเทศเนปาลกระทำการจับกุมแกนนำทางการเมืองและนักเคลื่อนไหวภาคประชาสังคมกว่า 100 คน ส่งผลให้เกิดความหวาดกลัวเรื่องความรุนแรงและการละเมิดสิทธิ มนุษยชนหากไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล รวมกับ International Commission of Jurists และฮิวเมน ไรท์ วอช รู้สึกตกใจกับสิ่งเหตุการที่เกิดขึ้น และจากคำสั่งของฝ่ายบริหารท้องถิ่นที่อนุญาตให้เจ้าหน้าที่รักษาความมั่นคง ยิงใครก็ตามที่ก่อความรุนแรงในช่วงเคอร์ฟิว
เราในฐานะองค์กรระหว่าง ประเทศขอเรียกร้องให้รัฐบาลปล่อยตัวผู้ที่ถูกจับกุมทุกคนโดยทันที รวมทั้งยุติการปราบปรามและปฏิบัติตามพันธะกรณีของสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ตามที่รัฐบาลประกาศให้มีการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ขณะนี้พรรค การเมืองของเนปาลเกือบทั้งหมดต่างออกมาคัดค้านการจัดการเลือกตั้ง เพราะเชื่อว่าการเลือกตั้งดังกล่าวจะไม่เป็นไปอย่างอิสระและยุติธรรม
“จากการจับกุมในครั้งนี้นับเป็นการจำกัดสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองมากขึ้น เรื่อยๆในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลยังคงไม่ใส่ใจต่อสิทธิมนุษยชน” เพอร์นา เซน ผู้อำนวยการโครงการภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
การจับกุมสมาชิกพรรคการเมือง กลุ่มสิทธิมนุษยชนและภาคประชาสังคมนับร้อยคนและวิธีการปราบปรามที่เกิดขึ้นโดยรัฐบาลของเนปาลเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เป็นจุดประทุ ให้ประชาชนออกมาเดินขบวนต่อต้านรัฐบาล จนมีการประกาศเคอร์ฟิว เข้มงวดด้านการสื่อสารและห้ามการเดินขบวนในเมืองหลวงกาฐมัณฑุอย่างเด็ดขาด
“สิ่งที่รัฐบาลเนปาลต้องการมากที่สุดตอนนี้คือประกาศเคอร์ฟิว ห้ามประชาชนเดินขบวน ตามมาด้วยการจับกุมรวมถึงการเข้มงวดด้านการสื่อสาร เพื่อพยายามสยบผู้ทำการประท้วง ที่ได้เริ่มประท้วงอย่างสงบและถูกต้องตามกฎหมาย” นิโคลัส โอเว็น เลขาธิการใหญ่ของคณะกรรมการยุติธรรมสากล (International Commission Jurists) “หากยังคงไม่ยอมให้มีการโต้แย้งถกเถียงทางการเมืองอย่างสงบ สงครามกลางเมืองในเนปาล ที่ยืดเยื้อมากว่า 10 ปี ก็คงไม่มีวันจบ”
นับตั้งแต่กษัตริย์คยาเนนทรา ขึ้นครองอำนาจโดยได้รับการสนับสนุนจากกองทัพเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ สิทธิขั้นพื้นฐาน เสรีภาพในการชุมนุมและการแสดงออก รวมถึงสิทธิในข้อมูลข่าวสารและปลอดจากการถูกจับกุมเหนือกฎหมายนั้นได้หายไป
“การจับกุมในวันนี้เป็นการพยายามที่จะปราบปรามผู้ที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามกษัตริย์ หรือเป็นความพยายามที่กษัตริย์จะสร้างความชอบธรรมโดยประกาศให้มีการเลือกตั้งขึ้นมา ทดแทน” แบรด อาดัมส์ ผู้อำนวยการโครงการเอเชียของฮิวเมน ไรท์ วอชกล่าวว่า “การปิดปากแกนนำตามที่พระองค์หวังนั้นจะกลายเป็นการปิดปากประชาชนนั่นเอง” การกระทำเหล่านี้ขัดแย้งกับสิ่งที่พระองค์ได้ประกาศว่าทรงเชื่อในหลักการประชาธิปไตยและหลักนิติธรรม”
สหภาพยุโรป อินเดียและญี่ปุ่น ต่างแสดงความเป็นกังวลอย่างยิ่งต่อจำกัดกิจกรรมทางการเมืองในเนปาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจับกุมแกนนำทางการเมืองและนักเคลื่อนไหว ด้านสิทธิมนุษยชน เราขอเรียกร้องให้สมาชิกของประชาคมโลกอื่นๆร่วมกันผลักดันให้รัฐบาลเนปาลปฏิบัติไปตามพันธะกรณีของสิทธิมนุษยชน
“รัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายบริหารต้องแสดงความรับผิดชอบต่อการปกป้องคุ้มครองประชาชนชาวเนปาลทุกคน รัฐบาลของเนปาลควรรับทราบไว้ว่าประชาคมโลกต่าง มีความเป็นกังวลอย่างยิ่งกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสัปดาห์นี้ และรัฐบาลควรดำเนินการแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่รุนแรงนี้โดยทันที” เพอร์นา เซนกล่าว
http://www.thaingo.org/cgi-bin/content/content3/show.pl?0533
-------------------------------------------------------------------
ที่มาวิกฤติการ อะไรเกิดขึ้นในเนปาล
Alex Whiting, AlertNet, 5 ก.พ. 2549
ลอนดอน - การต่อสู้ด้วยอาวุธระหว่างกบฎลัทธิเหมากับกองกำลังรัฐบาลมีผู้เสียชีวิต มากกว่า 13,000 คนและบาดเจ็บหลายหมื่นคน
กลุ่มลัทธิเหมาผู้ต้องการขจัดระบบกษัตริย์ได้ครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของ อาณาจักรหิมาลัย หนึ่งในประเทศยากจนที่สุด
ความขัดแย้งได้เพิ่มสูงขึ้นเมื่อปที่แล้ว เมื่อกษัตริย์ กิเนนทรา ล้มรัฐบาลและเข้าใช้อำนาจอย่างสัมบูรณ์หลังจากกล่าวหานักการเมืองกำลังทำลายประเทศ
เขาสัญญาว่าจะฟื้นฟูประชาธิปไตยในปี 2551 และจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นเป็นขั้นตอนแรก แต่พรคการเมืองใหญ่บอยคอตการเลือกตั้ง 8 กุมภาพันธ์ ให้พวกเขาล้มเลิกโดยกษัตริย์ใช้ระบบของพระองค์และกลุ่มประชาธิไตยข้างเคียง
ผู้สมัครหลายร้อยคนถอนตัวจากการเลือกตั้งตามการข่มขู่ของฝ่ายกบฎจะทำร้ายพวกเขา
ความขัดแย้งทำลายการท่องเที่ยว แหล่งรายได้สำคัญสำหรับประเทศที่ประชาชนร้อยละ 42 ดำรงชีพต่ำกว่าเส้นยากจน
ถอนรากโดยสงคราม
ไม่มีตัวเลขแน่นอนสำหรับจำนวนประชาชนที่ได้รับผลจากสงคราม สหประชาชาติประมาณจำนวนประชาชนพลัดถิ่นฐานระหว่าง 100,000 - 200,000 คน จำนวนมากอาศัยอยู่ในชุมชนแออัด มีความต้องการช่วยเหลืออาหาร สุขภาพ และการศึกษา
ประชาชนประมาณ 2 ล้านคนข้ามพรมแดนไปอาศัยอยู่ในอินเดียในหลายปีที่ผ่านมา
ประชาชนพลัดถิ่นฐานภายในรวมถึงชาวนาผู้เป็นเจ้าของที่ดิน สมาชิกพรรคและครอบครัวถูกบังคับให้ละทิ้งหมู่บ้านต้องหางานทำหลังจากที่อยู่อาศัยถูกทำลายจากสงคราม
ตามรายงานของสหประชาชาติ บางหมู่บ้านที่สูงสูญเสียร้อยละ 80 ของประชากรเหลือเพียงกลุ่มอ่อนแอ เช่น ผู้สูงอายุ ทิ้งไว้เบื้องหลัง
องค์กรผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ UNHCR กล่าวว่าผู้ลี้ภัยชาวภูฐานประมาณ 105,000 คนอาศัยในค่ายที่เนปาลถูกถอนสัญชาติและขับไล่จากภูฐานในช่วงต้นทศวรรษ 1990 มีชาวธิเบตลี้ภัยประมาณ 20,000 คน
การนองเลือด
ความรุนแรงเพิ่มขึ้นหลังจากการยึดอำนาจจากกษัตริย์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2548 กองทัพกล่าวว่าประชาชน 2,000 คนถูกฆ่าปีที่แล้วเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราเฉลี่ย 1,200 คนในปีที่ผ่านมา
ชาวหมู่บ้านมักจะว่าตัวเองอยู่ตรงกลางระหว่างความขัดแย้ง กลุ่มลัทธิเหมาข่มขู่ที่จะลงโทษพวกเขาถ้าปฏิเสธให้ที่พักพิง แต่ถ้าพวกเขาให้ที่พักกับกลุ่มลัทธิเหมา พวกเขาต้องถูกโจมตีจากกองกำลังความมั่นคงของรัฐ
นักวิเคราะห์กล่าวว่ากลุ่มลัทธิเหมากำลังตั้งเขตปกครองเพิ่มขึ้นในหลายส่วนของชนบทเนปาล พวกเขาลักพาพลเรือนอย่างปกติและหลายพื้นที่พวกเขาบังคับแต่ละครอบครัวอย่างน้อยต้องเข้าร่วม 1 คน ชาวหมู่บ้านบางคนได้ย้ายเข้าเมืองหลังจากที่อยู่อาศัยถูกทำลายโดยกลุ่มลัทธิเหมา
การประมาณพื้นที่ชนบทอยู่ภายใต้การควบคุมของกลุ่มลัทธิเหมาแปรผันจากเกือบครึ่งหนึ่ง (UNICEF) ถึงร้อยละ 80 (Refugees International) รัฐบาลยังคงควบคุมเมืองไว้ได้
กลุ่มเฝ้าระวังได้จัดรูปการป้องกันตัวเองจากกลุ่มลัทธิเหมาหลายกลุ่มได้รับการสนับสนุนโดยตรงหรือโดยอ้อมจากกองกำลังความมั่นคง ตามรายงานของสหประชาชาติ หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นรายงานเหตุการณ์สังหารผู้ชุมนุมและการกระทำรุนแรงกับ ประชาชนถูกสงสัยว่าเป็นผู้สนับสนุนกลุ่มลัทธิเหมา
ความขัดแย้งและเด็ก
เด็กประมาณ 8,000 คนต้องสูญเสียผู้ปกครอง 1 คนหรือทั้งคู่ตั้งแต่เริ่มต้นกบฎกลุ่มลัทธิเหมา เด็กอย่างน้อย 375 คนถูกฆ่าโดยทั้งกองกำลังรัฐบาลและกลุ่มลัทธิเหมา
ตามรายงาน กองทุนเด็กสหประชาชาติ UNICEF เด็กอายุต่ำกว่า 16 ปีในพื้นที่ควบคุมของฝ่ายกบฎได้รับการฝึกทำสงครามกองโจร UNICEF ได้รับรายงานว่ากลุ่มลัทธิเหมาใช้เด็กทำอาหารและลำเลียงใกล้แนวหน้า
การเดินทางเยี่ยมเขตใจกลางกลุ่มลัทธิเหมาเมื่อปีที่แล้ว คณะผู้สื่อข่าว Reuters เห็นเด็กมากกว่า 10 ปีแบกปืนไรเฟิลเก่าและเป็นสมาชิกกองทหารของกลุ่มลัทธิเหมา แหล่งข่าวท้องถิ่นกล่าวว่าเด็กอายุประมาณ 14 - 15 ปีได้รับคัดเลือกไปสู่หน่วยรบแนวหน้าใน "กองทัพปลดแอกประชาชน"
ความรุนแรงได้ทำลายระบบการศึกษา UNICEF กล่าวว่า กลุ่มลัทธิเหมาสังหารและข่มขู่ครูและลักพาตัวเด็กหลายพันคน
การรบได้ขัดขวางขีดความสามารถในให้บริการสาธารณสุข เด็กต่ำกว่า 5 ขวบมากกว่าครึ่งมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ตามรายงานโครงการพัฒนาของสหประชาชาติ
การคุกคามสิทธิมนุษยชน
เนปาลมีจำนวนผู้สูญหายมากที่สุดในโลก ตามรายงานของ Human Rights Watch ส่วนใหญ่ถูกนำไปโดยกองกำลังความมั่นคงแห่งชาติ
The National Human Rights Commission (NHRC) ซึ่งติดตามการสูญหายอย่างใกล้ชิด มีเอกสารรายงาน 662 กรณีระหว่าง พฤศจิกายน 2543 ถึง พฤศจิกายน 2546
International Crisis Group กล่วว่า กองกำลังของรัฐละเมิดผู้ต้องหา ลงโทษนอกขบวนการยุติธรรมและควบคุมไม่ถูกต้อง
ในอีกด้านหนึ่ง กลุ่มลัทธิเหมาประหารชีวิตและคุกคามพลเรือน ตามรายงานของ Human Rights Watch เหยื่อถูกสงสัยว่าเป็นสายลับของรัฐบาล นักเคลื่อนไหวการเมืองท้องถิ่น เจ้าหน้าที่รัฐท้องถิ่น และบุคคลทั่วไป ผู้ปฏิเสธคำสั่งจากกลุ่มลัทธิเหมา
กลุ่มลัทธิเหมาได้ประหารชีวิตทหารและเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกหน้าที่ บ่อยครั้งที่จับตัวพวกเขาเมื่อพวกเขาเดินทางกลับบ้าน
ตามปกติ ฝ่ายกบฎรายงานให้ครอบครัวทราบถึงการสังหารและข่มขู่พวกเขาด้วยการปฏิบัติ เดียวกันถ้าฝ่าฝืนคำสั่งคำสั่งของกลุ่มลัทธิเหมา
เดือนพฤษภาคม 2548 สหประชาชาติ จัดตั้งสำนักงานสิทธิมนุษยชนในเนปาลติดตามและสืบสวนการละเมิดสิทธิมนุษยชน นี่สำนักงานใหญ่อันดับที่ 2 ของ OHCHR ในโลก
เจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์ต่อสู้เพื่อการเข้าถึง
เจ้าหน้าที่รัฐบาลและเจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์นานาชาติพบว่ายากจะเข้าถึง พื้นที่ภายใต้การควบคุมโดยกลุ่มลัทธิเหมาหรือเข้าสู่ความขัดแย้ง สิ่งนี้ทำให้เกิดยากลำบากสำหรับพวกเขาในการรวบรวมสารสนเทศ ส่งมอบความช่วยเหลือและให้บริการสาธารณสุขพื้นฐานและการศึกษา
สหประชาชาติกล่าวว่ามีหลายกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนท้องถิ่นในเนปาล แต่พวกเขาต้องการสนับสนุนอย่างเข้มแข็งทางสากลเพื่อส่งมอบการช่วยเหลือทาง ด้านมนุษยธรรม
Asian Human Rights Commission เตือนว่ารหัสของการนำไปสู่การอภิปรายในเนปาลจะครอบคลุมถึงเสรีภาพขององค์กรพัฒนาเอกชนโดยนำพวกเขาภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดจากรัฐบาล จำกัดการช่วยเหลือนานาชาติให้พวกเขาสามารถได้รับและป้องกันเจ้าหน้าที่ของ พวกเขาจากการเข้าร่วมกับพรรคการเมือง
มีองค์กรพัฒนาเอกชนนานาชาติ 46 องค์กรในเนปาล รัฐบาลจำกัดพวกเขาให้มีเจ้าหน้าที่ 1 คนต่อ 1 องค์กร
วิกฤติการณ์ทางการเมือง
หลังจากการเข้ายึดอำนาจเมื่อปีที่แล้ว กษัตริย์จำกัดเสรีภาพพลเมืองและเพิ่มการควบคุมกฏการเซ็นเซอร์สื่อ นักการเมืองถูกกุมขังและควบคุมการประท้วง
เหตุผลหลักของกษัตริย์สำหรับการยึดอำนาจ คือ รัฐบาลล้มเหลวในการจัดการกลุ่มลัทธิเหมาหรือจัดการเลือกตั้ง
เดือนพฤศจิกายน ผู้นำพรรคการเมือง 7 พรรคได้วางตัวอยู่ข้างกลุ่มลัทธิเหมาที่พวกเขาไม่ไว้วางใจด้วยการประกาศเห็นด้วยในการล้ม "ระบบสมบูรณาสิทธิราช"
กลุ่มลัทธิเหมาได้ปรากฎตัวในชัยชนะทางเมืองในเมืองหลวงในเดือนกันยายน เมื่อพวกเขาประกาศหยุดยิงฝ่ายเดียว แต่ได้สิ้นสุดลงในปีนี้หลังจากรัฐบาลล้มเหลวในการปฏิบัติข้อเสนอ
ประชาชนโกรธแค้นกษัตริย์ได้รวมตัวหลายหมื่นคนประท้วงบนท้องถนน ประชาชนสนทนาอย่างเปิดเผยในที่สาธารณะ ขณะที่ตามความคิดเชื่อว่ากษัตริย์เนปาลเป็นสมมติเทพ
นักเคลื่อนไหวหลายร้อยคนถูกควบคุมตัวจากแผนการประท้วงในเดือนมกราคมรัฐบาลพระราชทานประกาศเคอร์ฟิวและตัดสายโทรศัพท์เพื่อป้องกันการเดินขบวนขนาดใหญ่
การเลือกตั้งเทศบาลเนปาลครั้งแรกในรอบ 7 ปี แต่พรรคการเมืองกระแสหลักบอยคอตและกลุ่มลัทธิเหมาขู่ว่าล้มการเลือกตั้งที่ทำขึ้นเพื่อขโมยความน่าเชื่อของพวกเขา
ใครคือกบฏและต้องการอะไร
กลุ่มกบฎประกอบด้วยอดีตสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์เนปาลที่ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1949 (พ.ศ.2492) พวกเขาได้รับเรียกว่ากลุ่มลัทธิเหมาเพราะพวกเขาอ้างถึงอุดมการจากการปฏิวัติจีนนำโดยเหมาเจ๋อตง
กลุ่มลัทธิเหมาเข้าร่วมการจัดตั้งรัฐบาลหลายพรรคแรกของเนปาลในปี 1990 แต่แยกออกในปี 1995 เมื่อภายในพรรคแตกแยก ปีต่อมา ภายใต้ชื่อใหม่ พรรคคอมนิวนิสต์เนปาล-กลุ่มลัทธิเหมา กลุ่มนี้เปลี่ยนไปสู่การใช้ความรุนแรงและยุทธวิธีสร้างความหวาดกลัวเพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเมือง
คำเรียกร้องของกลุ่มลัทธิเหมาคือล้มรัฐธรรมนูญราชาธิปไตย พวกเขาต้องการขับไล่อิทธิพลอินเดียทั้งหมดและล้มล้างลักษณะพิเศษที่มีพื้นฐานบนระบบฮินดู จริยธรรมและเพศ
ความเห็นของผู้นำกบฎอาวุโสระหว่างการให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ Kantipur ของเนปาลเสนอแนะว่ากลุ่มลัทธิเหมาสามารถลดเป้าหมายคัดค้านราชาธิปไตย Associated Press อ้างคำพูดผู้นำตามการพูดที่พวกเขาจะยอมรับราชาธิไตย ถ้าประชาชนพอใจที่จะรักษาไว้
เหมือนการล้อเลียน ผู้นำการเคลื่อนไหวหลายคนมาจากชนชั้นบนรวมถึงหัวหน้าการเคลื่อนไหว Pushpa Kamal Dahal ชื่อจัดตั้ง Prachanda ซึ่งหมายถึง "ผู้โหดร้าย" และผู้บัญชาการอันดับที่ 2และหัวหน้ากลุ่มอุดมการ Baburam Bhattarai
ธรรมชาติผู้นำของผู้นำกลุ่มลัทธิเหมามีความจริงบางสิ่งของความน่าเชื่อถือ ถึงแม้ว่า กลุ่มลัทธิเหมาแสดงบทบาทบนชาติพันธุ์และสังคมเศรษฐกิจรุนแรง รวมถึงการปฏิรูปที่ดิน และความแตกแยกของประชาชน พวกเขาไม่พอใจกับการสนับสนุนจากชนชั้นล่าง
ใครสนับสนุนกบฎ
นักวิเคราะห์กล่าวว่ากลุ่มลัทธิเหมาได้รับประโยชน์จากสถานการณ์ของประเทศ
การเป็นประเทศด้อยพัฒนาของเนปาลเป็นปัจจัยที่ให้คนจนให้การสนับสนุนผู้ตำหนิรัฐบาลถึงความล้มเหลวในการแก้ไขความไม่เท่าเทียมระดับรากหญ้า พื้นที่ในการควบคุมของกลุ่มลัทธิเหมาเป็นเขตไม่สามารถเข้าถึงและยากจนในเนปาล
แต่โดยทั่วไป ประชาชนวงกว้างผู้เผชิญกับมรสุมเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานสูง และความไม่เท่าเทียมกันทางการศึกษาและสุขอนามัยได้เปลี่ยนไปหวังกับกลุ่มลัทธิเหมา
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่ากลุ่มลัทธิเหมามีนักรบประมาณ 10,000 - 15,000 คน พวกเขามุ่งสู่การโจมตีสถานีตำรวจและสำนักงานรัฐบาล แต่รวมถึงเป้าหมายสายลับตำรวจ เจ้าที่ดินและพลเรือนอื่น
พวกเขาวางระเบิด ตัดสายโทรศัพท์และสายไฟฟ้า ขัดขวางเศรษฐกิจและการขนส่งของกัฑมาณธุ
http://www.thaiindy.org/region/region_title_details.php?cont_id=asiaso&title_id=asiaso200602050&row_order=17&page=2
--------------------------------------------------------------------------------
เนปาล การประท้วงทั่วประเทศถึงแม้ว่ารัฐบาลเตือน
IRIN, alertnet.org, 8 เม.ย. 2549
กัฑมาณธุ (IRIN) - ผู้ประท้วงมากกว่า 500,000 คนเข้าร่วมการเดินขบวนประชาธิปไตยทั่วทั้งเนปาล เมื่อวันเสาร์ (7 เม.ย. 2549) ถึงแม้ว่าการจำกัดอย่างมากโดยรัฐบาลเพื่อป้องกันการประท้วงทางการเมืองต่อต้านกษัตริย์ กิเนนทรา
3 วันที่ผ่านมา พรรคฝ่ายค้านหลัก 7 พรรคได้จัดการนัดหยุดงานและเดินขบวนอย่างสันติทั่วประเทศเพื่อบังคับให้กษัตริย์สละพระราชอำนาจเหนืออาณาจักรหิมาลัย ซึ่งเขาได้ปกครองโดยตรงด้วยการตั้งคณะรัฐมนตรีพระราชทานตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2548 หลังจากหยุดรัฐบาลประชาธิปไตย
กองกำลังติดอาวุธขนาดใหญ่ได้รับอนุญาตให้ใช้กำลังควบคุมการประท้วงอย่าง สันติ
ตามรายงานของกลุ่มสิทธิมนุษยชนท้องถิ่นกล่าวว่า นักเคลื่อนไหวทางการเมืองมากกว่า 1,000 คนถูกจับและหลายร้อยคนบาดเจ็บในช่วง 3 วันที่ผ่านมา
ขณะที่ 18 องค์กรสิทธิมนุษยชนและพันธมิตร ตลอดจนถึงสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติซึ่งได้สังเกต การณ์การประท้วงแสดงความรู้สึกห่วงใยอย่างมากถึงการใช้กำลังมากเกินกว่าเหตุ โดยตำรวจและทหารต่อต้านการประท้วง
"เราขอเรียกร้องให้เคารพสิทธิการประท้วงอย่างสันติที่ให้โดยปฏิญญาสิทธิ พลเรือนและการเมือง และ (รัฐบาล) ให้ท้ายการกระทำกับบุคลากรด้านความมั่นคง" Subodh Raj Pyakhurel นักเคลื่อนไหวผู้มีชื่อเสียง ผู้เพิ่มเติมว่าการกระทำของรัฐบาลต่อผู้ประท้วงที่มีแต่มือเปล่า จากการที่บุคลากรทางความปลอดภัยใช้ก๊าซน้ำตาและกระสุนกับผู้ประท้วง
ในวันเสาร์ (8 เม.ย.2549) Bhimsen Thapa นักเคลื่อนไหวทางการเมืองถูกยิงโดยทหารใน Pokhara เมืองใหญ่อันดับที่ 2 ของประเทศ 200 กิโลเมตรทางตะวันตกของเมืองหลวง เมื่อวันศุกร์ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง 2 คนตายจากการบาดเจ็บหลังจากถูกตีอย่างรุนแรงโดยตำรวจปราบจราจล ตามแถลงการณ์ของพรรคเอกภาพมาร์ก-เลนิน (Unified Marxist Lennist) พรรคการเมืองใหญ่อันดับที่ 2 ของประเทศ
ในเมืองหลวงรัฐมนตรีมหาดไทยประกาศเคอร์ฟิวนาน 1 วันและงดให้บริการโทรศัพท์มือถือเพื่อทำลายแผนการประชุมขนาดใหญ่ของพรรคฝ่ายค้าน
นักเคลื่อนไหวสิทธิ ครู แพทย์ และนักกฎหมาย 30 คนถูกจับขณะที่รัฐบาลได้มีคำสั่งช่วงเช้าวันเดียวกัน Nepalnews สำนักข่าวท้องถิ่นรายงาน ในกลุ่มผู้ที่ถูกจับมีผู้นำทางด้านสิทธิมนุษยชนผู้มีชื่อเสียง คือ Daman Nath Dhungana, Padma Ratna Tuladhar และ Charan Prasai
http://www.thaiindy.org/region/region_title_details.php?cont_id=asiaso&title_id=asiaso200604080&row_order=16&page=2
-------------------------------------------------------------------------
เนปาล : สัมภาษณ์ผู้นำอาวุโสกลุ่มลัทธิเหมา Ram Bahadur Bhandari
IRIN, alertnet, 1 พ.ค. 2549
KATUNJE, 1 พฤษภาคม - เวลานานเป็น 10 ปี กบฏลัทธิเหมาเนปาลได้ปลุกการต่อสู้ด้วยอาวุธโค่นล้มระบบกษัตริย์และก่อตั้ง รัฐคอมมิวนิสต์ในราชอาณาจักรหิมาลัย
กษัตริย์ กิเนนทรา ยึดอำนาจอย่างสัมบูรณ์เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2548 ด้วยความหงุดหงิดกับการที่รัฐบาลไม่สามารถควบคุมกบฎ ที่มีต้นทุนชีวิตชาวเนปาลอย่างน้อย 13,000 คน สัปดาห์ที่แล้วกษัตริย์ประกาศยุติการปกครองโดยตรงและฟื้นฐานะรัฐสภาจากการ ประท้วงทั่วทั้งประเทศที่นำโดยพรรคฝ่ายหลัก 7 พรรคและกลุ่มลัทธิเหมา
กบฎผู้ประกาศหยุดยิง 3 เดือน ปัจจุบันได้เชิญอาวุธของพวกเขาและเข้าร่วมกระบวนการทางการเมือง ผู้นำอาวุโสกลุ่มลัทธิเหมา Ram Bahadur Bhandari มีฐานในหมู่บ้านห่างไกลในการควบคุมที่ Katunje 150 กิโลเมตรทางตะวันตกของเมืองหลวง กัฑมาณธุ ได้พูดเป็นเฉพาะกับ IRIN เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของเขา ปัจุบันวิกฤติทั่วประเทศมาจากที่นั่น
ถ : ท่านมองความเป็นไปได้ของทางออกทางเมืองจากวิกฤติการณ์ในเนปาลอย่างไร?
ต : จุดหลักของเราคือ ถ้าผู้นำพรรคพันธมิตร 7 พรรคใช้เราเป็นอาวุธต่อต้านกษัตริย์ จากนั้นเราจะต่อสู้ทางการเมืองต่อเนื่องเพื่อปลดปล่อยประชาชนเนปาลจากความถด ถอยทุกรูปแบบ
ถ : ดังนั้น พลเรือนเนปาลจะมีความอดทนความรุนแรงมากขึ้น?
ต : ไม่ ตั้งแต่ความถดถอยของกษัตริย์ไม่มได้ปกครองอีกแล้ว เราจะยังคงใช้สันติวิธีมากขึ้น ถ้ามีความรุนแรงเกิดขึ้นจากฝ่ายเรา จะเป็นการตอบโต้ความรุนแรงโดยระบบปกครองที่ถดถอย
ถ : อะไรเป็นสิ่งท้าทาย ถ้าท่านเข้าการเมืองกระแสหลัก?
ต : เป้าหมายหลักของเราคือ การจัดตั้งรัฐบาลรักษาการณ์พร้อมกับตัวแทนจากกลุ่มลัทธิเหมา ตัวแทนของรัฐบาลนี้จะได้รับเลือกโดยประชาชนเนปาลและตัวแทนจะร่างรัฐธรรมนูญ ใหม่ให้นำไปสู่รูปแบบประชาธิปไตยของประชาชนสมบูรณ์แบบ เมื่อพวกเขาบรรลุแล้ว จะไม่มีความท้าทายที่ยากลำบาก
ถ : ท่านมีข้อคิดเห็นสำหรับมาตรการสร้างความเชื่อถือระหว่างกลุ่มลัทธิเหมากับ กองทัพเนปาล (RNA)?
ต : ประการแรก การหยุดยิงจะเริ่มต้นกระบวนการสร้างกองทัพแห่งชาติของเนปาล ทั้งกลุ่มลัทธิเหมาและ 7 พรรคการเมืองจะทำงานร่วมกันเพื่อจัดรูปการรวม RNA และ PLA (กองทัพปลดแอกประชาชนเนปาล) สิ่งสำคัญมาก เราต้องการความซื่อสัตย์และความเชื่อมั่นจากองค์กรระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ้เพื่อช่วยจัดการรวมให้เป็นไปได้ มีอันตรายจากสงคราม ถ้ากองทัพทั้ง 2 แยกกัน
ถ : อะไรประกันว่าท่านสามารถให้พลเรือนด้านสิทธิมนุษยชนได้รับการเคารพ ในยุคใหม่ของความเข้าใจในเนปาล?
ต : เราไม่เพียงแต่ประนาม การละเมิดสิทธิมนุษยชนแต่รวมถึงการทำงานสนับสนุนมนุษยภาพและสิทธิมนุษยชน แนนอนมีความรุนแรงจากฝ่ายของเรา รวมถึง การทรมานจากสารมสนเทศที่ออกไป แต่เราเชื่อมั่นหนักแน่นว่าเราต้องเคารพกฎหมายสิทธิมนุษยชนสากล เราต้องตอบคำถาม ถ้าเรามีอำนาจมากเกินไป ถ้าเราต้องได้รับความเชื่อถือจากชุมชนนานาชาติ จากนั้นเราต้องทำตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากล และเราจะไม่ลืม
ถ : รายงานหลายฉบับบอกว่า ประชาชนเนปาลมากกว่า 100,000 คนต้องพลัดที่อยู่เนื่องจากการก่อการของท่าน เรามีแผนช่วยเหลือประชาชนกลับไปสู่ที่อยู่เดิม?
ต : ผมไม่คิดว่าเราควรได้รับการตำหนิทั้งหมดสำหรับการพลัดที่อยู่ของประชาชน มีรายงานผิดพลาดที่มาจากความหวาดกลัวและการขู่แต่นั่นไม่ใช่ความจริง เราเพียงแต่กระทำการพวกนั้นรวมถึงการต่อต้านอาญากรสังคม แน่นอนมีชาวบ้านผู้บริสุทธิ์ผู้พลัดที่อยู่เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่พรรคบางคน แต่เรากระทำต่อต้านพวกนั้นที่เกี่ยวข้องกับการตามล่าประชาชนผู้บริสุทธิ์และ ขับไล่พวกเขาจากบ้าน เราได้เดินทางขอโทษกับประชาชนที่สมาชิกของเราเกี่ยวข้อง เช่นเป้าหมายเป็นประชาชนผู้บริสุทธิ์ แต่ไม่ว่าสาเหตุอะไร เราพร้อมจะรวมพวกเขาและส่งกลับบ้าน ซึ่งเราทำมาในอดีต
ถ : เรื่องเกี่ยวกับชาย หญิง และเด็ก ผู้บริสุทธิ์ที่ถูกสังหารในระหว่างสงคราม?
ต : ความมุ่งหมายของเราไม่มีเคยมีเป้าหมายเป็นประชาชนผุ้บริสุทธิ์ แต่เป้าหมายเป็นหน่วยของศัตรู เป้าหมายของเราไม่ใช่การฆ่าทหารรัฐบาลหรือตำรวจ แต่ถ้าพวกเขาเข้ามาเป็นโล่ห์ให้กับรัฐบาลปฏกิริยา พวกเขาจะเป็นเป้าหมาย ถ้าพลเรือนถูกฆ่า นี่จะทำร้ายหัวใจของเราและมีผลกับเราอย่างเลวร้าย เราได้อะไรจากการฆ่า เรารู้ว่าการตายทำให้เราสูญเสียการสนับสนุน?
ถ : เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชนและการพัฒนาหลายคนพูดว่าพวกเขาได้รับการคุ้ม ครองการทำงานโดยเจ้าหน้าที่กลุ่มลัทธิเหมา ท่านสามารถพูดว่าการเคลื่อนไหวของท่านกำลังสนับสนุนการทำงานในพื้นที่ควบคุม ของท่าน?
ต : เราสนับสนุนความคิดนี้ถึงแม้ว่าระหว่างสงคราม งานพัฒนาควรมีต่อไป แต่น่าเสียใจอย่างยิ่งเมื่อได้ยินว่า เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชนจำนวนมากตำหนิเราที่ทำให้กิจกรรมของพวกเขาไม่ เกิดขึ้น เราไม่เคยพูดว่าเราต่อต้านการพัฒนา เราค้นพบว่าสื่อสากลบางรายและองค์กรทางการเมืองบางแห่งได้กระจายข่าวเท็จออก ไปว่าเราต่อต้านการพัฒนาและเราพอใจความรุนแรง เราถูกกล่าวหาว่าทำลายถนน ระเบิดโรงเรียน และสถานีอนามัย ทำไมไม่ถามเจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชนนานาชาติและท้องถิ่นว่า ทำไมพวกเขาทำงานได้สำเร็จและทำโครงการได้ผลโดยปราศจากปัญหาในดินแดนใจกลาง ของเรา? นอกจากนี้ เรายินดีต้อนรับหน่วยงานความช่วยเหลือเพื่อการลงทุนในเนปาลมากเท่าที่พวกเขา สามารถทำได้โดยปราศจากความกังวลจากพวกเรา
http://www.thaiindy.org/region/region_title_details.php?cont_id=asiaso&title_id=asiaso200605010&row_order=15&page=2
----------------------------------------------------------------------------
The Visible Man 2006#1 : "กษัตริย์คเยนทรา" ไม่มีอำนาจใดในโลกหล้า ผู้ปกครองต่างมาแล้วสาบสูญ
Wed, 2006-12-27 23:29
...
"กษัตริย์คเยนทรา"
ไม่มีอำนาจใดในโลกหล้า ผู้ปกครองต่างมาแล้วสาบสูญ
กษัตริย์ คเยนทราแห่งเนปาล ผู้เป็นสมมติเทพ "พระวิษณุปางอวตาร" บัดนี้กำลังตกที่นั่งลำบาก
(ที่ มาของภาพ : Getty Image)
ท่านที่ติดตาม ประชาไทเป็นประจำ ย่อมเห็นพระนามของกษัตริย์คเยนทรา (Gyanendra) หรือ คเยนทรา วีระ วิกรม ชาหะเทวะ (Gyānendra Vīra Vikrama Śāhadeva) ปรากฏเป็นข่าวในประชาไทและกลายเป็นข่าวร้อนบ่อยครั้ง เนื่องจากไม่เพียงแต่มีผู้อ่านเข้ามาร่วมแสดงความเห็นเท่านั้น แต่ด้วยเนปาลเองที่ยามนี้กำลังร้อน เพราะต้นปีมานี้มีการชุมนุมประท้วงจนกระทั่งพระองค์ต้องสละพระราชอำนาจตาม ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เมื่อเดือนเมษายน และขณะนี้การเมืองเนปาล "สมานฉันท์" เพราะกำลังจะมีการปฏิรูปการ เมือง มี "สมัชชาแห่งชาติ" เพื่อ ร่างรัฐธรรมนูญสำหรับเนปาลใหม่
อันที่จริงแล้ว ทั้งไทยและเนปาลมีความคล้ายคลึงกันตรงที่เป็นไม่กี่ประเทศที่มีสถาบันพระมหา กษัตริย์ มีความเชื่อดั้งเดิมว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพมาปราบยุคเข็ญ ไทยเชื่อว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ เนปาลก็เชื่อตามคติฮินดูว่าแท้จริงแล้วกษัตริย์เนปาลคือปางอวตารของวิษณุเทพ อันเป็นคติแต่โบราณของผู้คนในชมพูทวีป
เพียงแต่ท่ามกลาง วิกฤตกาลทางการเมืองวิธีการคลี่คลายปัญหาของ 2 ประเทศนั้นก็ต่างกันเหมือนหน้ามือกับหลังมือ
คเย นทรา และ ความวุ่นวายทางการเมืองในเนปาล
สำหรับกษัตริย์ คเยนทราประสูติเมื่อ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2490 ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนของชาวคริสต์ในเมืองดาจีลิง (Darjeeling) ประเทศอินเดีย พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ.2544 ต่อจากกษัตริย์พิเรนทรา (King Birendra Bir Bikram Shah Dev) ผู้เป็นพระเชษฐา ซึ่งครองราชย์ตั้งแต่ปี 2515 ก่อนจะสิ้นพระชนม์ในเหตุการณ์ "สังหารโหดในพระราชวัง" (the Palace Massacre) ในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2544 ที่เจ้าชายดิเพนทราพระโอรสซึ่งเสวยน้ำจัณฑ์จนเมามายได้กราดยิงพระองค์และพระ บรมวงศานุวงศ์รวม 10 พระองค์จนสิ้นพระชนม์ก่อนที่เจ้าชายดิเพนทราจะปลงพระชนม์ตัวเองตาม
โดยพื้นฐานทางการ เมืองของเนปาลเองปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นเวลายาวนาน ก็เพิ่งจะมีประชาธิปไตยหลังจากขบวนการ "จัน อันโดลัน" (Jan Andolan Movement) หรือแปลเป็นไทยว่าขบวนการประชาชน ได้บีบให้กษัตริย์พระองค์ ก่อนคือพิเรนทรายอมปฏิรูปการเมือง และพระราชทานรัฐธรรมนูญในเดือนพฤษภาคมปี พ.ศ.2534 ทำให้เนปาลมีรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยมีกิริยา ปราสาท กัวราลา (Girija Prasad Koirala) จาก พรรคคองเกรสเนปาล (Nepali Congress Party) ชนะการเลือกตั้งเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี
แต่การเมืองเนปาล ก็เข้าสู่สภาพไร้เสถียรภาพเพราะเกิดสงครามกลางเมืองระหว่างกองทัพของรัฐบาล กับพรรคคอมมิวนิสต์เนปาล (เหมาอิสต์) หรือกบฏลัทธิเหมานำโดยสหายประจันดา (Prachanda) ที่จับอาวุธสู้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 จนฝ่ายกบฏมีฐานที่มั่นอยู่ใน 50 จังหวัดจาก 75 จังหวัดของเนปาล และสงครามกลางเมืองก็ได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 12,500 ราย
การ แทรกแซงของพระราชอำนาจแบบเนปาลๆ
ดังนั้น เมื่อเกิดเหตุการณ์ "สังหารโหดในพระราชวัง" (the Palace Massacre) และกษัตริย์คเยนทราทรงขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ.2544 การเมืองเนปาลก็ยิ่งไร้เสถียรภาพเข้าไปอีก เพราะพระองค์อ้างเหตุความไม่สงบในเนปาลเข้าแทรกแซงการเมืองระบอบรัฐสภาอันมี พระมหากษัตริย์เป็นประมุขของ อาทิทำการปลดและแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีด้วยพระองค์เองรวม 5 ครั้งช่วงปี 2544 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2548 ก่อนที่พระองค์จะยึดอำนาจการปกครองของเนปาลมาอยู่ที่พระองค์เองในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548 โดยพระองค์อ้างเหตุผลการยึดอำนาจว่าเพราะนายกรัฐมนตรีคนก่อนบริหารราชการ แผ่นดินบกพร่องในเรื่องการเตรียมการเลือกตั้งและไม่สามารถสร้างความสงบเรียบ ร้อยขึ้นมาในบ้านเมืองได้ โดยพระองค์สัญญาว่าจะคืน "ความ สงบเรียบร้อยและประชาธิปไตยที่มีประสิทธิภาพ" ภายในเวลา 3 ปี
นอกจากนี้พระองค์ ยังตัดสินพระทัยจำกัดเสรีภาพของประชาชนรวมไปถึงเสรีภาพในการนำเสนอของสื่อ มวลชน มีการจับกุมนักการเมือง นักเคลื่อนไหวที่เห็นต่างจากพระองค์ ทำให้องค์กรสิทธิมนุษยชนและองค์กรประชาธิปไตยในประเทศกังวลต่อสถานการณ์ใน เนปาลโดยเฉพาะกับนักข่าวและนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนของเนปาล แต่กษัตริย์คเยนทราก็ทรงตอบโต้องค์กรต่างประเทศเหล่านั้นว่า "ประชาธิปไตย และเสรีภาพที่ก้าวหน้าทั้งหลายจำเป็นน้อยกว่าการฟื้นฟูความสงบเรียบร้อยภาย ในประเทศ!"
พลัง ซุบซิบเรื่อง "เจ้า" ในเนปาล
นอกจากความไม่พอ ใจในตัวกษัตริย์เนปาลจะเกิดเพราะการเข้ายึดอำนาจของกษัตริย์คเยนทราพแล้ว สิ่งที่ช็อกความรู้สึกชาวเนปาลอีกประการหนึ่งคือการที่คณะลูกขุนของรัฐบาล ตัดสินว่าเจ้าชายดิเพนทรา (Prince Dipendra) พระโอรสของ กษัตริย์พิเรนทรา กษัตริย์พระองค์ก่อน ซึ่งยิงพระองค์เองเสียชีวิต ได้เป็นฆาตกรสังหารพระราชบิดาและพระบรมวงศานุวงศ์ในเหตุการณ์สังหารโหดใน พระราชวังปี 2544 ครั้งนั้น แต่สำหรับเรื่องนี้เป็นการยากที่จะให้ชาวเนปาลทำใจเชื่อได้ แถมกบฏลัทธิเหมายังกระพือข่าวว่ากษัตริย์คเยนทราผู้สืบราชสมบัติต่อนั่นแหละ เป็นตัวการในการสังหารโหดครั้งนั้น
กระแสข่าวทางลบใน ลักษณะนี้ต่อกษัตริย์คเยนทรา ยังคงแพร่กระจายไปทั่วเนปาล ผู้คนต่างตั้งคำถามว่ากษัตริย์คเยนทราหนีออกจากพระราชวังได้อย่างไรในวันที่ เหตุฆาตกรรมหมู่เกิดขึ้น และบุตรชายคนเดียวของพระองค์เจ้าชายพาราช (Prince Paras) หลบออกจากพระราชวังไปได้อย่างไรโดยที่ไม่ได้รับบาดเจ็บแม้แต่รอย ขีดข่วน!?
และยิ่งเจ้าชายพา ราช ผู้สืบทอดราชสมบัติต่อจากพระราชบิดา และสืบราชสมบัติแห่งราชวงศ์ชาห์กลับมีนิสัยชอบขับรถซิ่งและความเจ้าสำราญที่ ชาวเนปาลขนานนามพระองค์ว่า "The playboy" ยิ่งทำให้ความนิยมของ ประชาชนต่อเจ้าชายพาราชผู้สืบทอดราชสมบัติของราชวงศ์ชาห์และทำให้กษัตริย์ คเยนทราไม่เป็นที่นิยมชนิดร้าวลึก
พันธมิตร แห่งแนวต้านอำนาจสมบูรณาญาสิทธิ์
ท่าม กลางอำนาจสมบูรณาญาสิทธิ์ในประเทศ ต่อมาในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2548 พันธมิตร 7 พรรคการเมืองเนปาล (Seven Party
การต่อต้านพระราช อำนาจได้ถึงจุดปะทะเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2549 พันธมิตร 7 พรรคการเมืองจัดการชุมนุมในกรุงกาฐมาณฑุ เรียกร้องประชาธิปไตยและคว่ำบาตรการเลือกตั้งท้องถิ่นที่กษัตริย์คเยนทราจะ จัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ เนื่องจากเห็นว่าการเลือกตั้งดังกล่าวเป็นเพียงมายาภาพที่แสดงให้เห็นว่านี่ เป็นก้าวแรกสู่ประชาธิปไตยเพื่อสร้างความชอบธรรมในการกุมอำนาจเบ็ดเสร็จของ พระองค์ที่ดำเนินมากว่า 1 ปี
โดยรัฐบาลพยายาม สกัดการชุมนุมของประชาชนด้วยการประกาศเคอร์ฟิวห้ามออกจากบ้านในยามวิกาลใน เขตเมืองหลวงและบางพื้นที่ของเนปาล ห้ามการชุมนุมสาธารณะ มีการตัดสัญญาณโทรศัพท์และคุกคามผู้ออกมาต่อต้านการเลือกตั้งดังกล่าว ทำให้การชุมนุมเลื่อนจากวันที่ 20 มกราคม มาเป็นอีกวันหนึ่ง
โดยในวันที่ 21 มกราคม มีการเดินขบวนท้าทายอำนาจของกษัตริย์ครั้งใหญ่โดยประชาชนหลายพันคน ทำให้รัฐบาลของกษัตริย์คเยนทราใช้กำลังปราบปรามอย่างรุนแรง จนมีผู้นำพรรคการเมือง นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน ผู้นำแรงงาน นักศึกษา และนักหนังสือพิมพ์ถูกจับกุมหลายร้อยคน ขณะที่ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่ตอบโต้ด้วยการขว้างปาก้อนหินใส่ตำรวจและทหาร พร้อมเผายางรถยนต์เป็นเครื่องกีดขวาง ซึ่งการปราบปรามครั้งนั้นทำให้การชุมนุมต่อต้านกษัตริย์ปะทุไปทั่วประเทศ
การ ประท้วงใหญ่เดือนเมษายน และการสละพระราชอำนาจสมบูรณาญาสิทธิ์
ในเดือนเมษายน 2549 ภายใต้การนำของพันธมิตร 7 พรรคการเมืองเนปาล (Seven Party Alliance - SPA) และกบฏลัทธิเหมาได้มีการต่อต้าน ครั้งใหญ่เพื่อทวงประชาธิปไตยคืนมาจากกษัตริย์ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน มีการนัดหยุดงานทั่วประเทศเป็นเวลา 4 วันตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน และจัดการชุมนุมใหญ่ในเมืองหลวงวันที่ 8 เมษายน ตามด้วยการดื้อแพ่งด้วยการหยุดจ่ายภาษี เช่นเดียวกับการประท้วงหลายต่อหลายครั้ง รัฐบาลได้ประกาศเคอร์ฟิวห้ามไม่ให้ประชาชนออกมาชุมนุม แต่การชุมนุมประท้วงกลับขยายตัวไปตามเมืองใหญ่ๆ ตลอดทั้งเดือน ทำให้รัฐบาลพยายามควบคุมสถานการณ์ด้วยการใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดสลายการ ชุมนุมกระทั่งมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก จำนวนผู้ออกมาประท้วงเฉพาะในเมืองหลวงพุ่งสูงกว่า 300,000 - 500,000 คน
(บน) ฝูงชนออกมาชุมนุมเผชิญหน้ากับรถถังตามท้องถนน
เมื่อ วันที่ 21 เมษายน ระหว่างการประท้วงใหญ่เดือนเมษายน
(ที่ มาของภาพ : Der Spiegel)
(บน) ฝูงชนส่งเสียงเชียร์ระหว่างการเผาหุ่นกษัตริย์คเยนทรา
(ที่ มาของภาพ : Der Spiegel)
แม้ กษัตริย์เนปาลจะยอมลงจากอำนาจ แต่การเมืองประชาชนของเนปาลก็ยังดำเนินต่อไป
จาก ภาพเป็นการชุมนุมของผู้คนจำนวนมหาศาลกลางกรุงกาฐมาณฑุของกบฏลัทธิเหมา
เมื่อ วันที่ 2 มิถุนายน ที่ผ่านมา
(ที่ มาของภาพ : Fonet)
และ ในวันที่ 21 เมษายนกษัตริย์คเยนทราได้มีพระราชดำรัสว่าจะทรงคืนอำนาจบริหารให้แก่ประชาชน และจะจัดการเลือกตั้งใหม่ให้เร็วที่สุด รวมทั้งขอให้กลุ่มพันธมิตรฯ เสนอชื่อชื่อบุคคลที่เหมาะสมในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อย่างไรก็ตามกลุ่มพันธมิตรฯ และกลุ่มกบฏลัทธิเหมาปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว พร้อมกับนัดชุมนุมใหญ่อีกครั้งในวันที่ 25 เมษายน
กระทั่ง เที่ยงคืนของวันที่ 24 เมษายน กษัตริย์คเยนทราได้ยอมประกาศคืนอำนาจให้ประชาชนผ่านสถานีโทรทัศน์ว่า พระองค์จะฟื้นฟูสภาผู้แทนราษฎรที่ล้มเลิกไปและขอให้พรรคการเมืองทั้ง 7 พรรคกลับมาร่วมรับผิดชอบดูแลประเทศชาติ เพื่อประชาธิปไตยและสันติภาพของชาวเนปาล ทำให้วันรุ่งขึ้นชาวเนปาลจำนวนมากออกมาชุมนุมแสดงความยินดีต่อชัยชนะของ ประชาชนตามท้องถนน
ตลอด การประท้วงใหญ่ 19 วัน มีการปราบปรามโดยกองกำลังรัฐบาลจนมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 19 คน และผู้บาดเจ็บนับพันคน ด้วยเหตุนี้ระหว่างประท้วงจึงทำให้มวลชนตาม ท้องถนนเผาหุ่นของกษัตริย์และประณามกษัตริย์คเยนทราว่าเป็น "ฆาตกร"
เมื่อ ประชาชนทวง "พระราชอำนาจ" คืน
ภาย หลังจากที่สภาถูกฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ นาย
ต่อ มาอดีตรัฐมนตรี 5 คนที่ทำงานให้กษัตริย์คเยนทราก็ถูกจับกุมและสอบสวนกรณีใช้ความรุนแรงปราบ ปรามประชาชนที่ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย นอกจากนี้รัฐบาลชุดใหม่และสภาผู้แทนราษฎรยังได้ดำเนินการลดทอนพระราชอำนาจ อย่างต่อเนื่องทำให้ฐานะของสถาบันกษัตริย์เนปาลกลายเป็นประมุขของประเทศแต่ ในทางพิธีกรรม (Ceremonial Monarchy) เท่านั้น เช่น ห้ามมิให้กษัตริย์มีอำนาจสั่งการกองทัพอีกต่อไป ทั้งนี้กองทัพเคยมีบทบาทในการช่วยกษัตริย์คเยนทรายึดอำนาจด้วยการกราบบังคม ทูลเชิญกษัตริย์คเยนทราขึ้นสู่อำนาจการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การจับนายกรัฐมนตรีและผู้นำพรรคการเมืองต่างๆ ในขณะนั้น มีการเปลี่ยนชื่อกองทัพจากกองทัพในพระมหากษัตริย์เนปาล (Royal Nepalese Army) มาเป็นกองทัพแห่งชาติเนปาล (Nepalese Army)
แถมเพลงชาติเนปาล ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ขึ้นต้นในทำนองว่า "ขอพระ บารมีปกเกล้า, เป็นขวัญอธิปไตย เธอชาวเนปาลผู้กล้า มีมหาราชาธิราชเป็นกษัตริย์ของเรา..." ก็กำลังจะถูก เปลี่ยนอีกด้วย
นอก จากนี้การจัดตั้งสภาความมั่นคงแห่งชาติขึ้นใหม่โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ยุบคณะองคมนตรี ให้สภาฯ มีอำนาจในการออก แก้ไข หรือยกเลิกกฎหมายที่เกี่ยวกับการสืบราชสันตติวงศ์ รวมทั้งจะเก็บรายได้และทรัพย์สินของกษัตริย์กับราชวงศ์อีกด้วย นอกจากนี้รัฐบาลยังประกาศให้เนปาลเป็นรัฐฆราวาส (Secular state) แยกศาสนาออกจากอาณาจักร มิใช่รัฐฮินดูอีกต่อไป
ที่สำคัญหลังการ ประท้วงครั้งใหญ่ในเดือนเมษายนก็ทำให้กษัตริย์คเยนทราก็ไม่ค่อยปรากฏพระองค์ ในสถานที่สาธารณะ รถนำขบวนพระราชวงศ์ซึ่งการเสด็จครั้งหนึ่งต้องปิดถนนและทำให้รถติดในเมือง หลวงเป็นกินนานหลายชั่วโมงรวมทั้งการเสด็จแปรพระราชฐานไปยังชนบทด้วย เฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งก็ถูกยกเลิก
เท่านั้นยังไม่พอ ยังมีการโดดเดี่ยวกษัตริย์คเยนทราในเดือนกรกฎาคม ในงานเลี้ยงฉลองวันเฉลิมพระชนม์พรรษาครบ 59 ปี ซึ่งปีนี้ไม่มีเด็กนักเรียนเป็นจำนวนมากมาร่วมงานเลี้ยงฉลองเหมือนอย่างเคย แถมรัฐมนตรีในรัฐบาลก็ไม่เข้าร่วมงานเลี้ยงดังกล่าว
หยุด ยิง สงบศึก และกระบวนการสันติภาพในเนปาล
หลัง การลงจากอำนาจการปกครองโดยตรงของกษัตริย์คเยนทรา รัฐบาลชั่วคราวประกาศหยุดยิงกับกบฏลัทธิเหมาเป็นการชั่วคราวในวันที่ 3 พฤษภาคม ตามมาด้วยกระบวนการเจรจาสันติภาพ โดยมีการลงนามข้อตกลงในเวลาเที่ยงคืนของวันที่ 8 พฤศจิกายนระหว่างกบฏลัทธิเหมากับรัฐบาล ก่อนที่ในวันที่ 21 พฤศจิกายนจะมีการลงนามสัญญาสันติภาพอย่างเป็นทางการโดนนายกรัฐมนตรีกิริยา ปราสาท กัวราลา ซึ่งภายใต้สัญญาฉบับนี้กบฏลัทธิเหมาจะมีที่นั่งในรัฐบาลเฉพาะกาลนี้ด้วย ขณะที่กำลังอาวุธของฝ่ายกบฏจะถูกควบคุมดูแลโดยสหประชาชาติ
โดย สหายประจันดา อดีตครูประถมผู้ผันตัวไปเป็นผู้นำการปฏิวัติกล่าวว่า "สัญญาแห่งความทรงจำนี้ จะหยุดยั้งระบอบศักดินาเก่าที่ดำเนินมากว่า 238 ปี ยุติซึ่ง 11 ปีแห่งสงครามกลางเมือง พรรคของเราจะทำงานภายใต้ภารกิจใหม่ ภายใต้ความกระตือรือร้นใหม่ เพื่อสร้างเนปาลใหม่"
ส่วน นายกรัฐมนตรีกัวราลากล่าวว่า "ข้อตกลงนี้ จะยุติซึ่งการเมืองแห่งการประหัตประหาร ยุติความรุนแรง ยุติการก่อการร้าย และจะเริ่มต้นใหม่ซึ่งการเมืองแห่งการประสานประโยชน์ ผมอยากขอบคุณประจันดา ซึ่งหาทางออกแห่งวิกฤตด้วยสันติวิธี เนปาลจะเข้าสู่ยุคใหม่ที่มุ่งสู่สันติภาพ บัดนี้เราร่วมมือซึ่งกันและกัน ตลอดจนทำความเข้าใจต่อกันเพื่อทำให้สัญญาสันติภาพนี้ได้รับการนำไปปฏิบัติ รูปธรรมอย่างเต็มที่"
สมัชชา เฉพาะกาลและการเลือกตั้งเพื่อร่างรัฐธรรมนูญ
ภาย ใต้สัญญาสันติภาพ สมัชชาเฉพาะกาลเนปาลจะมีที่นั่งทั้งสิ้น 330 ที่นั่ง แบ่งให้พรรคคองเกรสเนปาล (the Nepali Congress party) พรรคการเมืองใหญ่ที่สุดในประเทศจะได้รับ 75 ที่นั่ง พรรคคอมมิวนิสต์แห่งเนปาล (มาร์กซิสต์-เลนินนิสต์) และพรรคคอมมิวนิสต์เนปาล (เหมาอิสต์) หรือกบฏลัทธิเหมาจะได้รับโควตาพรรคละ 73 ที่นั่งเท่าๆ กัน ส่วนที่นั่งในสมัชชาเฉพาะกาลที่เหลือ ได้รับการจัดสรรให้ 5 พรรคการเมืองต่างๆ ที่เป็นอดีตพรรครัฐบาลผสม
โดย การเมืองเนปาลหลังจากนี้ พันธมิตร 7 พรรคการเมืองและพรรคคอมมิวนิสต์เนปาล (เหมาอิสต์) ได้ร่วมกันร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 16 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยมีใจความสำคัญอยู่ที่การโอนพระราชอำนาจของกษัตริย์ทั้งหมดมาอยู่กับนายก รัฐมนตรี และให้นายกรัฐมนตรีเป็นประมุขของรัฐ นับเป็นครั้งแรกของเนปาลที่ประมุขของรัฐเป็นสามัญชน ซึ่งหลังจากนี้จะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรในเดือน เมษายนปี 2550
ดูเหมือนว่า กษัตริย์คเยนทราจะเสื่อมความนิยม แต่นาย
นี่เป็นข้อสรุป ของนักวิชาการเนปาล เพราะกระแสของผู้คนในเนปาลก็แตกเป็นหลายเสียง เช่น มีนักศึกษาเตรียมจะไปประท้วงการแปรพระราชฐานของกษัตริย์คเยนทราไปยังชนบทที่ อากาศอบอุ่นกว่าในเมืองหลวงช่วงคริสต์มาส-ปีใหม่ ขณะที่มีคนเขียนจดหมายไปหาบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ในเนปาลบอกว่าอยากเชิญ กษัตริย์คเยนทราไปเสวยพระกระยาหารที่บ้าน เพราะตนชื่นชมในแนวทางการปกครองประเทศแบบนี้ เป็นต้น! ซึ่งก็ต้องจับตากันต่อไปว่าหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญของ เนปาลในเดือนเมษายนปี 2550 รัฐธรรมนูญฉบับถาวรจะเปิดกว้างให้ประชาชนมีส่วนร่วมหรือไม่ และสถาบันกษัตริย์จะมีอนาคตเป็นอย่างไร
บท สรุป : สองนคราประชาธิปไตย "สีเหลือง-สีแดง"
หาก ท่านติดตามข่าวสารของทั้งสองดินแดนในรอบปี 2549 มาโดยตลอด เห็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของสองดินแดนนี้ อาจจะพอสรุปถึงกระแสปฏิวัติสองกระแส ซึ่งประชาไทขอขนานนามว่า กระแสปฏิวัติสีเหลือง และ กระแสปฏิวัติสีแดง
บ้านเมืองหนึ่ง อยู่ภายใต้กระแสปฏิวัติสีเหลือง เสื้อสีเหลืองขายดี บ้านเมืองนี้เพียงเพื่อไล่นายกรัฐมนตรีถึงกับต้องการชูธงเหลืองขอถวายคืนพระ ราชอำนาจ ซึ่งมีการชูมาตั้งแต่ปี 2548 ตามมาด้วยการใช้มาตรา 7 และขอนายกพระราชทานในปี 2549 ซึ่งการเมืองห้วงนี้ทำเอาคนเดือนตุลา ทำเอาคนเดือนพฤษภาเสียศูนย์ไปหลายราย ด้วยการยอมเสียหลักการประชาธิปไตย แต่หันมาทำยังไงก็ได้เพื่อไล่ทักษิณ แม้พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นพระประมุขจะตรัสว่ามาตรา 7 เพื่อขอนายกรัฐมนตรีพระราชทานนั้นมั่วและไม่เป็นประชาธิปไตยและขอให้ศาลดูแล การเลือกตั้ง แต่กระนั้นหลายคนก็เรียกร้องให้ทหารออกมาทำหน้าที่ กระทั่งนายกรัฐมนตรีต้องลงจากอำนาจหลังเกิดมหกรรมมอเตอร์โชว์รถถังและยาน ยนต์หุ้มเกราะ มีพริตตี้เอ๊ยทหารผูกโบว์สีเหลืองยืนกรีดกรายเต็มเมืองในคืนวันที่ 19 กันยายน 2549
อีกบ้านเมือง หนึ่งอยู่ภายใต้กระแสปฏิวัติสีแดง เสื้อสีแดงเป็นที่นิยม บ้านเมืองนี้กษัตริย์ภายใต้ระบอบรัฐธรรมนูญให้เหตุผลว่ารัฐบาลที่มาจากการ เลือกตั้งบริหารราชการแผ่นดินบกพร่อง ทั้งยังไม่สามารถทำให้สงครามกลางเมืองยุติได้ กษัตริย์เมืองนี้จึงลงมารวบอำนาจไว้กับพระองค์ แล้วปกครองตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อีกครั้ง ด้วยการปกครองที่เข้มงวด มีการจำกัดเสรีภาพ ภาคประชาชนที่นี่อันได้แก่บรรดาพรรคการเมืองและฝ่ายกบฏลัทธิเหมาจึงผนึก กำลังกันเรียกร้องให้กษัตริย์ลงจากอำนาจ มีการเดินขบวนขับไล่กษัตริย์ไปทั่วทุกหัวระแหง การประท้วงที่ไม่มีการเปล่งเสียง "ทรงพระเจริญ" ใดๆ มีแต่การประณามกษัตริย์ว่าเป็น "ฆาตกร" หลังจากที่เจ้าหน้าที่ทหาร-ตำรวจปราบปรามผู้ชุมนุมจนเสีย ชีวิต ซึ่งในที่สุดกษัตริย์ก็ต้องประกาศสละอำนาจสมบูรณาญาสิทธิ์ตอนเที่ยงคืนของ วันที่ 24 เมษายน 2549
บ้านเมืองหนึ่ง อยู่ภายใต้กระแสปฏิวัติสีเหลือง คณะปฏิรูปการปกครองฯ ซึ่งกลายเป็นคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ เลือกนายกรัฐมนตรีจากการแต่งตั้ง โดยในคืนก่อนวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระมหากษัตริย์มีเหล่านักการ เมือง บรรดาขุนนาง มหาอำมาตย์ ตลอดจนประชาชนทุกหมู่เหล่าร่วมกันถวายพระพร โดยพระองค์มีพระราชดำรัสให้กำลังใจรัฐบาลหลังการรัฐประหาร
ผิดกับอีกบ้าน เมืองหนึ่ง อยู่ภายใต้กระแสปฏิวัติสีแดง พรรคการเมืองและฝ่ายกบฏร่วมกันตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลและร่วมกันร่างรัฐธรรมนูญ ชั่วคราวที่โอนอำนาจทั้งหลายของกษัตริย์มาไว้ที่นายกรัฐมนตรี ในวันคล้ายวันเฉลิมพระชนม์พรรษาของกษัตริย์บรรดานักการเมืองต่างโดดเดี่ยว พระองค์ด้วยการพร้อมใจไม่ไปร่วมงานเลี้ยงวันเกิด
บ้านเมืองหนึ่ง อยู่ภายใต้กระแสปฏิวัติสีเหลือง แม้เสื้อเหลืองจะขายดี แต่ราษฎรเดินดินก็ยังไร้อำนาจ สิ่งที่เรียกว่า "พันธมิตร ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" ก็เป็นแค่กองเชียร์ข้าง เวทีเพราะถึงที่สุดการเรียกร้อง "ถวายคืนพระราช อำนาจ-มาตรา
ดังจะเห็นได้จาก การที่บ้านเมืองนี้แต่งตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติเกือบ 2,000 โดยอ้างว่ามาจากหลากหลายสาขาอาชีพ แต่ที่จริงส่วนใหญ่ก็เป็นข้าราชการ เพื่อนสนิทคณะรัฐประหาร แต่ไม่ใช่ตัวแทนประชาชนส่วนใหญ่แท้จริง ซ้ำร้ายสมัชชานี้ก็มีอายุสั้นยิ่งกว่ายุงลายโตเต็มวัย เพราะเพียงข้ามคืนสมัชชายุงลายแห่งบ้านเมืองนี้ก็ต้องคัดเลือกกันเองให้ เหลือ 200 คนก่อนที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติจะคัดเลือกให้เหลือ 35 คนรวมกับคนที่ตัวเองใส่ชื่อเข้าไปอีก 10 คนเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญจึงมีข้อกังขาว่าแท้จริงแล้วประชาชนจะมีส่วนร่วม หรือไม่ หรือจะเป็นเพียงการปิดห้องร่างรัฐธรรมนูญโดยคุณพ่อรู้ดี (Patronize) ได้แก่เนติบริกรร่วมกับผู้มีบารมีอันได้แก่เสนาอำมาตย์ทั้งหลาย!?
เมื่อนักข่าว นักวิชาการตีปี๊บ หวั่นเกรงจะมีการสืบทอดอำนาจ ผู้มีอำนาจในรัฐบาลก็สำทับแล้วว่า "ตนทำตามหลักไม่ใช่เพื่อสืบทอดอำนาจ อย่างที่ถูกตั้งข้อสังเกต เพราะการกระทำมักดังกว่าคำพูด"
การกระทำย่อมดัง กว่าคำพูดแน่นอน เพราะหลังจากนั้นไม่นานผู้มีอำนาจในรัฐบาลก็เสนอให้ต่ออายุกำนัน-ผู้ใหญ่ บ้าน จาก 5 ปี เป็น 10 ปี โดยมีอำมาตย์ในกระทรวงที่เกี่ยวข้องชงเรื่องสนองทันที!
สงสัยกันว่าปี 2550 เราอาจจะได้เห็นการสืบทอดอำนาจของคณะท็อปบู้ตในไม่ช้า!
อีกบ้านเมือง หนึ่งอยู่ภายใต้กระแสปฏิวัติสีแดง แม้จะมีการแต่งตั้งสมาชิกสภาเฉพาะ กาลหลังวิกฤตทางการเมือง แต่องค์ประกอบก็มาจากพรรคการเมือง ไม่ใช่ลูก(ของ)ป๋าที่ไหน สภาเฉพาะกาลนี้มีขึ้นก็เพื่อจัดการเลือกตั้งทั่วไปในปีหน้า เพื่อเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ การร่างรัฐธรรมนูญของที่นี่จึงมีกระบวนการโดยผู้แทนที่มาจากการเลือกตั้งของ ประชาชน
บ้านเมืองหนึ่ง โดยผิวเผินดูเหมือนกับอีกบ้านเมืองหนึ่ง เพียงแต่ท่ามกลางวิกฤตกาลทางการเมืองวิธีการคลี่คลายปัญหานั้นต่างกันเหมือน หน้ามือกับหลังมือ แต่อย่างไรก็ตามผลที่ติดตามมาและอนาคตทางการเมืองที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้ ของบ้านเมืองทั้งสองเป็นที่น่าจับตามองยิ่งนัก
ประชาธิปไตยจาก การมีส่วนร่วมจะให้บทสรุปเช่นไร ประการหนึ่ง และประชาธิปไตยแบบคุณพ่อรู้ดี หรือที่มีนักวิชาการเรียกว่าลูกป๋าอุปถัมภ์จะให้บทสรุปเช่นไร อีกประการหนึ่ง
เอาเข้าจริงๆ บทเรียนที่ต่างจากเมืองไทยสุดขั้วอย่างเนปาล อาจเป็นความเหมือนใน "มุมกลับ" เป็นผลสะเทือนให้กับเราๆ ท่านๆ ที่อยู่ในวังวนแห่งสังคม-การเมืองไทย ผู้มีอำนาจในเมืองไทย ตลอดจนผู้นำประเทศทั่วโลกเป็นอนุสติด้วยซ้ำว่าแท้จริงแล้วอาจเป็นดั่งวรรค ทองของวิสา คัญทัพที่ว่า "ไม่มีอำนาจใดในโลกหล้า ผู้ปกครองต่างมาแล้วสาบสูญ"
และสถานการณ์ใน เนปาลคงเป็นกระจกบทเรียน "ตบหน้า" ใคร หลายคนในเมืองไทยที่คิดจะแก้ปัญหาทางการเมืองด้วยวิธี "มักง่าย" ไม่เชื่อมั่นในพลังประชาชน ด้วยการเรียกร้องให้ "อำนาจอื่น" เข้ามาแก้ปัญหา ซึ่งรังแต่จะทำให้เราก้าวพ้นจากความกลัวหนึ่ง ไปสู่อีกความกลัวหนึ่ง ที่น่ากลัวกว่า
ด้วยเหตุนี้ประชา ไทจึงขอนำเสนอ The Visible Man : กษัตริย์คเยนทรา ให้ท่านผู้อ่านพิจารณา!
และชวนท่านจับตา มอง ปี 2550 อย่างไม่กระพริบตา
.............................................................................
แหล่ง อ้างอิง
วารสาร
ใต้ ฟ้าเดียวกัน : สากล. ใน "ฟ้า เดียวกัน" ปีที่ 4(2) เมษายน-มิถุนายน 2549 : 270.
ใต้ ฟ้าเดียวกัน : สากล. ใน "ฟ้า เดียวกัน" ปีที่ 4(3) กรกฎาคม-กันยายน 2549 : 249 - 250.
อินเตอร์ เน็ต
Gyanendra of Nepal, Wikipedia, the free encyclopedia, [Retrieved Dec 17, 2006] http://en.wikipedia.org/wiki/Gyanendra_of_Nepal
Nepalese Civil War, Wikipedia, the free encyclopedia [Retrieved Dec 17, 2006] http://en.wikipedia.org/wiki/Nepalese_Civil_War
Politics of
หนังสือพิมพ์ออนไลน์
Charles Haviland, Erasing the 'royal' in Nepal, BBC News,
Nepal's king ill-placed for a comeback: officials, analysts by Deepesh Shrestha, AFP, Dec 17, 2006
Nepal's Maoists declare end to revolt in landmark peace deal, by Sam Taylor, AFP, Nov 8, 2006
Nepal god-king's future uncertain as peace breaks out, AFP, Nov 8, 2006
Nepal's PM calls on Maoist rebels to respect peace deal, by Sam Taylor, AFP, Nov 9, 2006
Nepal rebels rally to celebrate peace deal, Kyodo via Yahoo! Asia News, Nov 10, 2006.
Nepal King gets X-mas dinner date offer, New Kerala - Dec 24 8:04 AM
ข่าว กษัตริย์คเยนทราในประชาไทย้อนหลัง
รายงาน : ฤาจะสิ้นเสียงปืน หลังเนปาลใหม่บรรลุข้อตกลงสันติภาพ, 11 พ.ย. 2549
รายงาน : ฤาเนปาลจะสิ้นเสียงปืน (ตอนที่ 2) ชะตากรรม ของกษัตริย์สมมติเทพ, 13 พ.ย. 2549
สถานการณ์ การเมืองเนปาลล่าสุดหลังข้อตกลงสันติภาพ, ประชาไท, 13 พ.ย. 2549
กษัตริย์ เนปาล อาจถูกดำเนินคดีจากการปะทะในเหตุประท้วง, ประชาไท, 15 พ.ย. 2549
ผล สอบสวนกษัตริย์เนปาลมีความผิดจริงฐานใช้กำลังปราบผู้ประท้วง, ประชาไท, 21 พ.ย. 2549
http://www.prachatai.com/journal/2006/12/11085
----------------------------------------------------------------------------
กลุ่มเมาอิสต์เรียกร้องให้เนปาลเป็นสาธารณรัฐ
AFP, 16 เม.ย. 2550
กัฑมาณฑุ (AFP) – เมื่อวันจันทร์ (16 เม.ย.2550) กลุ่มเมาอิสต์ เนปาล เรียกร้องให้ล้มระบบสมบูรณาญาสิทธิราชทันทีและประกาศให้เป็นสาธารณรัฐ โดยยอมให้เลื่อนการเลือกตั้งออกไป
หน้าที่ 1
“เราได้ค้นหาพื้นฐานการเมืองใหม่เพื่อมุ่งไปข้างหน้า พื้นฐานนั้นกำลังประกาศว่าประเทศนี้เป็นสาธารณรัฐทันที” Prachanda ผู้นำกลุ่มเมาอิสต์บอกกับนักข่าว
ราชอาณาจักรหิมาลัยได้กำหนดในเดือนมิถุนายน เพื่อเลือกตั้งที่จะร่างรัฐธรรมนูญและตัดสินการกันกษัตริย์ กิยาเนนทรา และระบบราชาธิปไตยว่าจะอยู่ต่อไปหรือล้มเลิก
แต่สัปดาห์ที่แล้ว กรรมการเลือกตั้งเนปาล Bhojraj Pokharel กล่าวว่ากระบวนการสันติภาพที่ได้นำกลุ่มเมาอิสต์เข้าสู่รัฐบาลหลังจาก 10 ปีของการกบฎ กำลังเคลื่อนตัวอย่างช้าที่ต้องเลื่อนการเลือกตั้งออกไป
รัฐบาลพันธมิตร 8 พรรคการเมือง ซึ่งรวม 5 รัฐมนตรีเมาอิสต์ ยังไม่มีการประกาศเลื่อนการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ
แต่ Prachanda กระตุ้นว่า ความล่าช้าใดๆ จะสร้างพื้นที่สำหรับกษัตริย์กิยาเนนทรา และผู้สนับสนุนในบั่นทอนเสถียรภาพของประเทศและบ่อนเซาะกระบวนการสันติภาพ
กลุ่มเมาอิสต์กล่าวหา กษัตริย์ ผู้ได้ถูกตัดทอนอำนาจส่วนใหญ่ เป็นผู้เกี่ยวข้องกับความรุนแรงเชื้อชาติเพื่อรักษาบัลลังก์ของพระองค์ต่อไป
“การเลื่อนนานมากขึ้น จะเพิ่มพื้นที่กับระบอบศักดินาและกองกำลังปฏิกริยาสำหรับการสร้างสภาพแวด ล้อมเป็นลบ เช่น กองกำลังได้วางก่อวินาศกรรมและทำให้กระบวนการสันติภาพหยุดชะงัก” Prachanda บอกในการแถลงข่าว
“ถ้าสาธารณรัฐนี้ไม่ได้รับการประกาศทันที เรามีตัวเลือกอื่น ซึ่งรวมถึงการหยั่งประชามติและการอุทธรณ์ของประชาชชนในการประท้วงต่อต้าน ระบอบศักดินา” เขากล่าว
ถ้ากลุ่มเมาอิสต์ลงนามสันติภาพในเดือนพฤศจิกายน 2549 หลังจากการต่อสู้นาน 10 ปีที่ต้องการสาธารณรัฐคอมมิวนิสต์บนประเทศที่คนส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมใน สงครามที่มีผู้เสียชีวิตในสงคราม 13,000 คน
อดีตกบฎเมาอิสต์ ผู้ยังคงอยู่ในรายชื่อองค์การ “ก่อการร้าย” ได้ลงทะเบียนอาวุธของเขาและนักรบกับสหประชาชาติในฐานะส่วนของข้อตกลง
http://www.thaiindy.org/region/region_title_details.php?cont_id=asiaso&title_id=asiaso200704160&row_order=14&page=2
--------------------------------------------------------------------------
กลุ่มลัทธิเหมาชนะในเนปาลประกาศปิดฉากระบบกษัตริย์ 240 ปี
Randeep Ramesh, South Asia correspondent, Guardian UK, 23 เม.ย. 2551
23 เมษายน 2551 - อดีตผู้นำกบฎลัทธิเหมา เนปาลปรากฎตัววันนี้ในชัยชนะเป็นพรรคใหญ่ที่สุดในรัฐสภาใหม่ของประเทศนี้ และให้สัญญาณว่า พวกเขาจะทำงานกับนักการเมืองดั้งเดิมผู้ได้รับเลือก
พรรคคอมมิวนิสต์ลัทธิเหมาแห่งเนปาลจะปิดฉากด้วยร่มเงาน้อยกว่า 220 ที่ในสภาผู้แทน 601 ที่ ชนะครึ่งหนึ่งของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 240 ที่ และหนึ่งในสามของ 335 ที่จากผู้แทนสัดส่วน
คณะรัฐมนตรีใหม่ในประเทศหิมาลัยจะเสนอชื่อสมาชิก 26 คนของสภาซึ่งจะร่างรัฐธรรมนูญเนปาลใหม่และปิดฉากระบบกษัตริย์ 240 ปี
พรรคการเมืองเดิม พรรคคองเกรสเนปาล (Nepali Congress หรือ NC) ซึ่งปัจจุบันนำพันธมิตรปกครองและคอมมิวนิสต์กระแสหลัก ที่เรียกว่า UML (Unified Marxist-Leninist) จะมีที่นั่งพรรคละ 100 ที่
ความสำเร็จของตัวแทนรับสมัครของพรรคลัทธิเหมาปรากฎ พบได้จากความชาญฉลาดในการใช้อัตลักษณ์ทางการเมืองและการรณรงค์ของคนร้ายขู่ กรรโชก
นักวิเคราะห์กล่าวว่าอดีตกบฎจัดการเลือกผู้หญิง 21 คนโดยตรง เปรียบเทียบกับสมาชิกสภาหญิง 1 หนึ่งที่เลือกโดยคองเกรสเนปาล
“ชาวดาลิต (dalits แปลว่าแตะต้องไม่ได้) ของเนปาลลงคะแนนหนึ่งเดียวสำหรับพวกเขา นั่นคือร้อยละ 14 ของประชากร ประชาชนเหล่านี้อยู่นอกสังคมเนปาลมาหลายทศวรรษและสุดท้ายพวกรู้สึกว่าพวกเขา สามารถสั่งสอยพรรคการเมืองเก่าให้ได้รับบทเรียน” C K Lal คอลัมนิสต์ที่โดดเด่น กล่าว
“ในเส้นทางต่างๆ (กลุ่มลัทธิเหมา) ได้แสดงว่าพวกเขาเองครอบคลุมมากกว่า”
ประธานพรรค อดีตนักรบสงครามกองโจรผู้มีบารมี ที่เรียกว่า Pushpa Kamal Dahal บนเอกสารเลือกตั้งหรือ Prachanda กับที่เหลือของเนปาล จะกลายเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป
ถึงแม้ว่ากลุ่มลัทธิเหมาจะครอบงำ แต่พวกเขาไม่สามารถปกครองเพียงลำพัง และการเจรจาได้เริ่มต่นในการนำพรรคการเมืองอื่นก่อตั้งรัฐบาล
ผู้นำลัทธิเหมาพบกับชุมชนธุรกิจของประเทศในวันนี้เพื่อขจัดความหวาดกลัว ว่า จะไม่มีใช้โครงการแปรให้เป็นของชาติ รวมทั้งปรากฎการเลื่อนอย่างเงียบสงบตามสัญญาเลือกตั้งในเลิกล้มการคัดเลือก กูรข่า ในกองทัพอังกฤษและอินเดีย
มีทหารกูรข่า 3,500 นายในกองทัพอังกฤษ ซึ่งคัดเลือก 250 คนต่อปีจากหมู่บ้านในเนปาล แถลงการณ์ของกลุ่มลัทธิเหมาอธิบายว่าทหารกูรข่ารบภายใต้ธงต่างชาติในฐานะ “ทหารรับจ้าง”
“(สิ่งนี้) อยู่ในแถลงการณ์แต่ความกังวลขณะนี้คือการจัดตั้งรัฐบาล เรามีหลายอย่างที่ต้องทำ” Dinath Sharma โฆษกพรรคลัทธิเหมากล่าว
สิ่งสำคัญมากกว่าคือ ยุติระบบกษัตริย์และรวมทั้งการรวมสมาชิก 25,000 ตนของกองทัพปลดปล่อยประชาชนไปสู่กองทัพเนปาล ผู้อยู่ในด้านกลาโหมจะเป็นคำถามสำคัญสำหรับผู้นำลัทธิเหมา
ในสัญญาณของวิธีที่กลุ่มลัทธิเหมากำลังวางตัวพวกเขาเป็นผู้ชนะของความ ยุติธรรมของสังคมในประเทศที่ยากจน
ปีกนักศึกษาของพวกเขาเข้าสู่ถนนเพื่อเรียกร้องให้จัดการศึกษาฟรีจนอายุ 15 ปี
“สิ่งที่กลุ่มลัทธิเหมาต้องการคือควบคุมด้านสุขภาพ การศึกษา ควบคุมการพัฒนาหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่มีผลกระทบกับประชาชนดั้งเดิม” นักการทูตคนหนึ่งในกัฑมาณฑุ “พวกเขาต้องการให้แสดงที่พวกเขาสามารถจัดการการเปลี่ยนผ่านอย่างสันติ ยุติการปฏิวัติในดินแดนทางพุทธศาสนา แต่นานแค่ไหนที่จะจบ? ใครรู้?”
http://www.thaiindy.org/region/region_title_details.php?cont_id=asiaso&title_id=asiaso2008042301&row_order=9&page=2
----------------------------------------------------------
กลุ่มการเมืองเนปาลมองหาอสังหาริมทรัพย์และสินทรัพย์ของกษัตริย์
Gopal Sharma, Reuters North American News Service, 30 พ.ค. 2551
30 พฤษภาคม 2551 – คณะทางการเมืองเนปาลเริ่มรวบรวมรายละเอียดสินทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ของ กษัตริย์กิยเนนทรา นอกบัลลังก์เนปาล เมื่อวันศุกร์ (30 พ.ค. 2551) สองวันหลังจากชาติหิมาลัยล้มล้างระบบกษัตริย์ รัฐมนตรีระดับสูงกล่าว
การประชุมครั้งแรกของสมัชชาพิเศษที่เลือกตั้งในเดือนเมษายน ได้ประกาศว่าเนปาลเป็นสาธารณะและให้เวลา กิยเนนทรา สองสัปดาห์ย้ายจากพระราชวังชมพู
รัฐบาลกล่าวว่า พระราชวังตั้งอยู่ใจกลางเมืองหลวง จะเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์ รายงานสื่อเนปาล กล่าวว่า พระราชวัง Narayanhity มีการสะสมงานศิลป์ งานปั้น เอกสารประวัติศาสตร์หายาก อัญมณีและเหรียญสูงค่า
“ไม่มีใครทราบอย่างแท้จริงว่า ชิ้นใดอยู่ที่นั่นในพระราชวัง เมื่อได้รับการปิดสำหรับสาธารณะ” Ram Chandra Poudel รัฐมนตรีสันติภาพและการฟื้นฟู กล่าว “เราได้จัดคณะกรรมการเพื่อรวบรวมรายละเอียดทั้งหมดนี้ภายใน 10 วัน”
“รายการทั้งหมดจะเป็นแค๊ตตาล๊อก ดังนั้นพวกเขาสามารถแสดงในพิพิธภัณฑ์” เขาเพิ่มเติม
รัฐบาลได้เข้าครอบครองที่ดินหลายพันเฮกตราของที่ดินที่เป็นเจ้าของโดยกิย เนนทรา และพระราชวังมากกว่าสิบแห่ง ตั้งแต่กษัตริย์พระองค์นี้ถูกต่อต้านหลายสัปดาห์ของการประท้วง 2549
เมื่อวันศุกร์ กลุ่มลัทธิเหมาและผู้สนับสนุนหลายพันคนเข้าร่วมการเดินขบวนในกัฑมาณฑุ เพื่อการล้มล้างระบบกษัตริย์
ตำรวจกล่าวว่า ระเบิดทำเองได้ระเบิดขึ้นในสวนสาธารณะใกล้การเดินขบวนของกลุ่มลัทธิเหมา แต่ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ นี่เป็นการระเบิดครั้งที่เจ็ดในเมืองหลวงในสัปดาห์นี้
การระเบิดที่เกิดมีการตำหนิกลุ่มทหารนิยมกษัตริย์ทำให้ต้องเน้นหนักความ กังวลด้านความปลอดภัยในเมืองหลวง
การสิ้นสุดระบบกษัตริย์เป็นส่วนของการตกลงระหว่างรัฐบาลและอดีตกบฎลัทธิ เหมา ผู้ยุติสงครามกลางเมืองนานทศวรรษภายใต้สัญญาสันติภาพ เมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมา
ความขัดแย้งเริ่มต้นในปี 2539 และเป็นสาเหตุการตายมากกว่า 13,000 คน
กิยเนนทราได้แสดงความเห็นและได้รับการคาดว่าจะย้ายไปอยู่บ้านส่วนพระองค์ ใน พื้นที่ upmarket ในกัฑมาณฑุที่พระองค์กำลังอาศัยอยู่ก่อนขึ้นครองราชย์ในปี 2544
กลุ่มลัทธิเหมากำลังครอบงำสมัชชาซึ่งรวมถึงการเตรียมร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และผ่านกฎหมายอย่างน้อย 2 ปี
รวมทั้งพวกเขาคาดว่าจะจัดรัฐบาลรักษาการณ์และกระตุ้นให้พรรคการเมืองอื่น เพื่อร่วมพันธมิตรที่นำโดยพวกเขา เพราะพวกเขาขาดเสียงส่วนใหญ่ในสมัชชา 601 ที่นั่ง
http://www.thaiindy.org/region/region_title_details.php?cont_id=asiaso&title_id=asiaso2008053001&row_order=8&page=2
-------------------------------------------------------------
ข้อมูลส่วนหนึ่งจากบทความเรื่อง ม็อบกับราชบัลลังก์
ของหนังสือพิมพ์อินเตอร์เนชั่นแนล เฮอรัลด์ ทรีบูน
ซึ่งเราขอ Copy มาเฉพาะเรื่องประวัติศาสตร์ เนปาลเท่านั้น
บทเรียนล้ำค่าจากเนปาล
...
สิ้นราชบัลลังก์-กษัตรยิ์คยาเนนทราแห่งเนปาล กับพระราชินีของพระองค์ทรงพยายามที่จะรักษาพระราชวงศ์เอาไว้จนถึงที่สุด แต่ก็ทำได้เพียงแค่การนำแพะมาเชือดบูชายัญเจ้าแม่กาลีตามพิธีกรรมความเชื่อ ของฮินดู ขณะที่เสียงโห่ร้องขับไล่ใกล้พระราชวังเข้ามา ในที่สุดรัฐสภาเนปาลลงมติในเดือนพฤษภาคมปี2551ให้ยกเลิกระบบกษัตริย์และ เปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐ
ทำไมราชวงศ์ชาห์อันเป็นศูนย์รวมใจ เนปาลทั้งชาติถูกโค่นล้มลงไป
ความศรัทธาในตัว พระองค์เสื่อมถอยลง หลังพระองค์ทรงเข้าแทรกแซงการเมือง โดยยึดอำนาจเบ็ดเสร็จมาจากรัฐบาลที่ประชาชนเลือกตั้งฉากสุดท้ายของพระราชวงศ์ชาห์แห่งเนปาลเป็นไปอย่างอัปยศ รัฐบาลใหม่ของเนปาลเตือนให้กษัตริย์คยาเนนทราต้องออกจากพระราชวังในวันที่ 28 พฤษภาคม2551 หลังสมัชชาแห่งชาติเปิดประชุมครั้งแรก พร้อมคำประกาศเลิกสถาบันกษัตริย์ ถือเป็นการสิ้นสุดทั้งราชวงศ์ชาห์แห่งเนปาลที่ปกครองประเทศมายาวนานถึง 239 ปี และระบอบกษัตริย์ในประเทศนี้ไปพร้อมๆกัน
พระองค์ทรงมีพระราชขัตติ ยะมานะ เพราะเลยเส้นตายของรัฐบาลสาธารณรัฐล่วงไปถึง 11 มิถุนายน 2551 กษัตริย์คยาเนนทราจึงพร้อมด้วยพระราชินีของพระองค์เสด็จออกจากพระราชวัง เพื่อไปประทับ ณ พระตำหนักนิรมาลนิวาส พระตำหนักส่วนพระองค์ โดยมีชาวเนปาลที่ต่อต้านพระองค์มากลุ้มรุมส่งเสียงโห่ไล่ และเต้นรำเฉลิมฉลองกันสุดเหวี่ยง
ราชวงศ์ชาห์ ซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้ายที่ชาวเนปาลเคยนับถือดั่งเทพเจ้าของศาสนาฮินดู ได้กลายเป็นตำนาน หลังสภาร่างรัฐธรรมนูญ ประกาศให้เนปาลเป็นประเทศสาธารณรัฐอย่างเป็นทางการ ในการประชุมนัดแรกในวันที่ 28พฤษภาคม 2551
ชะตากรรมของอดีตกษัตริย์ คยาเนนทราหลังจากนั้นก็คือ การไฟฟ้าของเนปาลได้จัดส่งบิลไปเก็บค่าไฟฟ้าที่คิดค้างไว้ราว 40 ล้านบาท โดยบอกว่าทรงติดไว้นับแต่ปี2548เป็นต้นมา
และไม่กี่สัปดาห์ก่อนที่ จะถูกล้มล้าง พระองค์ได้ไปปรากฎตัวต่อสาธารณชนอย่างที่ไม่ค่อยได้เห็นบ่อยครั้ง โดยทรงเข้าร่วมพิธีทางศาสนาที่วัดแห่งหนึ่งทางใต้ของกรุงกาฏมาณฑุ เพื่อทำพิธีเชือดแพะบูชายัญ หวังจะต่ออายุพระราชวงศ์ ทว่าไม่เป็นผลใดๆ
มีรายงานว่า พระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์ ถูกปลดออกจากฝาตามร้านรวงต่างๆ รวมทั้งถูกถอดออกจากธนบัตร ขณะที่คำว่า "Royal"ก็ถูกลบออกจากชื่อของกองทัพ รวมทั้งสายการบินแห่งชาติ และรัฐบาลได้งดจ่ายเงินงบประมาณค่าใช้จ่ายของพระองค์ปีละ 3 ล้าน 1 แสนดอลลาร์ และยึดวัง 10 แห่งของราชวงค์คืน
กษัตริย์คยาเนนทรา ทรงขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระเชษฐา คือกษัตริย์พิเรนทรา ที่ถูกเจ้าชายทิเพนทรา มกุฎราชกุมาร ปลงพระชนม์พร้อมด้วยพระราชวงศ์เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2544 แต่ความศรัทธาในตัวพระองค์เสื่อมถอยลง หลังพระองค์ทรงเข้าแทรกแซงการเมือง โดยยึดอำนาจเบ็ดเสร็จมาจากรัฐบาลที่ประชาชนเลือกตั้ง และให้คำมั่นว่าจะบดขยี้กลุ่มกบฎลัทธิเหมาด้วยพระองค์เอง แต่ถูกกระแสต่อต้านจากประชาชนจนต้องทรงยอมคืนอำนาจให้กับประชาชนในที่สุด
แต่ชาวเนปาลกลับไปไกลกว่านั้น คือให้ล้มเลิกระบบกษัตริย์ และเปลี่ยนไปเป็นสาธารณรัฐแทน
ซุบซิบกันว่าสังหารพระ เชษฐาเพื่อฮุบราชสมบัติ และทรงมีพระราชโอรสเพลย์บอย
บัลลังก์ เลือด-กษัตริย์คยาเนนทราเป็นสมมุติเทพตามความเชื่อของศาสนาฮินดู พระองค์ทรงเข้ารับราชสมบัติต่อจากพระเชษฐาที่สวรรคตในเหตุนองเลือดใน พระราชวัง มีเสียงลือซุบซิบในหมู่ผู้ต่อต้านว่าพระองค์อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุ การณ์น่าสพรึงนี้
จู่ๆเฉพาะการเข้าแทรกแซงการเมือง คว่ำรัฐบาลจากการเลือกตั้งของประชาชน คงไม่น่ามีผลสะเทือนให้พระราชวงศ์ที่ยืนยาว240ปีต้องถึงกาลอวสาน แต่มันมีเรื่องซุบซิบอื่นๆในเรื่องพระราชจริยาวัตรส่วนพระองค์ และข่าวอัปมงคลต่างๆที่อ่อนไหวต่อความรู้สึกของสาธารณชนด้วย 2ในข่าวซุบซิบนั้นเป็นเรื่องเล่าลือกันว่าอาจทรงเกี่ยวพันกับการสังหารพระ เชษฐาเพื่อหวังในราชสมบัติ กับทรงมีพระโอรสที่เป็นเพลย์บอย ไม่เป็นที่นิยมของพสกนิกรชาวเนปาลอีกด้วย
ตามคติความ เชื่อดั้งเดิมของฮินดู ทรงเป็นสมมติเทพมาปราบยุคเข็ญ ชาวเนปาลเชื่อว่าแท้จริงแล้วกษัตริย์คือปางอวตารของวิษณุเทพ อันเป็นคติแต่โบราณของผู้คนในชมพูทวีป
อดีตกษัตริย์คยาเนนทรา ประสูติเมื่อ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2490 ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนของชาวคริสต์ในเมืองดาจีลิง (Darjeeling) ประเทศอินเดีย พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ.2544 ต่อจากกษัตริย์พิเรนทรา (King Birendra Bir Bikram Shah Dev) ผู้เป็นพระเชษฐา ซึ่งครองราชย์ตั้งแต่ปี 2515 ก่อนจะสิ้นพระชนม์ในเหตุการณ์ ‘สังหารโหดในพระราชวัง’ (the Palace Massacre) ในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2544 ที่เจ้าชายดิเพนทราพระโอรสซึ่งเสวยน้ำจัณฑ์จนเมามายได้กราดยิงพระองค์และพระ บรมวงศานุวงศ์รวม 10 พระองค์จนสิ้นพระชนม์ก่อนที่เจ้าชายดิเพนทราจะปลงพระชนม์ตัวเองตาม
โดยพื้นฐานทางการเมืองของเนปาลเองปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็น เวลายาวนาน ก็เพิ่งจะมีประชาธิปไตยหลังจากขบวนการ ‘จัน อันโดลัน’ (Jan Andolan Movement) หรือแปลเป็นไทยว่าขบวนการประชาชน ได้บีบให้กษัตริย์พระองค์ก่อนคือพิเรนทรายอมปฏิรูปการเมือง และพระราชทานรัฐธรรมนูญในเดือนพฤษภาคมปี พ.ศ.2534 ทำให้เนปาลมีรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยมีกิริยา ปราสาท กัวราลา (Girija Prasad Koirala) จากพรรคคองเกรสเนปาล (Nepali Congress Party) ชนะการเลือกตั้งเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี
แต่การเมืองเนปาลก็ เข้าสู่สภาพไร้เสถียรภาพ เพราะเกิดสงครามกลางเมืองระหว่างกองทัพของรัฐบาล กับพรรคคอมมิวนิสต์เนปาล (เหมาอิสต์) หรือกบฏลัทธิเหมานำโดยสหายประจันดา (Prachanda) ที่จับอาวุธสู้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 จนฝ่ายกบฏมีฐานที่มั่นอยู่ใน 50 จังหวัดจาก 75 จังหวัดของเนปาล และสงครามกลางเมืองก็ได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 12,500 ราย
เมื่อเกิดเหตุการณ์ ‘สังหารโหดในพระราชวัง’ (the Palace Massacre) และกษัตริย์คยาเนนทราทรงขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ.2544 การเมืองเนปาลก็ยิ่งไร้เสถียรภาพเข้าไปอีก เพราะพระองค์อ้างเหตุความไม่สงบในเนปาลเข้าแทรกแซงการเมืองระบอบรัฐสภาอันมี พระมหากษัตริย์เป็นประมุข
อาทิทำการปลด และแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีด้วยพระองค์เองรวม 5 ครั้งช่วงปี 2544 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2548 ก่อนที่พระองค์จะยึดอำนาจการปกครองของเนปาลมาอยู่ที่พระองค์เองในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548 โดยพระองค์อ้างเหตุผลการยึดอำนาจว่าเพราะนายกรัฐมนตรีคนก่อนบริหารราชการ แผ่นดินบกพร่องในเรื่องการเตรียมการเลือกตั้ง และไม่สามารถสร้างความสงบเรียบร้อยขึ้นมาในบ้านเมืองได้ โดยพระองค์สัญญาว่าจะคืน “ความสงบเรียบร้อยและประชาธิปไตยที่มีประสิทธิภาพ” ภายในเวลา 3 ปี
นอกจากนี้พระองค์ยังตัดสินพระทัยจำกัดเสรีภาพของ ประชาชนรวมไปถึงเสรีภาพในการนำเสนอของสื่อมวลชน มีการจับกุมนักการเมือง นักเคลื่อนไหวที่เห็นต่างจากพระองค์ ทำให้องค์กรสิทธิมนุษยชนและองค์กรประชาธิปไตยในประเทศกังวลต่อสถานการณ์ใน เนปาลโดยเฉพาะกับนักข่าวและนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนของเนปาล แต่กษัตริย์คยาเนนทราก็ทรงตอบโต้องค์กรต่างประเทศเหล่านั้นว่า “ประชาธิปไตยและเสรีภาพที่ก้าวหน้าทั้งหลายจำเป็นน้อยกว่าการฟื้นฟูความสงบ เรียบร้อยภายในประเทศ!”
นอกจากความไม่พอใจในตัวกษัตริย์เนปาลจะเกิด เพราะการเข้ายึดอำนาจของกษัตริย์คเยนทราแล้ว สิ่งที่ช็อกความรู้สึกชาวเนปาลอีกประการหนึ่งคือการที่คณะลูกขุนของรัฐบาล ตัดสินว่าเจ้าชายดิเพนทรา (Prince Dipendra) พระโอรสของกษัตริย์พิเรนทรา กษัตริย์พระองค์ก่อน ซึ่งยิงพระองค์เองเสียชีวิต ได้เป็นฆาตกรสังหารพระราชบิดา และพระบรมวงศานุวงศ์ในเหตุการณ์สังหารโหดในพระราชวังปี 2544 ครั้งนั้น แต่สำหรับเรื่องนี้เป็นการยากที่จะให้ชาวเนปาลทำใจเชื่อได้ แถมกบฏลัทธิเหมายังกระพือข่าวว่ากษัตริย์คยาเนนทราผู้สืบราชสมบัติต่อนั่น แหละเป็นตัวการในการสังหารโหดครั้งนั้น
กระแสข่าวทางลบในลักษณะ นี้ต่อกษัตริย์คยาเนนทรายังคงแพร่กระจายไปทั่วเนปาล ผู้คนต่างตั้งคำถามว่ากษัตริย์คยาเนนทราหนีออกจากพระราชวังได้อย่างไรในวัน ที่เหตุฆาตกรรมหมู่เกิดขึ้น และพระราชโอรสพระองค์เดียวของพระองค์ คือเจ้าฟ้าชายพาราช (Prince Paras) หลบออกจากพระราชวังไปได้อย่างไรโดยที่ไม่ได้รับบาดเจ็บแม้แต่รอยขีดข่วน!?
และ ยิ่งเจ้าฟ้าชายพาราช ผู้จะสืบทอดราชสมบัติต่อจากพระราชบิดา และสืบราชสมบัติแห่งราชวงศ์ชาห์กลับมีนิสัยชอบขับรถซิ่ง และความเจ้าสำราญที่ชาวเนปาลขนานนามพระองค์ว่า “The playboy” ยิ่งทำให้ความนิยมของประชาชนต่อเจ้าชายพาราชผู้สืบทอดราชสมบัติของราชวงศ์ชา ห์ และทำให้กษัตริย์คยาเนนทราไม่เป็นที่นิยมชนิดร้าวลึก
ประมาณ การณ์ผิดเป็นเหตุให้ถึงกาลอวสานอย่างอัปยศ
ทรงสำคัญผิด-การยึดกุมอำนาจในกองทัพไว้ได้ และมีผู้นำเหล่าทัพที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัย กอรปกับการประชาสัมพันธ์ชวนเชื่อให้ประชาชนได้เห็นแต่ด้านดีของระบบกษัตริย์ ทำให้พระองค์ทรงประเมินสถานการณ์ผิดพลาด
พันธมิตรแห่งแนว ต้านอำนาจสมบูรณาญาสิทธิ์
การที่พระองค์ประมาณ สถานการณ์ผิดว่าสามารถยึดกุมกองทัพเอาไว้ ถึงขั้นล้มรัฐบาลหลายคณะ และที่สุดรวบพระราชอำนาจมาไว้ที่พระองค์เสียเอง กับเชื่อมั่นว่าการประชาสัมพันธ์แต่ด้านบวกให้พสกนิกรชาวเนปาลเทิดทูนก็ เพียงพอแล้ว และหวังว่าจะทำสงครามเอาชนะพวกกบฎคอมมิวนิสต์ได้ พระองค์ก็จะกลายเป็นวีรบุษผู้ยิ่งใหญ่ของชาติ ทั้งหมดนี้ทำให้ราชวงศ์เดินทางมาถึงจุดจบ..เพราะสิ่งที่พระองค์ไม่ได้นำมา ประเมินเลยก็คือ พลังของประชาชนผู้กระหายประชาธิปไตย และการปกครองโดยประชาชนท่ามกลางอำนาจสมบูรณาญาสิทธิ์ ในประเทศ ต่อมาในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2548 พันธมิตร 7 พรรคการเมืองเของเนปาล (Seven Party Alliance - SPA) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองในสภาร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์เนปาล (เหมาอิสต์) หรือกบฏลัทธิเหมา ได้ทำสัญญาเป็นพันธมิตรบันทึกข้อตกลง 12 ประการเพื่อสันติภาพและประชาธิปไตย เพื่อต่อต้านการปกครองของกษัตริย์คยาเนนทราซึ่งทำให้เกิดฝ่ายต่อต้านการ ปกครองของกษัตริย์ขยายตัวออกไปทั่วประเทศ
การต่อต้านพระราชอำนาจได้ ถึงจุดปะทะเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2549 พันธมิตร 7 พรรคการเมืองจัดการชุมนุมในกรุงกาฐมาณฑุ เรียกร้องประชาธิปไตย และคว่ำบาตรการเลือกตั้งท้องถิ่นที่กษัตริย์คยาเนนทราได้จัดขึ้นในเดือน กุมภาพันธ์ เนื่องจากเห็นว่าการเลือกตั้งดังกล่าวเป็นเพียงมายาภาพที่แสดงให้เห็นว่านี่ เป็นก้าวแรกสู่ประชาธิปไตยเพื่อสร้างความชอบธรรมในการกุมอำนาจเบ็ดเสร็จของ พระองค์ที่ดำเนินมากว่า 1 ปี
โดยรัฐบาลพยายามสกัดการชุมนุมของ ประชาชนด้วยการประกาศเคอร์ฟิวห้ามออกจากบ้านในยามวิกาลในเขตเมืองหลวงและบาง พื้นที่ของเนปาล ห้ามการชุมนุมสาธารณะ มีการตัดสัญญาณโทรศัพท์และคุกคามผู้ออกมาต่อต้านการเลือกตั้งดังกล่าว ทำให้การชุมนุมเลื่อนจากวันที่ 20 มกราคม มาเป็นอีกวันหนึ่ง
โดยในวันที่ 21 มกราคม มีการเดินขบวนท้าทายอำนาจของกษัตริย์ครั้งใหญ่โดยประชาชนหลายพันคน ทำให้รัฐบาลของกษัตริย์คยาเนนทราใช้กำลังปราบปรามอย่างรุนแรง จนมีผู้นำพรรคการเมือง นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน ผู้นำแรงงาน นักศึกษา และนักหนังสือพิมพ์ถูกจับกุมหลายร้อยคน ขณะที่ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่ตอบโต้ด้วยการขว้างปาก้อนหินใส่ตำรวจและทหาร พร้อมเผายางรถยนต์เป็นเครื่องกีดขวาง ซึ่งการปราบปรามครั้งนั้นทำให้การชุมนุมต่อต้านกษัตริย์ปะทุไปทั่วประเทศ
การประท้วงใหญ่เดือนเมษายน และการสละพระราชอำนาจสมบูรณาญาสิทธิ์
ใน เดือนเมษายน 2549 ภายใต้การนำของพันธมิตร 7 พรรคการเมืองเนปาล (Seven Party Alliance - SPA) และกบฏลัทธิเหมาได้มีการต่อต้านครั้งใหญ่เพื่อทวงประชาธิปไตยคืนมาจาก กษัตริย์ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน มีการนัดหยุดงานทั่วประเทศเป็นเวลา 4 วัน ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน และจัดการชุมนุมใหญ่ในเมืองหลวงวันที่ 8 เมษายน ตามด้วยการดื้อแพ่งด้วยการหยุดจ่ายภาษี เช่นเดียวกับการประท้วงหลายต่อหลายครั้ง
รัฐบาลได้ประกาศเคอร์ฟิว ห้ามไม่ให้ประชาชนออกมาชุมนุม แต่การชุมนุมประท้วงกลับขยายตัวไปตามเมืองใหญ่ๆ ตลอดทั้งเดือน ทำให้รัฐบาลพยายามควบคุมสถานการณ์ด้วยการใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดสลายการ ชุมนุมกระทั่งมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก จำนวนผู้ออกมาประท้วงเฉพาะในเมืองหลวงพุ่งสูงกว่า 300,000 - 500,000 คน
และ ในวันที่ 21 เมษายนกษัตริย์คยาเนนทราได้มีพระราชดำรัสว่าจะทรงคืนอำนาจบริหารให้แก่ ประชาชน และจะจัดการเลือกตั้งใหม่ให้เร็วที่สุด รวมทั้งขอให้กลุ่มพันธมิตรฯ เสนอชื่อชื่อบุคคลที่เหมาะสมในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
แต่กลุ่มพันธมิตรฯ และกลุ่มกบฏลัทธิเหมาปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว พร้อมกับนัดชุมนุมใหญ่อีกครั้งในวันที่ 25 เมษายน
กระทั่งเที่ยงคืน ของวันที่ 24 เมษายน กษัตริย์คยาเนนทราได้ยอมประกาศคืนอำนาจให้ประชาชนผ่านสถานีโทรทัศน์ว่า พระองค์จะฟื้นฟูสภาผู้แทนราษฎรที่ล้มเลิกไปและขอให้พรรคการเมืองทั้ง 7 พรรคกลับมาร่วมรับผิดชอบดูแลประเทศชาติ เพื่อประชาธิปไตยและสันติภาพของชาวเนปาล ทำให้วันรุ่งขึ้นชาวเนปาลจำนวนมากออกมาชุมนุมแสดงความยินดีต่อชัยชนะของ ประชาชนตามท้องถนน
ตลอดการประท้วงใหญ่ 19 วัน มีการปราบปรามโดยกองกำลังรัฐบาลจนมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 19 คน และผู้บาดเจ็บนับพันคน ด้วยเหตุนี้ระหว่างประท้วงจึงทำให้มวลชนตามท้องถนนเผาหุ่นของกษัตริย์และ ประณามกษัตริย์คเยนทราว่าเป็น “ฆาตกร”
ไม่มีอำนาจใดใน โลกหล้า ผู้ปกครองต่างมาแล้วสาบสูญ
จุดพลุไล่-ชาวเนปาลออกมาเต้นรำเฉลิมฉลองการที่รัฐสภาลงมติยกเลิกระบบ กษัตริย์ สิ้นสุดราชวงศ์ชาห์อายุยาวนาน 240 ปี และเปิดศักราชใหม่ของระบบสาธารณรัฐ เมื่อ28พ.ค.2551
ภายหลังจาก ที่สภาถูกฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ นายกิริยา ปราสาท กัวราลา อดีตนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคคองเกรสเนปาล ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีชั่วคราว โดยเขาสัญญาว่าจะจัดการเลือกตั้งคณะร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามข้อเรียกร้อง ของประชาชน
ต่อมาอดีตรัฐมนตรี 5 คนที่ทำงานให้กษัตริย์คยาเนนทราก็ถูกจับกุม และสอบสวนกรณีใช้ความรุนแรงปราบปรามประชาชนที่ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย นอกจากนี้รัฐบาลชุดใหม่และสภาผู้แทนราษฎรยังได้ดำเนินการลดทอนพระราชอำนาจ อย่างต่อเนื่องทำให้ฐานะของสถาบันกษัตริย์เนปาลกลายเป็นประมุขของประเทศแต่ ในทางพิธีกรรม (Ceremonial Monarchy) เท่านั้น เช่น ห้ามมิให้กษัตริย์มีอำนาจสั่งการกองทัพอีกต่อไป ทั้งนี้กองทัพเคยมีบทบาทในการช่วยกษัตริย์คยาเนนทรายึดอำนาจด้วยการกราบ บังคมทูลเชิญกษัตริย์คยาเนนทราขึ้นสู่อำนาจการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิ ราชย์ การจับนายกรัฐมนตรีและผู้นำพรรคการเมืองต่างๆ ในขณะนั้น มีการเปลี่ยนชื่อกองทัพจากกองทัพในพระมหากษัตริย์เนปาล (Royal Nepalese Army) มาเป็นกองทัพแห่งชาติเนปาล (Nepalese Army)
แถมเพลงชาติเนปาล ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ขึ้นต้นในทำนองว่า “ขอ พระบารมีปกเกล้า, เป็นขวัญอธิปไตย เธอชาวเนปาลผู้กล้า มีมหาราชาธิราชเป็นกษัตริย์ของเรา...” ก็ถูกเปลี่ยนอีกด้วย
ที่สำคัญหลังการประท้วงครั้งใหญ่ในเดือนเมษายนก็ทำให้กษัตริย์คยาเนนทราก็ไม่ ค่อยปรากฏพระองค์ในสถานที่สาธารณะ รถนำขบวนพระราชวงศ์ซึ่งการเสด็จครั้งหนึ่งต้องปิดถนน และทำให้รถติดในเมืองหลวงเป็นกินนานหลายชั่วโมง รวมทั้งการเสด็จแปรพระราชฐานไปยังชนบทด้วยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งก็ถูกยก เลิก
เท่านั้นยังไม่พอ ยังมีการโดดเดี่ยวกษัตริย์คยาเนนทรา ในงานเฉลิมพระชนมพรรษา ก็ไม่มีเด็กนักเรียนเป็นจำนวนมาก มาร่วมงานฉลองเหมือนอย่างเคย แถมรัฐมนตรีในรัฐบาลก็ไม่เข้าร่วมงานเลี้ยงดังกล่าว
ที่สุดแล้ว รัฐสภาเนปาลได้ประกาศยกเลิกระบบกษัตริย์ลงอย่างเด็ดขาด และเปลี่ยนประเทศเป็นระบบสาธารณรัฐ และยื่นคำขาดให้อดีตกษัตริย์ทรงออกจากพระราชวัง เพื่อนำไปทำเป็นพิพิธภัณฑ์ และเพื่อประโยชน์ของประชาชนชาวเนปาล
ในที่สุดนายคยาเนนทรา อดีตกษัตริย์เนปาลได้ออกจากพระราชวังในวันที่ 11 มิถุนายน 2551 โดยนั่งมาในรถเมอร์ซีเดสเบ๊นซ์กับนางคยาเนนทรา ภรรยาของเขา โดยมีชาวเนปาลที่โกรธแค้นกรูเข้าไปห้อมล้อมรถ ที่ไม่มีขบวนนำยาวเหยียดออกจากพระราชวังไป โดยทหารมากั้นไว้พอเป็นพิธี และให้รถยนต์คันนั้นเคลื่อนออกไปได้
และจะไม่ได้กลับมาในพระราชวังกา ฎมาณฑุอีก...ตลอดกาล.
...
http://thaienews.blogspot.com/2009/02/blog-post_05.html
-------------------------------------------------------------
วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2552
เนปาลประท้วงให้ผู้บัญชาการกองทัพลาออก หลังไม่ฟังคำสั่งรัฐบาล
ที่มา ประชาไท
ผู้สนับสนุนกลุ่มเหมาอิสต์ออกมาเดินขบวนในกรุงกาฐมาณฑุเรียกร้องให้ผู้ บัญชาการกองทัพเนปาลลาออก เมื่อ 21 เม.ย. ที่ผ่านมา (ที่มา: Reuters/daylife.com)
ผู้สนับสนุนเหมาอิสต์เดินขบวนขับไล่ผู้บัญชาการกองทัพเนปาลเป็นวันที่ 2 ติดต่อกัน เมื่อ 22 เม.ย. ที่ผ่านมา (ที่มา: Reuters/daylife.com)
ตลอดวันที่ 21 และ 22 เมษายน ที่ผ่านมา ชาวเนปาลนำโดยผู้สนับสนุนกลุ่มเหมาอิสต์ ได้ออกมาเดินขบวนในท้องถนนกรุงกาฐมาณฑุ เมืองหลวงของเนปาล เรียกร้องให้ พล.อ.รุคมานกัด คาตาวัล ผู้บัญชาการกองทัพเนปาลลาออก เนื่องจากผู้บัญชาการกองทัพไม่ยอมฟังคำสั่งของรัฐบาลที่เดิมเป็นพลพรรคเหมา อิสต์
ในวันที่ 20 เม.ย.ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีของเนปาลประกาศให้เวลาผู้นำกองทัพ 24 ชั่วโมงในการออกมาชี้แจงว่าเหตุใดถึงเพิกเฉยต่อคำสั่งของรัฐบาลที่มีการสั่ง ปลดนายพลระดับสูงออกแปดนายและเหตุใดยังคงมีการคัดเลือกทหารใหม่เข้ากองทัพ
โดยหากไม่สามารถทำตามคำสั่งรัฐบาลได้ ตัวของผู้บัญชาการกองทัพเนปาลอย่าง พล.อ.รุคมานกัด คาตาวัล (Rookmangud Katawal) เองจะเป็นผู้ถูกถอนออกจากตำแหน่ง ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นแล้ว อาจนำประเทศไปสู่ภาวะวิกฤติทางการเมืองได้ ในส่วนของพรรคคองเกรสเนปาล (Nepali Congress Party) ที่เป็นผู้นำฝ่ายค้านก็ออกมาเตือนรัฐบาลว่าจะมีการชุมนุมประท้วงตามท้องถนน และในรัฐสภาหากมีการสั่งปลดนายรุคมานกัดออก
นายกฤษณา บาฮาเดอ มาฮารา (Krishna Bahadur Mahara) รัฐมนตรีกระทรวงสารสนเทศเปิดเผยว่า ได้มีการส่งข้อความเตือนอย่างเป็นทางการไปยัง พล.อ.คาตาวัลในวันที่ 20 เม.ย. ที่ผ่านมา โดยให้เวลา 24 ชั่วโมงเพื่อออกมาชี้แจ้ง แต่นายกฤษณาก็ไม่ได้บอกว่ารัฐบาลจะทำเช่นไรหากคำสั่งยังคงถูกเพิกเฉย
ตามประวัติศาสตร์นั้น แต่เดิมกองทัพของเนปาลถูกควบคุมอยู่ภายใต้พระราชอำนาจของกษัตริย์ ก่อนที่จะมีการโค่นล้มระบอบกษัตริย์ในปีที่ผ่านมา ทำให้ปัจจุบันกองทัพตกอยู่ภายใต้คำสั่งของประธานาธิบดี แต่ดูเหมือนกองทัพพยายามขัดขืนการควบคุมจากรัฐบาลใหม่ รัฐบาลที่นำโดยอดีตกลุ่มกบฏผู้ได้รับเลือกตั้งหลังจากที่วางอาวุธและหันมา ต่อสู้อย่างสันติวิธี
กองทัพปฏิเสธไม่ยอมให้อดีตกลุ่มกบฏลัทธิเหมาและผู้บัญชาการของพวกเขาถูกรวมเข้า ไปเป็นกองกำลังแห่งชาติ ซึ่งข้อบังคับนี้มาจากเงื่อนไขของสนธิสัญญาความสงบ
นายพุชภา คามาล ดาฮาล (Pushpa Kamal Dahal) นายกรัฐมนตรีและผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์เนปาล (เหมาอิสต์) หรือกบฏลัทธิเหมาเดิม ต้องการให้ผู้นำกองทัพอธิบายว่าทำไมยังมีการคัดเลือกทหารใหม่ทั้งๆ ที่มีคำสั่งให้กองทัพหยุดรับทหารใหม่แล้ว ทำไมในช่วงต้นเดือนนี้ทหารถึงได้บอยคอตงานกีฬาระดับชาติ และกับนายพลแปดนายที่รัฐบาลไม่ได้สั่งต่ออายุการดำรงตำแหน่งและได้พ้นจาก ตำแหน่งแล้ว ทำไมกองทัพถึงยังคงอนุญาตให้เข้าทำงานได้อยู่
อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนที่แล้วศาลสูงสุดของเนปาลได้มีคำสั่งให้นำนายพลระดับสูงกลับสู่ ตำแหน่งเดิม
กลุ่มกบฏลัทธิเหมาล้มเลิกการจับอาวุธขึ้นสู้ในปี พ.ศ. 2549 และเข้าร่วมวิธีการแบบสันติ ค่ายสอดส่องของสหประชาชาติได้ปลดอาวุธและกักตัวเหล่านักสู้ลัทธิเหมาพวกนี้ ไว้ พวกเขาเข้าร่วมการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2551 และกลายเป็นพรรคการเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของเนปาล
การถอดถอนผู้นำกองทัพนั้นมีเพียงประธานาธิบดีเท่านั้นที่มีอำนาจสั่งการ นายดาฮาล นายกรัฐมนตรีได้เข้าพบประธานาธิบดี นายราม บาราน ยาดาฟ (Ram Baran Yadav) เมื่อวันที่ 20 เม.ย. ที่ผ่านมา นายดาฮาลระบุว่าเขาได้บอกประธานาธิบดีเกี่ยวกับข้อความเตือน 24 ชั่วโมงที่ส่งไป แต่เขาก็ไม่ได้อธิบายอะไรเพิ่มเติม
ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก
Nepal demands army explanation for ignored orders, BINAJ GURUBACHARYA, AP, 21-04-2009
แสดงเมื่อ 4/24/2009 08:25:00 หลังเที่ยง
http://downmerngnews.blogspot.com/2009/04/blog-post_4633.html
------------------------------------------------------------------
FfF