บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


23 กุมภาพันธ์ 2553

<<< ดัชนีความเชื่อมั่นของนักลงทุนญี่ปุ่นในไทยกับความวุ่นวายทางการเมืองของไทย >>>

ดัชนีความเชื่อมั่นของนักลงทุนญี่ปุ่นที่ลดลงต่อเนื่อง : ผลต่อทิศทางการลงทุนในระยะข้างหน้า
ฉบับที่ 1935 วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2550 พิมพ์บทความ
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

ญี่ปุ่นนับเป็นประเทศผู้ลงทุนรายสำคัญที่สุดในประเทศไทย คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 1 ใน 3 ของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่เข้ามายังประเทศไทยทั้งหมด ในระยะหลายปีที่ผ่านมา ไทยเป็นประเทศที่นักลงทุนญี่ปุ่นให้ความสนใจเข้ามาลงทุนมากที่สุดแห่งหนึ่ง ในภูมิภาคเอเชีย แม้แต่ในช่วงปี 2549 ที่สถานการณ์ภายในประเทศเผชิญกับปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง แต่ถ้าเปรียบเทียบภายในกลุ่มประเทศเอเชียด้วยกัน พบว่าการลงทุนของญี่ปุ่นในประเทศไทยมีมูลค่าสูงเป็นอันดับสอง รองจากประเทศจีน โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณปัจจุบันของญี่ปุ่น (FY 2549) หรือ ระหว่างเดือนเมษายนถึงกันยายน 2549 ญี่ปุ่นมีการลงทุนในประเทศไทยมูลค่า 1,156 ล้านดอลลาร์ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงกว่าอัตราการขยายตัวโดยเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียที่ร้อยละ 6

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขเงินลงทุนที่เข้ามา ณ ปัจจุบันนี้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่เคยมีต่อประเทศไทย ในระยะก่อนหน้า สิ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้ ณ ขณะนี้คือ ความเชื่อมั่นของนักลงทุนญี่ปุ่นถดถอยลงไปอย่างมาก ในปัจจุบัน ปัจจัยพื้นฐานภายในประเทศหลายประการดำเนินไปในทิศทางเชิงลบ ทำให้ความน่าดึงดูดของไทยลดน้อยลงในสายตาของนักลงทุนต่างชาติ ปัจจัยต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อแนวโน้มการลงทุนจากต่างประเทศในประเทศไทย ได้สะท้อนผ่านมุมมองของนักลงทุนดังที่เห็นได้จากการผลสำรวจหลายชิ้น ประกอบด้วย

- การสำรวจความเชื่อมั่นของบริษัทญี่ปุ่นในเอเชีย โดยองค์กรการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ JETRO (Japan External Trade Organization) พบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นต่อภาวะการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย (Diffusion Index) ในเดือนมกราคม 2550 อยู่ที่ระดับ -12.9 อยู่ในแดนลบต่อเนื่องตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2549 และรั้งอันดับต่ำสุดในกลุ่มประเทศอาเซียนติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3

- การสำรวจของ JETRO ถึงแผนการลงทุนของบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทยพบว่า บริษัทญี่ปุ่นมีแผนการลงทุนขยายธุรกิจในประเทศไทยในปี 2550 ลดลงจากปี 2549 ถึงร้อยละ 26.5

- การสำรวจของธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ JBIC (Japan Bank of International Cooperation) ประจำปี 2549 สอบถามความคิดเห็นของบริษัทข้ามชาติญี่ปุ่นถึงมุมมองต่อประเทศที่สนใจเข้าไป ลงทุนในระยะ 3 ปีข้างหน้า พบว่าความสนใจของบริษัทญี่ปุ่นในการเข้ามาลงทุนที่ประเทศไทยลดลงมาเป็น อันดับที่ 4 จากที่เคยอยู่ในอันดับ 3 และอันดับ 2 ในการสำรวจเมื่อปี 2548 และ 2547 ตามลำดับ โดยประเทศที่ญี่ปุ่นให้ความสนใจเข้าไปลงทุนมากที่สุดยังคงเป็นจีน รองลงมาคืออินเดีย และเวียดนามแซงหน้าไทยขึ้นมาเป็นอันดับ 3

ความเชื่อมั่นของนักลงทุนญี่ปุ่นต่อประเทศ ไทยที่ถดถอยลง ในขณะที่มุมมองของนักลงทุนญี่ปุ่นกลับให้ความสนใจต่อการไปลงทุนในประเทศ เพื่อนบ้านเพิ่มมากขึ้น นับได้ว่าเป็นสัญญาณที่ภาครัฐไม่อาจมองข้ามได้ และควรเร่งหามาตรการแก้ไขตลอดจนปรับแนวนโยบายการลงทุนเพื่อให้สามารถแข่งขัน กับประเทศเพื่อนบ้านได้

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ปัจจัยพื้นฐานที่สนับสนุนการลงทุนในไทยอ่อนแอลง เนื่องจากบรรยากาศการลงทุนของไทยถูกกระทบจากเหตุการณ์ภายในประเทศหลายด้าน ที่สำคัญ ได้แก่ ปัญหาทางการเมือง เหตุการณ์วินาศกรรม ปัญหาการแข็งค่าของเงินบาทมาตรการสำรองเงินนำเข้าระยะสั้น ของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งมีผลทำให้ธุรกิจต่างชาติในไทยมีต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้นและมีความ คล่องตัวในการบริหารจัดการทางการเงินลดลง และร่างแก้ไขพรบ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ซึ่งแม้ว่าอาจไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการต่างชาติที่ประกอบธุรกิจในประเทศ ไทยอยู่แล้วในวงกว้าง แต่อาจกระทบต่อแนวโน้มการลงทุนใหม่ที่จะเกิดขึ้นในระยะข้างหน้า ปัจจัยต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อแนวโน้มการลงทุนจากต่างประเทศในประเทศไทย ที่สะท้อนผ่านมุมมองของนักลงทุน โดยเฉพาะนักลงทุนญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ลงทุนรายสำคัญที่สุดของไทย อาจเป็นสัญญาณที่รัฐบาลไม่อาจมองข้าม และควรเร่งหามาตรการแก้ไข ตลอดจนหันมาทบทวนปรับแนวนโยบายการลงทุนเพื่อรักษาสถานะการแข่งขันของไทยใน ด้านการลงทุนภายในภูมิภาค

http://www.scb.co.th/LIB/th/article/mong/2550/m1935.html

------------------------------------------------------------------------------

โล่งอกนักธุรกิจญี่ปุ่นขยับไทยน่าลงทุนอันดับ4

นายซูสุมุ อุชิดะ เศรษฐกรอาวุโสและหัวหน้าสำนักงานเจบิคประจำประเทศสิงคโปร์ เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของนักลงทุนญี่ปุ่นประจำปี 2552 ที่สำรวจระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2552 จำนวน 625 บริษัท พบว่า นักลงทุนญี่ปุ่นเลือกประเทศจีนเป็นประเทศที่น่าเข้าไปลงทุนมาก ที่สุด รองลงมาคือ อินเดีย และเวียดนาม ส่วนประเทศไทย อยู่ลำดับที่ 4 เลื่อนขึ้นจากลำดับที่ 5 ในปี 2551 แซงหน้ารัสเซียที่ตกมาอยู่ในอันดับที่ 5 เนื่องจากส่วนใหญ่ 48.1% เห็นว่าไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพด้านภาวะเศรษฐกิจและตลาดในประเทศ อีก 41.7% เห็นว่าอัตราค่าจ้างต่ำ และ 26.9% เห็นว่าไทยเป็นฐานการผลิต เพื่อการส่งออกที่สำคัญ

อย่างไรก็ตาม ยังมีอุปสรรคที่นักลงทุนญี่ปุ่นกังวลเกี่ยวกับการลงทุนใน ไทย โดย 38.5% เห็นว่ามีการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นของบริษัทคู่แข่ง และ 29.8% มองว่าขาดแคลนบุคลากรในระดับผู้บริหาร อีก 27.9% เป็นเรื่องของความขัดแย้งด้านสังคมและการเมืองที่เคยเป็นจุดแข็งแต่ขณะนี้ กลายเป็นอุปสรรคที่สำคัญ

นอกจากนี้พบว่าทัศนคติของนักลงทุนญี่ปุ่นต่อการลงทุนเปลี่ยนแปลงไป โดยให้ความสำคัญกับขนาดของตลาดที่เข้าไปลงทุนมากขึ้น เพื่อเป็นฐานการผลิตและจำหน่ายในประเทศที่เข้าไปลงทุน แทนที่จะผลิตเพื่อส่งออกเหมือนในอดีต เห็นได้จากประเทศที่ญี่ปุ่นลงทุนใน 3 อันดับแรก ถือว่ามีศักยภาพการเติบโตของภาวะเศรษฐกิจ และมีอุตสาหกรรมที่โดดเด่นเช่น อุตสาหกรรมเคมี และอิเล็กทรอนิกส์ แซงหน้าอุตสาหกรรมรถยนต์ ที่ยอดจำหน่ายรถยนต์ลดลงจากปัญหาเศรษฐกิจ

ด้านนางอรรชกา ศรีบุญเรือง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เชื่อว่า ยอดการขอรับการส่งเสริมการลงทุนใน ปีนี้จะเป็นไปตามเป้าหมายที่ระดับ 5 แสนล้านบาท เนื่องจากยอดขอรับการส่งเสริมในเดือนมกราคม สูงถึง 5 หมื่นล้านบาท เชื่อว่าจะเฉลี่ยได้อีกเดือนละ 4 หมื่นล้านบาท โดยเป็นอุตสาหกรรมไฟฟ้า พลังงานทดแทน อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนจีน อินเดีย และเกาหลี นอกจากนั้นเพื่อสร้างความมั่นใจให้นักลงทุนญี่ปุ่น ทางบีโอไอและกระทรวงการคลังจะเดินทางโรดโชว์ในเดือนมีนาคมนี้ เพื่อชี้แจงถึงปัญหาการเมือง การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ และปัญหามาบตาพุด แม้ว่ามีเพียง 5 บริษัทญี่ปุ่นที่ได้รับผลกระทบจากมาบตาพุดก็ตาม

ที่มา : คม-ชัด-ลึก
http://websociety.biz/news/20100223/49561/โล่งอกนักธุรกิจญี่ปุ่นขยับไทยน่าลงทุนอันดับ4.asp

------------------------------------------------------------------------------

"พบว่าความสนใจของบริษัทญี่ปุ่นในการเข้ามาลงทุนที่ประเทศไทยลดลงมาเป็น อันดับที่ 4 จากที่เคยอยู่ในอันดับ 3 และอันดับ 2 ในการสำรวจเมื่อปี 2548 และ 2547 ตามลำดับ โดยประเทศที่ญี่ปุ่นให้ความสนใจเข้าไปลงทุนมากที่สุดยังคงเป็นจีน รองลงมาคืออินเดีย และเวียดนามแซงหน้าไทยขึ้นมาเป็นอันดับ 3"

- สมัยรัฐบาลทักษิณในปี 2547
ผลสำรวจนักลงทุนญี่ปุ่นสนใจลงทุนในไทยเป็นอันดับ 2
รองจากประเทศจีนประเทศเดียว

ปี 2548 สนธิเริ่มป่วนเมือง
โดยเริ่มมีการโจมตีผ่านรายการเมืองไทยรายสัปดาห์
ทั้งเรื่องวัดพระแก้วเรื่องนั่นนี่
โดยสุมหัวกับพวกอำมาตย์
ทำให้อุณหภูมิการเมืองไทยร้อนขึ้นมา
ผลสำรวจนักลงทุนญี่ปุ่นสนใจลงทุนในไทยเป็นอันดับ 3

ปี 2549 ผลสำรวจนักลงทุนญี่ปุ่น
สนใจลงทุนในไทยเป็นอันดับ 4

ปีนี้เป็นปีที่ไทยวุ่นวายที่สุดปีหนึ่ง
โดยเป็นผลงานของม็อบในโครงการฯ
พวกพันธมิตรหรือพวกเสื้อเหลืองออกมาป่วน
อภิสิทธิ์บอยคอตไม่ยอมเลือกตั้ง
สงสัยกลัวแพ้ทักษิณหมดรูป

ศาลตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ
และตบท้ายด้วยการทำรัฐประหาร
ในขณะที่กำลังจะมีการเลือกตั้ง
กลัวทักษิณขนาดไหนคิดดู
และเกิดขบวนการปล้นทรัพย์ทักษิณทันที
ปีที่วุ่นวายย่ำแย่สุดสุดก็อยู่อันดับ 4

ปี 2550 นั้นตกต่ำสุดขีด
ต่ำกว่าทุกประเทศในอาเซียน
ปีนี้น่าจะรั้งตำแหน่งบ๋วยสุด

ปี 2551 เป็นปีที่เสื้อเหลืองป่วนตกลงไปอยู่อันดับ 5
เป็นปีที่มีการปล้นตำแหน่งนายกกันเอิกเกริก
ล้มนายกได้ 2 คน
ยึดทำเนียบ ยึดรัฐสภา ยึดนั่นยึดนี่
ปิดสนามบินตั้งหลายแห่ง
ผลงานม็อบเสื้อเหลือง

ปี 2552 เป็นปีที่เสื้อแดงป่วนขึ้นมาอันดับ 4
ขนาดปีที่แล้วเกิดกรณี เมษาเลือด
ยังแรงไม่เท่าพันธมิตรเลย
ถึงได้ขยับกลับมาอยู่ที่ อันดับ 4
เท่ากับปีที่พวกอำมาตย์สุมหัวกันปล้นตำแหน่งทักษิณสำเร็จ

ดัชนีความเชื่อมั่นของนักลงทุนญี่ปุ่นในไทย
เพิ่มขึ้นและสูงต่อเนื่องบางปีสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
ในช่วงที่ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรี
และมาตกต่ำอีกครั้งหลังรัฐประหารโดยพวก คมช.
และได้รัฐบาลสุรยุทธ์


ดูกราฟดัชนีความเชื่อมั่นของนักลงทุนญี่ปุ่นในไทย 2001-2007 (2544-2550)
http://www.jetro.go.jp/en/news/releases/20070227733-news/asean_Graph.xls













โดย มาหาอะไร
FfF