พอดีไปเห็นข่าว
เรื่องที่รัฐอยากจะออกกฏหมายจัดการกลุ่มผู้ชุมนุมรูปแบบต่างๆ
เช่น การห้ามชุมนุมในเวลากลางคืน และบนท้องถนน เป็นต้น
อันที่จริงก็มีหลายรัฐบาลคิดและทำมาแล้ว
รวมไปถึงกฏหมายแบบ พรก.ฉุกเฉินอะไรนั่นด้วย
ถามว่าการออกกฏหมายเหล่านี้
และการเพิ่มความแรงของกฏหมาย
จะได้ผลในทางปฏิบัติหรือไม่
อันที่จริงแล้ว
เรื่องแบบนี้ที่เนปาลก็เคยคิดและทำมาก่อนแล้ว
รายละเอียดอ่านได้จากเรื่องนี้
<<< วันนั้นที่เนปาล ใครจะนึกว่า จะมีวันนี้ >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2010/02/1-httpmaha-arai.html
เหล่านี้คือมาตรการความรุนแรงที่ต่างประเทศเคยใช้
กรณีนี้ยกตัวอย่างของประเทศเนปาล
มีการให้อำนาจเจ้าหน้าที่ยิงประชาชน
ทั้งกวาดล้างจับกุมนักเคลื่อนไหว นับพันคน
ทั้งสลายการชุมนุมโดยมีคนบาดเจ็บล้มตาย
ดังตัวอย่างรายงานบางส่วนดังต่อไปนี้
"คำสั่งของฝ่ายบริหารท้องถิ่นที่อนุญาต ให้เจ้าหน้าที่รักษาความมั่นคง ยิงใครก็ตามที่ก่อความรุนแรงในช่วงเคอร์ฟิว"
"กองกำลังติดอาวุธขนาดใหญ่ได้รับอนุญาต ให้ใช้กำลังควบคุมการประท้วงอย่าง สันติ"
"นักเคลื่อนไหวทางการเมืองมากกว่า 1,000 คนถูกจับและหลายร้อยคนบาดเจ็บในช่วง 3 วันที่ผ่านมา"
"นักเคลื่อนไหวทางการเมือง 2 คนตายจากการบาดเจ็บหลังจากถูกตีอย่างรุนแรงโดยตำรวจปราบจราจล"
"ในเมืองหลวงรัฐมนตรีมหาดไทยประกาศ เคอร์ฟิวนาน 1 วันและงดให้บริการโทรศัพท์มือถือเพื่อทำลายแผนการประชุมขนาดใหญ่ของพรรคฝ่ายค้าน"
"การประท้วงหลายต่อหลายครั้ง รัฐบาลได้ประกาศเคอร์ฟิวห้ามไม่ให้ประชาชนออกมาชุมนุม แต่การชุมนุมประท้วงกลับขยายตัวไปตามเมืองใหญ่ๆ ตลอดทั้งเดือน ทำให้รัฐบาลพยายามควบคุมสถานการณ์ด้วยการใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดสลายการชุมนุมกระทั่งมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก จำนวนผู้ออกมาประท้วงเฉพาะในเมืองหลวงพุ่งสูงกว่า 300,000 - 500,000 คน"
"ตลอด การประท้วงใหญ่ 19 วัน มีการปราบปรามโดยกองกำลังรัฐบาลจนมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 19 คน และผู้บาดเจ็บนับพันคน ด้วยเหตุนี้ระหว่างประท้วงจึงทำให้มวลชนตามท้องถนนเผาหุ่นของกษัตริย์และประณามกษัตริย์คเยนทราว่าเป็น "ฆาตกร""
จากกรณีเหตุการณ์ความรุนแรงของการประท้วงในเนปาล
บานปลายจนกลายเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
จะเห็นได้ว่าช่วงสุดท้ายของผู้มีอำนาจ
มักจะโหดเต็มที่เพื่อรักษาอำนาจของตนไว้
โดยไม่สนใจประชาชน
ประเภทว่า มาแสนตายแสน
แต่อันที่จริงแล้ว
การชุมนุมต่อต้านผู้มีอำนาจจนเกิดการเปลี่ยนแปลง
ตายไม่กี่สิบคนก็เกิดการเปลี่ยนแปลงได้แล้ว
เช่น กรณีเนปาล เป็นต้น
หรือไม่กี่ร้อยคน กรณีฝรั่งเศส
แค่เขาพุ่งเป้าเข้าใส่ตรงๆ
ไม่เฉไปเฉมาก็เริ่มนับถอยหลังกันได้แล้ว
ถ้าพลังประชาชนแรงจริงๆ และ มากจริงๆ
ต่อให้มีกองกำลังทหารอาวุธครบมือ
ก็ต้านทานเอาไว้ไม่อยู่
ถ้าเขาไม่เลิกลา มุ่งมั่นจะลุยจนชนะให้ได้
เหมือนเขาตั้งเป้าว่าจะยึดทำเนียบ
แบบเดียวกับที่พวกพันธมิตรม็อบเสื้อเหลืองทำ
ก็ทำได้สำเร็จ ถ้าเขามีเป้าหมายจะยึด
และจุดนั้นต้องปกป้องเต็มที่
ยกเว้นว่าจะปล่อยให้ยึดกันไปง่ายๆ
จะเห็นได้ว่า กฏหมายอะไร
แรงแค่ไหนมีกี่ร้อยฉบับ ก็เอาไม่อยู่
ถ้าประชาชนจำนวนมากพร้อมลุย
กรณีพวกเสื้อเหลืองอาจดูไม่ชัด
เพราะว่าเป็นม็อบเส้นใหญ่
เจ้าหน้าที่อาจเกรงใจ
ก็ลองดูกรณีม็อบเสื้อแดงดูก็ได้
ถ้าตั้งเป้าจะยึดจริงๆ
ยึดได้อยู่แล้วยิ่งคนมามากๆ ด้วยแล้ว
ลวดหนามแค่นั้นเอาไม่อยู่หรอก
เพียงแต่งวดก่อนเขาไม่ได้ต้องการไปยึด
แค่ล้อมไว้เฉยๆ
จึงไม่ต้องแปลกใจว่า
ถ้าคนมากันหลายแสนจริงๆ
มากันแบบมืดฟ้ามัวดินจริงๆ
และมาแบบไม่ยอมจริงๆ
อยากจะเอาเรื่องผู้มีอำนาจจริงๆ
ไม่ได้ขนกันมาเพื่อแสดงพลังกันเฉยๆ
จะเป็นอะไรที่ผู้มีอำนาจเขากลัวกันมาก
เพราะมันมีตัวอย่างให้เห็นๆ หลายที่แล้ว
ว่าถ้าวันใดประชาชนกล้าจนไม่กลัวกฏหมายที่แรงๆ
ที่ออกมาข่มขู่หรือจะทำจริงจังก็ตาม
แถมมีจำนวนมากมายมหาศาล
อะไรก็เกิดขึ้นได้ทั้งนั้น
ส่วนพวกที่มีอาวุธในมือ
เจอคนมากมายแบบนี้
วันแรกๆ ก็อาจฮึกเหิม
บางคนบ้าบิ่นยิงใส่ประชาชน
ซึ่งก็เหมือนเติมเชื้อไฟให้ลุกโชนขึ้นไปอีก
ถ้าเขายังออกมาเรื่อยๆ ไม่ยอม
ใครจะกล้าไปยิงประชาชนจำนวนมาก
และที่สำคัญถ้าคนมากมายขนาดนั้น
เผลอๆ เจ้าหน้าที่ระดับล่าง
จะถอดหมวกหัวโขนของเขาออก
แล้วมายืนฝั่งประชาชนแทนก็ได้
ขอแค่เขามั่นใจว่าฝั่งผู้ชุมนุมชนะแน่ๆ
บรรยากาศมันจะพาไปเอง
ฝูงชนที่โกรธแค้นจำนวนมากๆ
ก็เปรียบเสมือนพายุเฮอริเคน
ไปถึงที่ไหน ที่นั่นก็พังพินาศย่อยยับ
ดังนั้นการคิดจะใช้วิธีราดน้ำมันลงบนกองไฟ
คงไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ดีอย่างแน่นอน
มีแต่วิธีดับทุกข์ร้อนขจัดปัญหาคาใจเท่านั้น
ที่จะแก้ปัญหาได้
แต่ไม่ใช่คิดจะแก้ปัญหาแบบที่ว่า
ในวันเวลาที่เขื่อนแตกแล้วน่ะ
เพราะมันไม่มีประโยชน์อะไรแล้ว
ดังนั้น จึงขอสรุปว่า
กฏหมายที่แรงๆ คือกำแพงวัดพลังประชาชน
ถ้าเห็นการบังคับใช้ตัวบทกฏหมาย
ยิ่งรุนแรงมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งรับรู้ได้เลยว่า
วันสุดท้ายของผู้มีอำนาจ กำลังจะใกล้เข้ามาถึง
โดย มาหาอะไร
FfF
บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.