บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


14 กุมภาพันธ์ 2553

<<< สิ้น เบี้ย กู้ อีก สิ้น หนี้ ค่อย ใช้ >>>

คลังชงออกพรก.กู้เงิน

แหล่งข่าวกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ได้นำแผนการกู้เงินกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ไปหารือกับนายกรัฐมนตรีแล้วคาดว่าจะนำเรื่องเข้าพิจารณาในคณะรัฐมนตรี เศรษฐกิจสัปดาห์หน้า ทั้งนี้ สบน.ได้เสนอให้ออกเป็นพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงิน 1.4 ล้านล้านบาท ภายในระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552-2554 โดยพ.ร.ก. ดังกล่าวจะเหมือนการออกพ.ร.ก. 3 ฉบับ เพื่อกู้เงินชดเชยความเสียหายหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบัน การเงินในช่วงหลังวิกฤตปี 2540

“การออกพ.ร.ก.กู้เงิน ทำได้เร็วและเปิดช่องทางที่ติดปัญหากู้เงินเต็มเพดานโดยไม่ต้องแก้กฎหมาย หลัก เช่น พระราชบัญญัติการจัดทำงบประมาณของประเทศซึ่งต้องใช้เวลานาน” แหล่งข่าวเปิดเผย

นอกจากการออกพ.ร.ก.กู้เงินแล้ว รัฐบาลยังมีช่องทางการกู้เงินจากต่างประเทศอีก 7 หมื่นล้านบาท และมีวงเงินกู้ลงทุน 2 แสนล้านบาท ให้รัฐวิสาหกิจ

ด้านนางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า แผนกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2 วงเงิน 1.4 ล้านล้านบาท เพื่อนำมาใช้ในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า หากเป็นแพ็กเกจขนาดใหญ่ก็จะมีผลต่อเศรษฐกิจมาก

นางธาริษา กล่าวว่า รัฐบาลสามารถขยายเพดานเงินกู้ได้ชั่วคราว แต่เมื่อภาวะเศรษฐกิจและรายได้ของรัฐบาลกลับมาสู่ภาวะปกติแล้ว ก็ควรกลับมาดำเนินการตามกรอบเดิม ซึ่งที่ผ่านมาภาครัฐได้ระมัดระวังการใช้นโยบายการคลังพอสมควร จนทำให้ฐานะการคลังของรัฐบาลมีความแข็งแกร่ง และ มีพื้นที่จะใช้กระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม ขึ้นได้

เมื่อวานนี้ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติขอถอนร่างพ.ร.บ.ขั้นตอนและวิธีการจัดทำหนังสือ สัญญา และร่างพ.ร.บ.ขั้นตอนและวิธีการจัดการทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ เรื่องที่ให้ยกเว้นหนังสือสัญญากู้เงินและค้ำประกันเงินกู้ เนื่องจากสส.พรรคเพื่อไทยเรียกร้องให้รัฐบาลถอนร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ เพราะขัดกับรัฐธรรมนูญ เปิดช่องทางให้รัฐบาลกู้เงินต่างชาติโดยไม่ต้องผ่านความเห็นชอบจากสภา

ที่มา : http://www.posttoday.com

------------------------------------------------------------------------------

ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเอกฉันท์ พ.ร.ก.กู้เงิน ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ

Thu, 2009-06-04 04:03

(3 มิ.ย.) ศาลรัฐธรรมนูญได้ประชุมเพื่อแถลงด้วยวาจา และลงมติวินิจฉัย กรณีที่ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ส่งความเห็นของ ส.ส. ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 185 กรณีพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 184 วรรคหนึ่ง และวรรคสองหรือไม่

ประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยมี 2 ประเด็น ประกอบด้วย ประเด็นแรก คือ พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่น คงทางเศรษฐกิจ พ.ศ.2552 ตราขึ้นเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 184 วรรคหนึ่ง หรือไม่

ข้อเท็จจริงเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปว่า สถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่เกิดปัญหาขึ้นส่งผลให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบจาก สถานการณ์ดังกล่าว นอกจากผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยภายนอกแล้ว ปัญหาการเมืองภายในประเทศก็มีความสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจของไทยเกิดภาวะชะลอ ตัวลง ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและผู้ลงทุน ตลอดจนก่อให้เกิดความล่าช้าในการผลักดันโครงการต่างๆ ของทางภาครัฐ

จากเหตุความเป็นไปในภาวะของเศรษฐกิจของประเทศไทยดังกล่าวสรุปที่มาของ ปัญหาโดยมีที่มาจากปัจจัยภายนอก ได้แก่ สภาพเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวและชะงักงันโดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบเศรษฐกิจ ตลาดเงิน ตลาดทุนและการล้มละลายของสถาบันการเงินในหลายประเทศ ที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อเศรษฐกิจโลก ปัจจัยภายในได้แก่ สถานการณ์การเมืองที่ขาดเสถียรภาพซึ่งส่งผลให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนลดลง และเกิดความลังเลในการตัดสินใจที่จะมาลงทุน ทำให้ระบบเศรษฐกิจขาดสภาพคล่องทางการเงิน

โดยเฉพาะด้านการส่งออกและรายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เคยทำราย ได้เข้าประเทศสูงสุดกลับมีรายได้ลดลงอย่างมาก เนื่องจากนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศขาดความมั่นใจในสวัสดิภาพและความ ปลอดภัย ในการเดินทางมาประเทศไทย ส่งบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจของไทยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ การเงินโลกและวิกฤตการเมืองภายในประเทศได้แก่ มูลค่าการส่งออกของสินค้าไทยหดตัวอย่างรวดเร็วรายได้จากการท่องเที่ยวลดลง ภาคธุรกิจมีการปิดหรือเลิกกิจการเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาการว่างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หนี้เสียในระบบสถาบันการเงินมีแนวโน้มสูงขึ้น กำลังซื้อสินค้าและบริการของประชาชนโดยรวมลดลง ผลกระทบทั้งหมด ทำให้อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) หดตัวลดลงเป็นอันมาก

ปัจจัยข้างต้นส่งผลกระทบต่อฐานะการคลังของประเทศ กล่าวคือ รายได้ที่จัดเก็บได้จริงน้อยกว่าประมาณการที่ตั้งเป้าหมายไว้ ทำให้เกิดปัญหาต่อเนื่องถึงความสามารถในการใช้จ่ายและจัดทำบริการสาธารณะของ รัฐ แม้ว่ารัฐบาลจะได้ดำเนินมาตรการต่างๆ ทั้งมาตรการช่วยเหลือภาคอสังหาริมทรัพย์ มาตรการทางภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ มาตรการเพื่อช่วยเหลือสภาพคล่องทางการเงินให้แก่ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง มาตรการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและเศรษฐกิจฐานราก มาตรการเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน มาตรการจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ.2552 หรือมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐก็ตาม ก็ยังไม่อาจทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องได้แน่

เมื่อพิจารณาสาระสำคัญของพระราชกำหนดประกอบเหตุผลในการตราพระราชกำหนด ดังกล่าวแล้ว ย่อมเห็นได้ว่า การที่คณะรัฐมนตรีตราพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟู และเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ.2552 ขึ้นมาก็เพื่อแก้ไขวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศมิให้ตกต่ำไปมากกว่าที่ เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ทั้งเพื่อให้ภาครัฐในฐานะที่เป็นแรงขับเคลื่อน เศรษฐกิจที่จะช่วยสร้างกำลังซื้ออย่างเร่งด่วนในระบบในช่วงที่กำลังซื้อจาก ต่างประเทศและในประเทศหดตัวลงจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของโลก ที่จำเป็นต้องรีบดำเนินมาตรการแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจโดยเร่งด่วนเพื่อป้องกัน ปัญหาก่อนที่ปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจจะลุกลามไปในทุกภาคส่วน อันเป็นการทำหน้าที่พื้นฐานทางเศรษฐกิจของรัฐในการสร้างความมั่นคงทาง เศรษฐกิจของประเทศ จึงเป็นการกระทำที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงใน ทางเศรษฐกิจของประเทศตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 วรรคหนึ่ง แล้ว

ประเด็นที่สอง พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่น คงทางเศรษฐกิจ พ.ศ.2552 ตราขึ้นเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 วรรคสอง หรือไม่

เมื่อพิจารณาถึงสภาพปัญหาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศที่กำลัง ประสบอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่ามูลค่าการส่งออกของสินค้าไทยที่หดตัวอย่างรวดเร็ว รายได้จากการท่องเที่ยวลดลง การที่ภาคธุรกิจ มีการปิดหรือเลิกกิจการเพิ่มมากขึ้น ปัญหาอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหนี้เสียในระบบสถาบันการเงิน มีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งทุกเหตุปัจจัยส่งผลกระทบให้เกิดภัยวิกฤตเศรษฐกิจ ของประเทศ จนรัฐบาลต้องเร่งดำเนินมาตรการเพื่อแก้ไขวิกฤตนั้นไม่ว่า มาตรการช่วยเหลือภาคอสังหาริมทรัพย์ มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ มาตรการเพื่อช่วยเหลือสภาพคล่องทางการเงินให้แก่ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง มาตรการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและเศรษฐกิจฐานราก มาตรการเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน มาตรการจัดทำงบประมารรายจ่ายเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ.2552 และมาตรการอื่นๆ เพื่อแก้ไขภัยจากวิกฤตเศรษฐกิจดังกล่าว แต่สภาวะเศรษฐกิจโลกและสภาวะเศรษฐกิจของประเทศยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง แล้ว จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่มีความฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีก เลี่ยงได้เกิดขึ้นแล้ว

ดังนั้น เมื่อพิจารณาถึงเหตุที่เป็นกรณีความฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจ จะหลีกเลี่ยงได้ดังกล่าวข้างต้น ประกอบสาระสำคัญและกรอบการดำเนินการตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลัง กู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ.2552 แล้ว ยังไม่มีมูลกรณีให้เห็นว่าคณะรัฐมนตรีได้ตราพระราชกำหนดขึ้นมาโดยไม่สุจริต หรือใช้ดุลพินิจบิดเบือนหลักการของรัฐธรรมนูญ จึงเห็นว่า การตราพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้าง ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ.2552 เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ตามรัฐ ธรรมนูญ มาตรา 184 วรรคสอง แล้ว

ศาลรัฐธรรมนูญโดยมติเอกฉันท์ จึงวินิจฉัยว่า พระ ราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคง ทางเศรษฐกิจ พ.ศ.2552 ตราขึ้นเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 วรรคหนึ่ง และเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 วรรคสอง

ที่มา: เรียบเรียงจาก มติชนออนไลน์และเว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ
http://www.prachatai.com/journal/2009/06/24537

------------------------------------------------------------------------------

รัฐบาลอภิสิทธิ์สงสัยจะยึดหลักที่ว่า
"สิ้น เบี้ย กู้ อีก สิ้น หนี้ ค่อย ใช้ "
เพราะเห็นๆ เลยมีแต่เรื่องกู้เงิน
หมดเงินก็ไปหากู้มาใช้อีก
ซึ่งก็เหมือนกับการสิ้นเบี้ย
หรือหมดเงินเมื่อไหร่

ก็ไปหาเงินกู้ไปขอยืมเขามาใช้อีก
ส่วนการใช้เงินกู้คืนนั้น
อาจสิ้นรัฐบาลนี้ค่อยใช้
ก็เป็นความซวยสำหรับรัฐบาลถัดไป
แต่ถ้าชักหน้าไม่ถึงหลัง
มีแต่เงินกู้เต็มไปหมด
เหมือนนักกู้สิบทิศแบบชาวบ้านทั่วไป
อาจต้องมีการชักดาบ
และอาจประกาศว่า
"สิ้นหนี้ค่อยใช้"
ซึ่งก็หมายความว่า
ถ้ายังมีหนี้ก็ยังไม่ใช้ อิอิ
เพราะมีเจ้าหนี้เยอะเต็มไปหมด
หรือแปลไทยเป็นไทยก็คือ
ไม่ใช้แน่ๆ เพราะจะใช้
ก็ต่อเมื่อสิ้นหนี้หรือไม่มีหนี้
แล้วถ้ามีหนี้แล้วไม่ใช้
จะสิ้นหนี้ได้เมื่อไหร่กัน
ซึ่งประเทศไทยอาจยังไม่ถึงขนาดนั้น
แต่อนาคตไม่แน่หลายประเทศทั่วโลก
ก็เคยมีแบบนี้
ถ้ายังปล่อยให้ใช้วิธีกู้ยืมมาใช้
อยู่เรื่อยๆ แบบนี้
ก็อาจจะได้เห็นสักวัน
วันที่รัฐบาลล้มละลาย
ประเทศก็คงเลวร้ายไปด้วย
หรือเกิดอุบัติเหตุทั้งทางการเมือง
ที่อาจมีเผด็จการลุกขึ้นมาปิดประเทศ
หรือภัยธรรมชาติแบบเฮติ
ซึ่งเป็นปัจจัยที่ควบคุมได้และไม่ได้
แต่ถ้ามันขึ้นเกิดแล้ว
มันจะมีผลต่อความสามารถ
ในการชำระหนี้คืนแน่นอน
แต่ส่วนชาวบ้านทั่วไป
อาจมีแบบที่ว่าเยอะเหมือนกัน

สำหรับผลการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ
ที่ตัดสินออกมาเพื่อให้รัฐบาลอภิสิทธิ์
สามารถออก พรก. กู้เงินได้
เนื่องจากเป็นกรณีฉุกเฉิน
ที่มีความจำเป็นรีบด่วน
อันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้

ตามนี้

"ศาลรัฐธรรมนูญโดยมติเอกฉันท์ จึงวินิจฉัยว่า พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่น คง ทางเศรษฐกิจ พ.ศ.2552 ตราขึ้นเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 วรรคหนึ่ง และเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 วรรคสอง"

ดังนั้น การที่รัฐบาลนี้ชอบโอ่อวดว่า
เศรษฐกิจดีแล้ว

เศรษฐกิจฟื้นแล้ว
แล้วทำไมยังเห็นว่า
จะมีการออก พรก. กู้เงิน
อีก
ถ้าเศรษฐกิจดีแล้ว ฟื้นแล้วจริง
อย่างที่รัฐบาลว่ามา

การออก พรก. กู้เงินจะผิดทันที
เนื่องจาก ไม่เข้ามาตรานี้
"เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 วรรคสอง"

ดังนั้น ถ้ารัฐบาลนี้ยังคิดจะออก พรก.กู้เงิน
ก็ต้องประกาศบอกชาวบ้านว่า
เศรษฐกิจยังไม่ดียังไม่ฟื้น

ถ้าทำตรงกันข้ามหมายความว่า
กำลังทำผิดรัฐธรรมนูญอย่างโจ่งแจ้งที่สุด

จับตาดูปีนี้อาจมีการออก พรก. ขอกู้เงินอีก
งวดที่แล้ว 400,000 ล้านบาท
งวดต่อไปก็คงราวๆ นี้อีก
แล้วอาจมีตีหน้าเศร้า
บอกว่าเศรษฐกิจไม่ดี
แต่เวลากู้ผ่านหรือก่อนหน้านั้น
เช่นช่วงนี้
อาจมาบอกว่าเศรษฐกิจดียังงั้นยังงี้
นี่ไง นั่นไง ตัวเลขโตขึ้น
ทุกด้าน
เก็บคำโอ่อวดเหล่านั้นไว้
เผื่อใช้ย้อนเกร็ดในภายหลัง


โดย มาหาอะไร
FfF