บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


11 กุมภาพันธ์ 2553

<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคม >>>

พระราชกำหนด แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 พ.ศ. 2546 มาตราที่ 1-4
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2546 เป็นปีที่ 58 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต พระ ราชกำหนดนี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่ง มาตรา 29 ประกอบกับ มาตรา 31 มาตรา 35 มาตรา 48 และ มาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมาย อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 218 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชกำหนดนี้เรียกว่า "พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 พ.ศ. 2546"
มาตรา 2[1] พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้ยกเลิกบทนิยามคำว่า "บริการ" ใน มาตรา 4 แห่ง พระราชบัญญัติ ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"บริการ" หมายความว่า การให้บริการในทางธุรกิจในสถานบริการ ตามที่ระบุไว้ในกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต"
มาตรา 4 ให้ยกเลิกบทนิยามคำว่า "สถานบริการ" ใน มาตรา 4 แห่ง พระราชบัญญัติ ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"สถานบริการ" หมายความว่า สถานที่สำหรับประกอบกิจการในด้านบริการ และให้หมายความถึงสำนักงานใหญ่ที่จัดตั้งขึ้นในการประกอบกิจการ ในกรณีที่ไม่อาจกำหนดสถานที่ให้บริการได้แน่นอน"


ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

*หมาย เหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต เพื่อกำหนดให้การประกอบกิจการด้านบริการบางประเภทต้องเสียภาษีสรรพสามิต ซึ่งลักษณะของการประกอบกิจการไม่อาจกำหนดสถานบริการได้แน่นอน แต่บทนิยามคำว่า "บริการ" และ "สถานบริการ" ที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิตที่ใช้บังคับในปัจจุบันยังไม่ครอบคลุม ถึงการประกอบกิจการดังกล่าว สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามเพื่อใช้บังคับ กรณีดังกล่าว และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วน อันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ ในอันที่จะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้

--------------------------------------------------------------

มติ คณะรัฐมนตรี วันที่ 28/01/2546
ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง กค
เรื่อง การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากบริการ

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ลดอัตราและยกเว้นภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) (กำหนดอัตราภาษีที่ ใช้ในการจัดเก็บสำหรับบริการแต่ละประเภท) และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารดำเนินการเพื่อให้มีการหัก ค่าภาษีสรรพสามิตออกจากส่วนแบ่งรายได้ที่คู่สัญญาต้องนำส่งให้การสื่อสาร แห่งประเทศไทย (กสท.) หรือองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) โดยให้ กระทรวงการคลังรับข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีที่เห็นว่า สถานบริการที่ให้บริการอาบน้ำหรืออบตัว และนวด ซึ่งจัดอยู่ในประเภทกิจการบันเทิงหรือหย่อนใจมักจะแฝงการค้าประเวณีด้วย โดยสถานบริการดังกล่าวมีอัตราภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บกำหนดไว้ร้อยละ 10 ของรายรับเท่ากับกิจการสนามกอล์ฟที่เป็นกิจการให้บริการด้านกีฬา ซึ่งจัดอยู่ในประเภทกิจการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงควรพิจารณาว่าเหมาะสมหรือไม่ เพียงใด และตามที่คณะรัฐมนตรีได้ลงมติ เห็นชอบร่างพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ขยายการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสำหรับ การประกอบกิจการด้านบริการ) และร่างพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า "บริการ" และ "สถานบริการ") รวม 2 ฉบับ และให้ดำเนินการเป็นเรื่องด่วนต่อไป ซึ่งบัดนี้ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในร่างพระราชกำหนดทั้ง
2 ฉบับ และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 28 มกราคม 2546 แล้วนั้น ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากหลาย ๆ ฝ่าย และอาจมีข้อสงสัยจากประชาชนทั่ว ไป จึงลงมติให้กระทรวงการคลัง กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ร่วมกันชี้แจงต่อสื่อมวลชน เพื่อเผยแพร่ให้เข้าใจโดยทั่วกันว่า พระราชกำหนดทั้ง 2 ฉบับ ตราขึ้นโดยถูกต้องตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา 218 และมิใช่การแปรสัญญาหรือ สัมปทาน จึงไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา 40 รวมทั้งมิได้กระทบผลประโยชน์ของรัฐและประชาชนเพราะรัฐยังคงได้ผลประโยชน์ เท่าเดิมทุกประการ

--------------------------------------------------------------

มติ คณะรัฐมนตรี วันที่ 11/02/2546
ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง ทก
เรื่อง การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากบริการโทรคมนาคม

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอแนวทางการดำเนินการเพื่อหักค่าภาษีสรรพสามิต ออกจากส่วนแบ่งรายได้ที่คู่สัญญาจะต้องนำส่งให้คู่สัญญาภาครัฐ คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย และบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) สรุปดังนี้
(1) กิจการโทรศัพท์พื้นฐาน คู่สัญญาภาคเอกชนจะต้องชำระค่าภาษี โดยสรุปยอดเงินที่ต้องชำระให้คู่สัญญาภาครัฐทราบทุกสิ้นเดือน ทั้งนี้ ให้คำนวณจากรายรับการให้บริการโทรศัพท์ภายในประเทศ และรายรับจากการให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศเฉพาะส่วนที่เป็นรายรับภายในประเทศ
(2) กิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่า คู่สัญญาภาคเอกชนจะต้องชำระค่าภาษี โดยคำนวณค่าภาษีจากรายรับการให้บริการกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่า และจะต้องจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำให้แก่คู่สัญญาภาครัฐตามจำนวนและกำหนดเวลาตามสัญญาทุกไตรมาส และเมื่อสิ้นปีดำเนินการต้องชำระผลประโยชน์ตอบแทนจนเต็มจำนวนตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญา ทั้งนี้ คู่สัญญาภาคเอกชนมี สิทธินำเงินค่าภาษีที่ได้ชำระแล้วดังกล่าวตลอดทั้งปีมาหักออกจากจำนวนเงินผล ประโยชน์ตอบแทนที่คู่สัญญาภาคเอกชนต้องจ่ายให้คู่สัญญาภาครัฐเมื่อสิ้นปีดำเนินการได้

--------------------------------------------------------------

ภาษีสรรพสามิต และการแปรสัญญาโทรคมนาคม คิดใหม่...ทำใหม่
โดย ดร.ปราณี ทินกร และดร.สุเมธ วงศ์พานิชเลิศ
มติชนรายวัน วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546

1. ความเป็นมา

ในอดีตหน่วยงานของรัฐ เช่น องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย(ทศท.) การสื่อสารแห่งประเทศไทย(กสท.) และกรมไปรษณีย์โทรเลข ไม่สามารถขยายบริการสื่อสารโทรคมนาคมให้ทันต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและความต้องการของประชาชน จึงทำสัญญาร่วมการงาน(หรือสัมปทาน) กับบริษัทเอกชนให้เป็น ผู้ลงทุนสร้างโครงข่ายและให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมได้เป็นระยะเวลาหนึ่ง โดยมีข้อผูกพันว่าต้องแบ่งรายได้บางส่วนให้รัฐบาลผ่านหน่วยงานซึ่งมีอำนาจ ผูกขาดตามกฎหมายเหล่านี้ บริษัทเอกชนยอมจ่ายส่วนแบ่งรายได้เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับสิทธิ "ผูกขาด" ในช่วงเวลาหนึ่ง(เฉพาะในบางกรณี) และสิทธิพิเศษต่างๆ อีกหลายประการ ซึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละสัญญา

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้ลักษณะ "ผูกขาดตามธรรมชาติ" ของกิจการสื่อสารโทรคมนาคมหมดไป และนโยบายเปิดเสรีกิจการโทรคมนาคมมีวัตถุประสงค์ ให้ภาคเอกชนไม่ว่าจะรายเก่าหรือรายใหม่ จากในหรือต่างประเทศมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้นในการเข้ามาลงทุนเพื่อขยายโครงข่าย และเปิดบริการให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อสนองความต้องการของประชาชน อีกทั้งเป็นการกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันเพิ่มขึ้น ยังประโยชน์ต่อผู้บริโภคและการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของไทย ดังนั้นจึงทำให้มีการเปิดประเด็นเกี่ยวกับการแปรสัญญา(ซึ่งก็คือการเปลี่ยนสัญญานั่นเอง)

เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายให้ ทศท. และ กสท.แปรสภาพจากหน่วยงานของรัฐเป็นบริษัทมหาชนต่อไป ทางการจึงได้ว่าจ้างให้มีการศึกษาวิจัยในเรื่องนี้ ซึ่งก็เป็นที่ทราบ กันโดยทั่วไปแล้วว่าผลการศึกษาของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI) และของสถาบันทรัพย์สินทางปัญญาของจุฬาฯ มีความแตกต่างในเรื่องการโอนผล ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นตลอดอายุของแต่ละสัญญาให้รัฐบาลจนเกิดเป็นข้อถกเถียง และเป็นข่าวใหญ่ประมาณต้นปี 2545 มาแล้วและกลับมาเป็นข่าวใหญ่อีกครั้งในช่วงนี้ เนื่องจากรัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชกำหนดเพื่อจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากกิจการโทรคมนาคม และนักวิชาการกลุ่มหนึ่งเกรงว่าการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตดัง กล่าวจะบั่นทอนการแข่งขันซึ่งขัดกับวัตถุประสงค์ของการเปิดเสรี อีกทั้งยังอาจเป็นการปูทางไปสู่การแปรสัญญาในอนาคตที่เอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทเอกชนคู่สัญญาได้
จากการติดตามข่าวผู้เขียนประมวลได้ว่า รัฐบาลยืนยันว่าการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตกิจการโทรคมนาคมจะเป็นประโยชน์ต่อ รัฐบาล ต่อบริษัทเอกชน และต่อประชาชน เราจึงควรนำประเด็นเหล่านี้มาวิเคราะห์ต่อสาธารณชน

2. รัฐบาลได้ประโยชน์จากภาษีสรรพสามิต?
รัฐบาลและคอลัมนิสต์บางคน (ดู น.ส.พ.ผู้จัดการรายวัน วันที่ 27 ม.ค.2546 หน้า 9) พยายามบอกว่า เมื่อ ทศท. และ กสท.แปรรูปเป็นบริษัทเอกชน(ปัจจุบัน ทศ ท.ได้แปรรูปเป็น บมจ. ทศท คอร์ปอเรชั่นแล้ว) รายได้ของรัฐที่เคยได้จากการให้สัมปทานจะหายไป ดังนั้นจึงต้องมีมาตรการใหม่มารองรับ ซึ่งก็คือภาษีสรรพสามิตกิจการโทรคมนาคมที่รัฐบาลได้ดำเนินการออกพระราชกำหนด(พ.ร.ก.) ประกาศใช้อย่างเร่งด่วน

การสื่อสารดังกล่าวต่อสาธารณชนเป็นการให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อน เพราะการแปรรูปของ ทศท. และ กสท.ตามหลักกฎหมายของไทยและสากลแล้วไม่ได้เป็นการ ทำให้ข้อผูกพันตามสัญญาที่มีต่อ 2 หน่วยงานดังกล่าวหมดไป สัญญาเกี่ยวกับกิจการโทรคมนาคมที่มีอยู่ยังได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมายสูงสุดของชาติคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 335(2)

ข้อเท็จจริงดังกล่าวก็เป็นที่ประจักษ์อย่างชัดแจ้ง เมื่อรัฐบาลโดยกระทรวงการคลังประกาศเก็บภาษีสรรพสามิตในธุรกิจโทรคมนาคมใน อัตราร้อยละ 2 สำหรับโทรศัพท์พื้นฐาน และร้อยละ 10 สำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ และให้ส่วนแบ่งรายได้ที่เหลือยังตกเป็นของหน่วยงานคู่สัญญาเช่นเดิม มาตรการใหม่นี้จึงมิได้รองรับรายได้จากสัมปทานได้ทั้งหมดดังที่กล่าวอ้าง และรายได้สัมปทานก็มิได้หายไปหลังจากที่ ทศท.ได้แปรรูปแล้ว

ดังนั้นการพูดว่าเมื่อเก็บภาษีสรรพสามิตแล้วรัฐบาลจะได้ประโยชน์จึงไม่เป็นความจริง เพราะเมื่อรัฐบาลเก็บภาษีสรรพสามิต ส่วนแบ่งรายได้ที่บริษัทคู่สัญญา ต้องจ่ายก็ลดลงตามภาษีที่จัดเก็บ ซึ่งในประเด็นนี้รัฐบาลอาจแก้ไขสัญญาให้บริษัทคู่สัญญาจัดส่งผลประโยชน์ที่ แน่นอนให้กระทรวงการคลัง ในอัตราส่วนที่เหมาะสมจำนวนหนึ่งจนสิ้นสุดอายุ ของสัญญาก็ย่อมได้ นอกจากรัฐบาลจะไม่ได้ประโยชน์แล้ว การเก็บภาษีสรรพสามิตยังจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อสถานภาพทางบัญชีของ 2 หน่วยงานนี้โดยทันที แหล่งข่าวภายใน ทศท. (ดู น.ส.พ.บางกอกโพสต์ ส่วนธุรกิจ วันที่ 7 ก.พ. 2546 หน้า 1) ประเมินไว้ว่า รายได้ตามงบดุล บัญชีจะลดลงราวร้อยละ 33 จากการเก็บภาษีสรรพสามิตตามอัตราที่ประกาศ ทำให้กำไรสุทธิในปีนี้คาดว่าจะลดลงถึงราวร้อยละ 27 เทียบกับปีก่อนและ Return-on-equity ลดจาก 10.8% เหลือเพียง 7.7% ส่วน กสท.จะได้รับผลกระทบหนักหน่วงกว่านี้ โดยผู้บริหารผู้หนึ่งได้กล่าวไว้ว่า รายได้จากสัญญาสัมปทานน่าจะหายไปราว 3,000 ล้านบาท จาก 3,500 ล้านบาท ที่ กสท.ควรจะได้รับหากไม่มีการเก็บภาษีสรรพสามิต
หากเป็นเช่นนี้แล้วราคาหุ้นของ ทศท. และ กสท.ที่จะเสนอขายต่อไปในสายตาผู้ลงทุนจะเป็นเช่นไร รัฐบาลจะได้ประโยชน์จากการขายหุ้นของสองหน่วยงานนี้เพิ่มขึ้นหรือลดลง และในท้ายที่สุดสองหน่วยงานของรัฐดังกล่าวจะถูกควบรวมกิจการโดยนายทุนสื่อ สารได้ง่ายขึ้นหรือไม่ รัฐบาลสามารถจะสร้างความกระจ่างในคำถามเหล่านี้ได้หรือไม่?

3. บริษัทเอกชนได้ประโยชน์จากภาษีสรรพสามิต?

นโยบายการเก็บภาษีครั้งนี้บริษัทเอกชนคู่สัญญาไม่เสียประโยชน์แน่นอน เพราะไม่ว่าจะเก็บในอัตราเท่าใด(ตราบใดที่ไม่เกินอัตราส่วนแบ่งรายได้ตามสัญญา) ก็จะจ่ายผลประโยชน์โดยรวมเท่าเดิมแก่รัฐ นอกจากจะไม่เสียประโยชน์แล้ว บริษัทเอกชนยังจะได้ประโยชน์อย่างแน่นอน มากหรือน้อยจะขึ้นอยู่กับว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกสัญญาสัมปทานหรือไม่ ดังนี้

กรณีที่หนึ่ง ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงสัญญา และบริษัทเอกชนจ่ายบางส่วนเป็นภาษีสรรพสามิต และบางส่วนจ่ายเป็นส่วนแบ่งรายได้ให้รัฐ ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วเท่ากับส่วนแบ่งรายได้ที่พึงจ่ายตามสัญญาสัมปทาน(ตามที่เป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ ) ถ้าดูผิวเผินก็เหมือนกับบริษัทเอกชนมีสถานะคงเดิม แต่ถ้าพิจารณาว่า ภาษีสรรพสามิตจะเรียกเก็บจากบริษัทรายใหม่ด้วยก็จะทำให้รายใหม่มีต้นทุน เพิ่ม บริษัทเอกชนในปัจจุบันจะอยู่ในสถานะได้เปรียบรายใหม่เพิ่มขึ้นทันทีและบริษัทรายใหม่จะเข้ามาแข่งขันได้ยาก ยิ่งอัตราสูงยิ่งจะปิดโอกาสบริษัทรายใหม่เข้ามาแข่งขันในตลาด

กรณีที่สอง ถ้าหากว่าการเก็บภาษีสรรพสามิตจะเป็นการปูทางไปสู่การแปรสัญญาหรือยกเลิก สัญญาในอนาคตบริษัทเอกชนก็จะได้ประโยชน์มหาศาล เพราะนอกจากภาษีสรรพสามิตจะช่วยกีดกันรายใหม่แล้ว การเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกสัญญาจะทำให้ภาระของบริษัทในปัจจุบันลดลงทันที การลงทุนใหม่ในโครงข่ายต่างๆ ในระหว่างอายุของสัญญาก็ไม่ต้องโอนให้รัฐ เมื่อบวกกับฐานลูกค้าจำนวนมากที่ได้สร้างขึ้นมาในช่วงที่รัฐให้สิทธิผูกขาดด้วยแล้ว บริษัทเหล่านี้จะมีอำนาจตลาดเหนือคู่แข่งรายใหม่ การเปิดเสรีกิจการโทรคมนาคมก็จะไม่มีความหมาย เพราะจะไม่มีบริษัทรายใหม่เข้ามาแข่งขันกับบริษัทต่างๆ ที่ครองตลาดอยู่ในปัจจุบัน

ดังนั้นเมื่อรายใหม่เกิดยากบริษัทเอกชนจึงมีแนวโน้มสูงที่จะได้ประโยชน์มหาศาล จากภาษีสรรพสามิต และเราจึงไม่ควรแปลกใจที่นักธุรกิจโทรคมนาคมต่างแซ่ซ้องการเก็บภาษีสรรพสามิต ทั้งๆ ที่โดยปกติแล้วนักธุรกิจจะไม่ชอบภาษีและมักหาทางหลบเลี่ยง

4.ประชาชนได้ประโยชน์จากภาษีสรรพสามิต?

โดยหลักการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์แล้ว การเก็บภาษีไม่ว่าจะเก็บจากผู้ผลิตหรือจากผู้บริโภค ภาระภาษีก็จะตกอยู่กับทั้งสองฝ่าย มากหรือน้อยจะขึ้นอยู่กับลักษณะของอุปสงค์และอุปทานของสินค้านั้น เราจึงน่าจะอนุมานได้ว่า ไม่ว่าจะเก็บภาษีในรูปแบบใด ผู้บริโภคก็มีส่วนรับภาระทั้งนั้น

แต่ประเด็นสำคัญอีกประเด็นหนึ่งที่นักวิชาการเป็นห่วงอย่างยิ่งก็คือ ตลาดกิจการโทรคมนาคมจะมีผู้ประกอบการน้อยกว่าที่ควรจะเป็น เพราะภาษีสรรพสามิต จะสร้างต้นทุนเพิ่มขึ้นให้แก่รายใหม่ โดยที่รายเก่าจะอยู่ในสถานะได้เปรียบกว่า เนื่องจากได้สิทธิผูกขาดอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง และมีโอกาสสร้างฐานลูกค้าไว้ จำนวนมากแล้ว จึงมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่ามาก นอกจากนี้ ความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับสถานะของ ทศท. และ กสท.หลังการแปรรูป บวกกับประเด็นที่ว่าในอนาคตรัฐบาล(หรือ กทช.) จะเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตจากทั้งสองหน่วยงานนี้เช่นเดียวกัน โดยอ้างความเสมอภาคตามหลักกฎหมายก็ทำให้สาธารณชนยิ่งไม่แน่ใจว่า สองหน่วยงานนี้จะเข้มแข็งหรือปวกเปียก จนท้ายที่สุดถูกฮุบกิจการโดยบริษัทเอกชนในอนาคต

เมื่อวิเคราะห์ดูแล้วจะเห็นว่า ภาษีสรรพสามิตจะไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนในฐานะผู้บริโภคแต่ประการใด เพราะเมื่อรายใหม่ไม่สามารถเข้าสู่ตลาด และ ทศท. และ กสท.เองก็มีสิทธิจะถูกควบรวมกิจการ การมีอำนาจเหนือตลาดอย่างสมบูรณ์ก็จะเกิดขึ้น เมื่อขาดการแข่งขัน คุณภาพบริการจะลดลง และค่าบริการก็จะเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ผู้ใช้บริการดังกล่าวจะต้องรับภาระเพิ่มขึ้นในอนาคต และเนื่องจากการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการดำเนินธุรกิจก็จะส่งผลให้ต้นทุนของการดำเนินธุรกิจเพิ่มขึ้น รัฐบาลคงต้องตอบต่อสาธารณชนว่าต้องการสถานการณ์เช่นนี้หรือไม่

5.การเปิดเสรีกิจการโทรคมนาคมและการแปรสัญญา

ในกรณีที่มีการเปิดเสรี และไม่มีการแปรสัญญา บริษัทเอกชนคู่สัญญาจะ "เสียเปรียบ" รายใหม่ในเรื่องการจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้รัฐต่อไปจนกระทั่งหมดอายุ ของสัญญา และมีข้อจำกัดในการใช้โครงข่ายที่ได้ลงทุนไป แต่บริษัทคู่สัญญาก็มีความ "ได้เปรียบ" รายใหม่จากสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่ได้รับจากรัฐ แลกกับการจ่ายส่วนแบ่งรายได้ตลอดอายุของสัญญาที่ทำไว้ ซึ่งบริษัทรายใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาดในอนาคตจะไม่มีสิทธิประโยชน์เหล่านี้ เช่น สิทธิผูกขาดในตลาดเป็นระยะเวลาหนึ่ง(ซึ่งส่งผลให้บริษัทคู่สัญญามี โครงข่ายที่สมบูรณ์ และมีฐานลูกค้าในปัจจุบันจำนวนมหาศาล) สิทธิในการใช้ทรัพยากรของรัฐโดยไม่มีค่าใช้จ่าย สิทธิในการได้เลขหมายโทรศัพท์ สิทธิในการได้คลื่นความถี่ สิทธิในการต่อเชื่อมกับโครงข่ายคู่สัญญาภาครัฐ และสิทธิประโยชน์อื่นๆ ตามเงื่อนไขในแต่ละสัญญาที่แตกต่างกัน เช่น สิทธิในวงโคจรดาวเทียม สิทธิในการใช้สถานที่ของรัฐ ฯลฯ

ดังนั้นการไม่เปลี่ยนแปลงส่วนแบ่งรายได้และภาระผูกพันตามสัญญาสัมปทานจะส่งผล ให้บริษัทคู่สัญญาปัจจุบัน และบริษัทรายใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาดต่างมีข้อได้เปรียบและเสียเปรียบกันและกัน การแข่งขันกันน่าจะมีความเป็นธรรมพอสมควร โอกาสที่จะเกิดคู่แข่งรายใหม่ในตลาดก็จะเพิ่มขึ้น โดยรัฐบาลควรพิจารณา ว่าจะจัดการอย่างไรกับ ทศท. และ กสท.ให้เป็นคู่แข่งที่สมน้ำสมเนื้อกับบริษัทเอกชนก็น่าจะเอื้อต่อการเปิด เสรีเพียงพอแล้ว การที่รัฐบาลเปลี่ยนส่วนแบ่งรายได้เป็นภาษีสรรพสามิต และมีแนวโน้มจะจัดเก็บทุกราย จะทำให้บริษัทปัจจุบันมีความได้เปรียบขึ้นมาอย่างมหาศาล จนบริษัทรายใหม่ไม่สามารถ แจ้งเกิดได้ ตลาดกิจการโทรคมนาคมในอนาคตจะจำกัดอยู่เฉพาะบริษัทที่มีอยู่ในปัจจุบันกับ ทศท. และ กสท.เท่านั้น ซึ่งความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับสถานภาพของ ทศท.และ กสท.ทำให้นักวิชาการเกรงว่ามีโอกาสถูกฮุบกิจการและผลสุดท้ายประชาชนก็จะเป็นผู้เสียประโยชน์จากการมีบริษัทไม่กี่รายที่ครอบงำกิจการนี้

--------------------------------------------------------------

:: คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 14/2546
:: วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2546
:: เรื่อง ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งความเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 219 กรณีพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2546 และพระราชกำหนด แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 พ.ศ. 2546 เป็นไป ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 218 วรรคหนึ่ง หรือไม่
...
3. นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี มีหนังสือ ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2546 และวันที่ 7 มีนาคม 2546 ส่งบันทึกคำชี้แจงและ ความเห็นของคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชกำหนดทั้งสองฉบับเกี่ยวกับภาษีสรรพสามิต พร้อมเอกสารประกอบ สรุปได้ว่า

"3.3.3 สภาพปัญหา
...
(4) บริการโทรคมนาคมปัจจุบันเป็นกิจการที่ต้องได้รับอนุญาต และจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้องค์การของรัฐ คือ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ปัจจุบัน เป็น บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ) และการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กำลังจะเปลี่ยน เป็นบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ) ทั้งนี้ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีนโยบายให้กิจการโทรคมนาคมมีความพร้อมในการแปรรูปโดยมีบริษัทเอกชนเข้าร่วม และยกเลิกบทบาทการ เป็นผู้กำกับดูแลมาเป็นผู้ประกอบการอย่างแท้จริง จึงต้องมีการแปลงส่วนแบ่ง รายได้ที่ต้องชำระให้บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และการสื่อสาร แห่งประเทศไทย มาอยู่ในรูปภาษีสรรพสามิต เพื่อให้บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และการสื่อสารแห่ง ประเทศไทยมีรายได้จากการประกอบการของ ตนเองอย่างแท้จริง และส่วนแบ่งรายได้จะไม่ตกเป็นของเอกชนที่เข้าร่วมในการแปรรูปองค์การทั้งสอง นอกจากนี้ส่วนแบ่งรายได้ที่เหลือจากการชำระ ภาษีสรรพสามิตมีจำนวนลดลงสามารถนำไปสู่การเจรจาตกลงในส่วนที่เหลือได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม หลังจากที่ได้พยายาม มานานแต่ไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งหากมีข้อยุติในส่วนแบ่งรายได้ที่เหลือก็จะ ส่งผลให้เกิดความชัดเจนและเชื่อมั่นต่อนักลงทุนเมื่อมีการแปรรูปต่อไป "

"3.4.4 กิจการที่ได้รับอนุญาตหรือสัมปทานจากรัฐ ได้กำหนดประเภทกิจการโทรคมนาคม ให้เป็นบริการที่จะต้องเสียภาษีสรรพสามิต เพื่อให้องค์การเกี่ยวกับกิจการ โทรคมนาคม ของรัฐ คือ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนเป็นบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และการสื่อสารแห่งประเทศไทย ซึ่งกำลังจะเปลี่ยนเป็นบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) มีฐานะเป็นผู้ประกอบการอย่างแท้จริง จึงต้องแปลงส่วนแบ่งรายได้ที่ภาคเอกชนต้องนำส่งให้บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และการสื่อสารแห่งประเทศไทย มาอยู่ในรูปภาษีสรรพสามิต ซึ่งเมื่อจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจะมีรายได้ ปีละประมาณ 9,000 ล้านบาท เรื่องการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากกิจการที่ได้รับอนุญาตหรือสัมปทาน จากรัฐ โดยเฉพาะกิจการโทรคมนาคมพระราชกำหนดดังกล่าวไม่มีข้อความใดโดยชัดแจ้ง หรือ โดยปริยายที่แสดงว่า จะนำไปสู่การแปรสัญญาสัมปทาน และคณะรัฐมนตรีไม่มีเจตนาที่จะให้มีการแปรสัญญาสัมปทานโทรคมนาคมที่มีอยู่ในขณะนี้ เพราะตระหนักดีว่า การดำเนินการเช่นว่านั้น ในขณะที่ยังไม่มีคณะกรรมการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 40 การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ในครั้งนี้เป็นเรื่องของ "พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต" เท่านั้น ไม่มีทางที่จะบิดเบือนหลบเลี่ยงให้กลายเป็นการแปรสัญญาสัมปทานไปได้เป็นอันขาดการ ตราพระราชกำหนดมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจในข้อที่ว่า ปัจจุบันมีเอกชนหลายรายได้รับสัญญาสัมปทานให้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน และโทรศัพท์มือถือจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และการสื่อสารแห่งประเทศไทย โดยบริษัทเอกชนผู้รับสัมปทานจะต้องจ่ายค่า สัมปทานแก่รัฐวิสาหกิจทั้งสองแห่งเป็นค่าตอบแทนรายปี เมื่อพ.ศ. 2545 รัฐบาลได้ดำเนินการ แปรรูปรัฐวิสาหกิจสองแห่งนี้ตาม พระราชบัญญัติ ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 ขณะนี้อยู่ระหว่างการจำหน่ายหุ้นบริษัททั้งสอง ในสถานการณ์ปัจจุบันการจะจำหน่ายหุ้นจำนวนมากให้แก่ผู้สนใจชาวไทยเป็นไปได้ยาก จึงมีโอกาสสูงที่นักลงทุนต่างชาติจะเข้ามาถือหุ้นใน บริษัทดังกล่าว เมื่อประกาศ ใช้พระราชกำหนดแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เดินทางไปบอกกล่าวเชิญชวนเรื่องนี้แก่ นักลงทุนในต่างประเทศ โดยแจ้งเงื่อนไขเรื่องสิทธิประโยชน์และการเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตให้ ผู้สนใจทราบกระทรวง การคลังมีความวิตกว่า ในปัจจุบันค่าสัมปทานในกิจการโทรคมนาคม เป็นรายได้ที่บริษัทคู่สัญญาชำระแก่รัฐวิสาหกิจซึ่งในที่สุดย่อมเป็นของรัฐ ทั้งหมด แต่เมื่อมีการแปรรูปเป็นบริษัทและจำหน่ายหุ้นแก่นักลงทุนต่างชาติต่อไป ค่าสัมปทานก็จะตกเป็นรายได้ของบริษัทซึ่งอาจมีเอกชนต่างชาติถือหุ้นมากกว่าร้อยละห้าสิบทำให้พ้นจากความเป็นรัฐวิสาหกิจ และไม่ว่าจะถือหุ้น เท่าใดรายได้ส่วนนี้จะมิได้เป็นของรัฐทั้งหมดอีกต่อไป แต่ต้องจัดสรรเป็นกำไรของบริษัท เป็นโบนัสของพนักงานและเป็นเงินปันผลของผู้ถือหุ้นวิธี ที่จะทำให้ "ค่าสัมปทาน" ยังคงเป็นของรัฐเป็นส่วนใหญ่ คือ การแปลงค่าสัมปทาน (ไม่ใช่แปรสัญญาสัมปทาน) บางส่วนให้เป็นภาษีสรรพสามิต ซึ่งจะทำให้รัฐเรียกเก็บได้โดยตรง ที่เหลือจะจ่ายเป็นส่วนแบ่งแก่บริษัท พนักงานและผู้ถือหุ้นผล จากพระราชกำหนดนี้ ในแง่ของบริษัทคู่สัญญาสัมปทานก็มิได้มีเหตุที่จะต้องชำระเงินแก่รัฐน้อยลง หรือมีภาระเพิ่มขึ้น เพราะยังคงต้องชำระเท่าเดิมในแง่ผู้ถือหุ้นเมื่อ ทราบแล้ว ว่า รายได้ส่วนหนึ่งจะต้องชำระเป็นภาษีสรรพสามิตก็ไม่ถือว่าเสียเปรียบ ในแง่ของประชาชนผู้บริโภค ก็ไม่มีเหตุต้องเสียค่าบริการเพิ่มขึ้น เพราะบริษัทผู้รับสัมปทานมิได้มีภาระใดเพิ่มขึ้นจนต้องผลักภาระ ภาษีสรรพสามิตไปสู่ผู้บริโภค เพราะภาษีสรรพสามิตเป็นเรื่องที่แบ่งเอาค่า สัมปทานที่จะต้องชำระ แก่รัฐ มิใช่เก็บซ้อนบนฐานเดิม คือ ค่าสัมปทาน ส่วนที่ถูกกระทบ คือ รายได้ของ ทศท. เท่านั้น เพราะต้องหักส่งให้รัฐก่อน ทั้งนี้ ไม่ว่าก่อนหรือหลังการตราพระราชกำหนด บริษัทยังคงมีรายได้จากสัมปทานเท่าเดิม ส่วนรัฐก็คงได้รายได้รวม 7,000 ล้านบาทต่อปีเท่าเดิม ไม่ได้ลดน้อยลงแต่อย่างใด ถ้าไม่มีการตราพระราชกำหนด ทศท. จะเป็นฝ่ายได้ 7,000 ล้านบาทแทนรัฐ เดิมรายได้ส่วนนี้ตก ได้แก่ ทศท. ก็ไม่มีปัญหาเพราะ ทศท. คือ รัฐ แต่นับจากนี้ไปไม่มีความแน่นอนว่า ทศท. จะเป็น ของรัฐทั้งหมดหรือไม่ เพราะ ทศท. ประกอบด้วย รัฐ ผู้ถือหุ้นชาวไทย และนักลงทุนจากต่างชาติ ดังนั้นการเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตจึงทำให้รัฐ (กระทรวงการคลัง) มีรายได้ของรัฐเพิ่มขึ้นทันที และสามารถจัดเก็บได้ต่อเนื่องทุกเดือนและภาษีสรรพสามิตนั้นรัฐสามารถ เรียกเก็บได้ตลอดไป แม้หมดอายุสัญญาสัมปทานแล้ว แต่ค่าสัมปทานนั้นจะมีการชำระเพียงเท่าอายุสัมปทานเท่านั้น การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจึงทำให้รัฐมีรายได้เข้าคลังเร็วขึ้นมากขึ้นกว่าเดิมและยาวนานกว่า ค่าสัมปทาน ข้อนี้คือ สิ่งที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่า เป็นประโยชน์แก่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างยิ่ง ถ้าไม่เร่งตรากฎหมาย กำหนดเรื่องพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตของกิจการโทรคมนาคมประเภทสัญญาสัมปทาน แล้ว รัฐจะขาดรายได้ประจำแต่ละเดือนเป็นอันมาก และหากออกกฎหมายในเรื่องนี้ช้าไป จน ทศท. ขายหุ้นแก่นักลงทุนไปแล้ว รัฐจะถูกตำหนิจนหมดความเชื่อถือได้ว่าปิดบังข้อเท็จจริงปล่อยให้คนซื้อหุ้นแล้วออกกฎหมายมาทำให้ผู้ถือหุ้นเสียประโยชน์ กรณีดังกล่าวคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นความมั่นคงทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ก่อนที่รัฐจะขาดรายได้จำนวนมากโดยผลของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ จึงจำเป็นต้องตรา พระราชกำหนด จัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากกิจการโทรคมนาคมโดยเร่งด่วน อนึ่ง เมื่อพระราชกำหนดมีผลใช้บังคับ ในวันที่ 28 มกราคม 2546 แล้ว บริษัทสัมปทานโทรคมนาคมได้นำเงินภาษีสรรพสามิตของ วันที่ 28 - 31 มกราคม 2546 รวม 4 วัน ส่งให้กรมสรรพสามิต เป็นเงิน 45,166,677 บาท "

http://www.kodmhai.com/vinit/2546/New/N1.html

--------------------------------------------------------------

ครม.เห็นชอบยกเลิกมติ ครม.กรณีภาษีสรรพสามิตกิจการโทรคมนาคม

14:25 น. นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบยกเลิกมติคณะ รัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ และ 28 มกราคม 2546 ที่ให้บริษัทเอกชนบริการโทรศัพท์บ้าน และโทรศัพท์มือถือ ที่เสียภาษีสรรพสามิตไปขอหักเงินคืนจากบริษัท กสทฯ และบริษัท ทีโอที เนื่องจากทำให้รัฐต้องแบกรับภาระในการเสียภาษีให้กับบริษัทเอกชนไปแล้ว 50,000 ล้านบาทและเห็นชอบให้กำหนดอัตราภาษีสรรพสามิตกิจการโทรคมนาคมเป็นร้อยละ 0 เพราะธุรกิจโทรคมนาคมถือว่าไม่เป็นสินค้าฟุ่มเฟือยแล้วและให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาข้อกฎหมายของสัญญาสัมปทานของ กสทฯ และ ทศท ว่า ถูกต้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนร่วมงานกับรัฐปี 2535 เพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาปรับแก้ไขสัญญาสัมปทานต่อไป นายสิทธิชัย ยอมรับว่า การเรียกเงินคืนจากบริษัทเอกชนกรณีภาษีสรรพสามิตนั้น จะหารือกับ กสท.และทศท.ในฐานะผู้เสียหายอีกครั้งว่า จะดำเนินการอย่างไร รวมถึงต้องพิจารณาอีกครั้งในการเสนอเรื่องนี้ให้ คตส.หรือไม่ เพราะมติดังกล่าวทำให้เกิดความเสียหายของรัฐ

--------------------------------------------------------------

'อุ๋ย' ดับฝันทีโอที-กสท นอนกินสัมปทาน [24 ม.ค. 50 - 04:57]

วานนี้ (23 ม.ค.) คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติยกเลิกมติ ครม.เมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2546 โดยให้จัดเก็บภาษีสรรพสามิตกิจการโทรคมนาคมในอัตรา 0% จากเดิมที่ ให้จัดเก็บภาษีโทรศัพท์มือถือ 10% และโทรศัพท์พื้นฐาน 2% นอกจากนี้ยังอนุมัติให้ยกเลิกมติ ครม.เมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2546 โดยให้ยกเลิกกรณีบริษัท เอกชนนำเงินที่จ่ายภาษีสรรพสามิตมาหักออกจากการจ่ายส่วนแบ่งรายได้หรือจ่าย ค่าสัมปทาน เพื่อให้เอกชนจ่ายค่าสัมปทานให้กับบริษัททีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ตามเดิม โดยในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาทีโอที และ กสท จ่ายภาษีแทนเอกชน คิดเป็นวงเงินกว่า 50,000 ล้านบาท

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวว่า ทีโอทีและ กสท ไม่สามารถนำเงินที่ได้จากการยกเลิกมติ ครม.ดังกล่าวนำไปปรับขึ้นเงินเดือน หรือจ่ายเงินโบนัสของพนักงาน เพราะเงินส่วนนี้ถือเป็นรายได้ ของรัฐ อย่างไรก็ตามไม่จำเป็นต้องเรียกเงินคืนจากเอกชน เพราะที่ผ่านมาเอกชนทำตามมติ ครม.

ด้านนายสมหมาย ภาษี รมช.คลัง กล่าวว่า การยกเลิกเก็บภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคม จะไม่ส่งผลกระทบต่อรายได้รวมของรัฐบาล ถึงแม้รายได้จะหายไปในปีงบประมาณ 2550 กว่า 16,000 ล้านบาท เพราะมติ ครม.กำหนดให้ ทีโอที และ กสท นำรายได้จากค่าสัมปทานมานำส่งเป็นรายได้ของแผ่นดินในจำนวนไม่น้อยกว่า รายได้จากภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคมที่หายไป ดังนั้นในปีงบประมาณ 2550 ทั้งสองแห่งจะต้องส่งรายได้เข้าคลัง ไม่น้อยกว่า 16,000 ล้านบาท ส่วนในปีงบประมาณถัดไปจะพิจารณาตามภาวะเศรษฐกิจ และมูลค่าของตลาดโทรศัพท์มือถือที่มีเพิ่มขึ้น

ขณะที่นายซิคเว่ เบรกเก้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีแทค กล่าวว่า ปกติดีแทคจ่ายภาษีสรรพสามิต ปีละ 7,500 ล้านบาท ซึ่งเงินส่วนนี้จะส่งกลับคืนให้กับ กสท ส่วนนายวิเชียร เมฆตระการ กรรมการผู้อำนวยการ เอไอเอส กล่าวว่า เอไอเอสจ่ายค่าส่วนแบ่งรายได้ให้ทีโอที 10,200 ล้านบาท และค่าภาษีสรรพสามิต 8,500 ล้านบาท แต่เมื่อยกเลิกภาษีสรรพสามิตจะทำให้เงินภาษีกลับคืนสู่ทีโอที ทำให้คาดว่าปีนี้น่าจะจ่ายส่วนแบ่งรายได้ประมาณ 18,700 ล้านบาท

นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.ยังได้อนุมัติให้กระทรวงไอซีที ส่งเรื่องให้ สำนักงาน คณะ กรรมการกฤษฎีกา ตรวจสอบสัญญาสัมปทานโทรศัพท์กับทุกบริษัทว่าเป็นการดำเนินตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 หรือไม่ หากเห็นว่าไม่ถูกต้อง ให้ปรับแก้ไขสัญญาสัมปทานแล้วเสนอ ครม.พิจารณาต่อไป.

--------------------------------------------------------------

สางปม "โทรคมนาคม" ภาษีสรรพสามิตคือคำตอบสุดท้าย
สกู๊ปเศรษฐกิจ .. ทีมเศรษฐกิจ
ไทยรัฐ11 ธ.ค. 52

ทันทีที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เคาะระฆัง เริ่มต้นกระบวนการเตรียมพร้อมประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม 3 จี บนคลื่นความถี่ 2.1 กิ๊กกะเฮิรตซ์

แรงกระเพื่อมทางสังคมก็เริ่ม หลั่ง ไหลเข้ามาจากทุกสารทิศ ทั้งกดดัน เรียกร้อง เสนอแนะ จนทำให้กระบวนการเดินหน้าสู่การให้ใบอนุญาตโทรคมนาคม 3 จี ต้องชะงักงันหลายครั้งหลายหน

โดยเฉพาะในระหว่างการทำประชาพิจารณ์ ใหญ่ที่กรุงเทพฯ เมื่อ 2 ครั้งที่ผ่านมา ซึ่งดูเหมือนว่าจะทำให้สถานการณ์ยิ่งถลำลึกลงไปอีก เพราะมีข้อถกเถียงกันในวงกว้าง

รวมถึงปัญหาความลักลั่นที่กรรมการ กทช.ชุดเก่าบางรายต้องหมดวาระลง และกรรมการชุดใหม่กำลังจะมา ซึ่งทำให้เกิดข้อกังขาต่อความไม่สง่างามของกรรมการ กทช.คนเก่าที่กำลังจะหมดวาระนั้นสามารถวางเงื่อนไขการประมูล 3 จี

อย่างไรก็ดี แม้การสรรหากรรมการ กทช.ใหม่อีก 4 คนที่เพิ่งเสร็จสิ้นได้ช่วยลดแรงกดดัน และตอบคำถามต่อความสง่างามของกรรมการบางคนที่กำลังต้องพ้นจากอำนาจไป

แต่กระนั้น เส้นทางการประมูลใบอนุญาต 3 จี จะสิ้นสุดลงตรงไหน ยังไม่มีใครบอกได้ เพราะท่าทีของรัฐบาลภายใต้ การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รวมทั้งกระทรวงการคลัง และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ยังตั้งข้อกังขา

ไม่เห็นด้วยกับการออกใบอนุญาต 3 จี เพราะเห็นว่ารังแต่จะทำให้รัฐสูญเสียประโยชน์จากระบบสัมปทานที่มีมานานหลาย 10 ปี

เนื่องจากเอกชนรายเดิม 3 บริษัทใหญ่ที่อยู่ใต้ สัมปทาน อันได้แก่ บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส, บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค และบริษัท ทรูมูฟ จำกัด (มหาชน) มีแนวโน้มที่จะโอนย้ายลูกค้าไปยังบริษัทใหม่ที่ได้ใบอนุญาต 3 จี ซึ่งไม่มีภาระค่าสัมปทาน

ทำให้ตลอดช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา จึงมีความพยายามจากฝั่งของรัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบร่วมกับนายกรณ์ จาติกวณิช รมว. คลัง ว่าควรเร่งรัดแปรสัญญาสัมปทานให้เสร็จสิ้นก่อนเปิดประมูลใบอนุญาต 3 จี เพื่อปลดล็อกสัมปทานที่มีอยู่เดิมและตัดปัญหาการโอนย้ายลูกค้าไปยังบริษัท ใหม่

ทั้งยังมีข้อเสนอที่จะหันมาจัดเก็บภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคม ภายหลังจากที่รัฐบาลของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้ยกเลิกการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคม

ระหว่างนั้น ยังมีระเบิดลูกใหญ่จากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ที่ออกมาระบุว่า 2 รัฐวิสาหกิจ ทั้งบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) มีการแก้ไขสัญญาสัมปทานโทรคมนาคมอีกหลายครั้ง ซึ่งการแก้ไขสัญญาในแต่ละครั้งก็ไม่ถูกต้องตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535

โดยนับตั้งแต่ปี 2533 ได้มีการแก้ไขสัญญาสัมปทานาเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่เอกชนคู่สัญญา อันทำให้รัฐเสียหายเบื้องต้นกว่า 138,034 ล้านบาท ไม่รวมภาษีสรรพสามิตที่ถูกยกเลิกไป 40,000 ล้านบาท และค่าเชื่อมโยงโครงข่าย (แอ็คเซ็สชาร์จ) ที่เอกชนเลิกจ่ายอีก 14,000 ล้านบาท

รวมความเสียหายเบ็ดเสร็จเกือบ 200,000 ล้านบาท

แค่นี้ก็เพียงพอที่จะทำให้เงื่อนไขการแปรและแก้ไขสัญญาสัมปทาน รวมทั้งการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตแทนระบบสัมปทาน ได้ถูกนำขึ้นมาเป็นประเด็นร้อนอีกรอบ

ขณะเดียวกัน ใบอนุญาต 3 จี ก็เป็นสิ่งที่ประเทศชาติและคนไทยหยุดรอคอยไม่ได้ อีกแล้ว อย่างน้อยก็เพื่อให้ ประเทศของเรา ได้มีบริการสื่อสารโทรคมนาคมยุคใหม่ ใช้เทียบเท่าประเทศเพื่อนบ้าน ในภูมิภาค ทั้งเขมร เวียดนาม หรือแม้กระทั่งลาว เจ้าภาพซีเกมส์ ซึ่งโชว์ศักยภาพใช้เครือข่าย 3 จี ถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาเผยแพร่ออกไปทั่วโลก

แต่ถึงแม้ว่าพวกเราหลายต่อหลายคน จะกำลังรอคอยโอกาสใช้เทคโนโลยี 3 จี ที่อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากนี้

แต่เราก็ไม่อาจรีบเร่งและปฏิเสธได้ว่า การบริหารจัดการรายได้ของรัฐ จากระบบสัมปทานธุรกิจโทรคมนาคมเดิม ก็จำเป็นต้องมีความชัดเจน ภายใต้เงื่อนไขที่รัฐและประเทศเสียผลประโยชน์ น้อยที่สุด ประชาชนได้ประโยชน์มากที่สุด

แม้ว่าความพยายามแปรสัญญาสัมปทานตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จะไม่เคยประสบความสำเร็จ

โดยย้อนกลับไปดูตัวอย่างในช่วงปี 2541 ซึ่งกระทรวงคมนาคม ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมสมัยนั้น ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ วางกรอบการเจรจาแปรสัญญาสัมปทาน รองรับการเปิดเสรี

แต่กระทรวงการ คลังกลับมีความเห็นขัดแย้ง จึงได้ว่าจ้างสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยหรือทีดีอาร์ไอ ทำการศึกษากรอบแปรสัญญาอีกกรอบ

อย่างไรก็ดี ภายหลังจากที่กรอบแนว ทางการแปรสัญญาที่ทีดีอาร์ไอศึกษาได้ผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2543

แต่ในที่สุด ความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันระหว่าง 2 กระทรวงดังกล่าวก็ทำให้การแปรสัญญาในขณะนั้นติดหล่ม ไปไม่ถึงไหน จนในที่สุดรัฐบาลสมัยนั้นก็ได้พ้นจากตำแหน่งไป

จวบจนวันที่ 4 ก.พ. 2544 ที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ไทคูนโทรคมนาคมคนสำคัญของไทย และยังเป็นเจ้าของกลุ่มชินคอร์ป ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเอไอเอส ได้ก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี

ในช่วงนั้น ปรากฏว่าความพยายามในการแปรสัญญาสัมปทานได้ยุติลง!!

โดยส่วนหนึ่ง น่าจะเป็นเพราะสถานะ ของรัฐบาล ซึ่งตัวนายกรัฐมนตรีก็เป็นเจ้าของกิจการโทรคมนาคมเบอร์ 1 ของประเทศ ทำให้การขยับ เขยื้อนใดๆในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโทรคมนาคมก็ย่อมหลีกหนีข้อครหาไม่ พ้น

ประกอบกับได้มีการตรา พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับดูแลกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 และ พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งกลายเป็นความหวังว่าจะเป็นองค์กร ที่ทำหน้าที่กำกับ ดูแล วางกรอบการแปรสัญญาให้มีความยุติธรรมและเท่าเทียม

แต่ที่สุดแล้ว กทช.ได้ถูกกำหนดด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ไม่ให้ แตะต้องสัญญาสัมปทานเดิมใดๆ นอกจากกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมใหม่ กรุยทางไปสู่การเปิดเสรีสื่อสารเท่านั้น

รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณในขณะนั้นจึงเริ่มเล็งเห็นเค้าลางแห่งความยุ่งยากที่จะตามมา

ส่วนหนึ่งมาจากการออกใบอนุญาตใหม่ของ กทช.ที่ จะทำให้ เอกชนซึ่งได้รับสัมปทานสามารถขยับขยายไปขอใบอนุญาตใหม่ และผ่องถ่ายลูกค้าไปยังบริษัทใหม่ที่ไม่มีภาระสัมปทาน ซึ่งจะทำให้เม็ดเงินที่รัฐได้รับจากส่วนแบ่งรายได้ปีละไม่ต่ำกว่า 30,000 ล้านบาทนั้นต้องร่อยหรอลง

ส่วนอีกประการ มาจากความพยายามลดทอนสิทธิประโยชน์ และเงินตราของ 2 หน่วยงานรัฐอย่างทีโอทีและกสท ซึ่งหลังจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจได้เข้ามาแข่งขันกับเอกชนโดยตรง แต่ยังคงบทบาทของการเป็นหน่วยงานกำกับดูแล มีรายได้สัมปทานและนำมาใช้แข่งขันทางธุรกิจกับเอกชนเอง

ดังนั้น รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ จึงออกกฎหมาย พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.พิกัดภาษีสรรพสามิต 2527 เพื่อให้กระทรวงการคลังจัดเก็บภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคม ซึ่งระหว่างการจัดเก็บช่วงปี 2546-2549 ในอัตราสำหรับผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน 2% โทรศัพท์เคลื่อนที่ 10% โดยหักจากส่วนแบ่งรายได้ที่นำส่งเข้าทีโอทีและกสท ทำให้ระหว่างนั้นกระทรวงการคลังมีรายได้จากภาษีดังกล่าวสูงถึง 48,410 ล้านบาท

ดังนั้น หากมองด้วยเหตุผล โดยปราศจากอคติแล้ว จะเห็นว่าการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคมในยุคนั้น นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี โดยเป็นการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์รายได้จากสัมปทานที่อาจลดต่ำลง ด้วยการแปลงรายได้สัมปทานมาเป็นภาษีซึ่งจะเป็นรายได้ที่สม่ำเสมอ ทั้งยังส่งตรงเข้าเป็นรายได้แผ่นดิน และยังช่วยลดความได้เปรียบของรัฐวิสาหกิจลง เพื่อสนับสนุนให้ทั้งทีโอทีและกสทที่เป็นรัฐวิสาหกิจได้ปรับตัวรับกับการ แข่งขันเสรี สามารถยืนหยัดได้ด้วยตัวเอง

แต่ด้วยเหตุผลทางการเมือง เมื่อรัฐบาลชุด พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เข้ามาบริหารประเทศ ก็ได้มีการตัดสินใจยกเลิกการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคม แล้วได้ยกภาษีสรรพสามิตดังกล่าวกลับคืนไปเป็นรายได้สัมปทานของทีโอทีและกสทเช่นเดิม

จนกระทั่งการออกใบอนุญาต 3 จี เริ่มเห็นเป็นรูปเป็นร่าง ก็ได้มีความพยายามในการผ่องถ่ายรายได้จากธุรกิจโทรคมนาคมให้กลับมาเป็นภาษีสรรพสามิตอีกครั้ง

แต่ครั้งนี้ภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคม ดูเหมือนจะมาถูกที่ ถูกเวลามากขึ้น!!

เพราะ นอกจากจะช่วยเพิ่มทางเลือกในการจัดเก็บรายได้จากกิจการโทรคมนาคมของรัฐ เปลี่ยนส่วนแบ่งรายได้ ที่มีแนวโน้มลดลงมาเป็นภาษี ซึ่งมีระบบจัดเก็บชัดเจน

ผู้ให้บริการรายเก่าใต้สัมปทาน อันประกอบด้วย 3 บริษัทใหญ่ ได้แก่ เอไอเอส ดีแทค และทรูมูฟ รวมทั้งรายใหม่ที่จะได้รับใบอนุญาตในอนาคตนั้น จะต้องจ่ายภาษีที่เท่าเทียมกัน โดยหากเป็นรายเก่าที่ไปขอใบอนุญาตใหม่ ก็จะต้องจ่ายภาษีควบทั้ง 2 บริษัท แก้ปัญหาการผ่องถ่ายลูกค้ามายังบริษัทใหม่ ที่ไม่ต้องมีภาระจ่ายค่าสัมปทาน

ประการสำคัญ น่าจะถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลต้องปล่อย ให้ทีโอทีและกสทเดินด้วยตนเอง ด้วยการทอนส่วนแบ่งรายได้ดังกล่าวกลับไปเป็นภาษีสรรพสามิตอีกครั้ง

ปัจจุบันหน่วยงานรัฐวิสาหกิจทั้ง 2 รายได้รับส่วนแบ่งรายได้สบายๆ ปีละประมาณ 33,000 ล้านบาท จากเอกชนคู่สัญญาใต้สัมปทาน แต่ดูเหมือนว่า ส่วนแบ่งรายได้เหล่านั้นจะตกหล่นเรี่ยราดอยู่ตามทาง ทำให้ตัวเลขจัดส่งเงินปันผลให้แก่กระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้น 100% กินสัดส่วนไม่ถึงครึ่งหนึ่งของรายได้จากสัมปทาน ไม่ต้องพูดถึงรายได้จากการประกอบธุรกิจ

เพราะทั้ง 2 หน่วยงานนี้แทบไม่เคยประสบความสำเร็จในการแสวงหารายได้ด้วยตัวเอง

เปรียบเทียบส่วนแบ่งรายได้และสัดส่วนเงินปันผลที่นำส่งคลัง จากงบการเงินที่ปรากฏบนเว็บไซต์ของทั้ง 2 หน่วยงานเอง พบว่าในปี 2550 ทีโอทีรับส่วนแบ่งรายได้ ที่ 17,365 ล้านบาท จัดส่งเงินปันผลเข้าคลัง 1,002 ล้าน บาท ปี 2551 รับส่วนแบ่งรายได้ที่ 19,462 ล้านบาท จัดส่งเงินปันผลเข้าคลัง 5,511 ล้านบาท

ส่วน กสท รับส่วนแบ่งรายได้ในปี 2550 ที่ 14,091 ล้านบาท จ่ายปันผลให้คลัง 3,740 ล้านบาท ส่วนปี 2551 รับส่วนแบ่งรายได้ 15,097 ล้านบาท จ่ายปันผลเข้าคลัง 6,900 ล้านบาท

หากรัฐบาลต้องการเดินหน้าแปรสัญญาสัมปทานให้เสร็จสิ้น ก่อนเปิดประมูล 3 จี ก็ต้องเร่งหาทางออกด้วยเงื่อนไขที่ตกลงกันได้ด้วยดี ในเวลาอันสั้น

แต่ที่ผ่านมา การแปรสัญญาสัมปทาน เปรียบได้กับการเดินทางผ่านอุโมงค์ลึก แคบและไร้ทางออก โดยเฉพาะเมื่อการเจรจาอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ทั้งสองฝ่าย พึงรักษาผลประโยชน์ของตนอย่างสุดโต่ง

เช่น การกำหนดให้เอกชนภายใต้สัมปทาน ต้องจ่ายส่วน แบ่งรายได้ตามระยะเวลาสัญญาที่เหลือให้รัฐทั้งหมด ก่อนยกเลิกสัญญา เพื่อให้รายเดิมจะได้ไปร่วมประมูล 3 จีโดยไม่มีภาระผูกพัน ซึ่งเงื่อนไขการแปรสัญญาเช่นนี้ ใครๆก็คิดได้ เพราะแค่เอาผลประโยชน์ ของหน่วยงานต้นสังกัดเป็นที่ตั้ง แต่ปัญหาคือใครจะยอมจ่าย ขณะที่ทีโอทีและกสทจะสามารถเก็บเงินจากคู่สัญญาได้จริงหรือ

เพราะการแก้ไข เปลี่ยน หรือแปรสัญญาสัมปทาน ต้องได้รับ ความเห็นชอบร่วมกันระหว่างคู่สัญญา

นี่จึงเป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้กาลเวลาไม่สามารถเอาชนะหนทางตีบตันแห่งการแปรสัญญาสัมปทานไปได้ ไม่ว่าจะเป็นในยุคสมัยใด

ทั้งนี้ ภายใต้การปรับเปลี่ยน แก้ไข หรือเดินหน้าจากนโยบายหนึ่งไปสู่อีกนโยบายหนึ่ง เพื่อก้าวย่างไปสู่อนาคตข้างหน้าอย่างกล้าหาญและมั่นคง

หากการแปรสัญญาสัมปทานเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ต้องใช้เวลาที่ยาวนาน ดังนั้น จึงดูเหมือนว่าการแก้ปัญหาที่เหมาะสมที่สุดในขณะนี้ คือ การนำภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคมกลับมาใช้อีกครั้ง

อย่างไรก็ดี ผู้กำหนดนโยบาย ทั้งรัฐบาล กระทรวงการคลัง และไอซีที จำเป็นต้องทำงานสอดประสานไปในทิศทางเดียวกัน

บางครั้งอาจจำเป็นต้องเลือก โดยยอมสูญเสียสิ่งหนึ่ง เพื่อที่จะได้มาซึ่งอีกสิ่งหนึ่ง นี่คือสัจธรรมที่พบเห็นกันอยู่เสมอ

แต่จะทำอย่างไรให้เกิดการสูญเสียน้อยที่สุด และในทางกลับกัน ตราบใดที่ประชาชน ธุรกิจ และทุกภาคส่วนที่ทำมาหากินบนผืนแผ่นดินไทยได้ประโยชน์ สุดท้ายประเทศ ชาติก็จะได้ประโยชน์ไปด้วย

ทั้งจากการก้าวข้ามสู่ ระดับการพัฒนาอีกขั้น การลงทุน การก่อกำเนิดของนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งจะย้อนกลับมาเป็นรายได้ การสร้างงาน และภาษีเงินได้ที่รัฐบาลจัดเก็บในอนาคตข้างหน้า.

ที่มา: ไทยรัฐ
http://74.125.153.132 /search?q=cache:lfOJsP3kdBwJ:www.ftawatch.info/news/11/december/09/สางปม quotโทรคมนาคมquotภาษีสรรพสามิตคือคำตอบสุดท้าย+สุรยุทธ์+ทรู+ไม่ต้องจ่าย +ค่า+access+ชาร์จ&cd=6&hl=th&ct=clnk&gl=th

--------------------------------------------------------------

นำข้อมูลความเป็นมาทั้งหมดเรียงมาให้ดู
ตามความเห็นของเรา
สรุปเรื่องภาษีสรรพสามิตคร่าวๆ ดังนี้
ผู้ให้สัมปทาน ซึ่งได้แก่ TOT (ทศท.), CAT (กสท.)
บริษัทผู้รับสัมปทาน ซึ่งได้แก่ บริษัท AIS, DTAC, TRUE , TT&T , ...
ตัวอย่างวิธีคิดภาษีสรรพสามิต
สมมุติบริษัทรับสัมปทานมีรายได้ 100 บาท
ต้องส่งค่าสัมปทาน 20% หรือ 20 บาท
ของรายได้ที่ยังไม่หักภาษี
ซึ่งหน่วยงานผู้ให้สัมปทานจะได้ 20 บาท
เมื่อกำหนดให้เก็บภาษีสรรพสามิตแล้ว
สมมุติเขาเรียกเก็บภาษี 10 %
บริษัทรับสัมปทานก็จะจ่ายให้ 10 บาท เป็นภาษีสรรพสามิตเข้ารัฐ
บริษัทรับสัมปทานแทนที่จะจ่ายให้ผู้ให้สัมปทาน 20 บาทเหมือนเดิม
ก็จ่าย 10 บาท เพราะนำภาษีสรรพสามิตที่จ่ายให้รัฐมาหักอีก 10 บาท
สรุปก็คือผู้รับสัมปทานทั้งหมด
ก็จ่าย 20 บาทเหมือนเดิม
ไม่ได้เพิ่มขึ้นหรือลดลงสักแดงเดียว
ส่วนคลัง ก็ได้รายได้เพิ่มขึ้นและเร็วขึ้น
คือได้ 10 บาทชัวร์ๆ ทุกๆ ไตรมาส
ไม่ต้องรอปันผลจาก TOT และ CAT ตอนสิ้นปี
ส่วนที่ดูเหมือนจะเสียมากที่สุดก็คือหน่วยงานผู้ให้สัมปทาน
ทั้ง TOT และ CAT
คือแทนที่จะได้ 20 บาท แต่กลับเหลือแค่ 10 บาท
ซึ่งที่จริงแล้วทุกปี หน่วยงานเหล่านี้
ก็ต้องส่งรายได้เข้ารัฐทุกปีตามอัตราที่รัฐกำหนดหรือเรียกเก็บ
เพราะรัฐหรือกระทรวงการคลังถือหุ้นอยู่ 100%
ก็คือเป็นเจ้าของนั่นแหล่ะ
บางปีก็เลย 50% ด้วยซ้ำ
แต่ถ้ามีรายได้จากส่วนแบ่งน้อยทำให้รายได้โดยรวมน้อย
ก็ส่งเข้ารัฐตอนสิ้นปีน้อยลงไปด้วย
ถ้าได้มากก็ต้องส่งมากตามไปด้วยเหมือนกัน
บางช่วงที่มีวิกฤตรัฐเงินขาดมือจนแทบจะไม่มีเงินสดเหลือในคลัง
ก็มารีดเอากับ รัฐวิสาหกิจทั้งหลายไปใช้เป็นปกติอยู่แล้ว
ถึงยกเลิกเก็บภาษีสรรพสามิต
และดูเหมือนผู้ให้สัมปทานจะมีรายได้เพิ่มขึ้น
แต่หักลบกับที่ต้องส่งแล้ว
เหลือจริงๆ
ผมว่าน้อยกว่าที่ DTAC กับ TRUE งดเว้น
ไม่จ่ายค่า AC ให้แก่ TOT และ CAT
ซึ่งรายได้ส่วนนี้เสียไปปีๆ หนึ่งเป็นหมื่นๆ ล้านบาท
เสียหายหนักกว่าเรื่องภาษีสรรพสามิต
ซึ่งทั้งสองบริษัทก็ประกาศไม่จ่ายทันที
หลังการทำรัฐประหารไม่กี่เดือน
ถ้ามีคนคิดว่าทำรัฐประหารได้รัฐบาลที่เข้ามาเอื้อกับเอกชน
ที่อาจแอบหนุนช่วยเช่น ออกทุนช่วยในการทำรัฐประหาร
ทำให้รัฐวิสาหกิจทั้งสองแห่งเสียหายก็คงมีสิทธิ์คิดได้
เพราะรู้สึกจะว่ารัฐบาลชุดนั้นทำเป็นมองไม่เห็น
ไม่คิดจะยับยั้งแก้ไข แก้ระเบียบอะไร
ทีเรื่องสรรพสามิตยังรีบยกเลิกทันทีที่เข้ามา
แถมเอกชนทั้งสองก็กล้าหาญประกาศไม่จ่ายค่า AC ทันที
หลังจากรัฐประหารสำเร็จไม่กี่เดือน
ทั้งๆ ที่ก่อนหน้าสมัยรัฐบาลทักษิณ
ยังไม่เห็นกล้าบ้าบิ่นขนาดนี้
แล้วยังงี้ไม่มีใครคิดจะจัดการหาเรื่องยึดทรัพย์ใครบ้างเลยหรือ

สำหรับกรณีนี้เสียหายไม่น้อยกว่ากรณีภาษีสรรพสามิตเสียอีก

ถามว่าใครได้ใครเสียในการยกเลิกการเก็บภาษีสรรพสามิต
ก็ถ้ามองมุม TOT กับ CAT เขาก็ต้องมองว่าเขาเสียแน่นอน
และถ้าจะเอาแบบนี้ก็ต้องให้ TOT กับ CAT ไม่ต้องจ่ายเงินเข้ารัฐทุกปีอีก
ซึ่งก็คือต้องแปรรูปแล้วเป็นบริษัทก็ไม่ต้องจ่ายเงินให้รัฐอีก
ให้จ่ายเป็นปันผลตามผลประกอบการแทน
เหมือนผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ ถ้ามีการแปรรูปแล้ว
ซึ่งกระทรวงการคลังอาจได้ส่วนแบ่งจากรายได้น้อยลงไปอีก
ทั้งไม่ได้จากเอกชนรายใหม่และรายเดิม
แถมถ้ารัฐวิสาหกิจทั้งสองแห่งแปรรูปแล้ว
รัฐก็จะได้รายรับน้อยลงไปอีก
ซึ่งถ้ายังคงภาษีสรรพสามิตไว้
ผู้ที่ได้แน่ๆ ก็คือรัฐ ได้รายได้เต็มที่แน่นอนชัวร์ๆ
ทั้งผู้ประกอบการรายใหม่ รายเก่า รัฐวิสาหกิจก็ต้องเสียเหมือนกัน
แต่ถ้าไม่ทำยังงี้ยกเลิกไปอนาคตรายได้ด้านนี้ก็จะสูญไปเยอะมากๆ
อนาคตมีบริษัทใหม่ๆ เข้ามา
แทนที่จะได้รายได้เพิ่มขึ้นเต็มเม็ดเต็มหน่วย

ก็จะไม่ได้เพิ่ม เท่าที่จะได้ตามรายได้ของบริษัทเหล่านี้
ซึ่งเขามีวิธีหักให้มีรายได้น้อยๆ เพื่อจะได้จ่ายภาษีน้อยๆ อยู่แล้ว
ในทางบัญชีสามารถทำได้ไม่ผิดกฏหมายด้วย
ตอนนี้ก็เสียหายไปปีๆ หนึ่งหลายหมื่นล้านสำหรับรัฐบาล
หลังจากยกเลิกเก็บภาษีสรรพสามิตตัวนี้
แล้วไปรอลุ้นรับปันผลหรือภาษี
ที่ทุกบริษัทสามารถหลบได้โดยถูกกฏหมาย

เพื่อให้เสียภาษีน้อยลง เช่นหาค่าใช้จ่ายเพิ่ม เป็นต้น
หรือพวกพึ่งมาลงทุนใหม่ค่าใช้จ่ายก็เพียบ
5 ปีไม่รู้จะได้ภาษีสักกี่บาท
เรื่องนี้มันแล้วแต่มุมมอง
ถ้าคุณมองโดยที่คุณคือบริษัทผู้ให้สัมปทานแล้ว
การยกเลิกภาษีสรรพสามิตคือสิ่งที่ถูกต้องที่สุด
แต่ถ้าคุณมีมุมมองเรื่องผลประโยชน์เข้ารัฐจริงๆ แล้ว
คุณก็ต้องคงไว้
สุดท้ายรัฐบาลสุรยุทธ์ก็เลือกที่จะยกเลิกภาษีสรรพสามิต
ซึ่งก็ง่ายๆ คนที่ได้คือใคร คนที่เสียคือใคร
ไม่ว่าออกมาแบบไหน
หนีไม่พ้น รัฐกับ ผู้ให้สัมปทานเท่านั้น
งานนี้เอกชนเขาไม่เกี่ยวอะไรด้วย
เปรียบเหมือนเป็นการทะเลาะกัน
ระหว่างกระเป๋าซ้ายกับกระเป๋าขวา
สุดท้ายรายได้รวมทั้ง 2 กระเป๋า
อาจทำให้กระเป๋าฉีกได้ในภายหลัง
ยิ่งถ้าเจอรัฐบาลขยันใช้เงินเก่ง
แต่หารายได้ไม่เป็นด้วยแล้ว
อาการน่าเป็นห่วงจริงๆ
ที่กำลังทำๆ อยู่นี่มองเฉพาะเรื่องกรณีมีคู่สัญญาสัมปทานเท่านั้น
ถ้าต่อไปมีรายใหม่ที่ไม่ได้เป็นคู่สัญญารายได้ส่วนนี้ก็จะหายไป
และที่คิดว่าจะเรียกเก็บจาก 2 บริษัทนี้ได้
เท่ากับที่เคยได้จากเก็บภาษีสรรพาสามิต
เข้าใจว่าเขาก็ต้องเอาไปลงทุนหรือไปทำยังอื่น
เพื่อให้มีกำไรน้อยๆ หรือส่งเงินให้ไม่มากตามที่ต้องการ
บางปีไม่ถึงหมื่นล้านก็มี
แค่คิดจะเอาชนะกันแค่วันนี้
ลืมคิดตอนเปิดเสรีที่มีบริษัทต่างชาติมาแข่ง
ที่ไม่ต้องขอสัมปทานจาก TOT หรือ CAT
และถ้า TOT หรือ CAT ต้องแปรรูปอีก
กำไรจะไปตกกับผู้ถือหุ้นรายอื่นนอกจากกระทรวงการคลังด้วย
ซึ่งถ้าไม่แปรก็จะกลายเป็นยักษ์แคระแบบนี้ไปเรื่อยๆ
รอวันเจ๊งเพราะนอนเก็บค่าต๋งไปวันๆ
แต่ลืมคิดไปว่าถ้าพวก AIS, DTAC , TRUE
ได้รับไลเซ่นส์ประกอบกิจการโทรคมนาคมแล้ว
หรือได้คลื่นใหม่เช่น 3G แล้ว เขาสามารถทำโปรโมชั่น
ให้ลูกค้าระบบเดิมของบริษัทเขา ย้ายไปใช้ระบบใหม่
ระบบเก่าก็จะค่อยๆ ร้างไปในที่สุด

สำหรับข้อกล่าวหาเพื่อการอายัดทรัพย์สินทักษิณของ คตส. ดังนี้
"๓. ตราพระราชกำหนดภาษีสรรพสามิตในกิจการโทรคมนาคม และได้มีมติคณะรัฐมนตรีแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต เพื่อประโยชน์แก่บริษัท แอดวานส์ อินโฟเซอร์วิซ จำกัด (AIS) ทำให้วิสาหกิจของรัฐเสียหายประมาณ ๓๐,๖๖๗ ล้านบาท"

จะเห็นว่าพยายามหาข้อหาแม้จะขัดกันไปมาก็ตาม
บางกรณีก็บอกว่าทำให้รัฐเสียหายเท่านั้นเท่านี้
บางกรณีเช่นกรณีนี้ก็บอกว่าทำให้รัฐวิสาหกิจเสียหาย
แต่ลืมพูดถึงว่าทำให้รัฐมีรายได้มากขึ้น
แถมการยกเลิกภาษีสรรพาสามิต
เป็นการทำให้รัฐเสียหายในการเปิดเสรีในอนาคตมากกว่าด้วย
แล้วรัฐบาลที่ทำให้รัฐเสียหายเสียรายได้
ไม่ทราบว่าจะมีการตามไปยึดทรัพย์ด้วยหรือไม่
ถ้าใช้ตรรกะการทำให้รัฐเสียหาย
แล้วนำมาอ้างยึดทรัพย์แบบนี้
ถ้าไม่ทำก็จะกลายเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่หามาตรฐานไม่ได้

สรุปว่าถ้าเรื่องนี้เป็นประเด็นหนึ่ง
ที่ใช้ในการยึดทรัพย์ทักษิณ

เพราะทำให้รัฐวิสาหกิจเสียรายได้

ก็ต้องมีการยึดทรัพย์ ครม. สุรยุทธ์

ที่ทำให้รัฐบาลขาดรายได้จากภาษีสรรพสามิต

หรือมีรายได้น้อยลงกว่าเดิม
และการที่เปิดประมูลคลื่น 3G ตอนนี้ยังไม่ได้

ส่วนหนึ่งก็มาจากรัฐจะขาดรายได้จากเอกชน
ที่จะได้รับไลเซ่นส์ในอนาคต
เพราะไม่สามารถเก็บภาษีสรรพาสามิตได้อีกต่อไป

ได้แต่ค่าประมูล ซึ่งก็ได้แค่ครั้งเดียว
ซึ่งได้ข่าวว่ารัฐบาลต้องการไลเซ่นส์ 3G ใบละเป็นแสนล้าน
ซึ่งเอกชนเขาคงไม่สู้ราคาสูงขนาดนั้นหรอก
ถ้าสู้ด้วยราคาเป็นแสนล้าน ก็ต้องมีต้นทุนเพิ่มมหาศาล
แล้วต้องมาโขกราคาเอากับผู้บริโภค
ที่ตอนนี้มีทางเลือกใช้โปรโมชั่นราคาถูกๆ หลายเจ้าอยู่แล้ว

จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ 3G บ้านเราเกิดได้ช้า
แถมเกิดมาแล้วมีการดองไม่ให้โตไวไวอีก
เพื่อไม่ให้หน่วยงานของรัฐ
ขยายเครือข่ายได้กว้างขวาง
ก่อนที่เอกชนจะได้รับไลเซ่นส์
เหมือนเร่งเปิดเพื่อให้คุยได้ว่า
ประเทศไทยก็มี 3G
เหมือนกับชาวโลกเหมือนกันแค่นั้นเอง
ตลกไหมเร่งให้ทาง TOT เปิด 3G ให้ได้
พอเปิดได้จะขอขยายทำทั่วประเทศ
ขอส่งไปตีความยังงั้นยังงี้
ถ้ามันต้องตีความก่อน
แล้วจะไปเร่งให้เกิดทำไมตอนแรก
แล้วที่ทำไปแล้วไม่มีไลเซ่นส์ให้ทำกันไปได้ยังไง
แล้วต้องยกเลิกที่ทำไปแล้วทั้งหมดไหม
ตอบคำถามนี้ได้หรือไม่
แท้ที่จริงแล้ว
พวกไหนกันแน่ที่ทำให้รัฐเสียรายได้
พวกไหนกันแน่ทำเพื่อประโยชน์ของเอกชน
ถ้ารัฐบาลทักษิณถูกกล่าวหาว่าทำให้รัฐวิสาหกิจเสียรายได้
รัฐบาลสุรยุทธ์ก็ต้องถูกกล่าวหาว่าทำให้รัฐเสียรายได้
และรัฐบาลอภิสิทธิ์ก็ต้องถูกกล่าวหาว่าทำให้ประเทศเสียโอกาส
เอื้อบริษัทเอกชน ทำให้โครงข่าย 3G ไม่สมบูรณ์
ไม่ครอบคลุมทั่วประเทศ รัฐก็เสียรายได้ที่จะได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย

โดย มาหาอะไร

----------------------------------------------------------------

หนังสือพิมพ์บ้านเมือง -- เสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2006 10:00:33 น.

นาย ศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทรูมูฟ เปิดเผยว่า ได้ลงนามกับบริษัทโทเทิ่ลแอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค เพื่อคิดค่าเชื่อมโยงโครงข่าย (อินเตอร์คอนเนคชั่นชาร์จ หรือไอซี) ระหว่างกันแล้ว เพื่อให้เป็นไปตามหลักสากล มีผลตั้งแต่วันที่ 17 พ.ย.เป็นต้นไป โดยคิดอัตรานาทีละ 1 บาท ทั้งการโทรเข้าและรับสาย และคิดค่าสัญญาณวิ่งผ่านเครือข่าย หรือ ทรานซิท นาทีละ 20 สตางค์ พร้อมประกาศจะหยุดการจ่ายค่าใช้โครงข่าย หรือ แอ็คเซ็ส ชาร์จ แก่ บมจ.ทีโอที ในอัตรา 200 บาทต่อเลขหมายสำหรับโทรศัพท์ประเภทจดทะเบียน และอัตรา 18% ของรายได้สำหรับประเภทบัตรเติมเงิน โดยหวังผลว่าจะทำให้ทีโอที พิจารณายกเลิกจัดเก็บถาวร เพื่อให้ดีแทคและทรูมูฟมีต้นทุนเท่าเทียมกับเอไอเอส อีกทั้งเชื่อว่าจะไม่ทำให้ทีโอทีเสียผลประโยชน์ เพราะหากทีโอทีหันมากำหนดอินเตอร์คอนเนคชั่นชาร์จเหมือนดีแทคและทรูมูฟ ก็จะทำให้มีรายได้สูงมาก ปีที่ผ่านมาทรูจ่ายค่าแอ็คเซ็สชาร์จแก่ทีโอที 3,000 ล้านบาท แต่ถ้าทีโอทียกเลิกแล้วกำหนดอินเตอร์คอนเนคชั่นชาร์จ จะมีรายได้ชดเชยแน่ การร่วมมือของดีแทคกับทรูมูฟ ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเข้าสู่หลักสากล และจะทำให้ปัญหาการโทร.ติดยากลดลง
ด้าน นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที กล่าวว่า แนวทางแก้ปัญหาการจัดเก็บค่าใช้โครงข่าย หรือแอ็คเซ็สชาร์จ ที่ บมจ.ทีโอที จัดเก็บจากผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ 3 ราย คือ ดีแทค ทรูมูฟ และดิจิตอลโฟนนั้น รัฐต้องไม่เสียหาย โดยขณะนี้ทีโอทีมีรายได้จากค่าแอ็คเซ็สชาร์จที่ 3 บริษัทจัดส่งให้สูงถึง 14,000 ล้านบาทต่อปี ถือเป็นรายได้หลักของทีโอที ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังถือหุ้นทั้งหมด ดังนั้น จึงจำเป็นต้องปกป้องผลประโยชน์ของรัฐ ไม่ใช่ปกป้องผลประโยชน์ของเอกชน พร้อมระบุว่า ที่ผ่านมาเอกชนเต็มใจเซ็นสัญญากับทีโอทีเพื่อขอใช้โครงข่ายภายในประเทศ พร้อมยอมรับข้อตกลงการจ่ายค่าใช้เครือข่าย 200 บาทต่อเลขหมายต่อเดือน และ 18% ของรายได้สำหรับโทรศัพท์มือถือแบบเติมเงินโดยไม่มีใครบังคับ จึงขอให้ยึดสัญญาเป็นหลัก การจะยกเลิกสัญญาต้องตกลงกันเองระหว่างคู่สัญญา แต่รัฐต้องไม่เสียเปรียบ

----------------------------------------------------------------

ไม่จ่ายฟ้องเบี้ยวสัญญาทันที 'ทีโอที' ร่อนหนังสือ ทวงหนี้ 'ดีแทค-ทรูมูฟ'
ปีที่ 58 ฉบับที่ 17926 วันจันทร์ ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2550

นาย ปริญญา วิเศษศิริ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอทีเปิดเผยว่า ทีโอทีได้ส่งหนังสือไปยัง บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทคและบริษัท ทรูมูฟ จำกัด เพื่อขอให้ชำระค่าเชื่อมโยงโครงข่าย (แอคเซ็สชาร์จ) หรือเอซี ในรอบเดือน พ.ย. 2549 ที่ครบกำหนดชำระเมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2550 หากไม่ชำระภายใน 60 วัน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 22 ก.พ. 2550 ทีโอทีจะยื่นฟ้องดีแทคและทรูมูฟว่าผิดสัญญาไม่จ่ายค่าแอคเซ็สชาร์จทันที

ผู้ สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ตามสัญญาค่าแอคเซ็สชาร์จ ดีแทคจะต้อง จ่ายค่าแอคเซ็สชาร์จให้ทีโอทีเดือนละ 650 ล้านบาท หรือปีละ 7,800 ล้านบาทส่วนทรูมูฟจะต้องจ่ายเดือนละ 500 ล้านบาท หรือปีละ 6,000 ล้านบาท แต่หลังจากที่ดีแทคและทรูมูฟได้ลงนามในสัญญาที่จะใช้อัตราค่าเชื่อมต่อโครง ข่าย (อินเตอร์คอนเนกชั่นชาร์จ) หรือไอซี ตามประกาศว่าด้วยการใช้ ค่าเชื่อมโยงโครงข่ายอินเตอร์คอนเนกชั่นชาร์จ ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) โดยให้มีผลตั้งแต่ วันที่ 1 ก.พ. 2550 และประกาศว่าจะหยุดจ่ายค่าแอคเซ็สชาร์จให้ทีโอทีนับจากวันที่ 18 พ.ย. 2549 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ ดีแทคและทรูมูฟได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง กรณีทีโอทีไม่ยอมต่อเชื่อมเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ใหม่จำนวน 3 ล้านเลขหมาย ซึ่งศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราว เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคได้รับความเดือดร้อน ขณะที่ทีโอทีได้ยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครองสูงสุด เพื่อขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทา ทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพาท ดังนั้น ทีโอทีจะเปิดสัญญาณต่อเชื่อมเลขหมายให้กับดีแทคจำนวน 10,000 เลขหมายใหม่เท่านั้น ส่วนที่เหลือ 1,490,000 เลขหมาย จะไม่เปิดสัญญาณต่อเชื่อมจนกว่าศาลปกครองสูงสุดจะตัดสินชี้ขาด ขณะที่เลขหมายใหม่ของทรูมูฟจำนวน 1.5 ล้านเลขหมายไม่มีการต่อเชื่อมเลขหมายแต่อย่างไร

ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า ในวันที่ 23 ก.พ.นี้ ทีโอทีจะทำพิธีบวงสรวงศาลพระพรหมในโอกาสวันสถาปนาองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศ ไทย หรือทีโอที ครบรอบ 53 ปี ขณะเดียวกันจะทำพิธีสาปแช่งคนโกงกินทีโอทีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ที่สำนักงานใหญ่ ถนนแจ้งวัฒนะ โดยนายสมควร บรูมินเหนทร์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ได้เชิญชวนผู้บริหารและพนักงานทีโอทีทุกคนร่วมทำพิธีสาปแช่งคนโกงกินทีโอที.

จากหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ
http://www.sgl1.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=391240&Ntype=777

----------------------------------------------------------------

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับค่า AC


By staff3 - Posted on 24 December 2009

26 มิถุนายน 2550 พันเอก นที ศุกลรัตน์ รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (บมจ.ทีโอที) ได้ชี้แจงกรณีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับค่าเชื่อมต่อเลขหมาย (Access Charge - AC) ว่า ในขณะนี้คณะทำงานพิจารณาแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน ที่ประกอบด้วยผู้แทนจาก บมจ.ทีโอทีและบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (บมจ.กสท) ได้มีข้อสรุปร่วมกันให้

บมจ.กสท จ่ายค่า AC ให้ บมจ. ทีโอที ก่อน และหลังจากนั้นให้ บมจ.กสทไปไล่เบี้ยฟ้องร้องกับบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)(ดีแทค) และบริษัท ทรูมูฟ จำกัด (ทรูมูฟ) ในฐานะผู้รับสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ บมจ.กสท เอง เพราะตามสัญญา บมจ.กสท สามารถเรียกเงินจากเอกชนเป็นจำนวนเงินถึง 2 เท่าของจำนวนเงินที่ บมจ.กสท จ่ายให้ บมจ.ทีโอทีที่ปัจจุบันดีแทคและทรูมูฟค้างจ่ายค่า AC มีมูลค่า 6,000 ล้านบาท โดยมติดังกล่าวคณะกรรมการได้ส่งให้นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพื่อลงนามเห็นชอบตามมติดังกล่าวแล้ว

ส่วนกรณีที่คณะกรรมการกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) มีมติเห็นพ้องกับคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท (กวพ.) ที่ให้บมจ.ทีโอทีเจรจาทำสัญญาค่าเชื่อมโยงโครงข่าย (Interconnection Charge - IC) กับดีแทคภายใน 30 วันนั้น บมจ.ทีโอที ได้ทำหนังสือคัดค้านคำวินิจฉัยดังกล่าวแล้วนอกจากนี้ บมจ.ทีโอที ยังเตรียมที่จะยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อขอให้เพิกถอนประกาศของ กทช.ว่าด้วยการใช้ค่าเชื่อมโยงโครงข่าย เนื่องจากเป็นต้นเหตุให้เอกชนหยุดจ่ายค่า AC ให้ บมจ.ทีโอที ทั้งนี้ มติจากคณะกรรมการร่วม บมจ.กสท จะนำเข้าพิจารณาใวันที่ 5 กรกฎาคม 2550 เนื่องจากค่า AC ที่ บมจ.กสทต้องจ่ายแทนนั้นมีจำนวนมาก คาดว่าประมาณ 6,000 ล้านบาท

ซึ่งขณะนี้บมจ.กสท ไม่มีเงินมากพอที่จะจ่าย ดังนั้น จะต้องนำเรื่องเข้ากระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ว่าจะต้องดำเนิน งานอย่างไรต่อไป โดยเมื่อวันที่ 25มิถุนายน 2550 นายวิเชียร เมฆตระการ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (เอไอเอส) และนายธนา เธียรอัจฉริยะรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานพาณิชย์ จากดีแทคได้เข้าพบ กทช.เพื่อ หาแนวทางป้องกันเลขหมายขาดตลาด เพราะปัญหาดังกล่าวทำให้การแข่งขันในตลาดต้องสะดุดลงไป โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีปัญหามากที่สุด โดย กทช.เตรียมจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าหารือในการประชุมคณะกรรมการในวันที่ 28 มิถุนายน 2550

http://74.125.153.132 /search?q=cache:9e3X83IT7pUJ:www.siamarchives.com/node/11905+สิทธิชัย +โภไคย+ทรู+ทีโอที&cd=178&hl=th&ct=clnk&gl=th

----------------------------------------------------------------

3G ทีโอทีโดนรัฐเตะถ่วง

'มาร์ค' ไม่เคลียร์ 3G โยนบอร์ดกทช.ถกใหม่ 3 ประเด็น มติครม.เศรษฐกิจเตะถ่วงโครงการ 3Gทีโอที ให้รอความชัดเจนจากกทช.ก่อน แถมไม่ค้ำประกันเงินกู้ 1.6 หมื่นล้านบาท ทำทีโอทีวุ่นปรับแผนใหม่ กลัวประวัติศาสตร์ซ้ำรอยไทยโมบาย ผู้บริหารโครงการ 3G ทีโอทีรับแปลกใจกับมติครม.เศรษฐกิจที่ออกมาแบบนี้ ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้มีสัญญาณที่ดีมาโดยตลอด

วานนี้ (3 พ.ย.) นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าที่ประชุมครม.เศรษฐกิจ ยัง ไม่เห็นชอบตาม ที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เสนอผลการวิเคราห์ความเสี่ยง และผลกระทบพร้อมแนวทางแก้ไขจากการออกใบอนุญาตบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุค ที่สาม (3G) เนื่องจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ตั้งคำถามถึงความคืบหน้าในการจัดตั้งองค์กรกสทช. โดยเห็นว่ายังไม่มีความชัดเจนใน 3 ประเด็น แต่ละประเด็นมีข้อสังเกต ดังนี้

1. จะต้องรอการพิจารณาของคณะกรรมการกทช. (บอร์ดกทช.)ในบ่ายวันที่ 4 พ.ย.นี้ ในส่วนของภาพรวมของการประมูลคลื่นความถี่ของ กทช. ซึ่งในเชิงกฎหมายนั้นจะต้องไปดูว่า กทช. มีอำนาจสามารถออกใบอนุญาตได้ตามกฎหมายหรือไม่ เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีการคัดเลือกกรรมการ กทช. ทดแทนกรรมการที่หมดวาระและที่ลาออกซึ่งกทช.ควรพิจารณาหารือข้อกฎหมายกับคณะ กรรมการกฤษฎีกาให้ชัดเจนในส่วนของสถานะและอำนาจหน้าที่ของกทช. และกสทช.ตามรัฐธรรมนูญ และประเด็นการประมูลคลื่นความถี่ และการให้ใบอนุญาตจะต้องดำเนินการตามขั้นตอน ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้ามาร่วมงานฯ พ.ศ.2535 หรือไม่ แต่ หากไม่มีการหารือ นายกรัฐมนตรี จะเป็นผู้เชิญมาหารือเพื่อให้เกิดความชัดเจนต่อไป

ทั้งนี้ ที่ประชุมกำหนดเวลา 2 สัปดาห์ มอบหมายให้กระทรวงการคลัง และกระทรวงไอซีที รับไปพิจารณาแนวทางการแก้ไขสัมปทานระหว่างเอกชนกับ บมจ.ทีโอที และบมจ.กสท.โทรคมนาคมให้ถูกต้องตามขั้นตอน ให้สอดคล้องกับแผนแม่บท การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ครม.เห็นชอบไปก่อนหน้านั้น

2. ประเด็นการกำหนดเงื่อนไข การประมูลคลื่นความถี่ 3G ที่ชัดเจนนั้น ขณะนี้กทช.ยังอยู่ระหว่างการนำประเด็นข้อห่วงใยของครม.เศรษฐกิจไปรับฟังความ คิดเห็นกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งกทช.จะต้องกำหนดเงื่อนไขที่ชัดเจน ในการเข้าประมูลของผู้ประกอบการที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานกับทีโอที และกสท เช่นหากผู้ประกอบการที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานจะเข้าประมูลใบอนุญาตดังกล่าว คู่สัญญาภาคเอกชน ต้องดำเนินการแปรสัญญาให้เรียบร้อยก่อนการเข้าประมูลใบอนุญาต ซึ่งจะทำให้ปัญหาการประกอบธุรกิจโทรคมนาคม ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากระบบสัญญาสัมปทานไปสู่การออกใบอนุญาตและจะช่วยลดปัญหา การโอนฐานลูกค้า และปัญหาการใช้ทรัพย์สินที่ได้รับโอนจากสัญญาสัมปทาน เป็นต้น

นอกจากนี้ขอให้ กทช.พิจารณารับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในประเด็นมูลค่าใบ อนุญาต 3G เมื่อเปรียบเทียบกับสัญญาสัมปทานเดิมด้วย ทั้งนี้ กทช.ได้ให้ข้อมูลว่า เงื่อนไขในการให้ใบอนุญาต 3G จะมีความชัดเจนภายใน 1 สัปดาห์ หลังจากมีการรับฟังความเห็นจากผู้เกี่ยวข้องโดยคาดจะชัดเจนต้นเดือนธันวาคม นี้

3. ที่ ประชุมขอให้กระทรวงไอซีที ยังรอการพิจารณาของบอร์ด กทช. เพื่อรอความชัดเจนในข้อกฎหมาย และเงื่อนไขของการเปิดประมูลการดำเนินการ เพื่อป้องกันความเสี่ยงของการลงทุนพัฒนาโครงข่าย 3G ของกทช.ที่ชัดเจนก่อนที่ทีโอทีจะดำเนินการลงทุน แต่หากเงื่อนไขออกมามีผลกระทบต่อการลงทุนของทีโอที อย่างมีนัยสำคัญต่อผลตอบแทนทางการเงินของโครงการและหาก ทีโอทีมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแผนธุรกิจที่แตกต่างจาก เงื่อนไขเดิม ที่ครม.ให้ความเห็นในปี 2551จะต้องนำเสนอครม.พิจารณาก่อนดำเนินการลงทุนต่อไป

****แผนเตะถ่วง 3G ทีโอที

ทั้ง นี้โครงการ 3G ของทีโอที ครม.เคยให้ความเห็นชอบในปี 2551 สมัยนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยงบประมาณ 2.9 หมื่นล้านบาทใช้การประมูลแบบอินเตอร์เนชั่นแนลบิต และใช้แหล่งเงินกู้ต่างประเทศ ต่อมาในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กระทรวงไอซีที เสนอเรื่องให้ครม. พิจารณาอีกครั้งเพื่อปรับลดวงเงินลงเหลือ 2 หมื่นล้านบาทและเปลี่ยนวิธีเป็นใช้การประกวดราคาทั่วไป และใช้แหล่งเงินกู้ในประเทศ แต่กลับถูกดองเรื่องเป็นเวลากว่า 3 เดือนก็ยังไม่มีการพิจารณา จนไอซีทีต้องขอถอนเรื่องกลับเพื่อดำเนินการตามมติครม.ปี 2551 แต่ กลายเป็นว่าพอกทช.จะเปิดประมูล 3G ซึ่งจะเกิดผลกระทบกับทีโอทีและกสท ครม.เศรษฐกิจ ก็หยิบเรื่องนี้มาพิจารณา พร้อมทั้งเอา 2 เรื่องที่ไม่เกี่ยวกันมาผูกเป็นเรื่องเดียวกัน

'ทีโอทีประมูลโครง ข่าย 3G ทั่วประเทศเร็ว ยิ่งเป็นผลดีกับทีโอที เพราะจะได้นำเสนอบริการก่อนผู้ให้บริการรายอื่น ในขณะที่กทช.ยิ่งประมูลคลื่นและใบอนุญาต 3G ช้า ทีโอทีก็ยิ่งได้เปรียบ แต่กลายเป็นว่าครม.เศรษฐกิจจะดึง 3G ของทีโอทีไว้ก่อน เพื่อให้กทช.ทำให้การประมูล 3G ชัดเจน ซึ่งความชัดเจนจะเกิดก็ต่อเมื่อประมูลแล้วเท่านั้น'แหล่งข่าวกล่าวและย้ำว่า สิ่งที่รัฐบาลทำอยู่กำลังซ้ำรอยไทยโมบายในอดีต โดยทีโอทีกำลังจะให้บริการ 3G ในวันที่ 3 ธ.ค.ในกทม.และปริมณฑลแต่แผนขยายโครงข่ายทั่วประเทศกลับถูกดึงให้ล่าช้าออกไป

นาย วรุธ สุวกร กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอทีกล่าวว่าความชัดเจนในความหมายที่ครม.เศรษฐกิจต้องการจากการเปิดประมูล 3G ของกทช. คือ 1.ผลกระทบในทรัพย์สินสัมปทานเดิมของทีโอทีและกสท 2.กรณีผู้ลงทุนต่างด้าวสนใจประมูล 3.กรณีหน่วยงานรัฐจะเข้าร่วมประมูลและ 4. การโอนถ่ายลูกค้าของบริษัทเอกชนที่อยู่ในสัมปทานไปบริษัทใหม่

นาย วิเชียร นาคสีนวล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ที่รับผิดชอบโครงการ 3G กล่าวว่าได้เข้าไปรายงานความคืบหน้าโครงการ 3G ของทีโอทีกับครม.เศรษฐกิจ ซึ่งมีมติสำคัญคือ 1.รัฐไม่ค้ำประกัน เงินกู้เพื่อลงทุนในโครงการติดตั้งเครือข่าย3G ทั่วประเทศให้ทีโอที และ 2.การที่ทีโอทีมีแผนจะเปิดประมูลนั้น ควรรอความชัดเจนในเรื่องการประมูล 3G ของกทช.ก่อน

ทั้งนี้โครงการติดตั้งโครงข่าย3G ทั่วประเทศของทีโอทีมีแผนลงทุน 20,000 ล้านบาท โดยกู้เงินประมาณ 16,000 ล้านบาท และใช้เงินตัวเอง 4,000 ล้านบาท การที่ครม.เศรษฐกิจมีมติไม่ค้ำประกันเงินกู้ให้ ส่งผลให้ต้นทุนดอกเบี้ยต้องสูงขึ้นซึ่งยังเป็นเรื่องที่ไม่น่าเป็นห่วงเท่า กรณีที่ครม.เศรษฐกิจระบุว่าการประมูลที่เดิมทีโอทีพยายามเร่งให้เปิดประมูล ในสิ้นปีนี้นั้น ควรรอความชัดเจนจากกทช.ก่อน

เพราะ หากมติครม.เศรษฐกิจที่เป็นลายลักษณ์อักษรระบุว่า รอให้กทช.ชี้แจงรายละเอียดมาที่คณะรัฐมนตรี ก็ไม่น่าเป็นห่วงว่าจะเสียเวลามาก แต่หากเป็นรอความชัดเจนจากการประมูลความถี่ 3Gของกทช. ก็จะน่าเป็นห่วงมาก เพราะ วันนี้ยังไม่มีความชัดเจนอย่างไรออกมาว่ากทช.จะเปิดประมูล 3G ในความถี่ 2100 เมกะเฮิรตซ์เมื่อไหร่ หรือหมายถึงวันที่ประมูลใบอนุญาต 3G ของกทช.คือความชัดเจนซึ่งก็เท่ากับทำให้โครงการ 3G ทั่วประเทศของทีโอทีล่าช้ากว่า

นายวิเชียรกล่าวว่าค่อนข้างแปลกใจกับ มติครม.เศรษฐกิจที่ออกมาแบบนี้ ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้มีสัญญาณที่ดีมาโดยตลอด เพราะระดับนโยบายเห็นว่าเป็น โอกาสของทีโอทีที่จะสร้างความเข้มแข็งก่อนเอกชนผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ รายอื่น นอกจากนี้กรณีที่กทช.จะเปิดประมูล 3G ไม่ได้เกี่ยวข้องกับโครงการ 3G ของทีโอทีเลยเพราะทีโอทีดำเนินการโดยความถี่ 1900 เมกะเฮิรตซ์เดิมที่ได้รับจัดสรรมานานแล้ว

ทั้งนี้ทีโอทีจะเปิดให้ บริการ 3G Initial phase ในวันที่ 3 ธ.ค.นี้ โดยมีเลขหมายให้บริการได้ทั้งหมด 5 แสนเลขหมาย ซึ่งทีโอทีจะทำการโอนย้ายลูกค้าจากไทยโมบายเดิม ราว 10,000 เลขหมาย มาอยู่กับ ทีโอที 3G ก่อนส่วนผู้ร่วมทำตลาด MVNO ขณะนี้ได้เลือกแล้ว จำนวน 5 ราย 1.บริษัท 365 คอมมูนิเคชั่น 2.สามารถ ไอ-โมบาย 3.ไออีซี 4.เอ็มคอนซัลท์และ 5.ล็อกซ์เลย์

****กทช.เพิ่มประเด็นประชาพิจารณ์

นาย ประเสริฐ อภิปุญญา รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) กล่าวว่าที่ ประชุมกทช.ได้รับพิจารณาประเด็นของครม.เศรษฐกิจ 3 เรื่องได้แก่ 1.อำนาจหน้าที่ 2.องค์ประกอบ3.ความเกี่ยวข้องพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือ ดำเนินกิจการของรัฐ โดย กทช.จะส่งเรื่องขอความเห็นไปยังสำนักงานคณะกฤษฎีกาสัปดาห์หน้า

นอก จากนี้ที่ประชุมกทช.ยังมีมติเพิ่มประเด็นการทำประชาพิจารณ์ 3G ตามความเห็นของครม.เศรษฐกิจ ได้แก่ 1.ควรมีการกำหนดการเรื่องโอนย้ายลูกค้าสำหรับ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือไม่ 2.การใช้โครงข่าย 2G และ 3G ว่าควรจะกำหนดอย่างไร เช่นให้ร่วมกันใช้ หรือไม่ให้ร่วมกันใช้โครงข่าย และ 3.การกำหนดคุณสมบัติเอกชนผู้รับสัมปทานเดิมว่าบริษัทเกี่ยวเนื่องกันควรมี สิทธิเข้าร่วมการประมูลหรือไม่

http://www.thaiinternetwork.com/forum/viewtopic.php?f=37&t=1398

----------------------------------------------------------------
FfF